Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ประสานพลังเพื่อการพัฒนาพื้นที่

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๔ พ.ย. ๕๖   ผมไปร่วมประชุมให้ความเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง โครงการระบบประเมินผลแบบเสริมพลัง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ที่สกว.    ท่ามกลางบรรยากาศร้อนระอุทางการเมือง    ที่กระแสต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมแบบสุดซอย ขึ้นสูงมาก    แต่การประชุมนี้ให้ความสุข ชุ่มชื่นหัวใจแก่ผมเป็นอันมาก   เพราะได้เห็นวิธีการประสานพลังเพื่อการพัฒนาพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จน่าชื่นชม    โครงการนี้มีคุณจิริกา นุตาลัย เป็นหัวหน้าโครงการ

ผมได้เรียนรู้ว่าการประเมินผลแบบเสริมพลัง ทีมผู้ทำงานต้องเป็นผู้ประเมินเอง    สำหรับใช้ผลการประเมินในการปรับการทำงานของตน   ให้ได้ผลตามเป้าหมาย    และสำหรับเป็นข้อเรียนรู้ของตนเอง    ทีมประเมินทำหน้าที่ตั้งคำถาม เพื่อให้ทีมทำงานฉุกคิด หาทางทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ผมยิ่งชื่นใจ ที่ทีมประเมินและทีม สกว. บอกว่า มีหลายจังหวัดที่บอกว่า “โครงการ สกว. จบ    แต่พวกเราจะทำต่อ”   ผมคิดว่า สปิริต นี้ คือผลงานที่แท้จริง

สปิริตของแกนนำในพื้นที่ ที่จะรวมตัวกัน ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ของตน    อย่างมีระบบ มีการสร้างข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการพัฒนา

เราได้เห็นว่า มี “สินทรัพย์เพื่อการพัฒนาพื้นที่” (development assets) อยู่ในพื้นที่มากมาย    แต่โดยทั่วไปจะไม่ได้นำมาใช้ หรือใช้แบบแยกส่วน   ไม่ได้ใช้ให้เกิดการเสริมพลัง (synergy) กัน    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สินทรัพย์” ที่อยู่ในหน่วยราชการ    แต่เมื่อเชื่อมโยงเอามาใช้ร่วมกันได้    จะเกิดประโยชน์มหาศาล    เขายกตัวอย่างศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชนครราชสีมา     เป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งต่อโครงการกลุ่มเกษตรและอาหารปลอดภัย เชื่อมโยงกับโครงการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ในระหว่างการเสวนาแลกเปลี่ยนกันนั้น    ผมปิ๊งแว้บคำว่า Empowerment Report   ที่เป็นรายงานถอดบทเรียนความสำเร็จของกลุ่มแกนนำและทีมงานของแต่ละพื้นที่    ที่ได้จากการทำ reflection หรือ AAR ของผู้เกี่ยวข้องเหล่านั้น    นำมาเรียบเรียงสังเคราะห์เป็นรายงาน    โดยผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า รายงานสมัยใหม่น่าจะจัดทำเป็น multimedia   คืออาจมีวีดิทัศน์สั้นๆ เสริมด้วย

“สินทรัพย์” ที่มีค่าที่สุดในพื้นที่ ในความเห็นของผม คือ จินตนาการร่วมกันของกลุ่มแกนนำ    ในการพัฒนาพื้นที่   แล้วมีการศึกษาหาความรู้หาข้อมูล    เพื่อนำมาปรับความฝันให้เป็นเป้าหมายที่สมจริง    แล้วรวมพลังทุกภาคส่วนในพื้นที่ และนอกพื้นที่    เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายนั้น

ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ผลลัพท์ที่มีค่าสูงสุดต่อพื้นที่ไม่ใช่ตัวผลสำเร็จของโครงการ    ผลลัพท์ที่มีค่ามากกว่า คือการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำโครงการนั้น   ดังนั้น Empowerment Report จึงมีค่ายิ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2013 เวลา 22:18 น.
 

การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบของวิกฤติประเทศไทย

พิมพ์ PDF
นักการเมืองคิดแต่การเลือกตั้ง แต่รัฐบุรุษคิดแต่ผลประโยชน์ชาติ

การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบของวิกฤติประเทศไทย

อ่านได้ ที่นี่ http://www.dailynews.co.th/Content/politics/201738/การเมืองไทยบน+’ทางสองแพร่ง’+ปฏิรูปประเทศ+’งัดข้อ’+การเลือกตั้ง

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2013 เวลา 21:11 น.
 

วิชาการสายรับใช้สังคม : ตัวอย่างด้านสังคมศาสตร์

พิมพ์ PDF

รศ. ดร. อรทัย อาจอ่ำ แห่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม    ส่งรายงานผลการวิจัยเรื่อง การสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชนชาวนา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนทัศน์ใหม่ทางการวิจัย : ประสบการณ์จากอำเภอขุขันธ์ ศรีสะเกษ มาให้    ผมอ่านแล้วเห็นตัวอย่างนักวิชาการสายสังคมศาสตร์ ที่ลงทำงานวิจัยในพื้นที่   เพื่อร่วมสร้างเสริมพลังอำนาจ ความมั่นใจตนเอง ของชุมชนในชนบท

รายงานดังกล่าว อ่านได้ ที่นี่

ดร. อรทัย ยังเผยแพร่ผลงานในที่ต่างๆ    เพื่อสร้างวาทกรรมการเสริมพลังอำนาจ (empowerment) ต่อชุมชนชาวนา อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ดัง ตัวอย่างนี้

อ่านแล้วผมตรึกตรองว่า นี่คืองานวิชาการสายรับใช้สังคม ใช่หรือไม่    คำตอบคือจะว่าใช่ก็ใช่    จะว่าเป็นงานวิชาการสายวิชาการแท้ก็ใช่    แล้วแต่จะเสนอให้ประเมินในมุมใด

หากจะเสนอเป็นผลงานวิชาการสายรับใช้สังคม    การประเมินต้องเน้นวัดที่ผลกระทบต่อความมั่นใจตนเองของคนในชุมชน    วัดอย่างไรผมไม่ทราบ    รู้แต่ว่า นั่นคือโจทย์วิจัยสำคัญ ที่ สกอ. ควรร่วมกับ สกว. ประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่อหาวิธีวัด

หากจะเสนอเป็นผลงานสายวิชาการแท้   การประเมินต้องวัดตามวิธีการประเมินผลงานวิชาการตามปกติ    คือดูที่นวภาพ (novelty) ทางวิชาการ, ความแม่นยำน่าเชื่อถือ, และเมื่อเผยแพร่แล้ว ได้รับการยอมรับอ้างอิงในวงการวิชาการด้านนั้นๆ, และเกณฑ์อื่นๆ ที่มีปรากฎชัดเจนตามที่ กพอ. กำหนด

เขียนบันทึกนี้แล้ว ทำให้นึกออกว่า ผลงานวิชาการสายรับใช้สังคม จะเห็นผลกระทบแท้จริง ต้องทำต่อเนื่องยาวนาน   จึงต้องทำงานแบบเป็นโปรแกรม   ไม่ใช่แบบเป็นโปรเจ็คท์

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ พ.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2013 เวลา 09:08 น.
 

ฤาคนไทยยอมรับคอร์รัปชั่น

พิมพ์ PDF
เราจะยอมให้ความหวังในการปฏิรูปประเทศ กำจัดคอร์รัปชั่น ฟื้นฟูจริยธรรม การยอมรับปฏิบัติตามกฎหมาย ตลอดจนทุกคนได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงสูงสุดกับการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ได้หรืออย่างไร

 

ฤาคนไทยยอมรับคอร์รัปชั่น

อ่านเรื่องราวการเมืองจากหลายๆท่านในการหาทางออกให้ประทศไทย ท่านที่เห็นด้วยกับรัฐบาลให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็มีไม่น้อย ไม่ว่าจะเสนอกลไกกำกับเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม

หากคะแนนเสียงเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยังทำให้ พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ก็ย่อมอ้างได้ว่าประชาชนข้างมากเห็นด้วยกับนโยบายนิรโทษกรรมสุดซอย การเปลี่ยนแปลงวิธีการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ฯลฯ

การออกมาคัดค้านเรื่องคอร์รัปชั่น เรื่องการที่ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ จากหลายๆกลุ่มรวมทั้ง กปปสที่มีผู้เข้าร่วมเกินกว่าล้านคนในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 และเกินกว่า 5 ล้านคนในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ก็เสียเปล่าโดยสิ้นเชิง

เราจะยอมให้ความหวังในการปฏิรูปประเทศ กำจัดคอร์รัปชั่น ฟื้นฟูจริยธรรม การยอมรับปฏิบัติตามกฎหมาย ตลอดจนทุกคนได้รับความยุติธรรมตามกฎหมาย ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงสูงสุดกับการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ได้หรืออย่างไร

 

บวรศรี สมบูรณ์ปัญญา

15 ธันวาคม 2556

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2013 เวลา 09:11 น.
 

ชักชวนร่วมกันเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

พิมพ์ PDF
หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เราก็แน่ใจได้เลยว่า เขาจะตะแบง เพราะจะเป็นรัฐบาลทักษิณที่มีนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดแบบรัฐบาลรักษาการนี้ ซึ่งเป็นปฐมบทของการตะแบง ที่ผ่านมา การเมืองไทยค่อยๆ ก้าวเข้าสู่การขัดแย้งใหญ่ ก็เพราะการตะแบงนี่แหละ

ชักชวนร่วมกันเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

ตอนนี้มี ๒ แนวทางใหญ่ๆ ของการคลี่คลายวิกฤติการเมืองไทย     แนวทางแรก คือ เลือกตั้งก่อน ปฏิรูปประเทศทีหลัง  โดยทุกฝ่ายตกลงกันว่า หลังเลือกตั้งแล้ว ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล จะร่วมกับอีกหลายฝ่าย ดำเนินการปฏิรูปประเทศ   เพื่อ (๑) วางระบบป้องกันและกวาดล้างคอรัปชั่น    (๒) ให้เกิดระบบสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นผู้แทนประชาชนหลากหลายอาชีพ หลากหลายวิถีชีวิต   (๓) ให้มีระบบองค์กรตรวจสอบ ที่ตรวจสอบได้อย่างแท้จริง   (๔) มีการเปิดเผยข้อมูลการบริหารประเทศแก่ประชาชน อย่างโปร่งใส  (๕) อื่นๆ    รัฐบาลรักษาการพยายามผลักดันแนวทางนี้

แนวทางที่สอง ปฏิรูปก่อน เลือกตั้งทีหลัง    ซึ่งหมายความว่า ปฏิรูปกฎเกณฑ์หลักๆ ให้เป็นที่ตกลงกันในทุกฝ่ายก่อน     แล้วจึงเลือกตั้ง    แล้วฝ่ายที่ชนะเลือกตั้งก็ดำเนินการปฏิรูปประเทศต่อไปตามแนวทางที่ตกลงกันไว้

ผมเลือกข้าง ขอชักชวนให้คนไทยช่วยกันเรียกร้องแนวทางที่สอง     ด้วยเหตุผลว่า ตอนเลือกตั้ง ประชาชนจะรู้แล้วว่า ตนจะต้องเลือกพรรคที่เข้ามาบริหารบ้านเมืองเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศ (รวมทั้งปฏิรูปการเมือง) ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ได้ดีที่สุด

เพราะหากไม่ตกลงประเด็นของการปฏิรูปไว้ให้ชัดเจนก่อน   พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งอาจตะแบง   อ้างว่าตนได้รับความไว้วางใจจากประชาชน   ตนจะดำเนินการบริหารประเทศอย่างไรก็ได้   แล้วการเมืองก็จะวนกลับไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่อีก

และหากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เราก็แน่ใจได้เลยว่า เขาจะตะแบง    เพราะจะเป็นรัฐบาลทักษิณที่มีนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดแบบรัฐบาลรักษาการนี้   ซึ่งเป็นปฐมบทของการตะแบง   ที่ผ่านมา การเมืองไทยค่อยๆ ก้าวเข้าสู่การขัดแย้งใหญ่ ก็เพราะการตะแบงนี่แหละ

เป็นการตะแบงเพื่อการรวบอำนาจสู่คนคนเดียว   ซึ่งนำไปสู่ความชั่วร้ายต่างๆ ตามมา

เพราะ “Absolute power corrupts absolutely”

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2013 เวลา 09:13 น.
 


หน้า 416 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743397

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า