การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย กมล สุดประเสริฐเป็นบทความที่น่าอ่านมาก    อย่างน้อยก็สำหรับผม ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องราวใน วงการกระทรวงศึกษาธิการเลย

ผมติดใจคำพูดของ ศ. ดร. จอร์จ เจ. ปาปาเจียนิส ที่กล่าววิพากษ์การบริหารการศึกษาไทย ต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (๒๕๓๖ - ๒๕๔๐) ว่า “It’s over-managed, but under-led”    เวลาผ่านมา ๒๐ ปี สถานการณ์นั้นคงเดิม หรือเลวร้ายกว่า     โดยที่ระบบการศึกษาไทยได้ผ่านการปฏิรูปหลัง ปี ๒๕๔๒

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านผู้เขียน ว่าการปฏิรูปการศึกษาไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ยังเป็นเพียงการปฏิรูปโครงสร้าง    ส่วนของการปฏิรูปที่แท้จริง คือการปฏิรูปการเรียนรู้ ยังไม่ได้ทำ

บทความนี้ น่าจะยังไม่จบ    ผมอยากอ่านความเห็นของท่านว่า     การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา     ปฏิรูปอะไรบ้าง และก่อผลอย่างไร

ผมได้สดับตรับฟังจากวงการศึกษา     และหลักฐานการประเมินคุณภาพผู้เรียนโดย PISA มันฟ้อง     ว่าคุณภาพการศึกษาของเราเลวลง    ผมอยากฟังข้อวิเคราะห์ของผู้รู้ ว่ามีความเห็นอย่างไร

 

วิจารณ์ พานิช

๔ มี.ค. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ch