คุณหมอโกมาตรให้ความหมายว่า “กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกซึ้ง ผ่านประสบการณ์ตรงที่สร้างสำนึกใหม่ และเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจโลก และความสัมพันธ์ทางสังคม มีความตื่นรู้ มีสมดุลของชีวิต มีทักษะในการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนย้อนคิด (reflection) มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างทีมสุขภาวะเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข”

 

ในการประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพสุขภาพให้สอดคล้องกับ ความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย เมื่อวันที่ ๕ ก.พ. ๕๗   คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ทักท้วง ความหมายของคำว่า Transformative Learning ที่วงการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพใช้กันอยู่ในปัจจุบัน     ว่าหมายถึงการเรียนรู้สู่ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) นั้น ไม่ตรงกับนิยามสากล  ที่มีผู้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลา ๒๐ ปี

คุณหมอโกมาตรให้ความหมายว่า กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกซึ้ง   ผ่านประสบการณ์ตรงที่สร้างสำนึกใหม่ และเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์   ก่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจโลก และความสัมพันธ์ทางสังคม    มีความตื่นรู้ มีสมดุลของชีวิต มีทักษะในการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนย้อนคิด (reflection) มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ    เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างทีมสุขภาวะเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข

โชคดีที่ผมบันทึกเสียงไว้ จึงได้นิยามของคำว่า Transformative Learning ตรงจากปากของนัก มานุษยวิทยาทางการแพทย์ คือคุณหมอโกมาตร    ที่ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงท่าทีพอใจ    ประธานคือคุณหมอสุวิทย์ บอกว่า น่าจะมีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ Julio Frenk ว่านิยาม Transformative Learning ของไทยเป็นอย่างนี้

ท่านเอ่ยชื่อ Merzirow    ผมจึงลองค้น กูเกิ้ล ด้วยคำว่า Transformative Learning ได้คำอธิบายใน วิกิพีเดีย ที่นี่ จะเห็นว่าคำว่า Transformative Learning หมายถึงการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (Fundamental Change) ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย