Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน

คำนิยม หนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน

พิมพ์ PDF

หนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน (ชุมชนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง) เล่มนี้ มีถ้อยคำและรูปแบบที่สะท้อนการเรียงร้อยจากใจ เน้นการบอกความในใจลึกๆ ซึ่งเมื่ออ่านแล้วทำให้เกิดพลัง ที่เป็นพลังด้านใน ด้านจิตวิญญาณ หรือด้านจิตใจใฝ่ดี มุ่งทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เพื่อ การเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อทั้งตัว ที่เรียกว่า Transformative Learning

โครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท (CPIRD) เน้นให้แพทย์ที่สำเร็จการศึกษา ออกไปทำงานในชนบท ด้วยความสุข โดยมีทักษะ ฉันทะ วิริยะ และจิตตะ ต่อสภาพการทำงานในชนบทของไทย ซึ่งในเวลานี้ไม่ได้ กันดารหรือห่างไกลความเจริญแต่อย่างใด โครงการนี้จะประสบความสำเร็จได้ นักศึกษาต้องได้เรียนรู้มิติ ด้านในเช่นนี้ สำหรับเป็น “ภูมิคุ้มกัน” ต่อโรควัตถุนิยม

โรควัตถุนิยม เงินนิยม ระบาดไปทั่วโลก ครอบงำจิตใจมนุษย์แบบไม่รู้ตัว พวกเราทุกคนต่างก็ ถูกครอบงำด้วยกันทุกคน (รวมทั้งผมด้วย) มีอาการโรคมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่กรณี โรคนี้ก่อปัญหา ที่ซับซ้อนทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งก่อปัญหาแก่ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยด้วย คือทำให้การกระจายบุคลากรด้านสุขภาพไปยังเมืองเล็ก และชนบท ทำได้ยาก ซึ่งแม้เราจะมีมาตรการหลายอย่าง และได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่มีข้อมูลบอกว่ามาตรการเหล่านี้อาจกำลังเพลี่ยงพล้ำ มีแนวโน้มว่าแพทย์รุ่นใหม่ นิยมเลือกทำงานเบาและได้เงินมาก แทนที่จะเลือกทำงานที่ให้คุณค่าทางใจสูง แม้จะมีความยากลำบากบ้าง

ผมขอแสดงความชื่นชม ต่อศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ริเริ่มสร้างหลักสูตรใหม่สำหรับหมอรุ่นใหม่ ในเขตจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดวิชาชนบทศึกษาทางการแพทย์ ที่จัดกระบวน การเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในการดำเนินชีวิตแพทย์ชนบทอย่างมีความสุข

เป็นการ “กล้าฝัน กล้าริเริ่ม และปรับปรุงต่อเนื่อง” จนขณะนี้ “กล้านำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ในวงกว้าง ดังปรากฎในหนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน เล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งภาคหลักการ หรือทฤษฎี และภาคฝึกปฏิบัติจิตตปัญญา เพื่อให้เกิดทักษะด้านใน เพื่อการเรียนรู้ด้านใน คือจิตตปัญญาศึกษาที่เน้นสมองซีกขวา ดังปรากฎในกิจกรรมในค่ายนักศึกษาแพทย์ รุ่นใหม่มีใจอัศจรรย์ ผมขอย้ำว่า การเรียนรู้ด้านใน ฝึกฝนจิตตปัญญาศึกษานี้ คนเราทุกคนต้องฝึกฝนตลอดชีวิต ในชีวิตประจำวัน หากโรงเรียนแพทย์ และสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการให้การเรียนรู้ฝึกฝนจิตตปัญญา ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิชาชีพ และการเรียนรู้วิชา และทักษะ อื่นๆ ประเทศไทยจะมีพลเมืองที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นเป็นอันมาก นำไปสู่สังคมที่มีสันติสุข ดังปรากฎในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และกลุ่มนอร์ดิก

เครื่องมือฝึกจิตตปัญญาแก่นักศึกษาอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ในค่ายใจอัศจรรย์ ตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าอาจารย์ที่เข้าร่วม ทั้งที่เป็นวิทยากรและไม่เป็นวิทยากร ก็จะได้อานิสงส์ ได้ฝึกจิตตปัญญาของตนไปด้วย เพิ่มเติมจากทุนเดิมที่เป็นคนเห็นคุณค่าของความสุขทางใจอยู่แล้ว

ผมเข้าใจว่า อาจารย์ที่ปรากฎตัวในหนังสือเล่มนี้เป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนจิตตปัญญา ทั้งด้วยกระบวนการ ในค่ายใจอัศจรรย์ และด้วยกระบวนการปฏิบัติจริงในการทำหน้าที่อาจารย์ ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท เมื่อคนเหล่านี้มาทำกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) ร่วมกัน และร่วมกับท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล จึงเกิดคำสนทนาที่มีพลังล้ำลึก อยู่ในหนังสือตอน “เราสอนอย่างที่เราเป็น” ถ้อยคำเหล่านี้ยากที่คนทั่วไป จะปล่อยออกมา หรือเมื่อเปล่งถ้อยคำออกมาแล้ว ก็ยากที่จะเรียงร้อยเป็นตัวหนังสือ ผมจึงขอแสดงความชื่นชมต่อคณะผู้จัดทำหนังสือ และต่อคณะผู้ร่วมอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนา ที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดกระบวนการฝึกฝนจิตตปัญญา ทั้งของนักศึกษา และของอาจารย์ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกไปในวงกว้าง

หนังสือเล่มนี้ จะไม่เพียงเป็นเครื่องมือพัฒนาหมอดีของผ่นดินเท่านั้น แต่จะเป็นเครื่องมือพัฒนา คนดีของแผ่นดิน ด้วย

ผมขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน(ชุมชนเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง) ทุกท่าน ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม และขออนุโมทนาต่อกุศลกรรมนี้ ขอให้ทุกท่านได้รับปิติสุข จากการทำคุณประโยชน์แก่สังคมไทยในครั้งนี้

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 สิงหาคม 2014 เวลา 22:49 น.  
Home > Articles > การศึกษา > คำนิยม หนังสือ สร้างสุขแท้ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาหมอดีของแผ่นดิน

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739328

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า