เนื้อหาในเล่มนี้ ได้นําเสนอความยากจนของครัวเรือนชาวนาในบริบทเชิงพลวัต โดยอาศัย ข้อมูลการสํารวจครัวเรือนชาวนาในปี 2531 และปี 2552 มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยมีกรอบ แนวคิดว่า คนจนไม่ได้จนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อเวลาผ่านไป คนจนอาจก้าวพ้นปัญหาความ ยากจนที่เคยเผชิญอยู่ได้ แต่ในอีกลักษณะหนึ่งคนที่ไม่ได้เป็นคนจนในเวลาหนึ่งแต่กลับต้องเผชิญกับ ปัญหาความยากจนเมื่อเวลาผ่านไป การสร้างข้อความรู้เพื่อการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ดังกล่าว จะทําให้เข้าใจถึงสาเหตุของการที่บุคคลต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนของครัวเรือน ชาวนาได้ดียิ่งขึ้น
พลวัตของความยากจน
รายงานผลการวิจัยเรื่องพลวัตของความยากจน ซึ่งอ่านหรือดาวน์โหลดได้ ที่นี่ ประกอบกับคำวิจารณ์ ของ ศ. ดร. อารยะ ปรีชาเมตตาที่นี่ ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับความยากจนในประเทศไทยดีมาก จึงนำมาเผยแพร่ต่อ จะเห็นว่า ยังมีโอกาสทำงานวิจัยเรื่องความยากจนในสังคมไทยได้อย่างมากมาย
ขอเพิ่มเติมว่า ในวงการระบบสุขภาพไทย เราเน้นสร้างระบบประกันสุขภาพ ที่ช่วยป้องกันวิกฤติชีวิตหรือความล้มละลายทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากความเจ็บป่วย
วิจารณ์ พานิช
๑ พ.ย. ๕๖