Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร

น้ำท่วม

พิมพ์ PDF

วันที่ 20 ตุลาคม หลังจากมีข่าวเรื่องน้ำทะลักเข้าคลองประปา ผมได้ไปดูและพบเจ้าหน้าที่เขาแจ้งว่าไม่ต้องตกใจเพราะเจ้าหน้าที่เขากำลังปรับระดับน้ำในคลองประปา ขอให้ไปรอฟังแถลงการณ์ ผมได้ตระเวนดูรอบๆหมู่บ้านที่ผมอาศัย และบริเวณหมู่บ้านและแหล่งชุมชนที่ใกล้เคียง พบบางแห่งมีน้ำซึม ส่วนหมู่บ้านที่ผมอยู่ไม่มีน้ำล้นออกมา ดูที่ท่อระบายน้ำก็ยังปกติ แต่มีคนห่วงภรรยาผมมากทั้งเพื่อนและพี่น้องต่างโทรมาให้ออกจากบ้านและไปพักที่บ้านญาติที่สุรินทร์ หรือบุรีรัมย์ ไม่มีใครฟังผม ในที่สุดทั้งครอบครัว ภรรยา ลูกทั้งสามคน น้องสาว ต่างเห็นด้วยกับการจัดเตรียมขนของขึ้นชั้นสอง และสั่งซื้อกระสอบทรายมาเพิ่มอีก 100 กระสอบ เหนื่อยกับการจัดเตรียมของทั้งวัน ภรรยาวิ่งซื้อของแห้งมากมายและจัดเตรียมของสองชุด คือชุดที่จะทิ้งไว้ที่บ้าน และของที่เตรียมตัวจะนำออกไป ผมเลยต้องเป็นเบ้รับใช้ตลอดในการวิ่งหาซื้อของ (ภรรยานำรถของเขาไปจอดที่จอดรถของกรมมาหลายวันแล้ว ลูกสาวคนโตนำรถไปจอดที่ทำงานของเขาเช่นกัน จึงเหลือรถของผมคันเดียว เดิมจะให้ผมไปหาที่จอดตั้งแต่เช้า ผมจึงโทรติดต่อพรรคพวกตามโรงแรมที่คิดว่าจะนำรถไปจอด ก็ได้มา 3-4 แห่ง แต่ผมยังไม่ยอมนำรถไปจอดโดยไม่ถึงเวลาจริงๆ) จน 16.00 น ข่าวจากทีวี และกระแสข่าวจาก social Media ของลูกสาว ทำให้ทุกคนตัดสินที่จะปิดบ้านและออกไปอยู่ที่อื่น จึงศึกษาหาเส้นทางไปจังหวัดสุรินทร์แต่ยังไม่สามารถหาเส้นทางที่เหมาะสมได้  เพราะไม่สามารถออกไปทางรังสิตได้ จึงตัดสินใจออกไปทางชลบุรีและไปหาที่นอนก่อน วันรุ่งขึ้นจึงคิดหาเส้นทางไปสุรินทร์

 

17.00 น ขึ้นทางด่วนมุ่งสูงชลบุรี ใช้เวลาจากถนนงามวงศ์วาน ขึ้นถึงทางด่วนร่วม 1 ชั่วโมง สาเหตุเพราะติดรถที่ไปจอดตรงทางขึ้นทางด่วน จอดแถวเดียวไม่ว่า เล่นจอดกันถึง 3 แถว จนในที่สุดรถยกต้องมานำรถกีดขวางจราจรออกไป ทำให้เสียเวลามาก เมื่อหลุดพ้นรถติดมาได้ ระหว่างวิ่งอยู่บนทางด่วนช่วงบางนาไปชลบุรี ฝนตกมาก ต้องค่อยๆขับไม่เกิน 60 ก.ม.ต่อชั่วโมง ถึงชลบุรี โทรหาเพื่อนขอให้ช่วยแนะนำโรงแรมเพื่อนอนพักหนึ่งคืน ก่อนเดินทางต่อไปสุรินทร์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อหลายคนทราบเรื่องช่วยจัดหาโรงแรมให้พัก หลายแห่งด้วยกัน เช่นในจังหวัดชลบุรี บางแสน และพัทยา ในที่สุดเลือกพักที่บางแสน  The Tide Resort  เมื่อเข้าพักโรงแรมลูกสาวได้ติดตามข้อมูลตลอดเวลา ในที่สุดตกลงว่าวันรุ่งขึ้นจะไปพักที่พัทยา เพื่อดูสถานการณ์สัก 1-2 วัน แทนที่จะไปสุรินทร์ เพราะไกลเกิดไป และไม่แน่ใจเส้นทาง

 เช้าตื่นขึ้นมาภรรยาและลูกสาวตกลงที่จะกลับกรุงเทพ เพื่อมาเก็บของต่อเนื่องจากตอนออกจากบ้านรีบจนลืมเก็บของสำคัญอีกหลายรายการ

14.00 น กลับถึงบ้านทุกอย่างปกติ ยังไม่มีวี่แววน้ำเข้ามาในหมู่บ้าน และเริ่มมีความหวังว่าที่บ้านอาจจะรอดจากภัยน้ำท่วม หรืออาจจะมีน้ำเข้าบ้างแต่ไม่มาก ไม่ควรจะเกิน หน้าแข้งซึ่ง ทุกคนรับได้ จึงช่วยกันจัดเก็บของที่เหลือให้เรียบร้อยเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมโดยไม่ประมาท ลูกสาวและภรรยาได้ลุ้นติดตามข่าวจนถึง ตีสาม จึงเข้านอน ส่วนผมเพลียมากเลยนอนตั้งแต่หัวค่ำ

 

เช้าวันที่ 22 ตุลาคม ได้ขับรถจากบ้านในหมู่บ้านท่าทรายติดกับ North Park มาตามถนนหลักของหมู่บ้านผ่านโรงเรียนการเคหะท่าทราย (หนึ่งในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของเขตหลักสี่)ไปออกถนนประชาชื่นเลี้ยวซ้ายผ่านหน้ามหาวิทยาลัยธุรกิจไปออกแยกพงศ์เพชร (ถนนประชาชื่นช่วงจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตไปถึงสี่แยกพงศ์เพชรประมาณ 2-3 ก.ม. บางแห่งมีน้ำอยู่บนถนนฝั่งซ้ายเลียบคลองประปามีน้ำแฉะๆบนถนนนิดหน่อย) พอเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วาน ช่วงใต้สะพานขาลงข้ามแยกพงศ์เพชรมีน้ำท่วมขังพอประมาณ รถเล็กวิ่งได้สบายระยะทางไม่เกิน 100 เมตร พอพ้นช่วงน้ำขังก็เป็นถนนแห้งสนิทไปตลอดสายจนถึงถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนเข้าถนนวิภาวดีรังสิตผมเลี้ยวซ้ายเข้า Local Road เลียบทางรถไฟคู่ขนานไปกับถนนวิภาวดี เลี้ยวซ้ายเข้า North Park ผ่านทะลุ North Park ไปออกหลัง ม.ธุรกิจบัณฑิต และออกถนนประชาชื่น ถนนแห้งตลอด วิ่งย้อนเข้าไปในหมู่บ้านชินเขตที่โทรทัศน์แจ้งว่าน้ำท่วมปรากฏว่าในหมู่บ้านชินเขตบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำไม่ท่วม มีเพียงบริเวณหมู่บ้านชินเขตที่ด้านหลังติดกับคลองประปาน้ำเอ่อมาจากท่อระบายตามถนนที่อยู่ในพื้นที่ต่ำล้นมาท่วมถนนภายในหมู่บ้านชินเขตระยะสั้นๆรถเก๋งยังวิ่งได้ ที่เหลือถนนแห้งตลอด สรุปหมู่บ้านที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ถนนประชาชื่น  ถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดี น้ำยังไม่ท่วม มีเพียงพื้นที่บริเวณแอ่งเล็กๆเท่านั้นที่มีน้ำเอ่อท่วม รถวิ่งผ่านไปมาได้

ได้เข้าไปดูในถนนสามัคคี เริ่มจากถนนประชาชื่นบริเวณโรงผลิตน้ำประปาทะลุไปออกถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายไปพบสี่แยกแครายเลี้ยวซ้ายเข้าถนนงามวงศ์วานตรงไปที่แยกพงศ์เพชรถนนแห้งตามปกติ

 

สรุปได้ว่าการแจ้งข่าวจากทางโทรทัศน์แต่ละสถานีทำให้คนวิตกเพราะภาพสถานที่ๆน้ำท่วมออกอากาศซ้ำๆ และคนพูดบางที่ก็ไม่ตรงกับภาพที่ออกอากาศในชั่วนั้น การออกข่าวพูดในบริเวณกว้างทำให้คนเข้าใจผิด เช่นว่าน้ำท่วมชินเขต ความจริงบริเวณที่น้ำท่วมในชินเขตเล็กน้อยไม่ถึง 1%  ของหมู่บ้านทั้งหมด ข่าวที่ออกไปทำให้คนเข้าใจผิด หรือแม้นกระทั่งแจ้งว่าน้ำล้นคลองประปา ก็ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าน้ำล้นช่วงไหนบ้างมากน้อยแค่ไหน ถนนเลียบครองประปายาวมากไม่ต่ำกว่า 35 ก.ม. มีการกล่าวถึงเขตหลักสี่ หรือเขตดอนเมือง ต้องระบุให้ชัดว่าตรงจุดไหนระบุไปเลยว่าหมู่บ้านใดบ้างจะกระทบ ไม่ใช่ออกข่าวกว้างๆ ทำให้ญาติพี่น้องของคนที่ไม่อยู่ในบริเวณนั้นเข้าใจผิดและเป็นห่วงกันเกินเหตุ ทำให้แตกตื่น ผมสังเกตหลายครั้ง นักข่าวที่อยู่สถานีมักจะถามนักข่าวในท้องที่มากมาย หลายๆคำถามลึกกว่าที่นักข่าวท้องถิ่นจะรู้เมื่อถูกถามมากๆเลยตอบตามความคิดของตัวเอง :ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องและให้ประโยชน์ต่อผู้รับฟัง สร้างความเครียดและวิตกกับผู้ฟัง ข่าวบางครั้งออกซ้ำซาก โดยไม่ได้แจ้งว่าข่าวที่ออกเป็นช่วงเวลาเท่าใด เมื่อเอาข่าวซ้ำมาออกหรือเอาข่าวที่เกิดในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้มาออก ทำให้ข่าวไม่ถูกต้องในเวลานั้น

 

ดังนั้นเราต้องไปดูด้วยตาตัวเองในบริเวณรอบๆบ้านที่เราอยู่ และสังเกตดูระดับน้ำในท่อบนถนนในหมู่บ้านเราเป็นหลัก ข้อมูลข่าวสารที่ผมเห็นว่าใช้ได้ใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ที่สุด คือ วิทยุ FM คลื่น 92.5 (สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานนี้โทรทัศน์ Thai PBS รองลงมาก็เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11 เดิม) TNN พอใช้ได้

 

สรุปทางรัฐต้องควบคุมการบริหารจัดการข่าวให้เกิดประโยชน์และตอบคำถามของประชาชนได้ ไม่ใช่แย่งกันออกข่าว และสร้างการแข่งขันในการแย่งผู้ชม  นักข่าวต้องมีทักษะและมีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่

 

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

22 ตุลาคม 2554

22.10

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2011 เวลา 22:56 น.  

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606554

facebook

Twitter


บทความเก่า