Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

แรงบันดาลใจ

พิมพ์ PDF

 

ผมได้อ่านบทความของ ดร.จันทวรรณ ใน gotoknow ที่บ่นว่าระบบการศึกษาไทยทำให้ผ ู้เรียนขาดการใฝ่รู้ ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความคิดเห็นดังนี้

ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของแรงบันดาลใจ ปัจจุบันนี้แตกต่างจากสมัยก่อน ความรู้สามารถค้นหาได้จากหลายแหล่ง หลายช่องทาง ดังนั้นถ้าอาจารย์คิดว่าจะป้อนความรู้ให้นักศึกษาตามที่อาจารย์อยากจะป้อน และอยากให้นักศึกษาทำการบ้านตามที่อาจารย์อยากให้เป็น ผลจึงออกมาตามที่อาจารย์บ่นมา นักศึกษาแต่ละคนจะมีแรงบันดาลใจไม่เหมือนกัน อาจารย์สมัยนี้จึงต้องเปลี่ยนวิธีสอน ต้องหันมาศึกษานักศึกษาแต่ละคนว่าแรงบันดาลใจของเขาอยู่ที่ไหน และปรับการสอนให้เขาเกิดแรงบันดาลใจ หลังจากนักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจ เขาจะวิ่งเข้าไปค้นคว้าหาความรู้ที่สามารถหาได้จากหลายช่องทาง คนไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ ที่จะป้อนอะไรลงไปก็รับไว้หมด แต่คนจะเลือกรับเฉพาะสิ่งที่เขาเกิดแรงบันดาลใจในสิ่งที่ป้อนเข้าไปให้เขาหลังจากนั้นจึงจะเกิดการใฝ่รู้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 มีนาคม 2557

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 12:34 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๓. ร่างที่ไร้วิญญาณ

พิมพ์ PDF

ในวงเฮฮาของกรรมการชุดหนึ่ง     ผมได้เรียนรู้ ว่า ในการทำงานบางอย่างให้ได้ผลดี    ผู้นั้นต้องสามารถเป็น “ร่างที่ไร้วิญญาณ”    ไม่รู้สึกรู้สากับความถูกต้องชั่วดี    ขออย่างเดียวให้ตนได้ประโยชน์ เป็นใช้ได้

มีผู้บริหารระดับสูง (ซี ๑๑) เล่าว่า ในการบริหารราชการนั้น เมื่อได้งบประมาณ    ก็จะมี “เอเย่นต์” มาติดต่อรับดำเนินการ    เอเย่นต์นี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นพรรคไหน ก็เป็นเอเย่นต์คนเดิมหรือกลุ่มเดิม    คล้ายๆ เป็นอาชีพหรือผู้ชำนาญการ ในการใช้งบประมาณ และหักเงินทอน    หรือในสมัยก่อนเรียกว่า ค่าหัวคิว

การตั้งงบประมาณหลายส่วน กำหนดแผนไว้แล้วล่วงหน้า ว่าจะมีเอเย่นต์ไปดำเนินการอย่างไร    มีส่วนเงินทอนมากน้อยแค่ไหน

ผู้ใหญ่ท่านนั้นเล่าว่า เอเย่นต์ บอกว่า ไม่ว่าพรรคไหน ก็ใช้บริการของเขาทั้งนั้น    เขาไม่มีพรรค ไม่ฝักใฝ่การเมือง    ผมแถมว่า เขาประกอบอาชีพสูบเงินภาษีของเรา ไปเข้ากระเป๋านักการเมือง

เขาเป็น แดร็กคิวล่าร์ แห่งศตวรรษที่ ๒๑   ไม่ดูดเลือด แต่ดูดเงิน

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ม.ค. ๕๗

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:01 น.
 

กองข้าวพังครืน

พิมพ์ PDF

กองข้าวพังครืน

หิวจัดมาจากไหน

กินมากไปไม่ระวัง

กองข้าวถึงคราวพัง

ส่งเสียงดังอยู่ครางครืน

รวมข้าวจากชาวนา

เห็นแววตาเขาเต็มตื้น

ความหวังว่ายั่งยืน

ผ่านค่ำคืนจะฟื้นตน

กอดใบประทวนแน่น

ต้องคับแค้นแผนไร้ผล

หลายเดือนเหมือนบัดดล

ลำบากลำบนทนดูใบ

คับแค้นแสนคับขัน

คงถึงขั้นคั้นคอใคร

คงคาบไม่ยอมคาย

มีคราบไคลใครค้างคา

เครียดขึงจนถึงคลั่ง

คล้ายคราวครั้งถูกเข่นฆ่า

เฉือนเนื้อเอาเกลือทา

ยังดีกว่ามาหลอกกัน

กองข้าวคราวถล่ม

ค่อยค่อยล้มเลียงเลื่อนลั่น

ทับใครอยู่ในนั้น

ดูเถิดท่านผู้สร้างกรรม

 

กองข้าวทับใคร?

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:18 น.
 

การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21

พิมพ์ PDF

สรุปผลการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐ

เรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21

วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง

…………………………………………………………………….

 

บทนำ

ปัจจุบันการจัดการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เนื่องจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การจัดการศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องเปลี่ยนตามกระแสสังคมที่จะมุ่งกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มีความคิดเชิงวิพากษ์ วิจารณ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างพยาบาลมออาชีพตามความคาดหวังของสังคมในอนาคต

 

การศึกษาคืออะไร (พูลสุข หิคานนท์ 2557)

การศึกษาคือ

-          กระบวนการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ

-          การสร้างความรู้ ทักษะ ทัศนคติ พฤติกรรมที่ดีต่อผู้เรียน

-          การสร้างคุณค่าให้กับบุคคล

-          การยกระดับสติปัญญาความคิด

-          ความใฝ่เรียน พัฒนาตนเอง การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์

-          ความศรัทธาในความรู้

ซึ่งการจัดกรศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับปรัชญา สาขาประสบการณ์นิยม (Pracmatism)

แนวคิดเกี่ยวกับ Self Directed Learning

โนว์(Knowes, 1975) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาด้วยตนเอง ดังนี้

-          ผู้ริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ผู้ที่รอรับความรู้จากผูอื่น เรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมาย มีแรงจูงใจและยังใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้สูงกว่าการได้รับความรู้จากผู้อื่น

-          การเรียนผู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ ที่เมื่อเป็นผู้ใหญ่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

-          นวัตกรรมใหม่ รูปแบบกิจกรรมใหม่ๆการเรียนแบบอิสระ จะเป็นรูปแบบของกิจกรรมการศึกษาที่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนรับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเองมากขึ้น

-          การเรียนรู้เพื่อตนเองเป็นลักษณะของการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด ของมนุษย์ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และทวีมากขึ้นตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของมนุษย์

แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนจากประสบการณ์และความสนใจเพื่อจะตอบสนองความต้องการของตนเอง และรู้ว่าสนใจในสิ่งใด ประสบการณ์คือแหล่งเรียนรู้อันมีค่าของการศึกษาผู้ใหญ่ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เน้นการวิเคราะห์ หรือใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาให้เกิดประโยชน์ ครุจึงเป็นผู้สนับสนุนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ความเชื่อแนวทางจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ดังนี้

  1. ความต้องการ (Need to Know) ผู้ใหญ่มีความต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่จะนำความรู้มาทำอะไรต่อไป
  2. ผู้เรียนมีหลักการของตนเอง ผู้ใหญ่ต้องการกลุ่มและเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน
  3. ประสบการณ์ ควรจัดให้มีการเสนอประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น การอภิปราย การแก้ปัญหา กรณีศึกษาให้กลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  4. ความพร้อมที่จะเรียน โดยการแนะแนว การให้คำปรึกษา การกระตุ้นให้เห็นความก้าวหน้าในงานและชีวิต เป็นต้น
  5. การจัดการเรียน เน้นแนวทางพัฒนางานเพื่อแก้ปัญหาจากการทำงาน
  6. แรงจูงใจ จากการได้งานที่ดีกว่าเงินเดือนสูงกว่า

การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ(ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557)

จากการที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ปี ค.ศ.2010-2013 มีการจัดการศึกษา Transformative Education ต้องให้นักศึกษามีความสามารถในศตวรรษที่ 21แนวคิดและการจัดการเรียนการสอนจึงปรับเปลี่ยน เป็นการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แนวคิดและการประเมินผล เน้น Outcome- Base ,Competency –Baseevaluation

Transformative Education เป็นทฤษฎีว่าด้วยกระบวนการของการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องราวต่างๆ โดยแบ่งการปรับเปลี่ยนออกเป็น 3 ด้าน หรือ มิติ ดังนี้

ด้านจิตวิทยา การปรับเปลี่ยนความเข้าใจในตน

ด้านความเชื่อ การปรับเปลี่ยนระบบสร้างความเชื่อ

ด้านพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงในวิถีการใช้ชีวิต

Transformative Education จะพัฒนาให้บุคคลนั้นๆสามารถสร้างสรรค์ความคิดต่างๆได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ถูกชี้นำ ความเชื่อ ความรู้สึก หรือการตัดสินใจของผู้อื่นเป็นหลัก แต่ยังเปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่นประกอบการพิจารณา โดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์

กระบวนการหลัก Transformative Education

  1. สังเกตเหตุการณ์ที่พบเห็นที่มีความแตกต่างกันและพิจารณาหาข้อสรุป
  2. พิจารณาเชิงวิพากษ์ของเหตุและผลของข้อสรุปที่แตกต่างกันนั้น หมั่นตั้งคำถามเพราะอะไร เกิดอะไร เชื่อมโยงอย่างไร โดยพิจารณาจากเหตุที่ตนเองคิด และพิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมุมมองหลากหลาย
  3. หาข้อสรุปจากเหตุผลต่างๆแล้วนำมาปรับแนวคิดข้อสรุปเดิมของตนซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม
  4. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กระบวนการคุย ซักถาม ชวนหาคำตอบ โดยการเปลี่ยนมุมมองเป็นมุมมองของผู้รับบริการ แล้วราจะทำงานกับเขาอย่างไร
  5. กระบวนการตอบคำถามใช้ Reflection ทั้ง Self Reflection และGroup Reflection
  6. นอกจากนี้ยังอาจใช้ Interactive IT มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูล

แนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอน

แนวคิดการสอนในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้

  1. Authentic Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นสถานการณ์จริง ทั้งในห้องเรียนและเรียนรู้ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ
  2. Internal Motivation ความสนุกสนานจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เพราะเกิดจากแรงจูงใจภายใน
  3. Mental Model Building เป็นวิธีทำให้เกิดการเรียนรู้จากการประสมประสานความคิด ความจริง ความสัมพันธ์ของสิ่งหรือเรื่องราวต่างๆข้อสรุปแม้กระทั่งความเข้าใจผิดที่เคยเกิดขึ้นจากสิ่งนั้นๆ

หลักการสอนให้น้อยลง แต่เรียนรู้มากขึ้น “Teach Less Learn More”

  1. Multiple Intelligence นักศึกษาแต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นสาระหนึ่งๆควรจัดให้มีการเรียนรู้มากกว่า 1 วิธีหรือรูปแบบ
  2. Social Learning การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย และการกระตุ้นให้มีการทำการสะเท้อนความคิดเห็น(Reflection)และร่วมกันวิพากษ์ วิจารณ์กรณีต่างๆที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
  3. Technology – assisted Learning การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการเรียนรู้
  4. Learning by Doing การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ทำให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการของสาระต่างๆดีขึ้น

หลักการประเมิน ประเมินตามผลลัพธ์ที่เป็นลักษณะที่พึงประสงค์

  1. Competency –Base

-  OSCE

- Standardized Patients

Simulation Lab.

2.  Emphasis on Formative Evaluation

3.  Portfolio

ห้องเรียนกลับทาง (เดชรัต สุขกำเนิด 2557)

องค์ประกอบการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย

 

ในการถกแต่ละครั้ง ต้องครอบคลุมองค์ประกอบทั้งสามด้าน จะเริ่มจากด้านไหนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้แต่ละครั้ง หากเริ่มจากประสบการณ์โดยตรงของนักศึกษา นักศึกษาจะมีส่วนร่วมมากขึ้น ชีวิตผู้คนที่ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ความเหนื่อยยาก หรือจุดพลิกผันในชีวิตของผู้คน ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจอยากรู้ โดยเฉพาะเครื่องมือ เช่น เกมจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดความสามารถในการเรียนรู้ และตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ในการเจรจาต่อรอง การโน้มน้าว การจูงใจแล้วนำประสบการณ์ของการเล่นเกมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์จริง แล้วจึงเชื่อมโยงสู่หลักการ

เมื่อถึงท้ายชั่วโมง การสรุปเป้าหมายการเรียนรูแต่ละครั้งเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สอนจะต้องสรุป และทวนย้ำถึงเป้าหมายของการกลับทางการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการสรุป เพื่อให้ผู้เรียนมั่นใจว่า สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ผู้สอนต้องชี้ให้เห็นถึงโอกาสของการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ

เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ (จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557)

พยาบาลมืออาชีพ

คำถามเราต้องการอะไรจากจัดการศึกษา

ครูมืออาชีพ

ผู้เรียน ศต. 21

 

ติดตามของท่าน ดร จันทวรรณ จาก GotoKnow

บทสรุป

ดังนั้นในฐานะผู้จัดการเรียนการสอนพยาบาลต้องมีการปรับตัว พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยความเป็นอาจารย์พยาบาลมืออาชีพในอนาคต

 

เอกสารอ้างอิง

จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 2557 เครื่องมือเพื่อการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างระบบ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

เดชรัต สุขกำเนิด 2557 เมื่อห้องเรียนกลับทางการเรียนรู้ของผมไม่อึดอัดต่อไป เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

พูลสุข หิงคานนท์ 2557 Innovation for Transformative Learning in Educatio เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

ประสิทธิ์ วัฒนาภา 2557 การจัดการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับศตวรรษที่ 21: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมวิชาการที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษาพยาบาลของรัฐเรื่อง การจัดการศึกษาพยาบาล สำหรับศตวรรษที่ 21 วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต ดอนเมืองกรุงเทพฯ

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:23 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๗. สัปดาห์แห่งการรับใช้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ(๓) วันแรกของ PMAC 2014

พิมพ์ PDF

Keynote Lecture เปิดงานเรื่อง Transformative Learning for Health Equity โดย Prof. Julio Frenk  เช้าวันที่ ๒๙ ม.ค. ๕๗ มีความชัดเจน และใช้เทคโนโลยีช่วยการนำเสนอได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ    ผมถ่ายรูปสไลด์ไว้หมด และจะมี powerpoint ของท่านขึ้นเว็บ ให้ download ได้ ที่นี่ ผมจดหัวใจของเรื่องที่ผมติดใจไว้ดังนี้

    • From Tube to Open Architecture
    • Open architecture & Systems approach
    • T-shape competence  คือต้องมีสมรรถนะทั้งทางลึกและทางกว้าง
    • Harvard Humanitarian Academy   เป็นตัวอย่างพื้นที่พัฒนาจิตอาสา
    • Engaged learning    ที่เราเรียกว่า active learning นั่นเอง
    • Teaching – Research congruence   คืออาจารย์ทำหน้าที่สอนกับวิจัยไปพร้อมกัน

 

ตามด้วย Plenary 1 Transformative Learning for Health Equity : Working beyond Customaries / Breaking Down the Boundaries / Opening New Possibilities โดยมี นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ วาดลวดลายการทำหน้าที่ moderator ที่ทั้งให้ความสนุกสนานและสาระ

 

ฟังแล้วเกิดจินตนาการ เห็นลู่ทางทำงานสร้างสรรค์การเรียนรู้แบบใหม่    หลากหลายแบบ ไร้ขอบเขตจำกัด    เพื่อสนองสถานการณ์ที่แตกต่างกัน    โดยสนองเป้าหมายคือ ความเป็นธรรมในสังคม ด้านสุขภาวะ   ซึ่งก็ตีความได้กว้าง และหลายมุม    พอจะสรุปประเด็นสำคัญคือ

    • เป้าหมายที่พื้นที่ยากจน ห่างไกล ด้อยโอกาส
    • ก้าวข้ามพรมแดนทั้งหลาย
    • ใช้พลัง ICT ทำให้ไกลกลายเป็นใกล้   เรียนแบบ interactive, engaged learning ได้สะดวก
    • พัฒนา บุคลิก/ทักษะ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง    และอุดมการณ์เพื่อสังคม ตั้งแต่เรียนชั้นประถมและมัธยม
    • ระบบแรงจูงใจ เพื่อการทำงาน ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
    • ความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นตัวฉุดรั้ง “สุขภาวะ”
    • เน้น partnership    อย่าลืม นศ. เป็นภาคีการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังมาก    หากปลุกพลังขึ้นมาได้    และประชาชน/ชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของภาคี ของระบบสุขภาพ และระบบการศึกษา

 

จบจาก PL 1 เพื่อรับเสด็จองค์ประธานในพิธีเปิด คือสมเด็จพระเทพรัตน์    แล้วเป็นพิธีเปิดที่ทรงพลัง อย่างยิ่งในการสื่อสาระของความจำเป็นและหลักการของ Transformative Learning for Health Equity   โดยมีผู้พูด และเรื่อง ดังนี้

 

    • Keynote โดยผู้ได้รับพระราชทานรางวัล คือ Anthony S. Fauci เรื่อง Ending the HIV/AIDS Pandemic : From Scientific Advances to Public Health Implementation ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวเลขของ care continuum ของคนติดเชื้อ เอ็ชไอวี ในสหรัฐอเมริกา    คนที่ติดเชื้อ ๑๐๐ คน    เพียง ๘๒ คนได้รับการวินิจฉัย หรือรู้ตัวว่าติดเชื้อ,    ๖๖ คน ได้รับการรักษา,    ๓๗ คนได้รับการดูแลต่อเนื่อง,    ๓๓ คนได้รับยาต้านไวรัส,    และ ๒๕ คนที่เชื้อไวรัสในเลือดต่ำกว่า ๒๐๐ ตัว/มล.   ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนภาพ health inequity ในสหรัฐอเมริกาอย่างแรง     ความหวังในระยะยาวคือหาทางรักษาให้หายขาด ปลอดเชื้อไปเลย    กับการพัฒนาวัคซีน
    • Keynote โดย Paul Farmer เรื่อง Advancing an Equity Agenda in Global Health and Medical Education สาระสำคัญคือความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติ    โดยมี service delivery platform เน้นบริการในชุมชน    โยงกับสถานีอนามัย    สู่โรงพยาบาล    โดยอาศัยข้อมูลภาระโรค เอามาเคลื่อนไหวสังคม    จนเกิดระบบบริการที่ดี    เขายกตัวอย่าง ประเทศรวันดา ที่เพิ่งมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี ๒๕๓๗   แต่เดี๋ยวนี้อัตราตายของเด็กอายุ ๐ - ๕ขวบ ลดลงมาเท่าของประเทศอังกฤษ    และอัตราตายจากเอดส์ก็ลดลงมาก
    • Keynote โดยศาสตราจารย์ Yang Ke, Executive Vice President, Peking University Health Science Center เรื่อง Medical Education Reform at Peking University – To Meet the Social Needs สรุปได้ว่า มีการปฏิรูปหลักสูตรตามแนวทางของ Commission Report
    • Keynote บอกความฝันของคนรุ่นใหม่ ที่เป็น นศ. สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๔ คน จาก ๔ ประเทศ    ที่ต้องการเห็นความเป็นธรรมของระบบสุขภาพ    ที่ถ้อยคำอันจับใจทำให้ ผู้เข้าร่วมประชุมน้ำตาซึมไปตามๆ กัน

 

ตอนบ่ายเริ่มด้วย Keynote โดยศาสตราจารย์ Keizo Takemi เรื่อง Global Political Leadership for Promoting Implementation of Transformative Education for Health Equity ท่านเหมาะที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข    และเวลานี้ก็เป็นผู้แทนราษฎรของโตเกียว   ท่านบอกว่า ประเทศญี่ปุ่นกำหนดนโยบายเรื่องสุขภาพโลกไว้ในนโยบายต่างประเทศ    และกำหนดการคุ้มครองสุขภาพ ถ้วนหน้าเป็นนโยบายสาธารณสุขของประเทศ

 

หัวใจสำคัญของ health equity คือ การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า    ซึ่งเป็นนโยบายที่นักการเมือง ใช้หาเสียงได้ผลมาก (ดังกรณีประเทศไทย)    และการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพโลกผ่านประเด็น health equity จะมีพลังมาก

Plenary 2 Implementing Global Human Resource for Health Education Reform : Examining Experiences and Evidence ซึ่งเป็นการนำตัวอย่างในแต่ละประเทศมานำเสนอ    moderate โดยรอง ผอ. ใหญ่องค์การอนามัยโลก    ซึ่งเป็นคนฝรั่งเศส   โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกมานำเสนอ ๔ เกณฑ์คือ  (๑)​ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างชัดเจน  (๒)​ มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจังต่อเนื่อง  (๓) ลดอัตราตกออกของ นศ. (๔) ประสิทธิภาพในภาพรวมเพิ่มขึ้น

ผู้นำเสนอกรณีตัวอย่างท่านหนึ่งเสนอเรื่องของ Walter Sisulu University School of Medicine, South Africa ได้เงินสนับสนุนจาก USAID ผ่านโครงการ CapacityPlus    จัดการศึกษาผลิตแพทย์เพื่อพื้นที่ยากจน    มีนวัตกรรมคือ คัดเลือก นศ. จากพื้นที่ขาดแคลน, จัดการเรียนการสอนแบบ student-centered, และ จัดการฝึกทักษะแบบฝังตัวในพื้นที่ กระจายไปตามระบบบริการในพื้นที่ขาดแคลน    ผลชัดเจนว่า ลด นศ. ตกออก  และลดค่าใช้จ่าย    ค่าใช้จ่ายต่อหัวบัณฑิตในหลักสูตร ๕ ปี เท่ากับ $ 162,000 หรือประมาณ ๕ ล้านบาทเศษ

อีกท่านหนึ่งเสนอโครงการ CapacityPlus ที่สหรัฐอเมริกาใช้ความช่วยเหลือด้านการผลิตบุคลากร สุขภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั่นเอง

ที่ผมชื่นชมที่สุดคือเรื่องราวของ Northern Ontario School of Medicine แคนาดา    ที่รัฐตั้ง โรงเรียนแพทย์ขึ้นมาผลิตแพทย์ให้แก่คนในพื้นที่ที่มีคนเพียง ๘ แสนคนกระจัดกระจายอยู่ใน พื้นที่กว้างใหญ่ เท่ากับประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศสรวมกัน   นี่คือโรงเรียนแพทย์ชนบทตัวจริง    และใช้หลักสูตรการเรียนการสอน แบบที่ล้ำหน้า ไม่เหมือนโรงเรียนแพทย์ใดๆ ในแคนาดา    ที่เขาเรียกว่า community-engaged education    Roger Strasser คณบดี ไปจากออสเตรเลีย    ผมไปพบที่บราซิล   ท่านได้รับรางวัลครูตัวอย่างจาก PMAC 2014 ด้วย

PS 2.4 What Difference Can Transformaive Learning Make to Improving Performance of Health Workers? ผมไปเข้าห้องย่อยนี้ (มีทั้งหมด ๗ ห้องย่อยพร้อมกัน) เพราะอยากรู้วิธีวัด performance ของบัณฑิต    ซึ่งจากการประชุม ผมสรุปว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว    พวกนักวิชาการสายพัฒนา อยากได้เครื่องมือวัด ที่ใช้เปรียบเทียบกันได้    แต่ผมว่าผลกระทบที่ระบบสุขภาพดีขึ้น สุขภาพของผู้คนดีขึ้น คือตัววัดที่แท้จริง

เป็นอันจบการประชุมวันแรก

แต่ไฮไล้ท์ อยู่ที่พิธีเลี้ยงรับรองตอนค่ำ ที่มี Dinner Talk โดย Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลก   ที่กล่าวถึงเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็ได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ    คือการรักษาผู้ติดเชื้อ เอ็ชไอวี    กับระบบ คุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าของไทย    พลังใจจากความสำเร็จทั้งสองเรื่อง น่าจะเป็นตัวอย่างให้เรื่องยากยิ่ง ที่เราไปประชุมกัน คือ การเปลี่ยนโฉมการศึกษา เพื่อความเป็นธรรมด้านสุขภาพ (Transforming Education for Health Equity) ให้สำเร็จได้    อ่านต้นฉบับปาฐกถาได้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ก.พ. ๕๗

 

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 20:31 น.
 


หน้า 379 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5644
Content : 3068
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8744361

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า