Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เลือกตั้งไทย

พิมพ์ PDF

เลือกตั้งไทย

อ้างแต่เเค่เลือกตั้ง

เอาโจรนั่งสภาไทย

ตั้งโจรอย่างตั้งใจ

อ้างกันไปทำไมกัน

ตั้งวอกหลอกชาวนา

ยังทำท่ามาขบขัน

ดักดานดื้อด้านดัน

ทำด้นดั้นสันดานเดิม

งุบงิบงบประมาณ

ทำหักหาญยันฮึกเหิม

ตั้งตอแล้วต่อเติม

จนเหิมเกริมอย่างเหี้ยมกรียม

เลือกตั้งผู้แทนตน

เหมือนเริ่มต้นและตระเตรียม

แทนไทยได้แทนเทียม

ตามธรรมเนียมท่วงทำนอง

มีพรรคเขาซื้อพรรค

ไทยเรามักไม่มามอง

นายทุนมาขุดทอง

เพื่อสนองเจ้าของทุน

สส. รอเข้าคอก

อีกหนึ่งดอกที่เสียดุล

เสียงใครที่เป็นคุณ

ช่วยกันหนุนนายทุนโกง

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2014 เวลา 21:17 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๒. ชีวิตของทฤษฎี

พิมพ์ PDF

บทวิจารณ์หนังสือในชื่อเรื่อง In the Shadow of Genius วิจารณ์หนังสือ The Perfect Theory แต่งโดย Pedro G. Ferreira ศาสตราจารย์วิชาดาราฟิสิกส์ (Astrophysics) แห่งมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด    ให้ทั้งความสนุก และประเทืองปัญญา     เป็นการจับประเด็นจากหนังสือหนา ๒๘๘ หน้า มาลงในหนังสือพิมพ์หน้าเดียว

เป็นการย่นย่อพัฒนาการของฟิสิกส์ทฤษฎีในช่วงเวลากว่าร้อยปี มาให้เราอ่านในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง    โดยมีพระเอกเป็นอัจฉริยะอันดับหนึ่งของโลก คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์    โดยบทความบอกเราว่า อัจฉริยะผิดได้

ทฤษฎีที่ว่าคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้แก่ไอน์สไตน์ จนกลบผลงานที่ได้รับรางวัลโนเบล (photoelectric effect) โดยสิ้นเชิง

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปมีชื่อเสียงได้รับความสนใจมาก เพราะมีประเด็นโต้แย้งมาก    และที่สำคัญ ตัวไอน์สไตน์เองก็บอกว่า ทฤษฎีนี้เป็นเรื่องของสิ่งที่ยังไม่จบ    ยังมีอะไรบางอย่าง ที่ยิ่งใหญ่กว่า    หนังสือ The Perfect Theory เล่มนี้นี่แหละ ที่อธิบายสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า

ศ. เฟอร์ไรรา บอกว่า อัจฉริยภาพของไอน์สไตน์อยู่ที่เขามีปัญญาญาณด้านฟิสิกส์ (physical intuition)    คือคิดขึ้นมาได้เอง จากสามัญสำนึก โดยไม่ต้องทดลองอะไรทั้งสิ้น    แล้วต้องหาวิธีอธิบายด้วยภาษาวิทยาศาสตร์ คือเป็นสมการคณิตศาสตร์ non-Euclidian geometry   ซึ่งเขาไม่มีความรู้    จึงต้องศึกษาเพื่ออธิบายทฤษฎีนี้ ให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อ    เป็นการเสนอทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่กลับหัวกลับหางกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป    นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อไอน์สไตน์อายุเพียง ๒๖ ปี

ทฤษฎีนี้ต่อยอดมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพเฉพาะด้าน (Special Relativity Theory) โดยเอาเรื่องแรง โน้มถ่วงเติมเข้าไป    ทำให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่ทฤษฎีที่มีอยู่ไม่สามารถอธิบายได้    แต่เมื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ก้วหน้าไป    ก็เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปก็มีข้อจำกัด    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกทัศน์ว่าจักรวาลเป็นสิ่งคงที่

เวลานี้เรารู้ว่า จักวาลเป็นสิ่งที่กำลังขยายตัว    โดยจุดเริ่มต้นของจักรวาลคือ The Big Bang และเรารู้ว่า จักรวาลส่วนที่เราพอจะรู้จัก เป็นเพียงร้อยละ ๔ ของทั้งหมด    อีกร้อยละ ๙๖ เป็น  “หลุมดำ” หรือ dark matter และ dark energy   ซึ่งหมายความว่าเรายังค้นไม่พบวิธีทำความรู้จักมันนั่นเอง

ชีวิตของทฤษฎีสัมพัทธภาพ บอกเราว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของความซับซ้อนของจักรวาล    ความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติหลายส่วนมีช่วงชีวิต เกิดมาแล้วก็จางไป   มีความรู้ใหม่เพิ่มเติมเข้ามา หรือเข้ามาแทนที่

ศ. เฟอร์ไรรา บอกว่า กำลังจะมีการค้นพบความรู้ใหม่เกี่ยวกับจักรวาล ที่เป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เปลี่ยนโลกทัศน์ของเราเกี่ยวกับจักรวาลโดยสิ้นเชิง

สำหรับผม ที่เรารู้ว่าส่วนที่เราไม่รู้มีถึงร้อยละ ๙๖   ที่รู้แล้วมีนิดเดียว    ก็ถือเป็นความรู้ที่ยิ่งใหญ่    เพราะมันช่วยเตือนสติให้มนุษย์ลดอหังการ์ลงไป

หรือมองในเชิงบวก นี่คือโอกาสทำงานวิจัยหาความรู้ที่ขอบฟ้าใหม่ ที่เรียกว่า Blue Sky Research

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:15 น.
 

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส

พิมพ์ PDF

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส

 

 

ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรห่วง

หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ

และห่วงรายได้กันมากๆ แล้ว

จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้

ความดี ความเจริญ ของเด็ก

ความห่วงในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆ บั่นทอน

ทำลายความเป็นครูไปจนหมดสิ้น

จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอที่ตัวเอง

จะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้

ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่

ให้ใครเคารพบูชาอีกต่อไป

 

 

พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเฝ้าฯ

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๑

 

คัดลอกจากป้าย ที่โรงเรียนนวมราชานุสรณ์  จ. นครนายก

 

หรืออ่านได้จาก ที่นี่

 

 

๒๐ ก.พ. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:10 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๒๑. ชีวิตนักแขวน

พิมพ์ PDF

ผมสังเกตสมองของผม ว่าในช่วงหลังๆ นี้ สามารถ “แขวน” (suspend) เรื่องยุ่งใจไว้ได้     ไม่เอามาคิดให้รกสมอง รอไว้จังหวะเหมาะ จึงค่อยเอามาไตร่ตรอง

เพื่อกันลืม ผมใช้วิธีจดเตือนไว้ในปฏิทินใน iPad    ซึ่งเมื่อให้มันเข้าไปอยู่ใน อีเมล์ ของผม    ก็เปิดดูได้จาก Galaxy Tab  และ MacBook    รวมทั้งใน iPad 3 ตัวที่บ้าน    สาวน้อยจึงเห็นด้วย    พฤติกรรมของสาวน้อย ทำให้ผมนึกเปรียบเทียบกับใจผม     ว่าผมฝึกใจให้นิ่งอยู่กับเรื่องยุ่งๆ ได้    รวมทั้งให้ใจแข็งไม่เปิดเผยความลับ    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเมียถาม

ใจผมบอกว่า “แขวนไว้” อย่าไปยุ่งกับมัน    หรืออย่าเพิ่งไปยุ่งกับมัน    กับสาวน้อย ผมบอกว่า เรื่องนี้ตกลงกันไว้ว่าเป็นความลับ ห้ามเอ่ยเด็ดขาด    แล้วผมก็จบ    วันหลังเขาถามอีก ผมก็ตอบด้วยรอยยิ้ม

ทำใจให้นิ่ง ไม่เข้าไปยุ่งหรือคิดเรื่องกวนใจ     ทำให้เรามีสมองสำหรับคิดไตร่ตรองเรื่องสำคัญ    เท่ากับผมฝึกกำกับ working memory ของผม    ให้ใสสว่างว่างสิ่งรบกวน    ทักษะนี้ ผมน่าจะได้จากการฝึก KM    หรือฝึก Dialogue ตามแนวของDavid Bohm ฝึกฟังแล้วรับเอามาแขวนไว้ ที่เรียกว่า suspend     ไม่ตัดสิน ไม่คิดแย้ง     ฝึกบ่อยๆ เข้า คงจะสามารถกำกับ working memory ได้ในระดับหนึ่ง

สมัยเรียนที่จุฬาฯ ผมบ้าอ่านหนังสือชีวประวัติบุคคลสำคัญ     ติดใจประวัติของนโปเลียน โปนาปาร์ต ว่ามีสมาธิสูงมาก    โดยนโปเลียนอธิบายว่า สมองของท่านเสมือนมีลิ้นชักเก็บเรื่องราว    เมื่อจะนอนก็ปิด ลิ้นชักหมด นอนหลับสบายไร้กังวล    เมื่อตื่นขึ้นมาต้องการคิดเรื่องอะไรก็เปิดลิ้นชักนั้น    เอามาคิดทีละเรื่อง ไม่ปนกัน    ผมอ่านเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน พร้อมกับคิดว่า นั่นมันเรื่องของคนพิเศษ

ตอนนี้ผมคิดใหม่ ว่าคนเราฝึกเป็น “นักแขวน”    หรือฝึกชักลิ้นชักสมองได้ทุกคน    ขอให้หมั่นฝึก ก็จะทำได้

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2014 เวลา 10:35 น.
 

คำนิยมหนังสือ บนเส้นทางเพาะพันธุ์ปัญญา

พิมพ์ PDF

คำนิยม

หนังสือ บนเส้นทางเพาะพันธุ์ปัญญา

 

วิจารณ์ พานิช

.................

 

หนังสือ บนเส้นทางเพาะพันธุ์ปัญญา เล่มนี้ มีลักษณะเป็นข้อเขียนเชิงสะท้อนความคิด   สื่อสารสาระที่มาจากใจ หรือจากการใคร่ครวญไตร่ตรอง สะท้อนความคิดจากการทำงานในโครงการ ของคน ๑๐ คน ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน   ในช่วงเวลา ๕ เดือนของการดำเนินการโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา    จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๖   โดยที่จริงๆ แล้ว โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ได้เริ่มมาแล้วกว่า ๑ ปี    จากระยะเวลาของโครงการทั้งหมด ๖ ปี

หนังสือเล่มนี้มี ๒ ตอน    ตอนแรกเขียนโดยหัวหน้าโครงการ ที่ถือกันว่าเป็น โค้ชใหญ่ ของโครงการ คือ รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์    ตอนที่สอง ซึ่งมีไม่ถึงร้อยละ ๒๐ ของหนังสือ เขียนโดย “พี่เลี้ยง” ในแต่ละศูนย์ ซึ่งมี ๘ ศูนย์    ซึ่งถือเป็น โค้ช ตัวจริงต่อครู    ฝึกให้ครูทำหน้าที่ โค้ช กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอีกชั้นหนึ่ง

กระบวนการเรียนรู้ ของนักเรียน ตามโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา แตกต่างจากกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนตามปกติโดยสิ้นเชิง    จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อเริ่มดำเนินการจริงๆ มีโรงเรียนและครูที่สมัครเข้าร่วมโครงการขอลาออกถึงหนึ่งในสาม

สิ่งที่น่าแปลกใจคือ มีโรงเรียนและครูถึงสองในสาม ที่สมัครเข้าร่วมโครงการยังคงยืนหยัดอยู่กับการทดลองรูปแบบการเรียนรู้แบบ RBL ของโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา    ทั้งๆ ที่สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ที่มาจากการบริหารแบบควบคุมและสั่งการจากส่วนกลาง คือ สพฐ. เป็นอุปสรรคอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินการจัดการเรียนรู้แนวใหม่นี้

และที่น่าชื่นชมและภูมิใจตัวครูในโครงการคือ จิตวิญญาณที่จะฟันฝ่าเพื่อผลประโยชน์ของศิษย์    ที่จะช่วยโค้ชการเรียนรู้แบบใหม่ ให้ศิษย์คิดเป็น    เน้นที่การเรียนเพื่อฝึกการคิด มากกว่าเพื่อท่องจำเนื้อวิชา    ผมเรียกครูเหล่านี้ว่า “ครูเพื่อศิษย์”    เพื่อแยกแยะออกจาก “ครูเพื่อกู”

ผมรู้สึกเสียดาย ที่หนังสือนี้ไม่มีข้อเขียนสะท้อนความคิดจากครูสัก ๒ - ๓ คน    ว่าตนได้เผชิญความท้าทายและต้องฟันฝ่าอย่างไร    ในการทำงานเป็น “ครูฝึก” (โค้ช)   ไม่ใช่เป็น “ครูสอน” ตามปกติ    แต่ประเด็นดังกล่าวมีอยู่ในข้อเขียนทั้งของ ดร. สุธีระ และของหัวหน้าทีมพี่เลี้ยงอยู่แล้ว    ให้ผู้อ่านพอจะสัมผัสได้ว่า มีเสียงทั้งหัวเราะและน้ำตาของครู    โดยที่น้ำตานั้นอาจจะเกิดจากความยากลำบากเจ็บปวดก็ได้ เกิดจากปิติก็ได้

อ่านต้นฉบับแล้ว ผมตระหนักว่า โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาเป็นโครงการ ที่อยู่ในสภาพประหนึ่งเข็นครกขึ้นภูเขา    ซึ่งหมายความว่า สภาพแวดล้อมต่างๆ ของโรงเรียน  เป็นไปเพื่อการสอนแบบเดิม คือเน้นสอนวิชา    เน้นการสนองคำสั่งต่างๆ จากเบื้องบน หรือจากผู้ต้องการดึงเด็กและครูไปประดับบารมี    ไม่ได้เน้นที่การเรียนรู้ของศิษย์เป็นเป้าหมายหลัก

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา หากได้ทำหน้าที่เป็นโครงการนำร่องภาคปฏิบัติ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา หรือปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของเด็กอย่างแท้จริง    เราก็พอจะสรุปได้จากข้อมูลในปีแรก (จาก ๖ ปี) ของโครงการ ได้แล้วว่า    ระบบการศึกษาของประเทศไทย ต้องปฏิรูปทั้งทักษะ (รวมทั้งเจตคติ และความรู้) ของครู    และปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ไปพร้อมๆ กัน    หากไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริหารส่วนกลางให้ลดการควบคุมสั่งการ    โรงเรียนและครูจะไม่สามารถมีเวลาเอาใจใส่การเรียนรู้ของศิษย์ได้อย่างจริงจัง

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ “พื้นที่แห่งอิสรภาพ” หรือ “พื้นที่แห่งความปลอดภัย”    ที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่เรียกว่า “การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑”   ที่จะต้องเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ แบบ “ไม่กลัวผิด”    ที่ผลสุดท้ายที่สำคัญที่สุด คือการผลิตพลเมืองที่ “คิดเป็น” “เรียนรู้เป็น” เป็นเป้าหมายหลัก    และมีพื้นความรู้สำหรับใช้ต่อยอดความรู้ใหม่ เป็นเป้าหมายรอง

ข้อความในหนังสือเล่มนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นอุดมการณ์ หรือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ของการศึกษา     และส่วนที่เป็นเทคนิค คือวิธีคิด วิธีโค้ช ปนๆ กันไป    และมีทั้งอารมณ์ลิงโลด และอารมณ์หดหู่ คละเคล้ากัน    ซึ่งผมคิดว่า ตรงกับความเป็นจริงของชีวิต ทั้งชีวิตการงาน และชีวิตส่วนตัว

แต่ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ใด พื้นฐานของการมองโลก หรือเจตคติ คือ “วิธีคิดเชิงบวก” (positive thinking)   และ การคิดกระบวนระบบ (systems thinking) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑    นำไปสู่การฝึกฝนวิธีคิด “จากผลไปหาเหตุ” (backward thinking, backward design) ที่ ดร. สุธีระย้ำนักย้ำหนา     โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ “คิดแบบไม่คิด” (intuition - ปัญญาญาณ)    คือทำได้อย่างเป็นอัตโนมัติ

หนังสือเล่มนี้ เป็นการจารึกการเดินทาง ของโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ในช่วงปีที่ ๑    ผมหวังว่า จะมีการจารึกการดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง    โดนเฉพาะอย่างยิ่งจารึกเหตุการณ์ที่รอยต่อ หรือการโค้ช ระหว่างครูกับศิษย์    และเนื่องจากการจารึกเป็นถ้อยคำมีข้อจำกัด    ผมจึงขอเสนอให้จารึกเป็นวีดิทัศน์    เลือกส่วนที่มีการเรียนรู้เข้มข้นมาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

ผมขอขอบคุณ รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ หัวหน้าโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ที่ให้เกียรติผมเขียนคำนิยมนี้    ทำให้ผมได้เรียนรู้ข้อมูลความเป็นจริงในระบบการศึกษาไทย     ขอให้กำลังใจพี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัย  และครูในโรงเรียน ที่กำลังมุ่งมั่นฟันฝ่าเพื่อดำเนินการโครงการนี้ให้บรรลุผลสำเร็จ    ผมเชื่อว่า ข้อเรียนรู้จากการทำงานในโครงการนี้ จะเป็นหน่ออ่อนของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ของไทย

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 มีนาคม 2014 เวลา 06:55 น.
 


หน้า 373 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744364

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า