Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพรคาบาน่า

พิมพ์ PDF

การดำเนินธุรกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมพรคาบาน่า

 

ความพอประมาณ

  • พึ่งพาตนเอง โดยการผลิตสิ่งของบางอย่างใช้เอง เช่น เครื่องคั่วกาแฟ สบู่ น้ำยาทำความสะอาด ปรับผ้านุ่ม น้ำมันไบโอดีเซล เป็นต้น
  • พึ่งพาอาศัย โดยให้พนักงานและครอบครัวผลิตสิ่งของส่งมาขายให้องค์rกร
  • พึ่งพิงกัน โดยการนำสิ่งของที่มีอยู่มากและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของบางสิ่งที่จำเป็นต้องใช้จากชาวบ้าน หรือชุมชน
  • เจริญเติบโตอย่างพอเพียง คำนึงถึงศักยภาพขององค์กรและสิ่งแวดล้อม
  • ประกอบธุรกิจเฉพาะด้านที่ชำนาญหรือต่อยอดจากธุรกิจหลักเท่านั่น

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2011 เวลา 23:51 น.
 

การค้าเสรี

พิมพ์ PDF

การค้าเสรี ( FTA )

เมื่อกลางเดือน กรกฎาคม ผมได้เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ FTA มาแน่ : ธุรกิจบริการไทย จะอยู่รอดอย่างไร

 การสัมมนาครั้งนี้จัดโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  เป็นการนำเสนอการศึกษาความสามารถทางการแข่งขันการค้าบริการของไทยกับประเทศคู่เจรจา FTA

คณะศึกษาได้แยกการค้าบริการออกเป็น ๖ สาขาประกอบด้วย

๑)     สาขาค้าส่งค้าปลีก

๒)    สาขาคมนาคมขนส่ง

๓)    สาขาการเงิน

๔)    สาขาก่อสร้าง

๕)    สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๖)     สาขาการท่องเที่ยว

 

ผู้จัดสัมมนาได้สรุปให้ฟังว่าประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่

·         สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ASEAN )

·         ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)

·         องค์การการค้าโลก (WTO)

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อผูกพันภายใต้ความตกลงต่างๆ รวมถึงความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ( The General Agreement on Trade in Services ) ( GATS) ทำให้ประเทศไทยต้องเปิดเสรีตลาดทางด้านการค้าบริการให้กับประเทศสมาชิกต่างๆที่เข้ามาประกอบธุรกิจและอาชีพต่างๆในประเทศมากขึ้น

การเปิดเสรีการค้าบริการอาจส่งผลกระทบต่อภาคบริการของไทยทั้งในด้านบวกและลบ คณะผู้จัดสัมมนาจึงได้ทำการศึกษาเพื่อทราบถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของภาคธุรกิจบริการ เพื่อรองรับและเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้

สรุปข้อความในการสัมมนากลุ่มสาขาท่องเที่ยว ประกอบด้วย ๓ ส่วนได้แก่

๑)                         ส่วนของผู้ประกอบการจะต้องมีการรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อต่อสู้กับผู้ประกอบการต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจแข่งขันในประเทศไทย ทางภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนด้านเงินทุน

๒)                       ส่วนของบุคลากร ผู้ประกอบการกลัวว่าเมื่อผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย จะดึงตัวพนักงานเก่งๆไปหมดเพราะให้เงินเดือนสูงกว่าทำให้ผู้ประกอบการคนไทยหาพนักงานที่มีคุณภาพได้ยากขึ้น หรือไม่ก็ทำให้อัตราค่าจ้างสูงขึ้น ถ้าพิจารณาในด้านนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับพนักงานคนไทยที่จะได้รายได้ที่สูงขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการหันมาลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์มากกว่า ปัจจุบันที่ผู้ประกอบการต่างกดค่าจ้างให้ถูกที่สุดเพราะคิดว่าค่าจ้างเป็นรายจ่าย ไม่ได้คิดว่าค่าจ้างเป็นเงินลงทุนทางธุรกิจอย่างที่ควรจะเป็น ทางภาครัฐจะต้องเน้นความสำคัญที่การศึกษา ต้องให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรของเราให้สามารถแข่งขันกับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศของเรา ซึ่งจะมีทั้งระดับพนักงานให้บริการ และพนักงานระดับผู้บริหารองค์กร

๓)                        ส่วนของภาครัฐบาล จะต้องเร่งพิจารณาเรื่องกฎหมายต่างๆ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรของภาครัฐเองให้มีความรู้และเข้าใจธุรกิจบริการอย่างถูกต้อง ทำงานร่วมกับภาคเอกชนให้มากขึ้น หันมาให้การสนับสนุนภาคเอกชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเรื่องเงินลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนคนไทยโดยรวม พัฒนาการศึกษาให้สร้างคนที่มีคุณภาพ ดูแลเรื่องอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมในทุกระดับงาน เพื่อให้พนักงานมีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน  

สรุปผลจากสัมมนา

๑)     เรื่องสัญญา FTA ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ

๒)    ขอให้ภาคเอกชนอย่าไปตื่นกลัวจนเกินเหตุ เพราะจะมีผลทั้งด้าน บวก และ ด้าน ลบ อยากจะให้ทำความเข้าใจและศึกษาติดตามให้ดี  รวมตัวกันในธุรกิจและให้ข้อมูลกับคณะเจรา เพื่อทราบเป็นข้อมูล

ปรับธุรกิจของตัวเองเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และหาวิธีป้องกันผลกระทบด้านลบที่จะมีมา พร้อมทางเลือกในการแก้ไข

๓)    ส่วนของข้าราชการฝ่ายเจรจาขอให้ศึกษาข้อมูลให้รู้จริง และปรึกษาร่วมกับภาคเอกชนและตั้งเป้าหมายในการเจรจาเพื่อทำให้เราได้ผลกระทบด้าน บวก มากกว่าด้านลบ  โดยคิดถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและไปทำให้ส่วนรวมของประเทศเสียหาย ต้องมีความกล้าชี้แจงถึงเหตุและผลให้กับนักการเมืองได้ทราบถึงผลได้และผลเสียในการเจรจาในแต่ละรายการ

 

ความเห็นของผมต่อเรื่องการเปิดการค้าเสรีด้านสาขาท่องเที่ยว ผมคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากนัก เพราะปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดเสรีให้กับชาวต่างชาติได้เข้ามาลงทุนและทำงานในประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย การเปิดเสรีจริงๆผมว่าเราน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ โดยเฉพาะประชาชนคนไทยโดยรวม ประชาชนที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน จะมีโอกาสได้รายได้ที่มากขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันด้านตลาดแรงงาน ผู้ที่มีความสามารถน้อยก็จะต้องปรับตัว เพิ่มความรู้และความสามารถในการทำงานให้กับตัวเองเพื่อหางานที่มีผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมและพอเพียงต่อการยังชีพ แต่ในทางกลับกันเราก็ต้องระวังผู้ประกอบการที่ไปจ้างคนต่างชาติที่สามารถกดค่าแรงให้ต่ำเข้ามาทำงานแทนคนไทย

 

ภาครัฐจะต้องมีการวางแผนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนโดยรวม เน้นด้านการศึกษาและพัฒนาคนไทยให้มีประสิทธิ์ภาพและความสามารถในการทำงานที่มีรายได้พอเพียงกับการเลี้ยงชีพในครัวเรือน ให้การสนับสนุนด้านการลงทุนกับผู้ประกอบการคนไทยที่เน้นการลงทุนที่ทรัพยากรมนุษย์ มีการให้ความรู้กับผู้ประกอบการให้ทำธุรกิจแบบยั่งยืน มองผลประโยชน์โดยรวมของประชากรชาวไทย ไม่ใช่เน้นไปที่เฉพาะผู้ประกอบการ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 18:06 น.
 

รับเป็นที่ปรึกษาการบริหารจัดการโรงแรม

พิมพ์ PDF

ท่านเจ้าของโรงแรม หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ท่านใดต้องการ ที่ปรึกษา ด้านการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจนำเที่ยว  เพื่อพัฒนาธุรกิจของท่านให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โปรดติดต่อ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ โทร 089-1381950

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 18:22 น.
 

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า

พิมพ์ PDF

กฎหมายปัจจุบันกับการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
บทความ: อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสร่วมฟังการประชุมนโยบายเรื่องการส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า และความเหมาะสมของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดโดยสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ได้ฟังความเห็นของม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแง่คิดที่น่าสนใจ จึงอยากจะเล่าสู่กันฟัง
ม.ล.ชาญโชติ ให้ความเห็นเรื่องนโยบายส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าว่า พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้าสมัยและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพรบ.ฉบับนี้ ต้องการปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นกฎหมายที่ออกมากำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ ซึ่งม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า รัฐไม่ควรเข้าไปกำกับผู้ประกอบการมากนัก ควรปล่อยให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันโดยเสรี แต่กฎหมายฉบับนี้กลับออกมากำกับไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งควรจะปล่อยให้แข่งขันไปตามกลไกของตลาด ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่น่าจะให้ประโยชน์กับฝ่ายใดเลย แต่กลับเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการต่างๆยื่นข้อร้องเรียน แล้วเรียกร้องให้รัฐเป็นกรรมการตัดสิน แทนที่รัฐจะทำหน้าที่ในการป้องกันเศรษฐกิจของประเทศ และป้องกันมิให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการออกพรบ.ฉบับดังกล่าว
ม.ล.ชาญโชติ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความล้าหลังของกฎหมายฉบับต่างๆ ที่กว่าจะออกมาได้แต่ละฉบับ ใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่พัฒนาการทางธุรกิจ ตลอดจนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้น กว่ากฎหมายแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะแล้วเสร็จ ธุรกิจนั้นๆก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เงื่อนไขและรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว ม.ล.ชาญโชติ จึงเห็นว่า การออกกฎหมายของประเทศไทยส่วนใหญ่มักไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น การออกกฎหมายแต่ละฉบับควรเป็นกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ด้วย
ม.ล. ชาญโชติ มีความเห็นว่า กฎหมายในบ้านเรามีมากมายหลายฉบับที่มีความซ้ำซ้อนกัน และบางฉบับยังมีข้อกำหนดที่หักล้างกันเอง แทนที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้น กลับมีผลทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
แต่กระนั้น ม.ล.ชาญโชติ ย้ำว่า ตนมิได้ไม่ต้องการให้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางการค้า แต่เห็นว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มแรก และที่สำคัญจะต้องสามารถนำมาปฏิบัติได้ด้วย เพราะหากกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวยังล้าหลัง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างภาคธุรกิจไทยให้มีศักยภาพที่จะแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย
ม.ล. ชาญโชติ ยังกล่าวถึง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย โดยเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่จำเป็น ต้องมีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจแข่งขันว่า การที่บริษัทต่างชาติต่างๆ เหล่านั้นเข้ามาใช้ทรัพยากรของประเทศ ก็ควรกำหนดเงื่อนไขค่าตอบแทนที่พึงจ่ายให้กับประเทศด้วย โดยรัฐสามารถออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขที่ไม่แตกต่างมากจนเกินไประหว่างบริษัทไทยกับบริษัทต่างชาติ ขณะเดียวกัน รัฐจะต้องมีนโยบาย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทย รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก ตลอดจนผู้ประกอบการที่อ่อนแอกว่า เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากนี้ ม.ล. ชาญโชติ ยังได้กล่าวถึงนโยบายการเปิดเสรีว่า ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นการเปิดเสรีจริงๆ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีกฎหมายแตกต่างกันในการกำกับดูแลกรณีต่างๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ก็มีกฎหมายที่ดินที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ ม.ล.ชาญโชติกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ากฎหมายยังมีความอ่อนแอมาก จึงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณา สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องวางแผน วางหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายใหม่ ตัวอย่างเช่น กรณี BOI ที่ต้องการจูงใจให้ต่างชาติที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศ แต่กลับไม่มีการส่งเสริมสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยให้ออกไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งในความเป็นจริง BOI ควรมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศ มากกว่ามาตรการ ลด แลก แจก แถม เพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ม.ล.ชาญโชติ มีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุน มีหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทย ยกตัวอย่าง บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อคนไทยไปปรึกษาข้อกฎหมาย ข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นข้อพิพาทสำคัญๆ ก็จะกลายเป็นข้อมูลของบริษัทที่เป็นต่างประเทศดังกล่าว ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เช่น การจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย จะต้องเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เป็นคนไทยเท่านั้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ซึ่งคนไทยมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าชาติอื่นๆ และไม่ควรกลัวต่างชาติ อาจจะยอมเสียเปรียบต่างชาติบ้าง แต่ต้องอยู่ในขอบเขต และที่สำคัญ ม.ร. ชาญโชติ ย้ำว่า จะต้องไม่ยอมให้ต่างชาติเอาเปรียบตลอดเวลา และจะต้องกำหนดประเภทธุรกิจ และข้อจำกัดการประกอบธุรกิจไว้ให้เป็นของคนไทยอย่างชัดเจน
และในตอนท้าย ม.ล.ชาญโชติ ยังกล่าวว่า ที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องบุคลากร ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มจากประชาชนคนไทย คือการสร้างคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญ โดยพิจารณาถึงความสามารถ ว่าคนไทยมีความสามารถในด้านใด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยมีความสามารถในด้านการให้บริการ ในด้านการบริหารจัดการซึ่งจะต้องพัฒนาให้คนไทยสามารถบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นทีม แต่อย่างไรก็ตาม แผนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน กลับไม่กล่าวถึงเศรษฐกิจภาคบริการ ทั้งๆที่ภาคบริการมีความสำคัญ นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ90 ของประเทศเป็น SME ที่มีความสามารถทั้งสิ้น
ผมอยากจะฝากประเด็นแง่คิดของม.ล.ชาญโชติ ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนพิจารณา เพราะธุรกิจปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ก็ควรที่จะหันมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกรอบของกฎหมายให้ทันสมัย รองรับความต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้อย่างแท้จริง
อาจารย์รุจิระ บุนนาค
กรรมการผู้จัดการ สำนักงานกฎหมายมารุต บุนนาค

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 17:50 น.
 

จริยธรรมผู้นำ

พิมพ์ PDF

วันที่ 26 ธันวาคม 2554 ไปบรรยายให้นิสิตรุ่นที่ 2 ของมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ฟังตั้งแต่เช้า 9.00-12.00 น เสร็จการบรรยาย ผมได้ให้การบ้าน และให้นิสิตเข้าไปตอบการบ้านใน blog ของผม โปรดติดตามอ่าน และช่วยกันกระตุ้นเรื่อง "จริยธรรม"ให้ซึมซับเข้าไปอยู่ในจิตสำนึกของเด็กรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตของชาติ

  

สวัสดีครับ ม.ล. ชาญโชติ หลังจากที่ผมได้เข้าอบรม ผมรู้สึกว่าประเด็นจริยธรรมของเยาวชนคนไทย เป็นสิ่งที่ทุกคนควรปลูกฝัง ใส่ใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ในอดีตแทบจะมีน้อยมาก แต่เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลให้วีถีชีวิต ความเป็นอยู่ ค่านิยม วัฒนธรรมเปลี่ยนไป ซึ่งอาจยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ในสมัยก่อนสังคมไทยเป็นสังคมที่พึงพาอาศัยกัน เพื่อนบ้านมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของอาหาร ถามสารทุกข์สุกดิบ แต่ในปัจจุบัน เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน แทบจะไม่ได้รู้จักพูดคุยกันเลย รวมทั้งกระแสวัตถุนิยมก็มาครอบงำมากขึ้น อย่างไรสิ่งของที่เป็นรูปธรรม มากกว่านามธรรม จนทำให้เกิดการแข่งขัน เเย่งชิง เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ย่อมทำให้วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อที่ดีงามสูญหายไป หรือ คิดว่า มันเป็นอะไรที่ล้าหลัง จับต้องไม่ได้ เฉยๆๆ เมื่อค่านิยมเหลา่านี้ ถูกปลูกฝัง ปฤิบัติมากขึ้นเลยๆๆๆ ก็กลายเป็นว่า ทุกคนต่างมองการกระทำอย่างนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สมควร แต่กลับไม่ได้ฟื้นฟูสภาวะทางด้านจิตใจให้งอกงามขึ้น มีแต่ทำให้แย่ลงตามมา ผมกล่าวอารัมบทข้างบนมามากเเล้ว ผมขอตอบคำถามของม.ล. ชาญโชติ ที่ให้ทำเป็นการบ้่านนะครับ

1. เลือกผู้นำไทย 1 คน อธิบายคุณลักษณะของผู้นำท่านนั้น 3 เรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

ผู้นำไทยของใครหลายๆคนนั้นผมเชื่อแน่นอนว่า ผู้นำท่านนั้น ย่อมไม่พ้น "พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์"ที่ทรงพยายามรักษาแผ่นดินพื้นนี้เอาไว้ให้เราได้มีแหล่งพักผิง รวมทั้ง"เหล่าวีรชนคนกล้า"ต่างๆที่เสียสละเลือด เนื้อ หลั่งลงสู่พื้นเเผ่นดินแห่งนี้ไว้ ให้ลูกหลานชาวไทยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งสำหรับผม "พระมหากษัตริย์ เหล่าวีรชนคนกล้า"เป็นผู้นำในใจของผมเสมอมา และในการตอบคำถามตามที่มีรุ่นพี่ได้เข้ามาตอบนั้น ผมเห็นด้วยครับ แต่ในที่นี้ ผมขอยกผู้นำ อีกคนหนึ่งที่แทบทุกคนเกือบลืมท่าน ท่านนี้ไปแล้ว คือ "สืบ นาคะเสถียร" ท่านเป็นคนที่เสียสละทำงานเพื่อดูแลรักษาป่าไม้ และเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มานะอุตสาหะ และ ตัดสินอย่างโดดเดี่ยวในการยิงตัวตาย โดยสิ่งที่ท่านได้กระทำไปนั้น แม้จะดูว่าเป็นอะไรที่น่าสยดสยอง แต่ท่านกระทำไปเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมาสนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งถ้าหากลองจินตนาการดูว่า ถ้าหากไม่มีท่านผู้นี้แล้ว ทรัพยากรป่าไม่้ จะเหลือรอดจนถึงทุกวันนี้หรือไม่

2.กำหนดสิ่งที่จะทำตามแนวคิดของพระเจ้าอยู่หัว

สิ่งที่ผมจะทำตามแนวคิดของพระองค์ท่านคือ การดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำไปปฎิบัติชีวิตประจำวันได้ โดยผมจะใช้จ่ายอย่างประหยัด โดยการประหยัดนั้นไม่ีใช่ผมจะซื้อสินค้าที่ราคาถูก สินค้าลดราคา แต่ผมจะซื้อสินค้าในกำลังซื้อที่ไม่เกินกำลังซื้อ และพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี โดยที่เราที่เราไม่ต้องไปเปรียบเทยบกับคนอื่นว่า คนนั้นเค้าใช้ของชิ้นนั่น เราต้องมีแบบเค้า ซึ่งถ้าหากต้องสนองตามเค้าไปทุกอย่าง คำว่า "ความสุข"ก็คงไม่มี เพราะมั่วแต่เครียดว่า เราต้องทำวิธีไหนในการได้เงินมาซื้อสิ่งนั้น ซึ่งอาจทำให้เราไปกระทำอะไรที่ผิดกฎหมายได้ในที่สุด และนอกจากจะนำเเนวคิดเศรษฐกิขพอเพียงมาปรับใช้แล้ว ผมว่าสิ่งที่ต้องมีควบคู่กันไป คือ "การมีสติ"ตลอดเวลา

3. ค้นหาอุปนิสัยที่ดีที่สุดของตนเอง อย่างน้อย 3 ข้อ

อุปนิสัยของผมนั้นมีทั้งด้านดีและไม่ดี ซึ่งอุปนิสัยด้านดีของผมนั้น อันดับแรกคือ การไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เพราะ ผมคิดอยู่เสมอว่า ถ้าอยากให้ผู้อื่นปฎิบัติกับเราอย่างไร เราต้องปฎิบัติตนเองก่อน ถึงแม้เราจะปฎิบัติไปแล้ว คนอื่นอาจกระทำอะไรที่แย่ หรือ เหมือนเดิม ก็ให้ถือว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น ทำให้เรามีความสุขก็พอ ข้อถัดมาคือ การรับผิดชอบ ซึ่งผมมีความเชื่อยู่อย่างหนึ่งว่าคนเราจะมีคุณค่าหรือไม่ ต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าการรับผิดชอบต่อคำพูดที่เราได้กล่าวไปแล้ว การรับผิดชอบในงานที่ทำ แม้แต่ในขณะนี้ ผมอยู่ในฐานะนิสิตนักศึกษา ซึ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ การเรียนไม่ให้การเรียนแย่ หรือ มาเรียนเพื่อผลาญเงินพ่อแม่ โดยที่เราไม่ได้ความรู้อะไรเลย ได้เพียงแค่ปริญญาบัตรใบเดียว ซึ่งจากที่ผมเคยทำงานพาร์ททามส์ต่างๆไม่ว่าในช่วงเวลาปิดเทอม ช่วงเวลาเรียน สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้คือ การที่เราเรียนรู้สิ่งต่างๆในห้องนั้น ผิดกลับจากโลกแห่งความเป็นจริง เพราะ บางครั้งซึ่งที่เราได้เรียนรู้ อาจไม่ได้ใช้ หรือเราต้องนำมาประยุกต์ใช้ และเป็นอะไรที่ผมโชคดีมากที่ผมได้ทำงานต่างๆในช่วงเวลาเรียน ทำให้ผมสามารถได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ใหม่ๆ รับฟังความคิดเห็นของคนในแต่ละแง่มุมมากขึ้น ซึ่งบางแง่มุมเป็นแง่มุมที่ดีมากๆ ส่วนข้อสุดท้าย คือ การเสียสละ ซึ่งการเสียสละในความคิดของผมนั้นไม่ใช่ว่าเราจะต้องเสียเงิน เสียทองก้อนโต แต่อย่างไร อย่างน้อยเราก็สามารถเสียสละเวลาของเราได้ กล่าวคือ แทนที่เราจะเอาเวลาไปเล่นเกมส์ ดูหนัง หรือทำอะไร ผมเอาเวลาส่วนนี้ไปช่วยทบทวนหนังสือให้เพื่อน ซึ่งการที่ได้ทบทวนหนังสือให้เพื่อนนั้น ทำให้สามารถเข้าใจในประเด็นต่างๆได้มากขึ้น เนื่องด้วยบางประเด็นเป็นประเด็นที่เราอาจจะรู้ไม่จริง เราได้ไปสอบถามเพื่อนอีกคน และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากการทบทวนหนังสือเเล้ว สามารถเสียสละเวลาในการให้รับฟังความรู้สึกของเพื่อนในเวลาที่เพื่อนมีปัญหา เศร้่าใจ หดหู่ ได้ถึงแม้ว่าการรับฟังนั้นเราอาจรู้สึกว่าเป็นอะไรที่เรารับฟังไปแล้ว ท้ายที่สุดสิ่งที่เราเเนะแนวทางให้นั้น คนๆนั้นต้องเป็นคนตัดสินใจอยู่ดี ซึ่งเราสามารถทำให้เพื่อนไม่ต้องกระทำอะไรที่น่ากลัว อันตรายถึงชีวิตได้

4.ต้องการเป็นผู้นำแบบไหน

สำหรับผมนั้น ต้องการเป็นผู้นำที่เข้าใจความเป็นไปทุกสิ่งทุกอย่างของธรรมชาติ ว่า สิ่งต่างๆในโลกนั้นย่อมมีด้านดีและด้านร้ายเป็นธรรมดา เพราะการที่ผมสามารถเข้าใจคนอื่นมากขึ้น จะทำให้เราสามารถลดทิฐิลงได้ โดยที่เราจะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และจะไม่โต้แย้งด้วยอารมณ์โกรธ แต่จะมีการพูดกันเพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน นอกจากจะช่วยลดทิฐิเราลงได้แล้ว จะทำให้เราเป็นคนที่มีสติตลอดเวลา ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เนื่องด้วยเราเข้าใจว่า เวลาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถย้อนคืนได้ และเราก็ไม่รู้ว่าเราจะต้องถึงจุดจบของชีวิตเมื่อไหร่ เหมือนเช่นใบไม้ร่วงที่เราไม่รู้ว่าใบไม้ใบนี้จะร่วงตอนไหน ซึ่งการที่เรามีสติและไม่ประมาทในการใช้ ชีิวิตนี้แหละ จะคอยกระตุ้นให้เรากระทำแต่ความดีตลอดเวลา

สำหรับการตอบคำถาม ผมตอบคำตอบเสร็จแล้ว ซึ่งผมชอบคำถามในการอบรมข้อหนึ่งมากว่า "ถ้าคุณสามารถขอพรวิเศษได้หนึ่งข้อ คุณจะข้ออะไร" ซึ่งในตอนอบรมผมขอให้"ตัวเอง"มีสติ และไม่สูญเสียสามัญสำนึกในการแยกแยะว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี แต่ตอนนี้ผมอยากข้อพรแบบนี้เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนจากคำว่า"ตัวเอง"เป็นคำว่า ขอให้ทุกสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกอยู่โดยมีสติและไม่สูญเสียสามัญสำนึกว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนบาป ซึ่งคำว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนบาปนั้น ผมหมายความว่า การระทำใดที่กระทำแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่น ตนเอง นั้นแหละคือสิ่งดี ในทางตรงข้ามกัน สิ่งไหนกระทำแล้ว ผู้อื่นเดือนร้อน ตนเองเดือดร้อน สิ่งนั้นเป็นบาป เนื่องด้วยถ้าพรข้อนี้สัมฤทธิ์ผล สิ่งมีชีวิต โลกใบนี้ คงมีความสุขตลอดกาลครับ

สุดท้าย ผมขอบคุณ ม.ล. ชาญโชติ ที่มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ให้ครับ และผมขอเป็นกำลังใจให้ท่าน(ม.ล. ชาญโชติ) ถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้แก่รุ่นน้อง รุ่นพี่ต่อๆไปนะครับ

ขอบคุณครับ

นาย พิเชษฐ์ กิตติธรกุล

หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

 
 
Ico48
 


หน้า 536 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5611
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8634052

facebook

Twitter


บทความเก่า