Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ชีวิตที่พอเพียง : 2991 ขบวนการ 2/3 ร่วมฟูมฟักพัฒนาเยาวชนของชาติ

พิมพ์ PDF

ผมลองทดสอบแนวคิด “ขบวนการ 2/3” เพื่อร่วมฟูมฟักพัฒนาเยาวชนของชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ในการประชุม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยกระดับความรู้ เรื่องการพัฒนาพลเมืองเยาวชน” ของมูลนิธิ สยามกัมมาจล    และพบว่า แนวคิดนี้ได้รับการบอมรับอย่างดีและมีพลัง    ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นการนำเสนอ ในกลุ่ม “คนคอเดียวกัน” ก็เป็นได้     


แนวคิดนี้มาจากการอ่านหนังสือ Finnish Lessons 2.0 ที่เขียนโดย Pasi Sahlberg อย่างพินิจพิเคราะห์


อาศัยหลักฐานสองชิ้นในหนังสือเล่มนี้ คือ


  • โรงเรียนส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของเพียงหนึ่งในสามของผลสัมฤทธิ์ทั้งหมด   สาระอยู่ใน หนังสือฉบับแปล ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์หน้า ๒๖๗ - ๒๖๘   โดยผมขอคัดลอกมาส่วนหนึ่งดังนี้    “นับตั้งแต่รายงานของโคลแมนออกเผยแพร่ในปี 1996  ก็มีผลการศึกษาวิจัยจำนวนหนึ่ง ช่วยยืนยันข้อสรุปที่ว่า ความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้น จากเหตุปัจจัยภายนอกโรงเรียน เช่น การศึกษาและอาชีพของพ่อแม่ อิทธิพลจากเพื่อน และคุณลักษณะของนักเรียนแต่ละคน   ต่อมาอีกราว ๕๐ ปีให้หลัง    งานวิจัยที่ศึกษา สาเหตุที่จะช่วยอธิบายคะแนนสอบของนักเรียน ก็ให้ข้อสรุปว่า  ความผันแปรของ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมีเพียง ๑๐ - ๒๐ เปอร์เซนต์เท่านั้นที่เกิดจากปัจจัยในห้องเรียน ซึ่งก็คือครูและการสอนของครู   ส่วนปัจจัยภายในโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศภายใน โรงเรียน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และภาวะผู้นำ ก็ส่งผลให้เกิดความผันแปร ในตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน   อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า  สองในสามของตัวแปรที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อยู่เหนือความควบคุมของโรงเรียน”
  • ผลสัมฤทธิ์อีกสองในสาม มาจากกิจกรรมของ “ภาคส่วนที่สาม”  ซึ่งผมตั้งชื่อว่า “ขบวนการ 2/3”  แต่น่าเสียดายที่สาระส่วนนี้ซ่อนอยู่ในหัวข้อ สอนน้อย เรียนรู้มาก    เป็นส่วน ขยายความว่า เมื่อโรงเรียนเลิกชั้นเรียนตอนบ่ายสองโมง แล้วหลังจากนั้นเด็กนักเรียน ไปทำอะไร    ผมขอคัดลอกข้อความ ในหนังสือ หน้า ๑๙๔ -  ๑๙๕ ดังต่อไปนี้


“นักเรียนฟินแลนด์ใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนในแต่ละวันน้อยกว่านักเรียนในอีกหลายประเทศ  ถ้าเช่นนั้น  หลังเลิกเรียน เด็กๆ ไปทำอะไรกัน?   โดยหลักการ นักเรียนสามารถกลับบ้านได้ ในตอนบ่าย   เว้นแต่โรงเรียนจะจัดกิจกรรมอะไรให้ทำ    โรงเรียนประถมศึกษาต้องจัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนสำหรับเด็กเล็ก   และโรงเรียน ก็ควรมีชมรมทางวิชาการหรือสันทนาการให้นักเรียนชั้นที่โตกว่า   สมาคมเยาวชน และสมาคมกีฬาหลายแห่งของฟินแลนด์มีส่วนสำคัญมากในการหยิบยื่นโอกาส ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในองค์รวม    สองในสามของนักเรียนอายุ ๑๐ ถึง ๑๔ ปี   และนักเรียนอายุ ๑๕ ถึง ๑๙ ปีเกินกว่าครึ่ง สังกัดอยู่กับสมาคมเยาวชนหรือสมาคมกีฬาอย่างน้อยหนึ่งสมาคม   เครือข่ายของสมาคม ที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐเหล่านี้เรียกว่า ภาคส่วนที่สาม (Third Sector)   พวกเขามีส่วนอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมและพัฒนาการ เฉพาะบุคคลของเยาวชนฟินน์  และนับว่ามีคุณูปการอย่างสูงต่องานด้านการศึกษา ของโรงเรียนฟินแลนด์ด้วย”

 ผมชี้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาพลเมืองเยาวชนเห็นว่า ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลร่วมงานนี้ กับภาคีมา ๘ ปี เป็นหน่ออ่อนของการพัฒนา “ขบวนการ 2/3” ที่จะเข้าไปร่วมกัน สร้างระบบ 2/3    และหากประเทศไทยไม่พัฒนาระบบ 2/3 นี้ให้เข้มแข็ง    คุณภาพของเยาวชนไทยจะตกต่ำ    คุณภาพของพลเมืองไทยก็จะต่ำ    ประเทศไทยจะไม่มีทางบรรลุ Thailand 4.0 ได้


วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ค. ๖๐

คัดลอกจาก https://www.gotoknow.org/posts/635072

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2017 เวลา 13:15 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง 3078a. ใกล้จุดจบเข้าไปอีก ๑ ปี

พิมพ์ PDF

"ช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในสภาพ “ไม่แน่นอน” ในหลากหลายด้าน ที่ค่อนข้างแน่คือ เราจะตกขบวนการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูง สังคมดี ไปอีกนาน เพราะปัญหาคุณภาพคน และระบบที่ตกยุคในหลายระบบ สภาพวิกฤตดังกล่าว เป็นโอกาสของคนแก่อย่างผม ที่จะทำงานให้แก่สังคม โดยการเสนอความเห็น (และบางส่วนเข้าไปร่วมทำ) ตามกำลังความสามารถ และตามที่โอกาสอำนวย"


ชีวิตที่พอเพียง  3078a. ใกล้จุดจบเข้าไปอีก ๑ ปี

สำหรับคนแก่ การใคร่ครวญในวันปีใหม่ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเจริญมรณานุสติ    เพราะคนอายุเลย ๗๕ ไปแล้วอย่างผม “จะตายวันตายพรุ่งมิรู้ที่”    ยิ่งผมได้รับสัญญาณเตือนจากสาวน้อยคู่ชีวิต ที่สุขภาพเสื่อมโทรมลงไปมาก    จากพยาธิทางสมองที่เรียกว่าโรค vascular dementia    ทำให้มีอาการหลงลืมและคุมอารมณ์ได้ยาก    ซึ่งหากมองเชิงบวก ก็ช่วยให้ผมได้เรียนรู้กลไกทางสมองเพิ่มขึ้นอีกมาก    แต่มองเชิงลบก็ทำให้ชีวิตของผมยากลำบากขึ้น   มีเวลาของตัวเองลดลง    แต่นี่คือวงจรชีวิตของมนุษย์

ที่จริงในช่วง ๓๖๕ วันของปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ผมสนุกสนานกับการเรียนรู้ด้านการศึกษา  กลไกการเรียนรู้  การจัดการ  การกำกับดูแล  และการทำงานสาธารณประโยชน์ อย่างที่กล่าวได้ว่าชีวิตยุ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่มีวันว่างเลย    โดยที่การทำงานเหล่านี้เป็นความสนุก และรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า    เป็นการทำงานเพื่อสังคมโดยไม่มีตำแหน่งหรืออำนาจ    และไม่มีค่าตอบแทนเป็นลาภ ยศ และสรรเสริญใดๆ    ทำให้นอกจากได้ความรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า ยังรู้สึกเบาสบายอีกด้วย 

ท่านที่ติดตาม บล็อก Gotoknow ที่ผมเขียนในปีนี้    จะเห็นว่าผมไปเที่ยวต่างประเทศหลายครั้ง    โดยที่ทุกครั้งผูกอยู่กับการไปทำงาน/ประชุม   ที่จริงมีคนมาชวนไปประชุมอื่นหลายครั้งในอีกหลายประเทศ    แต่เนื่องจากไม่ได้วางแผนไว้ยาวพอ   จึงตรงกับช่วงที่ผมมีนัดแล้ว และไม่อยากผิดนัด    จึงพลาดโอกาสไปเรียนรู้ในประเทศที่ผมไม่ค่อยมีโอกาสไป เช่น จีน   

คนที่ชอบอ่านหนังสือ ชอบค้นคว้าหาความรู้อย่างผม ชีวิตช่วงนี้สนุกมาก    เพราะเทคโนโลยี ไอที ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ    เจ้าเทคโนโลยีนี้แหละที่จะสร้าง disruptive change ขึ้นมากมายหลากหลายด้านในอนาคตอันใกล้    จะก่อความยากลำบากแก่องค์กร และคนที่ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง    ชีวิตของผมเป็นขาลงและมั่นคงพอสมควรแล้ว จึงเบาใจ

เรียนรู้จากลูกและลูกเขย พอจะเห็นว่า สังคมมนุษย์ในโลกเรายิ่งนับวันยิ่งมีช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น   ซึ่งผมตีความว่าเกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ของระบบที่มนุษย์กำหนดขึ้น    เนื่องจากกลุ่มผู้กำหนดอยู่ในฐานะได้เปรียบ จึงย่อมกำหนดกติกาต่างๆ ให้เอื้อต่อพวกตน    ผมเคยอ่านจากวารสารเมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้วว่า    ยุคใดก็ตามที่ความมั่งคั่งไปกระจุกอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อยมากเข้าๆ    กลียุคจะตามมา   

หากมองคนในครอบครัวผม เราอยู่ในกลุ่มคนที่ได้เปรียบสังคม   เพราะโชคดีมีการศึกษาสูง    และมีแวดวงกว้างขวาง     ผมพร่ำบอกลูกๆ ว่าคนที่ได้จากสังคมมากอยู่แล้ว ต้องให้แก่สังคมให้มาก   ต้องตระหนักว่า เราต้องเอื้อเฟื้อ เห็นอกเห็นใจ ต่อคนที่ยากลำบากกว่าเรา    แม้เราจะไม่ได้ร่ำรวยล้นเหลือก็ตาม

การฝึกลีลาชีวิตที่เรียบง่าย และประหยัด   ช่วยให้ชีวิตยามไม่มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ อยู่ได้สบาย    ผมเล่าให้คนใกล้ชิดฟังว่า โชคดีที่หมู่บ้านสิวลีติวานนท์ที่ผมอาศัยอยู่ อยู่ใกล้หมู่บ้านเอื้ออาทร    ผมเดินไปซื้อกับข้าวถุง ราคาถุงละ ๒๕ บาท แบ่งกินได้ ๒ มื้อ      

ปีใหม่ ๒๕๖๑ นี้ กรุงเทพอากาศดี   บ้านผมอยู่แถวปากเกร็ด ตอนเช้าอุณหภูมิ ๒๔ องศา    ตอนบ่ายขึ้นไปเพียง ๓๐ องศา  แต่มีลมพัดโชยทำให้รู้สึกสบาย   

ช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในสภาพ “ไม่แน่นอน”    ในหลากหลายด้าน   ที่ค่อนข้างแน่คือ เราจะตกขบวนการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูง สังคมดี ไปอีกนาน   เพราะปัญหาคุณภาพคน   และระบบที่ตกยุคในหลายระบบ   สภาพวิกฤตดังกล่าว  เป็นโอกาสของคนแก่อย่างผม ที่จะทำงานให้แก่สังคม   โดยการเสนอความเห็น (และบางส่วนเข้าไปร่วมทำ) ตามกำลังความสามารถ   และตามที่โอกาสอำนวย

ขออำนวยพรให้ท่านผู้อ่านประสบความสุขความเจริญ ในทุกๆ ด้าน  ตลอดปี ๒๕๖๑ เทอญ

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ธ.ค. ๖๐


บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย  ใน KMI Thailand

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2018 เวลา 15:58 น.
 

คนของพระราชา สิริกร ลิ้มสุวรรณ

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2016 เวลา 11:53 น.
 

"คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั

พิมพ์ PDF

"คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงกำลังสูญหายไปตลอดกาลหากยังไม่มีใครตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญแห่งคำสอนนั้น..."


ทุกคนควรตระหนักว่า  หนทางเดียวที่จะแสดงความเคารพต่อครูก็คือ เรียนรู้จากพระองค์เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปข่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่เพียงแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน...


...หากคนทุกช่วยกันเก็บรักษาเจตนารมย์อันแรงกล้าและคำสอนของพระองค์เอาไว้ให้อยู่สืบต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน ผมเขื่อเหลือเกินว่า พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของทุกคนพระองค์นี้จะอยู่ในหัวใจคนไทยตลอดกาล"


ฝรั่งคนนี้เป็นใครยังไม่ได้สืบค้นแต่หลายคำของเขานั้นมีคุณค่าน่าเอามาใส่ใจ


บัดนี้ สิ่งที่เขาเตือนคนไทยมาหลายปีนั้น ปรากฎชัดว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ เช่น หลายประเทศในโลก เห็นคุณค่าของในหลวงและสิ่งที่พระองค์คิด และสิ่งที่พระองค์ทำ แม้กระทั่งองค์การสหประชาชาติก็ยกย่องสดุดีพระองค์ท่าน


ในไม่ช้านี้ คำเตือนของเขาอีกหลายอย่างก็คงจะเกิดขึ้นตามมา


น่าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่เราควรช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันสืบทอด ช่วยกันบำรุงรักษา หรือพัฒนาพระราชมรดกที่พระราชทานไว้ให้แก่สังคมเราสืบต่อไปได้อย่างไร 


ภัทระ คำพิทักษ์ เรียบเรียงจากบทความเรื่อง เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว โดย ศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส (Prof.Manfred Krames) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Lips ปีที่ 4 ฉบับที่ 16 วันที่ 6 สิงหาคม 2552

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2016 เวลา 15:44 น.
 

พระเจ้าอยู่หัว "แดนศิวิไล"

พิมพ์ PDF

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 02 ธันวาคม 2016 เวลา 18:15 น.
 


หน้า 556 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8606253

facebook

Twitter


บทความเก่า