Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

อ่านไม่ออก นับไม่เป็น

พิมพ์ PDF
ผมสนใจที่เขาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และบอกว่า ร้อยละ ๒๓ ของเด็ก ม. ๖ ด้อยด้านทักษะการอ่านระดับพื้นฐาน (rudimentary reading skills) โดยเด็กเหล่านี้อ่านป้ายถนนออก เขียนชื่อตนเองได้ แต่เมื่อให้กรอกแบบฟอร์มเสียภาษี ทำไม่ได้ หรือให้อ่านข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ แล้วให้สรุปสาระ ทำไม่ได้

อ่านไม่ออก นับไม่เป็น

บทความเรื่อง Can’t Read, Can’t Count  โดย Rodger Doyle ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2001    และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่า จากการศึกษาในปี 1999 มีคนอเมริกันที่หางานทำ ร้อยละ ๓๘ ทดสอบพบว่าไม่มีพื้นความรู้ด้าน อ่าน เขียน เลข เพียงพอสำหรับทำงาน   ไม่มีใครต้องการจ้าง

บทความนี้ระบุปัญหา แต่ไม่ได้แนะทางแก้   เป็นบทความสั้นๆ เกี่ยวกับปัญหาในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว   ซึ่งน่าจะคล้ายกับสภาพของไทยในเวลานี้มาก   คือนักเรียนในระดับมัธยมในสัดส่วนที่สูง ขาดทักษะพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตในอนาคต    เขียนถึงตอนนี้ผมคิดต่อว่า แล้วในอนาคตเขาจะดำรงชีพอย่างไร    ผมตอบว่า เมื่อประกอบสัมมาชีพไม่ได้    คนเราก็ย่อมเอาตัวรอดด้วยมิจฉาชีพ

เขาเอ่ยถึงข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศออกมาในเดือนสิงหาคม 2001  ว่า กว่าหนึ่งในสามของนักเรียนชั้น ม. ๖ ทั้งหมด    และกว่าสองในสามของนักเรียนผิวดำชั้น ม. ๖   ไม่มีสมรรถนะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์   เขียนถึงตอนนี้ ผมนึกถึงครูชั้นประถมในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ผมไปรู้จักเมื่อเกือบสิบปีก่อน เป็นคนพูดเก่งมาก    แต่เขียนหนังสือไม่เป็นประโยค     น่าตกใจมาก

ในบทความมีกราฟแท่งแสดงร้อยละของเด็กนักเรียน ม. ๖ ที่สมรรถนะด้านอ่าน และคณิตศาสตร์ ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน แยกเป็นเชื้อชาติ   ซึ่งที่แย่ที่สุดคือคนดำ แย่รองลงมาคือฮิสแปนิก   ที่น่าแปลกใจคือเด็กจากเอเซีย มีสัดส่วนเด็กที่ด้อยด้านคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด ต่ำกว่าเด็กขาว

ผมสนใจที่เขาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง   และบอกว่า ร้อยละ ๒๓ ของเด็ก ม. ๖ ด้อยด้านทักษะการอ่านระดับพื้นฐาน (rudimentary reading skills)   โดยเด็กเหล่านี้อ่านป้ายถนนออก   เขียนชื่อตนเองได้   แต่เมื่อให้กรอกแบบฟอร์มเสียภาษี ทำไม่ได้   หรือให้อ่านข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ แล้วให้สรุปสาระ ทำไม่ได้

เขาบอกว่า ที่จริงนักเรียนเหล่านี้ยังขาดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์    แต่ ข้อด้อยเหล่านั้นยังไม่ก่อปัญหาต่อชีวิตเท่ากับ ด้อยสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์และด้านการอ่าน

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ต.ค. ๕๖

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:09 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๔๐. นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี ๒๕๕๖

พิมพ์ PDF

ในวันที่ ๙ ต.๕๖ มีงานแถลงข่าวนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี ๒๕๕๖ ในงานมีการเสวนาพิเศษเรื่องทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย”    ดรยงยุทธยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ล้าหลังระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งอยู่ที่ระดับราวๆ อันดับที่ 30 ของโลก ในขณะที่ระดับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ที่ประมาณอันดับที่ 50    จุดอ่อนแออยู่ที่งบประมาณวิจัยของประเทศ ซึ่งคงที่อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 0.2 ของ จีดีพี มาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี    ทำให้ประเทศต่างๆ แซงหน้าไป    หากยังเป็นเช่นนี้ ประเทศจะอ่อนแอในระยะยาว

ดรทวีศักดิ์กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.   ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยควรมียุทธศาสตร์ซื้อเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อยอด ไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปอยู่เรื่อยไป อย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ดรดำริ สุโขธนังอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม    และที่ปรึกษา สวทน.   ให้ข้อมูลว่าสวทนตั้งในปี ๒๕๕๑สมัยที่ ศดรยงยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ไทยจ่ายค่า technololy fee ปีละ 1.6 แสนล้าน หากมีการลงทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแผนยุทธศาสตร์ ที่ สวทนจัด    ประเทศจะประหยัดได้มาก

ที่น่าชื่นใจคือ ปีนี้ภาคเอกชนได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นคือนายสามารถ ลี้ธีระนานนท์ กับนายวิทูร ลี้ธีระนานนท์ สองพ่อลูกแห่ง หจกสามารถเกษตรยนต์ ที่ จชัยนาท   จากผลงานรถตัดอ้อยที่มีกระบะบรรทุกท่อนอ้อย ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยที่นายสามารถเรียนจบแค่ ป๗ เท่านั้น โดยรถตัดอ้อยโมเดลนี้นับเป็นโมเดลที่ ๖   ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ    โมเดลนี้ส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย ราคาขายในประเทศ ครึ่งหนึ่งของที่นำเข้า     แต่บริการซ่อมจะดีกว่า

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่ม ได้แก่สถาบันจีโนม สวทช., และสถาบัน ดีเอ็นเอ เทคโนโลยีมก.   โดยมี ดรสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง เป็นหัวหน้า    จากผลงานการใช้เทคโนโลยีฐานจีโนมมิกส์ ตรวจสอบจีโนมอย่างรวดเร็ว ใช้ควบคุมคุณภาพอาหารส่งออก และส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์พืช

ผมชอบใจมาก ที่ ดรสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง บอกว่า เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การจัดการ ศิลปะ   เป็นรูปธรรมจับต้องได้

สถาบันจีโนม เริ่มตั้งปี๒๕๔๒  ใช้ตรวจพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม พบว่าไม่ใช่พันธุ์ตามเป้าหมาย นำไปสู่การแก้ไข    ทำให้ ปีต่อมาไม่ต้องนำเข้า   ประหยัดหลายพันล้านบาท ตรวจพันธุ์ข้าว ยืนยันคุณภาพต่อลูกค้าต่างประเทศ ทำให้ขายส่งออกได้ราคา จากตันละ $500 เป็น 800  ได้เงินเป็นแสนล้าน เวลานี้แยกเป็นหน่วยตรวจข้าวโดยเฉพาะ โดยสถาบันจีโนมทำงานพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตรวจผลิตภัณฑ์การเกษตรอย่างอื่นต่อไป เช่น ถั่ว

ดรสมวงษ์บอกว่า การตรวจนี้ไม่ใช่ของใหม่    ในต่างประเทศมีให้บริการ    แต่สู่ของสถาบันจีโนมไม่ได้ เพราะแม่นยำ  เร็ว  ราคาไม่สูง  จึงแข่งกับต่างประเทศได้ หน่วยงานนี้เป็นผลของความร่วมมือระหว่าง สวทชกับ มก.  เป็นหน่วยหารายได้พึ่งตนเองได้ ยั่งยืน กระทรวงพาณิชย์สนับสนุนเงิน๔๐ ล้านเพื่อตั้งหน่วยตรวจข้าวส่งออก ผลงานชิ้นนี้ช่วยการบังคับใช้กฎหมายโดยกระทรวงพาณิชย์

 

รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้แก่ ดรบุญรัตน์โล่ห์วงศ์วัฒน หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมโลหะ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ    จากผลงาน การออกแบบวัสดุโดยใช้หลักการทางอุณหพลศาสตร์และการปรับปรุงโครงสร้างเชิงโลหะวิทยา เพื่อพัฒนาระบบโลหะผสม และคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับไทย ซึ่งเมื่อฟังแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

เพราะได้ค้นพบวิธีผลิตโลหะผสมเช่น ทอง 18k ให้เป็น metallic glass    คือขึ้นรูปได้แบบปลาสติค    สมารถใช้กระบวนการผลิตแบบปลาสติค มาใช้กับโลหะได้    เวลานี้อยู่ระหว่างคุยกับโรงงาน 2-3 แห่ง

ผมได้รับทราบด้วยความตกใจว่า นักวิจัยด้านโลหะวิทยาทั้งประเทศมีเพียง 30 คน

ผมเห็นด้วยกับผู้พูดบนเวทีว่า ข่าวรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นนี้ น่าจะช่วยจุดประกายให้เด็กไทยสนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจะช่วยให้ประเทศไทยออกจาก middle income trap   โดยเราต้องเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับความสามารถสูง อีกหลายเท่าตัวของที่มีอยู่ในปัจจุบัน    และเราต้องช่วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลรักษาคำพูด ตามนโยบายเพิ่มงบประมาณวิจัยของประเทศเป็น 1% GDP

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:13 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๓๙. นั่งชื่นชมบรรยากาศที่ลานหน้าพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๙ ต.ค. ๕๖ ผมมีบรรยายเรื่อง New Dimensions of Knowledge Management : Beyond Learning Organization ที่ศิริราชเวลา ๘.๔๐ น.    คุณสรพงศ์ โชเฟอร์ของผมบอกว่ากลัวรถติด ขอออกจากบ้านเวลา ๖.๓๐ น.   ปรากฎว่ารถคล่องอย่างประหลาด    ผมไปถึงศิริราชเวลา ๗.๐๐ น.!    ผมจึงไปเดินเล่นและนั่งกินบรรยากาศที่ลานหน้าพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน   หนึ่งชั่วโมง

อากาศเย็นสบาย ลมพัดโชยมาตลอดเวลา    ผมขออนุญาตเจ้าหน้าที่ นั่งที่เก้าอี้อะลูมิเนียมอย่างดี ที่มีอยู่ตัวเดียว    เดาว่าจัดไว้ให้เจ้าหน้าที่นั่งรักษาการณ์ความเรียบร้อย    อยู่ใต้ต้นลิ้นจี่ และมีร่มไม้อื่นๆ อีกหลายต้น ให้ร่มเงาร่มรื่นยิ่งนัก    ผมบอกตัวเองว่า ดั่งอยู่บนสวรรค์    รู้สึกคล้ายๆ กับตอนไปนั่งริมแม่น้ำนครชัยศรีที่สวนสามพราน ตามบันทึกที่นี่ แต่คราวนี้ไม่มีเสียงเพลงไพเราะ   มีแต่เสียงเรือหางยาวในแม่น้ำเจ้าพระยา และเสียงอึกทึกอื่นๆ ผสมเสียงนก

เช้านี้อากาศดี แดดจ้าแต่ยังเช้าจึงไม่ร้อน    ก่อนนั่งผมเดินมรอบๆ บริเวณเสียก่อน    เป็นการชมความเปลี่ยนแปลงจากที่มาชมฉบับเต็มรูปคราวที่แล้ว ซึ่งบันทึกไว้ที่นี่ คราวนี้เห็นว่าต้นไม้ที่ย้ายมาปลูกเริ่มแตกกิ่งใบงามสะพรั่ง    ต้นลีลาวดีสีขาวออกดอกช่อใหญ่งามมาก และกลิ่นหอมอ่อนๆ ให้ความสดชื่นยิ่งนัก    มีคนมาวิ่งออกกำลังกาย ๕ คน โดยทะยอยมา ต่างเวลากัน    คู่หนึ่งเก็บดอกร่วงของลีลาวดีกลับบ้านด้วย

ผมคิดในใจว่า ผมช่างมีบุญเสียจริงๆ ที่มีโอกาสได้นั่งซึมซับบรรยกาศ “ดั่งสวรรค์” ในที่ต่างๆ อยู่บ่อยๆ     โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ  by Plus-HD-1.5" style="color: #0022cc; text-decoration: underline; border: 0px; outline: 0px;">เลย

ตอน แปดโมงเช้า ก็มีหญิงชายอายุราวๆ ๓๐ คู่หนึ่งหิ้วถุงใบโตเข้ามา     และถามเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่าถ่ายรูปได้ไหม    เจ้าหน้าตอบอย่างสุภาพว่า “ถ่ายได้ครับผม”

ผมนึกในใจว่า อีกหลายปีข้างหน้า เมื่อตกแต่งพื้นที่อีกฝั่งหนึ่งของปากคลองบางกอกน้อยเป็นสวนสาธารณะ และมีสะพานเชื่อมาฝั่งนี้    จะมีที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายที่ “สุดยอด”    ผมหวังจะได้อยู่เห็นสวนนี้    

 

วิจารณ์ พานิช

๙ ต.ค. ๕๖

 

ถ่ายไปทางทิศใต้

ดอกมหิดลกันภัย ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

 

เถาและพุ่มมหิดลกันภัย

ถ่ายจากจุดที่ผมนั่งไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา

จุดที่นั่งเสวยสุขดั่งขึ้นสวรรค์

ถ่ายไปทางทางเข้าสวน

 

ถ่ายไปทางคลองบางกอกน้อย (Small)

 

พลับพลึง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:26 น.
 

ไปร่วมงาน “ชื่นใจ... ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๔”

พิมพ์ PDF

โรงเรียนเพลินพัฒนา จัดงาน “ชื่นใจ... ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)  ครั้งที่ ๔” ในวันที่ ๙ ต.ค. ๕๖ ทั้งวัน    แต่ผมไปร่วมได้เฉพาะช่วงบ่าย    ไปเยี่ยมโรงเรียนเพลินพัฒนาทีไร ผมชื่นใจทุกครั้ง    ดัง บันทึกนี้

กำหนดการของกิจกรรมวันนี้ มีดังนี้

 

"ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๔"

วันที่  ๙ ต.ค. ๕๖

 

ณ  อาคารประถมปลาย  โรงเรียนเพลินพัฒนา

 

กำหนดการ

 

 

๐๗.๓๐ - ๐๘.๐๐ น.                    ลงทะเบียนที่หน้าห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๒

๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น.                    เคารพธงชาติ  เปิดตัวเพลงมาร์ชโรงเรียน ที่โถงชั้น ๑ ๐๘.๓๐ - ๑๐.๐๐ น.                                                                      ชมนิทรรศการ“การสร้างแรงบันดาลใจ และความเป็นเจ้าของการเรียนรู้

ให้กับผู้เรียน” ที่ห้องเรียนชั้น ๑ – ๒

๑๐.๐๐ - ๑๐.๑๕ น.                     เขียนสะท้อนเรียนรู้

๑๐.๑๕ - ๑๐.๓๐ น.                     พักรับประทานอาหารว่าง ที่โถงชั้น ๒

๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.                     เปิดชั้นเรียน ห้องภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๒ (ครูอ้อ)

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๑ /

เปิดชั้นเรียนห้องคณิตศาสตร์ ชั้น ๕ (ครูม่อน)

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๒

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.                      พักรับประทานอาหารกลางวันที่โถงชั้น ๑

๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น.                     เปิดชั้นเรียน ห้องคณิตศาสตร์ ชั้น ๑  (ครูหนึ่ง)

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๑ /

เปิดชั้นเรียนห้องภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๔ (ครูปุ๊ก)

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๒

๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น.                    พักรับประทานอาหารว่าง ที่โถงชั้น ๒

๑๔.๔๕ - ๑๖.๑๕ น.                    แบ่งกลุ่มสะท้อนการเรียนรู้จากการเปิดชั้นเรียน

“การสร้างแรงบันดาลใจและ ความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ให้ผู้เรียน”

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๒

สรุปการเรียนรู้

๑๖.๑๕- ๑๖.๓๐ น.                      ตอบแบบสอบถาม

๑๖.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.                     สะท้อนการเรียนรู้ และร้องเพลงร่วมกัน

ที่ห้องอเนกประสงค์ ช่วงชั้น ๒

 

 

*****************

 

 

เมื่อผมไปถึง ครูใหม่ก็บอกข่าวดี ว่ามีการค้นพบวิธีการจัดการเรียนการสอนแนว Open Approach ของวิชาภาษาไทย    ที่ถือว่าเป็นก้าวกระโดด    เพราะที่ผ่านมา วิชาที่ใช้ Open Approach ได้ผลดีคือวิชาคณิตศาสตร์    โดยเอาแนวทางมาจากญี่ปุ่น   ซึ่งเมื่อเอามาใช้กับวิชาอื่น ก็ไม่ลงตัวนัก    มาคราวนี้เราพบวิธีการของเราเอง ในวิชาภาษาไทย

เข้าใจว่าเขาปรับกำหนดการ เอา เปิดชั้นเรียน ห้องภูมิปัญญาภาษาไทย ชั้น ๒ (ครูอ้อ) มาไว้เวลา ๑๓.๓๐ น.    เพื่อให้ผมได้ฟัง reflection (หรือ AAR) ในส่วนที่มีการค้นพบใหม่ ของ Open Approach เรื่อง นวัตกรรม ๗ ขั้นตอนการเรียนรู้ภูมิปัญญาภาษาไทย ก่อเกิดแรงบันดาลใจ และความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยครูอ้อ

ทำให้ผมได้เห็นสภาพ “การเรียนรู้” ของครู (คือครูอ้อวนิดา สายทองอินทร์)    ที่มีสติเฝ้าสังเกตเหตุการณ์ในห้องเรียนอยู่ตลอดเวลา    และตระหนักว่า met before ที่ตนประเมินไว้นั้น ผิด    มีนักเรียน (ป. ๒) จำนวนหนึ่งมีพื้นความรู้ภาษาไทยต่ำกว่าที่คิดไว้

ครูอ้อเล่าว่า หน่วยการเรียนรู้นี้ชื่อ “พฤกษาพาคำ - กลอนสี่ชมพฤกษา”    โดยมีเป้าหมายของการเรียนรู้ว่า “นักเรียนสามารถเขียนบรรยายส่วนประกอบต่างๆ ของต้นไม้ ได้อย่างละเอียดชัดเจน ทั้งเป็นร้อยแก้ว และร้อยกรอง (กลอนสี่)”

ครูอ้อวางแผนหน่วยการเรียนรู้โดย “กะ met before ให้ได้    ดูจากที่เด็กมีอยู่จริง    ไม่ใช่สิ่งที่ครูสอนไปแล้ว” และ “วางเป้าหมายให้มั่นคง    มองเห็นปลายทางชัดเจน และเป็นไปได้”

ผมประทับใจมาก ที่ครูอ้อบอกว่า  เมื่อกำหนดรู้จุดเริ่มต้น (พื้นความรู้ของศิษย์)    และวางเป้าหมายให้มั่นคงชัดเจน    “ตรงกลางมาเอง    เมื่อรู้จุดเริ่มต้น สร้างหนทางให้เป็นลำดับ  จะได้พบกับเส้นชัย”    นี่คือการทำงานในสภาพ chaordic   ทำไปเรียนรู้ไป แก้ปัญหาไป    ไม่ใช่ทำตามสูตรสำเร็จ  การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของครูอ้อ มีฐานอยู่ที่วิธีคิดแบบนี้เอง

ผมยิ่งประทับใจมากขึ้นอีก เมื่อครูอ้อเสนอรายละเอียดวิธีคิด กำหนดแผนกิจกรรมการเรียนรู้ ว่า    “กะ met before ให้ได้ เข้าใจว่าคำคล้องจองคืออะไร  สามารถเขียนคำคล้องจอง ๑ พยางค์ได้    วางเป้าหมายให้มั่นคง นักเรียนสามารถเขียนบรรยายส่วนประกอบของต้นไม้ได้อย่างละเอียดชัดเจน ทั้งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง (กลอนสี่)    ตรงกลางมาเอง แจกแจงให้เป็นลำดับว่า ถ้าจะเขียนกลอนสี่บรรยายส่วนต่างๆ ของต้นไม้ให้ได้ ต้องทำอะไรได้มาก่อนบ้าง   แล้วนำไปวางเป็นเป้าหมายรายครั้ง”

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ “พฤกษาพาคำ” บอกอยู่แล้วว่า เป็นการเรียนภาษาไทยจากต้นไม้    ดังนั้นก่อนเข้าสู่บทเรียน นักเรียนต้องไปสัมผัสต้นไม้เสียก่อน    และครูอ้อเลือกต้นกล้วย    ผมคิดว่า นี่คือขั้นตอนของการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by Doing)    ให้ได้สัมผัสจริงของผู้เรียน แล้วเรียนรู้จากสัมผัสนั้น    ซึ่งในกรณีนี้คือต้นกล้วย

ครูอ้อเขียนอธิบายขั้นตอนนี้ไว้เป็น ๓ ส่วน ดังนี้    “Input : เข้าฐานเพื่อใช้ประสาทสัมผัส ชิม ดม ดู และสัมผัสส่วนต่างๆ ของต้นกล้วย    คลี่คลาย : สร้างและแลกเปลี่ยนคลังคำ ที่บอกลักษณะส่วนต่างๆ ของต้นกล้วย    โจทย์ : ให้นักเรียนนำคลังคำมาเขียนบรรยายลักษณะของต้นกล้วยให้ละเอียดและชัดเจน”

ในขั้นตอนนี้ ผมติดใจที่ครูอ้อช่วยให้เด็กรู้จักแยกรส ระหว่างรสขมกับรสฝาด    โดยครูอ้อเอาฟ้าทะลายโจร ให้เด็กชิมเพื่อรู้จักรสขม

แล้วก็ถึงชั้นเรียนที่ ๑ ของ “พฤกษาพาคำ”   โดยครูอ้อเขียนระบุไว้ดังนี้   “Input : ทบทวนคลังคำที่บอกลักษณะต้นกล้วย   และสังเกตคำ ข้อความ จากงานเขียนของเพื่อน    คลี่คลาย : อ่านและพิจารณาว่า คำหรือข้อความใดของเพื่อน ที่เขียนบรรยายส่วนต่างๆ ของต้นกล้วย น่าสนใจ น่านำไปใช้ต่อ    โจทย์ : ให้นักเรียนเขียนบรรยายลักษณะส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยให้ละเอียดและชัดเจน”

แค่ชั้นเรียนเดียว ครูอ้อก็พบว่า met before ของนักเรียนจำนวนหนึ่ง ต่ำกว่าที่คาดไว้    ครูอ้อจึงแบ่งนักเรียนเป็น ๒ กลุ่ม   คือกลุ่มกล้วยดิบ (พื้นความรู้ต่ำ)  กับกลุ่มกล้วยสุก (พื้นความรู้ดี)    นี่คือการเริ่มต้นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ของครูอ้อ   ที่ผมคิดว่า ครูอ้อค้นพบ

  • วิธีช่วยเหลือเด็กที่พื้นความรู้ต่ำ
  • เทคนิควิธีการที่ไม่ทำให้เด็ก (กลุ่มกล้วยดิบ) รู้สึกด้อย
  • เทคนิคการโค้ชศิษย์ ๒ กลุ่ม อย่างเป็นระบบระเบียบ

ก่อนถึงชั้นเรียนที่ ๒  นักเรียนทั้งชั้นได้เข้าฐานสัมผัสต้นไม้อีก ๒ ชนิด คือพุทธรักษา กับ ปักษาสวรรค์

ครูอ้อเขียนระบุกิจกรรมใน ชั้นเรียนที่ ๒ ดังต่อไปนี้   “Input : อ่านและชื่นชมวิธีการใช้และเรียบเรียงคำ จากตัวอย่างงานของเพื่อน   แล้วอ่านกลอนสี่ที่ครูได้ใช้คำจากการบรรยายต้นกล้วยของนักเรียนมาแต่ง     คลี่คลาย : คัดคลังคำที่ใช้บรรยายต้นกล้วยและสามารถนำมาใช้บรรยายต้นปักษาสวรรค์ได้   แล้วสร้างคลังคำเพิ่มเติมจากการสังเกตต้นปักษาสวรรค์    โจทย์ :

(กล้วยดิบ)   ให้นักเรียนเลือกเขียนบรรยายส่วนประกอบต่างๆ ของต้นปักษาสวรรค์ หรือต้นพุทธรักษา

ให้เห็นภาพของต้นนั้นอย่างสวยงาม”

(กล้วยสุก)   ๑. ให้นักเรียนโยงเส้นคำคล้องจอง ในกลอนสี่ให้ได้มากที่สุด

๒. ให้นำคลังคำจากต้นปักษาสวรรค์หรือต้นพุทธรักษา มาทดลองแต่งเป็นกลอนสี่  ที่มีคำคล้องจองดังตัวอย่าง

ขอสรุปว่า วิชานี้มีทั้งหมด ๕ ชั้นเรียน    ใช้เวลา ๖ สัปดาห์    ครูอ้อได้ข้อสรุปว่า “ดอกไม้ไม่ได้บานพร้อมกันทั้งสวน”   แต่ในที่สุดนักเรียนกลุ่มกล้วยดิบก็สามารถเรียนตามเพื่อนทั้งชั้นทัน   โดยบางคนสามารถแต่งกลอนที่มีพลังคำสูงมากเป็นพิเศษ

นวัตกรรม ๗ ขั้นตอนของการเรียนรู้ภาษาไทยชั้น ป. ๒ ที่ครูอ้อค้นพบคือ  ๑. ภาวะพร้อมเรียน  ๒. Input  ๓. คลี่คลาย  ๔. ก่อเกิดโจทย์  ๕. สร้างสรรค์/แก้ปัญหา  ๖. ปฏิสัมพันธ์  ๗. สังเคราะห์ร่วมกัน

ฟังจากที่ครูอ้อเล่าบรรยากาศการเรียนของนักเรียน   และคำที่นักเรียนสะท้อนออกมาว่า “ให้ความรู้สึกเหมือนสุดสาครไปเที่ยวป่า”  “รู้สึกเหมือนตนเองเป็นปักษาสวรรค์”

ผมเว้นไว้ไม่เล่าชั้นเรียนที่ ๓ - ๕ ที่ครูอ้อมีทีเด็ดสร้างบรรยากาศการเรียนที่เหมาะแก่วัยเด็ก ป. ๒ อย่างน่าทึ่ง   ตรงกับเป้าหมายของโรงเรียนเพลินพัฒนาให้ “นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียน”    ที่ผมไม่เล่า ก็เพื่อให้ผู้สนใจติดตามเอาเองจาก บล็อก ของครูใหม่    หรือติดตามผลงานวิชาการของครูอ้อ ที่จะเขียนนำเสนอในวารสารวิชาการ    เพราะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่จริงๆ

 

หลังจากนั้นเป็นการประชุมกลุ่มของครูแต่ละวิชา    ว่าได้รับแรงบันดาลใจอะไร   จะเอาความรู้อะไรไปทำอะไรบ้าง    โดยโจทย์หลักคือ การส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้    ในช่วงนี้ ผมคุยกับครูอ้อ ครูใหม่ และครูปาด    ผมยุให้ครูอ้อเขียนรายงานผลการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนชิ้นนี้ ส่งไปลงวารสารวิชาการ    โดยขอความช่วยเหลือในการอ่านวิพากษ์และแนะนำเพื่อปรับปรุงรายงานจากผู้รู้   เช่น ศ. สุมน อมรวิวัฒน์

แล้วผู้แทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม ต่อที่ประชุมใหญ่ กลุ่มละ ๗ นาที    ผมตีความว่า นี่คือการทำทั้ง AAR และ BAR ไปพร้อมๆ กัน    เพื่อสร้าง ชร. คศ. (ชุมชนเรียนรู้ ครูเพื่อศิษย์) ของโรงเรียนเพลินพัฒนา

ที่จริงผมได้รับเชิญให้กล่าวข้อเรียนรู้และคำแนะนำ แต่ผมจะไม่เล่า    เพราะแน่ใจว่าครูใหม่จะเล่าอยู่แล้ว

ผมกลับบ้านด้วยความสุข   ผมได้ข้อเรียนรู้ว่า การเรียนภาษาเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์    และได้เห็นแนวทางที่ครูต่างวิชาจะบูรณาการการทำงานกัน ผ่านกระบวนการ KM นี้    เช่นครูคณิตศาสตร์บอกว่า ต่อไปจะเอาโจทย์สถานการณ์ให้ครูวิชาอื่นช่วยอ่าน ว่าจะเข้าใจไหม    ครูภูมิปัญญาภาษาไทย จะไปตรวจภาษาในวิชาอื่น เป็นต้น   การที่ครูเปลี่ยนพฤติกรรมจากต่างคนต่างทำ ต่างวิชาต่างสอน   มาทำงานจัดการเรียนรู้ร่วมกันนี้ เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:29 น.
 

ปฏิรูปห้องเรียน ปฏิวัติการสอน

พิมพ์ PDF

ผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง ปฏิรูปห้องเรียน ปฏิวัติการสอน ในงาน EDUCA 2013 เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค. ๕๖   โดยห้องบรรยายวางเก้าอี้ ๑,๐๐๐ ที่นั่ง    คนเข้าฟังแน่นห้อง เกือบไม่มีที่นั่งว่างเลย   ที่ผมภูมิใจมากคือ ศ. ดร. อารี สัณหฉวี ปรมาจารย์ด้านการศึกษา ไปฟังด้วย   ท่านบอกว่าท่านตั้งใจไปฟังผมพูดโดยเฉพาะ

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร.ที่นี่

หลังการประชุมมีเจ้าของโรงเรียนอนุบาลมาถามว่า ใช้ flip classroom กับชั้นอนุบาลได้ไหม    ผมตอบว่า flip classroom เพื่อการเรียนสาระวิชาควบคู่ไปกับทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑   ต้องตั้งคำถามกันว่า ชั้นอนุบาลต้องการให้เด็กได้อะไร   ผมเข้าใจว่ายังไม่เน้นที่วิชาการ   แต่เน้นฝึกพัฒนาการทางร่างกาย ทางสังคม ทางอารมณ์ ฝึกความอดทน พัฒนา EF มากกว่าเรื่องวิชา    ต้องคิดเป้าหมายของการเรียนชั้นอนุบาลให้ชัด แล้วจึงวางยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี

กลับมาบ้าน ไตร่ตรองเรื่อง flip classroom ในเด็กเล็กและอนุบาล    หวนระลึกถึงคำบรรยายของ John Couch, VP for Education ของบริษัท แอ๊ปเปิ้ล   เมื่อวันที่ ๓ ต.ค. ๕๖   เขาฉายภาพหลานอายุไม่ถึงขวบเล่น iPad เพื่อการเรียนรู้ของตน   แต่ผมก็ยังไม่คิดว่า เทคโนโลยีจะทดแทนปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน เพื่อการเรียนรู้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10:15 น.
 


หน้า 423 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8743207

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า