Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

พิมพ์ PDF

การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ยิ่งเรื่องประวัติศาสตร์สังคม ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นต่างๆทั่วไทยและทั่วโลก ชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งของไทย มีความเป็นมาทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างหลากหลาย ทั้งหมดล้วนเป็นประวัติศาสตร์สังคม ที่มีทั้งคุณค่าและมูลค่ามหาศาลทางการท่องเที่ยว แต่ไทยมองข้ามสิ่งนี้ เพราะระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ราชธานี ที่มีวังกับวัด(ของวัง) และวีรบุรุษสงครามโดยไม่มีสังคมของคน จึงไม่มีชุมชนท้องถิ่นในประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย กรุงเทพฯก็มองข้ามสิ่งนี้ จึงไม่มีประวัติศาสตร์สังคม และไม่มีชุมชนหมู่บ้านย่านต่างๆอยู่ในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีว่ามีพัฒนาการตั้งแต่ยุคต้นอยุธยา (หรืออาจก่อนหน้านั้นก็ได้)

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง "แหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา" ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จัดโดยสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

เป็นครั้งแรกที่ไปประชุมที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กลัวจะไม่มีที่จอดรถจึงออกจากบ้านตั้งแต่ 6.30 น รถติดพอสมควรไปถึงพิพิธภัณฑเวลา 8.30 น ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงเต็ม เท่ากับเดินทางไปพัทยา ขับรถเข้าไปจอดในพิพิธภัณฑ เป็นคนแรกที่เข้าไปลงทะเบียน พบท่านผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี คุณธราพงศ์ ศรีสุชาติ ยืนต้อนรับอยู่ที่หน้างาน

 

9.30 น เปิดประชุมสัมมนา โดย อธิบดีกรมศิลปากร นายสหวัฒน์ แน่นหนา

10.00 - 11.00 น บรรยายหัวข้อ "ภาพอนาคตชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดย นายสุวพร เจิมรังษี รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

11.00-12.00 น อภิปรายหัวข้อ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกวัฒนธรรมและชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในวันนี้

นางประภาพรรณ จันทร์นวล จากสำนักผังเมือง

นายระพีพัฒน์ เกษโกศล นักพัฒนาการท่องเที่ยวชำนาญการ กองการท่องเที่ยว

นางสาว ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักโบราณคดี เป็นผู้ดำเนินรายการ

ท่านรองอธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร และท่านผู้ดำเนินรายการ

13.00-14.00 น บรรยายหัวข้อ " กรุงเทพฯ กรุงธน ฯ บนพื้นที่ทับซ้อนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดย นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ลูกเล่นในการบรรยายของท่านสุดยอด ท่านขึ้นต้นว่า ท่านจะไม่พูดตามหัวข้อ ให้ไปอ่านเอาเองตามเอกสารที่พิมพ์แจก ท่านได้พูดหลายประเด็น แต่ละประเด็นเป็นความรู้ใหม่ที่ผมไม่เคยทราบมาก่อน  ขอยกตัวอย่างบางตอนจากเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา ขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ มาให้ทราบเป็นข้อมูลบางตอน

กรุงธนฯ มีมาก่อนกรุงเทพฯ แต่กรุงเทพฯตั้งอยู่บนพื้นที่ทับซ้อนเดียวกับกรุงธนฯ

ร.6 โปรดเกล้าให้แยกตั้งเป็นจังหวัดพระนคร กับจังหวัดธนบุรี แต่ "คณะปฎิวัติ" เผด็จการทหาร ยกเลิกทั้ง 2 จังหวัดแล้วรวมเป็น กรุงเทพมหานคร สืบจนทุกวันนี้

กรุงเทพฯ มาจากไหน

"กรุงเทพ" เป็นคำยกย่องสรรเสริญบ้านเมืองในอุดมคติตามระบบความเชื่อ ผี-พราหมณ์-พุธ หมายถึงเมืองราชธานีที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เคยมีใช้มาก่อนแล้ว ในนามทางการของกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

กรุงศรีอยุธยา มีนามทางการว่า "กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา" แล้วเรียกอย่างย่อว่า กรุงเทพ (ในบุณโณวาทคำฉันท์) กรุงเทพมหานคร(ในกฏหมายลักษณะทาส) กรุงเทพพระมหานคร (ในกัลปนาวัด พัทลุง) ฯลฯ

กรุงธนบุรี มีนามทางการว่า "กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดี ศรีอยุธยา" (อยู่ในพระราชสาส์นกรุงธนบุรีถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต พ.ศ.2314)

กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ ร.1 สถาปนา มีนามทางการอย่างเดียวกับกรุงธนบุรี ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดี ศรีอยุธยา"

ครั้นเสร็จการบรมราชาภิเษก ร.1 ทรงขนานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ฯ" ต่อมา ร.4 ทรงแปลงสร้อยนามจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น "อมรรัตนโกสินทร์์" แล้วใช้สืบมาจนปัจจุบัน

 

 

14.00-16.00 น เสวนาหัวข้อ "ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการชุมชนโบราณแม่น้ำเจ้าพระยา"  เริ่มจาก อาจารย์ ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร มหาวิทยาลัยศิลปากร พูดเรื่อง เมืองบางกอกที่บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่

 

 

เมืองพระประแดงที่คลองเตย โดย อาจารย์รุ่งเรือง ภิรมย์อนุกูล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

คุณสุกัญญา สัญญะเดช ชุมชนบางกอกน้อย "วิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของชุมชนโบราณ

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "เครื่องมือที่เหมาะสมในการอนุลักษณ์ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์"

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การรับรู้และเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF

ฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน  สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มช. จัดการประชุมสัมมนา โครงการพัฒนาคณาจารย์ เรื่อง การสอนแบบไม่บรรยายเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กยุคใหม่  ในวันที่ ๑๘  มิ.ย. ๕๖ ทั้งวัน  และเชิญผมไปพูดช่วงเช้า เรื่อง “การรับรู้และเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑”

 

จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่นี่ และ ที่นี่

 

โดยขอเพิ่มเติมว่า ผมลืมพูดเรื่องสำคัญ ๒ เรื่อง


๑.  สังคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม  ผ่านพ้นยุคอุตสาหกรรมการผลิตที่คนทำงานในโรงงานในสายพานการผลิต ที่ทำงานซ้ำๆ เหมือนๆ กันและเหมือนๆ เดิม  แต่ในยุคใหม่ คนต้องออกไปทำงานต่างๆ กัน และต้องมีทักษะและความกล้าในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การศึกษาสมัยใหม่จึงต้องฝึกให้คนมีทักษะสร้างสรรค์ (creativity)


๒. Transformative Learning ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่เลย Informative Learning (เรียนให้รู้สาระวิชา)  และเลย Formative Learning (เรียนให้นำความรู้ไปใช้งานได้)  ไปสู่ Transformative Learning  คือเรียนให้มีทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ออกไปดำรงชีวิตและทำงานโดยมีส่วนร่วมในการนำการเปลี่ยนแปลง คือเป็น change agent

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ มิ.ย. ๕๖

 


 

โครงการ DFC3 : ๘. เที่ยว Frankfurt และ AAR (จบ)

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑๔ มิ.ย. ๕๖ เรานั่งรถจาก Karlsruhe ไปยัง Frankfurt และปล่อยให้เดินชมเมือง และซื้อของเป็นเวลาชั่วโมงเศษๆ  เราได้เห็นนักท่องเที่ยวจีนเต็มไปหมด  ได้เห็นความงามของจตุรัส ใกล้แม่น้ำ Mann  มีอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะซื้อนาฬิกา Rolex เป็นที่ฮือฮา

ต่อไปนี้เป็น AAR ของผม  ว่าผมได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการ่วมเดินทางไปกับคณะ DFC3 ครั้งนี้  และมีความเห็นว่าเราควรช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่อุดมศึกษาไทยอย่างไรได้บ้าง  จากการไปเห็นโอกาสที่เยอรมันนี

อุดมศึกษาของเยอรมันนี มีรากฐานของตนเอง  และวิวัฒนาการมากับการพัฒนาบ้านเมือง  จึงมีลักษณะจำเพาะ ที่เราไม่คุ้นอยู่มาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนเพื่อทำงาน  และการมีมหาวิทยาลัยเพื่อทำหน้าที่รุกวิทยาการไปในขอบฟ้าใหม่  ผมได้ไปเรียนรู้ว่า เขาไม่นับผู้กำลังทำปริญญาเอกเป็น นศ.  แต่นับเป็นส่วนหนึ่งของ “กองทัพนักวิจัย”

การแยกประเภทสถาบันอุดมศึกษามีความชัดเจน และมี “ความเป็นเลิศ” ในสถาบันอุดมศึกษาแต่ละประเภท ชัดเจน

ความร่วมมือ internationalization, student exchange, วิจัย  ใช้ความร่วมมือเป็นกลไกทำสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ด้วยตัวเอง  เป็นสิ่งที่อุดมศึกษาไทยพึงเรียนรู้ และนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง

ผมตื่นเต้นในความร่วมมือกับ SRH เชิญวิทยากรมาจัด workshop ฝึกอบรมอาจารย์ ในการปฏิรูปวิธีสอนแบบ active learning  ที่ สคช. จะดำเนินการต่อไป

สำหรับ ม. มหิดล จะเกิดความร่วมมือระหว่าง European University Viadrina กับ CMMU  และระหว่าง SRH กับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล  หลังจากกลับมาได้ ๒​ - ๓ วัน ผมได้ส่ง อีเมล์ แนะนำให้ รศ. ดร. อรรณพ ตันละมัย คณบดีของวิทยาลัยการจัดการ ได้รู้จักกับ Petra Weber  ผอ. วิเทศสัมพันธ์ของ EUV  และทราบว่าได้โทรศัพท์คุยกัน  แล้วจะแลกเปลี่ยนเอกสารเจตนารมณ์ของแต่ละฝ่าย  เพื่อนำไปสู่ข้อตกลง และกิจกรรมความร่วมมือต่อไป

ผมอยากเห็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม มทร. กับสถาบันคลังสมองฯ ในการจัดโครงการ RTU Dean For Change โดยร่วมมือกับทางเยอรมัน  หาทางขับเคลื่อนให้ มทร. ของเราเข้าไปทำงานร่วมมือ กับโรงงานอุตสาหกรรม  ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการพัฒนาอาจารย์

 

วิจารณ์ พานิช

๑๘ มิ.ย. ๕๖  ปรับปรุงเพิ่มเติม ๗ ก.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/542855

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๕๔. พันธุศาสตร์ก่อนกำเนิด

พิมพ์ PDF

คืนวันที่ ๑๔ มิ.ย. ๕๖ ระหว่างนั่งเครื่องบินจาก แฟรงค์เฟิร์ต กลับกรุงเทพ  อ่าน นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๑๔ - ๑๖ มิ.ย. ๕๖พบบทความ The Bleak New World of Prenatal Genetics ทำให้เลือดอดีตนักมนุษยพันธุศาสตร์ของผมเดือดพล่านด้วยความตื่นเต้น  แกมหวาดหวั่น

ตื่นเต้นกับความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่ความรู้  แต่ได้เคลื่อนไปสู่เทคโนโลยีหรือการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวินิจฉัยโรคทางพันธุศาสตร์ของทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่ยังตั้งครรภ์อ่อนๆ  โดยวิธีที่ไม่กระทบกระเทือนลูกในท้อง  คือเจาะเลือดแม่เอามาตรวจดีเอ็นเอของลูกที่ไหลเวียนอยู่ในพลาสม่าของเลือดแม่  เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมของลูกในท้อง  ซึ่งตัวที่พบบ่อยที่สุด (๑ ใน ๗๐๐) คือกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งเกิดจากมีโครโมโซมคู่ที่ ๒๑ เกิน  การตรวจนี้เรียกรวมๆ ว่า NIPT (Non-Invasive Prenatal Test)

ที่ก้าวหน้ายิ่งกว่านั้น คือเอาดีเอ็นเอของลูก จากพลาสม่าของเลือดแม่ มาตรวจดีเอ็นเอแบบ whole genome sequencing คือตรวจให้รู้หมดว่ามีจุดอ่อนทางพันธุกรรมอะไรบ้าง

ความหวาดหวั่นเกิดจากการตลาดทางธุรกิจของบริษัทขายชุดตรวจ ที่อวดสรรพคุณเกินจริง  ดังตัวอย่าง MaterniT21 PLUS ของบริษัท Sequenom  สำหรับตรวจหาว่าทารกในครรภ์เป็นกลุ่มอาการ ดาวน์ หรือไม่  สำหรับคนที่รู้เรื่องนี้ ชื่อมันอวดสรรพคุณเกินจริงไปหน่อย

ข้อดีของ MaterniT21 PLUS คือ ตรวจรู้เร็ว ตั้งแต่ครรภ์อ่อนมาก  ช่วยให้คู่สมรสที่ตรวจพบความผิดปกติมีเวลาได้พูดคุยกับคู่สมรสที่เคยมีลูกเป็น ดาวน์  เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะเก็บไว้เลี้ยง หรือจะทำแท้ง

ในตำราพันธุศาสตร์มาตรฐาน ระบุไว้ชัดเจนว่า การวินิจฉัยก่อนคลอดต้องคู่กับการให้คำแนะนำทางพันธุกรรม  เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีของการวินิจฉัยก่อนคลอดอย่างเหมาะสม  และเตรียมการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ  เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ขาวกับดำ  หรือไม่ใช่เรื่องที่คนทุกคนจะมีความเห็นเหมือนกันหมด  เพราะเด็ก ดาวน์ ก็ไม่ใช่ว่ามีแต่ข้อเสีย  เขามีข้อดีด้วย คือเป็นคนน่ารัก

ปัญหาของการมี NIPT ใช้อย่างกว้างขวาง ก็คือ มีนักให้คำแนะนำทางพันธุกรรม (genetic counselor) ไม่พอ  หรือมีการส่งเสริมการใช้ NIPT โดยไม่ผ่านการให้คำแนะนำทางพันธุกรรม  นำไปสู่ปัญหาทางจริยธรรมของการใช้ NIPT   พูดง่ายๆ คือ เสียเงินโดยไม่จำเป็น  หรือกึ่งๆ ถูกหลอกนั่นเอง

เล่ห์กลทางธุรกิจที่ใช้กันทั่วไป คือหาทางให้ผลิตภัณฑ์ของตนกลายเป็น “ของใช้ประจำบ้าน” (commodities)  ซึ่งในกรณีของ NIPT ก็คือ ให้เป็นของใช้ประจำสำหรับแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคน  อย่างนี้บริษัทก็ขายชุดตรวจได้ในสหรัฐอเมริกา ๔ ล้านชุดต่อปี ตามจำนวนการตั้งครรภ์ (เวลานี้ MaterniT21 PLUS ขายได้ ๑๐๐,๐๐๐  และมีเป้า ๓๐๐,๐๐๐)  ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ก็หมายความว่าสังคมอเมริกันถูกบริษัทผลิต NIPT หลอกกันทั้งชาติ

สมาคมแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องออกมาช่วยกันบอกสังคมว่า การใช้ประโยชน์ NIPT โดยไม่เกิดโทษเป็นอย่างไร  ข้อแรกคือต้องปรึกษานักให้คำแนะนำทางพันธุกรรมก่อนใช้   และต้องใช้ในกรณีมีความเสี่ยงสูงต่อการที่ลูกในครรภ์จะมีความผิดปกติที่จำเพาะเท่านั้น  ห้ามใช้ตรวจแบบเหวี่ยงแหเด็ดขาด

เอามาเล่า เพื่อจะบอกว่า  ในชีวิตของคนเราในยุคสังคมเศรษฐกิจบริโภคนิยม ทุนนิยม  เราเผชิญกับเรื่องแบบนี้อยู่ตลอดเวลา  คือถูกชักจูงทางตรงหรือทางอ้อมให้บริโภคสินค้าโดยไม่จำเป็น  ใครรู้เท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อ ชีวิตก็จะเบาสบาย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/542736

 

 

 


 

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๓. หอพักเพื่อการเรียนรู้บูรณาการ

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา   แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๓ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของ Appendix B : Beyond the Classroom  เรื่อง Theme Dorms : Mixing Academics and College Life เขียนโดย Sharon Daloz Parks, Senior Fellow, Whidbey Institute  เล่าเรื่องการพัฒนา นศ. ให้เกิด Transformative Learning โดยการดำเนินการหอพักให้เป็นชุมชนเรียนรู้  ส่งเสริมให้ นศ. สร้างทักษะการรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียนรู้ ขึ้นภายในตน

ในเรื่องเล่านี้ ผู้เขียนเล่าย้อนหลังไปสมัยที่ตนเริ่มเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย  ได้เป็นอาจารย์ที่ Whitworth College ซึ่งมีเป้าหมายให้การศึกษาเพื่อให้เป็นคนเต็มคน  และภายใต้ภาวะผู้นำของรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้จัด theme dorms ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารหอพักสองชั้น ๖ อาคาร  แต่ละอาคารให้ นศ. พักเดี่ยวได้ ๒๒ คน  มีห้องกิจกรรม และครัวเล็กๆ  ในหอพักแต่ละหลัง นศ. ลงเรียนร่วมกันเป็นพิเศษ ๑ รายวิชา (รายวิชาที่เป็น theme ของหอพักนั้น)  ผู้เล่าสอนวิชา Religion and Life ร่วมกับอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ใน theme dorm “Religion and Life”  โดยผู้เล่ารับผิดชอบวิชาศาสนา  อาจารย์อีกท่านหนึ่งรับผิดชอบวิชาสังคมวิทยา  เป็นการสอนเป็นทีม  โดยสอนตอนบ่าย ๓ ชั่วโมง สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง

เป้าหมายของการสอนวิชานี้ ก็เพื่อให้ นศ. เกิดความเป็นประชาคมในกลุ่ม และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก  โดยมีเงื่อนไขให้ นศ. ที่มาลงทะเบียนเรียนต้องปฏิบัติ  ได้แก่ ต้องเข้าเรียนทุก session  ต้องเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่จัดในหอสัปดาห์ละครั้ง  โดยที่ นศ. เป็นผู้ร่วมกันกำหนดเองว่าเป็นกิจกรรมอะไร (เช่น ไปปิกนิก  ดูภาพยนตร์ ฯลฯ)

ในตอนต้นเทอม อาจารย์ให้ นศ. ตกลงกันว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร  มีกติกาอะไรบ้าง  โดยอาจารย์ช่วยแนะนำให้ นศ. ประชุมตกลงกันแบบไม่โหวต แต่คุยกันจนได้ฉันทามติ

นอกจากนั้น รายวิชานี้ ดำเนินแบบเดียวกับรายวิชาอื่นๆ  คือ นศ. อ่านเอกสารที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์นำเสนอหน้าชั้น  อภิปราย  การเขียนรายงานประจำเทอม  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นศ. มีการอภิปรายประเด็นที่น่าสนใจกันอย่างสนุกสนาน ได้สาระ จนเลยเวลาเรียนตามปกติ   เหตุผลหนึ่งก็คือ เพราะทุกคนอยู่หอ ในบรรยากาศเดียวกัน

รายวิชานี้ดึงดูด นศ. ที่เรียนดีและตั้งใจเรียนที่สุดเข้าสมัคร  แต่ก็มี นศ. อีกประเภทหนึ่ง ที่ตามปกติไม่สนใจเรียนนัก  แต่เป็นคนที่สมองดีมาก  และมักไม่เข้ากลุ่มพวกตั้งใจเรียน มาลงทะเบียนเข้าเรียนด้วย ด้วยความสนใจว่าที่นี่เขาทำอะไรกัน  สมมติว่า นศ. ประเภทหัวดีไม่ตั้งใจเรียนคนหนึ่งชื่อ จอห์น

เมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง จอห์น ก็เปลี่ยนท่าทีที่ห่างเหินจากพวก “เด็กเรียน” มาเข้ากลุ่ม  และร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม (เกิด transformation)

หลายปีต่อมา เมื่อมาทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นในการเรียนแบบนั้น  จอห์น บอกว่า “Whitworth ต้องการให้ นศ. เป็นคนที่มีลักษณะพิเศษ”  คือเป็น “คนจริง” (real person)

นศ. ในชั้นนั้นอีกคนหนึ่ง ซึ่งในขณะนี้เป็นอาจารย์ สะท้อนว่า “ใน Religion and Life theme dorm เราสังเกตเห็นกระบวนการที่ จอห์น เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในอย่างสิ้นเชิง (transformation)  และเราได้เรียนรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงเช่นนั้น เกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคน”

ที่จริงผลลัพธ์เช่นนี้ ไม่ได้เขียนไว้ในเป้าหมายของรายวิชา  แต่ประสบการณ์นี้ฝังใจและให้ความกระจ่างแจ้งแก่ผู้เล่า  เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสูงสุดอย่างหนึ่งตลอดเวลา ๔๐ ปีที่เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย  เป็นการค้นพบอิทธิพลของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือชุมชนต่อการเรียนรู้  ชนิดที่เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (transformative learning)  ซึ่งเกิดขึ้นยากจากการเรียนแบบตัวคนเดียว

การเรียนคนเดียวอาจจำเป็นสำหรับการเรียนเพื่อความรู้  แต่การเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตนอย่างรอบด้าน การเรียนที่มีผลเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม  ต้องการการเรียนเป็นกลุ่ม หรือเป็นชุมชนเรียนรู้

ชุมชนเรียนรู้ เป็นชุมชนที่ร่วมกันตั้งคำถาม ร่วมกันค้นพบ  หากความสัมพันธ์เป็นกลุ่มหรือชุมชน มีความต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง  จะมีผลต่อการมีทักษะการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในตน (transformative learning) ไปตลอดชีวิต

ผมเองเห็นประโยชน์ของ “ชุมชนเรียนรู้” (learning community) แจ่มแจ้ง  เมื่อทำงานพัฒนาเรื่องการจัดการความรู้  ได้เข้าใจด้านอ่อนของสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้”  คือความรู้ฝังลึก(tacit knowledge) ที่เมื่อมีการเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว  จะเกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึก  และเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนบุคลิกคน คือเกิด transformative learning ได้โดยไม่ยากเลย

 

วิจารณ์ พานิช

๙ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541971

 


หน้า 466 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742072

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า