Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

วัดอรุณราชวรราม

พิมพ์ PDF

ความรู้รอบตัววันนี้...จาก Facebook โดยผู้ใช้นามว่า "ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด"
10 เรื่องมหัศจรรย์ " วัดอรุณราชวราราม " ( วัดแจ้ง )

1. เป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จกรีฑาพลล่องมาทางชลมารค มาจากอยุธยาเพื่อจะมาตั้งเมืองใหม่ พอถึงหน้าวัดนี้ก็ได้เวลาเช้า ( อรุณ หรือ รุ่งแจ้ง )พอดี ทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ แล้วจึงเสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหน้าวัด ความสูงประมาณ 8 วา อีกทั้งยังทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดแจ้งอีกด้วย


2. วัดคู่บ้าน คู่เมือง สมัยกรุงธนบุรี เป็นราชธานี ขณะที่พระเจ้าตากสินทรงครองราชย์ อยู่ในเขตพระราชฐาน เปรียบเทียบเหมือนกับวัดพระแก้วในปัจจุบัน


3. เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) ได้อัญเชิญมาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. 2322


4. เป็นจุดสังเกตุของคนในสมัยโบราณว่าได้ล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยามาถึงเมืองหลวง ( กรุงธนบุรี ) แล้ว


5. เป็นวัดที่มีกษัตริย์เคยมาประทับ


6. เป็นวัดที่กษัตริย์ได้มีการตั้งชื่อโดยพระองค์เองถึง 3 พระองค์

6.1 พระเจ้าตากสิน - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดมะกอก " เป็น " วัดแจ้ง "

6.2 รัชกาลที่ 2 - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดแจ้ง " เป็น " วัดอรุณราชธาราม "

6.3 รัชกาลที่ 4 - เปลี่ยนชื่อจาก " วัดอรุณราชธาราม " เป็น " วัดอรุณราชวราราม "


7. รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ 2 มาบรรจุที่พุทธอาสน์ของพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก ( พระประธานในอุโบสถ )


8. เป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศถึง 77 เมตร


9. พระเจดีย์กระบื้องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ( นำกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ มาตกแต่งประกอบกัน )


10. ตำนานยักษ์วัดแจ้งที่ไปตีไปยักษ์วัดโพธิ์ จนกระทั่งยังเรียกพื้นที่ที่ไปตีกันว่า " ท่าเตียน " กระทั่งทุกวันนี้

 

เซเวน อีเลฟเว่น

พิมพ์ PDF

สาระดีๆ..จาก facebook โดย ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด
ประวัติความเป็นมาของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น
เซเว่น อีเลฟเว่น ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2470 โดย บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิต และจัดจำหน่ายน้ำแข็ง ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้ ซึ่งในระยะแรก เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ของทุกวัน อันเป็นที่มาของชื่อ เซเว่น อีเลฟเว่น นั่นเอง

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิ น และได้รับความช่วยเหลือจากอิโต- โยคะโดซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นมีอำนาจควบคุมบริษัทในปี พ.ศ. 2534[1] ในปี พ.ศ. 2548 อิโต-โยคะโดก่อตั้งบริษัทเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์และเซเว่น อีเลฟเว่นก็กลายเป็นบริษัทลูกของเซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ตั้งแต่นั้นมา

เซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย แฟรนไชส์ เซเว่น อีเลฟเว่น บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.ซีพี ออลล์ (เดิมคือ บมจ. ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อสิทธิการประกอบกิจการ จากเจ้าของสิทธิ์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

เซเว่น อีเลฟเว่น สาขาแรกในประเทศไทย คือ สาขาถนนพัฒน์พงษ์ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีจำนวนสาขาประมาณ 5,000 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2552) เฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีมากกว่า 3,000 สาขา ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังถือเป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา

 

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

พิมพ์ PDF

วันนี้ในอดีต จาก facebook โดย ร่วมด้วยธน ศูนย์เจ็ด
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีร ัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ พระราชธิดา เสด็จธิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระ ที่นั่ง เรือพระประเทียบ ล่มที่บางพูด อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่เรือล่มเป็นเพราะนายท้ายเรือพระประเทียบเมาเหล้า ขณะที่แล่นแซงเรือลำอื่นก็ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่ม ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงว่ายน้ำเป็น แต่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงเข้าไปช่วยและสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกัน แม้ในบริเวณนั้นจะมีชาวมอญกำลังขุดทรายอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาล ที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล ได้มีพิธีถวายพระเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2423 ในงานนี้มีการแจก หนังสือสวดมนต์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พิมพ์แจกเพื่อเป็นพระราชกุศล จำนวน 10,000 เล่ม นับเป็นหนังสืองานศพเล่มแรกของไทย นอกจากนั้นรัชกาลที่ 5 ยังทรงได้สร้างอนุสาวรีย์พระนางเรือล่มไว้ที่พระราชวังบางปะอินด้วย

 

เชิญร่วมทำบุญ

พิมพ์ PDF

ร่วมบุญสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์องค์หลวงตา และ 30 พค 56นี้ วันเปิดสามเดนโลกธาตู บุญใหญ่ สาธุกับญาติธรรมทุกท่านค่ะ

by Jiraporn Upāsikā Nuangcharoen (Notes) on Wednesday, May 29, 2013 at 10:15pm

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์นั้น ขณะนี้ได้วางศิลาฤกษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ จากนี้จะดำเนินการก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว(ที่นาดั้งเดิมของคุณตาก้อน วังคำแหง)ต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) มีหลวงปู่ลี กุสลธโร เมตตามาเป็นประธานคณะสงฆ์ฯ และเป็นประธานในที่ประชุม ส่วนเมรุและบริเวณโดยรอบนั้น ที่ประชุมมีมติให้รักษาสภาพเดิมไว้ เพื่อดำรงไว้ให้เป็นสถานที่แสดงความเคารพสักการะกราบไหว้บูชาของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มีต่อองค์หลวงตาอีกแห่งหนึ่ง


ติดต่อสอบถามที่ วัดป่าบ้านตาด โทร. 042-214114  (แฟกซ์) 042-214115 

Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


(Posted Date : วันที่ 12 ก.พ. 2555 เวลา 20:00 น.)

 

ในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ในนามคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์องค์หลวงตา ได้ประชุมหารือกัน ณ วัดป่าบ้านตาด มีมติให้รักษาสภาพเดิมของเมรุและบริเวณไว้ สำหรับสถานที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ นั้นให้พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน ในฐานะเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด เป็นผู้ตัดสินใจเลือกสถานที่แห่งใหม่ที่มิใช่เมรุและบริเวณ ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นมติในวันนี้ ให้ก่อตั้งภายในบริเวณพื้นที่ด้านหลังที่บิณฑบาต


[สำหรับประวัติที่ดินแปลงนี้นั้น แต่เดิมเมื่อครั้งก่อตั้งวัดป่าบ้านตาดใหม่ๆ เป็นที่นาของคุณตาก้อน วังคำแหง ผู้มีพระคุณแก่วัดป่าบ้านตาด คุณตาก้อนมีศักดิ์เป็นน้าชายของหลวงตาเนื่องจากเป็นน้องชายแท้ๆ ของโยมมารดาหลวงตา


คุณตาก้อน วังคำแหง เป็นหนึ่งในสองของเจ้าศรัทธาใหญ่ผู้ยกถวายที่นาของตนที่อยู่ภายในกำแพงวัดชั้นใน ให้เป็นที่ตั้งวัดป่าบ้านตาดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัด (เจ้าศรัทธาอีกท่านหนึ่งคือ คุณตาบุดสา บัวสอน) นอกจากนี้คุณตาก้อนยังแบ่งที่นาของตนอีกส่วนหนึ่งยกถวายให้เป็นทางเข้าวัดอีกด้วย โดยไม่ยอมรับเงินตอบแทนใดๆ จากหลวงตาเลย แม้จะให้เป็นล้านๆ คุณตาก้อนก็ไม่รับ คุณตาให้เหตุผลกับหลวงตาว่า


"เงินไม่เอา จะเอาบุญ .. ตัดทางเข้ามาเลย .. จะไต่ไปทำไมคันนา พระตกคันนา มันไม่เหมือนเด็กน้อยตกนะ รีบไปทำถนนเข้าสิ พระตกคันนามันมีบาปด้วยละ"

คำพูดเช่นนี้ยังความซึ้งใจแก่หลวงตาชนิดฝังลึกมาก องค์หลวงตาเคยเล่าถึงคุณงามความดีของคุณตาในเรื่องนี้ให้ศิษยานุศิษย์ฟังด้วยว่า

 

"ผู้เฒ่าก้อนถวายที่ทั้งหมดให้เป็นวัด นาก็ให้เลย นาของแก ตัดทางเข้ามาเลย ผู้เฒ่านี่เป็นคนใจบุญนะ ใจบุญ ถวายที่นี่ ยกที่ดินถวายทั้งหมดเลย ก็เลยได้อยู่ที่นี่ ..

เราจะเอาอะไรให้ แกก็ไม่เอา ให้เป็นล้านๆ ก็ไม่เอา จะเอาบุญเท่านั้น คำพูดของผู้เฒ่าเรายังไม่ลืม ฝังลึกมากนะ"]

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์นั้น ขณะนี้ได้วางศิลาฤกษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ จากนี้จะดำเนินการก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว(ที่นาดั้งเดิมของคุณตาก้อน วังคำแหง)ต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามมติที่ประชุมในวันนี้ (๑๙ เมษายน ๒๕๕๖) มีหลวงปู่ลี กุสลธโร เมตตามาเป็นประธานคณะสงฆ์ฯ และเป็นประธานในที่ประชุม ส่วนเมรุและบริเวณโดยรอบนั้น ที่ประชุมมีมติให้รักษาสภาพเดิมไว้ เพื่อดำรงไว้ให้เป็นสถานที่แสดงความเคารพสักการะกราบไหว้บูชาของเหล่าศิษยานุศิษย์ที่มีต่อองค์หลวงตาอีกแห่งหนึ่ง

(อนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ประธานพร้อมด้วยคณะสงฆ์ราว ๑,๐๐๐ รูป ได้ร่วมประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ในครั้งนั้น ให้วัดป่าบ้านตาดเป็นผู้กำหนดสถานที่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ โดยความเห็นชอบของหลวงปู่ลี กุสลธโร ซึ่งต้องไม่ห่างไกลจากเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงฯ และมีมติให้รักษาสภาพเดิมของเมรุไว้เช่นเดียวกัน พระมหาเถระใหญ่ทั้งสองท่านผู้เป็นศิษย์รุ่นแรกขององค์หลวงตาและเป็นประธานสงฆ์ทั้ง ๒ วาระ จึงมีมติที่สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

 

จึงประกาศให้ทราบความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ เพื่อจะได้ร่วมบุญและร่วมอนุโมทนาสาธุการให้การดำเนินการสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว ยังความปลื้มปีติยินดีทั้งแก่มนุษย์เทวดาอินทร์พรหมตลอดยังสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยทั่วกันด้วยเทอญ

 

ขอเชิญร่วมบุญในกองทุน สร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล

ร่วมบุญสร้าง

(หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)”

เพื่อบูชาธรรมองค์หลวงตา และสร้างปูชนียสถานเป็นถาวรวัตถุ

ให้ลูกหลานได้สักการะบูชากราบไหว้สืบไป

(ใช้ชื่อบัญชีต่างกัน)

ชื่อบัญชี “ร่วมสร้างเจดีย์ถวายหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

โดยพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน”

 

 

 

1. ธนาคาร กสิกรไทย สำนักงานสาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 110-2-33344-4

2. ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า (อุดรธานี  ไม่เสียค่าโอน)

เลขที่บัญชี 859-223576-1

3. ธนาคาร กรุงเทพ สาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 284-7-38388-8

4. ธนาคาร กรุงไทย สาขาอุดรธานี

เลขที่บัญชี 401-3-13864-6

5. ธนาคาร กรุงไทย สาขาตลาดหนองบัว

เลขที่บัญชี 426-0-35998-3


ชื่อบัญชี กองทุนสร้างเจดีย์พระอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยพระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน”

เป็นบัญชีออมทรัพย์ทุกบัญชี


6.   ธนาคาร กรุงเทพ สาขาเอกมัย

เลขที่บัญชี 063-0-30191-9

7.   ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเอกมัย

เลขที่บัญชี 059-2-63333-9

8.   ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเอกมัย  (ไม่เสียค่าโอน)

เลขที่บัญชี 078-233067-4

หมายเหตุ

ท่านผู้ใดต้องการให้ออกใบอนุโมทนาบัตรของวัดป่าบ้านตาด

ให้ส่งรายละเอียดการโอนพร้อมที่อยู่ติดต่อได้ มาที่

สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน

309/1 ม.1 ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000

โทร. 042-214114  (แฟกซ์) 042-214115

Email: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

เป็นบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด

 

อนุโมทนา สาธุกับทุกท่านค่ะ

 

กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

พิมพ์ PDF

ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

ผมได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระดังนี้

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๑ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ร่วมมือกับกลุ่ม Thai Civic Education ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดิช เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung FES) ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการประชุมปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ครั้งที่ ๒ : การประชุมผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนารูปแบบการจัดการ การเรียนรู้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referee board) ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ.โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร ในการนี้ขอเชิญท่านซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะเอกสารกรอบแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ในการประชุมตามวัน เวลา และสถายที่ดังกล่าว

ผมยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เป็นกิจกรรมที่จะทำให้คนไทยในอนาคตเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิไตยของไทย

ผู้จัดได้ส่งเอกสารมาให้ผมพิจารณาก่อนเข้าร่วมประชุม พรุ่งนี้จะรีบศึกษาข้อมูลต่างๆที่ได้รับเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมประชุม หวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศไทย

หลังจากการประชุมจะสรุปสาระให้ท่านที่สนใจได้รับทราบต่อไป โปรดติดตาม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖

 


หน้า 482 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741630

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า