Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเรียนรู้บูรณาการพลังสาม : หัวใจอุดมศึกษา : ๑๐. ประสบการณ์ของ Contemplative Practice Fellow

พิมพ์ PDF

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewalเขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmerและ Arthur Zajoncซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี“พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit) หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากภายในตน(Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษาเข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ ๒ แบบ ว่า (๑) การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช  (๒) เป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรืองอกงาม ภายในตน  ตรงกันข้ามกับการเรียนรู้แบบรับถ่ายทอดความรู้มาจากภายนอก

ผมได้ตีความเขียนบันทึกจากบทหลักในหนังสือจบแล้ว  แต่ยังมีส่วนเพิ่มเติม เพื่อบอกวิธีปฏิบัติอีกหลายตอน  ที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ต่ออาจารย์ที่ต้องการจัดการเรียนรู้แบบ Integrative/Transformative Learning อย่างจริงจัง

บันทึกตอนที่ ๑๐ นี้ ตีความจากส่วนหนึ่งของAppendix A : In the Classroom  เขียนโดย Mirabai Bush, Executive Director, The Center for Contemplative Mind in Societyเล่าเรื่อง Contemplative Practice Fellows ของศูนย์  ที่นำวิธีการปฏิบัติใคร่ครวญ หรือจิตตภาวนา ไปใช้กับ นศ.  แล้วเกิดผลดี ทำให้ นศ. เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนๆ และเข้าใจโลก

วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจิตตภาวนานี้ ควรนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา  เพื่อให้ นศ. เกิดการเรียนรู้บูรณาการ / เรียนรู้แบบเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ตามปกติ ที่เรียกว่าวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

กล่าวใหม่ว่า ในอุดมศึกษา นศ. ควรได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ ๒ สายไปด้วยกัน คือสาย Contemplative Inquiry  กับสาย Critical Inquiry  จะทำให้เกิดการเรียนรู้บูรณาการ ๒ สาย และเกิดการเสริมส่ง (synergy) ซึ่งกันและกัน  ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสุข มีมิตรภาพ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้  เกิดความเจริญงอกงามครบด้าน (สมอง ใจ และวิญญาณ)

The Center for Contemplative Mind in Society มีทุนสนับสนุนสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาด้วย อ่านได้ ที่นี่ สถาบันในประเทศไทยที่สนใจจริงๆ อาจลองติดต่อพูดคุยกับเขาได้

บทความนี้เล่าเรื่องศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ๓ คน  จาก ๑๔๕ คน ที่ได้รับการสนับสนุนเป็น fellow ฝึกจิตตภาวนา  และนำวิธีการจิตตภาวนาไปใช้ในชั้นเรียน

ท่านแรกเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์  ให้ นศ. วาดแผนที่และรูปตอนเป็นเด็ก  เพื่อสะท้อนความประทับใจของตน  จะเป็นรูปบ้าน อะพาร์ตเม้นท์  โรงเรียน  ห้องเรียน  บ้านเพื่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ได้  สำหรับอธิบายความประทับใจชีวิตวัยเด็กของตน  ศาสตราจารย์ท่านนี้ นำประสบการณ์มาเล่าในการประชุม Uncovering the Heart of Higher Education ว่าการเรียนรู้แบบดังกล่าวช่วยให้ นศ. เข้าใจความหมายของการสร้าง และการดำรงชีวิตที่มีความหมายในโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง ว่าเป็นอย่างไร

นศ. สถาปัตยกรรมศาสตร์ เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งก่อสร้าง กับการดำรงชีวิตที่มีความหมาย ในท่ามกลางโครงสร้างทางวัตถุนั้น  ทำให้สถาปนิก มีการเรียนรู้บูรณาการรอบด้าน  เข้าใจสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นศาสตร์แข็งหรือปัญญา (สมอง) เท่านั้น  แต่เข้าใจลึกและครอบคลุมส่วนที่เป็นศาสตร์อ่อน คือ ใจ และวิญญาณ ด้วย

อีกท่านหนึ่ง เป็นรองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา สอนวิชา Food and Hunger : Contemplation and Action โดย นศ. ออกไปทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือผู้หิวโหยในพื้นที่  และไปฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้หิวโหย

รศ. ท่านนี้รายงานต่อที่ประชุมว่า นศ. เข้าใจจิตใจและอารมณ์ของตนดีขึ้น  รวมทั้งเข้าใจเรื่องความอดหยากหิวโหย ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยงขึ้น

อีกท่านหนึ่งเป็นทั้งศาสตราจารย์และเป็นกวี  ได้รับ fellowship ให้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยทหาร เวสต์ พ้อยท์  โดยเลือกสอนวิชาร้อยกรอง และสมาธิภาวนา แก่นักเรียนนายร้อยที่ต่อมาถูกส่งไปสมรภูมิที่อิรัก  หลังจากนั้น ศ. ท่านนี้ (เป็นผู้หญิง) ได้รับอีเมล์จากศิษย์กลุ่มนี้หลายคน  ว่าวิชาที่ได้เรียนรู้ทั้ง ๒ วิชานี้ ช่วยเขาในยามวิกฤตอย่างไร

Contemplative Practice Fellows 145 คน จาก ๑๐๑ สถาบันการศึกษา นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Fetzer Instituteเขาทำงานร่วมมือกับทั่วโลก เพื่อขยายพลังของความรักและการให้อภัย  ผมเอามาลงไว้เผื่อบางมหาวิทยาลัยจะติดต่อทำงานร่วมมือกับเขา

เขาบอกว่า วิธีการฝึกจิต (จิตศึกษา, จิตตปัญญาศึกษา) นี้ เขาทำหลายวิธีแตกต่างกัน  เช่น ทำสมาธิ,  ฝึกจี้กง,  โยคะ,  lectio divina,  เป็นต้น   เป็นการฝึกจิตให้เปิดรับโอกาสใหม่ๆ  สร้างเสริมปัญญาจากการเปิดรับความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในโลก  สร้างจิตที่เห็นแก่ผู้อื่น และเสียสละ ผ่านความเข้าใจความเชื่อมโยงถึงกันหมดของสรรพสิ่ง และทุกชีวิต  เป็นการเรียนเพื่อเสริมการเรียนรู้ในแนวทางวิทยาศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บ่งชี้ว่า การฝึกจิต ช่วยพัฒนาทักษะทางปัญญาข้ามศาสตร์ เช่นการตัดสินใจ สมาธิ ปัญญาญาณ ความจำ  รวมทั้งทักษะด้านอารมณ์ เช่น ความมีสติ การควบคุมตนเอง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จะเห็นว่า การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ช่วยให้การศึกษานำไปสู่การสร้างมนุษย์ที่มีใจสูง เพิ่มศักยภาพในการทำความดี  ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เพิ่มอำนาจทำลายล้าง

การเรียนรู้ผ่านการฝึกจิต ที่เรียนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แนววิทยาศาสตร์ และการคิด  ช่วยพัฒนามนุษย์ทั้งตัว ให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ  การเรียนรู้ตามแนวกระแสหลักที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีวันพัฒนามนุษย์ได้เต็มศักยภาพ

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539791

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๓๐. เรียนรู้จากอดีตประธาน สมศ.

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๑ พ.ค.. ๕๖ ผมมีโอกาสคุยกับ ดร. ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ อดีตประธาน สมศ. ที่หมดวาระเพราะอายุครบ ๗๐  ได้มีโอกาสร่วมกัน AAR การทำหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานอิสระของรัฐ  ท่านบอกว่า ท่านมัวเสียเวลาแก้ปัญหา จนไม่มีเวลาคิดเรื่องใหญ่ๆ

ท่านพูดอย่างนี้ เพราะผมเล่าให้ท่านฟังเรื่องการไปบรรยายเรื่อง คุณภาพการศึกษา และผู้จัดประชุมขอให้ผมพูดโยงไปยังมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา  และผมได้เสนอให้ยุบ สมศ. ดัง บันทึกนี้ โดยผมอธิบายให้ ดร. ชิงชัยฟังว่า ผมมีความเห็นว่า การประเมินคุณภาพการศึกษาที่เน้น จัดการประเมินระดับชาติ เพื่อประเมินนักเรียนเป็นรายคนนั้น เป็นวิธีที่ผิด  วิธีที่ถูกคือฝึกครู ให้ประเมินเด็กได้แม่นยำ  และมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการประเมิน แก่ครูและโรงเรียน  กลไกประเมินในระดับชาติทำหน้าที่พัฒนาและตรวจสอบว่า ครูและโรงเรียน ประเมินได้แม่นยำ น่าเชื่อถือจริงๆ  ดร. ชิงชัยบอกว่า เห็นด้วยกับหลักการที่ผมเสนอ  และปรารภว่า ตอนที่ท่านเป็นประธาน สมศ. ท่านไม่มีโอกาส คุย หรือพิจารณาเรื่องใหญ่ๆ เชิงสร้างสรรค์แบบนี้เลย  หมดเวลาไปกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กร

ทำให้ผมหวนกลับมาคิดว่า ตนเองเป็นคนมีบุญ  ที่ไม่ว่าไปทำงานที่ใด เมื่อจากมา ก็จะทิ้งร่องรอย และผลงานดีๆ ไว้ให้คนที่มาทำต่อ ได้สานต่ออย่างสร้างสรรค์  ไม่มีการสร้างปัญหาไว้ให้คนอื่น

คิดอีกที เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องยาก  หากเรามีศีล ไม่ทำเรื่องที่เป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง  และมุ่งทำงานที่ก่อประโยชน์ส่วนรวมจริงๆ  ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองท่านจะเห็น และจะเข้ามาช่วยกันทำงาน หรือช่วยสนับสนุน

คิดต่ออีก ผมโชคดี ที่ชีวิตได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานตั้งใหม่ถึง ๓ หน่วยงาน  จึงได้มีโอกาสเรียนรู้ และวางระบบงาน วางวัฒนธรรมองค์กร  คิดถึงทีไรมีความสุขเมื่อนั้น


วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539260

 

รศ.๑๑๒ เงินถุงแดง ช่วยรักษาเอกราชกรุงสยาม

พิมพ์ PDF
๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
ครบรอบวิกฤติร.ศ. ๑๑๒ อภิมหาสงครามที่กรุงรัตนโกสินทร์เกือบเสียเอกราชให้แก่ฝรั่งเศส
กรุงสยามภายใต้รัชกาลอันยาวนาน ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมที่ประเทศตะวันตกต่างแสวงหาเมืองขึ้นไปทั่วโลก ประเทศต่างๆในย่านสุวรรณภูมิต่างตกเป็นอาณานิคมจนหมดสิ้น ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ จึงดำเนินพระราโชบาย พัฒนาประเทศให้ทันสมัยและปรับปรุงกองทัพขนานใหญ่ มีการสร้างป้อมยุทธนาวี หลายป้อม อาทิ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมผีเสือสมุทร เวลานั้นสยามก็มีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องต้องการจะนำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไทยหวั่นเกรงว่าจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติจึงปฎิเสธไป
และแล้ว ในเวลา ๑๗ นาฬิกา ของวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ...ศกนั้นเรือรบชองฝรั่งเศสสองลำ ก็ลุกล้ำเข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาของสยาม
แม้มีการยิงเตือนตามธรรมเนียมจากฝ่ายไมยก็มิอาจหยุดยั้งฝรั่งเศสผู้กระหายเลือดได้ แถมยังชักธงรบขึ้นสู่เสากาฟแสดงว่าพร้อมรบเต็มที่ ปืนรบทั้ง ๗ กระบอกจากป้อมพระจุลจอมเกล้า คำรามทั่วท้องน้ำเจ้าพระยา เรือรบทั้ง ๙ ลำของสยามซึึ่งมีขนาดเล็ก นำโดยเรือมกุฎราชกุมารระวางขับน้ำ ๖๐๙ ตัน พร้อมป้อมปืน ๒ กระบอกที่ลอลลำอยู่จึงเข้าสัประยุทธ์กับ กองทัพเรือฝรั่งเศส ในการยุทธครั้งนี้ทหารไทยพลีชีพไป ๘ นาย สามารถถล่มเรือนำร่องของฝรั่งเศสท้องทะลุ ทหารฝรั่งเศสตายไป ๓ คน เรือปืนของฝรั่งเศส สามารถมาจอดทอดสมอที่หน้าสถานฑูตฝรั่งศส หันปากกระบอกปืนทั้งหมดไปที่พระบรมมหาราชวัง พร้อมยื่นข้อเสนอ ๖ ข้อ โดยไทยยินบอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พร้อมกับถูกปรับเป็นเงินค่าปฎิกรรมสงครามอีก ๒ ล้านฟรังซ์ พร้อมยึด เมืองจันทบุรีเป็นประกัน 
วิกฤติร.ศ. ๑๑๒ ครั้งนี้ ทำให้เงินใในท้องพระคลังหมดเกลี้ยง ต้องเบิกเงินถุงแดง ซึ่งเป็นเงินล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บสะสมไว้พระราชทานให้แก่แผ่นดินเพื่อเวลามีวิกฤติเกิดขึ้นออกมาใช้ เหตุการณ์คราวนี้ทำให้พระปิยมหาราช ทรงโทมนัสเป็นที่ยิ่ง จนทรงพระประชวรจนถึงขั้นไม่ปรารถนาจะทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อไป จน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงถวายข้อคิด ทำให้ทรงมีกำลังพระทัยกลับมาและ เริ่มพลิกแผ่นดินสยามพัฒนาประเทศครั้งใหญ่ โดยไม่เพิ่งกำลังและปัญญาของต่างชาติอีกต่อไป...
(3 photos)
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๔๕.เรียนรู้จากคณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ

พิมพ์ PDF

บ่ายวันที่ ๒๒พ.ค. ๕๖ ผมไปทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯเป็นครั้งแรก โดยกรรมการชุดนี้ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งจากคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุฯ อย่างเป็นทางการ  แต่มีมติแต่งตั้งผมเป็นประธาน และแต่งตั้งกรรมการผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งแล้ว  นอกนั้นให้ไปหากันเอาเอง  เราปรึกษากันแล้วนัดประชุมเลย  เพื่อช่วยทำให้ระบบการจัดการเข้มแข็ง และเป็นระบบมากขึ้น

ที่จริงเดิม ท่านองคมนตรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. เกษม วัฒนชัย เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้  คณะกรรมการบริหารชุดที่ผมเป็นประธานจึงเป็นชุดที่ ๒  และในขั้นนี้ประกอบด้วย  (๒) นายนิคม เจตน์เจิญรักษ์ รองประธาน  (๓) นายบรรยง พงษ์พานิช  (๔) นายโพธิพันธุ์ พานิช  (๕) นายเอนก วาสนาสมปอง  (๖) นายศานติ วิชิตพันธ์  (๗) นายวิรไท สันติประภพ  (๘) นายวุฒิ วิพันธ์พงษ์  (๙) นายบัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ  (๑๐) นายกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวัฒนชัย ผู้ช่วยเลขานุการ  (๑๑) นายไพโรจน์ สิงบัน ผู้ช่วยเลขานุการ

หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ เริ่มเปิดดำเนินการในปี ๒๕๕๓  คือยังไม่ครบ ๓ ปี  แต่กิจการได้ก้าวหน้ากว้างขวางไปมากอย่างไม่น่าเชื่อ  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถในการจัดการของทีมงาน

ผมได้กล่าวต่อที่ประชุมตอนจบเป็นการนอกรอบว่า  ที่ผ่านมาหอจดหมายเหตุฯทำงาน ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่เกินคาดแต่ความสำเร็จนั้นเองบอกเราว่า เราจะทำงานอย่างเดิมไม่ได้  ต้องยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  คือให้มีระบบการจัดการ และระบบบัญชี ที่เข้มแข็งขึ้น  มีระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง  และมีการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ และมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งต้องมีระบบการระดมทุนมาดำเนินการเพิ่มขึ้น  เพราะตามคาดการณ์ด้านการเงิน หากเป็นไปตามแนวโน้มเดิม  สิ้นปีหน้าเงินจะขาดมือ ไม่พอใช้  เราตกลงกันว่าจะถือตามหลักของสวนโมกข์ คือไม่มีการเรี่ยไร  แต่จะรับบริจาค  และคณะกรรมการระดมทุนจะเริ่มทำงาน  โดยเป้าหมายคือต้องระดมทุนเพิ่มขึ้นจากรายรับที่มีอยู่เดิม ปีละ ๑๐ - ๒๐ ล้านบาท

ขณะนี้หอจดหมายเหตุฯ มีพนักงาน ๓๐ คน  ปีหน้าจะเพิ่มเป็น ๓๗ คน

ผมเคยเขียนบันทึกเรื่อหอจดหมายเหตุพุทธทาสไว้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๒ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/541472

 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๕๒๘. สองมุมการศึกษาในวันหยุดวันเดียว

พิมพ์ PDF

วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันมาฆบูชา    ผมมีงานด้านการเรียนรู้สองงานในช่วงเช้า    คืองานเปิดนิทรรศการ “ศิลปะสร้างสุข”ของธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับสถาบันศิลปะบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญา กับงานอภิปราย “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” ของกระทรวงศึกษาธิการ

สำหรับโครงการศิลปะสร้างสุข ทางงานกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์ได้ส่งร่างประเด็นให้ผมกล่าวปากเปล่า ดังต่อไปนี้

 

 

ร่างประเด็นคำกล่าวเปิดนิทรรศการ “ศิลปะสร้างสุข”

วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕

เวลา ๐๙.๐๐ น.

ณ ห้องปฏิบัติธรรม และประชุมสัมมนา ชั้น ๒

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

____________________

๑.  โครงการศิลปะสร้างสุข เกิดจากการที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ นำเครือข่ายเยาวชนกล้าใหม่...ใฝ่รู้ (โครงการพัฒนาเยาวชนของธนาคาร) เข้าไปจัดกิจกรรมศิลปะบำบัด ให้กับเด็กนักเรียน โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล

๒.  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ในเด็กกลุ่มพิเศษที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการนำละครหุ่นเงามาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรม

๓.  ภายหลังกิจกรรมดังกล่าว ธนาคารเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะบำบัดเข้ามาพัฒนาศักยภาพของเด็กเพชรบุรีปัญญานุกูลอย่างต่อเนื่อง

๔.  ธนาคารเชิญ คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี (ครูมอส) นักศิลปะในแนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy Art) ซึ่งเป็นการนำเอาศิลปะมาเสริมสร้างและพัฒนาสภาวะภายในบุคคล (ระดับจิตวิญญาณ) ให้มาเป็นวิทยากรและออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนโรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล

๕.   ตลอดปี ๒๕๕๔ คุณอนุพันธุ์ และทีมวิทยากร คุณอภิสิรี จรัลชวนะเพท (ครูอุ้ย)คุณณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก(ครูมัย) ร่วมกันจัดทำโครงการ ศิลปะสร้างสุข  โดยการนำเอางานวาดภาพระบายสี งานดนตรี และ งานปั้น เข้ามาเป็นพื้นฐานในการทำกิจกรรม

๖.  กิจกรรมดังกล่าว ทำให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ถ่ายทอดพลังแห่งการสร้างสรรค์ภายในออกมาให้ปรากฎเป็นภูมิคุ้มกัน เยียวยา สร้างพลังใจ พลังชีวิตให้กับเด็ก ดังปรากฎในงานนิทรรศการครั้งนี้ รวมทั้งจะได้นำไปจัดเผยแพร่ที่ สวนศรี อำเภอหัวหิน และที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

๗.  ขอขอบคุณวิทยากรและทีมงานทุกท่าน  รวมถึงพนักงานไทยพาณิชย์  ที่ผ่านการอบรมและร่วมเป็นพี่เลี้ยงในโครงการ และที่สำคัญที่สุด  ขอขอบคุณ เด็ก ๆ โรงเรียนเพชรบุรีปัญญานุกูล ที่เป็นพลังให้พวกเราได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างความสุขเติมเต็มซึ่งกันและกัน

๘.   ท้ายที่สุด ธนาคารหวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะสามารถพัฒนาให้กลายเป็นโครงการต้นแบบสำหรับงานด้านศิลปะบำบัด ให้กับโรงเรียนปัญญานุกูล ซึ่งมีอยู่ ๔๕ แห่งทั่วประเทศต่อไป

 

การไปประชุมที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯทำให้ผมได้เห็นบรรยากาศวันมาฆบูชาที่หอจดหมายเหตุฯซึ่งมีพิธีเวียนเทียนถึง ๓ รอบและได้ถ่ายรูปมาฝาก

กล่าวเปิดเสร็จ ถ่ายรูปหมู่   แล้วผมรีบขึ้นรถจากหอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ไปยัง อิมแพ็คท์ เมืองทองธานี    เพื่อร่วมอภิปรายเรื่อง “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน”    ที่ผมรับไปร่วมอภิปรายแบบงงๆ เพราะรู้สึกจากการติดต่อ เชิญประชุมว่าทำแบบรวบรัดมาก   เมื่อไปร่วมจึงรู้ว่าเป็นการจัดประชุมเพื่อสนองความต้องการของรัฐมนตรีใหม่   ฟังจากการพูดเข้าใจว่า รมต. มาเปิดงานนี้ด้วย   มีเอกสารการจัดงานดังต่อไปนี้

 

การประชุมปฏิบัติการและสัมมนาเรื่อง

“คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน”

-----------------------

 

หลักการและเหตุผล

การเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งมั่นจะปรับปรุง แก้ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประเทศ ซึ่งเป็นการปฏิรูประบบการจัดการความรู้ของสังคมไทย ทั้งนี้ หัวใจที่สำคัญที่เป็นปัจจัยในจัดการศึกษาที่มุ่งถึงเป้าหมายด้านคุณภาพ คือ คุณภาพของผู้เรียนและคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดจากตัวครู

ด้วยภาระงานของครูในด้านกระบวนการ ขั้นตอนทางวิชาการ ระบบระเบียบทางราชการ และงานที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่หลากหลายแตกต่างกันไป ทำให้การทำงานครูในการศึกษายุคใหม่ มีความยุ่งยากซับซ้อน และมีกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากการควบคุมชั้นเรียนธรรมดา ปัจจุบันได้มีเสียงวิพากษ์จากสังคมว่า “ครูสมัยนี้ไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับเด็กเท่าที่ควร” แนวนโยบายในการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ คือการ “คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” ซึ่งมิใช่ออกคำสั่ง หรือตั้งกฎเกณฑ์บังคับให้ครูต้องหันมาใช้เวลาอยู่กับเด็กในชั้นเรียน แต่เป็นการทำความเข้าใจกับภาระหน้าที่ของครู ความต้องการของผู้เรียน และสภาพความเป็นจริงของการเรียนการสอนในยุคใหม่ที่มิได้กำกัดให้เด็กต้องเรียนแต่ในเฉพาะห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีครูกำหนดให้เท่านั้น

แนวทางการแก้ปัญหาด้านภาระงานของครูที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาด้วยการรับฟังข้อมูลความจริง รับฟังความคิดเห็น และวิพากษ์อภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เรียน และผู้สอน รวมทั้งกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะช่วยให้ข้อคิด ข้อแนะนำในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ข้อสรุปจากการประชุมปฏิบัติการและสัมมนาเรื่อง“คืนครูกลับมาสู่ห้องเรียน” นี้ จะเป็นเสมือนปฏิญญาระหว่างครูกับนักเรียน และสังคม ในการสร้างการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อเด็กที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา

 

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อรับฟังข้อมูล และความคิดเห็น ของทั้งเด็ก และครู รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในด้านการจัดการเรียนการสอน และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองในด้านวิชาชีพครู

๒. เพื่อระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาห้องเรียนขาดครู และลดภาระงานอื่นของครู เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของเด็ก และความคาดหวังของสังคม

๓. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ที่เป็นรูปธรรม สำหรับหน่วยปฏิบัติ

๔. เพื่อประชาสัมพันธ์เจตนารมณ์ของรัฐบาลในการมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษา และสร้างให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและเด็ก ให้เกิดข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนในการจัดการศึกษากับเด็กและสังคม

 

 

-๒-

 

วิธีดำเนินการ

๑. จัดประชุมปฏิบัติการและสัมมนา ระยะเวลา ๑ วัน

๒. มีกำหนดการและประเด็นในการประชุม ดังนี้

 

เวลา ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น.          ลงทะเบียน

เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.          พิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการและสัมมนา

เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.          เวทีสัมมนาเรื่อง “ทำอย่างไรครูจึงจะกลับสู่ห้องเรียน”

อภิปรายโดย     - ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

- ศาสตราจารย์กิตติคุณ  ดร.สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์

- รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์  จิตระดับ

- ดร.พิษณุ  ตุลสุข

- ดร.สุภาวดี  วงษ์สกุล

- นายเฉลิมชัย วัดเข้าหลาม

ดำเนินการอภิปรายโดย   ดร.ดิเรก  พรสีมา

(รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างอภิปราย)

เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          เวทีสัมมนาเรื่อง “ภาระหน้าที่ของครู ความคาดหวัง และสภาพความ

เป็นจริงของการเรียนการสอนในชั้นเรียน

อภิปรายโดย     - ผู้แทนครู/อาจารย์ จาก สพฐ. สช. กศน. สอศ. และ

สกอ.  จำนวน ๕ คน

- นักเรียน/นักศึกษา จากสพฐ. สช. กศน. สอศ. และ

สกอ.จำนวน ๕ คน

ดำเนินการอภิปรายโดย   รศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี

หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

 

-๓-

๓. กลุ่มเป้าหมาย ๒๐๐ คน ได้แก่

- วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๗ คน

- ครู และผู้บริหาร รวมทั้งนักการศึกษา จำนวน ๕๐ คน

- นักเรียน จำนวน ๑๐๐ คน

- ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ ๕๐ คน

 

๔. วันเวลา และสถานที่

วันพุธที่ ๗มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น.– ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมฟินิกซ์ ๑-๒ ฮอลล์ ๑  อาคารชาเลยเจอร์ เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้สรุปแนวทางในการดำเนินนโยบาย และดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และวิธีการดึงครูกลับสู่ห้องเรียน

๒. เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งเกิดข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กและการพัฒนาคุณภาพการสอนของครู

๓. เป็นการประชาสัมพันธ์ แนวนโยบายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของรัฐบาล และสร้างความตระหนัก ความร่วมมือในการดำเนินนโยบายด้านการศึกษา

 

ฝ่ายเลขานุการ

ผู้จดบันทึกและสรุปผลการประชุม

๑. ดร.สมคิด สกุลสถาปัตย์

๒. นายสุนทร  คล้ายสุบรรณ

๓. นางอรวรรณ กัลปดี

๔. นางนิศรา  โภชากรณ์

๕. นางวราภรณ์ คุรุเวชสมบูรณ์

 

ผมไปถึงห้องประชุม เวลา ๑๐ น. วิทยากรในการอภิปรายท่านแรก คือ รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ อภิปรายไปได้ครึ่งทางแล้ว    การอภิปรายมี ดร. ดิเรก พรสีมา เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย   ผู้ร่วมอภิปรายมี ศ. ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รศ. ดร. สมพงษ์ จิตระดับ, ดร. พิษณุ ตุลสุข (รองเลขาธิการ กพฐ.), ดร. สุภาวดี วงษ์สกุล (ผอ. รร. สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต), นายเฉลิมชัย วัดข้าวหลาม (ครู รร. ราชวินิตประถม)  และผม

ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน iPad ที่ผมบันทึกประกอบการคิด และความจำของผม   ส่วนที่มีดอกจันทน์นำหน้าสองดอกคือส่วนความคิดที่ผุดขึ้นระหว่างฟังผู้อื่นพูด   และบางส่วนผมนำมาเป็นประเด็นอภิปราย

 

คืนครูสู่ห้องเรียน

สมพงษ์จิตระดับ

4. กระจายอำนาจให้รร.ให้คุณตามผลงาน

5. มีcoaching guideline แก่ศึกษานิเทศก์ฝึกอบรมครู

6. ทำหลักสูตรใหม่ของเดิม 2540 ล้าสมัยสอนปวศ. ให้มีอคติต่อปทเพื่อนบ้่านการวัดผลทำให้อ่อน

สรุป

ลด paper work

ทำให้ครูผู้บริหารรับผิดรับชอบ

 

สมหวัง

- แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างวิชาชีพครูให้ได้ค่าตอบแทนเท่าอจมหาฯ

- คนเข้าครูพันธุ์ใหม่

- กระจายอำนาจให้รับผิดรับชอบโดยมีการทดสอบมาตรฐาน

2517 ยกเลิกสอบมาตรฐานให้รรสอบเองแบบมหาฯ

 

John Hattie ว่าปัจจัยสำคัญ๓อย่าง

คุณภาพของครูการพัฒนาครูไม่เอาครูไปฝึกอบรมระหว่างภาคเรียน

กก. สถานศึกษากระจายอำนาจให้

ครูเป็นผู้กระตุ้นการรร.

รร. กลายเป็นโรงกวดวิชาติว

 

ดิเรก

ทำอย่างไรให้ครูอยู่กับนร.

**(1) หัวใจคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคุณภาพที่ตรงตามยุคสมัย  Skills, PBL, PLC  รร. ลำปลายมาศพัฒนาครูวิเชียรไชยบังกระบวนการเรียนรู้

(2) วิธีการให้เกืดผลทั้งปท. ใช้ KM

 

เฉลิมชัยวัดข้าวหลาม

เป็นครูมาแล้ว๒๓ปี

จาก social media สังคมออนไลน์ถามความเห็นตามหัวข้อการอภิปรายเด็กๆตอบว่าอย่ามายุ่งกับครูให้ครูได้สอนเด็ก

สวล.  สร้างครูดีเก่ง

ประเมินสมศ. ผ่านสอบ ONET ตกเพราะเด็กไม่เห็นความสำคัญอย่างไรก็เรียนต่อได้

อาชีพครูระบบง/ดที่เอื้อต่อการตั้งตัวในช่วงแรกๆที่ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจสังคมเงินนิยมครูไม่ประจบสอพลอความยุติธรรมรร. เปนระบบเผด็จการการประเมินไม่ตามผลงานให้ผลดีแก่คนใกล้ชิด

ตัวครูครูหาง่ายครูหายาก

การไปอบรมพัฒนาตนเองอย่าให้เป็นช่วงสอน

ระบบการจัดการครู

 

ดิเรก

ตอบให้ได้ว่าครูอยู่กับนร.ครูได้อะไรผอ. ต้องอยู่กับครูด้วย

 

ดร.สุภาวดีวงษ์สกุลผอ.รร. สวนกุหลาบวิทยาลัยรังสิต

ปี๔๔ย้ายมาเปนผอ.รร.สายปัญญารังสิตนร.ด้อยโอกาสหลังจากนั้น๕ปีรรได้คะแนน ONET ที่๑ของจังหวัดปทุมธานีปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยการจับครูสอบ ONET ใครได้ไม่ถึง 70% ต้องรับการอบรม

ปัญหาไม่มีการประเมินที่แท้จริงการให้ความดีความชอบไม่สะท้อนความเป็นจริง

ไม่มีใครดูแล

คนรับผิดชอบไม่ชัดเจนหรือเปล่า

อบรมกลับไปทำไม่ได้ไม่เชื่อว่าเอาครูอายุ๕๐ไปอบรม๓ - ๕วันจะแก้ได้เชื่อในน้ำใหม่

ICT เป็นยาขมหม้อใหญ่ของครู

จ้บตรงไหนก็พันกันหมดตนโทษอุดมศึกษา

ตนจ้างคนรุ่นใหม่มาสอนคอมพ์เปนผชครู  **ICT รร.บางละมุงครูชัฏตระกูลสินทอง

ครูเก่ามีค. มาก

ทรัพยากรไม่ตรงความต้องการของรร.เพราะรวมศูนย์

ตนหาเงินมาให้รางวัลผลงานตาม ONET

กวดวิชามีการออกข้อสอบเป็นเหตุ

หาตัวช่วยครูจ้างนร. ช่วย

ฝึกครูที่มีจิตวิญญาณ

 

ดร. พิษณุตุลสุขรองเลขาธิการกพฐ.

ตนผ่านหน้าที่ต่างๆมาตั้งแต่เป็นครูสอน

ต้องร่วมกัน๓ฝ่ายคือรัฐเอกชนอปท.

สพฐ. รับผิดชอบเด็ก 67%

ใน๑๐ปีครูเกษียณ๒แสนต้องการครูพันธุ์ใหม่ไปทดแทนเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลง

 

กองเอกสารสูงขึ้นผลสัมฤทธิ์ลดลง

นโยบายต้องต่อเนื่องกระจายอำนาจรับผิดรับชอบ

 

**คุณค่าของการเป็นครู

- ได้กู้เงินเป็นหนี้แล้วจะมีนักการเมืองมาแก้

- งานสบายไม่ทำงานก็ได้

- การได้จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจได้ปิติสุขจากการได้เห็นความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ครูเรฟ (ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ)

**ระบบครูที่เป็นระบบเปิดไม่ใช่ระบบปิดสอบทักษะที่ต้องการไม่ใช้เน้นประกาศนียบัตร

**ปรับปรุงให้ครบทั้งระบบ

**วิธีสอนแบบเก่าเป็นตัวสร้างปัญหา

**การสอบแบบเก่าสร้างปัญหา

**ปัญหาสังคมทั้งหลายคือตัวป้อนแก่การพัฒนาระบบการเรียนรู้

**McKinsey

 

Commentจากผู้ฟัง

ขอให้เพิ่มเวลาในการเรียน (ผอ. สุภาวดีบอกผมว่าผู้เสนอเป็นนักเรียนกศน.)

 

รอบ๒

สมพงษ์

วงจรซ้ำซากต้องการผู้กล้าลงมือทำ

การเมืองห่วงคะแนนเสียง

ครูรายได้ดีแล้ว

นโยบาย top down ต้องมีกลไกเสริมช่วยให้ทำได้

ปฏิรูปหลักสูตร

 

สมหวัง

๑ทบทวนระบบเลื่อนชั้นอัตโนมัติ

๒กระจายอำนาจ

๓ผลิตครูสกวท.,ครูพันธุ์ใหม่

๔ประเมินครูคุณภาพอย่างจริงจังสู่การผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์

 

เฉลิมชัย

ต้องปรับปรุงสวล. 50   ครู 50

สถาบันผลิตครูเอาใจใส่การฝึกงานครูมีจิตสำนึกมีแรงบันดาลใจลงมือทำ

 

สุภาวดี

อัตราจ้าง

ฝ่ายต่างๆเลิกมาเอาครูออกจากห้องเรียน

 

 

**เวลาเรียนvsคุณภาพการเรียน

**ต้องทำในหลายระดับในหลายบริบท

**เพื่อการปป. :  ค. ปฏิบัติ>คทฤษฎี

**provider - purchaser split แบบระบบสุขภาพ

 

พิษณุ

ผ่านสื่อ

เสนอรมต.

แก้หลักสูตรกศ. พฐ. ปี๕๑เรียนครึ่งวันทำกิจกรรมครึ่งวัน

แก้ระเบียบข้าราชการครูให้อำนาจรร.

กศธ. แก้ปัญหาแบบองค์รวมผลิตครูพันธุ์ใหม่ระบบเปิด

สัดส่วนเรียนอาชีวะจาก 30 -> 60%

 

ดิเรก

รองปลัดฯสมบัติจะรวบรวมเสนอรมต.

 

การอภิปรายมุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการกระจายอำนาจแก่โรงเรียนให้มีอำนาจจัดการทรัพยากรอย่าให้มีคำสั่งหรืออำนาจภายนอกไปดึงครูออกมาจากห้องเรียนให้การตอบแทนโรงเรียนและครูตามผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักเรียนโดยต้องมีการทดสอบกลางเป็นตัวมาตรฐาน

ผมเสนอความเห็นรอบแรก (๑๐ นาที) ๒ ประเด็นคือ (๑) หัวใจคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคุณภาพที่ตรงตามยุคสมัยที่ยุคปัจจุบันต้องเรียนให้ได้ทักษะที่เรียกว่า 21st Century Skills   และเนื่องจากต้องเรียนให้เกิดทักษะ ต้องเรียนโดยลงมือทำ เน้นเรียนแบบ PBL   และครูก็ต้องเรียนการทำหน้าที่ครูโดย PLC ผมบอกว่าตัวอย่างจริงมีที่รร. ลำปลายมาศพัฒนาครูวิเชียรไชยบังและผมก็ได้เขียนหนังสือ วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ออกเผยแพร่ (๒) วิธีการให้เกิดผลทั้งประเทศอย่างกว้างขวางใช้ KMคือหาตัวอย่างการดำเนินการที่บรรลุผลตามแนวที่ต้องการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับผ่านการนำตัวอย่างดีๆไปปรับใช้แล้วนำผลมาลปรร.กันรอบแล้วรอบเล่าโดยตัวอย่างดีๆเหล่านี้ต้องได้รับการยกย่องและให้ผลประโยชน์ ให้ทรัพยากรสนับสนุนให้ได้ทำงานเกิดผลดีต่อนักเรียนตามจินตนาการของเขา

ในรอบที่สอง (๑๕ นาที) ผมเสนอเรื่อง (๑) คุณค่าของการเป็นครูคือการได้เห็นการเจริญก้าวหน้า ของศิษย์โดยให้อ่านหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบหรือดู YouTube โดยค้นด้วยชื่อ RafeEsquithชีวิตของครูแบบนี้เป็นชีวิตที่มีคุณค่าสูงยิ่ง    (๒) เสนอให้ระบบครูเป็นระบบเปิดทั้งเปิดเข้าและเปิดออกให้คนดีและเก่งมีทักษะเหมาะสมต่อการเป็นครู (วัด/สอบ) เข้าได้โดยไม่ปิดกั้นด้วยคุณวุฒิปลอมๆและเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาเป็นครูแล้วไม่ชอบไม่เหมาะได้ออกไปตัวกรองของระบบคือผลงาน    (๓) วิธีสอนแบบเก่าการสอบแบบเก่าเป็นตัวสร้างปัญหาต้องเปลี่ยนจากสอบเน้นได้-ตก (summative)  เป็นเน้นสอบเพื่อการปรับปรุง (formative)

 

วิจารณ์ พานิช

๗ มี.ค. ๕๕

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/483987

 


หน้า 468 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5643
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8742078

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า