บันทึกนี้มาจากการไปฟังการนำเสนอของ Jace Hargis   ต่อจากการนำเสนอของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล ตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว    โดยที่ John Couch เล่าหลักการ ของ TPCK & SAMR    ส่วน Jace Hargis เล่าการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง

 

เป็นการเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นราวสายฟ้าแลบ ที่ Higher Colleges of Technology ประเทศ สาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE)    ในเวลาเพียง ๑ ปี ก็มีผลมาเล่าให้เราฟัง

 

เป็นเรื่องราวของ change management ของการจัดการเรียนรู้    ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็วรุนแรง    โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใส่ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์   รวมทั้งมีทรัพยากร และร่วมมือกับ Apple ในการประยุกต์ใช้ TPCK & SAMR ตามแนวของ Apple    โดยเขา import ตัว Jace มาจากสหรัฐอเมริกามาทำหน้าที่ College Director เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้โดยเฉพาะ

 

นักศึกษาทุกคนได้รับแจก iPad คนละเครื่อง   สำหรับเป็นเครื่องมือ mobile learning & connected learning   เรื่องราวการเริ่มโครงการ อ่านได้ ที่นี่

 

โดยมีแนวทางและเครื่องมือของการทำงานคือ

  • Engagement  ตัวอาจารย์ และนักศึกษา
  • Progressive environment
  • TPCK & SAMR

 

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการจัดการ เขาจัดการโดย iPD Model (PD = Project Development)    ซึ่งประกอบด้วย

  • iChampions   สร้าง critical mass ของอาจารย์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง    พบกันทั้ง online & offline
  • iCelebrate   เป็น non-conference meeting เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ interact กัน โดยนำเสนอคนละ ๑๕ นาที    จัดปีละ ๒ ครั้ง    ครั้งละ ๘๐๐ คน    จากสถานที่หลายที่ สื่อสารกันผ่าน   Videoconference   ฟังแล้วผมนึกถึงกิจกรรม KM    อ่านรายงานเรื่อง iCelebrate ได้ ที่นี่
  • iCommunicate   ผ่านทาง http://ipads.hct.ac.ae/
  • iSoTL  ส่งเสริมกิจกรรม Scholarship of Teaching and Learning ดังจะเห็นผลงานตีพิมพ์ดังกล่าวข้างล่าง

 

เขาบอกว่า ในส่วนของอาจารย์ สิ่งที่อาจารย์ได้อย่างชัดเจนคือ collaborative PD   ซึ่งก็คือ PLC ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้อย่างเป็นทางการนั่นเอง

 

ส่วนสำคัญด้านนักศึกษาที่เขาเรียนรู้คือ   ต้องเปลี่ยนมุมมองของนักศึกษาต่อการเรียนรู้ (Change student perception on learning.)   ว่าการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นคุณต่อนักศึกษามากกว่าการเรียนแบบ Passive Learning.

 

ในเวลาเพียง ๑ ปี มีผลงานวิชาการด้านการเรียนการสอนตีพิมพ์ใน peer-reviewed journal ถึง ๙ เรื่อง     ด้วยความสนใจวารสารเหล่านี้ ผมจึงจดชื่อมาดังนี้

 

เขาบอกว่า ยังมีงานข้างหน้ามากมาย    ได้แก่

  • Content creation system
  • Formative assessment
  • Context creator
  • Gamification
  • Learning analytics
  • Communty analysis

 

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย