คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย
- พลเมืองที่แข็งขัน (active citizens) เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม
- พลเมืองเป็นผู้ที่มีความรู้และมีข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่เพียงพอ(informed/ knowledgeable citizens) อันประกอบด้วย ระบบการเมือง ระบบกฎหมาย สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ
- พลเมืองที่มีทักษะพื้นฐานประชาธิปไตย(skilled citizens) ประกอบด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณการทางานเป็นหมู่คณะการใช้กระบวนการ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือด้วยเหตุผล (deliberation)
- พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย(democratic citizens) มีความเชื่อมั่นในพหุนิยม(pluralism) ความเป็นหนึ่งท่ามกลางความหลากหลาย การใช้สันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ภราดรภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรมทางสังคม การตรวจสอบและถ่วงดุล(check and balance) การพึ่งตนเอง การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง พึ่งพากัน (inter-dependence) และเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (accountable citizens) มีบทบาทรับผิดชอบต่อผู้อื่น (hold others accountable) และเคารพกฎหมาย
หลักการร่วมในด้านคุณลักษณะของพลเมือง
- รักความเป็นธรรมและความเสมอภาค (Adhere to Justice and Equality) ยึดถือความยุติธรรม ให้ความสาคัญกับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา/อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง
- ใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Use Freedom based on Social Responsibility) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีเสรีภาพได้มากตราบเท่าที่ไม่ละเมิดผู้อื่น นั่นหมายความว่าบุคคลพึงใช้เสรีภาพด้วยความยินดีที่จะให้ผู้อื่นมีเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับตน กล่าวคือบุคคลย่อมใช้เสรีภาพอย่างรับผิดชอบโดยที่เสรีภาพนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้อื่น ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถให้บุคคลใช้เสรีภาพโดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมได้
- เคารพกฎหมายและกฎกติกา (Respect Law and Rules) การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจะทาให้พลเมืองเข้าใจดีว่าเหตุใดการเคารพกฎหมายเป็นสิ่งที่สาคัญสาหรับสังคมและเข้าใจถึงความรับผิดชอบของบุคคลที่จะ ต้องรักษาค่านิยมแบบพหุนิยมไว้ด้วย ทั้งนี้เพราะกฎหมายหรือกฎกติกาของสังคมมีที่มาของความชอบด้วยกฎหมายจากการเห็นพ้องต้องกันของคนในสังคมที่จะผดุงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นเสมอหน้ากัน
- ใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่ (Use Rights without Neglecting Duties)การใช้สิทธิของบุคคลในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีหน้าที่ของบุคคลประกอบด้วย กล่าวคือ หากบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากรัฐบุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ ต้องเสียภาษีด้วย บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายที่ดีของรัฐบาล บุคคลก็ย่อมต้องมีหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณที่ดีด้วย ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถให้บุคคลใช้สิทธิโดยไม่ต้องทาหน้าที่ได้ ซึ่งหมายถึงการใช้สิทธิด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่เสมอ
- มีภราดรภาพ และเคารพความแตกต่าง (Respect Fraternity and Differences) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันในทางความคิดเห็นหรืออื่นๆได้ แต่ความแตกต่างเหล่านี้ต้องไม่เป็นเหตุให้บุคคลโกรธ เกลียด ทะเลาะ ขัดแย้ง ทาร้าย หรือสังหารบุคคลอื่นได้บุคคลในระบอบประชาธิปไตย ต้องมีขันติธรรม (tolerance) คือต้องอดทนต่อความแตกต่างของกันและกันได้ ความแตกต่างของบุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องไม่ทาให้สังคมแตกแยก
- เห็นความสาคัญของประโยชน์ส่วนรวม (Give importance to common interests) เนื่องจากบุคคลไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้ จึงต้องอยู่ร่วมกันในสังคม บุคคลจึงต้องถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสาคัญด้วยเพราะหากทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสาคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม สังคมก็ไม่อาจดารงอยู่ได้ และในกรณีที่มีความขัดกันในผลประโยชน์ (conflict of interests) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถแยกประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนได้ ทั้งยังพึงเล็งเห็นให้ได้ว่าแท้ที่จริงประโยชน์ของส่วนรวมก็เป็นประโยชน์ของบุคคล นั้นเองด้วย
- มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participate in Politics) บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจาเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจขั้นพื้นฐานทางการเมืองที่เพียงพอต่อการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วย เป็นต้นว่าบุคคลในระบอบประชาธิปไตย พึงรู้และเข้าใจว่า การเมืองมีความสาคัญต่อชีวิตของตนและคนอื่นๆในสังคมอย่างไร รู้และเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและการบริหารราชการ แผ่นดินของประเทศ รู้และเข้าใจขอบเขตภารกิจ และอานาจหน้าที่ ของตัวแทนที่เลือกเข้าไป นโยบายของพรรคการเมือง รวมถึงพฤติกรรม และกลไกการควบคุมตรวจสอบบุคลากรทางการเมืองด้วย