Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๘. โยนิโสมนสิการแผนพัฒนาประเทศ สู่อำนาจปัญญาเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

 

ในการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๖ พ.๕๖ ซึ่งผมได้บันทึกสาระของการพูดคุยไว้แล้ว ในบันทึกนี้ ทีมของสภาพัฒน์มอบเอกสารเส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน และวารสารเศรษฐกิจและสังคม จำนวนหนึ่ง เป็นการตอบแทน

ผมเอามาพลิกๆ ดู และถามตนเองว่ากิจการต่างๆ ของสภาพัฒน์ เท่าที่ผมเห็น    จะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทย ออกจากกับดักรายได้ปานกลาง     และให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาพ สังคมเข้มแข็ง ๓ มุม” ได้ไหม    สังคม ๓ มุม คือสังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำตอบคือ ประเทศไทยเรายังขาดกลไกเชิงสถาบันเพื่อการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกเชิงปัญญาที่เป็นอิสระจากอำนาจ ทั้งหลาย สำหรับช่วยเป็นแรงส่งการดำเนินการที่ซับซ้อนและปรับตัว (complex-adaptive) ยิ่ง คือการพัฒนาประเทศ   โดยใช้ อำนาจปัญญา เป็นอำนาจที่ ๔    เพิ่มจากอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และ อำนาจตุลาการ ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร อย่างในปัจจุบัน เราต้องการอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์

สภาพัฒน์ ไม่อยู่ในฐานะนั้น เพราะเป็นหน่วยราชการ    ผู้บริหารของสภาพัฒน์ต้องประนีประนอมกับนักการเมือง    ผู้มีอำนาจให้คุณให้โทษตนได้ ไม่สามารถทำงานวิจัยแบบวิเคราะห์เจาะลึกตรงไปตรงมา และบอกแก่สังคมแบบไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมได้    คือสภาพัฒน์ยังเป็นกลไกรัฐบาล ไม่ใช่กลไกประเทศไทย และเก่งยกร่างแผนพัฒนาที่ประนีประนอม    แต่ไม่เก่งเลยในช่วงของการดำเนินการตามแผน

ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ ด้วย  โดยมี ดรณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน ผมมีโอกาสไปประชุมครั้งแรกครั้งเดียว    แล้วไม่ได้ไปอีก   เพราะเขาไม่นัดประชุมล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ    ใช้วิธีนัดตามที่ประธาน สะดวก    นัดทีไรผมไม่ว่างสักที    ตอนไปประชุม ผมเสนอให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (จริงๆ คือสารสนเทศ - information) ที่สื่อสารกว้างขวางได้ และชาวบ้านเข้าใจ    โดยมีดัชนีชุดหนึ่งของ สังคมมั่นคง  สังคมสีเขียว  และสังคมวัฒนธรรม ให้เห็นแนวโน้มความเคลื่อนไหว

จะเห็นว่า ความเสื่อมโทรมของสังคมไทยในช่วง ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมา ในด้านการเมือง ที่ขบวนการมวลมหาประชาชน ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทย นั้น    ไม่มีสัญญาณจากสภาพัฒน์ออกมาเตือนสังคมเลย

และสภาพัฒน์ ไม่ได้จับประเด็นสำคัญหลัก ๒ อย่างตามความเห็นของคุณบรรยง พงษ์พานิชที่นี่ (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมากคือ เรื่องผลิตภาพกับเรื่องการกระจายรายได้ ขึ้นมาเป็นเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อน

 

จะว่าสภาพัฒน์ ทำงานไม่ดีก็คงไม่ถูก    เพราะงานหลายอย่างของสภาพัฒน์ ก็ช่วยประสานการเคลื่อนสังคมไทย ไปข้างหน้าอย่างเป็นระบบและอย่างมีสารสนเทศสนับสนุน   เพียงแต่ว่ายังขาดงานส่วนที่เป็นการจัดทำสารสนเทศเชิงลึก และเป็นวิชาการมากๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบที่ไม่เข้าใครออกใคร ซึ่งเป็นบทบาทสร้าง อำนาจปัญญาให้แก่สังคมไทย

 

ที่จริงเรามีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    มี วช., สวทช., สวรส., สกว., สวก., สวทน.   แต่ยังไม่มีการใช้พลังของหน่วยงานเหล่านี้อย่างเต็มที่    ไม่มีการพัฒนานักวิจัยระดับยอดอย่างจริงจังและเป็นระบบ    ไม่มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนอย่างที่แถลงนโยบาย    กล่าวได้ว่านโยบายรัฐบาลในเรื่องสนับสนุนการวิจัยนั้น ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา เป็นนโยบายประเภท ดีแต่ปาก”    ไม่ได้ทำจริงจัง    ในรัฐบาลที่เพิ่งลาออกไปมีรัฐมนตรีที่เข้ามาทำลายระบบการวิจัย ด้วยซ้ำ

 

ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีระบบอำนาจปัญญาที่เข้มแข็ง เป็นอิสระ และซื่อสัตย์    ประเทศไทยจะพัฒนายกระดับขึ้นไป ได้ยาก หรือไม่ได้เลย

การปฏิรูปประเทศไทย ต้องคำนึงถึงการสร้างระบบปัญญาของประเทศ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:25 น.
 

Vote No – No Vote : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

พิมพ์ PDF
ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

Vote No – No Vote  : ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์

 

ความเห็นส่วนตัวของผม.......

 

สำหรับคนที่ไม่เอาระบอบทักษิณนั้น ที่เพียง 2 ทางเลือก คือ VOTE NO      หรือ    NO VOTE

1. สำหรับคนที่ต้องการรักษาสิทธิบางประการตามข้อ 2 ก็เชิญไปเลือกตั้ง VOTE NO     จะได้ผล ถ้าการเลือกตั้งคราวนี้ไม่เป็นโมฆะ

2, ส่วนผมจะไม่ไปลงคะแนนเพราะ

2.1 ผมยอมเสี่ยงเสียสิทธิทางการเมืองบางประการ ซึ่งไม่สำคัญสำหรับผม (ไม่เคยใช้อยู่แล้ว)

2.2 ผมต้องการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่า ไม่ยอมรับรัฐบาลในระบอบทักษิณ ที่ละเมิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญซ้ำซากหมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลและเป็นเจ้าภาพในการจัดการเลือกตั้ง

2.3 ถ้าไปเลือกตั้งโดย  VOTE NO     ถึงแม้จะมีคะแนนมากกว่าผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดและเป็นเหตุ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ในที่สุด ผลก็จะได้ส.ส.ฝูงแกะของทักษิณซึ่งจะเลวร้ายกว่าสภาผู้แทนที่ถูกยุบไปแล้ว เสียอีก (ตามกฎหมายเลือกตั้ง ม. 88,89,9)

2.4 ถ้ามีคนไปลงคะแนนน้อย เช่นน้อยกว่า 50 % จะมีผลเท่ากับปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร

2.5 ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งคราวนี้ จะเป็นโมฆะ  ไม่ไปเลือกก็ไม่เสียสิทธิ แต่รัฐเสียเงินเลือกตั้งเปล่า 3,800 ล้านบาท เพราะเรามีรัฐบาลขี้โกง

 

เขียน ธีระวิทย์

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:16 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๘๖. การเมืองเรื่องน้ำ

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๕ ม.๕๗ ผมฟังวิทยุ เอฟเอ็ม ๑๐๑ ระหว่างเดินออกกำลัง    ในรายการเวทีปฏิรูป คุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ สัมภาษณ์คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ    เรื่องการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำ    ที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศไทย    ฟังแล้วเกิดความประทับใจในความรอบรู้ และน้ำเสียงเห็นแก่ส่วนรวม

สาระที่ประทับใจคือคำว่า น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ    ที่ผมไม่เคยรู้จัก    เขาบอกว่าการปิดๆ เปิดน้ำจากเขื่อน    ช่วงปิดก็ปิดตาย น้ำในแม่น้ำแห้ง    จะทำลายระบบนิเวศ    ต้องปล่อยน้ำลงมาพอสมควรเพื่อรักษาระบบนิเวศ    แต่เขื่อนมักไม่ได้ทำ    แต่พอฟังข่าววิทยุแห่งประเทศไทย ๗ โมงเช้า    มีข่าวเรื่องขอร้องให้งดทำนานอกฤดู เพราะน้ำในเขื่อนจะไม่พอใช้    ต้องแบ่งปันกันใช้หลายทาง    เขาเอ่ยถึงน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศด้วย

จากการฟังข่าวจาก ๒ ทางนี้   ทำให้ผมสงสัยว่าจะเชื่อใครดี    เพราะคุณหาญณรงค์บอกว่า น้ำในเขื่อนมีกว่า ๗๐%   แต่คุณหาญณรงค์ว่ามีให้ใช้ได้เพียงร้อยละ ๕๐ เศษๆ เท่านั้น

ผมลองมาค้นด้วย กูเกิ้ล พบ ข่าวนี้ และ การอภิปรายนี้

เป็นที่รู้กันว่าในอนาคตเรื่องน้ำ จะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของโลก และสังคม    ถ้าไม่จัดระบบให้ดีจะก่อปัญหามากมาย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิง    เป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นส่วนสำคัญของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคนที่ไม่มีกำลังต่อรอง คือชาวบ้าน    โดยฝ่ายที่มีอำนาจ ได้แก่อำนาจรัฐ หรือฝ่ายที่มีอำนาจเงิน    โดยมีตัวอย่างที่เกิดมาแล้ว มากมาย เช่นเขื่อนปากมูล

เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอรัปชั่นที่เรากำลังต้องการขจัดในขบวนการปฏิรูปประเทศไทยในขณะนี้    ถ้าท่านอ่านข่าวที่ลิ้งค์ให้แล้ว จะเห็นร่องรอยของ คอรัปชั่นเชิงนโยบาย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ม.๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:52 น.
 

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

พิมพ์ PDF

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

But the truth is more complex, with the protesters being arguably – and paradoxically – more democratically minded than the elected government they oppose. To understand how this is possible, one has to scratch beneath the surface of Thai politics and dispel some myths.

ใครไม่เคารพประชาธิปไตยกันแน่ - The Guardian

อ่าน ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:55 น.
 

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

พิมพ์ PDF

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

But Thaksin's Thai Rak Thai Party, even as such a beneficiary, was dismantling democracy's supporting elements as fast as it could through threats and strong-arming of the press, use of bank credit for commercial blackmail, prejudicial use of the police, and intimidation and bribery of the courts. For the Shinawatra family, ruling the state is a business, similar to running a telecom firm. Elections, blackmail and bribes are all tactics their affiliated political parties use to keep the money coming in. The opening to the lower classes is just another tactic that will be abandoned as soon as it is safe, and plenty of red shirt leaders are worried about just this.

Thai Middle Way offers an exit – Jeffrey Race

อ่าน ที่นี่ ที่จริงผมเคยเอามาลงครั้งหนึ่งแล้ว โดย link จาก Asia Times   คราวนี้ เดอะเนชั่น นำมาลงเมื่อวันที่ ๒๘ ม.ค. ๕๗    เป็นบทความที่เขียนดีมาก

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ม.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2014 เวลา 07:57 น.
 


หน้า 396 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743855

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า