Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๑๓. ชีวิตที่มีความหมาย

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๑๓. ชีวิตที่มีความหมาย

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๑ ก.พ. ๕๗ มีคนมาสัมภาษณ์เรื่องการพัฒนาครู    ในโครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๑

ผมเสนอว่า เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการพัฒนาครู คือการทำให้ชีวิตการเป็นครูเป็นชีวิตที่มี ความหมาย     เป็นชีวิตที่เมื่อสิ้นสุดความเป็นครูอย่างเป็นทางการ มองย้อนหลังสิ่งที่ได้ทำมาในชีวิต รู้สึกปลาบปลื้มใจ    ชีวิตครูมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีเช่นนั้นได้ทุกคน    แต่ระบบการพัฒนาครูที่ใช้มาในช่วง ๔๐ - ๕๐ ปีที่ผ่านมาเดินผิดทาง     ทำให้ชีวิตครูตกอยู่ในสภาพไร้ความหมาย ไร้ความภูมิใจ     เพราะผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาตกต่ำ  และมีเยาวชนที่มีปัญหาความประพฤติเพิ่มขึ้นมาก

ครูตกเป็นเหยื่อของระบบที่ผิดพลาด    อาชีพที่ตามธรรมชาติเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง และเป็นชีวิตที่มีความหมาย    กลับตรงกันข้าม

ผมจึงเสนอต่อท่านที่มาสัมภาษณ์ว่า เป้าหมายหลักของการพัฒนาครูคือ (๑) ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Learning Outcome) ที่มีคุณภาพสูง ของศิษย์    และ (๒) ชีวิตที่มีความหมายของครู

ในโลกยุคปัจจุบัน Learning Outcome ไม่ใช่ความรู้    ไม่ใช่รู้วิชา    แต่ต้องเลยไปสู่ทักษะในการใช้ วิชาความรู้ในชีวิตจริง     และทักษะที่สำคัญอื่นๆ ต่อการดำรงชีวิตที่ดี    ที่เรียกรวมๆ กันว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

ครูต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    และต้องเอื้ออำนวยให้ศิษย์พัฒนาทักษะชุดนี้ ขึ้นในตัว     โดยที่ครูไม่เน้นสอน ไม่เน้นถ่ายทอดความรู้

สถาบันพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่เราเรียกชื่อสั้นๆ ว่าสถาบันวัดไร่ขิง นั้น    ถือได้ว่าทำงานผิดพลาดมาตลอดเวลากว่า ๓๐ ปี    คือพัฒนาครู แบบผิดๆ    จึงมีผลทำลายชีวิตครู ให้กลายเป็นชีวิตที่ไม่มีความหมาย     และทำให้ผลงานของครูมีคุณภาพต่ำ

กล่าวอย่างนี้ ไม่ยุติธรรม     เพราะความตกต่ำของครูอยู่ที่ระบบบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหลัก    รวมทั้งอยู่ที่วิธีการผลิตครูของคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ ด้วย

ที่กล่าวหาไม่ได้ต้องการตำหนิติเตียน    แต่ต้องการให้มีการแก้ไข    เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ในด้านปัญญา

ที่จริง ไม่ใช่ว่าชีวิตของครูไทยทั้ง ๖ แสนคน ไม่มีความหมาย     เรายังมีครูเพื่อศิษย์ ที่ทำหน้าที่ครู อย่างมีความสุข เอาจริงเอาจัง และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง     ครูเหล่านี้คือคนที่ชีวิตมีความหมาย มีคุณค่า น่าภาคภูมิใจ

แต่ครูแบบนี้มีน้อยไป     และอยู่อย่างแปลกแยก ไม่เป็นกระแสหลัก

การพัฒนาครู ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เป็นนิสิตนักศึกษาครู หรือก่อนหน้านั้น    โดยต้องไม่หลงเน้นเฉพาะวิชา หรือความรู้     ที่ยิ่งใหญ่กว่าความรู้ คือคุณค่าภายในจิตใจ     เราต้องการครูที่รักเด็ก พร้อมที่จะช่วยเป็นกำลังใจ ให้ศิษย์ฟันฝ่าความยากลำบากของการเรียน     เพราะการเรียนที่ให้ปัญญาสูงนั้น ไม่มีทางราบรื่นสะดวกสบาย อยู่ตลอดเส้นทาง     นักเรียนนักศึกษาต้องได้ฝึกเผชิญความยากลำบาก     เพราะนี่คือบทเรียนจริงที่จะต้องเผชิญ ต่อไปในชีวิตจริง     ครูที่ช่วยให้ศิษย์ได้เรียนรู้ฝึกตนเป็นคนเต็มคน คือครูที่มีคุณค่า

การพัฒนาครูที่แท้จริง จึงต้องผูกพันอยู่กับการทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์     “ผลงาน” ของครู คือศิษย์     ไม่ใช่กระดาษ อย่างที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 21:23 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๑๓. ชีวิตที่มีความหมาย

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740280

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า