Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

'มีชัย'เปรียบผู้ร้ายไม่ยอมรับผิด ชี้ไม่รับอำนาจศาล เกิดกลียุค

พิมพ์ PDF

มีชัย ฤชุพันธุ์ ย้ำชัดประธานสภา สภา และรัฐบาล ออกมาประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยศาลรธน.กรณีร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว. มีผลกระทบต่อความรู้สึกผู้คน และหลักการปกครองประเทศอย่างรุนแรง เตือนอย่าเอาน้ำมันราดลงไปบนกองเพลิง อย่าเล่นกับความแค้นของประชาชนเป็นอันขาด


เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตอบคำถาม ในเว็บไซต์ http://www.meechaithailand.com/ ถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญการได้มาของส.ว.ที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบอกว่า ศาลไม่มีอำนาจรับเรื่องร้องเรียนและเป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ แม้ประธานรัฐสภาก็ไม่ยอมรับ ประชาชนอย่างควรจะเชื่อฝ่ายไหนดี การที่ศาลมีคำวินิฉัยออกมาแล้วอย่างนี้แต่ไม่ยอมรับกันแล้วจะอยู่กันอย่างไร

นายมีชัย ระบุว่า โดยทั่ว ๆ ไป เวลาที่ผู้ร้ายหรือผู้ทำผิดและถูกศาลตัดสินลงโทษ ส่วนใหญ่ก็มักจะพูดหรือคิดอยู่ในใจว่า ตนเองไม่ผิด และไม่ยอมรับคำพิพากษานั้น แต่คนอื่น ๆ ที่เขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา เขาก็ปฏิบัติไป เอาตัวไปเข้าคุก หรือประหารชีวิต สุดแต่กรณี 

"การที่คนทำผิดจะรับหรือไม่รับ จึงไม่มีผลอะไร แต่บังเอิญคราวนี้คนทำผิดคือ ประธานสภา สภา และรัฐบาล เวลาออกมาประกาศว่า ไม่ยอมรับ จึงมีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้คน และหลักการปกครองประเทศอย่างรุนแรง

แม้ว่าในทางหลักนิติธรรมการปฏิเสธนั้นจะไม่มีผลในทางกฎหมายใด ๆ แต่ก็อาจสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายและอันตรายต่อความสงบสุขของประเทศได้อย่างมาก เช่น ถ้าสภาหรือรัฐบาลเดินหน้าต่อไปเสมือนหนึ่งไม่มีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างที่มีคนบ้า ๆ คิดจะทำหรือเสนอให้ทำอยู่ บ้านเมืองคงเกิดกลียุค เพราะเท่ากับเอาน้ำมันราดลงไปบนกองเพลิง ประชาชนคงไม่ยอม และคงจะโกรธแค้นอย่างรุนแรง คนที่พูดหรือทำอย่างนั้นพร้อมทั้งครอบครัวจะตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิตอย่างอนาถ อย่าเล่นกับความแค้นของประชาชนเป็นอันขาด"

ที่ถามว่าในฐานะประชาชนจะควรเชื่ออย่างไร นายมีชัย ระบุว่า คำตอบก็คือ เราเป็นประชาชน ไม่ใช่อันธพาล จึงต้องปฏิบัติตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล ต้องประพฤติตนตามกติกาของบ้านเมือง การจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยย่อมทำได้และเป็นของธรรมดา แต่จะปฏิเสธหรือไม่ยอมรับหรือไม่รับรู้ เห็นจะไม่ได้ เพราะถ้าบ้านเมืองไร้ขื่อแป จะมีผลต่อเราโดยตรง ไม่เหมือนคนที่เป็นนักการเมืองที่กอบโกยเงินทองไว้ล้นเหลือ ที่ถึงเวลาเขาก็คงหอบเงินและลูกเมียไปเสวยสุขยังต่างประเทศได้

"ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกับคณะท่านออกมาพูดปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ท่านคงลืมไปว่าท่านยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ และอยู่ในกระทรวงที่รับผิดชอบการปกครองซึ่งต้องดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎกติกา 

การปกครองบ้านเมืองนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อผู้ปกครองบ้านเมืองด้วยเป็นสำคัญ ถ้าประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธาแล้ว ต่อให้มีเสียงข้างมากอย่างไร ก็ถูลู่ถูกังไปได้เพียงระยะเดียว ไม่ว่าจะทำอะไรคนก็จะไม่เชื่อ มีแต่ความระแวงสงสัย

ดูเหตุการณ์สองสามวันนี้ก็จะรู้ มีใครก็ไม่รู้เอาตะปูไปโรยเพื่อสกัดไม่ให้คนเดินทางมาชุมนุม ไม่ว่ารัฐบาล คนของรัฐบาล และตำรวจ จะออกมาบอกอย่างไรว่า ไม่รู้ไม่เห็น แต่ลองไปถามคนร้อยทั้งร้อย แม้แต่คนเสื้อแดงก็เถอะ เขาก็ปักใจว่า เป็นการกระทำของรัฐบาล คนของรัฐบาล และตำรวจทั้งนั้น และเมื่อเขาเชื่ออย่างนั้น เขาก็เลยต้องหาทางมากันให้ได้ ใครที่ไม่ได้คิดว่าจะมา ก็ทนอยู่ไม่ได้ ต้องพยายามออกมากันจนล้นฟ้าอย่างที่เห็น ด้วยความเชื่อที่ว่ารัฐบาลอำมหิต รังแกประชาชนโดยไม่สนใจว่า ถ้ารถยางแตก ชาวบ้านจะเจ็บตายกันอย่างไร คนเป็นรัฐบาลถ้าถูกกล่าวหาอย่างนั้น จะบริหารงานต่อไปได้อย่างไร"


ที่มา สำนักข่าวอิศรา
26 พฤศจิกายน 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 11:41 น.
 

คุณหญิงหมอ... เมื่อเช้าได้สัมภาษณ์ว่า

พิมพ์ PDF

คุณหญิงหมอ... เมื่อเช้าได้สัมภาษณ์ว่า

1.การเสียบบัตรแทนเป็นการผิดจริยธรรมที่นักเรียนนักศึกษาจะถูกตัดสิทธิ์ ข้าราชการพนักงานบริษัทถูกสอบสวนหรือให้ออก

2.กฎหมายที่ร่างให้มีศาลหรือองค์กรต่างๆล้วนเกิดจากมนุษย์ทำขึ้น เปลี่ยนไปมา แก้ไขด้วยมนุษย์ เมื่อไม่เห็นด้วยรัฐบาลจะเลือกปฏิเสธเฉพาะที่เสียประโยชน์ไม่ได้ เช่น เรื่องซุกหุ้นค้างด้านจริยธรรม แต่รัฐบาลได้ประโยชน์จึงยอมรับได้ แต่ครั้งนี้ไม่รับ เป็นกลไกที่ไม่ถูกต้อง

3.คนไทยถูกดึงให้ทั้งเกลียดและรักคนๆเดียวกัน คือ ทักษิณ ทั้งๆที่เขาไม่ได้เอาเงินเขาให้แต่เอาภาษี ปปช.มาให้ ซึ่งไม่ยั่งยืน ทั้งๆที่คนไทยมีในหลวงผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินมาโดยตลอด ควรที่จะรักและเทิดทูนพระองค์

4.การแก้ปัญหาต้องให้ล้างไพ่ สร้างเรือใหม่ เรือเก่าผุพังสร้างผิด ไม่เหมาะที่จะใช้ขับเคลื่อนอีกแล้ว ต้องช่วงกันลดช่องว่างทางสังคมแบบยั่งยืนด้วยการสร้างความรู้ สร้างอาชีพ ไม่ใช่การทำประชานิยม

5.ประเทศยังมีความหวัง พลังคนรุ่นใหม่มีมาก ประเทศไทยต้องรอดแน่นอน

เห็นด้วยกันไหม ?

คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
instagram : porntip_nai

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2013 เวลา 11:47 น.
 

วันที่ 24 พ.ย.2556

พิมพ์ PDF
วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของประเทศไทยที่คนไทยทุกคนควรจะทำหน้าที่แสดงออกถึงความรักและความหวังดีต่อประเทศไทยอย่างจริงใจ... ความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่เรื่องผิด หากแต่คนไทยทุกคนควรจะรู้จริง เข้าใจ คิดเป็น มองปัญหาด้วยความเป็นกลาง และมองที่จุดหมายปลายทางของประเทศไทย คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของความสุขของประชาชนและความอยู่รอดของประเทศไทยในระยะยาวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้..

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คัดลอกจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=773127689379356&set=pcb.773128432712615&type=1&theater

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 17:51 น.
 

๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘

พิมพ์ PDF
๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘
ร่วมรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นฯ แห่งองค์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า
เนื่องในวโรกาส วันเสด็จสู่สวรรคาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430) 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430) 
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430) 
พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467) 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484) 

พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อจาก สมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จพระบรมชนกนาถ เป็นเวลานาน ๑๕ ปี ทรงสืบสานพระราชกรณียกิจพัฒนาประเทศชาติ ต่อจากพระชนก ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล ตราพระราชบัญญัติการประถมศึกษาเป็นการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ให้พสกนิกรของพระองค์ ทรงตั้งคลังออมสินหรือธนาคารออมสินเพื่อให้ประชาชนรุจักการออมทรัพย์ ทรงตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
การส่งทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 1
ในตอนแรกไทยรักษาความเป็นกลางอย่างมั่นคงแต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิดพระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในการให้ประเทศไทยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะจะมีผลดีในการที่ประเทศไทยจะเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการประณามว่า “เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์ มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ก่อกวนความสุขของโลก” ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นดังที่พระองค์ทรงคาดไว้ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ

สวรรคต 
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนส่วนพระบรมราชสรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ.วัดบวรนิเวศวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานองค์กลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ.พระวิมานพระอัฐิ วังรื่นฤดี ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว

คัดลอกจาก facebook เผยแพร่โดย คุณพิชาญ พงษ์พิทักษ์

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 18:16 น.
 

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประชาชน

พิมพ์ PDF

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประชาชน

ดังเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประชาชาติ สถาบันประมุขของประเทศ รัฐสภา รัฐบาล ศาล และองค์กรอื่นของรัฐทุกองค์กร ล้วนอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ สถาบันการเมืองการปกครองทุกสถาบันย่อมมีอำนาจหน้าที่เฉพาะเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น

บทบาทโดยธรรมชาติของรัฐธรรมนูญคือการสร้างความชอบธรรมและสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้กับระบอบการปกครองของประเทศ กล่าวสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความชอบธรรมและเสถียรภาพทางการเมืองย่อมมาจากการให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่แก่ประชาชนภายใต้หลักนิติธรรม(rule of law) การแยกใช้อำนาจอย่างอิสระ(separation of powers) และการตรวจสอบการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจฝ่ายบริหาร ตลอดจนอำนาจฝ่ายตุลการ (check and balances) โดยต้องคำนึงอยู่ตลอดเวลาว่าทุกสถาบันทุกองค์กรของรัฐนั้นมิใช่เป็นเจ้าของอำนาจการปกครองเสียเอง แต่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยมติมหาชน

การเมืองการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550 มิได้มอบอำนาจสูงสุดให้แก่รัฐสภา รัฐบาล หรือศาล แต่อย่างใด หากแบ่งอำนาจหน้าที่ให้ภายใต้กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลดังกล่าวแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในปัจจุบัน ใช้หลักการความสูงสุดแห่งรัฐธรรมนูญ (supremacy of constitution )

ระบบรัฐสภาของไทยมิได้ใช้หลักการความสูงสุดแห่งรัฐสภา (supremacy of parliament) เหมือนดังที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ที่เคยบัญญัติไว้ว่า “สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

จริงอยู่ รัฐสภาย่อมประกอบด้วยผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในสภา แต่มิได้หมายความว่ารัฐสภาจะสามารถใช้อำนาจสูงสุดแทนประชาชนได้แต่ฝ่ายเดียว เพราะอำนาจอธิปไตยของประชาชน(sovereignty of people) ได้แบ่งให้แก่ฝ่ายต่างๆ ตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุล ดังนั้นจึงไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจสูงสุด 

หากกล่าวตามหลักการของจอห์น ล็อค นักปรัชญาประชาธิปไตยชาวอังกฤษ อำนาจของรัฐสภาต้องมีข้อจำกัด 4 ประการ คือ
1. รัฐสภาจะต้องใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเท่านั้น จะใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวตามอำเภอใจไม่ได้
2. รัฐสภาต้องทำหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
3. รัฐสภาไม่อาจใช้อำนาจยึด “ทรัพย์สิน” ของประชาชนได้โดยพลการ
4. รัฐสภาไม่อาจโอนอำนาจของตนที่ได้รับมาจากประชาชนให้แก่ใครได้

เช่นเดียวกัน มองเตสกิเออ นักปรัชญาประชาธิปไตยชาวฝรั่งเศส เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติว่า "หากถูกควบรวมอยู่ในคนๆ เดียว หรืออยู่ในกลุ่มคนกลุ่มใด เสรีภาพของประชาชนก็มีไม่ได้ เพราะอาจเกิดสภาพของความหวาดกลัว หรือไม่เช่นนั้นผู้ปกครองหรือองค์กรดังกล่าวอาจออกกฎหมายทรราชขึ้นมาใช้อย่างกดขี่ ดังนั้นอำนาจตุลาการจึงต้องแยกออกไปอย่างเด็ดขาดจากอำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหาร เพื่อให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการคุ้มครอง"

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางการเมืองในยุคปัจจุบันตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ได้มอบสิทธิการตีความแห่งรัฐธรรมนูญแก่ศาลรัฐธรรมนูญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่า

“คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ”

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีคำกล่าวของเอ็ดมันด์ เบอร์ก นักการเมืองและนักปรัชญาเสรีนิยมชาวอังกฤษว่า

“รัฐสภาไม่ใช่เป็นแหล่งประชุมของตัวแทนจากกลุ่มผลประโยชน์คนละขั้วที่ขับเคี่ยวกัน โดยที่ตัวแทนเหล่านั้นจำต้องทำตัวเป็นเอเยนต์ และเป็นผู้สนับสนุนประโยชน์ของกลุ่มตน เพื่อต่อต้านเอเยนต์ และผู้สนับสนุนประโยชน์ของกลุ่มอื่น 

แต่รัฐสภาเป็นสภาแห่งการพิจารณาตัดสินใจของชนชาติหนึ่งที่มีผลประโยชน์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือผลประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด อันเป็นความดีส่วนรวมที่เกิดจากเหตุผลร่วมของประชาชนทั้งปวง”

แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรอื่นใด จะไม่มีสิทธิ์ตีความแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่มีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ตรงกันข้าม การ่วมกันตีความรัฐธรรมนูญ และการร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในทางวิชาการอย่างกว้างขวาง ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ เพียงแต่การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ หรือการวินิจฉัยของบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรอื่นใดที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีผลลบล้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ เว้นเสียแต่ว่าบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรเหล่านั้นได้นำความเห็นแย้ง หรือแตกต่างของตนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ปปช. ในกรณีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ "ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" โดยอาจสงวนความเห็นต่างของตนไว้เพื่อต่อสู้คดี หรือเพื่อดำเนินการตรวจสอบถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป

หากรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอื่นของรัฐ ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ประชาชน รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยึดถือคำวินิจฉัยเด็ดขาดของศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะไม่ให้ความไว้วางใจ และหมดความเชื่อถือในรัฐาธิปัตย์ จนถึงขั้นขัดขืนคำสั่งของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารซึ่งจะก่อให้เกิดความแตกแยกระส่ำระสาย และความขัดแย้งอย่างรุนแรงก็อาจจะเกิดลุกลามบานปลาย กลายเป็นสภาพการเมืองที่ล้มเหลวได้

ดังนั้น ดิฉันจึงใคร่ขอเรียกร้องให้หัวหน้ารัฐบาล ประธานฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรการเมืองทั้งหลาย ยอมรับและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และแสดงความรับผิดชอบตามรูปแบบวิธีในระบอบประชาธิปไตย ดังนี้

1) ประธานและรองประธานรัฐสภา ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง

2) หัวหน้าฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี ขอพระราชทานร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับคืนมา

3) นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเหมือนดังอารยประเทศที่ปฏิบัติเป็นปกติ หรือยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวิธีในระบอบประชาธิปไตย

ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่เสถียรภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยและความสงบสุขของประชาชาติอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา 

รสนา โตสิตระกูล
สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ
24 พฤศจิกายน 2556

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 19:31 น.
 


หน้า 422 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743207

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า