Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

Why Engaged Employees Can Make Or Break Your Business

พิมพ์ PDF

Is there anything more important to your company’s success than engaged employees? Dale Carnegie Trainers don’t believe so. A committed and enthusiastic team has no limits on its potential for success, but trying to rally a group of unengaged employees all but ensures failure. Whereas investments in things like a new building or updated computer systems can produce short term gains, putting time and money into employee engagement will give your company a boost over the long haul. Here’s why:

High Cost of Employee Turnover

69% of disengaged employees said they’d hand in their resignation to their current company if another organization offered them just 5 percent more money, according to a Dale Carnegie Training survey of 1500 employees nationwide. Engaged employees? It would take a 20 percent raise to get them to hang their hat elsewhere. The Institute for Research on Labor and Employment says it take 150 percent of a person’s salary to replace him or her; engagement is a clear-cut money-saver for any company.

Turnover Has Non-Measurable Costs

The cost of employee turnover is not simply a nominal price to pay. Turnover is stressful for bosses and human resource managers, but most especially for co-workers who have to pick up the slack left in the ex-employee’s wake. In addition, new hires may make mistakes when they’re learning the ins and outs of the position. And employees who defect could tarnish your brand if they leave on bad terms.

Disengaged Employees Can Be Dangerous

According to a recent Dale Carnegie Training white paper, employees who are disengaged don’t just cost your company money over time. They can actually be dangerous to those around them due to workplace accidents. Also, chronic absenteeism due to unengagement can put a serious strain on co-workers who do show up regularly to work. Eventually, these employees may start to suffer from unengagement as well.

Engaged Employees are Better Employees

Satisfied, committed and engaged employees are the only employees worth having. They will not only go the extra mile for you, but they’ll go above and beyond for customers, their co-workers and your organization.

คัดลอกจาก http://blog.dalecarnegie.com/teammemberengagement/why-engaged-employees-can-make-or-break-your-business/?keycode=welcome

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2015 เวลา 17:39 น.
 

AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

พิมพ์ PDF

AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

 

เมื่อไม่นานนี้ ผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “AEC และนัยต่อการพัฒนาประเทศไทย” ภายใต้หลักสูตร ความรอบรู้ AEC เพื่อผู้บริหาร ซึ่งจัดโดย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ผมได้วิเคราะห์ว่า AEC จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้าน โดยบทความนี้ ผมจะนำเสนอ 2 ประเด็น คือ การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพึ่งพาต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของการพัฒนา

การเข้าสู่ AEC จะทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องปรับมุมมองในการดำเนินงานให้มีขอบเขตกว้างมากขึ้น จากมุมมองภายในขอบเขตประเทศ สู่มุมมองระหว่างประเทศ อาท
ขอบเขตของกฎระเบียบ การออกกฎระเบียบต่าง ๆ ในประเทศ จะต้องให้ความสนใจข้อตกลงของ AEC และปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความสอดคล้องกับข้อตกลง และกฎระเบียบในอาเซียน เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อาจต้องได้รับการแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวในนิติบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า และการลงทุนของ AEC เป็นต้น

ขอบเขตการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนแปลงขอบเขตการดำเนินธุรกิจ จากการมุ่งเพียงตลาดภายในประเทศ เป็นการมองหาตลาดที่กว้างขึ้นในระดับภูมิภาค เพราะเมื่อเปิด AEC กลุ่มประเทศอาเซียนจะกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ธุรกิจไทยจะมีโอกาสขยายตลาดและเข้าไปลงทุนในอาเซียนมากขึ้น การผลิตสินค้าและบริการต้องคำนึงถึงความต้องการของประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น

ขอบเขตของการจ้างงาน ประชาชนในประเทศไทยจะมีโอกาสออกไปทำงานในประเทศอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากอาเซียนได้ลงนามยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual Recognition Arrangement: MRA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพบางสาขา ซึ่งหมายความว่า บุคลากรของไทยในสาขาที่เปิดให้เคลื่อนย้ายอย่างเสรี หากต้องการไปทำงานในอาเซียน เขาจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ของประเทศที่ต้องการเข้าไปทำงานด้วย

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลทำให้มุมมองของการพัฒนาประเทศมีขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น เช่น ระบบการศึกษาไทย ต้องสามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นพลเมืองอาเซียน มีคุณสมบัติที่พร้อมจะออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ภาครัฐต้องส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ และพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการทำตลาด และลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงทิศทางของการพึ่งพาต่างประเทศ

AEC จะมีส่วนเปลี่ยนแปลงทิศทางของการพึ่งพาต่างประเทศของไทย จากการพึ่งพาตะวันตก สู่การพึ่งพาตะวันออกมากขึ้น (from West to East) และจากการพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว สู่การพึ่งพาเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น (from North to South)

การพึ่งพาทางการค้า

ปัจจุบัน อาเซียนและจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และ 2 ของไทย ขณะที่การค้ากับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น มีสัดส่วนลดลง ในอนาคตไทยจะพึ่งพาทางการค้ากับเอเชียมากขึ้น เพราะเอเชียได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย จะมีส่วนแบ่งในจีดีพีโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในปี 2015 เป็นร้อยละ 46 ในปี 2050 นอกจากนี้ เอเชียจะมีชนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก โดยชนชั้นกลางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 2-3 พันล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเอเชีย

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเอเชีย จะมีส่วนแบ่งมากกว่าร้อยละ 50 ของการค้าโลกในปี 2025 เนื่องจากข้อตกลงการเปิดเสรีภายในภูมิภาค จะทำให้การพึ่งพากันภายในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AEC จะขยายความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาค เป็น ASEAN+3 และ ASEAN+6 มากกว่านั้น ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ยังมีความตกลงทางการค้าในแบบทวิภาคีจำนวนมาก

การพึ่งพาทางการลงทุน

การเปิด AEC จะทำให้ไทยพึ่งพาการลงทุนจากเอเชียมากขึ้น เนื่องจากการลดข้อจำกัดด้านการเคลื่อนย้ายการลงทุน และเงินทุนระหว่างกันมากขึ้น AEC ยังทำให้นักลงทุนนอกภูมิภาคสนใจอาเซียนมากขึ้น เพราะอาเซียนจะกลายเป็นตลาดเดียวที่มีขนาดใหญ่ การเข้ามาลงทุนในอาเซียนจะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคที่มีจำนวนถึง 600 ล้านคน

ปัจจุบัน การลงทุนโดยตรงในประเทศกำลังพัฒนา 1 ใน 3 มาจากประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง ในอนาคต กระแสการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ จากประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น บริษัทในประเทศกำลังพัฒนาออกไปทำการค้าและร่วมลงทุนในเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ มากขึ้น

หากพิจารณาในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ อาเซียนอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของโลก ประเทศมหาอำนาจจึงพยายามขยายอิทธิพลมาในภูมิภาคนี้ สังเกตได้จากการที่รัฐบาลจีนให้เงินช่วยเหลือและเงินลงทุนแก่ประเทศในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน หรือรัฐบาลอินเดียที่พยายามเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับอาเซียน ดังนั้น ประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางอาเซียน จะมีโอกาสรับนักลงทุนจากเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ประเทศไทยต้องเปลี่ยนทิศทางการพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ตะวันออกมากขึ้น จากเดิมที่ให้ความสำคัญกับตะวันตก เช่น การส่งนักเรียนทุนรัฐบาลอาจต้องกระจายทุนไปสู่ประเทศตะวันออกมากขึ้น การเรียนภาษาต่างประเทศต้องให้ความสำคัญกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เป็นต้น
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศ ด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่เราจะสามารถพัฒนาประเทศ ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในอาเซียนได้ และมีศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขัน

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจาก AEC ในประเด็นอื่นๆ จะนำเสนอในบทความครั้งต่อๆ ไป

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2015 เวลา 12:43 น.
 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ : สู่การพัฒนาคนอย่างเต็มศักยภาพ.

พิมพ์ PDF

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ : สู่การพัฒนาคนอย่างเต็มศักยภาพ.

ผมเชื่อว่าการศึกษาของไทยในสภาพปัจจุบันจะนำประเทศสู่หายนะ เพราะจะสร้างคนที่ “โง่และไร้เหตุผล” ทั้งชาติ ผมยิ่งศึกษาหลักการศึกษาของประเทศต่างๆ ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดี ก็ยิ่งเสียดาย ที่สภาพของระบบการศึกษาไทยเป็นเช่นนี้ เสียดายศักยภาพของเด็กและเยาวชนไทย ที่ได้รับการศึกษาใน รูปแบบผิดๆ ทำให้ขาดโอกาสได้รับการพัฒนาสมองอย่างครบถ้วนสมดุลและที่ร้ายยิ่งกว่านั้น สังคมส่วนรวม ยังร่วมกันกระตุ้นสมองส่วนชั่วร้าย แทนที่จะร่วมกันกระตุ้นสมองส่วนที่รับผิดชอบรอบคอบ

เราไม่ตระหนักว่า สังคมในปัจจุบันกระตุ้นเลือดชั่วของคน มากกว่ากระตุ้นเลือดดี ซึ่งจะมีผลร้ายต่อสังคม และความสงบสุขของทุกคนร่วมกันในระยะยาว และที่สำคัญที่สุด บั่นทอนอนาคตของเยาวชน

ไม่ทราบว่าผมคิดอย่างนี้ผิดหรือถูก

ระบบและวิธีการจัดการศึกษาต้องเป็นไปตามความเป็นจริงในสังคม ต้องฝึกฝนเด็กและเยาวชน ให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งความเป็นจริง ไม่ปฏิเสธความเป็นจริงในสังคม ทักษะนั้นเรียกว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑” ซึ่งเป็นทักษะที่ซับซ้อนมาก

ความรู้ด้าน ศาสตร์แห่งสมอง (Neuroscience) บอกเราว่า การศึกษาคือการฝึกสมองนั่นเอง ผลของการศึกษาจะจารึกไว้ในสมอง ในรูปของระบบเครือข่ายใยประสาท และในรูปของการพัฒนาสมองส่วนที่ถูกกระตุ้น หากกระตุ้นอย่างถูกวิธี สมองอันวิเศษของมนุษย์ก็จะให้คุณแก่เจ้าของ และแก่สังคมส่วนรวมเป็นอันมาก อย่าง มหัศจรรย์ และในทางตรงกันข้าม หากกระตุ้นผิด หลงกระตุ้นสมองแห่งความชั่วร้าย บุคคลนั้นก็จะเป็นคนร้าย ก่อโทษทั้งต่อชีวิตตนเอง และแก่สังคม

ผมเชื่อว่า เวลานี้การศึกษาไทยกำลังกระตุ้นสมองส่วนชั่วร้ายอย่างได้ผล และกระตุ้นสมองส่วนดี แบบไร้ผล เพราะว่าสมองส่วนชั่วร้ายไม่ซับซ้อนมาก กระตุ้นง่าย แต่สมองส่วนดีมีความซับซ้อนมาก กระตุ้นยากหากทำไม่เป็น แต่ถ้าทำเป็นก็ไม่ใช่ของยาก การกระตุ้นสมองส่วนดีนี้เอง ที่เรียกว่าการศึกษาที่แท้จริง และในปัจจุบันต้องกระตุ้นด้วยเป้าหมายให้เกิดทักษะ (ทำได้ ทำจนเป็นนิสัย ทำอย่างรู้คุณค่า) ไม่ใช่เรียนแบบจำ เอามาตอบข้อสอบได้ อย่างที่วงการศึกษาไทยใช้กันอยู่

หนังสือ ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ ๒๑ และ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ บอกเราว่าที่วงการศึกษาไทยพร่ำบอกอุดมการณ์การศึกษา ด้วยถ้อยคำโตๆ นั้น เป็นการบอกเป้าหมาย แต่ไม่บอกวิธีการที่ถูกต้อง และที่ทำก็เป็นวิธีการที่เก่าล้าสมัย ผู้เรียนจะไม่ได้ฝึกฝนทักษะสำหรับ การดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่

การศึกษาที่ถูกต้องสำหรับศตวรรษใหม่ ต้องเรียนให้บรรลุทักษะ คือทำได้ ต้องเรียนเลยจากรู้วิชา ไปสู่ทักษะในการใช้วิชาเพื่อการดำรงชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง การเรียนจึงต้องเน้นเรียนโดยลงมือทำ หรือการฝึกฝนนั่นเอง และคนเราต้องฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่จำเป้นตลอดชีวิต

จารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๕๕:

คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/483240

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 05 มกราคม 2016 เวลา 21:52 น.
 

10 สายอาชีพแห่งอนาคต เลือกให้ถูกมีชัยไปกว่าครึ่ง

พิมพ์ PDF
อาชีพอะไรดี อาชีพอะไรทำแล้วมีความสุขและมีรายได้ดี เป็นเรื่องที่เราทุกคนสนใจไม่ว่าท่านจะมีอายุเท่าไหร่ ในปัจจุบันการเลือกสายอาชีพที่ดีจะเป็นการสร้างโอกาสในอนาคตให้กับท่านและคนรอบตัวของท่านได้เป็นอย่างดี หลายๆ ท่านคงสงสัยว่าเป็นเพราะเหตุใด เรามาลองพิจารณาดูว่า หากท่านเรียนในสายอาชีพที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ย่อมเป็นที่แน่ชัดว่าท่านจะมีงานทำ มีรายได้ดี และมีสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างได้ ตัวอย่างเช่น สายอาชีพแพทย์ เป็นสายอาชีพที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการมาตลอด แต่อย่างที่ทราบนะครับว่า ถึงแม้ว่าแพทย์จะเป็นสายอาชีพที่มีรายได้ดี แต่ก็ทำงานหนัก เมื่อนำมาคำนวณเวลาทำงานเทียบกับรายได้แล้ว รายได้ของสายอาชีพแพทย์ก็อาจจะไม่ได้สูงไปกว่าสายอาชีพอื่นๆ เลย หลายท่านคงสนใจว่ามีสายอาชีพอื่นๆ อีกไหม ที่กำลังขาดแคลน เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน มีรายได้ดี และทำงานไม่หนักเกินไป ซึ่งสามารถทำให้ท่านทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า

ในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีหลายอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาตามยุคสมัยและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สาขาหนึ่งในอดีตที่น่าสนใจ คือสายอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ในช่วงปี ค.ศ.1995-2001 สายอาชีพด้านคอมพิวเตอร์เป็นสายอาชีพที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะสายนักพัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์ เป็นยุคที่มีการลงทุนกับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บไซต์ต่างๆ จำนวมมาก เรียกว่า ยุคด็อทคอม (Dot-Com) ในช่วงเวลาดังกล่าว คนที่ได้เรียนในสายอาชีพคอมพิวเตอร์ จะหางาน ได้งาน รายได้ดี มีการแย่งตัวบุคลากรที่มีความสามารถ มาทำงานในบริษัทใหม่ๆ (IPO) ซึ่งสมัยนี้อาจจะเรียกได้ว่า เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ก็ว่าได้ ในช่วงดังกล่าวมีชาวอินเดียจำนวนมากที่สนใจศึกษาในศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์และได้งานตำแหน่งดีๆ ในบริษัทใหญ่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก จนบางคนสามารถย้ายถิ่นฐานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายได้ที่ดีและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นี่ก็นับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของกลุ่มคนดังกล่าวที่เลือกสายอาชีพได้เหมาะสมกับช่วงเวลาและความต้องการ

อีกตัวอย่างหนึ่งของสายอาชีพที่น่าสนใจในอดีตที่ผ่านมา คือ สายอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Actuary อาจจะเป็นสายอาชีพที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ก็เป็นสายอาชีพที่ดี แต่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการมาตลอดเช่นกัน สายอาชีพดังกล่าวเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสายอาชีพที่ทำงานด้านการคำนวณเบี้ยประกันภัยและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินต่างๆ ของบริษัทประกันภัย หากสามารถสอบได้ประกาศนียบัตรของสมาคม Society of Actuary บุคคลดังกล่าวก็จะมีรายได้ประมาณ 5-8 ล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2000 หากท่านใดเลือกเรียนในสายอาชีพดังกล่าวก็จะสามารถหางานทำได้ง่าย รายได้ดี และมีชีวิตการทำงานที่ดี แต่การทำงานในสายอาชีพดังกล่าว จำเป็นต้องชอบเรียนด้านคณิตศาสตร์และสถิติจึงจะประสบความสำเร็จ ในยุคนั้นคนจีนที่มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ที่ดี ได้แห่กันมาเรียนในสายอาชีพนี้กันจำนวนมาก เป็นโอกาสให้คนจีนหลายๆ คนได้ย้ายไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

จุดนี้ก็มาถึงคำถามอันสำคัญว่า สายอาชีพอะไรต่อไปที่จะสร้างความรุ่งเรืองให้กับชีวิตและหน้าที่การทำงานของเรา ในปัจจุบันหลายๆ ท่านจะเห็นได้ว่า เรื่องราวของเทคโนโลยีนั้นมีอะไรเข้ามาใหม่ๆ มากมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก สังเกตได้จากในยุคนี้ คนในสังคมเมืองนั้นติดโทรศัพท์มือถือกันมาก ใช้ทุกที่ ทุกเวลา พอมีเวลาว่างก็จะหยิบโทรศัพท์มือถือมาดูตลอด ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้รูปแบบของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป บางธุรกิจก็ล้มไป เช่น ร้านอัดขยายรูปภาพและร้านเช่า Video คนสมัยใหม่นิยมซื้อของ Online มากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ ในอนาคตอันใกล้เราจะเห็นได้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์มีความอัจฉริยะมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากสาขาวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) ที่สร้างคอมพิวเตอร์ให้สามารถฟังและพูดได้เหมือนคน รถยนต์ที่ขับได้เอง โดรนบินส่งของ หุ่นยนต์ทำงานและกู้ภัยต่างๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายกันดาษดื่นเต็มไปหมด หากเราลองมาดูว่าสายอาชีพใดเป็นสายอาชีพที่ดี ที่สามารถรองรับธุรกิจและความต้องการในอนาคต อาจจะดูได้จากอาชีพยอดนิยม 10 อันดับในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2016 จัดทำโดยเว็บไซด์ในประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Careercast.com ได้มีการจัดอันดับสายอาชีพยอดนิยม ดังนี้

1. Data Science (วิทยาการข้อมูล) คือสายอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ มุ่งเน้นด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะหาความรู้จากข้อมูลที่มีมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจากใน Social Network หรือ Sensor รับข้อมูลต่างๆ รวมถึงรูปภาพ คลิปวิดีโอจากกล้องต่างๆ ด้วย ความรู้ที่ได้มาจากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ในอนาคต กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จดจำรูปแบบการใช้หรือซื้อสินค้า Online เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าให้มากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ในแง่ของการทำงานของหุ่นยนต์ ยังอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Sensor ต่างๆ ในศาสตร์นี้ประกอบกับศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบสนองและควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ในปัจจุบันสายอาชีพดังกล่าวจึงได้รับความนิยมสูงสุด มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4-5 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าจะมีความต้องการบุคลากรด้านนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 16%

2. Statistician (นักสถิติ) คือสายอาชีพด้านสถิติ ก็ยังคงบทบาทสำหรับศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ในเชิงสถิติและการจัดการ สาเหตุก็เช่นเดียวกับสายอาชีพ Data Science เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลเป็นจำนวนมากเกินกว่าศักยภาพของคนที่จะวิเคราะห์และสรุปข้อมูล ศาสตร์ด้านสถิติจึงเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล และทำนายข้อมูล สายอาชีพนี้มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อปี แต่มีอัตราการขยายตัวสูงมากถึง 34% นับเป็นหลักฐานที่ชัดเจนให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ข้อมูล สารสนเทศ และสถิติในการจัดการและบริหารงานมากกว่าการคาดเดาและประเมินสถานการณ์จากผู้ที่มีประสบการณ์ ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการธุรกิจในปัจจุบันมีการใช้ Web/Mobile Application เป็นหลักในการให้บริการ ประชากรหลักล้านทำงานอยู่บน Web/Mobile Application พร้อมๆ กันจากทั่วโลก ข้อมูลปริมาณมาหาศาลถูกส่งไปมาเพื่อประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการยากเกินกว่าผู้บริหารจะเข้าไปทำความเข้าใจ รูปแบบต่างๆ ของธุรกรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นการบริหารงานสมัยใหม่จึงต้องใช้สถิติล้วนๆ ในการจัดการ ยกตัวอย่าง เช่น ในสมัยก่อน ธนาคารก็จะเน้นให้เปิดสาขาเพื่อบริการลูกค้า ผู้จัดการสาขาของธนาคารก็สามารถเข้าไปสำรวจ หรือ สังเกตพฤติกรรมการทำงานและการให้บริการ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการให้บริการได้ แต่ในปัจจุบันลูกค้าใช้บริการผ่าน Application ทั้งบน PC ผ่าน Browser และ Mobile Application บนโทรศัพท์มือถือ ผู้จัดการสาขาก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปสำรวจหรือสังเกตพฤติกรรม เพียงแต่ดูข้อมูลสรุปทางสถิติให้เข้าใจ ก็สามารถดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ดังนั้น ข้อมูลและสถิติจึงเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงการทำงานในยุคสมัยนี้

3. Information Security Analyst (นักวิเคราะห์ความมั่นคงสารสนเทศ) คือ สายอาชีพที่น่าสนใจเช่นกัน การควบคุมความมั่นคงระบบสารสนเทศขององค์กรกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ในการป้องกันผู้ไม่พึงประสงค์ที่เข้ามาแอบขโมยข้อมูลขององค์กร เข้ามาแกล้งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรล่ม เพื่อไม่สามารถให้บริการกับลูกค้าต่างๆ ได้ สายอาชีพนี้จะต้องเรียนรู้วิธีการติดตั้งอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันภัยคุกคาม ไม่ให้มีรูรั่วในระบบคอมพิวเตอร์อันจะเป็นช่องโหว่ให้ถูกเข้ามาโจมตีได้ รวมไปถึงการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัยต่างๆ ในองค์กรด้วย ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตามดูว่า หากเราประกอบกิจการ ทำธุรกรรม E-Commerce เช่นซื้อขายสินค้าออนไลน์ เวลาทุกนาที ทุกชั่วโมงนั้นมีความหมายสำหรับการ ดูสินค้า สั่งสินค้า และติดตามสถานะการส่งสินค้าของลูกค้าจำนวนหลายหมื่นคนต่อวัน ถ้าหากระบบคอมพิวเตอร์เราเสีย เนื่องจากมีบุุคคลภายนอกแกล้งเขียนโปรแกรมเข้ามาทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยส่งข้อความจำนวนมหาศาลมาที่คอมพิวเตอร์ของเราให้ทำงานไม่ไหว จนไม่สามารถให้บริการลูกค้าอื่นๆ ได้ หรืออาจจะส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราหยุดทำงานไปสัก 2-3 ชั่วโมง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทจะมีมากน้อยเพียงไร นอกจากนี้หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้ามานำข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าเราไปชำระเงินโดยใช้ชื่อสินค้าและบริการต่างๆ ธุรกิจของเราก็จะเสียหาย ดังนั้นจึงเกิดความต้องการบุคลากรในสายอาชีพนี้ที่จะต้องได้รับการฝึกฝนนานหลายปี จึงจะเข้าใจรูปแบบการโจมตีที่หลากหลาย เข้ามาทำงาน และทำหน้าที่ป้องกันภัยให้เราได้ เปรียบเสมือน รปภ. ที่ดูแล อาคารสถานที่ แต่ต้องเป็น รปภ. ที่มีความรู้และทักษะด้านการระวังภัยด้าน Cyber Security สายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 3 ล้านบาทต่อปี และอัตราการขยายงานประมาณ 18%

4. Audiologists (นักโสตสัมผัสวิทยา) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย, วินิจฉัยและรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหู เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมของผู้สูงอายุมากขึ้น และหูเป็นอวัยวะที่มีปัญหาเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นจำนวนมากเพื่อดูแลผู้ป่วย รายได้ของนักโสตสัมผัสวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ 3 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวประมาณ 29%

5. Diagnostic Medical Sonographer (นักวินิจฉัยทางการแพทย์) สายอาชีพนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 24% เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์ Ultrasound ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยผลการตรวจ ซึ่งสายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี

6. Mathematician (นักคณิตศาสตร์) เป็นสายอาชีพดั้งเดิม ที่ยังคงสร้างรายได้ดี และมีความต้องการสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันนักคณิตศาสตร์ถูกจ้างงานน้อยมาก อัตราการขยายตัวและความต้องการในตลาดแรงงานด้านนักวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่จะถึงนี้ ความต้องการส่วนใหญ่จะอยู่ในภาควิชาการ จนถึงในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปี

7. Software Engineer (นักพัฒนาซอฟต์แวร์) เป็นสายอาชีพที่ติดอันดับหนึ่งมาหลายปี และเป็นที่แน่นอนว่าคนที่เรียนสาขานี้จะมีงานเข้ามาให้ทำจนล้นมือเลยทีเดียว สายอาชีพมีความต้องการในตลาดแรงงานสูงเนื่องจาก ต่อไประบบซอฟต์แวร์จะครองโลก หมายความว่าอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมการทำงานและรายงานสถานะให้กับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ทราบเพื่อประสานการทำงานกันอย่างลงตัว อย่างในปัจจุบันได้มีการสร้าง Smart City ซึ่งเป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เช่น ข้อมูลการจราจรและขนส่งแบบ Real-Time สายอาชีพดังกล่าวเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาระบบต่างๆ เพราะถือว่าเป็นแกนกลางในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ และผลลัพธ์ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้งานได้รวดเร็วตรงตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่สร้างภาพเสมือนผสมผสานภาพจริง ทำให้เกินนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้เราอาจจะใส่แว่นตาเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์อยู่สถานที่ใดก็ได้ในโลก จากนโยบายของภาครัฐในประเทศไทยเรื่อง Thailand 4.0 จะมุ่งเน้นให้ประเทศไทยพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลลงไปยังภาครัฐและเอกชน ให้ดำเนินกิจการสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นสาขานี้จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีอัตราการขยายตัวประมาณ 17%

8. Computer System Analyst (นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์) สายอาชีพนี้ก็เช่นกัน มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานับ 10 ปี ลักษณะงานก็คือ เข้าไปศึกษาระบบการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน หรือการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด บุคลากรที่จะเรียนในสายอาชีพนี้จะต้องมีทักษะในด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์เป็นอย่างดี สามารถนำเอาเทคโนโลยีในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิผล นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการออกแบบโปรแกรมและประสานงานกับ นักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อผลิตผลงานที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการทำงานของธุรกิจ สายอาชีพนี้มีรายได้ประมาณ 2.8 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21%

9. Speech Pathologist (นักแก้ไขการพูด) คือสายอาชีพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษาและการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ สายอาชีพนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน

10. Actuary (นักคณิตศาสตร์ประกันภัย) สายอาชีพนี้ได้อธิบายรายละเอียดไว้ข้างต้นบทความนี้แล้วว่าลักษณะงานเป็นอย่างไร ในยุคนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในสายอาชีพที่มีความต้องการสูงอยู่ โดยมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน

ถ้าท่านได้อ่านมาถึงช่วงสุดท้ายนี้ ท่านจะพบว่ามีสายอาชีพใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย หากท่านเลือกเรียนในสายอาชีพที่มีความต้องการของตลาดสูง ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านจะมีหน้าที่การงานที่ดี รายได้ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถสร้างคุณค่าให้กับครอบครัวและสังคมได้ สุดท้ายนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านที่สนใจ อาจจะไม่ทราบว่าสายอาชีพดังกล่าวสามารถเรียนโทต่อได้ โดยคณะสถิติประยุกต์ นิด้า http://as.nida.ac.th/gsas/ เป็นหนึ่งในหลายมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนป.โทในสายอาชีพข้างต้น ถึง 7 สาขาวิชา คือ Data Science, Business Analytics and Intelligence, Statistics, Information Security Analyst, Software Engineer, Computer System Analyst, และ Actuarial Sciences and Risk Management ซึ่งจัดได้ว่าเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนในสายอาชีพยอดนิยมดังกล่าวอยู่ในคณะเดียวกัน ก่อให้เกิดการบูรณาการด้านการศึกษาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ที่จะไปประกอบอาชีพในสายอาชีพดังกล่าวต่อไปได้อย่างประสบความสำเร็จ อนาคตของท่านขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเรียนต่อของท่านในวันนี้ ว่ามันจะสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จให้ท่านมากน้อยแค่ไหน
ผศ.ดร.รัฐกร พูลทรัพย์อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า
คัดลอกจาก MGR ONLINE
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2017 เวลา 12:26 น.
 

What is NLP

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 เมษายน 2017 เวลา 20:06 น.
 


หน้า 555 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3056
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8647275

facebook

Twitter


บทความเก่า