Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๐. การทำหน้าที่ “ครูฝึก”

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๐ และ ๑๑ มาจากบทที่ 5  What Kind of Practice and Feedback Enhance Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการเป็น “ครูฝึก” ที่ดีของครู  วิธีใช้เวลาที่มีจำกัด ในการฝึก นศ. และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นศ. ให้ฝึกฝนเรียนรู้ อย่างได้ผลแท้จริง  ไม่หลงใช้วิธีการผิดๆ

นศ. มีเวลา และความสามารถทางสมองจำกัด  แต่ครูก็สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้  คือเป้าหมายของหนังสือบทนี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  บทนี้ว่าด้วยวิธีที่ครูช่วยให้ นศ. “Learn smarter” นั่นเอง


การฝึกปฏิบัติ และการให้คำแนะนำป้อนกลับ


 

 

 

การจัดโจทย์สำหรับการฝึกปฏิบัติที่ดี และการให้ข้อมูลป้อนกลับที่ดี  คือการช่วยให้ นศ. ฝึกทักษะแบบลงทุนน้อย ได้ผลมาก  นี่คือหน้าที่ของ “ครูฝึก”

จากรูปข้างบน การฝึกปฏิบัติที่ดีต้องมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุชัดเจน วัดหรือรู้สึกได้  ระหว่างฝึกมีการประเมินสมรรถนะอยู่ตลอดเวลา  มีการนำผลประเมินป้อนกลับมาสร้างความมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมาย  และสร้างปิติสุขเมื่อบรรลุ  สภาพเช่นนี้เป็นวงจรยกระดับเป้าหมายสมรรถนะที่สูงขึ้นๆ จน “รู้จริง”


การฝึกปฏิบัติมีทั้งวิธีที่ดี และวิธีที่เลว

 

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร

ขยันฝึก แต่ไม่ได้อะไร เป็นสภาพของกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนนำมาเล่าเป็นคำพร่ำบ่นของศาสตราจารย์ผู้หนึ่ง  ที่ให้ นศ. “เรียนโดยลงมือทำ”  แต่เวลานำเสนอผลงาน นศ. เน้นที่การทำ slide presentation ที่สวยงาม มีลูกเล่นแพรวพราว  แต่สาระที่นำเสนอตื้นเขิน  แนะนำทีไร ผลก็ได้เหมือนเดิมทุกที ไม่มีการยกระดับเป้าหมาย

เพราะขยันฝึกแต่สิ่งที่ตนทำได้ดีอยู่แล้ว และไม่ใช่ทักษะหลักที่ต้องการ  ทักษะหลักที่ต้องการส่วนที่ต้อง “รู้จริง” มันลึกและยาก  นศ. จึงเลี่ยง เอาทักษะผิวเผินและไม่ยาก มาบังหน้า

ผมเห็นสภาพนี้เต็มไปหมด ในสังคมไทย  โดยเฉพาะในวงการศึกษา


การฝึกปฏิบัติที่ถูกต้อง

การฝึกปฏิบัติที่ให้ผลเรียนรู้และพัฒนาทักษะ/สมรรถนะ ได้ดีที่สุด ต้องมีลักษณะครบ ๓ ประการ คือ  (๑) เน้นหรือพุ่งเป้าไปที่เป้าหมายหรือทักษะจำเพาะ  (๒) มีเป้าหมายพัฒนาทักษะเพิ่มจากที่ นศ. มีอยู่แล้ว ในระดับความท้าทายที่พอเหมาะ  (๓) มีการฝึกนานพอเหมาะ และบ่อยพอเหมาะ เพื่อการบรรลุทักษะ/สมรรถนะ เป้าหมาย


พุ่งเป้าการฝึกไปที่เป้าหมายหรือเกณฑ์ความสำเร็จที่จำเพาะ และชัดเจน

ผลการวิจัยบอกว่า การฝึกฝนมีหลายแบบ  แบบที่จะนำไปสู่ความพากเพียรพยายาม ฝึกฝนต่อเนื่องเรียกว่า การฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ซึ่งหมายความว่า นศ. มีเป้าหมายของตนชัดเจนว่าการฝึกขั้นตอนนี้ต้องการบรรลุอะไร  รู้ได้อย่างไรว่าบรรลุ  เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การฝึกทักษะขั้นสูงอะไรต่อไป  โดยรู้ว่าเป้าหมายสุดท้ายคืออะไร

ครูต้องช่วยให้ นศ. ฝึกโดยเข้าใจเป้าหมายของการฝึกเป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้   หลายกรณี ครูเข้าใจผิดว่าตนบอก นศ. ชัดเจนแล้ว  แต่ชัดเจนสำหรับครู ไม่ชัดเลยสำหรับศิษย์  การฝึกจึงเปะปะไร้ความหมายสำหรับศิษย์

เป้าหมายเป็นตัวให้พลังในการพุ่งเป้าความพยายาม  ไม่ว่าทำอะไร เราควรฝึกตัวเองให้ทำอย่างมีเป้าหมายเสมอ  จะช่วยให้ทำได้ดีกว่าปกติ  เวลาผมอ่านหนังสือ ผมจะใช้วิธี “ถามหนังสือ”  ไม่ใช่อ่านไปเรื่อยๆ  การ “ถาม” เป็นการกำหนดเป้าหมายนั่นเอง

ทักษะของครู ในการทำให้ศิษย์มีความชัดเจนของเป้าหมายของการฝึกแต่ละขั้นตอน จึงมีความสำคัญยิ่ง  ยิ่งให้ นศ. ได้เข้าใจการฝึกตอนต่อๆ ไปข้างหน้า อีก ๒ - ๓ ขั้นตอน  และเข้าใจว่า ขั้นตอนเหล่านั้นจะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ของ นศ. อย่างไร  นศ. จะยิ่งมีกำลังใจและมีพลังในการฝึก   ซึ่งหมายความว่า ครูต้องรู้เป้าหมายในชีวิตของ นศ. แต่ละคน  และทำให้เป้าหมายของการฝึกเล็กๆ นั้น เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายทักษะ/สมรรถนะ ชุดใหญ่  ที่จะปูทางไปสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของชีวิตของ นศ. แต่ละคน

อ่านและตีความหนังสือมาถึงตอนนี้  ผมคิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน และในชีวิต  และทำให้ผมคิดถึงครูเรฟ ผู้เขียนหนังสือครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ  ซึ่งดูวิดีทัศน์แสดงวิธีสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิษย์วัย ๑๐ ขวบ ใน YouTube ได้ที่นี่

ถ้อยคำ (ทั้งที่เป็นข้อเขียน และเป็นคำพูด) ที่ครูคิดว่าชัดเจน  อาจไม่ชัดเจนพอสำหรับศิษย์  อาจทำให้ศิษย์เข้าใจผิด  และฝึกฝนตนเองผิดเป้าที่แท้จริง  ดังนั้น ครูต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าการฝึกช่วงนั้นต้องการให้ นศ. ทำอะไรได้บ้าง  วัดความสำเร็จอย่างไร   อาจต้องบอกว่าเป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่อะไรบ้าง เพื่อให้ชัดเจนถึงขนาด


ระดับความท้าทายพอเหมาะ

ในการฝึกฝน นอกจาก นศ. มีเป้าหมายชัดแล้ว  ประเด็นฝึกหัดต้องมีระดับความยากง่าย หรือที่เรียกในสมัยใหม่ว่าความท้าทาย (challenge) เหมาะสมด้วย  รวมทั้งมีตัวช่วยที่เหมาะสมให้ นศ. ใช้ความอดทนมานะพยายามก้าวข้ามความยาก ไปสู่ความสำเร็จได้

นี่คือสิ่งที่ครู พึงจัดให้แก่ศิษย์

มีผู้ให้นิยามการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด (deliberate practice) ว่าหมายถึงการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สมเหตุสมผล และท้าทาย  คือต้องมีความท้าทายเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย จึงจะถือว่าเป็นการฝึกอย่างมีเป้าหมายแจ่มชัด  หากไม่ท้าทาย นศ. ก็จะขาดความสนใจ  หันไปทำอย่างอื่น

ในทางตรงกันข้าม ผลการวิจัยบอกว่า หากความท้าทายใหญ่/ยาก เกินไป  หรือมีหลายอย่างเกินไป  จะเกินแรงสมองของ นศ. ผลการฝึกจะไม่ดี

ความท้าทายที่เหมาะสมจึงเป็นโจทย์สำหรับครู  ที่จะศึกษาทำความเข้าใจ เชื่อมโยงกับศิษย์แต่ละคน  และเชื่อมโยงกับการทำหน้าที่ “ครูฝึก”  ผมหลับตาเห็นโจทย์วิจัยวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้มากมาย จากเรื่องนี้

เรื่องการฝึกภายใต้ความท้าทายพอเหมาะนี้ หนังสือเอ่ยถึงคำ Zone of Proximal Development  ซึ่งน่าสนใจมาก  คนเป็นครู/อาจารย์ ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม  และพึงตระหนักว่า ความท้าทายที่เหมาะสมต้องคู่กับความช่วยเหลือที่เหมาะสมด้วย

หนังสือเล่าเรื่องวิธีการสร้าง “ตัวช่วย” มากมาย  หลายวิธีเป็นการให้ นศ. ช่วยกันเอง  ไม่กินแรงครู  เป็นเรื่องที่น่าทดลองนำมาใช้และทำงานวิจัยควบคู่ไปด้วย


สั่งสมการฝึกฝน

ต้องไม่ลืมว่า เป้าหมายของการฝึกฝนคือ ทำได้อย่างเป็นอัตโนมัติ  คือไม่ต้องคิด  ดังนั้น การฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเป็นสิ่งจำเป็น  แต่เวลาเป็นทรัพยากรที่จำกัด  ครูพึงเข้าใจข้อจำกัดนี้ของ นศ.

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกฝนของ นศ. เป็นช่วงของผู้ฝึกใหม่  นศ. จะค่อยๆ เรียนรู้สั่งสมทักษะ  ครูต้องระมัดระวังไม่เร่งร้อน  และควรหาโอกาสให้ นศ. ได้ฝึกแต่ละทักษะซ้ำ  ไม่ใช่ฝึกครั้งเดียวผ่านไปเลย  เพราะจะมี นศ. ส่วนใหญ่ที่ยังฝึกไม่ได้ทักษะจริง

 

 

แผนภาพข้างบนมาจากผลการวิจัย ที่แสดงว่าช่วงเวลาของการฝึกฝนให้ผลเพิ่มสมรรถนะไม่เท่ากัน  คือเพิ่มน้อยในช่วงต้นและช่วงปลายที่ชำนาญแล้ว  เพิ่มมากในช่วงกลาง ที่ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นมาอย่างดีแล้ว  หนังสือบอกว่าสภาพนี้มีทั้งส่วนจริง และส่วนที่เป็นความรู้สึกของ นศ.  ที่เป็นความรู้สึกลวงว่าช่วงเริ่มต้นฝึกไม่ค่อยได้อะไร ก็เพราะเป็นช่วงฝึกทักษะองค์ประกอบย่อย  ตัวผู้ฝึกจะไม่รู้สึกว่าได้สมรรถนะ  จะรู้สึกว่าได้เพิ่มสมรรถนะเมื่อได้ทักษะบูรณาการ  ส่วนตอนท้าย เมื่อฝึกมานาน น.ศ. ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ก็เพราะส่วนที่เพิ่มจะเป็นรายละเอียดมากๆ  ความรู้สึกลวงของ นศ. นี้บอกว่า  ครูต้องเอาใจใส่ให้การประเมินป้อนกลับความก้าวหน้าของสมรรถนะ แก่ นศ. ในช่วงนี้มากเป็นพิเศษ  เพื่อให้ นศ. ได้เห็นคุณค่าของการฝึกช่วงนั้น


เทคนิคการเป็น ครูฝึก

ประเมินพื้นความรู้ชอง นศ. สำหรับใช้กำหนดระดับความท้าทาย

ครูต้องตระหนักเสมอว่า นศ. ในชั้นมีพื้นความรู้แตกต่างกัน  การทดสอบพื้นความรู้ตอนต้นเทอม โดยการให้กรอกแบบสอบถาม  ให้ทำ Pre-test  หรือให้ทำการบ้านโดยไม่คิดคะแนน  จะช่วยให้ครูรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของ นศ.  สำหรับนำมาใช้กำหนดระดับความยากง่ายของการฝึก


จงระบุเป้าหมายของรายวิชาให้แจ่มชัด

อย่าปล่อยให้ นศ. คิดเอาเองเกี่ยวกับเป้าหมาย และรายละเอียดของรายวิชา  จงระบุเป็นข้อเขียนลงไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (Course Description)  รวมทั้งระบุเป้าหมายของแต่ละงานที่มอบหมายให้ นศ. ทำด้วย  โดยเน้นระบุเป็น “วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม”  คือระบุว่าเมื่อจบรายวิชา (หรือเมื่อจบงานนั้นๆ) นศ. จะทำอะไรได้  สำหรับให้ นศ. ใช้เป็นธงนำการเรียนรู้ของตน


ใช้ rubric ของการประเมินเพื่อสื่อสารเกณฑ์ของสมรรถนะที่ต้องการอย่างชัดเจน

ข้อดีของ rubric คือ ช่วยแยกแยะงานนั้นๆ ออกเป็นองค์ประกอบย่อย  และบอกเกณฑ์ชัดเจนว่า สมรรถนะระดับต่ำ ระดับปานกลาง และระดับสูง เป็นอย่างไร  นศ. จะใช้เป็นเครื่องมือนำทางและตรวจสอบการเรียนรู้ของตนได้


จัดให้มีโอกาสฝึกฝนหลายช่องทาง

ธรรมชาติของการเรียนรู้ คือมีการสั่งสมอย่างช้าๆ ไปกับการฝึกฝน  ดังนั้นการฝึกฝนทำโจทย์หรืองานเล็กๆ หลายๆ ครั้ง จะช่วยให้ผลการเรียนรู้ดีกว่าการให้ทำงานใหญ่เพียงครั้งเดียว

ครูพึงตระหนักว่า การฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งเพียงครั้งเดียว ไม่เพียงพอต่อการเรียนให้รู้จริง


ใช้เทคนิค scaffolding ในการมอบหมายงาน

เป็นเทคนิคที่ครูช่วยมากหน่อยในตอนต้นที่ นศ. ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  แล้วครูค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลง  ให้ นศ. ช่วยตนเอง หรือเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น


กำหนดความคาดหวังต่อการฝึก

นศ. มักคิดว่าการฝึกใช้เวลาไม่มาก  ซึ่งไม่ตรงความเป็นจริงสำหรับคนฝึกใหม่ ที่ต้องใช้เวลาฝึกอย่างเป็นขั้นตอน  ครูจึงต้องมีเอกสารระบุแนวทางการฝึก  บอกรายละเอียดเกี่ยวกับ จำนวนครั้ง  ระยะเวลาแต่ละครั้ง  ชนิดของการฝึก  และระดับการฝึก  ที่ต้องการสำหรับบรรลุทักษะในระดับที่ต้องการ

ครูมีแนวทางได้ข้อมูลนี้ ๒ วิธี  วิธีแรกคือสอบถามจาก นศ. รุ่นก่อนๆ  วิธีหลังคือ นศ. ที่เป็นคนฝึกใหม่จะใช้เวลา ๓ - ๔ เท่าของครูที่ถือเป็นผู้ชำนาญ


ยกตัวอย่างสมรรถนะที่เป็นเป้าหมาย

การให้ นศ. ดูตัวอย่างผลงานที่ดีของ นศ. รุ่นก่อนๆ  จะช่วยให้ นศ. นึกออกง่ายขึ้น ว่าสมรรถนะที่ดีเป็นอย่างไร  ครูควรอธิบายด้วยว่า ลักษณะส่วนไหนของผลงานตรงตามเกณฑ์สมรรถนะไหน


ให้ นศ. ได้ประจักษ์สิ่งที่ครูไม่ต้องการ

เป็นการให้ตัวอย่างที่ตรงกันข้ามกับหัวข้อก่อน  นศ. จะได้เข้าใจชัดเจนว่า ความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คืออะไรบ้าง  นศ. จะได้ไม่หลงฝึกฝนผิดๆ  หรือหลงสร้างผลงานที่คุณภาพต่ำ

วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ นศ. เข้าใจเกณฑ์คุณภาพของผลงานชัดคือ ให้ นศ. ใช้ rubric ประเมินให้คะแนนผลงานตัวอย่างของ นศ. รุ่นก่อนๆ


ปรับปรุงเป้าหมายให้ชัดและเหมาะสมยิ่งขึ้นในระหว่างที่การเรียนก้าวหน้าไประหว่างเทอม

เป้าหมายการเรียนรู้ไม่ควรเป็นเป้านิ่ง  ควรปรับไปตามสภาพของผลการเรียนของชั้น  เช่น เมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่ง  และ นศ. บรรลุเป้าหมายการฝึกทักษะแล้ว  ครูอาจเพิ่มเป้าหมายให้ นศ. ประยุกต์ทักษะได้เร็วยิ่งขึ้น

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/521064

 


 

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๑. คำแนะนำป้อนกลับ (feedback)

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ที่ ๑๐ และ ๑๑ มาจากบทที่ 5  What Kind of Practice and Feedback Enhance Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการเป็น “ครูฝึก” ที่ดีของครู  วิธีใช้เวลาที่มีจำกัด ในการฝึก นศ. และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นศ. ให้ฝึกฝนเรียนรู้ อย่างได้ผลแท้จริง  ไม่หลงใช้วิธีการผิดๆ

นศ. มีเวลา และความสามารถทางสมองจำกัด  แต่ครูก็สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้  คือเป้าหมายของหนังสือบทนี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  บทนี้ว่าด้วยวิธีที่ครูช่วยให้ นศ. “Learn smarter” นั่นเอง

ตอนที่ ๑๐ เน้นเรื่องวิธีฝึก  และตอนที่ ๑๑ เน้นเรื่องการให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback)


ความรู้เกี่ยวกับคำแนะนำป้อนกลับ (feedback)

การฝึกปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย (goal-directed practice)  ต้องควบคู่ไปกับการได้รับการป้อนกลับอย่างมีเป้าหมาย (targeted feedback) การเรียนรู้จึงจะบรรลุผลดี

คำแนะนำป้อนกลับ เปรียบเสมือนแผนที่ เข็มทิศ และ GPS  สำหรับใช้บอกตำแหน่งที่อยู่ของ นศ. ระหว่างการเดินทาง ของการพัฒนาทักษะ/สมรรถนะ ที่ต้องการ  โดยบอก what, where, และ how คือ บอกสิ่งที่ นศ. รู้แล้ว และสิ่งที่ นศ. ยังไม่รู้แต่จำเป็นต้องรู้ (what);  บอกว่าขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะของ นศ. อยู่ตรงไหน  กำลังก้าวหน้าดี หรือไม่ค่อยก้าวหน้า (where);  และบอกว่า นศ. จะต้องใช้ความพยายามต่อไปอย่างไร (how)

คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ช่วยให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น เดินตรงทาง และสิ้นเปลืองเวลาและแรงสมองน้อยลง  รวมทั้งช่วยให้บรรลุผลการเรียนรู้ในระดับ “รู้จริง”  ไม่หลงเรียนรู้เพียงผิวเผิน  หรือยิ่งกว่านั้น คือไม่หลงเรียนรู้ผิดๆ  คำแนะนำป้อนกลับที่ดี จึงไม่ใช่แค่มีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน แต่มีผลต่อการเรียนรู้ในอนาคตด้วย  คำแนะนำป้อนกลับที่ดีของครูจึงมีค่ายิ่ง

ผลการวิจัยบอกว่า การให้คำแนะนำป้อนกลับมีความสำคัญที่ ๒ ปัจจัย คือ สาระ (content) กับ กาละ (time)

ในเรื่องสาระ การสื่อสารคำแนะนำป้อนกลับต่อ นศ. เป็นการสื่อสารเพื่อบอกว่า นศ. อยู่ตรงไหนแล้วตามเป้าหมายที่ระบุไว้  และ นศ. ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

ในเรื่องกาละ การให้คำแนะนำป้อนกลับ ควรให้ ณ เวลาที่ นศ. ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด  ตามเป้าหมายการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

การให้คำแนะนำป้อนกลับเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  คือมีหลักการ แต่ไม่ตายตัว  ต้องปรับใช้ให้เหมาะตามสถานการณ์หรือบริบท


การสื่อสารความคืบหน้า และแนะนำให้พยายามต่อไป

นี่คือเรื่อง สาระของการให้คำแนะนำป้อนกลับ

คำแนะนำป้อนกลับที่มีค่าต่อ นศ. ที่สุดคือคำแนะนำป้อนกลับเพื่อการปรับปรุง (formative feedback) ซึ่งหมายถึงคำแนะนำป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงการเรียนระหว่างทาง  ตรงกันข้ามกับ summative feedback ซึ่งหมายถึงการบอกผลสุดท้ายของการเรียน

การให้คำแนะนำป้อนกลับเพื่อปรับปรุงจะได้ผลดีที่สุด หากสื่อสารแก่ นศ. ในประเด็นที่จำเพาะมากๆ ในเรื่องสมรรถนะของ นศ. เมื่อเทียบกับเป้าหมายการฝึก/เรียน  และเป็นการให้สารสนเทศที่จะช่วยให้ นศ. ก้าวหน้าไปบรรลุเกณฑ์ของเป้าหมายนั้น

ย้ำว่า คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ต้องไม่เพียงบอกว่า นศ. ยังอยู่ไกลจากเป้าหมายเพียงไร  แต่ต้องแนะทางไปสู่เป้าหมายด้วย

คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ช่วยบอกจุดที่ต้องแก้ไขอย่างจำเพาะเจาะจง  ในขณะที่คำแนะนำป้อนกลับที่ไม่ดี บอกเพียงกว้างๆ ว่า ผลการเรียนเป็นอย่างไร  หรือเพียงให้คำชม

ผลการวิจัยบอกว่า คำแนะนำป้อนกลับจะให้ผลดีต่อเมื่อมันช่วยให้ นศ. เห็นลู่ทางปรับปรุงการฝึกปฏิบัติของตนเอง  และ นศ. มีขีดความสามารถที่จะนำคำแนะนำป้อนกลับนั้น ไปใช้ปรับปรุงการฝึกของตน  ต้องมีทั้ง ๒ ปัจจัยนี้ การให้คำแนะนำป้อนกลับจึงจะมีคุณค่า


กำหนดเวลาให้คำแนะนำป้อนกลับอย่างเหมาะสม

นี่คือเรื่อง กาละ ในการให้คำแนะนำป้อนกลับ

หนังสือให้คำ ๓ คำเกี่ยวกับเรื่องเวลาที่เหมาะสม คือ how early, how often, และ timeliness สะท้อนว่า ไม่มีกำหนดเวลาตายตัว  ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเหตุปัจจัย  โดยให้กลับไปอ่านตอน สาระข้างบน

คำตอบหลักต่อ how early คือ ยิ่งให้ตั้งแต่ตอนต้นๆ ยิ่งดี  คำตอบหลักต่อ how often คือ ยิ่งบ่อยยิ่งดี   แต่ไม่มีคำตอบหลักต่อ timeliness โดยให้กลับไปยึดหลัก ประโยชน์ที่จะเกิดต่อการปรับปรุงการฝึกปฏิบัติของ นศ. เป็นสำคัญ

จริงๆ แล้วมีคำตอบสำคัญต่อ timeliness จากผลการวิจัย ว่า การให้คำแนะนำป้อนกลับทันทีที่พบข้อบกพร่อง มีผลต่อผลลัพธ์สุดท้ายของการเรียนสู้การให้คำแนะนำป้อนกลับที่ช้ากว่านั้นไม่ได้  เขาเรียกการให้การให้คำแนะนำป้อนกลับ ๒ แบบนี้ว่า immediate feedback กับ delayed feedback   เขาให้คำอธิบายว่า  การรอให้ นศ. ตรวจสอบประเมินผลเอง และปรับปรุงเอง  ได้มีโอกาสพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองหลายๆ ครั้ง  จนเหลือส่วนข้อบกพร่องที่ นศ. ไม่รู้ตัว หรือแก้ไขไม่ได้ด้วยตนเอง จึงค่อยให้คำแนะนำป้อนกลับ  ช่วยให้การเรียนรู้ของ นศ. สูงกว่า

ทำให้ผมคิดคำ auto-feedback หรือ self-feedback ขึ้นมา  ว่า คนที่รู้จักให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ตนเอง  จะเป็นบุคคลที่เรียนรู้ได้ดี  จึงขอแนะนำว่า ครูต้องพยายามใช้ delayed feedback  และหาทางส่งเสริมให้ นศ. พัฒนา auto-feedback/self-feedback ของตนเองให้แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ  คือช่วยให้ นศ. สามารถฝึกฝนตนเองอย่างอิสระได้ดีขึ้นตามที่ระบุไว้ในหนังสือ

การให้คำแนะนำป้อนกลับที่ดีที่สุดคือ วิธีการที่ในที่สุดแล้ว นศ. ไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำป้อนกลับอีกต่อไป

จะเห็นว่า เรื่องการให้คำแนะนำป้อนกลับ ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์ไทยทำวิจัยได้มากมาย  เพราะเป็นเรื่องซับซ้อนมาก

 

เทคนิคการให้คำแนะนำป้อนกลับ

มองหาแบบแผน (pattern) ที่ นศ. ทำผิดซ้ำๆ

ครูพึงสังเกตหาแบบแผนของความเข้าใจผิด หรือทำผิดซ้ำหลายคน ของ นศ.  จากการตอบคำถามในชั้นเรียน  จากการบ้าน  การตอบแบบทดสอบ  การทำโครงงาน  และการสอบ  รวมทั้งหากมี นศ. ช่วยสอน ครูควรถามหาข้อมูลนี้จาก นศ. ช่วยสอนด้วย  สำหรับนำมาพิจารณาให้คำแนะนำป้อนกลับตามยุทธศาสตร์ต่อไปนี้

จัดลำดับความสำคัญของคำแนะนำป้อนกลับ

หลักการคือ อย่าให้คำแนะนำป้อนกลับแบบเปรอะ ไร้เป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะให้คำแนะนำฯเรื่องอะไร  เพราะครูเองก็มีภาระมาก  และถ้าให้คำแนะนำฯ มากเรื่องเกินไป นศ. จะสับสนและไม่สามารถปรับปรุงการฝึกของตนเองอย่างได้ผลได้

ครูพึงจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่จะให้คำแนะนำป้อนกลับ ในเรื่องที่ นศ. กำลังฝึก  และเลือกให้คำแนะนำฯ เพียงประเด็นเดียวที่คิดแล้วว่ามีประโยชน์ต่อการปรับปรุงทักษะของ นศ. มากที่สุด


สร้างดุลยภาพระหว่างจุดแข็งและจุดอ่อนในคำแนะนำป้อนกลับ

นี่คือดุลยภาพระหว่างการให้การป้อนกลับเชิงบวก (positive feedback) และการป้อนกลับเชิงลบ (negative feedback) ครูพึงตระหนักว่า มือใหม่อย่าง นศ. อาจไม่รู้ตัวว่าตนฝึกฝนก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว  การมีผู้มาให้ข้อมูลนี้เป็นการป้อนกลับเชิงบวก จะช่วยให้ความมั่นใจและกำลังใจว่าตนเดินมาถูกทาง  และได้รับการยืนยันว่าความรู้/ทักษะ ใดที่ฝึกได้แล้วที่ควรคงไว้อย่างเดิม และยกระดับขึ้นไป  เสริมด้วยการป้อนกลับเชิงลบ บอกว่าตรงไหนที่ยังทำได้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องแก้ไข  ส่วนใดที่ทำได้บ้างแล้ว แต่ต้องฝึกให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนผสมของการป้อนกลับเชิงบวก กับการป้อนกลังเชิงลบ โดยมีความจริงใจ ความเมตตากรุณาเป็นน้ำกระสาย จะช่วยให้พลังความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนพัฒนาต่อเนื่อง แก่ศิษย์


ออกแบบให้มีโอกาสให้คำแนะนำป้อนกลับบ่อยๆ

นั่นคือ ควรแบ่งชิ้นงานออกเป็นงานย่อยๆ เพื่อให้ นศ. บรรลุทักษะย่อยๆ เป็นขั้นตอน  โอกาสให้คำแนะนำป้อนกลับก็บ่อยขึ้นด้วย  ช่วยให้ภาระงานของครู และของ นศ. ไม่หนักเกินไป

ในเรื่องลดภาระของครูนั้น  การให้คำแนะนำป้อนกลับจำนวนหนึ่งไม่จำเป็นต้องให้แก่ นศ. รายคน  ให้แก่ นศ. เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นได้


ให้คำแนะนำป้อนกลับในระดับกลุ่ม

ครูอาจลดภาระงานของตนโดยหาทางให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ นศ. ทั้งชั้น  โดยนำเอาข้อผิดพลาดที่มีบ่อยที่สุดในการทำการบ้าน ๓ อย่าง มาอภิปรายกับ นศ. ทั้งชั้น

ในทางตรงกันข้าม ครูอาจยกตัวอย่างคำตอบที่ดีที่สุด ๒ - ๓ ราย  นำมาอภิปรายในชั้นว่าทำไมคำตอบนั้นจึงควรได้เกรด เอ

 

ให้คำแนะนำป้อนกลับทันที (Real-Time) แก่กลุ่ม

นี่คือวิธีให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ชั้นเรียนขนาดใหญ่  ทำโดยครูตั้งคำถาม ให้ นศ. ตอบลงกระดาษแล้วเก็บคำตอบมาตรวจสอบหาคำตอบที่เข้าใจผิด  ในกรณีที่สถาบันมี clicker ก็จะสามารถได้คำตอบทันทีว่า นศ. ตอบคำตอบใดเป็นสัดส่วนเท่าใด  แล้วครูนำแต่ละคำตอบมาอภิปรายในชั้น  หรือถ้าครูเห็นว่ามีผู้ตอบคำถามผิดเป็นส่วนใหญ่  อาจให้ นศ. จับกลุ่ม (๔ คน?) ให้ปรึกษาหารือกัน  แล้วให้ตอบใหม่  พร้อมทั้งอภิปรายทั้งชั้นในภายหลัง


จัดให้มีคำแนะนำป้อนกลับจากเพื่อน

นี่คือ peer feedback  ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของครู  รวมทั้งช่วยสร้างทักษะการให้คำแนะนำป้อนกลับ แก่ นศ.  สำหรับนำไปใช้ในโอกาสอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้กับตนเอง

นอกจากนั้น ยังช่วยให้ นศ. ได้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าเกณฑ์ของการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร

ก่อนใช้ “เพื่อนแนะนำป้อนกลับเพื่อน”  ครูต้องอธิบายให้ นศ. เข้าใจหลักการและวิธีการของการให้คำแนะนำป้อนกลับ  ให้ นศ. เข้าใจถ่องแท้  และให้เข้าใจชัดเจนว่ากิจกรรม “เพื่อนแนะนำป้อนกลับเพื่อน” จะเกิดประโยชน์แก่ นศ. อย่างไร


ให้ นศ. ระบุว่าตนใช้ข้อแนะนำจากคำแนะนำป้อนกลับพัฒนางานของตนอย่างไรบ้าง

นี่คือกิจกรรม “ทบทวนสะท้อนกลับ” (reflection) หรือ AAR (After Action Review)  ที่ นศ. ร่วมกันสะท้อนความคิดหลังได้รับคำแนะนำป้อนกลับ และมีรอบการฝึกงานหลังจากนั้นแล้ว  นศ. มาจับกลุ่ม AAR กัน ว่าได้นำข้อแนะนำป้อนกลับส่วนใดไปใช้ ใช้ทำอะไร ส่วนไหน อย่างไร  และเกิดผลอย่างไร

ผมมีข้อแถมของผมเอง ว่าควรแถม BAR (Before Action Review) เข้าไปด้วย  คือให้สะท้อนความคิดในกลุ่มต่อเนื่องจาก AAR ว่า ในรอบการฝึกงานครั้งต่อไป จะเอาคำแนะนำป้อนกลับส่วนไหนไปใช้อีกบ้าง


สรุป

ในบันทึกที่ ๑๐ และ๑๑ ได้ชี้ให้เห็นคุณค่า และวิธีการให้คำแนะนำป้อนกลับที่ถูกต้องเหมาะสม  โดยวิธีให้คำแนะนำป้อนกลับที่ดีมีลักษณะ (๑) พุ่งเป้าที่เป้าหมายการบรรลุสมรรถนะที่จำเพาะ  (๒) มีระดับความท้าทายเหมาะสม  (๓) ให้ในจำนวนและความถี่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ปรับปรุงตนเองของ นศ.

การให้คำแนะนำป้อนกลับจะมีพลังเมื่อ (๑)​ สื่อสารต่อ นศ. ในขณะที่ นศ. กำลังต่อสู้ดิ้นรนไปสู่เป้าหมาย และต้องการคำแนะนำให้ปรับปรุงเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น  (๒) ให้คำแนะนำ ณ เวลาที่ นศ. สามารถนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด

การเรียนรู้ ที่นำไปสู่การ “รู้จริง”  ได้จากการฝึกปฏิบัติ  และการได้รับคำแนะนำป้อนกลับที่ดี

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/521734

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๑. คำแนะนำป้อนกลับ (feedback)

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ที่ ๑๐ และ ๑๑ มาจากบทที่ 5  What Kind of Practice and Feedback Enhance Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นบทที่ว่าด้วยการเป็น “ครูฝึก” ที่ดีของครู  วิธีใช้เวลาที่มีจำกัด ในการฝึก นศ. และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ นศ. ให้ฝึกฝนเรียนรู้ อย่างได้ผลแท้จริง  ไม่หลงใช้วิธีการผิดๆ

นศ. มีเวลา และความสามารถทางสมองจำกัด  แต่ครูก็สามารถเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้  คือเป้าหมายของหนังสือบทนี้  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  บทนี้ว่าด้วยวิธีที่ครูช่วยให้ นศ. “Learn smarter” นั่นเอง

ตอนที่ ๑๐ เน้นเรื่องวิธีฝึก  และตอนที่ ๑๑ เน้นเรื่องการให้คำแนะนำป้อนกลับ (feedback)


ความรู้เกี่ยวกับคำแนะนำป้อนกลับ (feedback)

การฝึกปฏิบัติอย่างมีเป้าหมาย (goal-directed practice)  ต้องควบคู่ไปกับการได้รับการป้อนกลับอย่างมีเป้าหมาย (targeted feedback) การเรียนรู้จึงจะบรรลุผลดี

คำแนะนำป้อนกลับ เปรียบเสมือนแผนที่ เข็มทิศ และ GPS  สำหรับใช้บอกตำแหน่งที่อยู่ของ นศ. ระหว่างการเดินทาง ของการพัฒนาทักษะ/สมรรถนะ ที่ต้องการ  โดยบอก what, where, และ how คือ บอกสิ่งที่ นศ. รู้แล้ว และสิ่งที่ นศ. ยังไม่รู้แต่จำเป็นต้องรู้ (what);  บอกว่าขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะของ นศ. อยู่ตรงไหน  กำลังก้าวหน้าดี หรือไม่ค่อยก้าวหน้า (where);  และบอกว่า นศ. จะต้องใช้ความพยายามต่อไปอย่างไร (how)

คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ช่วยให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น เดินตรงทาง และสิ้นเปลืองเวลาและแรงสมองน้อยลง  รวมทั้งช่วยให้บรรลุผลการเรียนรู้ในระดับ “รู้จริง”  ไม่หลงเรียนรู้เพียงผิวเผิน  หรือยิ่งกว่านั้น คือไม่หลงเรียนรู้ผิดๆ  คำแนะนำป้อนกลับที่ดี จึงไม่ใช่แค่มีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน แต่มีผลต่อการเรียนรู้ในอนาคตด้วย  คำแนะนำป้อนกลับที่ดีของครูจึงมีค่ายิ่ง

ผลการวิจัยบอกว่า การให้คำแนะนำป้อนกลับมีความสำคัญที่ ๒ ปัจจัย คือ สาระ (content) กับ กาละ (time)

ในเรื่องสาระ การสื่อสารคำแนะนำป้อนกลับต่อ นศ. เป็นการสื่อสารเพื่อบอกว่า นศ. อยู่ตรงไหนแล้วตามเป้าหมายที่ระบุไว้  และ นศ. ควรปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดี

ในเรื่องกาละ การให้คำแนะนำป้อนกลับ ควรให้ ณ เวลาที่ นศ. ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด  ตามเป้าหมายการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

การให้คำแนะนำป้อนกลับเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  คือมีหลักการ แต่ไม่ตายตัว  ต้องปรับใช้ให้เหมาะตามสถานการณ์หรือบริบท


การสื่อสารความคืบหน้า และแนะนำให้พยายามต่อไป

นี่คือเรื่อง สาระของการให้คำแนะนำป้อนกลับ

คำแนะนำป้อนกลับที่มีค่าต่อ นศ. ที่สุดคือคำแนะนำป้อนกลับเพื่อการปรับปรุง (formative feedback) ซึ่งหมายถึงคำแนะนำป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงการเรียนระหว่างทาง  ตรงกันข้ามกับ summative feedback ซึ่งหมายถึงการบอกผลสุดท้ายของการเรียน

การให้คำแนะนำป้อนกลับเพื่อปรับปรุงจะได้ผลดีที่สุด หากสื่อสารแก่ นศ. ในประเด็นที่จำเพาะมากๆ ในเรื่องสมรรถนะของ นศ. เมื่อเทียบกับเป้าหมายการฝึก/เรียน  และเป็นการให้สารสนเทศที่จะช่วยให้ นศ. ก้าวหน้าไปบรรลุเกณฑ์ของเป้าหมายนั้น

ย้ำว่า คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ต้องไม่เพียงบอกว่า นศ. ยังอยู่ไกลจากเป้าหมายเพียงไร  แต่ต้องแนะทางไปสู่เป้าหมายด้วย

คำแนะนำป้อนกลับที่ดี ช่วยบอกจุดที่ต้องแก้ไขอย่างจำเพาะเจาะจง  ในขณะที่คำแนะนำป้อนกลับที่ไม่ดี บอกเพียงกว้างๆ ว่า ผลการเรียนเป็นอย่างไร  หรือเพียงให้คำชม

ผลการวิจัยบอกว่า คำแนะนำป้อนกลับจะให้ผลดีต่อเมื่อมันช่วยให้ นศ. เห็นลู่ทางปรับปรุงการฝึกปฏิบัติของตนเอง  และ นศ. มีขีดความสามารถที่จะนำคำแนะนำป้อนกลับนั้น ไปใช้ปรับปรุงการฝึกของตน  ต้องมีทั้ง ๒ ปัจจัยนี้ การให้คำแนะนำป้อนกลับจึงจะมีคุณค่า


กำหนดเวลาให้คำแนะนำป้อนกลับอย่างเหมาะสม

นี่คือเรื่อง กาละ ในการให้คำแนะนำป้อนกลับ

หนังสือให้คำ ๓ คำเกี่ยวกับเรื่องเวลาที่เหมาะสม คือ how early, how often, และ timeliness สะท้อนว่า ไม่มีกำหนดเวลาตายตัว  ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเหตุปัจจัย  โดยให้กลับไปอ่านตอน สาระข้างบน

คำตอบหลักต่อ how early คือ ยิ่งให้ตั้งแต่ตอนต้นๆ ยิ่งดี  คำตอบหลักต่อ how often คือ ยิ่งบ่อยยิ่งดี   แต่ไม่มีคำตอบหลักต่อ timeliness โดยให้กลับไปยึดหลัก ประโยชน์ที่จะเกิดต่อการปรับปรุงการฝึกปฏิบัติของ นศ. เป็นสำคัญ

จริงๆ แล้วมีคำตอบสำคัญต่อ timeliness จากผลการวิจัย ว่า การให้คำแนะนำป้อนกลับทันทีที่พบข้อบกพร่อง มีผลต่อผลลัพธ์สุดท้ายของการเรียนสู้การให้คำแนะนำป้อนกลับที่ช้ากว่านั้นไม่ได้  เขาเรียกการให้การให้คำแนะนำป้อนกลับ ๒ แบบนี้ว่า immediate feedback กับ delayed feedback   เขาให้คำอธิบายว่า  การรอให้ นศ. ตรวจสอบประเมินผลเอง และปรับปรุงเอง  ได้มีโอกาสพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองหลายๆ ครั้ง  จนเหลือส่วนข้อบกพร่องที่ นศ. ไม่รู้ตัว หรือแก้ไขไม่ได้ด้วยตนเอง จึงค่อยให้คำแนะนำป้อนกลับ  ช่วยให้การเรียนรู้ของ นศ. สูงกว่า

ทำให้ผมคิดคำ auto-feedback หรือ self-feedback ขึ้นมา  ว่า คนที่รู้จักให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ตนเอง  จะเป็นบุคคลที่เรียนรู้ได้ดี  จึงขอแนะนำว่า ครูต้องพยายามใช้ delayed feedback  และหาทางส่งเสริมให้ นศ. พัฒนา auto-feedback/self-feedback ของตนเองให้แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ  คือช่วยให้ นศ. สามารถฝึกฝนตนเองอย่างอิสระได้ดีขึ้นตามที่ระบุไว้ในหนังสือ

การให้คำแนะนำป้อนกลับที่ดีที่สุดคือ วิธีการที่ในที่สุดแล้ว นศ. ไม่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำป้อนกลับอีกต่อไป

จะเห็นว่า เรื่องการให้คำแนะนำป้อนกลับ ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์ไทยทำวิจัยได้มากมาย  เพราะเป็นเรื่องซับซ้อนมาก

 

เทคนิคการให้คำแนะนำป้อนกลับ

มองหาแบบแผน (pattern) ที่ นศ. ทำผิดซ้ำๆ

ครูพึงสังเกตหาแบบแผนของความเข้าใจผิด หรือทำผิดซ้ำหลายคน ของ นศ.  จากการตอบคำถามในชั้นเรียน  จากการบ้าน  การตอบแบบทดสอบ  การทำโครงงาน  และการสอบ  รวมทั้งหากมี นศ. ช่วยสอน ครูควรถามหาข้อมูลนี้จาก นศ. ช่วยสอนด้วย  สำหรับนำมาพิจารณาให้คำแนะนำป้อนกลับตามยุทธศาสตร์ต่อไปนี้

จัดลำดับความสำคัญของคำแนะนำป้อนกลับ

หลักการคือ อย่าให้คำแนะนำป้อนกลับแบบเปรอะ ไร้เป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะให้คำแนะนำฯเรื่องอะไร  เพราะครูเองก็มีภาระมาก  และถ้าให้คำแนะนำฯ มากเรื่องเกินไป นศ. จะสับสนและไม่สามารถปรับปรุงการฝึกของตนเองอย่างได้ผลได้

ครูพึงจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่จะให้คำแนะนำป้อนกลับ ในเรื่องที่ นศ. กำลังฝึก  และเลือกให้คำแนะนำฯ เพียงประเด็นเดียวที่คิดแล้วว่ามีประโยชน์ต่อการปรับปรุงทักษะของ นศ. มากที่สุด


สร้างดุลยภาพระหว่างจุดแข็งและจุดอ่อนในคำแนะนำป้อนกลับ

นี่คือดุลยภาพระหว่างการให้การป้อนกลับเชิงบวก (positive feedback) และการป้อนกลับเชิงลบ (negative feedback) ครูพึงตระหนักว่า มือใหม่อย่าง นศ. อาจไม่รู้ตัวว่าตนฝึกฝนก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว  การมีผู้มาให้ข้อมูลนี้เป็นการป้อนกลับเชิงบวก จะช่วยให้ความมั่นใจและกำลังใจว่าตนเดินมาถูกทาง  และได้รับการยืนยันว่าความรู้/ทักษะ ใดที่ฝึกได้แล้วที่ควรคงไว้อย่างเดิม และยกระดับขึ้นไป  เสริมด้วยการป้อนกลับเชิงลบ บอกว่าตรงไหนที่ยังทำได้ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องแก้ไข  ส่วนใดที่ทำได้บ้างแล้ว แต่ต้องฝึกให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ส่วนผสมของการป้อนกลับเชิงบวก กับการป้อนกลังเชิงลบ โดยมีความจริงใจ ความเมตตากรุณาเป็นน้ำกระสาย จะช่วยให้พลังความมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนพัฒนาต่อเนื่อง แก่ศิษย์


ออกแบบให้มีโอกาสให้คำแนะนำป้อนกลับบ่อยๆ

นั่นคือ ควรแบ่งชิ้นงานออกเป็นงานย่อยๆ เพื่อให้ นศ. บรรลุทักษะย่อยๆ เป็นขั้นตอน  โอกาสให้คำแนะนำป้อนกลับก็บ่อยขึ้นด้วย  ช่วยให้ภาระงานของครู และของ นศ. ไม่หนักเกินไป

ในเรื่องลดภาระของครูนั้น  การให้คำแนะนำป้อนกลับจำนวนหนึ่งไม่จำเป็นต้องให้แก่ นศ. รายคน  ให้แก่ นศ. เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นได้


ให้คำแนะนำป้อนกลับในระดับกลุ่ม

ครูอาจลดภาระงานของตนโดยหาทางให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ นศ. ทั้งชั้น  โดยนำเอาข้อผิดพลาดที่มีบ่อยที่สุดในการทำการบ้าน ๓ อย่าง มาอภิปรายกับ นศ. ทั้งชั้น

ในทางตรงกันข้าม ครูอาจยกตัวอย่างคำตอบที่ดีที่สุด ๒ - ๓ ราย  นำมาอภิปรายในชั้นว่าทำไมคำตอบนั้นจึงควรได้เกรด เอ

 

ให้คำแนะนำป้อนกลับทันที (Real-Time) แก่กลุ่ม

นี่คือวิธีให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ชั้นเรียนขนาดใหญ่  ทำโดยครูตั้งคำถาม ให้ นศ. ตอบลงกระดาษแล้วเก็บคำตอบมาตรวจสอบหาคำตอบที่เข้าใจผิด  ในกรณีที่สถาบันมี clicker ก็จะสามารถได้คำตอบทันทีว่า นศ. ตอบคำตอบใดเป็นสัดส่วนเท่าใด  แล้วครูนำแต่ละคำตอบมาอภิปรายในชั้น  หรือถ้าครูเห็นว่ามีผู้ตอบคำถามผิดเป็นส่วนใหญ่  อาจให้ นศ. จับกลุ่ม (๔ คน?) ให้ปรึกษาหารือกัน  แล้วให้ตอบใหม่  พร้อมทั้งอภิปรายทั้งชั้นในภายหลัง


จัดให้มีคำแนะนำป้อนกลับจากเพื่อน

นี่คือ peer feedback  ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของครู  รวมทั้งช่วยสร้างทักษะการให้คำแนะนำป้อนกลับ แก่ นศ.  สำหรับนำไปใช้ในโอกาสอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้กับตนเอง

นอกจากนั้น ยังช่วยให้ นศ. ได้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าเกณฑ์ของการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร

ก่อนใช้ “เพื่อนแนะนำป้อนกลับเพื่อน”  ครูต้องอธิบายให้ นศ. เข้าใจหลักการและวิธีการของการให้คำแนะนำป้อนกลับ  ให้ นศ. เข้าใจถ่องแท้  และให้เข้าใจชัดเจนว่ากิจกรรม “เพื่อนแนะนำป้อนกลับเพื่อน” จะเกิดประโยชน์แก่ นศ. อย่างไร


ให้ นศ. ระบุว่าตนใช้ข้อแนะนำจากคำแนะนำป้อนกลับพัฒนางานของตนอย่างไรบ้าง

นี่คือกิจกรรม “ทบทวนสะท้อนกลับ” (reflection) หรือ AAR (After Action Review)  ที่ นศ. ร่วมกันสะท้อนความคิดหลังได้รับคำแนะนำป้อนกลับ และมีรอบการฝึกงานหลังจากนั้นแล้ว  นศ. มาจับกลุ่ม AAR กัน ว่าได้นำข้อแนะนำป้อนกลับส่วนใดไปใช้ ใช้ทำอะไร ส่วนไหน อย่างไร  และเกิดผลอย่างไร

ผมมีข้อแถมของผมเอง ว่าควรแถม BAR (Before Action Review) เข้าไปด้วย  คือให้สะท้อนความคิดในกลุ่มต่อเนื่องจาก AAR ว่า ในรอบการฝึกงานครั้งต่อไป จะเอาคำแนะนำป้อนกลับส่วนไหนไปใช้อีกบ้าง


สรุป

ในบันทึกที่ ๑๐ และ๑๑ ได้ชี้ให้เห็นคุณค่า และวิธีการให้คำแนะนำป้อนกลับที่ถูกต้องเหมาะสม  โดยวิธีให้คำแนะนำป้อนกลับที่ดีมีลักษณะ (๑) พุ่งเป้าที่เป้าหมายการบรรลุสมรรถนะที่จำเพาะ  (๒) มีระดับความท้าทายเหมาะสม  (๓) ให้ในจำนวนและความถี่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ปรับปรุงตนเองของ นศ.

การให้คำแนะนำป้อนกลับจะมีพลังเมื่อ (๑)​ สื่อสารต่อ นศ. ในขณะที่ นศ. กำลังต่อสู้ดิ้นรนไปสู่เป้าหมาย และต้องการคำแนะนำให้ปรับปรุงเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น  (๒) ให้คำแนะนำ ณ เวลาที่ นศ. สามารถนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด

การเรียนรู้ ที่นำไปสู่การ “รู้จริง”  ได้จากการฝึกปฏิบัติ  และการได้รับคำแนะนำป้อนกลับที่ดี

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/521734

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๒. พัฒนาการของนักศึกษาและบรรยากาศในชั้นเรียน : ทฤษฎี

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๒ และ ๑๓ มาจากบทที่ 6  Why Do Student Development and Course Climate Matter for Student Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นการมอง “การเรียนรู้” ของ นศ. จากมุมที่กว้างกว่า “การเรียนวิชา”  เชื่อมโยงไปสู่ “การเรียนรู้ชีวิต” สู่วุฒิภาวะในทุกๆ ด้าน  และมองว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ. กับ นศ.  และระหว่าง นศ. กับครูมีผลต่อการเรียนรู้มาก

ตอนที่ ๑๒ ว่าด้วยทฤษฎี  ตอนที่ ๑๓ ว่าด้วยภาคปฏิบัติ หรือยุทธศาสตร์

บทที่ ๖ เริ่มต้นด้วยคำบ่นผิดหวังขัดข้องของศาสตราจารย์ ๒ คน  ที่บรรยากาศในห้องเรียนไม่ราบรื่น  ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้  เป็นการวางฉากสถานการณ์ในห้องเรียนที่สะท้อนความเป็น “ผู้เยาว์” ของ นศ.  และเรื่องที่ ๒ สะท้อนสภาพ “หวังดีกลับได้โทษ” ต่ออาจารย์


การพัฒนา นศ. อย่างเป็นองค์รวม

สัจจธรรมเกี่ยวกับ นศ. ก็คือ  นศ. ไม่ได้เป็นแค่สัตว์ปัญญา (Intellectual Being) แต่ยังเป็นสัตว์สังคม (Social Being) และสัตว์อารมณ์ (Emotional Being) ด้วย  ๓ ปัจจัยนี้บูรณาการกันเป็นตัว นศ. แต่ละคน และมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียน ทั้งของตัว นศ. เป็นรายคน และต่อชั้นเรียน

นั่นคือ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน  ไม่ได้มีประโยชน์ต่อ นศ. เฉพาะด้านการเรียนวิชาเท่านั้น  แต่มีประโยชน์เป็นการเรียนรู้องค์รวม ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ชีวิต ที่เรียกว่า การพัฒนานักศึกษา (Student Development) หรือการเอื้ออำนวยให้ นศ. เปลี่ยนสถานะจากนักเรียนมัธยม มาสู่การเป็น นศ. ซึ่งต้องฝึกรับผิดชอบตนเองในทุกด้าน  ได้เรียนรู้รอบด้าน ได้แก่ด้านการมีชีวิตไกลบ้าน ออกจากอ้อมอกพ่อแม่  ฝึกบังคับควบคุมตนเอง  การเข้าสังคมกับเพื่อน  การต่อรองรอมชอมกับเพื่อนร่วมห้อง ร่วมชั้น   การสร้างความเป็นตัวตนของตนเอง  การสร้างการยอมรับในหมู่เพื่อน  การจัดการด้านการเงิน  ตัดสินใจต่อเรื่องสุรา ยาเสพติด  เรื่องทางเพศ  และอื่นๆ   แล้วยังต้องตัดสินใจเรื่องการเรียน  จะลงเรียนวิชาใดบ้าง  จะเลือกวิชาใดเป็นวิชาเอก วิชาโท วิชาเลือก  จะเข้าเป็นสมาชิกชมรมใดบ้าง  จะเล่นกีฬาอะไร ฯลฯ

ช่วงชีวิตของ นศ. ระดับปริญญาตรี (อายุ ๑๗ - ๒๔ ปี) เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะทางอารมณ์ หรือกล่าวใหม่ว่า เป็นช่วงที่ นศ. ยังไม่พัฒนาเต็มที่ใน ๒ ด้านนี้  ซึ่งตามความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์บอกว่า จะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ ๒๕ ปี  แต่ประสบการณ์ชีวิตบอกผมว่า ยังมีพัฒนาการเรื่อยไปตลอดชีวิต

มีความจริง ๒ ประการเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านสังคมและด้านอารมณ์  ที่ได้จากผลการวิจัย คือ  (๑)​ ในช่วงชีวิตในมหาวิทยาลัย นศ. ได้รับประโยชน์ด้านการเรียนรู้เชิงสังคม และด้านอารมณ์  มากกว่าประโยชน์ด้านปัญญา (intellectual)  (๒) หากพัฒนาการ/การเรียนรู้ ด้านสังคมและอารมณ์ไม่ราบรื่น  จะมีผลทำให้การเรียนด้านปัญญาหรือวิชาการล้มเหลว


หลักการสำคัญ พัฒนาการของ นศ. มีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศของรายวิชาในด้านสังคม อารมณ์ และปัญญา  และมีผลต่อการเรียนรู้


การพัฒนา นศ. (Student Development)

พัฒนาการของ นศ. เป็นประเด็นที่ครูต้องเอาใจใส่  ดังหลักการของการศึกษาแนวถือ นศ. เป็นศูนย์กลาง (Student-Centered) ว่า “ครูสอนศิษย์ ไม่ใช่สอนวิชา”

ครูจึงต้องทำความเข้าใจ และเอาใจใส่ สิ่งท้าทายต่อ นศ. ในด้าน สังคม อารมณ์ และปัญญา  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าครูต้องรับผิดชอบทำหน้าที่ฝึกทุกเรื่องแก่ นศ.  เรื่องที่ไม่ต้องทำหน้าคือเรื่องเงิน กับเรื่องปัญหาหัวใจ  ความเข้าใจนี้ จะช่วยให้ครูจัดบรรยากาศการเรียนรู้ได้เหมาะสมขึ้น

ความหมายของ การพัฒนา นศ. ในที่นี้ นิยามว่าหมายถึง การตอบสนองต่อความท้าทายด้านปัญญา สังคม หรืออารมณ์ ที่มีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของ นศ.  โดยเน้นมอง นศ. เป็นกลุ่มในภาพรวม  และตระหนักว่า ระดับวุฒิภาวะของ นศ. แต่ละคนไม่เท่ากัน  และ นศ. แต่ละคนอาจมีระดับวุฒิภาวะบางด้านด้อยกว่าด้านอื่นๆ  เช่น นศ. บางคนอาจมีระดับวุฒิภาวะทางปัญญาและทางสังคมสูง แต่อ่อนด้อยด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์

ผมขอหมายเหตุความเห็นของตนเองไว้ ณ ที่นี้ว่า  วงการศึกษาไทยมักไม่ได้มองอย่างที่ระบุในหนังสือบทนี้  ว่าครู/สถาบันการศึกษา ต้องเอาใจใส่การพัฒนานักศึกษารอบด้าน ไม่ใช่เอาใจใส่แค่สอนวิชา  ระบบการศึกษาไทยยังเอาใจใส่เฉพาะที่การสอนวิชากันอยู่


ทฤษฎีพัฒนาการของ นศ. แนว Chickering (The Chickering Model of student Development)

เป็นทฤษฎีที่เสนอว่าในช่วงเวลาในมหาวิทยาลัย นศ. ระดับปริญญาตรี มีพัฒนาการรวม ๗ ด้าน  ที่เขาเรียกว่าเป็น 7 vectors ที่มีอิทธิพลหรือเป็นพื้นฐานต่อกันและกัน คือ

 

 

๑.  การพัฒนาสมรรถนะ ซึ่งรวมสมรรถนะด้าน ปัญญา กายภาพ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

 

สมรรถนะด้านปัญญา รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ในบรรยากาศมหาวิทยาลัย  ไปจนถึงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะแก้ปัญหา

 

สมรรถนะด้านกายภาพ รวมถึงการเล่นกีฬา  ทักษะในการรับผิดชอบชีวิตและสุขภาพของตนเอง (ไม่ใช่อยู่ในปกครองของพ่อแม่อีกต่อไป)  การมีร่างกายแข็งแรง

 

สมรรถนะด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงทักษะด้านการสื่อสาร  ด้านกลุ่ม  และด้านภาวะผู้นำ

 

สมรรถนะทั้ง ๓ กลุ่มนี้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ นศ. ว่า ตนจะสามารถเผชิญความท้าทายต่างๆ ได้

 

๒.  การจัดการอารมณ์ คือรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง  (ได้แก่ ความกังวล  ความสุข  ความโกรธ  ความขัดใจ  ความตื่นเต้น  ความหดหู่ เป็นต้น)  และมีทักษะในการแสดงออกอย่างเหมาะสม  ในตัวอย่างที่ยกมาตอนต้นบทของหนังสือ  การเรียนเรื่อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากผู้อพยพเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกา ล่มลงกลางคัน เพราะ นศ. ไม่มีความสามารถในการจัดการอารมณ์


 

๓.  พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง เป็นทักษะในการแยกตัวออกมาจากพ่อแม่  เข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อน  และกลายเป็นตัวของตัวเองในที่สุด  ประเด็นสำคัญที่สุดคือการพัฒนาความสามารถพึ่งตนเองทางอารมณ์  และพึ่งตนเองในเรื่องต่างๆ ในชีวิต   ผลการวิจัยบอกว่าวัยรุ่นสมัยใหม่มีความยากลำบากในการพัฒนาเรื่องนี้มากกว่าวัยรุ่น สมัยก่อน  โดยกลไกการพัฒนาต้องผ่านการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน (interconnectedness) เสียก่อน  แล้วจึงเคลื่อนสู่สภาพ พึ่งพาซึ่งกันและกัน (interdependence)

 

ครูต้องเข้าใจจิตวิทยาข้อนี้  สำหรับระมัดระวังไม่จัดสภาพห้องเรียนให้เข้าไปรบกวนขั้นตอนการพัฒนาตนเองของ นศ. ข้อนี้


 

๔.  สร้างอัตตลักษณ์ เป็นประเด็นสำคัญที่สุด ของทฤษฎี Chickering  โดยพัฒนาบนฐานของ 3 vector ที่ผ่านมา  และเป็นฐานของการพัฒนาอีก 3 vector ที่เหลือ  เป็นการพัฒนาความพึงพอใจ และความภาคภูมิใจ ในตนเอง  ทั้งด้านร่างกาย  รูปลักษณ์  เพศและเพศสภาพ  เชื้อชาติ  และชาติพันธุ์ ของตน

 

นศ. ที่มีวุฒิภาวะด้านอัตตลักษณ์ จะมีความมั่นใจในตนเอง และมีทักษะในการเคารพและรับฟังความเห็นของคนอื่นที่แตกต่างได้ดี  ไม่รู้สึกถูกคุกคามจากความคิดเห็นที่แตกต่าง  ช่วยให้กิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม และในชั้นเรียน มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้อย่างราบรื่น ไม่เกิดความขัดแย้ง หรือทะเลาะเบาะแว้ง


 

๕.  พัฒนาความเป็นอิสระจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นวุฒิภาวะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ได้แก่ ตระหนักในความแตกต่างระหว่างบุคคล  และอดทน/ยอมรับ ความแตกต่างนั้น  วุฒิภาวะด้านความสัมพันธ์เชิงความรัก ก็จัดอยู่ในข้อนี้


 

๖.  พัฒนาจุดมุ่งหมายในชีวิต (purpose) พัฒนาจาก “ฉันเป็นใคร” ในขั้นตอนพัฒนาอัตตลักษณ์  สู่ “ฉันจะเป็นคนแบบไหน” ในขั้นตอนนี้  ได้แก่การพัฒนาความสนใจ อาชีพ และลีลาชีวิต  โดยสามารถผ่านอุปสรรค ความยากลำบาก ความไม่เห็นพ้อง ได้


 

๗.  พัฒนาความมั่นคงในคุณธรรม (integrity) เป็นประเด็นของความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือของสังคม  ความรับผิดชอบต่อสังคม   เมื่อพัฒนาจนเกิดวุฒิภาวะ ก็จะเกิดการให้คุณค่าภายในจิตใจ ที่จะกำหนดพฤติกรรมต่างๆ

 

 

พัฒนาการทั้ง ๗ ด้านนี้ นศ. ยังอยู่ในช่วงของการฝึกหัดไปพร้อมๆ กันกับบทเรียนตามหลักสูตร และรายวิชา  และมีผลซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน  ครูพึงเข้าใจความซับซ้อนนี้ ที่กำลังเกิดขึ้นในชั้นเรียน และในสังคมมหาวิทยาลัย อยู่ทุกขณะ  สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อ ความตั้งใจเรียน แรงจูงใจ ความขยัน ความเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ และเอกลักษณ์ในสาขาวิชาชีพที่ตนเลือก

ผมเถียง Chickering ว่าพัฒนาการทั้ง ๗ ด้านนี้ ไม่ใช่มาพัฒนาเอาตอนเข้ามหาวิทยาลัย  คนเราพัฒนาเรื่องนี้มาตั้งแต่อยู่ที่บ้านและเรียนอนุบาลเรื่อยมา   แต่จะต้องมาพัฒนาให้มั่นคง สู่ความเป็นผู้ใหญ่ในช่วงมหาวิทยาลัย


พัฒนาการทางปัญญา (Intellectual Development)

ฝรั่งเขาศึกษาพัฒนาการทางปัญญาในช่วงของการเป็น นศ. มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ช่วงปี 1950s   แต่หนังสือเล่มนี้ยึดตามทฤษฎีของ Perry (Perry W. (1968). Forms of intellectual and ethical development in the college years : A scheme. New York : Holt Rinehart & Winston.)  และคนอื่นๆ หลังจากนั้น ที่ได้ข้อค้นพบคล้ายคลึงกัน

หัวใจสำคัญคือ ในช่วงนี้ นศ. มีพัฒนาการหลายขั้นตอน  ในช่วงต้น นศ. จะคิดเป็น ๒ ขั้ว  ดำ-ขาว  ถูก-ผิด หรือทวิภาพ (duality) ในช่วงนี้ นศ. มองความรู้เป็นสิ่งสัมบูรณ์ (absolute) ที่เขียนขึ้นโดย “ผู้รู้”  มีครูเป็น “ผู้รู้”  นศ. มีหน้าที่เรียนและดูดซับความรู้ไว้  และเมื่อถูกถามก็ตอบให้ตรงกับที่เรียนมา

เขาบอกว่าแนวคิดแบบนี้เรียกว่า มุมมองเชิงปริมาณต่อความรู้ (quantitative view)  มองว่าการศึกษาคือการถ่ายทอด “ความรู้ที่ถูกต้อง”  ภายใต้ความเชื่อว่า สิ่งที่รู้ได้เข้าใจได้ เป็นที่รู้กันหมดแล้ว  และครูเป็นผู้ที่มีความรู้ ตอบได้ทุกคำถาม

ในขั้นตอนนี้ นศ. ไม่เห็นคุณค่าของการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น

หลังจากนั้น มุมมองต่อความรู้และการเรียนรู้ ของ นศ. เปลี่ยนไปเป็นแบบ หลากหลาย (multiplicity) ความรู้กลายเป็นข้อคิดเห็น  ใครๆ ก็มีข้อคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามแนวคิดของตนเองได้  ในขั้นนี้ นศ. จะไม่พอใจเรื่องการสอบ หากตนไม่ได้คะแนนดี  เพราะ นศ. ยังแยกไม่ออกระหว่างความเห็นที่ถูกต้อง กับความเห็นที่ผิด  ครูไม่ใช่ “ผู้รู้ ผู้ตัดสิน” อีกต่อไป  กลายเป็นความเห็นหนึ่ง เท่านั้น

ในขั้นตอนนี้ ความก้าวหน้าสำคัญ ๒ ประการคือ  (๑) นศ. มีใจเปิดรับความเห็นที่แตกต่าง  ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อ “ความรู้ที่ถูกต้อง”  (๒) การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในแต่ละคน (personal)  แต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกัน  นศ. แต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะสร้างความรู้ของตนเอง

ต่อจากนั้น นศ. จะพัฒนาก้าวสู่มุมมองเชิง สัมพัทธภาพ (relativism) นศ. เริ่มตระหนักว่า ความเห็นที่ต่างกันนั้นไม่เท่าเทียมกัน  ความน่าเชื่อถือขึ้นกับข้อมูลหลักฐาน  มุมมองต่อความรู้กลายเป็นมุมมองเชิงคุณภาพ (qualitative view)  ครูกลายเป็นผู้ชี้ทางและเป็น “คุณอำนวย”   และ นศ. ตระหนักว่า ไม่มีความรู้หรือทฤษฎีใดสมบูรณ์

ขั้นตอนสุดท้ายของพัฒนาการ นศ. เกิดความผูกพัน (commitment) มีความเข้าใจว่า แม้ไม่มีทฤษฎีใดสมบูรณ์ ก็ต้องเลือก ๑ ทฤษฎีหรือแนวคิดเป็นฐาน สำหรับเรียนรู้ต่อไป  เท่ากับความคิดของ นศ. วนกลับมาคล้าย ทวิภาพ  คือเลือกหนึ่งแนวทาง  แต่ไม่เหมือน เพราะในขั้นตอนนี้ ความคิดของ นศ. เข้าใจความแตกต่างหลากหลายแล้ว  และเลือกหนึ่งแนวทาง (โดยมีข้อมูลหลักฐานประกอบการเลือก) สำหรับเดินทางเรียนรู้ต่อ ในท่ามกลางความหลากหลายนั้น

พัฒนาการทางปัญญานี้ ไม่แยกจากพัฒนาการทางศีลธรรม  เมื่อพัฒนาการทางปัญญาเข้าสู่วุฒิภาวะ  พัฒนาการทางศีลธรรมก็ยกระดับขึ้นด้วย  เพราะขั้นตอนของพัฒนาการที่กล่าวมาแล้วเป็นการเรียนรู้  การเรียนรู้ที่แท้จริงมีธรรมชาติบูรณาการ  ไม่แยกด้าน

ยังมีผลงานวิจัยลงรายละเอียด เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนพฤติกรรมการเรียนรู้สู่พัฒนาการทางปัญญาอีกมากมาย แต่จะไม่นำมาลงในบันทึกนี้

ควรย้ำไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า นศ. บางคนอาจจบออกไปเป็นบัณฑิต โดยที่พัฒนาการนี้ยังไปไม่สุด  และผมขอสารภาพว่าผมเป็นคนหนึ่งในนั้น

ครูต้องหมั่นทำความเข้าใจขั้นตอนของพัฒนาการนี้  สำหรับใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรมของ นศ.  และใช้ความเข้าใจนี้ในการจัดการชั้นเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ “รู้จริง”


การพัฒนาอัตตลักษณ์ทางสังคม (Social Identity Development)

ทฤษฎีด้านอัตตลักษณ์บอกว่า อัตตลักษณ์ไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่กำเนิด  แต่เป็นสิ่งที่ต้องไขว่คว้า  และต้องจัดสมดุลระหว่างการพัฒนาอัตตลักษณ์ กับการทำงาน ตลอดชีวิต

อัตตลักษณ์เป็นสิ่งที่จะต้องสร้างให้ตัวเอง และปรับแต่ง ตลอดชีวิต  ผมขอแถมตรงนี้ว่า โปรดอย่าสับสนกับการ “สร้างภาพ”

ขั้นตอนสำคัญในการสร้างอัตตลักษณ์ เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นตั้งคำถามต่อเกณฑ์คุณค่า และสมมติฐานที่กำหนดโดยพ่อแม่และสังคม  นำมาใช้กำหนดเกณฑ์คุณค่าของตนเอง และมีลำดับความสำคัญของตนเอง

ทฤษฎีพัฒนาอัตตลักณ์ทางสังคมของ Hardiman & Jackson (อ่านได้ ที่นี่ และ Hardiman R, Jackson B (1992). Racial idendity development  : Understanding racial dynamics in college classrooms and on campus. In M Adams (Ed.). Promoting diversity in college classrooms : Innovative responses for the curriculum, faculty and institutions. (Vol. 52, pp. 21-37). San Francisco : Jossey-Bass.)อธิบายว่า มี ๓ ขั้นตอนของการพัฒนาอัตตลักษณ์ทางสังคมของ นศ. แต่ละคน

 

๑.  ช่วงเป็นเด็กเล็ก อาจเรียกว่าเป็นช่วง ไร้เดียงสา (naiive) คือมองเห็นความแตกต่างของผู้คน แต่ไม่มีการตีความหรือให้คุณค่าใดๆ

 

๒.  ช่วง ยอมรับ (acceptance) เกิดขึ้นหลังจากได้มีประสบการณ์ทางสังคมกับคนหลากหลายกลุ่ม  ได้รับรู้แนวคิดสมมติทางสังคม (social construct) หลากหลายแบบ  นศ. ส่วนใหญ่จะบรรลุวุฒิภาวะอยู่ที่ช่วงนี้  คือมีความพอใจ มั่นใจกับสภาพความเป็นจริงของตน

 

๓.  ช่วงต่อต้าน (resistance) เกิดขึ้นหาก นศ. มีประสบการณ์ความอยุติธรรมในสังคม

 

 

ผมอ่านเรื่องราวของทฤษฎีนี้แล้ว  มีความเห็นว่า เป็นทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นจากสภาพสังคมอเมริกัน  ซึ่งแตกต่างจากสภาพสังคมไทย  ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่อาจารย์ไทยจะทำวิจัยเรื่องการพัฒนาอัตตลักษณฺนี้ ในบริบทไทย ได้อีกมาก


 

บรรยากาศที่มีผลต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ไม่ได้เกิดในสูญญากาศ  แต่เกิดขึ้นในบรรยากาศจริงของรายวิชา และสถาบันการศึกษา  บรรยากาศที่ดีมีผลเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา  และบรรยากาศที่ไม่ดีมีผลลบ

นอกจากนั้น บรรยากาศยังมีผลต่อพัฒนาการของ นศ. อีกด้วย

บรรยากาศในที่นี้มี ๔ ส่วน คือสภาพแวดล้อมด้านปัญญา สังคม อารมณ์ และกายภาพ  ที่ นศ. เผชิญในชั้นเรียน และภายในสถาบันการศึกษา  ตัวกำหนดบรรยากาศคือปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ที่ซับซ้อน  เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับ นศ.  การกำหนดระดับความยากง่าย เคร่งขรึมหรือสนุกสนานที่ครูกำหนด  ความเอาจริงเอาจังหรือท่าทีผักชีโรยหน้า  ลักษณะของประชากรในชั้นเรียน (เช่นจำนวน นศ. ต่างกลุ่มชาติพันธุ์)  ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ.  และมุมมองที่แตกต่างที่นำเสนอในชั้นเรียน

มุมมองต่อบรรยากาศแบบคิดง่ายๆ คือมองเป็น ๒ ขั้ว ดี-ไม่ดี  ดีหมายถึงเท่าเทียมกัน  เกิดการเรียนรู้ดี  ไม่ดีหมายถึง เย็นชา  เหยียดผิว เป็นต้น

ประเด็นสำคัญคือ บรรยากาศเดียวกัน นศ. ต่างคนอาจรู้สึกต่างกันเป็นคนละขั้วก็ได้

ในความเป็นจริง ความแตกต่างของบรรยากาศ ไม่ได้แบ่งเป็น ๒ ขั้ว  แต่มีลักษณะลดหลั่นลงมาทีละน้อย ตั้งแต่ ดำ เทาแก่ และลดความเทาลงเรื่อยๆ จนขาว


ลักษณะท่าทางเฉพาะ (Sterotype)

ลักษณะท่าทางเฉพาะบางอย่างก่อกวนชั้นเรียน เช่นก้าวร้าว  เหยียดผิว  พูดมาก  คุยโว  ซึ่งบ่อยครั้งผู้มีลักษณะเช่นนี้ไม่รู้ตัว  ยิ่งถ้าครูมีลักษณะนี้ซ่อนอยู่  และ นศ. บางคนรู้สึก และความรู้สึกนั้นอาจก่อกวนให้ไม่อยากเรียน

ลักษณะท่าทางเฉพาะ มีทั้งแบบที่ก่อผลลบต่อบรรยากาศการเรียน  และที่ก่อผลบวก  เช่นครูที่มีมุขตลก ช่วยให้บรรยากาศการเรียนไม่เคร่งเครียด


ท่าที(Tone)

นี่คือท่าทีการสื่อสารของครูต่อ นศ. ทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน  ทั้งการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร  สื่อสารด้วยวาจา  และสื่อสารด้วยสีหน้าท่าทาง และพฤติกรรมอื่นๆ (non-verbal communication)  ครูพึงตระหนักว่า นศ. มีความไวต่อการสื่อสารแบบไม่ใช่ถ้อยคำเป็นพิเศษ  และครูที่มีความรักความเตตาต่อศิษย์ ก็จะสื่อสารความรักความเมตตาให้ศิษย์สัมผัสได้โดยง่าย

ผมมีความเห็นเพิ่มเติมจากในหนังสือว่า ท่าทีของครูที่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนรู้อย่างบูรณาการของศิษย์ มีทั้งท่าทีเชิงบวกตามที่กล่าวไปแล้ว  กับท่าทีเชิงลบ ตัวอย่างเช่น ครูควรแสดงท่าทีหรือจุดยืนที่ชัดเจนต่อพฤติกรรมทุจริต เช่นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง (plagiarism)  การลักขโมยสิ่งของ  การลอกข้อสอบ  ว่าเป็นพฤติกรรมที่จะต้องได้รับโทษหนัก หากสอบสวนแล้วพบว่าทำจริง


ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ. - นศ.  และ นศ. - อาจารย์

ผลงานวิจัยเรื่องนี้บอกว่า ปัจจัยด้านนี้ที่มีผลต่อบรรยากาศการเรียนรู้ เรียกว่า “ความรู้สึกต่อกันระหว่างอาจารย์-นักศึกษา” (Faculty Student Orientation)  ซึ่งหมายความรวมถึง การที่ นศ. รู้สึกว่าอาจารย์เอาใจใส่ปัญหาการเรียนของ นศ.  ครูเอื้อเฟื้อต่อ นศ. ชนกลุ่มน้อย  เข้าพบได้นอกเวลาเรียน  ปฏิบัติต่อ นศ. ในฐานะคน ไม่ใช่หมายเลข  เป็นต้น

ผลการวิจัยบอกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเรียนในระดับที่ลึกซึ้งมาก


สาระ (Content)

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศการเรียน ที่กล่าวแล้วข้างบน เป็นปัจจัยด้านกระบวนการทั้งสิ้น  ผลการวิจัยบอกว่า ตัวสาระหรือเนื้อหาที่เรียน ก็มีผลกระทบต่อบรรยากาศการเรียนด้วย   ทั้งสาระ และวิธีการจัดการเรียนการสอน   จุดสำคัญคือ ช่วยให้ นศ. รู้สึกว่าวิชานั้นมีความหมายต่อชีวิตของเขา

ผมขอย้ำอีกทีว่า เมื่ออ่านหนังสือบทนี้จบ ผมเห็นโจทย์วิจัย หรือโอกาสทำวิจัยในห้องเรียนไทยมากมาย

 

วิจารณ์ พานิช

๓ ม.ค. ๕๖

คัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/522911

 

การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร : ๑๓. พัฒนาการของนักศึกษาและบรรยากาศในชั้นเรียน : ภาคปฏิบัติ

พิมพ์ PDF

บันทึก ๑๖ ตอนนี้ มาจากการตีความหนังสือ How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching ซึ่งผมเชื่อว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามที่เสนอในหนังสือเล่มนี้  ตัวผมเองยังสนใจเพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองด้วย

ตอนที่ ๑๒ และ ๑๓ มาจากบทที่ 6  Why Do Student Development and Course Climate Matter for Student Learning?  ซึ่งผมตีความว่าเป็นการมอง “การเรียนรู้” ของ นศ. จากมุมที่กว้างกว่า “การเรียนวิชา”  เชื่อมโยงไปสู่ “การเรียนรู้ชีวิต” สู่วุฒิภาวะในทุกๆ ด้าน  และมองว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นศ. กับ นศ.  และระหว่าง นศ. กับครู มีผลต่อการเรียนรู้มาก

ตอนที่ ๑๒ ว่าด้วยทฤษฎี  ตอนที่ ๑๓ ว่าด้วยภาคปฏิบัติ หรือยุทธศาสตร์


ยุทธศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

ทำให้รู้สึกปลอดภัยในสถานการณ์ไม่แน่นอน

ครูต้องหาทางทำให้บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นบรรยากาศที่เปิดกว้าง  ไม่เน้นถูก-ผิด  และให้คุณค่าความคิดเห็นที่อาจไม่สมเหตุสมผล  เพื่อใช้เป็นขั้นตอนของการเรียนรู้

ครูพึงย้ำว่าความเป็นจริงต่างๆ ในโลก ไม่แยกแยะเป็นขาว-ดำ  และหลายกรณีมีความไม่ชัดเจน  การเรียนรู้ที่แท้จริงไม่ใช่ความพยายามเข้าไปหาจุดเดียว หรือความจริงแท้หนึ่งเดียว  แต่เป็นการทำความเข้าใจแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย  และแตกต่างกันตามมุมมอง

ในห้องเรียน ครูพึงให้ความสำคัญและชวนกันทำความเข้าใจทุกมุมมองที่ นศ. เสนอ  แม้มุมมองนั้นจะไม่ถูกต้อง  ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อการเรียนให้รู้จริง


พยายามไม่ให้มีคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว

ครูพึงทำความเข้าใจกับ นศ. ว่า ความรู้ในตำราเป็นความรู้ที่แบนราบและเป็นเส้นตรง  ความรู้ที่แท้จริงมีมิติความลึก และมีมิติที่สี่ที่ห้า คือกาละเทศะด้วย  ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงจะมีได้ ณ จุดนั้นและเวลานั้น เท่านั้น  คำถามใดคำถามหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง จึงไม่มีคำตอบเดียว

ครูพึงฝึกให้ นศ. ฝึกให้คำตอบให้มากและหลากหลายที่สุดต่อคำถามหนึ่งๆ  รวมทั้งส่งเสริมให้มีคำตอบที่คัดค้านทฤษฎีที่เชื่อถือกันด้วย

ครูควรให้ นศ. ทำแบบฝึกหัดที่มีหลายคำตอบ


ให้มีข้อมูลหลักฐานอยู่ในเกณฑ์ประเมิน

ต้องฝึกให้ นศ. ใช้ข้อมูลหลักฐานอ้างอิงในการเสนอความเห็นหรือโต้แย้ง  วิธีหนึ่งคือใช้ rubrics หรือเครื่องมืออื่น เพื่อค่อยๆ ดึงหลักฐานออกมา  อาจให้ นศ. ตรวจผลงานซึ่งกันและกันโดยใช้ rubrics  และวงข้อมูลหลักฐานของแต่ละส่วนให้เห็นชัดเจน


ตรวจสอบสมมติฐานของตัวครูเอง ต่อ นศ.

สมมติฐานของครู ต่อ นศ. ทั้งชั้น และต่อ นศ. เป็นรายคน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของครู โดยครูไม่รู้ตัว  และพฤติกรรมนี้มีผลต่อการเรียนรู้ของ นศ.  ครูจึงพึงตรวจสอบสมมติฐานของตนให้อยู่บนฐานความเป็นจริง

วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ จัดกระบวนการทำความรู้จักกันในวันแรกของเทอม  ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องพื้นความรู้  เทคนิคทำความรู้จัก นศ. นี้มีมากมายให้ค้นคว้าได้


ระมัดระวังคำพูดที่ระบุว่า นศ. มีความสามารถต่ำ

ครูมีหน้าที่ให้กำลังใจ ให้ นศ. มีความมานะพยายาม  โดยช่วยชี้ช่องทางและวิธีการเรียนที่เหมาะสมให้  ครูไม่ควรใช้ถ้อยคำที่พาดพิงถึงเรื่องที่ไม่มีใครแก้ไขได้  เช่นไม่ควรพูดว่า “ครูยินดีช่วยเสมอ เพราะครูรู้ว่าผู้หญิงมักไม่เก่งคณิตศาสตร์”  การเป็นผู้หญิงไม่มีทางแก้ไขได้ ครูจึงไม่ควรพูด  แต่ควรพูดว่า “หากเธอพยายาม ขยันทำแบบฝึกหัดอีกสักวันละครึ่งชั่วโมง  ครูคิดว่าเธอจะเรียนวิชานี้ได้สำเร็จ”  ความขยันเป็นสิ่งที่แก้ไขได้

เรื่องคำพูดของครู ที่ควรพูด และไม่ควรพูด นี้ ครูทุกคนควรเอาใจใส่ศึกษา


อย่าบอกให้ นศ. คนใดคนหนึ่งพูดแทนกลุ่ม

ในหนังสือระบุถึง นศ. ที่เป็นชนกลุ่มน้อย  ว่าหากให้พูดแทนกลุ่ม อารมณ์ บ่ จอย ของเขาอาจทำให้เขาพูดได้ไม่ดี หรือระเบิดอารมณ์  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเสีย

แต่ผมคิดต่าง  ผมคิดว่าในหลายกรณี ความเห็นของ นศ. ในห้องอาจมีความแตกต่างหลากหลาย  ไม่ได้เป็นเอกภาพ  ซึ่งในด้านเป้าหมายของการเรียน เราต้องการมีหลากหลายความเห็นอยู่แล้ว  การให้พูดแทนกลุ่มโดยไม่ได้แยกกลุ่ม ไม่ได้ปรึกษาหารือหาข้อยุติในกลุ่ม  เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ


ลดการปกปิดตัวตน

บรรยากาศของการเรียนรู้ที่ดีคือบรรยากาศเปิดกว้าง  และมีการยอมรับนับถือตัวตนของ นศ. แต่ละคน  การที่ครูทำความรู้จักและเรียกชื่อศิษย์เป็นรายคน  การที่มีกระบวนการช่วยให้ นศ. รู้จักคุ้นเคยกัน  จะช่วยให้มีบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน


ใช้ท่าที ภาษา พฤติกรรม ที่สะท้อนการเปิดกว้าง ยอมรับชนทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียมกัน

ครูต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ นศ. ทุกคนในชั้นเรียนรู้สึกว่าตนเป็นสมาชิกของห้องเรียนที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนอื่น  ครูพึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำที่สะท้อนจิตใต้สำนึกว่าคนบางกลุ่มเหนือคนอีกบางกลุ่ม  เช่นใช้สรรพนามเพศชาย ส่อว่าให้ความสำคัญผู้ชายเหนือผู้หญิง  หรือเมื่อมีการใช้คำ American idiom ครูก็ช่วยอธิบายให้ นศ. ต่างชาติทราบว่าคำนั้นมีความหมายว่าอย่างไร  เพื่อช่วยให้ นศ. ผู้นั้นได้เข้าใจร่วมไปกับชั้น


ใช้ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย

ตัวอย่างที่แตกต่างหลากหลาย ช่วยให้ นศ. เห็นว่า ทฤษฎีนั้นใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  เช่น  ตัวอย่างที่ใช้ในคนเพศใดก็ได้  ที่ใช้ในผู้หญิง  ที่ใช้ในคนต่างเศรษฐฐานะ  จะช่วยให้ นศ. ติดตามได้  และเห็นคุณค่าของความรู้นั้นในสถานการณ์จริง

 

กำหนดและบังคับใช้กติกาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี

กติกาของปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนต้องมีการกำหนดเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดี  มีท่าทีเปิดกว้าง (inclusive)  นศ. ทุกคนได้รับการพัฒนา   วิธีที่ดีคือให้ นศ. ระดมความคิดช่วยกันกำหนด  เพื่อป้องกันพฤติกรรมของบางคนที่มีอคติต่อคนบางกลุ่ม


ระมัดระวังว่าสาระในวิชาไม่ทำให้ นศ. บางกลุ่มถูกผลักออกไปชายขอบ

ครูต้องระมัดระวังตรวจสอบสาระของวิชา ว่ามีการละเว้นสาระบางส่วนไปหรือไม่  การละเว้นนั้น มีผลเท่ากับไม่ให้ความสำคัญแก่คนบางกลุ่ม  ทำให้ นศ. บางคนรู้สึกเหมือนถูกผลักออกไปนอกวง (marginalized) และมีผลปิดกั้นการสร้างอัตตลักษณ์ของ นศ. คน/กลุ่ม นั้น หรือไม่


สร้างบรรยากาศที่ดีของรายวิชาในวันแรก

ครูพึงใช้วันแรกสร้างความประทับใจ และวางแนวทางของบรรยากาศในชั้นเรียน  แสดงดุลยภาพระหว่างสมรรถนะและอำนาจ กับความเป็นคนที่เข้าถึงง่าย  หาวิธีทำให้ นศ. รู้จักกัน และรู้สึกสบายใจกับครูและรายวิชา  รวมทั้งสามารถเรียนเนื้อหารายวิชาได้อย่างมีความหมาย


จัดให้มีการสะท้อนกลับ เรื่องบรรยากาศการเรียน

ครูต้องหาวิธีได้รับการสะท้อนกลับ (feedback) บรรยากาศในชั้นเรียน ว่าทุกคนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ ให้คุณค่า และรับฟัง อย่างเท่าเทียมกัน  โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีต่อไปนี้ (๑) ถามจาก ตัวแทน นศ. ที่มาพบครูเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ  โดยครูถามประเด็นจำเพาะที่เป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับชั้นเรียนนั้น  (๒) จัดให้ นศ. กรอกแบบสอบถามเรื่องประเด็นอ่อนไหว ในช่วงต้นเทอม  (๓) บันทึกวิดีทัศน์ของชั้นเรียน นำมาพิจารณา  (๔) หาคนมานั่งสังเกตการณ์ชั้นเรียนและให้ความเห็นป้อนกลับ  คนผู้นั้นอาจเป็นเพื่อนครู  นศ. ช่วยสอน  หรือที่ปรึกษาจากศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน

ประเด็นรายละเอียดที่น่าจะตรวจสอบเช่น ครูถามหรือมีปฏิสัมพันธ์กับ นศ. กลุ่มไหนมากเป็นพิเศษ  นศ. กลุ่มไหนไม่ได้รับปฏิสัมพันธ์จากครูเลย  ปฏิสัมพันธ์แบบที่พึงเอาใจใส่คือ ถามคำถาม  ขัดจังหวะ  ถามคำถามที่ง่าย  แสดงความชื่นชมเป็นพิเศษ  เป็นต้น


ระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลม

ครูต้องระมัดระวังเรื่องที่อ่อนไหวล่อแหลมต่อความรู้สึกของ นศ. บางคนหรือบางกลุ่ม  และเมื่อเหตุการณ์ในชั้นเรียนเริ่มส่อไปในทางที่จะเกิดบรรยากาศการเรียนที่ไม่พึงประสงค์  ครูต้องรีบตัดไฟแต่หัวลม  ครูต้องศึกษาและปรึกษาเรื่องนี้เอาไว้เตรียมตัวป้องกันบรรยากาศที่ทำลายการเรียนรู้เรื่องที่สำคัญ จำเป็น แต่เป็นเรื่องอ่อนไหว


ตรวจหาความตึงเครียดให้พบแต่เนิ่นๆ

เมื่อครูจ้องสังเกตระมัดระวังอยู่แล้ว  ครูก็จะเห็นการเริ่มก่อหวอดของบรรยากาศที่ไม่ดี  เช่น มีการบอกให้เพื่อนหยุดพูด  มี นศ. บางคนเลี่ยงออกไปจากห้องหรือจากกลุ่ม  เกิดมีการโต้เถียงกันโดยตรง  ครูต้องรีบหาวิธีระงับเหตุก่อนจะลุกลามใหญ่โต  วิธีการมีได้หลากหลาย เช่นกล่าวคำขอโทษด้วยตนเอง หรือแทน นศ. บางคน “ครูขอโทษ ที่ครูจัดบทเรียนนี้  และนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีของ นศ. จำนวนหนึ่ง”  และชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องการตีความหมายแตกต่างกัน

หลังเวลาเรียน ครูควรเชิญ นศ. ที่มีความรู้สึกไม่ดี หรือ นศ. ที่เป็นตัวจุดชนวน มาคุย  ทำความเข้าใจประเด็นความล่อแหลม และวิธีพูดที่ไม่ระคายความรู้สึกของคนที่ความอดทนในเรื่องนั้นต่ำ

เหตุการณ์ยุ่งยาก  เป็นสถานการณ์จริงสำหรับการเรียนรู้


เปลี่ยนความตึงเครียด และไม่เห็นพ้อง เป็นโอกาสเรียนรู้

นศ. ควรได้เรียนรู้ว่า การโต้เถียง  ความขัดแย้ง  ความไม่ลงรอยกัน  และการตีความต่างกัน เป็นโอกาสขยายมุมมอง ทำความเข้าใจเรื่องนั้นในมิติที่ลึกขึ้น  ทำความเข้าใจมุมมองตรงกันข้าม  ฯลฯ  คือเป็นโอกาสเรียนรู้ให้รู้จริงนั่นเอง  จึงไม่ควรมองสภาพข้างต้นเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์  และไม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด

แต่ด้วยความอ่อนเยาว์ของ นศ.  ที่พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ยังไปไม่บรรลุวุฒิภาวะสูงสุด  จึงมีโอกาสที่ นศ. บางคนจะควบคุมตัวเองไม่อยู่และลุแก่โทสะ ทำให้ “บ่อนแตก”  ทำลายบรรยากาศการเรียนรู้

ครูต้องฝึกกำกับควบคุมบรรยากาศที่ล่อแหลมเหล่านี้  ให้อยู่ในสภาพที่ “พอทน” สำหรับ นศ.  ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นความขัดแย้ง หรือทะเลาะกัน  ให้เป็นบรรยากาศของ “ความตึงเครียดที่สร้างสรรค์” (constructive tension)   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สำคัญมาก


ส่งเสริมให้มีการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)

ความตึงเครียดส่วนใหญ่เกิดจาก นศ. ไม่ได้ฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ  ไม่ได้ฟังสิ่งที่เพื่อนพูดอย่างแท้จริง  พอมีบางคำที่ตนรู้สึกแสลงหู หรือแทงใจดำ อารมณ์วู่วามก็พลุ่งออกมา  ดังนั้นทักษะการฟังที่เรียกว่า active listening จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

นศ. จึงควรได้มีโอกาสฝึกทักษะการฟัง  วิธีหนึ่งคือ paraphrasing หรือการทวนคำพูดของเพื่อน ในสำนวนใหม่ของตนเอง  ครูเองอาจแสดงตัวอย่าง โดยทวนคำพูดของ นศ.  และถามผู้พูดว่า ตรงกับความหมายที่ นศ. ตั้งใจหรือไม่


สรุป

ระดับพัฒนาการของ นศ. มีผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนรู้ให้รู้จริง  และการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ต้องเอาใจใส่ส่งเสริมพัฒนาการของ นศ. ไปพร้อมๆ กันด้วย  นั่นคือ ระดับพัฒนาการของ นศ. เป็นทั้ง means และ end ของกระบวนการเรียนรู้

บรรยากาศของการเรียนรู้ ต้องไม่ใช่เอาใจใส่เฉพาะบรรยากาศทางปัญญา หรือการเรียนรู้วิชาเท่านั้น   แต่ต้องเอาใจใส่บรรยากาศทางสังคม และทางอารมณ์ด้วย  บรรยากาศทั้ง ๓ ด้านนี้ มีผลต่อการเติบโตหรือพัฒนาการรอบด้าน

บรรยากาศ และระดับพัฒนาการของ นศ. มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้อย่างซับซ้อน  ท้าทายครูเพื่อศิษย์ ในการจัดการสิ่งเหล่านั้น เพื่อเอื้ออำนวย ให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้แบบ “รู้จริง”

ผมขอเพิ่มเติมว่า บรรยากาศการเรียนรู้ของ นศ. มหาวิทยาลัย ต้องคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกายของ นศ. ด้วย  สภาพแวดล้อมควรเอื้อให้ นศ. ได้สร้างสุขนิสัย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ติดตัวไปตลอดชีวิต  การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยให้สมองแจ่มใส ลดความเครียด ช่วยการเรียนรู้

 

วิจารณ์ พานิช

๓ม.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/530986

 

 


หน้า 499 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741513

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า