Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มายาคติเรื่องขนาดของชั้นเรียน กับผลสัมฤทธิ์ของการเรียน

พิมพ์ PDF

ในการประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ แนวทางการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของครูสู่ศตวรรษที่ ๒๑” ที่ศศนิเวศ จัดโดย SIGA    มีการนำเสนอผลการประมวลสาเหตุของความด้อยคุณภาพของการศึกษาไทย    ว่าาเหตุหนึ่งคือ สัดส่วนของจำนวนนักเรียนต่อครูสูง หรือขนาดของชั้นเรียนใหญ่

 

 

ทำให้ระลึกถึงข้อความในหนังสือ Visible Learning : A Synthesis of Over 800 Meta-Analyses Relating to Achievement บทที่ 6 The contributions from school  หัวข้อย่อย Class size  เล่าผล meta-analysis ของผลการวิจัย ๙๖ ชิ้น  ครอบคลุมจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่มได้รับการทดลอง ๕๕๐,๓๓๙ คน    สรุปได้ว่า การลดขนาดจำนวนนักเรียนต่อชั้น (class size) มีผลยกระดับผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของนักเรียนน้อยมาก

 

ฝ่ายที่อ้างว่าการลดขนาดชั้นเรียน มีผลบวกต่อผลสัมฤทธิ์ บอกว่า การลดขนาดชั้นเรียนนำไปสู่การเรียน ที่เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายคนมากขึ้น,   การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น,   เปิดช่องให้เกิดนวัตกรรมในการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง,   เพิ่มขวัญกำลังใจของครู,  ลดปัญหาในชั้นเรียน,  ปัญหาความประพฤติของนักเรียนน้อยลง,  และดึงดูดความสนใจของนักเรียน ต่อชั้นเรียนง่ายขึ้น

 

 

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยจำนวนมากมาย ไม่สนับสนุนความคิดที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนจะดีขึ้น เมื่อลดขนาดของชั้นเรียนลง

 

 

เมื่อผู้เขียนหนังสือนี้ (John Hattie) ศึกษาเข้าไปในรายละเอียด จึงสรุปว่าผลบวกที่เกิดขึ้น จากการลดขนาดชั้นเรียน มีน้อยมาก   ผลบวกที่พบเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ด้านสภาพการทำงาน    ส่วนผลบวกที่เป็นผลด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียนมี น้อยมาก

 

 

ย้ำอีกทีว่า การลดขนาดชั้นเรียน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูดีขึ้นอย่างแน่นอน   แต่ปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนั้น อาจส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดีขึ้น หรือไม่ดีขึ้น ก็ได้

 

 

ข้อสรุปนี้เป็นจริงในทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน   และมาจากผลงานวิจัยในหลากหลายประเทศ

 

 

คำอธิบาย ว่าทำไมการลดขนาดชั้นเรียนไม่เพิ่มผลสัมฤทธิ์ก็คือ เป็นเพราะครูไม่เปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้   ยังคงใช้วิธีสอนแบบเดิม

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ส.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 เวลา 11:07 น.
 

ปฏิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF
ปัญหาสำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ เวลานี้ เงินซื้ออำนาจการเมืองไทยได้ ซื้อโดยคนคนเดียว

ปฏิรูปประเทศไทย

อ่านข่าวนี้แล้ว ผมเห็นด้วยกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง    และเห็นด้วยกับทุกความเห็นในข่าวนี้

ผมขอเชิญชวนให้อ่าน บทความนี้ และรายงานของคณะกรรมการปฏิรูป รายงานนี้ เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย

ปัญหาสำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ เวลานี้ เงินซื้ออำนาจการเมืองไทยได้    ซื้อโดยคนคนเดียว

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 เวลา 10:14 น.
 

ปฎิรูปประเทศไทย

พิมพ์ PDF

จริงหรือไม่ ?

หลังจากผมได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช "ปฎิรูปประเทศไทย" ประโยคหนึ่งที่ท่านเขียนไว้ "ปัญหาสำคัญยิ่งในสายตาของผมคือ เวลานี้ เงินซื้ออำนาจการเมืองไทยได้ ซื้อโดยคนคนเดียว

เห็นว่าเป็นเรื่องที่คนไทยควรติดตามและศึกษา จริงหรือไม่จริงคงต้องใช้ดุลพินิจของแต่ละท่านครับ เรื่องของความคิดของแต่ละคน ไม่สามารถตัดสินได้ว่าของใครผิด ของใครถูก ขึ้นกับมุมมองและข้อมูลที่ได้ของแต่ละคน+ทัศนคติของแต่ละคนในเรื่องนั้นๆ แต่สิ่งที่ผมเชื่อคือกฎแห่งกรรม ใครทำดีย่อมได้รับกรรมดี และคนทำไม่ดี เบียดเบียนคนอื่น ก็จะต้องได้รับกรรมที่ไม่ดีเช่นกัน คนทุกคนไม่มีใครดีพร้อมและก็ไม่มีใครที่เลวไปทั้งหมด คนเราสามารถทำผิดพลาดได้ แต่เมื่อรู้ตัวว่าผิดแล้วต้องรีบแก้ไข อย่างให้ผิดซ้ำสอง ยอมรับผิดและแก้ไขสิ่งที่ทำผิดให้ดีขึ้น ไม่ใช้ทิฐิการเอาชนะซึ่งกันและกัน เพราะนั่นคือหนทางแห่งความหายนะของทุกคน
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
21 กันยายน 2556

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๖. ช่วยกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้านการท่องเที่ยว จากนักท่องเที่ยว และผู้หากินกับนักท่องเที่ยวที่ไร้ความรับผิดชอบ

พิมพ์ PDF

ดังเล่าในบันทึกที่แล้ว ว่าเกือบเที่ยงวันเสาร์ที่ ๒๙มิ.ย. ๕๖ ผมไปพบสภาพที่ทั้งทางการไทย คนไทยผู้หากินกับนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวฝรั่ง  ต่างก็ร่วมกันทำลายหินย้อยก้อนหนึ่งที่ชายหาดถ้ำพระนาง ที่เป็นส่วนหนึ่งของหาดไร่เลย์ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือโดยไม่รับผิดชอบ

ผมสงสัยว่า คนไทยเราหิวเงินจากการท่องเที่ยวมากเกินไปหรือเปล่า  จนเราไม่เอาใจใส่ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ที่หากค่อยๆ ถูกทำลายไป ก็จะไม่มีวันกลับคืน

คำถามคือ ประเทศไทย/สังคมไทย ควรหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ อย่างกรณีหินย้อยก้อนนี้ ที่ผมเอารูปมาให้ดูแล้ว หรือไม่  เราควรห้ามคนแตะต้องหรือไม่  เพราะที่ผมไปเห็นในต่างประเทศเขาจะมีป้ายห้ามแตะต้อง  และไก๊ด์ต้องบอกนักท่องเที่ยวของตนทุกครั้ง ว่าห้ามแตะต้อง

ประมาณ ๑๑ น. เศษผมไปเห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งคนหนึ่งกำลังไต่หน้าผา ที่ชายหาดถ้ำพระนาง  ข้างๆ เป็นหินย้อยก้อนใหญ่ ที่คนนิยมไปถ่ายรูป  โดยเขามีเก้าอี้ให้ขึ้นไปยืนเอามือแตะปลายหินย้อย  ฝรั่งลองปีนหน้าผา ๒ ครั้ง ไม่สำเร็จ ก็หันมาปีนหินย้อยแทน ให้เพื่อนถ่ายรูป  คุณหญิงชฎากับผมจึงไปห้ามปราม เขาทำเป็นไม่ได้ยิน  เรามองหาป้ายห้ามก็ไม่พบ

ผมเดินไปบอกคนไทยที่กำลังทำหน้าที่ดูแลให้ความปลอดภัยนักปีนหน้าผาอีกคนหนึ่ง ที่ปีนหน้าผาอีกส่วนหนึ่ง  และปีนขึ้นไปถึงหลืบหินสูงประมาณ ๒๐ เมตร  ว่าในฐานะคนที่หากินกับธรรมชาติเหล่านี้ เขาควรห้ามปรามไม่ให้นักท่องเที่ยวแตะต้องหินย้อย  เขาตอบว่าห้ามทำไม ใครๆ ก็ปีนกันทั้งนั้น  ผมบอกว่า หากไม่ห้าม ต่อไปมันก็ถูกทำลาย แล้วคุณก็หมดอาชีพ  ควรเก็บไว้หากินนานๆ  เขาบอกผมว่า ให้ผมไปบอกเจ้าหน้าที่  พร้อมทั้งชี้มือไปทางเจ้าหน้าที่

ผมจึงไปพูดกับเจ้าหน้าที่ ที่เขาบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่อำเภอ  มาทำหน้าที่อำนวยความสะดวก  เขาบอกว่าเขาเคยห้ามแต่นักท่องเที่ยวก็ไม่ฟัง  และเคยมีป้ายห้ามปีน แต่คนยังปีน จึงเอาป้ายออก

ผมจึงได้ไปเห็นความหละหลวมในการจัดการการท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ของประเทศ  ดูคล้ายๆ เราสนใจแต่การเอาใจนักท่องเที่ยว  โดยไม่สนใจกำกับดูแล หรือควบคุมนักท่องเที่ยวที่นิสัยชุ่ย เอาแต่ความสนุกของตน ไม่สนใจรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศหรือสถานที่ที่ตนไปเที่ยว  ซึ่งอาจเป็นคนต่างชาติหรือคนไทยก็ได้

ในความเห็นของผม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงการท่องเที่ยว  และ อปท. ต้องช่วยกันทำหน้าที่นี้อย่างร่วมมือกัน ต้องมีป้ายที่ชัดเจนว่าห้ามอะไรบ้าง  ในบางถ้ำที่ผมไปเที่ยวในต่างประเทศ เขาให้ถ่ายรูปแต่ห้ามใช้แฟลช เพื่อป้องกันแสงทำลายถ้ำ  เขามีเหตุผลในคำอธิบาย  โดยมีบอกทั้งในป้ายประกาศ  ในแผ่นพับอธิบายหรือแนะนำสถานที่  และไกด์จะบอกเตือนล่วงหน้า  และเมื่อนักท่องเที่ยวทำผิดกติกา เขาก็จะเตือนอย่างสุภาพ

แต่ในบ้านเรา ผมไปพบแต่คนที่ไม่รับผิดชอบ  สะท้อนความไม่รับผิดชอบของระบบที่เกี่ยวข้อง  ผมไปพบว่า ที่กระบี่ มีปัญหาการจัดการ sustainable tourism

ผมคิดมากไปหรือเปล่าครับ?

๓๐ มิ.ย. ๕๖


 



ชายหาดถ้ำพระนาง



หน้าผาสำหรับปีนและหินย้อยก้อนโต



ฝรั่งไต่หน้าผามือเปล่าให้เพื่อนถ่ายรูป ลองหลายครั้ง



แล้วหันมาปีนหินย้อย คุณหญิงชฎาเข้าไปห้ามและถ่ายรูป



เขาไม่ฟัง กลับปีนเฉย



คนสวมเสื้อเขียวให้บริการนักปีนเขา



เมื่อผมไปบอกว่าเขาควรห้ามนักท่องเที่ยวปีหินย้อย เขาบอกว่าห้ามทำไม ใครๆ ก็ปีน   
และบอกให้ผมไปบอกให้เจ้าหน้าที่ห้าม



เจ้าหน้าที่ของอำเภอ บอกว่าห้ามไม่ได้ ไม่มีใครฟัง จึงเอาป้ายห้ามออก



ถ่ายให้เห็นหน้าเจ้าหน้าที่ชัดๆ

 


 



 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 07:30 น.
 

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

พิมพ์ PDF
แง่คิดที่น่าสนใจของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า 
บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค 
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง 
ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว 
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย 
ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ 
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย 
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน 
นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น 
อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ล. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น 
ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง 
อาจารย์รุจิระ บุนนาค 
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2013 เวลา 09:38 น.
 


หน้า 449 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742838

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า