Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทเรียนการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย (อายุ ๖๓ ย่าง ๖๔ ปี) ตอน ๔ : วัยรุ่น เรียนรัก - รักงาน

พิมพ์ PDF

ชีวิตช่วงประถมศึกษา อยู่โรงเรียนเป็นเด็กเรียบร้อย เล่นอยู่กับกลุ่มเพื่อผู้ชาย ไม่เคยพูดคุยกับเพื่อนผู้หญิง จะมีทักทายก็ไม่เกิน ๒-๓ คน ส่วนมากจะเล่นลูกหิน และซ่อนไม้ การเรียนไม่ได้สนใจและรักเรียนเท่าไหร่ คุณครูให้การบ้านมาทำมาก ผู้เขียนไม่ค่อยสนใจทำการบ้าน โดยเฉพาะการบ้านท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คุณครูจะตรวจเช็คการบ้านทุกวัน ใครไม่ทำก็โดนทำโทษ ผู้เขียนจะโดนทำโทษบ่อยๆ เบื่อหน่ายมากเพราะท่องศัพท์ไม่ค่อยได้ คุณครูสมคิดดุมาก สอนวิชาเลขคณิต ระหว่างสอนครูยืนใกล้ใครคนนั้นจะตัวสั่นด้วยความกลัว เพราะเมื่อทำผิดก็จะโดนตีด้วยไม้วงเวียนที่แขน ผู้เขียนเคยโดนตีที่แขนจนเป็นลอยแผล คุณแม่ต้องมาฟ้องคุณครูใหญ่   คุณครูสมคิด ถูกผู้ปกครองร้องเรียนหลายคนและหลายครั้งด้วยกัน สำหรับผู้เขียนกลัวครูสมคิดมาก แต่เมื่อเรียนจบรักและคิดถึงคุณครูสมคิดมากที่สุด ท่านสอนให้ผู้เขียนเก่งเลขคณิต ผู้เขียนมีโอกาสพบท่านอยู่ระยะหนึ่งในช่วงที่ผู้เขียนทำงานใหม่ๆ ชีวิตของท่านไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะท่านดื่มเหล้ามาก และสุขภาพไม่ค่อยดี เมื่อพบท่านก็พยายามหาโอกาสได้ตอบแทนบุญคุณท่านแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากเท่าไหร่

เพื่อนนักเรียนส่วนมากจะเป็นเพื่อนที่มีบ้านพักอยู่ใกล้ๆโรงเรียน นับถือศาสนาคริส ผู้เขียนเข้าโบสถ์คริสเป็นประจำ เพื่อนที่นับถือศาสนาคริส จะนำ card ของศาสนาคริสมาให้ผู้เขียนดูผู้เขียนชอบมาก ผู้เขียนอยากได้ card เหล่านั้น แต่เพื่อนไม่ค่อยให้ เข้าใจว่า card นั้นจะเหมือนกับพระห้อยคอในศาสนาพุทธ

พงษ์ศักดิ์เพื่อร่วมห้องและผู้เขียนไปสมัครเล่นฟุตบอลยุวชน ของสโมสร JCT ทั้งผู้เขียนและเพื่อนต่างเล่นฟุตบอลเก่งทั้งคู่ แต่อยู่คนละทีม  เพื่อนที่สนามฟุตบอลส่วนมากจะเป็นพวกนับถือศาสนาอิสลาม พวกนี้อึดมาก ผู้เขียนเลยมีโอกาสเข้าสุเหร่าของอิสลามก็เพราะเพื่อนกลุ่มนี้

อยู่บ้านผู้เขียนเป็นหัวหน้าแก็งเด็กรุ่นเดียวกัน ชอบแกล้งเด็กผู้หญิง คุณแม่ถูกเพื่อบ้านฟ้องว่าผู้เขียนไปแกล้งลูกสาวเขาเป็นประจำ สมัยนั้นเพิ่งมีทีวีใหม่ๆ เป็นทีวี ขาวดำ ละแวกบ้านของผู้เขียนมีทีวีไม่กี่บ้าน ผู้เขียนโชคดีที่คุณพ่อซื้อทีวีให้ และเปิดให้เพื่อนๆเข้ามาดูทีวีทุกวันตั้งแต่หัวค่ำจนถึง 20.00-21.00 น เข้าๆออกบ้านกันเป็นว่าเล่น วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ บ้านของผู้เขียนกลายเป็นบ่อนเล่นไพ่ โดยผู้เขียนเป็นเจ้ามือ แต่ไม่ได้เล่นกินเงิน สมัยนั้นก็เล่นกินหนังสติ๊ก (หนังยาง) ไพ่ ลูกหิน เป็นช่วงๆสลับกัน ถ้าไม่เล่นไพ่ ก็เล่นหยอดหลุม ทอยกอง ตั้งเต จับจิ้งหรีด จับปลา มีสิ่งให้เล่นมากมาก ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน  ผู้เขียนจึงไม่ค่อยทำการบ้าน เพราะเมื่อกลับมาถึงบ้านก็มีของเล่น พอค่ำก็ดูทีวี วันหยุดก็เล่นทั้งวัน และยังไปเล่นฟุตบอลอีก ทั้งเล่นที่บ้านและ ไปเล่นที่สวนลุม วัยนี้จึงเป็นวัยที่รักเล่น แน่นอนผู้ชายก็ต้องมีชกต่อยกันเป็นธรรมดา ผู้เขียนชกต่อยกับคนในระแวกบ้านเป็นประจำ เป็นการต่อยกันตัวต่อตัว ก่อนจะต่อยกันต้องใช้เวลานานมาก มีกองเชียร์ ขีดเส้นให้อยู่กันคนละข้างถุยน้ำลายลงฟื้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เขียนชื่อคนที่จะต่อยด้วยแล้วเอาเท้าเหยียบ ในหมู่บ้านของผู้เขียนมีกีฬาเล่นหลากหลาย วิ่งเปรี้ยว วิ่งผลัด ฟุตบอล ตีคลี ฯลฯ มากมาย ช่วงปีใหม่ทุกปีจะมีการแข่งขันกีฬา ช่วงค่ำก็จะมีภาพยนต์มาฉายยันสว่างในคืนวันที่ ๓๑ และวันที่๑  บางบ้านก็จะมีการเลี้ยงปีใหม่มีเต้นรำ สลับกันไป เป็นชีวิตที่มีความสุขมาก เป็นช่วงแห่งการรักเล่น  รักสนุก

ชีวิตช่วงมัธยมปลาย ชีวิตเริ่มเปลี่ยน กิจกรรมในระแวกบ้านน้อยลงแทบจะไม่มีเพราะต่างคนต่างโต รุ่นพี่ที่เป็นหัวแรงจัดกิจกรรมต่างๆเริ่มไปทำงาน สังคมในระแวกบ้านเริ่มห่างเหิน การรวมตัวกันยากไม่เหมือนเดิม ชีวิตของผู้เขียนเน้นไปที่โรงเรียน เป็นนักกีฑาวื่งเร็ว นักฟุตบอล  ของโรงเรียน เลิกเรียนต้องไปซ้อมวิ่งที่สนามศุภ ซ้อมวิ่งไปมองนักกีฑาหญิงไป ซ้อมฟุตบอลที่สนามของกรมทหาร ไม่มีนักเรียนหญิงให้ดูจึงซ้อมอย่างจริงจัง ผู้เขียนไม่ค่อยเข้าเรียนในชั่วโมงสุดท้าย เนื่องจากต้องออกเดินทางไปซ้อมวิ่งหรือซ้อมฟุตบอล นอกโรงเรียน  เริ่มหนีเรียน มาโรงเรียนแต่ไม่เข้าเรียน ไปอยู่ที่โต๊ะสนุกเกอร์ โบวล์ริง และสเก็ตน้ำแข็ง  ช่วงนี้เป็นช่วงที่หนีเรียนและจีบผู้หญิง  เนื่องจากผู้เขียนเป็นนักกีฬาจึงมีนักเรียนหญิงมาชอบมาก ต้องสัปหลีกอยู่บ่อยๆ เปลี่ยนแฟนเกื่อบทุก ๓ เดือน แต่แฟนสมัยนั้นเป็นแฟนแบบเด็กๆ จีบให้เขาชอบ พอชอบเราก็หาคนอื่นต่อ ผู้เขียนไม่เคยจับไม้จับมือหรือล่วงเกินแฟน เพียงแค่ว่าเขาชอบเราๆชอบเขาแค่นั้น ไม่มีอะไรเกินเลยไปจากนั้น  อย่างไรก็ตามมีเรื่องสลดใจอยู่เรื่องหนึ่งที่ไม่สามารถลืมได้ คือมีเด็กนักเรียนรุ่นน้องคนหนึ่ง ที่ผู้เขียนไปจีบและเด็กคนนี้รักผู้เขียนมาก เพื่อนสนิทของผู้เขียนรักเด็กผู้หญิงคนนี้  ผู้เขียนจึงวางแผนเพื่อยกเด็กคนนั้นให้เพื่อนของผู้เขียน  แกล้งแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีแฟนอยู่แล้วและให้เพื่อเข้าไปดูแลเด็กคนนั้นแทนผู้เขียน ผู้เขียนหลบและไม่ยอมติดต่อเด็กคนนี้อีกเลย เพราะตกลงยกให้เพื่อนแล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งผู้เขียนฝันว่าเด็กผู้หญิงคนนั้นมาร้องไห้และต่อว่าผู้เขียนว่าทำไมถึงทำกับเขาอย่างนั้น ผู้เขียนจำรายละเอียดไม่ได้ เมื่อได้พบเพื่อนจึงถามเพื่อนถึงเด็กผู้หญิงคนนั้น จึงทราบว่าเด็กผู้หญิงคนนั้นเสียชีวิตในวันที่มาเข้าฝันผู้เขียน เพื่อนผู้เขียนรักเด็กคนนั้นมาก เขาแสดงความเสียใจและหลังจากนั้นความสัมพันธ์ของผู้เขียนกับเพื่อนคนนั้นก็ห่างๆกันไป และไม่มีโอกาสได้ทราบข่าวคราวเพื่อนคนนี้อีกเลย

ช่วงปิดเทอมผู้เขียนและน้องๆทุกคนไปพักกับคุณพ่อคุณแม่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากคุณพ่อไปรับตำแหน่งสหกรณ์จังหวัด  เพื่อร่วมห้องเรียนอีก ๒ คน ก็ไปอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เช่นกัน  คนหนึ่งแม่เป็นเจ้าของโรงแรมที่สุพรรณ อีกคนพ่อเป็นผู้พิพากษา เลยเข้าแก็ง เย็นมาก็ขี่จักยาน ขีมอเตอร์ไซด์ จีบสาว  เนื่องจากเป็นลูกชายข้าราชการผู้ใหญ่ของจังหวัด ทำให้มีสาวชอบมาก มีทั้งลูกพ่อค้า ลูกข้าราชการ ลูกตำรวจ มากมายหลายคน มีอยู่คนหนึ่งเป็นลูกสาวนายตำรวจใหญ่ ด้วยความคะนองจึงไปจีบเล่นๆ แต่เธอเอาจริง ติดตามสืบจนรู้จักบ้านของผู้เขียนที่กรุงเทพ และชวนคุณแม่ของเธอมาเช่าบ้านใกล้ๆกับผู้เขียนที่กรุงเทพ เข้าหาคุณแม่ของผู้เขียน  เธอพยายามทุกวิถีทางที่จะดึงผู้เขียนให้ไปร่วมงานของครอบครัวเธอ ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีเชื้อสายและตระกูลที่ดี แต่ผู้เขียนไม่ได้คิดอะไรกับเธอจึงหลบและบ่ายเบี่ยงตลอดเวลา ไม่ยอมใกล้ชิดและไม่ไปงานที่เธอมาขอร้องให้ไปด้วย

ช่วงจบมัธยมต้น ผู้เขียนตั้งใจสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และไปไหว้ที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ราชประสงค์ เพื่อขอให้สอบติด แต่เวลาไหว้ไปนึกถึงท่านท้าวเวชสุวรรณ ผู้เขียนสอบไม่ติดโรงเรียนเตรียมทหาร และสลบไปสองคืนสามวัน เนื่องจากคุณแม่ชวนให้ผู้เขียนนั่งรถไปเอาของที่กรุงเทพกับคุณแม่ โดยหลอกว่าจะให้ช่วยขับรถ ผู้เขียนเพิ่งขับรถเป็นใหม่ๆจึงอยากขับรถ ขาไปกรุงเทพ คุณแม่ยังไม่ให้ขับ พอขากลับก็อ้างว่าจะมืดแล้ว ผู้เขียนโกรธคุณแม่มากที่มาหลอกและไม่รักษาคำพูด จึงบอกให้คนรถจอดรถ จะแยกทางกับคุณแม่ คุณแม่ไม่ให้คนรถหยุดรถ ผู้เขียนจึงโดดลงจากรถเพราะเข้าใจว่าคงไม่เป็นไร (รถวิ่ง ๘๐ กม/ชม) เมือผู้เขียนกระโดดลงจากรถ ก็จำอะไรไม่ได้ สลบไป ๒ คืน ๓ วัน ตื่นมาเจอหน้าคุณพ่อเป็นคนแรกท่านน่าเศร้าเหมือนกับไม่ได้นอน สงสารท่านมาก ผู้เขียนจำเหตุการณ์ระหว่างที่สลบได้อย่างแม่นยำว่า มีใครก็ไม่ทราบ มาพาผู้เขียนไปชมนรก และสวรรค์ ผู้เขียนได้ไปเที่ยวชมหลายแห่ง ขณะนั้นจำได้ทุกอย่าง แต่ตอนนี้ลืมหมดแล้ว

ถือว่าตั้งแต่จำความได้ จนถึง ช่วงมัธยปลายเป็นช่วงที่ผู้เขียนเจอแต่สิ่งที่ไร้สาระ ไม่ตั้งใจเรียน เอาแต่เล่นกีฬา และจีบผู้หญิง ทำให้คนต้องเสียใจในการกระทำของผู้เขียน เจ็บตัว เหมือนกับตายแล้วเกิดใหม่  โดยเฉพาะช่วงมัธยมปลายถือว่าเป็น ๒ ปีที่เลวร้ายที่สุด  ไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับใคร ทำให้ตัวเองตกต่ำ และทำร้ายจิตใจของคนดีๆที่มีใจที่ดีให้กับผู้เขียน ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องวิตกและกังวล เสียเงิน เสียใจ เป็นช่วงที่ผู้เขียนไม่มีความรับผิดชอบ ไม่รู้คุณค่าของความรัก และไม่รักตัวเอง  มาคิดดูก็แปลก เหมือนกับตายไปแล้ว อุตส่าห์ได้ไปเห็นนรก เห็นสวรรค์ แต่ทำไมหลังจากฟื้นขึ้นมาจึงไม่คิด ไม่เรียนรู้อะไรเลย เอาแต่สนุกและหมกมุ่นแต่เรื่องการจีบผุ้หญิง เห็นว่าเป็นของเท่ห์     แต่ก็ยังดี ที่ไม่เคยล่วงเกินใคร ไม่เคยจับมือใคร ถ้าใช้โอกาสนั้นมีความสัมพันธ์กับใครคงเป็นบาปอย่างใหญ่หลวง

ช่วงเรียนไปทำงานไป ช่วงนี้ถือเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง ตั้งใจเรียนไม่วอกแวก เรียนสนุก ทำงานสนุก มีความสุขในการเรียน มีความสุขในการทำงาน มีแรงบันดาลใจสูง  สมองมีแต่เรียนกับงาน อดทน ขยัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีคุณค่ามาก เป็นช่วงของการให้ ให้ผู้อื่นและให้ตัวเอง คิดถึงคนอื่น คิดถึงตัวเอง ทุกอย่างดีหมด ได้เรียนสิ่งที่ชอบ ได้ทำงาน ที่ใจรัก มีรายได้จากการทำงานของตัวเอง และ ช่วยแบ่งเบาภาระของคุณพ่อคุณแม่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ขอแนะนำว่าหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ขอให้เข้าไปอ่าน บทความ "กรณีศึกษาทัวร์รอแยล" ตาม link ข้างล่างจะทำให้เข้าใจบทความตอนที่ ๓ และตอนที่ ๕  ที่จะตามในเร็วๆนี้

http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/435529

 

บทเรียนการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย (อายุ ๖๓ ย่าง ๖๔ ปี) ตอน ๓ : ทำงานเสริมเรียน

พิมพ์ PDF

ผู้เขียนถูกครูแกล้งให้สอบตกและต้องเสียเวลาไปเปล่าๆ ๒ ปี หมดอนาคตที่จะเรียนหนังสือในสายสามัญ อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นโชคดีที่ทำให้มีโอกาสเปลี่ยนมาเรียนสายวิชาชีพ แถมเป็นสายวิชาชีพที่เพิ่งเปิดใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป หลักสูตรธุรกิจสายการบิน ( Airlines Business) วิทยานุกรณ์วิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนหลักสูตรนี้ในประเทศไทย เป็นการร่วมมือระหว่างเจ้าของสถาบันการศึกษาและสโมสรการบินแห่งประเทศไทย หลักสูตรนี้กำหนดโดยพนักงานสายการบินระดับสูง ที่มองเห็นถึงการขยายตัวของธุรกิจการบิน และความต้องการแรงงานในอาชีพนี้ โชคดีที่ผู้เขียนมีลุงเขยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษานี้ ก่อนผู้เขียนจะมีโอกาสเข้าเรียนหลักสูตรนี้ ต้องต่อสู้กับความคิดของคุณพ่อ คุณแม่และ ญาติทางคุณพ่อ ที่ต้องการให้ผู้เขียนสอบเข้าโรงเรียนพาณิชยการของรัฐบาล เนื่องจากค่าเรียนในหลักสูตรนี้สูง และกลัวว่าผู้เขียนจะไม่สามารถเรียนได้ ผู้เขียนยืนยันที่จะไม่สอบเข้าโรงเรียนพาณิชยการของรัฐเพราะเห็นว่า ผู้เขียนต้องไปเรียนกับเด็กรุ่นน้องที่อ่อนกว่าผู้เขียน ๒ ปี ผู้เขียนต้องช้ากว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน แถมยังมองไม่เห็นอนาคตเมื่อเรียนจบแล้ว อย่างไรก็ตามการเข้าเรียนในหลักสูตร Airlines Business ก็มีปัญหาและอุปสรรค์หลายประการ ได้แก่

๑. หลักสูตรนี้รับนักศึกษาที่จบมัธยมปลาย แต่ผู้เขียนจบแค่มัธยมต้น

๒.หลักสูตรนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ผู้เขียนอ่อนภาษาอังกฤษ

๓.ค่าเรียนหลักสูตนี้แพง คุณพ่อไม่มีเงินพอที่จะส่งเสียได้

ลุงเขยเป็นผู้แก้ปัญหาทั้งสามข้อให้ โดย สามารถให้สถานศึกษายอมรับผู้เขียนเป็นกรณีพิเศษในกรณีที่ผู้เขียนไม่ได้จบมัธยมปลาย แต่ได้เรียนมัธยมปลายมาแล้ว ๒ ปี จึงขอให้อนุโลมในเงื่อนไขนี้ ส่วนเรื่องภาษาอังกฤษลงเขยก็ได้จัดให้ผู้เขียนไปเรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาโดยตรง " Oral English School" เป็นสถาบันสอนภาษาอังกฤษของเอกชนต่างชาติ  สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหลักสูตร Airlines Business และ ภาษาอังกฤษ ลุงเขยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ลุงเขยของผู้เขียนถือว่าเป็นผู้มีบุญคุณกับผู้เขียนอย่างใหญ่หลวง ถ้าไม่มีลุงเขยผู้เขียนไม่สามารถเดาได้ว่าการดำเนินชีวิตของผู้เขียนจะเป็นอย่างไร ลงเขยของผู้เขียน ชื่อ คุณเฉลิม ขาวขำ ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยที่ผู้เขียนยังไม่เคยได้ตอบแทนบุญคุณของท่านเลย ก็จะขอสร้างคุณงามความดีและขอแบ่งปันคุณงามความดีของผู้เขียนแผ่อุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ดวงวิญญาณของ คุณเฉลิม ขาวขำ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในภพใด ขอฝากสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลายโปรดนำกุศลนี้ไปให้กับ คุณเฉลิมด้วย

หลักสูตร Airlines Business เป็นหลักสูตร ๒ ปี เรียนทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๑๖.๐๐ -๒๐.๐๐ น แต่ผู้เขียนต้องไปเรียนภาษาอังกฤษที่ Oral English School  ช่วง ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์ อาทิตย์ ต้องไปเรียนภาษาอังกฤษ เพิ่มอีกวันละ ๓ ชั่วโมงช่วง ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น

พอขึ้นปีที่ ๒ คุณอาได้ฝากผู้เขียนให้ไปทำงานที่บริษัททัวร์รอแยล เป็นงานขายทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคาน์เตอร์ โรงแรม เพื่อให้ผู้เขียนมีโอกาสใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการปฎิบัติงานจริง แถมมีรายได้ด้วย วันจันทร์-ศุกร์ ผู้เขียนต้องเข้าทำงานที่โรงแรม Florida ที่ถนนพญาไท  เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๕.๐๐ น และไปเรียน เวลา ๑๖.๐๐-๒๐.๐๐น ส่วนวันเสาร์ และวันอาทิตย์  เข้าทำงานที่โรงแรม Peninsula ที่ ถนนสุริวงศ์ เวลา ๑๓.๐๐-๒๐.๐๐ น

มีเงินเดือน ๖๐๐ บาท ผู้เขียนให้คุณแม่ ๔๐๐ บาท และผู้เขียนใช้เอง ๒๐๐ บาท ผู้เขียนมีความสุขมากได้ทำงานที่ตัวเองรัก มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว มีโอกาสได้รู้จักนักท่องเที่ยว บางครั้งผู้เขียนก็ทำตัวเป็นไกด์เองในบางครั้งที่ไกด์ไม่พอ ส่วนการเรียนผู้เขียนมีความตั้งใจและเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี เมื่อจบการศึกษาผู้เขียนสอบได้เป็นที่หนึ่ง หลังจากจบหลักสูตร เจ้าของบริษัททัวร์รอแยล ก็ได้เปิดแผนกขายตั้วเครื่องบินและมอบหมายให้ผู้เขียนเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลแผนกเปิดใหม่นี้

การเป็นตัวแทนขายตั๋วเครื่องบินให้กับ  IATA (International Air Transportation Association) ไม่ได้เป็นง่ายๆ มีกฎเกณท์ มากมาย และก่อนจะได้เป็นต้องมีขบวนการหลายขั้นตอนก่อนที่จะได้รับการอนุมัติให้เป็นตัวแทนได้ และจะต้องมีบริษัทสายการบินที่เป็นสมชิก IATA เป็นพี่เลี้ยงให้ความช่วยเหลือ การที่ผู้เขียนมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องในขบวนการนี้ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมาย ผู้เขียนทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด วันจันทร์-ศุกร์ ผู้เขียนทำงานขายตั๋วเครื่องบิน และวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้เขียนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยออกทัวร์ภายในประเทศ หรือเป็นหัวหน้าทัวร์พานักท่องเที่ยวเดินทางไปฮ่องกง ผู้เขียนได้รับความเมตตาจากเจ้าของบริษัทเป็นอย่างดี ให้โอกาสและปล่อยให้ผู้เขียนทำงานได้โดยอิสระ เจ้าของบริษัทที่ให้โอกาสและเมตตากับผู้เขียนได้แก่ คุณประพัตร สกุลรัตนะ และสามีของท่าน คือ พล.ต.ต.อำรุง สกุลรัตนะ รวมทั้งลูกชายเจ้าของ ได้แก่คุณธีระ สกุลรัตนะ และลูกสาว คุณพิมพ์ใจ สกุลรัตนะ (โพธิภักดิ์)  นอกเหนือจากนั้นยังมีอีก ๓ ท่านที่สร้างโอกาสให้กับผู้เขียน ท่านแรกได้แก่คุณประทีบ (จำนามสกุลท่านไม่ได้) เป็นผู้สอนงานในระหว่างเรียนปีที่สอง ส่วนที่สองได้แก่  คุณเถกิง สวัสดิพันธ์ ได้สอนงานด้านการทำทัวร์ภายในประเทศ และการทำทัวร์ต่างประเทศ เป็นเจ้านายและผู้จัดการโดยตรงของผู้เขียน สำหรับท่านที่สาม ได้แก่คุณวีรพงศ์ โพธิภักดิ์ ช่วงแรกท่านเป็นพี่เลี้ยงให้กับบริษัททัวร์รอแยลในช่วงสมัครเป็นตัวแทนขายตั๋วเครื่องบิน และเป็นผู้ที่นำผู้เขียนไปทำงานที่สายการบินที่ท่านเป็นผู้จัดการอยู่ โดยทำงานเหมือนกับเป็นพนักงานของสายการบินนั้น แต่รับเงินเดือนที่บริษัททัวร์รอแยล  เมื่อคุณเถกิง สวัสดิพันธ์ ลาออกจากการเป็นผู้จัดการบริษัททัวร์รอแยล คุณวีรพงศ์ โพธิภักดิ์ ได้ลาออกจากบริษัทสายการบินและมาเป็นผู้บริหารบริษัททัวร์รอแยลในด้านตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน โดยมีคุณธีระ สกุลรัตนะบริหารด้านทัวร์

ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบริษัททัวร์รอแยล ผุ้เขียนมีโอกาสไปต่างประเทศ หลายครั้ง ไม่ว่าจะไปในฐานะหัวหน้าทัวร์ ไปในฐานะเป็นแขกรับเชิญจากสายการบินไปเที่ยวตามประเทศต่างๆ หรือไปในฐานะผู้เข้าอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการขายตั๋วเครื่องบิน ในช่วงนั้นผู้เขียนมีชื่อเสียงและความโดดเด่นมาก ถือว่าเป็นผู้ที่คิดราคาตั๋วเครื่องบินได้เก่งระดับที่หนึ่งของประเทศไทย มีลูกค้าไว้วางใจและพอใจการบริการของผู้เขียนเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจหลายๆท่านได้ให้ผู้เขียนไปเสนอบริการที่บ้านของท่าน และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับครอบครัวของท่าน และเกือบได้เป็นลูกเขยของลูกค้าหลายท่านด้วยกัน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
2 กรกฎาคม 2556

 

ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี“พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Mirabai Bush, Executive Director, The Center for Contemplative Mind in Societyเล่าเรื่อง Contemplative Practice Fellows ของศูนย์  ที่นำวิธีการปฏิบัติใคร่ครวญ หรือจิตตภาวนา ไปใช้กับ นศ.  แล้วเกิดผลดี ทำให้ นศ. เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนๆ และเข้าใจโลก

วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจิตตภาวนานี้ ควรนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ นศ. เกิดการเรียนรู้บูรณาการ / เรียนรู้แบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ตามปกติ ที่เรียกว่าวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

กล่าวใหม่ว่า ในอุดมศึกษา นศ. ควรได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ๒ สายไปด้วยกัน คือสาย Contemplative Inquiry  กับสาย Critical Inquiry  จะทำให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการ ๒ สาย และเกิดการเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีมิตรภาพ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้  เกิดความเจริญงอกงามครบด้าน (สมอง ใจ และวิญญาณ)

The Center for Contemplative Mind in Society มีทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วย อ่านได้ ที่นี่ สถาบันในประเทศไทยที่สนใจจริงๆ อาจลองติดต่อพูดคุยกับเขาได้

บทความนี้เล่าเรื่องศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ๓ คน  จาก ๑๔๕ คน ที่ได้รับการสนับสนุนเป็น fellow ฝึกจิตตภาวนา  และนำวิธีการจิตตภาวนาไปใช้ในชั้นเรียน

ท่านแรกเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์  ให้ นศ. วาดแผนที่และรูปตอนเป็นเด็ก  เพื่อสะท้อนความประทับใจของตน  จะเป็นรูปบ้าน อะพาร์ตเม้นท์  โรงเรียน  ห้องเรียน  บ้านเพื่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ได้  สำหรับอธิบายความประทับใจชีวิตวัยเด็กของตน  ศาสตราจารย์ท่านนี้ นำประสบการณ์มาเล่าในการประชุม Uncovering the Heart of Higher Education ว่าการเรียนรู้แบบดังกล่าวช่วยให้ นศ. เข้าใจความหมายของการสร้าง และการดำรงชีวิตที่มีความหมายในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ว่าเป็นอย่างไร

นศ. สถาปัตยกรรมศาสตร์ เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งก่อสร้าง กับการดำรงชีวิตที่มีความหมาย ในท่ามกลางโครงสร้างทางวัตถุนั้น  ทำให้สถาปนิก มีการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน  เข้าใจสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นศาสตร์แข็งหรือปัญญา (สมอง) เท่านั้น  แต่เข้าใจลึกและครอบคลุมส่วนที่เป็นศาสตร์อ่อน คือ ใจ และวิญญาณ ด้วย

อีกท่านหนึ่ง เป็นรองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา สอนวิชา Food and Hunger : Contemplation and Action โดย นศ. ออกไปทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือผู้หิวโหยในพื้นที่  และไปฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้หิวโหย

รศ. ท่านนี้รายงานต่อที่ประชุมว่า นศ. เข้าใจจิตใจและอารมณ์ของตนดีขึ้น  รวมทั้งเข้าใจเรื่องความอดหยากหิวโหย ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงขึ้น

อีกท่านหนึ่งเป็นทั้งศาสตราจารย์และเป็นกวี  ได้รับ fellowship ให้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหาร เวสต์ พ้อยท์  โดยเลือกสอนวิชาร้อยกรอง และสมาธิภาวนา แก่นักเรียนนายร้อยที่ต่อมาถูกส่งไปสมรภูมิที่อิรัก  หลังจากนั้น ศ. ท่านนี้ (เป็นผู้หญิง) ได้รับอีเมล์จากศิษย์กลุ่มนี้หลายคน  ว่าวิชาที่ได้เรียนรู้ทั้ง ๒ วิชานี้ ช่วยเขาในยามวิกฤตอย่างไร

Contemplative Practice Fellows 145 คน จาก ๑๐๑ สถาบันการศึกษา นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Fetzer Instituteเขาทำงานร่วมมือกับทั่วโลก เพื่อขยายพลังของความรักและการให้อภัย  ผมเอามาลงไว้เผื่อบางมหาวิทยาลัยจะติดต่อทำงานร่วมมือกับเขา

เขาบอกว่า วิธีการฝึกจิต (จิตศึกษา, จิตตปัญญาศึกษา) นี้ เขาทำหลายวิธีแตกต่างกัน  เช่น ทำสมาธิ,  ฝึกจี้กง,  โยคะ,  lectio divina,  เป็นต้น   เป็นการฝึกจิตให้เปิดรับโอกาสใหม่ๆ  สร้างเสริมปัญญาจากการเปิดรับความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในโลก  สร้างจิตที่เห็นแก่ผู้อื่น และเสียสละ ผ่านความเข้าใจความเชื่อมโยงถึงกันหมดของสรรพสิ่ง และทุกชีวิต  เป็นการเรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า การฝึกจิต ช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาข้ามศาสตร์ เช่นการตัดสินใจ สมาธิ ปัญญาญาณ ความจำ  รวมทั้งทักษะด้านอารมณ์ เช่น ความมีสติ การควบคุมตนเอง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จะเห็นว่า การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ช่วยให้การศึกษานำไปสู่การสร้างมนุษย์ที่มีใจสูง เพิ่มศักยภาพในการทำความดี  ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพิ่มอำนาจทำลายล้าง

การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ที่เรียนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แนววิทยาศาสตร์ และการคิด  ช่วยพัฒนามนุษย์ทั้งตัว ให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ  การเรียนรู้ตามแนวกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันพัฒนามนุษย์ได้เต็มศักยภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539791

 

บทเรียนการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย (อายุ (๖๓ ย่าง ๖๔ ปี) ๒ :ช่วงเด็ก

พิมพ์ PDF

คุณแม่เล่าให้ฟังว่าผู้เขียนเกิดในวันตรุษจีน เป็นวันที่เขาจุดประทัดดังสนั่นกันไปทั่วพระนคร คุณแม่ไม่สามารถคลอดผู้เขียนได้ตามปกติ หมอต้องผ่าท้องคุณแม่เพื่อนำผู้เขียนออกมา หลังจากออกจากโรงพยาบาลก็มาพักอาศัยที่บ้านคุณตา (โรงแรมเวียงใต้ ในปัจจุบัน) ไม่ทราบว่าอยู่ที่นี่นานเท่าใด หลังจากนั้นคุณพ่อย้ายไปประจำที่จังหวัดน่าน เป็นช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง หรือเพิ่งเลิกสงครามใหม่ๆไม่แน่ใจ ผู้เขียนไม่ยอมดื่มนมจากคุณแม่ และนมกระป๋องราคาแพงแถมหาซื้อไม่ได้ ผู้เขียนจึงต้องดื่มน้ำข้าวแทนนม

เริ่มจำความได้เมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลปริญญาทิพย์ โรงเรียนใกล้บ้าน ในซอยรางน้ำ อยู่ได้ปีเดียวก็ย้ายไปอยู่อนุบาลละอออุทิศ หลังจบอนุบาลสอง จะขึ้นชั้นประถมหนึ่งที่โรงเรียนโยนออฟอาร์ต (โรงเรียนคริสอยู่ติดกับโรงเรียนเซ็นต์ฟรัง) แต่โรงเรียนอ้างว่าผู้เขียนมีฐานความรู้อ่อนมากเนื่องจากที่อนุบาลละอออุทิศไม่ได้เน้นเรื่องการให้ความรู้  จึงให้ผู้เขียนไปเรียนอนุบาลอีกปีที่โรงเรียนพันธศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือเดียวกับโยนออฟอาร์ต์ ผู้เขียนและน้องอีก ๓ คนเรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนโยนออฟอาร์ต ชั้นสูงสุดสำหรับผู้ชายคือ ป.๗ ส่วนผู้หญิงต่อได้ถึงชั้น ม.ศ.๓ ผู้เขียนและน้องชายเรียนต่อ ม.ศ.๑ ที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ส่วนน้องสาว ๒ คนเรียนที่โยนออฟอาร์ต์จนถึง ม.ศ.๓ หลังจากนั้นก็ออกไปต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนสายน้ำผึ้ง

ที่โรงเรียนโยนออฟอาร์ต แต่ละชั้นแบ่งออกเป็น ๔ ห้องเรียน ห้อง ก. และห้อง ง. เป็นห้องเรียนของนักเรียนหญิงล้วน ห้อง ข.เป็นห้องเรียนของนักเรียนชายล้วน ห้อง ค.เป็นห้องเรียนปนระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง ผู้เขียนอยู่ห้อง ข.ตั้งแต่ชั้น ป.๑ ถึง ป.๗ ผู้เขียนอยู่ในกลุ่มของนักเรียนเรียบร้อยตั้งใจเรียน เพื่อนๆส่วนมากจะเรียนเก่งได้คะแนนดี ส่วนผู้เขียนเองเรียนอยู่ในระดับกลาง พวกเรียนเก่งเรียนพิเศษกับคุณครูหลังเลิกเรียนทุกวัน ส่วนผู้เขียนไม่ได้เรียนพิเศษ  จบชั้นประถม ๗ เพื่อนๆทุกคนรวมทั้งผู้เขียนไปสอบเข้าโรงเรียนเซ็นต์คาเบียล เพื่อนๆในกลุ่มเรียนเก่งสอบเข้าได้ทั้งหมด ผู้เขียนสอบไม่ติด แต่เนื่องจากคุณป้าเป็นแม่ชีคริสระดับสูงของประเทศไทยสามารถฝากให้ได้แต่ผู้เขียนจะต้องหันไปนับถือศาสนาคริส และคุณพ่อต้องบริจาคเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เขียนตัดสินใจเลือกเรียนต่อที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ซึ่งคุณพ่อเป็นกรรมการศิษย์เก่า และเป็นเพื่อนสนิทกับอาจารย์ใหญ่  ไปสอบคัดเลือกตามปกติปรากฎว่าไม่ติด จึงต้องอาศัยโค้วต้าของอาจารย์ใหญ่จึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยได้อยู่ห้องท้ายสุด ซึ่งเป็นห้องเด็กฝากทั้งหมด

เรียนชั้น ม.ศ.๑/๗ คุณครูประจำชั้น ชื่อคุณครูสมพล และคุณครูฝึกสอนซึ่งเป็นผู้หญิงแต่ผู้เขียนจำชื่อไม่ได้ ทั้งสองท่านสอนเก่งสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนตั้งใจเรียน สอบได้ที่ ๒ คะแนน ๘๗% ทำให้ได้เลื่อนชั้นไปเรียน ม.ศ.๒/๒ ทั้งๆที่เป็นนักกีฬาฟุตบอลล์ และนักวิ่งของโรงเรียน การเรียนในชั้น ม.ศ.๒ และ ม.ศ.๓ อยุ่ในขั้นแค่สอบผ่าน ครูที่สอนไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจเหมือนคุณครูในชั้น ม.ศ.๑ คะแนนสอบอยู่ประมาณ ๖๐% อย่างไรก็ตามเมื่อขึ้น ม.ศ.๔ ผู้เขียนเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ปีนี้ได้เป็นหัวหน้าทีมฟุตบอลล์ และเริ่มจีบผู้หญิง ไม่พอใจครูหลายคนทำให้ไม่เข้าเรียนหลายวิชา ในที่สุดทำให้สอบตก ต้องซ้ำชั้น ม.ศ.๔ เพื่อนๆพากันไปเรียนชั้น ม.ศ.๕ ส่วนผู้เขียนต้องเรียนร่วมกับนักเรียนใหม่ที่มาจากโรงเรียนอื่น และเพื่อนรุ่นน้อง อย่างไรก็ตามปีที่สองนี้ผู้เขียนมีความมั่นใจว่าสอบผ่าน คุณพ่อเป็นห่วงสอบถามว่าแน่ใจแค่ไหน ถ้าไม่แน่ใจจะได้ไปฝากอาจารย์ใหญ่ให้ช่วยเพราะถ้าปีนี้สอบตกอีกจะต้องออกจากโรงเรียน หมดโอกาสเรียนต่อ ผู้เขียนตอบคุณพ่ออย่างแน่ใจหลังการสอบ คาดว่าจะได้คะแนนมากกว่า ๖๐ % แต่เมื่อผลสอบออกมาปรากฎว่าผู้เขียนสอบตก ได้คะแนน ๔๙.๕๕ % ผู้เขียนได้เช็คผลสอบในแต่ละวิชา จึงทราบว่ามีครูถึง ๔ คน ๔ วิชาที่ให้คะแนนผู้เขียนตก เนื่องจากวิชาเหล่านั้น ผู้เขียนเข้าใจดีและทำได้ ผู้เขียนทราบสาเหตุของครู ๒ คนที่ให้คะแนนผู้เขียนตก เนื่องจากมีสาเหตุความเป็นมา คนแรก เป็นครูสอนเคมี ครูคนนี้ได้นำน้องชายมาเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศในชั้น ม.ศ.๔ เป็นนักเรียนเกเร เคยชกผู้เขียนในห้องเรียนขณะครูกำลังสอนผู้เขียนนั่งหน้าแถวที่สอง เขาเข้ามาจากข้างหลังและชกที่ศรีษะของผู้เขียน เมื่อผู้เขียนตั้งตัวได้จึงเตะสวนออกไป แต่โดนครูที่กำลังเข้ามาแยก ไม่มีอะไรเกิดขึ้นน้องชายครูไม่ถูกทำโทษใดๆทั้งสิ้น แต่น้องชายครูเรียนไม่เป็นสุข ต้องพกอาวุธติดตัวมาโรงเรียนเพราะกลัวผู้เขียนและเพื่อนๆจะเอาคืน ผมได้ห้ามเพื่อนๆไม่ให้ทำอะไร ถ้าผู้เขียนสอบผ่าน และยังเรียนอยู่น้องชายครูก็ต้องอยู่อย่างไม่เป็นสุข ส่วนครูอีกคนเป็นครูที่ผู้เขียนไม่ชอบ ท่านสอนวิชาชีวได้ดี แต่สอนวิชากลศาสตร์ ไม่ได้เรื่อง สั่งซื้อหนังสือของอาจารย์ "ก" แต่ไปเอาหนังสือของอาจารย์ "ข" มาสอน และให้นักเรียนจดตามที่ครูอ่านในหนังสือ ผู้เขียนได้ไปซื้อหนังสืออาจารย์ขอมาอ่าน จึงไม่ได้จดตามที่ครูอ่านในหนังสือ ทำให้ครูโกรธ และต่อว่าที่ผู้เขียนไม่จด ผู้เขียนอ้างว่ามีหนังสือแล้วไม่จำเป็นต้องจดเพราะลายมือไม่สวยอ่านไม่ออก ทำให้ครูไม่พอใจ และมีอยู่วันหนึ่งที่ครู ทำโจทย์บนกระดาน โดยปิดหนังสือ และครูลืมจึงเขียนต่อไม่ได้ ผู้เขียนได้บอกสิ่งที่ครูขาดตามหนังสือ ครูโกรธหาว่าผู้เขียนอวดรู้ และไล่ผู้เขียนออกนอกห้องเรียน ไม่ต้องมาเรียนวิชานี้ ส่วนครูอีกสองท่านหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมจึงแกล้งผู้เขียน ผู้เขียนเข้าไปขอดูข้อสอบวิชาที่ผู้เขียนทำได้แต่คะแนนไม่ผ่าน แต่ครูที่น้องชายมีปัญหากับผู้เขียนไม่ยอมให้ดูแถมพูดกวนว่าถ้าสอบได้จะให้ดู ตอนแรกผู้เขียนคิดว่าจะเอาเรื่องพาคุณพ่อไปพบอาจารย์ใหญ่ แต่นึกยังไงไม่ทราบจึงไม่เอาเรื่อง

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิมที่คิดว่าจะเข้ามหาวิทยาลัย  คุณพ่อและญาติต่างต้องการให้ไปสอบเข้าพาณิชย์การ ผู้เขียนดูแล้วเมื่อจบออกมาก็ต้องเป็นเสมียนตัวเล้กๆ เงินเดือนน้อยไม่มีความโดดเด่นอะไร โชคดีที่ลุงเขยสามารถฝากให้เข้า วิทยาลัยวิทยานุกรณ์ เป็นโรงเรียนด้านวิชาชีพโดยตรง มีให้เลือก 2 หลักสูตร คือหลักสูตรธุรกิจการบิน และหลักสูตรโรงแรม ผู้เขียนเลือกเรียนหลักสูตรธุรกิจการบิน หลักสูตรเหล่านี้สอนเป็นภาษาอังกฤษ และเรียนตั้งแต่ ๑๖.๐๐-๒๐.๐๐ น เนื่องจากครูผู้สอนเป็นพนักงานระดับสูงของสายการบินต่างๆ หลักสูตรนี้ค่าเรียนแพงและต้องไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มจากที่อื่นอีก คุณพ่อไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนได้ แต่โชคดีที่มีลุงเขยที่เป็นผู้แนะนำหลักสูตรนี้ช่วยเป็นภาระค่าเล่าเรียนให้ ขึ้นปีสองก็ได้ทำงาน เพื่อเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยทำงานเป็นพนักงานขายทัวร์ในโรงแรมให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จนจบการศึกษา บริษัทที่ทำงานเปิดแผนกขายตั๋วเครื่องบินและให้ผู้เขียนเป็นพนักงานคนแรกของแผนกนี้ โดยมีผู้บริหารจากสายการบินหลายแห่งเป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลือ ผู้เขียนต้องเข้าไปทำงานเหมือนกับเป็นพนักของสายการบิน อยู่ถึง ๓ เดือนก่อนที่จะกลับมาทำงานที่บริษัท

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

การอ่านในยุคโลกาภิวัตน์"

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานครเมืองหนังสือโลก 2556 เป็นวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ "Bangkok World Book Capital Forum การอ่านในยุคโลกาภิวัตน์"  ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ

 

ติดตามรายละเอียดและประเด็นสำคัญได้ใน Blog นี้ครับ

สิ่งที่เป็นความจริง คือ ความสามารถของสังคมไทยในการอ่านรวมถึงทุนมนุษย์ยังอ่อนแอ วันนี้ขอมาเรียนรู้ ผมทำเรื่องคนมาตั้งแต่อายุ 33 ปี ตั้งแต่ที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน คือ ทฤษฎี 3V

Value added

Value creation

Value diversity การเข้าสู่อาเซียนหรือโลกาภิวัตน์ ก็จะมีความหลากหลาย

การทำงานร่วมกันของกทม. ถือเป็น foundation ที่สำคัญที่สุด

การวิเคราะห์เกิดจากประสบการณ์และการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง

ถ้าตอนเด็กไม่มีผู้ปกครองทีปลูกฝังเรื่องการอ่านก็จะขุนยาก ควรปลุกฝังตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้เกิดเป็น Habit  ต้องสำรวจตัวเองว่าการอ่านมีประโยชน์อะไร

ขอเป็นเครือข่าย และผมมีเครือข่ายของผมทั้งอาเซียน ระดับโลก และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ที่ทำเรื่องทุนมนุษย์ ต้องจัดการความไม่แน่นอน จัดการกับความเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์  นักปราชญ์ที่ชอบ คือ ลีโอนาโด ดาร์วินชี

การอ่านหนังสือในอนาคตต้องทำให้ตัวเองมีคุณภาพ ต้องlifelong learning ต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลง  จัดการกับความไม่แน่นอน

การพึ่งเทคโนโลยีมากเกินไป ไม่ Back to basics และถ้าไม่มีความสมดุลก็จะเป็นปัญหา

วิธีหนึ่งที่ค้นพบเรื่องทุนมนุษย์ที่การอ่านสำคัญ คือ เรารีบไปหาเป้าหมายเกินไป  พื้นฐานของคนคือคุณธรรม และจริยธรรม และต้องมีพื้นฐาน  คือทุนทางปัญญา และต้องมีเครือข่าย และต้องสร้างความสมดุลในชีวิต  ต้องการความยั่งยืน ต้องการให้ประเทศเดินไปช้าๆ อย่างมั่นคง

การอ่านในอนาคต คือ Unlearn สิ่งที่เป็นขยะ  Re-learn สิ่งที่เป็นประโยชน์ back to basic อ่านหนังสือธรรมมะ หนังสือที่เป็นประโยชน์มีความรู้จึงจะเป็นคนที่มีพื้นฐานที่ดี

คำถาม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร

เริ่มที่ปัจจัยตั้งแต่เกิดครอบครัว โภชนาการ การศึกษา  แต่สิ่งที่น่ากลัวมาก คือ เรื่องสื่อ  โดยเฉพาะวิทยุชุมชน  ค่านิยมเด็กรุ่นใหม่ บวกกับศาสนาที่อ่อนแอ

การศึกษาช่วยเรื่องประชาธิปไตยมาก ทำให้คนคิดเป็น ครูต้องปลูกฝังให้เด็กต้องคิด ไม่เน้นการสอบ

สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ทำอย่างไรทีจะชนะอุปสรรค ให้วัฒนธรรมการอ่านกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของทุกคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540864

 


หน้า 473 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741738

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า