การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Democratic Citizenship Education-DCE) หมายถึง การพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ดี มีความรับผิดชอบ มีคุณลักษณะ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีประชาชนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
พลเมือง มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งในกระบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะในการปรึกษาหารือ ถกเถียงประเด็นสาธารณะที่สาคัญ ๆ กับทุกภาคส่วนของสังคม กระทั่งนาไปสู่การตัดสินใจที่เห็นพ้องร่วมกัน โดยมีเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเปิดโอกาสให้ พลเมืองมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน
ด้วยความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่สาคัญที่สุดของความสาเร็จของประชาธิปไตย คือการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Democratic Citizenship Education) เพราะไม่มี ผู้ใดรู้และเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมาตั้งแต่กาเนิดประชาธิปไตยต้องพัฒนาสมาชิกของสังคม ให้มีความรู้ความเข้าใจ กระทั่งเกิดสานึกเห็นคุณค่ามีเจตคติที่ถูกต้องสอดคล้องต่อแนวทางประชาธิปไตย คิดอย่างมีวิจารณญาณโดยปราศจาก การครอบงามีคุณลักษณะและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมที่เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีเสมอกันและรักในความยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อสร้าง"สังคมไทยที่พลเมือง มีความรู้เท่าทันใช้สิทธิเสรีภาพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมทางการเมือง มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย"
Democratic Citizenship Education เริ่มตั้งแต่เด็ก และดาเนินต่อไปไม่สิ้นสุดจนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา และเข้าสู่ วัยทางาน
Democratic Citizenship Education ส่งเสริมเสรีภาพและทักษะการคิด และการแสดงออกมากกว่าการทาตามในแบบการศึกษาระบบเดิม
Democratic Citizenship Education ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน คือ การเคารพคุณค่าของความเป็นมนุษย์เสมอกัน เคารพความแตกต่างและความยุติธรรม
Democratic Citizenship Education ส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมือง (Political Education) เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมือง มากกว่าการเรียนรู้จากการรับรู้แต่ขาดประสบการณ์ และเพื่อไม่ให้การใช้อานาจทางการเมืองถูกผูกขาดอยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะนักการเมืองและข้าราชการ
Democratic Citizenship Education ต้องการสื่อที่มีพลัง มีอิสระในการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองใหม่ของประเทศ
Democratic Citizenship Education ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งระบบของสังคม จึงจะ เปลี่ยนบทบาทของประชาชน จากการเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง (subject)ให้เป็นพลเมือง (citizen)ที่รับผิดชอบต่อประเทศได้ กล่าวคือ เป็นพลเมืองมีบทบาทเชิงรุกในการกาหนดทิศทางอนาคตของสังคมและมีพลังในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน การสร้างพลเมืองใหม่ให้มีทั้งพลังความรู้ และมีพลังทางการเมือง หรือเจตจานงทางการเมือง (Political will) จึงเป็นหน้าที่สาคัญและเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล สถาบัน หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอานาจรัฐ ที่แสดงความมุ่งมั่นในการสร้างพลเมือใหม่ของประเทศ