Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๕. เทคโนโลยีทางการศึกษา

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๕. เทคโนโลยีทางการศึกษา

พิมพ์ PDF

๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๕. เทคโนโลยีทางการศึกษา

บันทึกชุดนี้มี ๑๐ ตอน   ที่ตีความจากการอ่านหนังสือ Education Nation : Six Leading Edges of Innovation in Our Schools เขียนโดย Milton Chen

บันทึกตอนที่ ๕ นี้ ตีความจาก Edge 3. The Technology Edge : Putting Modern Tools in Young Hands

เทคโนโลยีด้าน ไอซีที ก้าวหน้าไปไกล มีศักยภาพสูงยิ่ง ในการทำให้การเรียนรู้สนุกสนาน และเรียนรู้ ได้ลึกและเชื่อมโยง โดยผู้เรียนไม่รู้สึกว่ายาก    แต่ประเทศไทยยังเอาเทคโนโลยีเอามาใช้ด้านการศึกษาน้อยไป    หรือกล่าวได้ว่า ยังไม่มีนโยบายที่ก้าวหน้าเพียงพอ ในการใช้ ไอซีทีเพื่อการศึกษา    ผมได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ ที่นี่

ย้ำอีกที ว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ถูกต้อง    จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ของประเทศ    โดยหนังสือเล่มนี้แนะนำว่า เพื่อใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของนักเรียน   และของครู    ช่วยให้การเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง ทำได้ 7/24    คือทั้ง ๗ วัน  ตลอด ๒๔ ชั่วโมง    และปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู ก็ 7/24 เช่นเดียวกัน

เนื่องจากผู้เขียน คือ Milton Chen ทำงานที่ The George Lucas Educational Foundation มาก่อน   โดยมูลนิธินี้ทำงานด้านริเริ่มผลักดันการพัฒนาการศึกษา    รวมทั้งเป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผ่าน www.edutopia.org ตั้งแต่สมัยเริ่มมีภาพยนตร์    ผู้เขียนจึงมีรายละเอียดเรื่องนี้มาก    ผมจะตีความมาเล่า เพียงย่อๆ

เรื่องที่ประทับใจผมที่สุด คือการพัฒนาระบบ ไอซีที เพื่อการศึกษาของ สก็อตแลนด์    เป็น intranet ด้านการศึกษาของประเทศ    ที่มีนักเรียน ๗ แสนคน (พลเมือง ๕.๑ ล้าน)    เริ่มใน ค.ศ. 2007   เดิมชื่อ Scottish Digital Learning Network   แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Glow

เขาบอกว่า ถึงปลายปี 2009 มีนักเรียนใช้ Glow ๒.๕ แสนคน   ร้อยละ ๑๐ ใช้ในการเรียนประจำวัน    โดยที่เขตพื้นที่การศึกษาทั้ง ๓๒ เขตของประเทศลงทะเบียนเข้าใช้ Glow   การประเมินพบว่าได้ผลคุ้มค่า การลงทุน   ประเทศ สก็อตแลนด์ จึงเตรียมลงทุน Glow2 ต่อ    เขาบอกว่า เคล็ดลับของความสำเร็จ อยู่ที่การเน้นพัฒนาครู และครูใหญ่ ให้ใช้เครื่องมือนี้เป็น    (เด็กใช้ ไอซีที เก่งอยู่แล้ว)

ผมขอเสนอว่า ประเทศไทยน่าจะได้พิจารณา ใช้ระบบ ไอซีที สมัยใหม่ เป็นเครื่องมือเปลี่ยน (ปฏิรูป) รูปแบบการเรียนรู้    ให้เป็นActive Learning เปลี่ยนครูไปเป็น “คุณอำนวย” (Learning Facilitator)    มีการกลับทางห้องเรียน โดยต้องไม่ลืมว่า การพัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา ให้ใช้ระบบนี้เป็น/คล่อง  เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต่อความสำเร็จ

ตัวอย่างของการลงทุนสร้างระบบ ไอซีที เพื่อการศึกษา ได้ผลสำเร็จอีกแห่งหนึ่งคือที่รัฐ Maine สหรัฐอเมริกา    หากประเทศไทยจะลงทุนจริงจัง ควรศึกษาจาก สก็อตแลนด์ และรัฐเมน    ระบบ ไอซีที ที่เหมาะสม จะช่วยให้ครูรวมตัวกันเรียนรู้ในระบบ PLC (Professional Learning Community) ได้   และผู้ปกครองก็จะเข้ามาร่วมดูแลส่งเสริมการเรียนของบุตรธิดาของตนได้โดยง่าย   ทำให้เกิดสภาพ All for education ได้ง่าย    เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาผ่านความร่วมมือ (collaboration) และการสื่อสาร (communication)

เป้าหมายของระบบเครือข่าย ไอซีที เพื่อการศึกษา คือ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างก้าวกระโดด เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการศึกษา และเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ออกจากศตวรรษที่ ๒๐  เข้าสู่การเรียนรู้ แห่งศตวรรษที่ ๒๑   และเพื่อดึงเอาความสร้างสรรค์ของเยาวชน และ ความสามารถด้าน ไอซีที ของเยาวชน มาเป็นพลังในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ

 

ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาคือการอ่าน มีรายงานว่าเด็กไทยจำนวนมากอ่านหนังสือไม่ออก หรือไม่แตก    ทั้งในระดับประถมและมัธยม    มีเรื่องที่เล่าในหนังสือ เรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายช่วยฝึก การอ่าน ให้แก่เด็ก    โดยใช้หลักการคือ ให้เด็กได้ฟังเสียงอ่านของตนเอง    แล้วเด็กจะฝึกฝนเพื่อปรับปรุงตนเอง     ในหนังสือเขาใช้ iPod บันทึกเสียง    แต่เราไม่ต้องใช้ของแพงอย่างนั้นก็ได้

ผมตีความว่า หลักการของการเรียนรู้ที่แท้จริงคือ การปฏิบัติของตนเอง (ปฏิบัติ)  แล้วตรวจสอบผล (ปฏิเวธ)    สำหรับนำมาแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติ และทำความเข้าใจทฤษฎี (ปริยัติ)     เป็นการเปลี่ยนอันดับ ขั้นตอนการเรียนรู้ จาก ปริยัติ - ปฏิบัติ - ปฏิเวธ    เป็นปฏิบัติ - ปฏิเวธ - ปริยัติ

ครูเปิดเสียงอ่านของนักเรียน ฟังร่วมกัน แล้วชวนนักเรียนคิดว่า จะปรับปรุงการอ่านอย่างไร    ครูให้ feedback ว่าส่วนไหนนักเรียนอ่านได้ดีแล้ว    เพราะนักเรียนเข้าใจหลักการอะไรบ้าง    ส่วนไหนที่นักเรียนจะ ต้องปรับปรุง    โดยจะต้องเข้าใจหลักการหรือทฤษฎีอะไร    หากนักเรียนปรับปรุงตนเองในเรื่องดังกล่าวได้ จะเป็นคุณต่อชีวิตภายหน้าอย่างไร    ตัวนักเรียนทบทวนว่าตนจะปรับปรุงอะไร เพื่ออะไร   ขอย้ำว่า ข้อความในหน้านี้ ผมว่าเอง    ไม่ได้มีกล่าวไว้ในหนังสือ

การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้    เมื่อนักเรียนอ่านหนังสือแตก และรักการอ่าน    การเรียนรู้ส่วนอื่นๆ ก็จะพัฒนาขึ้นด้วย

 

อีกเรื่องหนึ่ง ที่ ไอซีที จะช่วยเปลี่ยนโฉมการศึกษาอย่างสิ้นเชิง คือ การเรียน ออนไลน์ (online learning)    ที่ผลการวิจัยที่อ้างถึงในหนังสือ บอกว่าให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดีกว่าการเรียนในห้องเรียน    และหากใช้การเรียนแบบ ออนไลน์ เสริมห้องเรียน (เรียกว่า blended course)    ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้จะยิ่งสูง

นี่คือประเด็นที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างเป็นระบบ    เป็นระบบระดับชาติ เชื่อมโยงกับการลงทุน จัดระบบ ไอซีที เพื่อการศึกษา    เชื่อมโยงกับการใช้พลังเยาวชน ใช้ ไอซีที เพื่อการเรียนรู้

วิธีการที่ง่าย คือ กลับทางห้องเรียน    และครูกับนักเรียนอาจนัดกัน เข้า teleconference เวลา ๒๐.๐๐ - ๒๐.๑๕ น. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ    สำหรับเตรียมตัวเรียนในวันรุ่งขึ้น    แค่นี้ก็จะมี คุณค่าต่อการเรียนรู้อย่างมหาศาล    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผูกใจนักเรียนไว้กับการเรียน    ไม่เฉไฉไปกับเรื่อง ไม่เป็นเรื่อง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2014 เวลา 00:44 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ๖ นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา ๕. เทคโนโลยีทางการศึกษา

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740091

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า