มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เชิญผมไปพูดเรื่องการสร้างผลงานวิชาการรับใช้สังคม แก่อาจารย์จำนวนประมาณ ๔๐ คน และมีกรณีศึกษา ๒ เรื่องมานำเสนอ คือ

  • ๑..มาตรการทางการเงินการคลังเพื่ออนุรักษ์บ้านไม้เก่าอำเภอเชียงคาน โดย ดร. ประพันธ์พงศ์ ขำอ่อน คณะนิติศาสตร์ ที่ประมวลความรู้ และวิธีปฏิบัติในประเทศตะวันตก ในการออกกฎหมายบังคับ และสร้างแรงจูงใจ ในการอนุรักษ์อาคารโบราณ ส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว นำมาตรวจสอบกับกฎหมายไทย เพื่อหาทางแนะนำเทศบาลตำบลเชียงคานในการออกเทศบัญญัติ สร้างแรงจูงใจทางภาษี หรือจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือด้านการลงทุนอนุรักษ์อาคารไม้เก่า ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมาก แต่งานวิจัยเพิ่งเสร็จ ยังไม่ทราบว่าทางเทศบาลตำบลเชียงคานจะดำเนินการอย่างไร
  • ๒.การพัฒนาชุมชนบ้านซับผุด ต. ยางสาว อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๖ ตามโมเดล CSR พอเพียง โดย รศ. ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ เป็นงานพัฒนาชุมชนที่น่าสนใจมาก คือฝ่าย รศ. ทองทิพภา และบริษัทแหล่งทุนหลายบริษัท เข้าไปหนุนให้ชาวบ้านรวมตัวกันคิดเองทำเอง จึงเกิดการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการจัดการน้ำ เพื่อการเกษตร ทำการเกษตรพอเพียง/เกษตรอินทรีย์ นำไปสู่การพัฒนาอาชีพอื่นๆ อย่างน่าชื่นชมมาก โครงการนี้มีการเก็บข้อมูลทำเป็นรายงานวิจัยเล่มโต

narrated ppt ของการบรรยายของผม เอามา ลปรร. ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๗ มิ.ย. ๕๗

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย