คณะปฏิรูป ทำงานวิชาการ และเผยแพร่เอกสาร แนวทางปฏิรูปประเทศไทย เมื่อเกิดวิกฤติ การเมืองไทย คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล มีไอเดียว่า น่าจะส่งเสริมให้ นศ. ด้านศิลปะ เอาสาระไปทำเป็น อินโฟกราฟิก เผยแพร่ต่อสังคมอย่างกว้างขวางในรูปที่เข้าใจง่าย

เมื่อนำไปหารือในเครือข่ายคณบดีด้านศิลปะ   ใจก็ตรงกัน   เพราะทางเครือข่ายต้องการให้ นศ. ได้เรียนรู้จากเรื่องจริง จากการทำงานจริงอยู่แล้ว    และในกรณีนี้ นอกจากได้เรียนรู้ทางเทคนิค และเรียนรู้สาระของแต่ละประเด็นที่ควรปฏิรูปแล้ว   นศ. ยังได้ฝึกจิตสาธารณะอีกด้วย

ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า นศ. สาขาอื่นๆ ก็สามารถนำเอาประเด็นจากรายงานของคณะปฏิรูปนี้ ไปทำงานจิตอาสา เพื่อพัฒนาพื้นที่เล็กๆ ร่วมกับชาวบ้าน/ชุมชน ตามแนวทางที่คณะปฏิรูปเสนอ    และเพื่อพัฒนาอุดมการณ์ประชาธิปไตย/ความเป็นธรรมในสังคม/จิตสาธารณะ

ทุกมหาวิทยาลัยสามารถนำแนวคิดนี้ไปดัดแปลง และดำเนินการได้เอง   เป็นรูปแบบหนึ่ง ของการเรียนจากเรื่องจริงในสังคม ที่เรียกว่า Authentic Learning ซึ่งเป็นรูปแบบของการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑   และจะช่วยให้ศิษย์เรียนแล้วรู้จริง (Mastery Learning)

 

 

วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย