Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

10 สายอาชีพแห่งอนาคต เลือกให้ถูกมีชัยไปกว่าครึ่ง

พิมพ์ PDF
อาชีพอะไรดี อาชีพอะไรทำแล้วมีความสุขและมีรายได้ดี เป็นเรื่องที่เราทุกคนสนใจไม่ว่าท่านจะมีอายุเท่าไหร่ ในปัจจุบันการเลือกสายอาชีพที่ดีจะเป็นการสร้างโอกาสในอนาคตให้กับท่านและคนรอบตัวของท่านได้เป็นอย่างดี หลายๆ ท่านคงสงสัยว่าเป็นเพราะเหตุใด เรามาลองพิจารณาดูว่า หากท่านเรียนในสายอาชีพที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ย่อมเป็นที่แน่ชัดว่าท่านจะมีงานทำ มีรายได้ดี และมีสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างได้ ตัวอย่างเช่น สายอาชีพแพทย์ เป็นสายอาชีพที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการมาตลอด แต่อย่างที่ทราบนะครับว่า ถึงแม้ว่าแพทย์จะเป็นสายอาชีพที่มีรายได้ดี แต่ก็ทำงานหนัก เมื่อนำมาคำนวณเวลาทำงานเทียบกับรายได้แล้ว รายได้ของสายอาชีพแพทย์ก็อาจจะไม่ได้สูงไปกว่าสายอาชีพอื่นๆ เลย หลายท่านคงสนใจว่ามีสายอาชีพอื่นๆ อีกไหม ที่กำลังขาดแคลน เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน มีรายได้ดี และทำงานไม่หนักเกินไป ซึ่งสามารถทำให้ท่านทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า

ในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีหลายอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาตามยุคสมัยและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สาขาหนึ่งในอดีตที่น่าสนใจ คือสายอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ ในช่วงปี ค.ศ.1995-2001 สายอาชีพด้านคอมพิวเตอร์เป็นสายอาชีพที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะสายนักพัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์ เป็นยุคที่มีการลงทุนกับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บไซต์ต่างๆ จำนวมมาก เรียกว่า ยุคด็อทคอม (Dot-Com) ในช่วงเวลาดังกล่าว คนที่ได้เรียนในสายอาชีพคอมพิวเตอร์ จะหางาน ได้งาน รายได้ดี มีการแย่งตัวบุคลากรที่มีความสามารถ มาทำงานในบริษัทใหม่ๆ (IPO) ซึ่งสมัยนี้อาจจะเรียกได้ว่า เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ก็ว่าได้ ในช่วงดังกล่าวมีชาวอินเดียจำนวนมากที่สนใจศึกษาในศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์และได้งานตำแหน่งดีๆ ในบริษัทใหญ่ๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก จนบางคนสามารถย้ายถิ่นฐานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายได้ที่ดีและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นี่ก็นับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของกลุ่มคนดังกล่าวที่เลือกสายอาชีพได้เหมาะสมกับช่วงเวลาและความต้องการ

อีกตัวอย่างหนึ่งของสายอาชีพที่น่าสนใจในอดีตที่ผ่านมา คือ สายอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Actuary อาจจะเป็นสายอาชีพที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ก็เป็นสายอาชีพที่ดี แต่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการมาตลอดเช่นกัน สายอาชีพดังกล่าวเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสายอาชีพที่ทำงานด้านการคำนวณเบี้ยประกันภัยและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินต่างๆ ของบริษัทประกันภัย หากสามารถสอบได้ประกาศนียบัตรของสมาคม Society of Actuary บุคคลดังกล่าวก็จะมีรายได้ประมาณ 5-8 ล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2000 หากท่านใดเลือกเรียนในสายอาชีพดังกล่าวก็จะสามารถหางานทำได้ง่าย รายได้ดี และมีชีวิตการทำงานที่ดี แต่การทำงานในสายอาชีพดังกล่าว จำเป็นต้องชอบเรียนด้านคณิตศาสตร์และสถิติจึงจะประสบความสำเร็จ ในยุคนั้นคนจีนที่มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ที่ดี ได้แห่กันมาเรียนในสายอาชีพนี้กันจำนวนมาก เป็นโอกาสให้คนจีนหลายๆ คนได้ย้ายไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

จุดนี้ก็มาถึงคำถามอันสำคัญว่า สายอาชีพอะไรต่อไปที่จะสร้างความรุ่งเรืองให้กับชีวิตและหน้าที่การทำงานของเรา ในปัจจุบันหลายๆ ท่านจะเห็นได้ว่า เรื่องราวของเทคโนโลยีนั้นมีอะไรเข้ามาใหม่ๆ มากมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก สังเกตได้จากในยุคนี้ คนในสังคมเมืองนั้นติดโทรศัพท์มือถือกันมาก ใช้ทุกที่ ทุกเวลา พอมีเวลาว่างก็จะหยิบโทรศัพท์มือถือมาดูตลอด ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้รูปแบบของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป บางธุรกิจก็ล้มไป เช่น ร้านอัดขยายรูปภาพและร้านเช่า Video คนสมัยใหม่นิยมซื้อของ Online มากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ ในอนาคตอันใกล้เราจะเห็นได้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์มีความอัจฉริยะมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากสาขาวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) ที่สร้างคอมพิวเตอร์ให้สามารถฟังและพูดได้เหมือนคน รถยนต์ที่ขับได้เอง โดรนบินส่งของ หุ่นยนต์ทำงานและกู้ภัยต่างๆ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายกันดาษดื่นเต็มไปหมด หากเราลองมาดูว่าสายอาชีพใดเป็นสายอาชีพที่ดี ที่สามารถรองรับธุรกิจและความต้องการในอนาคต อาจจะดูได้จากอาชีพยอดนิยม 10 อันดับในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2016 จัดทำโดยเว็บไซด์ในประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Careercast.com ได้มีการจัดอันดับสายอาชีพยอดนิยม ดังนี้

1. Data Science (วิทยาการข้อมูล) คือสายอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ มุ่งเน้นด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะหาความรู้จากข้อมูลที่มีมากมายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจากใน Social Network หรือ Sensor รับข้อมูลต่างๆ รวมถึงรูปภาพ คลิปวิดีโอจากกล้องต่างๆ ด้วย ความรู้ที่ได้มาจากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ในอนาคต กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จดจำรูปแบบการใช้หรือซื้อสินค้า Online เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าให้มากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ในแง่ของการทำงานของหุ่นยนต์ ยังอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Sensor ต่างๆ ในศาสตร์นี้ประกอบกับศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบสนองและควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ในปัจจุบันสายอาชีพดังกล่าวจึงได้รับความนิยมสูงสุด มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4-5 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าจะมีความต้องการบุคลากรด้านนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 16%

2. Statistician (นักสถิติ) คือสายอาชีพด้านสถิติ ก็ยังคงบทบาทสำหรับศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ในเชิงสถิติและการจัดการ สาเหตุก็เช่นเดียวกับสายอาชีพ Data Science เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลเป็นจำนวนมากเกินกว่าศักยภาพของคนที่จะวิเคราะห์และสรุปข้อมูล ศาสตร์ด้านสถิติจึงเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล และทำนายข้อมูล สายอาชีพนี้มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อปี แต่มีอัตราการขยายตัวสูงมากถึง 34% นับเป็นหลักฐานที่ชัดเจนให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ข้อมูล สารสนเทศ และสถิติในการจัดการและบริหารงานมากกว่าการคาดเดาและประเมินสถานการณ์จากผู้ที่มีประสบการณ์ ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการธุรกิจในปัจจุบันมีการใช้ Web/Mobile Application เป็นหลักในการให้บริการ ประชากรหลักล้านทำงานอยู่บน Web/Mobile Application พร้อมๆ กันจากทั่วโลก ข้อมูลปริมาณมาหาศาลถูกส่งไปมาเพื่อประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการยากเกินกว่าผู้บริหารจะเข้าไปทำความเข้าใจ รูปแบบต่างๆ ของธุรกรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นการบริหารงานสมัยใหม่จึงต้องใช้สถิติล้วนๆ ในการจัดการ ยกตัวอย่าง เช่น ในสมัยก่อน ธนาคารก็จะเน้นให้เปิดสาขาเพื่อบริการลูกค้า ผู้จัดการสาขาของธนาคารก็สามารถเข้าไปสำรวจ หรือ สังเกตพฤติกรรมการทำงานและการให้บริการ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการให้บริการได้ แต่ในปัจจุบันลูกค้าใช้บริการผ่าน Application ทั้งบน PC ผ่าน Browser และ Mobile Application บนโทรศัพท์มือถือ ผู้จัดการสาขาก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปสำรวจหรือสังเกตพฤติกรรม เพียงแต่ดูข้อมูลสรุปทางสถิติให้เข้าใจ ก็สามารถดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ดังนั้น ข้อมูลและสถิติจึงเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลงการทำงานในยุคสมัยนี้

3. Information Security Analyst (นักวิเคราะห์ความมั่นคงสารสนเทศ) คือ สายอาชีพที่น่าสนใจเช่นกัน การควบคุมความมั่นคงระบบสารสนเทศขององค์กรกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ในการป้องกันผู้ไม่พึงประสงค์ที่เข้ามาแอบขโมยข้อมูลขององค์กร เข้ามาแกล้งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรล่ม เพื่อไม่สามารถให้บริการกับลูกค้าต่างๆ ได้ สายอาชีพนี้จะต้องเรียนรู้วิธีการติดตั้งอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันภัยคุกคาม ไม่ให้มีรูรั่วในระบบคอมพิวเตอร์อันจะเป็นช่องโหว่ให้ถูกเข้ามาโจมตีได้ รวมไปถึงการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัยต่างๆ ในองค์กรด้วย ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตามดูว่า หากเราประกอบกิจการ ทำธุรกรรม E-Commerce เช่นซื้อขายสินค้าออนไลน์ เวลาทุกนาที ทุกชั่วโมงนั้นมีความหมายสำหรับการ ดูสินค้า สั่งสินค้า และติดตามสถานะการส่งสินค้าของลูกค้าจำนวนหลายหมื่นคนต่อวัน ถ้าหากระบบคอมพิวเตอร์เราเสีย เนื่องจากมีบุุคคลภายนอกแกล้งเขียนโปรแกรมเข้ามาทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยส่งข้อความจำนวนมหาศาลมาที่คอมพิวเตอร์ของเราให้ทำงานไม่ไหว จนไม่สามารถให้บริการลูกค้าอื่นๆ ได้ หรืออาจจะส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราหยุดทำงานไปสัก 2-3 ชั่วโมง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทจะมีมากน้อยเพียงไร นอกจากนี้หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบเข้ามานำข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าเราไปชำระเงินโดยใช้ชื่อสินค้าและบริการต่างๆ ธุรกิจของเราก็จะเสียหาย ดังนั้นจึงเกิดความต้องการบุคลากรในสายอาชีพนี้ที่จะต้องได้รับการฝึกฝนนานหลายปี จึงจะเข้าใจรูปแบบการโจมตีที่หลากหลาย เข้ามาทำงาน และทำหน้าที่ป้องกันภัยให้เราได้ เปรียบเสมือน รปภ. ที่ดูแล อาคารสถานที่ แต่ต้องเป็น รปภ. ที่มีความรู้และทักษะด้านการระวังภัยด้าน Cyber Security สายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 3 ล้านบาทต่อปี และอัตราการขยายงานประมาณ 18%

4. Audiologists (นักโสตสัมผัสวิทยา) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย, วินิจฉัยและรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหู เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมของผู้สูงอายุมากขึ้น และหูเป็นอวัยวะที่มีปัญหาเรื้อรังในกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นจำนวนมากเพื่อดูแลผู้ป่วย รายได้ของนักโสตสัมผัสวิทยาในประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ 3 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวประมาณ 29%

5. Diagnostic Medical Sonographer (นักวินิจฉัยทางการแพทย์) สายอาชีพนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 24% เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์ Ultrasound ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยผลการตรวจ ซึ่งสายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี

6. Mathematician (นักคณิตศาสตร์) เป็นสายอาชีพดั้งเดิม ที่ยังคงสร้างรายได้ดี และมีความต้องการสูงในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันนักคณิตศาสตร์ถูกจ้างงานน้อยมาก อัตราการขยายตัวและความต้องการในตลาดแรงงานด้านนักวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์จะเพิ่มมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่จะถึงนี้ ความต้องการส่วนใหญ่จะอยู่ในภาควิชาการ จนถึงในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสายอาชีพนี้จะมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปี

7. Software Engineer (นักพัฒนาซอฟต์แวร์) เป็นสายอาชีพที่ติดอันดับหนึ่งมาหลายปี และเป็นที่แน่นอนว่าคนที่เรียนสาขานี้จะมีงานเข้ามาให้ทำจนล้นมือเลยทีเดียว สายอาชีพมีความต้องการในตลาดแรงงานสูงเนื่องจาก ต่อไประบบซอฟต์แวร์จะครองโลก หมายความว่าอุปกรณ์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมการทำงานและรายงานสถานะให้กับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ทราบเพื่อประสานการทำงานกันอย่างลงตัว อย่างในปัจจุบันได้มีการสร้าง Smart City ซึ่งเป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ เช่น ข้อมูลการจราจรและขนส่งแบบ Real-Time สายอาชีพดังกล่าวเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาระบบต่างๆ เพราะถือว่าเป็นแกนกลางในการพัฒนาระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศ และผลลัพธ์ที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้งานได้รวดเร็วตรงตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังมีศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่สร้างภาพเสมือนผสมผสานภาพจริง ทำให้เกินนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้เราอาจจะใส่แว่นตาเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์อยู่สถานที่ใดก็ได้ในโลก จากนโยบายของภาครัฐในประเทศไทยเรื่อง Thailand 4.0 จะมุ่งเน้นให้ประเทศไทยพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลลงไปยังภาครัฐและเอกชน ให้ดำเนินกิจการสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นสาขานี้จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยมีรายได้ประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อปีในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีอัตราการขยายตัวประมาณ 17%

8. Computer System Analyst (นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์) สายอาชีพนี้ก็เช่นกัน มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานับ 10 ปี ลักษณะงานก็คือ เข้าไปศึกษาระบบการทำงานของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน หรือการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด บุคลากรที่จะเรียนในสายอาชีพนี้จะต้องมีทักษะในด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์เป็นอย่างดี สามารถนำเอาเทคโนโลยีในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิผล นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการออกแบบโปรแกรมและประสานงานกับ นักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อผลิตผลงานที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการทำงานของธุรกิจ สายอาชีพนี้มีรายได้ประมาณ 2.8 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21%

9. Speech Pathologist (นักแก้ไขการพูด) คือสายอาชีพสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษาและการพูด เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ สายอาชีพนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน

10. Actuary (นักคณิตศาสตร์ประกันภัย) สายอาชีพนี้ได้อธิบายรายละเอียดไว้ข้างต้นบทความนี้แล้วว่าลักษณะงานเป็นอย่างไร ในยุคนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในสายอาชีพที่มีความต้องการสูงอยู่ โดยมีรายได้ประมาณ 2.5 ล้านบาทต่อปี และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 21% เช่นกัน

ถ้าท่านได้อ่านมาถึงช่วงสุดท้ายนี้ ท่านจะพบว่ามีสายอาชีพใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย หากท่านเลือกเรียนในสายอาชีพที่มีความต้องการของตลาดสูง ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ว่าท่านจะมีหน้าที่การงานที่ดี รายได้ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถสร้างคุณค่าให้กับครอบครัวและสังคมได้ สุดท้ายนี้ท่านผู้อ่านหลายท่านที่สนใจ อาจจะไม่ทราบว่าสายอาชีพดังกล่าวสามารถเรียนโทต่อได้ โดยคณะสถิติประยุกต์ นิด้า http://as.nida.ac.th/gsas/ เป็นหนึ่งในหลายมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนป.โทในสายอาชีพข้างต้น ถึง 7 สาขาวิชา คือ Data Science, Business Analytics and Intelligence, Statistics, Information Security Analyst, Software Engineer, Computer System Analyst, และ Actuarial Sciences and Risk Management ซึ่งจัดได้ว่าเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนในสายอาชีพยอดนิยมดังกล่าวอยู่ในคณะเดียวกัน ก่อให้เกิดการบูรณาการด้านการศึกษาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ที่จะไปประกอบอาชีพในสายอาชีพดังกล่าวต่อไปได้อย่างประสบความสำเร็จ อนาคตของท่านขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเรียนต่อของท่านในวันนี้ ว่ามันจะสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จให้ท่านมากน้อยแค่ไหน
ผศ.ดร.รัฐกร พูลทรัพย์อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า
คัดลอกจาก MGR ONLINE
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2017 เวลา 12:26 น.
 

What is NLP

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 19 เมษายน 2017 เวลา 20:06 น.
 

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ "พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์"

พิมพ์ PDF

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ "พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์"


          ๑ พ.ค.๖๐ - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวบไซต์ราชกิจจานุเษกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

          โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ 

          “พระราชกฤษฎีกา” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

          มาตรา ๔ การจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัตินี้ การจัดระเบียบราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ และสถานภาพของข้าราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
          ส่วนราชการในพระองค์ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือในพระราชกฤษฎีกา
ส่วนราชการในพระองค์ส่วนราชการใดจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลให้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย บรรดาบทกฎหมายใดที่บัญญัติถึงคำว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้หมายความรวมถึงข้าราชการในพระองค์ ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้หรือในพระราชกฤษฎีกา

          มาตรา ๕ ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ส่วนราชการในพระองค์เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา  ให้ส่วนราชการในพระองค์มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ประโยชน์ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย รายได้ของส่วนราชการในพระองค์ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับทรัพย์สินของส่วนราชการในพระองค์มิได้ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของส่วนราชการในพระองค์ตามที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการในพระองค์
           มาตรา ๖ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว ให้ยกเลิก

(๑) มาตรา ๔๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ลักษณะ ๕ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓) มาตรา ๑๐ (๓) และ (๔) มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๔/๑ และมาตรา ๔๒ (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
           มาตรา ๗ เมื่อพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
          (๑) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และเงินงบประมาณ ของสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวังตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสำนักราชเลขาธิการและสำนักพระราชวัง ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นข้าราชการในพระองค์ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

          (๒) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ และทรัพย์สิน ของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ส่วนเงินงบประมาณ สิทธิ และหนี้สินของกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ให้โอนไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
          (๓) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนอัตรากำลังพล และข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นอัตรากำลังพล และข้าราชการในพระองค์หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          (๔) ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และให้โอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจในสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไปเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในพระองค์ในส่วนราชการในพระองค์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการได้รับบำเหน็จบำนาญ ให้ถือว่าข้าราชการในพระองค์เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี แต่การพ้นจากราชการให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชกฤษฎีกาจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
          การรับบำเหน็จบำนาญ การรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของข้าราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
          มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การใดที่สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และ กรมราชองครักษ์ หรือหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการดำเนินการหรือ เคยดำเนินการได้ตามกฎหมาย เมื่อได้โอนมาเป็นของส่วนราชการในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่จะมีพระราชวินิจฉัยหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ดำเนินการเป็นอย่างอื่น
          มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

                หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวังและกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์กระทรวงกลาโหม

เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกําหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

คัดลอกจาก คมชัดลึก

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 02 พฤษภาคม 2017 เวลา 20:27 น.
 

การเรียนรู้กลับทางในสังคมดิจิตัล

พิมพ์ PDF

                  https://www.slideshare.net/PattyMim/ss-76097033

โปรดชมการนำเสนอที่ link ด้านบน


การเรียนรู้กลับทางในสังคมดิจิตัล

  1. 1. วิจารณ์ พานิช เสนอในเวทีวิชาการ“วัฒนธรรมการใช้ข้อมูล : เจาะข้อมูล จูนความคิด แจ้งวิกฤต จุดติดทุกโอกาส” ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ การเรียนรู้กลับทางงสทบลักรู้นยรีเราก
  2. 2. ความเข้าใจใหม่่ว่าด้วยการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากการรับถ่ายทอดความรู้ สาเร็จรูป ความรู้ของคนอื่น แต่เกิดจาก “การปฏิบัติ” (Action) -> สังเกตและเก็บข้อมูล -> ไตร่ตรองสะท้อน คิด (Reflection) -> สร้างความรู้ขึ้น ในตน ความรู้ของตนเอง
  3. 3. การเรียนรู้ (Transformative Learning) • เป็นการเชื่อมโยง บูรณาการ ความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม • ขยายความรู้เดิม หรือ • เปลี่ยนไปเป็นความรู้ใหม่โดย สิ้นเชิง
  4. 4. สังคมดิจิทัล • ความรู้หาง่าย • แต่ไม่แน่ว่าจะถูกต้อง • ต้องรู้จักเลือก - information literacy / critical thinking (วิจารณญาณ / กาลามสูตร) • ต้องรู้จักตรวจสอบ...ด้วยข้อมูลจากการปฏิบัติของตนเอง
  5. 5. การเรียนรู้กลับทางของ นร./นศ กลับทาง เรียนทฤษฎีที่บ้าน จากแหล่งข้อมูดิจิตัล ทาแบบฝึกหัดที่ โรงเรียน การเรียนรู้ เป็น กระบวนการ ทางสังคม เดิม เรียนทฤษฎี ที่โรงเรียน ทาการบ้านที่บ้าน
  6. 6. การเรียนรู้ของคนทางาน • เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ • โดยมีเปาหมายอันทรงคุณค่าร่วมกัน (common purpose) • ใช้ความรู้ที่ค้นได้ ปฏิบัติร่วมกันเป็นทีม หลายทีม (action) สังเกตผล เก็บข้อมูล • Group Reflection โดยมีโค้ชช่วยตั้งคาถาม
  7. 7. Adult Learning Observation & Reflection Forming Abstract Concepts Testing in New Situations Concrete Experience 1 2 3 4
  8. 8. เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ • ตั้งเปา หาความรู้/สารสนเทศ/ข้อมูล นามาใช้ประกอบการ ทดลองปฏิบัติ เก็บข้อมูล • ร่วมกันไตร่ตรองสะท้อนคิดตอบคาถาม “ทาไม” ผลที่ได้ อธิบายได้อย่างไร เข้ากับทฤษฎี ก, ข, ค หรือไม่ อย่างไร • เรียนรู้ทฤษฎีอย่างลึกผ่านการปฏิบัติ
  9. 9. สรุป ยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้อง กลับทาง จาก เรียนทฤษฎีร่วมกัน แล้วปฏิบัติคนเดียว สู่ เรียนทฤษฎีคนเดียว แล้วปฏิบัติ (และสะท้อนคิด) ร่วมกัน เรียนเองจากแหล่งดิจิตัล จาก ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สู่ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ (ทฤษฎี) 
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2017 เวลา 19:18 น.
 

รัชกาลที่ ๑ ตอน๑๓

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2016 เวลา 23:36 น.
 


หน้า 555 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5612
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8639370

facebook

Twitter


บทความเก่า