Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ไปเยี่ยมชื่นชมมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่

ไปเยี่ยมชื่นชมมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่

พิมพ์ PDF

ตามที่เล่าแล้วในบันทึกของวันที่ ๑๙ ก.พ. ๕๗    ว่าในวันที่ ๒๓ - ๒๔ ม.ค. ๕๗ ผมไปร่วมการประชุม วิชาการ “พะเยาวิจัย” ครั้งที่ ๓   ของมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.)     โดยที่การประชุมนี้ เน้นที่การวิจัยเพื่อการพัฒนา พื้นที่    โดยท่านอธิการบดีมีนโยบาย “๑ คณะ  ๑ อำเภอ” (เพื่อนำปัญญาสู่ชุมชน - ปัญญาเพื่อความเข้มแข็ง ของชุมชน) ให้ดำเนินการ    โดยมีทุนสนับสนุน และในงานนี้มีการประกวดผลงานและมอบรางวัลด้วย

สกว. มีโครงการ ABC (Area-Based Collaborative Research) สนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่    ได้โอกาสไป สนับสนุน มพ. เชิงสถาบัน    ให้เกิดการวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่พื้นที่    ในลักษณะของการร่วมลงทุน    โดย มพ. ตั้งสำนักงานจัดการงานวิจัยนี้ เรียกชื่อว่า ABCreative Center  มี ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา เป็นผู้จัดการ สำนักงาน    โปรด สังเกตนะครับ ว่า มพ. มีทั้งนโยบาย  การลงทุน  และระบบการบริหารงาน     เพื่อให้เกิด การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่    และดำเนินการต่อเนื่อง

ดร. สีลาภรณ์บอกว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดคือคน    งานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ มีท่านอธิการบดี (ศ. พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี เป็นหัวขบวน สนับสนุนทั้งการให้นโยบาย งบประมาณ และไปติดตามงานด้วยตนเอง    ผมได้นัดวันกับท่านแล้ว ว่าในวันติดตามงานในพื้นที่ ๒ วัน ของปี ๒๕๕๗ ผมจะขอติดตามไปเยี่ยมชื่นชมด้วย     คือวันที่ ๓ - ๔ พ.ย. ๕๗

คนสำคัญคนที่ ๒ คือ ผศ. ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคุณภาพ    ที่รับนโยบาย ของท่านอธิการบดีมาดำเนินการอย่างเข้มแข็งจริงจัง    มี KM เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง    และส่งไม้ต่อมาที่ ผู้บริหารระดับระดับหน่วยจัดการสนับสนุน คือ ดร. กิตติ สัจจาวัฒนา

นี่คือสถาบันอุดมศึกษารับใช้สังคม    สนับสนุนการทำงานวิชาการรับใช้สังคม

เช้ามืดวันที่ ๒๓ ม.ค. ระหว่างนั่งรถจากเชียงใหม่ไปพะเยา    ดร. กิตติเล่าให้ผมฟังว่า ในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา    สกว. ตกลงความร่วมมือกับ มพ. ลงเงินฝ่ายละ ๑ ล้านบาท เพื่อจัดการงานวิจัย ABC ในจังหวัดพะเยา    มีผลให้เกิดโครงการวิจัย ๓๕ โครงการ  ได้รับเงินสนับสนุน ๑๔ ล้านบาท จากแหล่งต่างๆ    มีอาจารย์เข้าร่วม ๑๖๐ คน (กว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนอาจารย์ที่กำลังทำงานอยู่)     ซึ่งหมายความว่าอาจารย์เหล่านี้ได้พัฒนาขีดความ สามารถด้านการวิจัยไปในตัว

แต่นั่นเป็นเพียงส่วนเดียวของเงินวิจัยที่ มพ. ได้รับ    ก้อนใหญ่กว่ามากคือจากงบประมาณแผ่นดิน ปีละ ๓๕ ล้านบาท

ผมอ่านเอกสารประกอบการประชุม “พะเยาวิจัย ครั้งที่ ๓ มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม” แล้ว    เห็นความมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการงานวิจัยของ มพ.     โดยได้จำแนกงานวิจัย ๒๒๖ โครงการ (จากหลากหลายแหล่งทุน) ออกเป็น ๖ ประเด็น    อ่านแล้วผมเกิดความรู้สึก ๒ อย่าง   (๑)​ สมัยนี้มีทุนวิจัย มากกว่าสมัยผมยังทำหน้าที่อาจารย์ อย่างมากมาย    (๒) เวลามหาวิทยาลัยเสนอเรื่องการวิจัย ยังคงเสนอแบบเดียวกันกับเมื่อ ๔๐ ปีก่อน   ตอนที่ผมไปอยู่ที่ มอ. ใหม่ๆ    คือพูดถึงทุน ถึงชื่อโครงการ    ไม่ค่อยเอ่ยถึงผลงาน หรือ impact ที่เกิดขึ้น

ผมคิดว่า วัฒนธรรมอย่างหนึ่งขององค์กร ที่จะต้องสร้างขึ้น ไม่ว่าองค์กรเพื่อทำอะไร    คือต้องเน้นคุยกันเรื่องผลงาน และผลกระทบที่เกิดจากผลงานนั้น    ซึ่งหากต้องการเน้นผลงานวิจัยเพื่อชุมชน ก็ต้องหาวิธีวัดที่ชุมชน ทั้งเชิงปริมาณ (รูปธรรม) และคุณภาพ (นามธรรม)

ตอนบ่ายวันที่ ๒๓ ม.ค. ผมถูกกำหนดให้เข้าฟังการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย “พัฒนาคณะเพื่อพัฒนาพื้นที่”    และทำหน้าที่ให้ข้อสังเกตเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้    มีโครงการนำเสนอ ๓ โครงการ คือ

๑. วิทยาศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการน้ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในตำบลจุน จ. พะเยา โดย ดร. สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์    ผลงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้

๒. การพัฒนารูปแบบการจัดการงานวิจัยรับใช้สังคม โดยเรียนรู้ผ่านศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการใช้ วัสดุเศษเหลือทางการเกษตร ในชุมชนบ้านโซ้ โดย ดร. ศุภลักษณ์​สุมิตสวรรค์  รองคณบดี ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  วิทยาลัยพลังงานและ สิ่งแวดล้อม

๓. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนด้านการป้องกันโรคเบาหวานด้วยวิถีล้านนา  ต. แม่ใส  อ. เมือง โดย ผศ. ดร. ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร  คณะพยาบาลศาสตร์

 

ผมฟังทั้ง ๓ เรื่องแล้ว นึกถึงการไปลงพื้นที่ จ. สตูล ที่เล่าไว้ใน บล็อกนี้เมื่อวันที่ ๗ ก.พ. ๕๗    ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเป้าเดียวกัน คือการออกไปส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมตัวกันใช้ข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาในชีวิต หรือการทำมาหากินของตน

และยังรู้สึกว่า อาจารย์ยังถนัดการออกไป “ช่วยชาวบ้าน” หรือไป “ถ่ายทอดความรู้”    ไม่ใช่ออกไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน    อย่างที่ผมเสนอในปาฐกถาพิเศษในงานตอนเช้า    ซึ่งได้ลง บล็อก แล้วเมื่อวันที่ ๑๙ ก.พ. ๕๗

ผมเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นอีกหลายท่าน    ว่าโครงการที่ได้ออกไปทำในพื้นที่ เหล่านี้ เป็นการเริ่มต้นที่ดี    โดยที่ในขั้นแรกนี้ กิจกรรมยังมีลักษณะเป็นงานพัฒนา     ขั้นตอนต่อไปคือ การฝึกตั้งโจทย์วิจัย    และดำเนินการตอบโจทย์นั้น ควบคู่หรือบูรณาการไปกับงานพัฒนา     ก็จะได้ผลงานวิจัย สายรับใช้สังคม

 

ผมได้เสนอแนะ ๒ ข้อ

๑. เสนอให้มีหน่วยงานทำหน้าที่ออกไปทำเวทีประชาคมกับชาวบ้าน    มีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะ ในการทำเวทีประชาตม และติดต่อสื่อสารกับชาวบ้าน    ภายใต้ความสัมพันธ์แนวราบ    พื่อรับเอาปัญหา และโอกาสพัฒนาของพื้นที่    สำหรับนำมาปรึกษาหารือกันภายใน มหาวิทยาลัย    เพื่อกำหนดโครงการที่จะไปทำร่วมกับชุมชนหรือพื้นที่    โดยที่เจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานนี้ จะช่วยทำงานลดภาระหลายอย่างของอาจารย์ ในการทำงานพัฒนาพื้นที่

๒ เสนอให้ทำ Mapping ข้อมูลของพื้นที่ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการทำงานพัฒนาพื้นที่ ของมหาวิทยาลัย    อย่างที่ สกว. เคยสนับสนุนให้ มรภ. จำนวนเกือบ ๒๐ แห่ง ทำ เมื่อ ๑๖ ปีที่แล้ว   และ มรภ. อุตรดิตถ์ ทำได้ดีที่สุด    เป็นพื้นฐานให้ มรภ. อุตรดิตถ์ มีความเข้มแข็งในการทำงานพัฒนาพื้นที่มาจนปัจจุบัน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:14 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ไปเยี่ยมชื่นชมมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740387

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า