Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > กรณีตัวอย่าง เปลี่ยนโฉมการเรียนรู้ สู่ Mobile Learning ที่ UAE

กรณีตัวอย่าง เปลี่ยนโฉมการเรียนรู้ สู่ Mobile Learning ที่ UAE

พิมพ์ PDF

บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ Jace Hargis   ต่อจากการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว    โดยที่ John Couch เล่าหลักการ ของ TPCK & SAMR    ส่วน Jace Hargis เล่าการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง

 

เป็นการเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นราวสายฟ้าแลบ ที่ Higher Colleges of Technology ประเทศ สาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE)    ในเวลาเพียง ๑ ปี ก็มีผลมาเล่าให้เราฟัง

 

เป็นเรื่องราวของ change management ของการจัดการเรียนรู้    ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็วรุนแรง    โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใส่ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์   รวมทั้งมีทรัพยากร และร่วมมือกับ Apple ในการประยุกต์ใช้ TPCK & SAMR ตามแนวของ Apple    โดยเขา import ตัว Jace มาจากสหรัฐอเมริกามาทำหน้าที่ College Director เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้โดยเฉพาะ

 

นักศึกษาทุกคนได้รับแจก iPad คนละเครื่อง   สำหรับเป็นเครื่องมือ mobile learning & connected learning   เรื่องราวการเริ่มโครงการ อ่านได้ ที่นี่

 

โดยมีแนวทางและเครื่องมือของการทำงานคือ

  • Engagement  ตัวอาจารย์ และนักศึกษา
  • Progressive environment
  • TPCK & SAMR

 

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการจัดการ เขาจัดการโดย iPD Model (PD = Project Development)    ซึ่งประกอบด้วย

  • iChampions   สร้าง critical mass ของอาจารย์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    พบกันทั้ง online & offline
  • iCelebrate   เป็น non-conference meeting เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ interact กัน โดยนำเสนอคนละ ๑๕ นาที    จัดปีละ ๒ ครั้ง    ครั้งละ ๘๐๐ คน    จากสถานที่หลายที่ สื่อสารกันผ่าน   Videoconference   ฟังแล้วผมนึกถึงกิจกรรม KM    อ่านรายงานเรื่อง iCelebrate ได้ ที่นี่
  • iCommunicate   ผ่านทาง http://ipads.hct.ac.ae/
  • iSoTL  ส่งเสริมกิจกรรม Scholarship of Teaching and Learning ดังจะเห็นผลงานตีพิมพ์ดังกล่าวข้างล่าง

 

เขาบอกว่า ในส่วนของอาจารย์ สิ่งที่อาจารย์ได้อย่างชัดเจนคือ collaborative PD   ซึ่งก็คือ PLC ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้อย่างเป็นทางการนั่นเอง

 

ส่วนสำคัญด้านนักศึกษาที่เขาเรียนรู้คือ   ต้องเปลี่ยนมุมมองของนักศึกษาต่อการเรียนรู้ (Change student perception on learning.)   ว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นคุณต่อนักศึกษามากกว่าการเรียนแบบ Passive Learning.

 

ในเวลาเพียง ๑ ปี มีผลงานวิชาการด้านการเรียนการสอนตีพิมพ์ใน peer-reviewed journal ถึง ๙ เรื่อง     ด้วยความสนใจวารสารเหล่านี้ ผมจึงจดชื่อมาดังนี้

 

เขาบอกว่า ยังมีงานข้างหน้ามากมาย    ได้แก่

  • Content creation system
  • Formative assessment
  • Context creator
  • Gamification
  • Learning analytics
  • Communty analysis

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 มีนาคม 2014 เวลา 10:45 น.  
Home > Articles > การศึกษา > กรณีตัวอย่าง เปลี่ยนโฉมการเรียนรู้ สู่ Mobile Learning ที่ UAE

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740430

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า