Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากสภาคณาจารย์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากสภาคณาจารย์

พิมพ์ PDF

ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักสูตร UGP รุ่นที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๒๗ ก.พ. ๕๗    เรื่องการทำหน้าที่ กรรมการสภาฯ ในบริบทความท้าทายใหม่    มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเรื่องหลักการที่ว่า     กรรมการสภาฯ ต้องคิดและตัดสินใจ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย และของสังคมส่วนรวม เป็นอันดับ ๑    ไม่ใช่เข้ามารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มที่ตนเป็นผู้แทนเพียงถ่ายเดียว

ประเด็นคือ ประธานสภาคณาจารย์ เป็นตัวแทนอาจารย์เข้าไปนั่งในสภามหาวิทยาลัย     จึงมีบางคน คิดว่า ประธานสภาคณาจารย์ต้องนำเอามติของสภาคณาจารย์ ไปยืนยันให้สภามหาวิทยาลัย เห็นชอบหรือ คล้อยตาม    เมื่อมีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ (โดยตรงหรือโดยอ้อม) ของอาจารย์  จะเข้าสู่การพิจารณา ของสภามหาวิทยาลัย    สภาคณาจารย์ก็จะนำมาลงมติกันก่อน แล้วประธานสภาคณาจารย์นำมตินั้นไปแจ้ง ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อยืนยันให้สภามหาวิทยาลัยมีมติตามนั้น     หากสภามหาวิทยาลัยมีมติไปทางอื่น ก็เกิดความขัดแย้งระหว่างสภาคณาจารย์กับสภามหาวิทยาลัย

นี่คือสภาพในบางมหาวิทยาลัย ที่เป็นบรรยายกาศที่ไม่สร้างสรรค์    หรือเป็นบรรยากาศที่อบอวล ไปด้วยความขัดแย้ง     แทนที่จะอบอวลไปด้วยความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกัน     ในสภาพนี้ ผู้คนมุ่งเอาชนะ ให้ได้มติตามความคิดของตน หรือตามผลประโยชน์ของตน     ไม่ได้มุ่งมองที่เป้าหมายหลัก (mission) ขององค์กร ที่ได้ร่วมกันกำหนด (shared mission)     หรือสภามหาวิทยาลัยนั้น อาจไม่เคยจัดกระบวนการพัฒนาหรือกำหนด shared mission ร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ     คือไม่มียุทธศาสตร์สร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยเป้าหมายร่วม ค่านิยมร่วม    ที่เป็นแนวทางการจัดการสมัยใหม่

ที่จริง ประเด็นประธานสภาคณาจารย์นำมติของสภาคณาจารย์ไปต่อสู้ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนั้น    เป็นพฤติกรรมของ reductionist    ที่ลดทอนความซับซ้อน (complexity) ของประเด็นเชิงนโยบาย     ให้กลายเป็น ประเด็นสองขั้ว ใช่ - ไม่ใช่,  ขาว - ดำ,  เอา - ไม่เอา     เรามักตกอยู่ใต้อิทธิพลของแนวคิดแบบ reductionist นี้โดยไม่รู้ตัว    แล้วเมื่อผสมกับทิฏฐิมานะวิญญาณเอาชนะ    ก็จะเกิดการต่อสู้แบบหัวชนฝา อ้างมติของสภา คณาจารย์ อย่างเดียว     ไม่รับฟังข้อมูล เหตุผล หรือความเห็นอื่นๆ ทั้งสิ้น

ผมให้ความเห็นต่อผู้เข้าเรียนว่า     จะให้เป็นการประชุมสภาที่สร้างสรรค์    เมื่อประธานสภาคณาจารย์ นำมติของสภาคณาจารย์ ไปแจ้งในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ต้องแจ้งเหตุผลด้วย    และเมื่อสภามหาวิทยาลัย มีมติไม่ตรงกับมติของสภาคณาจารย์ ประธานสภาคณาจารย์ต้องไม่เพียงเอามติของสภามหาวิทยาลัยกลับไปแจ้ง ต่อสภาคณาจารย์ ต้องแจ้ง ข้อมูล และเหตุผล ที่สภามหาวิทยาลัยใช้ในการพิจารณาด้วย     เพื่อให้สภาคณาจารย์ได้เข้าใจมิติที่หลากหลายซับซ้อนของเรื่องนั้น     คือสังคมมหาวิทยาลัย ต้องอยู่กันด้วยข้อมูล และเหตุผล    และยึดโยงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ shared vision, shared purpose และ shared values

มีผู้เล่าว่า ไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งหนึ่งมีท่านองคมนตรี ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย เป็นนายกสภา    ในการประชุมสภาฯ กรรมการสภาฯ จากคณาจารย์ เรียกร้องให้มีการลงคะแนนในทุกวาระ    ไม่ยอมให้ใช้วิธีการลงมติแบบแสดงข้อคิดเห็นจนมีมติเป็นฉันทามติ (consensus)    ท่านนายกสภาฯ อธิบายให้ฟังว่า สภามหาวิทยาลัยเราใช้การประชุมแบบฟังความเห็นซึ่งกันและกัน จนตกลงกันได้    ไม่ใช่เน้นการลงโหวดมติเอาชนะกัน    กรรมการสภาจากคณาจารย์ไม่ยอม    ท่านองคมนตรีจึงลาออก จากนายกสภาฯ

สภาพที่ มทร. แห่งนั้น น่าจะเกิดจากความไม่ไว้วางใจกัน    และกรรมการสภาฯ จากคณาจารย์ต้องการผลักดันนโยบายหรือแนวทางของตน โดยไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมายภาพใหญ่     ไม่ต้องการรับฟังความเห็นที่หลากหลาย (ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้)

แต่ในฐานะที่เป็นนายกสภาอยู่ ๑ มหาวิทยาลัย    หากผมเผชิญสภาพนั้น ผมจะให้จัดการประชุมแบบ retreat เพื่อทำความเข้าใจหลักการ และวิธีการทำหน้าที่กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่สร้างสรรค์    ให้เห็นว่า เรากำลังทำงานในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน (complexity) สูง    ต้องมีวิธีทำงานที่คำนึงถึงปัจจัยที่หลากหลาย เหล่านั้นให้ครบถ้วน    ต้องช่วยกันทำความเข้าใจและนำออกมาหารือกันในที่ประชุม ให้เกิดความรอบคอบ

ในส่วนของผลประโยชน์ของอาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยนั้น     สภามหาวิทยาลัยต้องดูแล ให้ได้รับการตอบแทน และมีสภาพการทำงานที่ดี มีความก้าวหน้าในชีวิต     แต่ในขณะเดียวกัน สภามหาวิทยาลัย ก็ต้องกำกับดูแลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยในภาพรวม    ให้มหาวิทยาลัยทำประโยชน์แก่สังคม อย่างแท้จริง ด้วย

ผมมีข้อสังเกตว่า     ในบางสถานการณ์ คณาจารย์มองว่า กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นพวกผู้บริหาร    กรรมการสภาจากคณาจารย์ต้องเข้าไปทำหน้าที่คานอำนาจ    วิธีคิดเช่นนี้ ไม่เป็นคุณ ต่อมหาวิทยาลัย    เพราะเป็นการมองแคบ และใกล้    กรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องเข้าไปกำกับดูแลให้ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ได้ดี มีแนวทางพัฒนาก้าวหน้าในระยะยาว     ไม่ใช่แค่เข้าไปเอาชนะกันในที่ประชุม

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ก.พ. ๕๗

บนเครื่องบิน  นกมินิ ไปจังหวัดเลย

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2014 เวลา 00:21 น.  
Home > Articles > การศึกษา > กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากสภาคณาจารย์

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740158

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า