Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > มธ. เตรียมเปิดคณะศึกษาศาสตร์ - เสนอมรรค ๘

มธ. เตรียมเปิดคณะศึกษาศาสตร์ - เสนอมรรค ๘

พิมพ์ PDF

ผมดีใจจนเนื้อเต้น เมื่อทราบว่า ม. ธรรมศาสตร์วางแผนเปิดคณะศึกษาศาสตร์    จึงตอบรับทันที เมื่อได้รับการติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์

และจัดเวลาไปร่วมประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการ ในบ่ายวันที่ ๓ มี.ค. ๕๗    โดยเตรียมไปเสนอแนวทาง ๘ ประการ    หรือมรรค ๘

 

๑. จัดการเรียนรู้แบบ กลับทางห้องเรียน โดยต้องจัดระบบ ICT ให้รองรับ, และจัดการเรียนรู้แบบ Blended หลายรูปแบบ

๒. จัดการทำงานของอาจารย์เป็น PLC คือเป็นชุมชนเรียนรู้

๓. มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตไปเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง    คือจัดการศึกษาแบบ Transformative Education

๔. จัดการเรียนแบบบูรณาการ    ไม่แยกวิชาย่อยมากเกินไป    เรียนน้อยวิชา แต่จัดเป็นวิชาที่บูรณาการหลายศาสตร์

๕. มีเป้าหมายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการครบด้านไปพร้อมๆ กัน    ไม่ใช่เน้นเพียงเรียนวิชา     ต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์, สังคม, จิตวิญญาณ, และด้านกายภาพ ไปพร้อมๆ กัน    เรียนรู้ฝึกฝนทั้งการเรียนรู้ด้านนอก และการเรียนรู้ด้านใน (จิตตปัญญาศึกษา)

๖. มีการวิจัย เพื่อนำมาใช้พัฒนาบัณฑิต    โจทย์ข้อ ๑ คือ พัฒนาวิธีวัด Net Gain ของการเรียนรู้ใน ๑ ปี ของนักเรียนเป็นรายคน     เพื่อให้ครูในอนาคตนำไปใช้    และผลักดันการเเปลี่ยนแปลง เกณฑ์ความดีความชอบ และการเลื่อนชั้นของครู    จากประเมินกระดาษ เป็นประเมิน Net Gain ของการเรียนรู้ของศิษย์    และคณะศึกษาศาสตร์ มธ. ก็นำ Net Gain ของศิษย์ มาเป็นดัชนีตัวหนึ่งในการให้ความดีความชอบอาจารย์

๗. เรื่องการเลือกรับอาจารย์    ควรเลือกรับคนที่มีวิญญาณและทักษะของการเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent)    เริ่มต้นด้วยการปฐมนิเทศอาจารย์ และมีการสัมมนาเรื่องการจัดการเรียนรู้ ประจำปีทุกปี    รวมทั้งมีการจัด การประชุมปฏิบัติการ สำหรับปฐมนิเทศ นศ. ใหม่ ให้เห็นคุณค่า และมีทักษะ ของวิธีการเรียนรู้แบบใหม่

๘. เรื่องการฝึกทักษะ Embedded Formative Assessment + Formative Feedback ให้แก่อาจารย์ทุกคน    และทดสอบทักษะจนเป็นที่พอใจ จึงจะรับเป็นอาจารย์ประจำ    ที่จริงประเด็นนี้อยู่ในข้อ ๗    แต่แยกออกมาเป็น อีกข้อต่างหาก เพราะมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการปฏิรูปรูปแบบการเรียนรู้    และการฝึกให้บัณฑิต มีทักษะนี้    สำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันของการเป็นครู

 

ทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตออกไปปฏิบัติเช่นเดียวกันเมื่อทำหน้าที่ครู    คือไปสอนแบบใหม่ แบบกลับทางห้องเรียน    และติดนิสัยทำงานเป็นทีมในกลุ่มครู    ระหว่างทำงาน ก็เรียนรู้เป็นทีมไปด้วย    และทำหน้าที่เป็น change agent ในโรงเรียน และในระบบการศึกษา    เปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในโรงเรียนจาก การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐    สู่การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑   เพื่อให้ศิษย์ไม่ใช่แค่มีความรู้ แต่ต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    เน้นการผลิตผู้นำ     ไม่ใช่ผลิตผู้ตาม อย่างที่ระบบการศึกษาปัจจุบันทำอยู่

ข้างบนนั้น คือข้อความที่ผมเขียนเตรียมไปให้ความเห็น เขียนก่อนการประชุม

ในที่ประชุมมีผู้แสดงความเห็นพ้อง ว่า คณะศึกษาศาสตร์ มธ. ควรทำประโยชน์ในการเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย   และผลิตบัณฑิตออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    แต่สภาพปัจจุบัน บัณฑิตใหม่ที่มีไฟแรง และออกไปเป็นครูในระบบการศึกษาส่วนที่เป็นราชการ จะถูกระบบกลืนหรือครอบงำ ภายในเวลาเพียงสองสามปี    และอีกส่วนหนึ่งทนระบบไม่ไหว ก็ลาออกไปทำงานอื่น

มีผู้ให้ความเห็นรุนแรงว่า ตัวปัญหาของคุณภาพการศึกษาไทยคือระบบบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ    ถึงกับเสนอให้ยุบกระทรวงศึกษาธิการ คุณภาพการศึกษาไทยจึงจะมีลู่ทางกระเตื้องขึ้น

ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ครูควรมีความรู้วิชาหลักแน่น เลริมด้วยวิชาครู    จึงน่าจะเอาคนที่จบวิชาหลัก (เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา สังคมศาสตร์) มาเรียนปริญญาโท เพื่อเติมวิชาครู    หรือจัดหลักสูตร สองปริญญา (dual degree) ของวิชาหลัก กับวิชาการศึกษา

มีผู้เสนอให้คณะศึกษาศาสตร์ มธ. ใช้เวลาเตรียม “ครูของครู” ให้ดีก่อน จึงเปิดระดับ ป. ตรี    จึงอาจพิจารณาเริ่มจากการเปิดหลักสูตร ป. โท ก่อน

และควรร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาทางเลือก ซึ่งเวลานี้มีอยู่กว่า ๔๐๐ สถาบัน รวมตัวกันเป็นสมาคม

ผมนั่งฟังผู้ให้ความเห็นอยู่ชั่วโมงเศษๆ ได้ความรู้มาก ทั้งด้านวิกฤติ และด้านโอกาส    เรื่องการศึกษาไทยนี่ซับซ้อนจริงๆ     เวลานี้การผลิตครูเกินพออย่างมากมาย    แต่ก็ขาดครูที่มีคุณภาพ    และที่ผลิตไม่ตรงความต้องการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

 
Home > Articles > การศึกษา > มธ. เตรียมเปิดคณะศึกษาศาสตร์ - เสนอมรรค ๘

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740091

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า