สรุปผลการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ
เรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21
วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง
…………………………………………………………………….
บทนำ
ปัจจุบันการจัดการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เนื่องจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การจัดการศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนตามกระแสสังคมที่จะมุ่งกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มีความคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างพยาบาลมออาชีพตามความคาดหวังของสังคมในอนาคต
การศึกษาคืออะไร (พูลสุข หิคานนท์ 2557)
การศึกษาคือ
- กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ
- การสร้างความรู้ ทักษะ ทัศนคติ พฤติกรรมที่ดีต่อผู้เรียน
- การสร้างคุณค่าให้กับบุคคล
- การยกระดับสติปัญญาความคิด
- ความใฝ่เรียน พัฒนาตนเอง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์
- ความศรัทธาในความรู้
ซึ่งการจัดกรศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับปรัชญา สาขาประสบการณ์นิยม (Pracmatism)
แนวคิดเกี่ยวกับ Self Directed Learning
โนว์(Knowes, 1975) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาด้วยตนเอง ดังนี้
- ผู้ริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ผู้ที่รอรับความรู้จากผูอื่น เรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมาย มีแรงจูงใจและยังใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้สูงกว่าการได้รับความรู้จากผู้อื่น
- การเรียนผู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ ที่เมื่อเป็นผู้ใหญ่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
- นวัตกรรมใหม่ รูปแบบกิจกรรมใหม่ๆการเรียนแบบอิสระ จะเป็นรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเองมากขึ้น
- การเรียนรู้เพื่อตนเองเป็นลักษณะของการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด ของมนุษย์ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และทวีมากขึ้นตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของมนุษย์
แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนจากประสบการณ์และความสนใจเพื่อจะตอบสนองความต้องการของตนเอง และรู้ว่าสนใจในสิ่งใด ประสบการณ์คือแหล่งเรียนรู้อันมีค่าของการศึกษาผู้ใหญ่ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์ หรือใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาให้เกิดประโยชน์ ครุจึงเป็นผู้สนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ความเชื่อแนวทางจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ดังนี้
- ความต้องการ (Need to Know) ผู้ใหญ่มีความต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่จะนำความรู้มาทำอะไรต่อไป
- ผู้เรียนมีหลักการของตนเอง ผู้ใหญ่ต้องการกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
- ประสบการณ์ ควรจัดให้มีการเสนอประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย การแก้ปัญหา กรณีศึกษาให้กลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ความพร้อมที่จะเรียน โดยการแนะแนว การให้คำปรึกษา การกระตุ้นให้เห็นความก้าวหน้าในงานและชีวิต เป็นต้น
- การจัดการเรียน เน้นแนวทางพัฒนางานเพื่อแก้ปัญหาจากการทำงาน
- แรงจูงใจ จากการได้งานที่ดีกว่าเงินเดือนสูงกว่า
การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ(ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557)
จากการที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ปี ค.ศ.2010-2013 มีการจัดการศึกษา Transformative Education ต้องให้นักศึกษามีความสามารถในศตวรรษที่ 21แนวคิดและการจัดการเรียนการสอนจึงปรับเปลี่ยน เป็นการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แนวคิดและการประเมินผล เน้น Outcome- Base ,Competency –Baseevaluation
Transformative Education เป็นทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการของการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องราวต่างๆ โดยแบ่งการปรับเปลี่ยนออกเป็น 3 ด้าน หรือ มิติ ดังนี้
ด้านจิตวิทยา การปรับเปลี่ยนความเข้าใจในตน
ด้านความเชื่อ การปรับเปลี่ยนระบบสร้างความเชื่อ
ด้านพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงในวิถีการใช้ชีวิต
Transformative Education จะพัฒนาให้บุคคลนั้นๆสามารถสร้างสรรค์ความคิดต่างๆได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ถูกชี้นำ ความเชื่อ ความรู้สึก หรือการตัดสินใจของผู้อื่นเป็นหลัก แต่ยังเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่นประกอบการพิจารณา โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์
กระบวนการหลัก Transformative Education
- สังเกตเหตุการณ์ที่พบเห็นที่มีความแตกต่างกันและพิจารณาหาข้อสรุป
- พิจารณาเชิงวิพากษ์ของเหตุและผลของข้อสรุปที่แตกต่างกันนั้น หมั่นตั้งคำถามเพราะอะไร เกิดอะไร เชื่อมโยงอย่างไร โดยพิจารณาจากเหตุที่ตนเองคิด และพิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมุมมองหลากหลาย
- หาข้อสรุปจากเหตุผลต่างๆแล้วนำมาปรับแนวคิดข้อสรุปเดิมของตนซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม
- ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กระบวนการคุย ซักถาม ชวนหาคำตอบ โดยการเปลี่ยนมุมมองเป็นมุมมองของผู้รับบริการ แล้วราจะทำงานกับเขาอย่างไร
- กระบวนการตอบคำถามใช้ Reflection ทั้ง Self Reflection และGroup Reflection
- นอกจากนี้ยังอาจใช้ Interactive IT มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูล
แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอน
แนวคิดการสอนในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้
- Authentic Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นสถานการณ์จริง ทั้งในห้องเรียนและเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ
- Internal Motivation ความสนุกสนานจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เพราะเกิดจากแรงจูงใจภายใน
- Mental Model Building เป็นวิธีทำให้เกิดการเรียนรู้จากการประสมประสานความคิด ความจริง ความสัมพันธ์ของสิ่งหรือเรื่องราวต่างๆข้อสรุปแม้กระทั่งความเข้าใจผิดที่เคยเกิดขึ้นจากสิ่งนั้นๆ
หลักการสอนให้น้อยลง แต่เรียนรู้มากขึ้น “Teach Less Learn More”
- Multiple Intelligence นักศึกษาแต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นสาระหนึ่งๆควรจัดให้มีการเรียนรู้มากกว่า 1 วิธีหรือรูปแบบ
- Social Learning การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย และการกระตุ้นให้มีการทำการสะเท้อนความคิดเห็น(Reflection)และร่วมกันวิพากษ์ วิจารณ์กรณีต่างๆที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
- Technology – assisted Learning การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการเรียนรู้
- Learning by Doing การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการของสาระต่างๆดีขึ้น
หลักการประเมิน ประเมินตามผลลัพธ์ที่เป็นลักษณะที่พึงประสงค์
- Competency –Base
- OSCE
- Standardized Patients
- Simulation Lab.
2. Emphasis on Formative Evaluation
3. Portfolio
ห้องเรียนกลับทาง (เดชรัต สุขกำเนิด 2557)
องค์ประกอบการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย
ในการถกแต่ละครั้ง ต้องครอบคลุมองค์ประกอบทั้งสามด้าน จะเริ่มจากด้านไหนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้แต่ละครั้ง หากเริ่มจากประสบการณ์โดยตรงของนักศึกษา นักศึกษาจะมีส่วนร่วมมากขึ้น ชีวิตผู้คนที่ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ความเหนื่อยยาก หรือจุดพลิกผันในชีวิตของผู้คน ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ โดยเฉพาะเครื่องมือ เช่น เกมจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดความสามารถในการเรียนรู้ และตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง การโน้มน้าว การจูงใจแล้วนำประสบการณ์ของการเล่นเกมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์จริง แล้วจึงเชื่อมโยงสู่หลักการ
เมื่อถึงท้ายชั่วโมง การสรุปเป้าหมายการเรียนรูแต่ละครั้งเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สอนจะต้องสรุป และทวนย้ำถึงเป้าหมายของการกลับทางการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการสรุป เพื่อให้ผู้เรียนมั่นใจว่า สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ผู้สอนต้องชี้ให้เห็นถึงโอกาสของการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ (จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557)
|
คำถามเราต้องการอะไรจากจัดการศึกษา
|
|
ติดตามของท่าน ดร จันทวรรณ จาก GotoKnow
บทสรุป
ดังนั้นในฐานะผู้จัดการเรียนการสอนพยาบาลต้องมีการปรับตัว พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยความเป็นอาจารย์พยาบาลมืออาชีพในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557 เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ
เดชรัต สุขกำเนิด 2557 เมื่อห้องเรียนกลับทางการเรียนรู้ของผมไม่อึดอัดต่อไป เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ
พูลสุข หิงคานนท์ 2557 Innovation for Transformative Learning in Educatio เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ
ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557 การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ