การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้แทนปุ๋ยเคมี

              เรามาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้แทนปุ๋ยเคมีกัน โดยจะทำจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายและกระบวนการซับซ้อนมากนัก หากใครมีน้ำซาวข้าว อย่าทิ้งเด็ดขาด  นำมาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพได้ ช่วยให้พืช ผัก ผลไม้งอกงามและออกดอกออกผลได้เป็นอย่างดี โดยใช้ส่วนประกอบดังนี้

              น้ำซาวข้าว                                                                                    1.5 ลิตร

            น้ำตายทรายแดง                                                                              4 ช้อนแกง

               ขวดน้ำดื่มเปล่าล้างสะอาดขนาด 1.5  ลิตรที่ไม่ใช้แล้ว                   1 ขวด

            วิธีทำ นำน้ำซาวข้าวประมาณ 1.5 ลิตรเทใส่ขวดน้ำดื่มขนาด 1.5 ลิตร และ เท น้ำตายทรายแดง 4 ช้อนแกง ลงไปในขวด ปิดฝาขวดให้แน่นแล้วเขย่าขวดเพื่อให้น้ำซาวข้าวและน้ำตาลทรายแดงละลายเข้ากัน   คลายฝาขวดออกเพื่อให้อากาศภายในขวดสามารถระบายออกมาได้ เพราะ ขณะที่หมัก จุลินทรีย์ในน้ำซาวข้าวจะกินแป้งและน้ำตาลเป็นอาหาร และจะเกิดแก๊ส หากปิดฝาแน่นแก๊สจะสะสมและอัดแน่นอยู่ภายในขวดและอาจทำให้ขวดระเบิดได้ จากนั้นนำไปตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอาหารในน้ำซาวข้าว และพร้อมเป็นสารอาหารที่พืชสามารถดูซึมและนำไปใช้ได้ทันที ควรเขียน วัน เดือน ปี ที่ทำติดไว้ข้างขวดด้วย เนื่องจากจะได้ทราบว่าจะหมักครบ 15วันเมื่อใด และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพนี้จะเก็บได้นานประมาณ 1-2 ปี

        วิธีใช้ ใช้ปุ๋ยน้ำหมักราว 4-6 ช้อนแกงต่อน้ำ 6-8 ลิตร ผสมกันแล้วนำไปรดต้นพืช ผัก หรือผลไม้ที่ต้องการ อย่างน้อยอาทิตย์ละ1ครั้ง หรือใช้ฉีดพ่นใบด้วยก็จะยิ่งดี ประมาณ 1-2 เดือน พืช ผัก หรือผลไม้นั้นจะดูงามใบใหญ่ และออกดอกออกผลให้เราได้เป็นอย่างดี รวมทั้งหากเป็นไม้ดอกหรอไม้ผลก็จะทำให้ออกดอกและติดผลมากขึ้น ในกรณีที่มีต้นไม้จำนวนมากเช่นตามสวนผลไม้ การผสม ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 1ขวดต่อน้ำประมาณ 80.100 ลิตร และนำไปรดตามโคนต้นไม้ผลได้เลย กรณีที่ใช้ผ่านเครื่องปั๊มน้ำควรกรอง ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพด้วยผ้าขาวบางก่อนที่จะผสมกับน้ำเปล่า มิฉะนั้นตะกอนอาจไปทำให้เครื่องป๊มน้ำหรือหัวฉีดพ่นฝอยมีปัญหาอุดตันได้

        เนื่องจากปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำซาวข้าว เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ใช้น้ำซาวข้าวเป็นแหล่งวัตถุดิบหลัก โดยกระบวนการหมักจะอาศัยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำซาวข้าวในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำซาวข้าวให้กลายเป็นสารอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ โดยจุลินทรีย์ที่เป็นตัวย่อยสลายในน้ำซาวข้าวที่พบส่วนใหญ่จะมีดังนี้

            1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus spp.) จุลินทรีย์กลุ่มนี้เจริญเติบโตได้ดีในน้ำซาวข้าวที่มีแป้งและน้ำตาลธรรมชาติเป็นสารอาหารของจุลินทรีย์ ผลิตกรดแลคติกที่ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุและยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค

           2. ยีสต์ (Yeasts) เช่น Saccharomyces cerevisiae ช่วยย่อยน้ำตาลในน้ำซาวข้าวและสร้างวิตามินรวมถึงกรดอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับพืช

          3. รา (Molds) เช่น Aspergillus spp. ช่วยย่อยสลายแป้งและโปรตีนให้กลายเป็นสารละลายชองอาหารที่ง่ายต่อการดูดซึม พืชสามารถดูดซึมผ่านทางรากกรณีที่รดลงดิน หรือทางใบกรณีที่ฉีดพ่นนำไปใช้ได้ทันที่

         4. แบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria) (หากเติมหรือพบในธรรมชาติ) เช่น Rhodobacter spp. ทำหน้าทีผลิตสารอาหาร เช่น กรดอะมิโนและวิตามิน

         สารอาหารที่ได้จากกระบวนการย่อยสลาย

         เมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายน้ำซาวข้าว จะได้สารอาหารที่สำคัญดังนี้:

      1. ไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและกรดอะมิโน ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและการแตกยอดใบ

      2. ฟอสฟอรัส (P) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก การออกดอก และการติดผล

      1. โพแทสเซียม (K) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของลำต้นและเพิ่ความต้านทานโรค

      1. กรดอินทรีย์ (Organic Acids) เช่น กรดแลคติก และกรดอะซิติก ช่วยปรับสภาพดินให้สมดุลและกระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหาร

      1. วิตามินและฮอร์โมนพืช เช่น วิตามินบี และไซโตไคนินที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

      2. แร่ธาตุรองและจุลธาตุ (Micronutrients) เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก ที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสงและการสร้างเนื้อเยื่อของพืช

          จะเห็นได้ว่าปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำซาวข้าวมีสารอาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) คล้ายปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 และยังมีสารอาหารและแร่ธาตุอื่น ๆ อีกด้วย

 

                                                                                                                                               ปริญญา กระจ่างมล

                                                                                                                                                25 พฤศจิกายน 2567