Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โพสพสะอื้น

พิมพ์ PDF

โพสพสะอื้น

รอคอยอย่างเข็ญใจ

นายกไทยอยู่ไหนกัน
หลบหนีทุกวี่วัน
ทนอยู่นั้นเพื่อสิ่งใด

ขึงโกรธโทษผู้อื่น
ทำสะอื้นเหมือนร้องไห้
หกแสนล้านบานตะไท
จะโทษใครมิให้ตังค์

มีไหมใจสำนึก
ในรู้สึกลึกรุงรัง
แก่นแกนอันเกรอะกรัง
ประดุจดังทุกด้านดำ

ศพแล้วก็ศพเล่า
เพราะข้าวเน่าเพราะใครนำ
กินแค่แต่ละคำ
ค้างคอค้ำทุกคำกลืน

ทุกข์ใจใบประทวน
แว่วโหยหวนครวญสะอื้น
อยากใส่ในกองฟืน
เพราะเต็มตื้นด้วยตีบตัน

หนี้เก่าเงาดอกเบี้ย
โหยละเหี่ยจนเหหัน
เพิ่มขึ้นทุกคืนวัน
คงจากกันไม่ทันลา

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2014 เวลา 15:40 น.
 

เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กกต.

พิมพ์ PDF
เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง หรือเพื่อประโยชน์ของตนหรือพวกตน

เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กกต.

ข้อเสนอของ กกต. ให้ตกลงกันก่อนเลือกตั้ง ดูได้ ที่นี่ เป็นข้อเสนอที่น่าชื่นชมยิ่ง   แต่ฝ่ายรัฐบาลทักษิณที่มียิ่งลักษณ์เป็นหุ่นเชิด ยังคงต้องการช่วงชิงการได้เปรียบ    เพื่อประโยชน์ของทักษิณ    ไม่มองประโยชน์ของประเทศ

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ธ.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 15:20 น.
 

สู่การปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง

พิมพ์ PDF
ไม่ต้องปฏิรูปทุกเรื่อง ทำเฉพาะเรื่องที่จำเป็น

สู่การปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง

สถาบันอนาคตไทยศึกษา เสนอรายงานบทวิเคาะห์และเสนอแนวทางการปฏิรูปในหัวข้อ สู่การปฏิรูปที่ปฏิบัติได้จริง

ท่านที่สนใจ อ่านได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๓ มี.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:50 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๑๑. เรียนรู้เรื่อง Transformative Learning

พิมพ์ PDF
คุณหมอโกมาตรให้ความหมายว่า “กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกซึ้ง ผ่านประสบการณ์ตรงที่สร้างสำนึกใหม่ และเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ ก่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจโลก และความสัมพันธ์ทางสังคม มีความตื่นรู้ มีสมดุลของชีวิต มีทักษะในการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนย้อนคิด (reflection) มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างทีมสุขภาวะเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข”

 

ในการประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาวิชาชีพสุขภาพให้สอดคล้องกับ ความจำเป็นด้านสุขภาพในบริบทสังคมไทย เมื่อวันที่ ๕ ก.พ. ๕๗   คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ทักท้วง ความหมายของคำว่า Transformative Learning ที่วงการปฏิรูปการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพใช้กันอยู่ในปัจจุบัน     ว่าหมายถึงการเรียนรู้สู่ความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) นั้น ไม่ตรงกับนิยามสากล  ที่มีผู้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลา ๒๐ ปี

คุณหมอโกมาตรให้ความหมายว่า กระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างลึกซึ้ง   ผ่านประสบการณ์ตรงที่สร้างสำนึกใหม่ และเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์   ก่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจโลก และความสัมพันธ์ทางสังคม    มีความตื่นรู้ มีสมดุลของชีวิต มีทักษะในการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สะท้อนย้อนคิด (reflection) มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ    เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างทีมสุขภาวะเพื่อสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข

โชคดีที่ผมบันทึกเสียงไว้ จึงได้นิยามของคำว่า Transformative Learning ตรงจากปากของนัก มานุษยวิทยาทางการแพทย์ คือคุณหมอโกมาตร    ที่ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงท่าทีพอใจ    ประธานคือคุณหมอสุวิทย์ บอกว่า น่าจะมีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ Julio Frenk ว่านิยาม Transformative Learning ของไทยเป็นอย่างนี้

ท่านเอ่ยชื่อ Merzirow    ผมจึงลองค้น กูเกิ้ล ด้วยคำว่า Transformative Learning ได้คำอธิบายใน วิกิพีเดีย ที่นี่ จะเห็นว่าคำว่า Transformative Learning หมายถึงการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐาน (Fundamental Change) ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย

 

วิจารณ์ พานิช

๖ ก.พ. ๕๗

 

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:53 น.
 

“ไซโล” เป็นจำเลย

พิมพ์ PDF

ในการประชุม PMAC 2014 เรื่อง Education Reform for Health Equity มีการพูดถึง “ไซโล” บ่อยมาก ในหลาย session    ว่าเป็นสาเหตุของความล้าหลังของการจัดระบบการศึกษา    ทำให้ปฏิรูปการเรียนรู้ได้ยาก

keyword ที่พึงประสงค์คือ integration ซึ่งหมายถึงบูรณาการ หรือความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆ

“ไซโล” หมายถึงพฤติกรรมแยกส่วน ต่างหน่วย/ต่างสาขาวิชา ต่างทำ     ไม่ทำงานร่วมกัน

ในระบบการศึกษา เป็นการทำงานแบบเอาง่ายเข้าว่า    เพื่อความสะดวกของคนทำงาน     ทำเพียงเพื่อให้งานตรงหน้าของตนผ่านไป    โดยไม่คำนึงถึงผลงานของส่วนรวม     ไม่คำนึงถึงผลงานที่แท้จริง

การทำงานแบบไซโล ตรงกันข้ามกับการทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    สร้าง synergy ระหว่างหน่วยงาน    หรือ synergy ระหว่างศาสตร์    ทำให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพสูง ที่การทำงานแบบไซโล ไม่สามารถบรรลุได้

ปัจจุบันเป็นยุคความรู้ระเบิด    ความรู้แบบแยกส่วนหาง่าย จาก อินเทอร์เน็ต    ส่วนที่หายากและ มีคุณค่าสูง คือความรู้ที่บูรณาการอยู่กับการปฏิบัติ บูรณาการกับบริบท บูรณาการกับศาสตร์อื่น     คน/หน่วยงาน ที่ทำงานแบบ ไซโล จะไม่สามารถเข้าถึงความรู้ที่มีคุณค่าสูงได้

เนื่องจากความรู้มีมาก เพื่อสะดวกต่อนักวิชาการ จึงแยกส่วนความรู้ แยกย่อยลงไปเรื่อยๆ     แล้วสอนเฉพาะส่วนย่อยนั้น    การศึกษาใด จัดหลักสูตรให้มีวิชาแยกย่อยลงลึกจำนวนมาก นศ./บัณฑิต จะรู้ไม่จริง    เพราะขาดพลังเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์

เวลานี้ มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูง จะจัดหลักสูตรให้มีน้อยรายวิชา     จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นรายวิชาบูรณาการ    ซึ่งในชั้นต้นอาจารย์จัดการเรียนรู้ยาก    แต่เมื่อดำเนินการได้แล้ว จะมีคุณต่อศิษย์ล้นเหลือ    และจะทำให้การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นมีคุณภาพสูง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.พ. ๕๗

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 21:03 น.
 


หน้า 374 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744361

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า