Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๑. ทุนและสินทรัพย์สำหรับทำงานเพื่อสังคม

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๑. ทุนและสินทรัพย์สำหรับทำงานเพื่อสังคม

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ มีการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗   มูลนิธินี้เราเรียกชื่อย่อๆ ว่า มูลนิธิ HITAP เป็นมูลนิธิที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานวิชาการ    อิงอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข    เพราะงานวิชาการที่ทำส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านสุขภาพ    แต่ต้องตั้งมูลนิธิ ขึ้นมาทำงาน เพื่อความคล่องตัว และความเป็นอิสระจากระบบ bureaucracy

หน่วยงานแบบนี้ ดำรงอยู่ได้เพราะฝีมือหรือความสามารถเป็นที่ยอมรับ    มีงานเข้า และสร้างรายได้เลี้ยงตัวจากการทำงาน วิชาการ    ซึ่งในกรณีนี้คือการประเมินเทคโนโลยี และประเมินนโยบายด้านสุขภาพ    คณะกรรมการมูลนิธีให้นโยบายไว้ว่า งานที่ทำ ต้องรับใช้สังคมไทยมากกว่าครึ่ง     ต้องตั้งเป้านี้ไว้ เพราะทีมนี้ชื่อเสียงดีมากในต่างประเทศ    โดนจีบไปทำงาน ในต่างประเทศ อยู่เสมอ    อย่างสัปดาห์นี้ ก็มีผู้บริหารระดับกลางจากเวียดนามมาเข้า workshop เรียนรู้เทคนิค การประเมินเทคโนโลยี และนโยบายด้านสุขภาพ

หัวหน้าทีม หรือผู้อำนวยการ HITAP คือ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.    ซึ่งเป็นคนหนุ่มที่มีฝีมือวิชาการ ความซื่อสัตย์จริยธรรมสูง และอ่อนน้อมถ่อมตน

วาระสำคัญที่สุดในการประชุมคราวนี้คือ รับรองงบดุลการเงินประจำปี ๒๕๕๖    ซึ่งสรุปได้ว่า มีสินทรัพย์ (assets) ๓๐ ล้านบาท    มีทุน (equity) ๒๓ ล้านบาท    และปีนี้รายได้ต่ำกว่าค่าใช้จ่าย ๖ แสนบาท

ผมชี้ให้คณะกรรมการเห็นว่า ตัวเลขข้างบนนั้นมองเฉพาะที่ตัวเงิน    เป็นมุมมองของการทำธุรกิจ ที่หวังผลประกอบการ เป็นกำไรที่เป็นเงิน   แต่งานของ HITAP เป็นงานวิชาการ ดังนั้น assets ที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน แต่เป็น คน” และ Intellectual Assets อื่นๆ

ดังนั้น จึงควรวิเคราะห์ ROA (Return on Assetsของ HITAP    ว่าในแต่ละปี คน เงิน + เครือข่าย (social capitalของHITAP ได้สร้างผลงาน (Return) อย่างไร    เปรียบเทียบ ๓ ปี    จึงจะเป็นรายงานผลงานของ HITAP ในฐานะหน่วยงานวิชาการ

นพ. ยศ เสนอว่า Return ของ HITAP มี ๔ อย่างคือ

๑. ผลกระทบต่อนโยบาย

๒. บุคลากรที่พัฒนาขึ้น

๓. ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ  และที่เป็นรายงานอย่างอื่น

๔. เครือข่ายที่เกิดขึ้น

 

เราได้คุยกันว่า ต่อไปให้ HITAP เสนอแผนการทำงานของปีต่อไปล่วงหน้า     เพื่อจะได้รู้ว่ามีปัจจัยที่จะต้องระมัดระวัง อะไรบ้าง    หมอยศจึงบอกความกังวลใจว่า เป็นห่วงปี ๒๕๕๙ จะมีบุคลากรที่ไปเรียน PhD กลับมา ๕ คน    จะเป็นภาระเงินเดือน เพิ่มขึ้นปีละ ๓ ล้านบาท   เป็นตัวอย่างของการคิดเตรียมรับเหตุการณ์ข้างหน้า    และสะท้อนมุมมองต่อผู้จบปริญญาเอก ๕ คน ว่าจะเป็น Assets (สินทรัพย์หรือเป็น Liability (ภาระต่อองค์กร    หน้าที่ของ บอร์ด คือ แนะนำวิธีทำให้คน ๕ คนนี้ เป็นสินทรัพย์ที่มีค่า สำหรับสร้างผลงาน (Return)

นี่คือตัวอย่างของการนำเอาการกำกับดูแลสมัยใหม่ (Modern Governanceมาใช้กับมูลนิธิ    เพื่อให้มูลนิธิมีการจัดการ ที่เข้มแข็ง    เพื่อความเข้มแข็งยั่งยืนขององค์กร

 

๔ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 02 เมษายน 2014 เวลา 13:21 น.  
Home > Articles > การศึกษา > ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๓๑. ทุนและสินทรัพย์สำหรับทำงานเพื่อสังคม

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8739873

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า