Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

ขอแนะนำภาระกิจของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิก ติดต่อได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 

การเปลี่ยนแปลงของโลกและการปรับตัวของสังคม คัดลอกจากหนังสือ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง

พิมพ์ PDF

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าสังคมโลกและสังคมไทยได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางหลายด้านทั้งเศรษฐกิจสังคม และการเมือง  โดยแต่ละด้านได้ส่งผลกระทบถึงกันและเชื่อมโยงกันตลอดเวลา โดยเฉพาะกระแสโลก หรือที่เรียกว่ากระแสโลกาภิวัตน์ที่กระตุ้นให้สมาชิกสังคมประเทศต่างๆ ได้เปิดตัวเองและตื่นตัวต่อการรับรู้กับสังคมภายนอกอันเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปิดดังกล่าวได้นำสู่การปรับตัว การยกระดับการเรียนรู้ และการพัฒนาของสมาชิกแต่ละสังคมเพื่อการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้สามารถอยู่รอดปลอดภัย ไม่ให้ถูกพัดพาไปตามกระแสโลกภายนอกโดยไม่อาจปกป้องและสร้างภูมิคุ้มกันในบริบทของตนเองเพื่อการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและสันติสุขอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของสังคมมนุษย์

การที่เป็นแต่เพียงคนที่อ่านออก เขียนได้ หรือรู้วิธีการคำนวณและเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ย่อมไม่เป็นการเพียงพอเสียแล้วที่จะเป็นคนในสังคมระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบดังกล่าวต้องการพลเมืองที่เข้าใจและรู้จักความเป็นจริงของสังคม ของโลก และมีทัศนคติต่อคนอื่น ต่อสังคม และต่อสถาบันทางสังคม ซึ่งพลเมืองจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้ทำงานไปด้วยกัน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พลเมืองควรสามารถที่จะใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สังคมให้การรับรองไว้ แล้วเต็มใจที่จะให้สิทธินี้แก่ผู้อื่นด้วย และพร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่อาจคาดเดาได้ "ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงหมายถึงการเป็นสมาชิกในสังคมที่มีอิสรภาพ ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ และมีเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่าง เคารพกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปทางสังคมและร่วมแก้ปัญหาของสังคมด้วยสันติวิธี"

 

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน โดยอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ผมลงมติกับตัวเองว่า ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

 

อธิบายการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน

ที่จริงวงการศึกษารู้จักการเรียนรู้โดยการเปลี่ยนแปลงจากภายใน (trans formative learning) มานานแล้ว  ดังกรณี ปิระมิดแห่งการเรียนรู้ข้างล่าง

 

จะเห็นว่า ระบบการศึกษาที่ยึดถือการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ (informative learning) จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนยอดของปิระมิด หรือส่วนสีชมพู

ส่วนระบบการศึกษาที่เชื่อในการเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน  จะจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ฐานปิระมิด หรือส่วนสีเหลือง

ผลการวิจัยเมื่อ 40-50 ปีมาแล้วบอกชัดเจน ว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีการส่วนฐานของปิระมิด ให้ผลการเรียนรู้ดีกว่ามาก  แต่ก็แปลก ที่วงการศึกษาไทยไม่ตระหนัก  และไม่รู้จัก trans formative education/learning

ผมเคยเข้าใจผิด ว่า trans formative learning เป็นเรื่องของการภาวนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านในแบบถอนรากถอนโคน  บัดนี้ หลังจากอ่านหนังสือ The Heart of Higher Education : A Call to Renewal อย่างไตร่ตรองใคร่ครวญ ผมลงมติกับตัวเองว่า  ที่เรียกว่า trans formative learning คือการเรียนรู้แบบลงมือทำ (learning by doing) หรือ action learning นั่นเอง

ผมตีความว่า trans formative learning เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นช้าๆ ทีละเล็กละน้อย ภายในตน ของผู้เรียน  ผ่านการปฏิบัติ (ทำ และ คิด)  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปัญญา (intellectual), อารมณ์ (emotion), สังคม (social), และจิตวิญญาณ (spiritual)

ครูที่ทำหน้าที่ "ครูฝึก" เก่ง จะช่วยชี้ ชวน ช่วย เชียร์ ชม ให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา มีพลัง และตรงทาง  คือไปในทางสัมมาทิฐิ ไม่หลงไปทางมิจฉาทิฐิ  ครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  แต่ไม่ใช่ทำหน้าที่ ครูสอน ที่เน้นถ่ายทอดวิชา  แต่ทำหน้าที่ ครูฝึก ที่เน้นหน้าที่ ๕ช  ซึ่งตีความได้ว่า ทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) ต่อการเรียนรู้ ของศิษย์

กล่าวให้เข้าใจง่าย ทำงาย การเรียนที่เน้น PBL ตามด้วย AAR/Reflection คือการเรียนรู้แบบ เน้นการเปลี่ยนแปลง งอกงาม จากภายใน (trans formative learning)

การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายในต้องมีส่วน เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (contemplative learning) อยู่ด้วย  ส่วนนี้คือ AAR หรือ reflection นั่นเอง  ครูฝึก trans formative learning จึงต้องมีทักษะการเป็น คุณอำนวย ของกระบวนการ AAR

ผมตีความว่า ครูก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้เกิด trans formative learning ภายในตนเช่นกัน  และทำได้ไม่ยากโดย PLC (Professional Learning Community)  คือเรียนรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ครู  และผลัดกันทำหน้าที่ “คุณอำนวย”  ต่อการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเพื่อนครูด้วยกันเอง

ครูที่มีความสามารถ จะช่วยทำให้ การเรียนรู้แบบเปลี่ยนแปลงจากภายใน ขับเคลื่อนจากความหมายทั่วๆ ไป  ไปสู่ความหมายพิเศษ  คือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านใน ที่เกิดการละลดตัวตน ความเห็นแก่ตัว ไปสู่โพธิสัตว์ในความหมายทางพุทธ

ยิ่งฝึกปฏิบัติจิตตภาวนา สู่จิตตปัญญา ร่วมไปด้วย การเปลี่ยนแปลงสู่โพธิก็จะยิ่งสะดวกเด่นชัดขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๕๖

 

 

ASEAN 2015 ประเทศไทยรอด ต้องทำ 3 อย่าง ปรับคุณภาพทุนมนุษย์, ปรับ Mindset และมุ่งมั่นภาษาอังกฤษ ใครจะทำ 3 เรื่อง นี้ให้สำเร็จ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

ASEAN 2015 ประเทศไทยรอด ต้องทำ 3 อย่าง ปรับคุณภาพทุนมนุษย์, ปรับ Mindset และมุ่งมั่นภาษาอังกฤษ ใครจะทำ 3 เรื่อง นี้ให้สำเร็จ

ผมขอขอบคุณ ผู้อ่านที่ส่งความคิดเห็นกลับมาทาง Web ของแนวหน้า ดังนี้

“ขอบคุณสำหรับบทความจากความจริง ที่ให้ความรู้ ข้อคิดเห็น เพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงภัยทางด้านเศรษฐกิจที่กำลังคืบคลานมาถึงตัว คนในสังคมส่วนหนึ่ง "รู้สึกรู้สา แต่มิได้นำพา" อีกส่วนหนึ่ง"ไม่รู้สึกรู้สา แต่นำพาได้ทุกเรื่อง" อยากให้คนที่รู้สึกรู้สา ออกมานำพาประเทศ ส่วนคนที่ไม่รู้สึกรู้สาก็อย่าทำให้ประเทศวุ่นวายมากไปกว่านี้”

“ต้องให้คนบริหารประเทศฉิบหายชดใช้ในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับคนที่ไม่มีปัญญาแต่อยากมีอำนาจทำให้ประชาชนเดือดร้อน”

ความคิดเห็นเหล่านี้ทำให้ผมมีกำลังใจในการทำงานเขียนมีความสุขที่ผู้อ่านนำไปใช้และถ้ากรุณากระจายข่าวไปในมุมกว้างด้วยก็จะขอบคุณมากครับ

สัปดาห์นี้ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวศิลปอาชาที่สูญเสีย คุณชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จากโรคหัวใจด้วยวัยแค่ 72 ปี

ผมรู้จักอาจารย์ชุมพลมากว่า 35 ปี เพราะเป็นอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเจอกัน ท่านให้กำลังใจผมเสมอ ตอนที่ตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ท่านก็บอกว่า ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

มีคนพูดเล่นๆว่า คุณชุมพลเป็นคนดีของครอบครัวศิลปอาชา น่าเสียดายคนดีตายเร็ว แต่คนไม่ดีมักจะอยู่นาน โลกก็เป็นแบบนี้แหละ “สองมาตรฐานหรือเปล่า?”

สัปดาห์นี้ ผมมีโอกาสไปทำงานเรื่อง อาเซียน 20152 แห่ง2 โรงเรียน คือ

§  วิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี

§  โรงเรียนท่าม่วงราษบำรุง จ.กาญจนบุรี

วัตถุประสงค์ คือไปกระตุ้นให้นักเรียนและครูกว่า 150 คน 2 แห่ง เข้าใจอาเซียนและปรับตัว  ได้มอบหนังสือ 8K’s, 5K’s ให้กับห้องสมุด มีกลุ่มตัวแทนสโมสรไลออนส์ไปร่วมด้วย 5 - 6 คน

กว่าถือโอกาสเสนอแนะให้แก่ผู้อ่านและสังคมไทยว่า การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015 ไม่ใช่เรื่องเล็กๆอีกต่อไป

กว่า 20 หน่วยงานที่ผมได้ไปช่วยสอนและผู้ฟังอีกกว่า 5,000 คน สรุปได้เป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ที่จะต้องนำไปปรับให้คนไทยอยู่รอดในอาเซียน 2015

เรื่องแรก คือ เรื่องภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียนซึ่งก็ต้องยอมรับว่า

§  ทุกหน่วยงานและผู้ฟังทุกคนมักจะเน้นเรื่องความอ่อนด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน

§  แต่ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจนที่จะปรับปรุงการเรียนภาษาอังกฤษให้เป็นเลิศได้ ในช่วงเวลาที่จำกัดได้อย่างไร?

จึงขอตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้

§  รัฐบาลควรมีนโนบายเรื่องภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนให้เป็นรูปธรรม

§  มีคณะกรรมการระดับชาติดูแลแบ่งปันกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน คนวัยทำงาน อื่นๆ

§  มีงบประมาณที่พอเพียง

§  มียุทธวิธีที่แหลมคมเพื่อทำให้สำเร็จ

§  ไม่ใช่ทำเป็นแค่ไฟไหม้ฟาง พูดเยอะแต่ไม่ทำ

§  และในที่สุด ภาษาอังกฤษของเราก็ย่ำอยู่กับที่

§  ผมมั่นใจว่าถ้ารัฐบาลทำจริงๆก็อาจจะมีโอกาสสำเร็จสูง ต้องจัดงบประมาณและวิธีการที่เด่นชัด แต่ความหวังของผมก็ไม่สูงนัก เพราะทำแล้วรัฐบาลได้คะแนนหรือเปล่า? และรัฐบาลได้อะไรในระยะสั้น ต้องไปถามรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ดู

เรื่องที่ 2 เรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุกครั้งที่ผมไปพูดจะยกคำพูดของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่บอกว่า

“คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร”

ผู้ฟังส่วนใหญ่เริ่มคล้อยตาม ถ้าไม่พูดถึงความสำคัญของทุนมนุษย์ ผู้ฟังส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องอื่นๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และผมก็ตามด้วย พื้นฐานของทุนมนุษย์ 8K’s และมุ่งไปที่ 5K’sเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ปรากฏว่าในหน่วยงานกว่า 20 แห่ง กว่า 5,000 คน ที่ผมได้ไปกระตุ้น เห็นด้วยอย่างมากและเชื่อว่าวิธีการปรับคุณภาพทุนมนุษย์รองรับอาเซียนสำคัญมากๆเป็นอันดับต้นๆ แต่คำถามก็คือ ใครจะเป็นผู้นำและทำอย่างไร?

ผมเชื่อว่า จะสำเร็จได้ก็ต้องเป็นรัฐบาลทำและมีพันธมิตรจากภาคธุรกิจ เอกชนและต่างประเทศช่วย แต่ต้องทำให้สำเร็จ

ส่วนประเด็นสุดท้ายก็คือ ปรับ Mindset หรือค่านิยมที่ฝังผิดๆมานานในการคิดและดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อการเข้าสู่อาเซียน

มีการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจจะปรับตัวให้เข้าอาเซียนเสรีได้ต้องปรับทัศนคติหรือค่านิยม(Mindset)ของข้าราชการให้ได้

ปัญหาก็คือปรับทัศนคติของคนไทยเป็นการปรับที่ยากที่สุด ผมได้ทดลองทำมาแล้วที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยให้อ่านหนังสือ Mindset ซึ่งพบว่า

ถ้าจะปรับค่านิยม(Mindset)ให้สำเร็จได้ เรียกว่า Growth Mindset ซึ่งต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและความเจ็บปวด

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ Fixed Mindset คือ คิดว่าฉันแน่ ไม่ต้องเรียนรู้อะไร? ฉันเป็นของฉันแบบนี้ ใครจะทำไมในที่สุดก็จะล้มเหลวการปรับ Mindset ของคนไทยเพื่ออาเซียนก็คือ

§  ต้องไม่หยิ่งว่า “เราไม่เคยเป็นขี้ข้าใคร”

§  Positiveคิดในด้านดี

§  Open มีใจเปิดกว้าง

§  พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

§  พร้อมจะเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตรู้เขามากขึ้น

มองว่าประโยชน์ของอาเซียนคือ ต้องอยู่ร่วมกันเพราะโลกปัจจุบันอยู่คนเดียวไม่ได้แล้ว พร้อมจะสื่อสารเรียนรู้ร่วมกันและกัน สร้างโอกาสร่วมกันไม่ใช่แค่แข่งขันเท่านั้น

การเปลี่ยน Mindset เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นมากๆ

ใครจะเป็นผู้นำ ผมคงจะทำเรื่องเล็กๆ จำนวน500/1000 ได้ แต่ถ้าจะปรับ Mindset ของทั้งประเทศ คงจะต้องให้รัฐบาลทำ

“ปัญหาความอยู่รอดของคนไทยทั้ง 3 เรื่อง รอให้มีผู้นำของรัฐบาลทำต่อไป”

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นำคณะจากสโมสรไลออนส์กรุงเทพ (รัตนชาติ)ไปจัดโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ณ โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุงและวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี และได้มอบหนังสือให้กับห้องสมุดของโรงเรียน  เมื่อวันที่  23 มกราคม 2556

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

แฟกซ์0-2273-0181

 

ลักษณธทางสังคมและวัฒนธรรมไทยที่ขัดขวางหรือสนับสนุนต่อการพัฒนาประชาธิปไตย คัดลอกจากหนังสือ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง โดย ทิพย์พาพร ตันติสุนทร

พิมพ์ PDF

คุณภาพของพลเมืองเป็นตัวชีวัดอนาคตประชาธิปไตย

วิถีไทยที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศไทย

๑.การเป็นรัฐอุปถัมป์

นอกจากการที่รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ยังได้มีการกำหนดและบงการความสัมพันธ์อาณาบริเวณของการเมืองและเศรษฐกิจออกจากกัน มิได้กระตุ้นส่งเสริมพลังต่างๆ ในประชาสังคม หากแต่จำกัด-ควบคุมโดยอาศัยมาตรการทางกฎหมาย กฎระเบียบ และประกาศข้อบังคับต่างๆ เช่นการห้ามสมาคมการค้า องค์กร  สมาคม มูลนิธิ มัวัตถุประสงค์ทางการเมือง อันเป็นการแยกประชาสังคม ออกจากการเมือง และมีผลทำให้ เชื่อยชาและเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมในทางการเมือง

การผูกขาดการใช้อำนาจที่ไม่ส่งเสริมประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมือง จึงสร้างผลเสียต่อสังคมโดยรวม เป็นการไม่เชื่อในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเหตุผลของมนุษย์ กดประชาชนให้อยู่ในพันธนาการทางความคิดแบบผู้อาวุโส ผู้น้อยไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้ เป็นเผด็จการทางความคิดและการกระทำที่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสังคมและสร้างชาติ ทำให้ประชาชนอ่อนแอ ขาดพลัง ต้องยอมรับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของรัฐที่มาจากการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากจนเกินไป

๒.การศึกษา

ระบบการเมือง-การปกครองมีความสอดคล้องต้องกันกับพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม  การศึกษาไทยก็ถูกออกแบบและกำกับโดยระบอบการเมือง หรือผู้นำทางการเมืองนั่นเอง รัฐไทยในอดีตก็ได้เน้นการกล่อมเกลาให้ราษฎร์ได้เข้าใจหน้าที่ของตนเพื่อสนองต่อรัฐโดยมีรัฐเป็นศูนย์กลาง การจัดการศึกษาในเมืองหลวงจึงเน้นหนักไปในการสร้างคนเพื่อรับใช้กลไกหลักของรัฐ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี ขณะที่การขยายการศึกษาไปยังส่วนต่างๆของประเทศเป็นการสร้างพลเมืองที่ดี  ดังเช่นหนังสือธรรมจริยา ที่ใช้สอนตั้งแต่รัชกาลที่ ๕  ก็เป็นมาตราฐานของรัฐในการให้การกล่อมเกลาทางการเมืองอย่างเป็นระบบ

สำหรับรัฐไทยใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญนิยม หรือระบอบประชาธิปไตย ก็ได้มีการนำระบบการจัดการศึกษาสมัยใหม่ที่มีหลักสูตรกลาง มีการเรียนการสอนในระบบที่ควบคุมโดยรัฐนั้น ก็ล้วนเป็นส่วนสำคัญของการควบคุมทางสังคมด้านอุดมการณ์ของรัฐที่ต้องดำเนินไปพร้อมๆกับการควบคุมทางสังคมด้านการใช้อำนาจการปกครองบังคับ การศึกษาแบบนี้จึงมีแผนการศึกษา หลักสูตรการจัดการศึกษาระดับต่างๆ อย่างครบถ้วน และใช้เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ การจัดการศึกษาที่รวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางเช่นนี้ได้ละเลยความสำคัญของความเป็นชุมชน ความเป็นพหุสังคมที่มีศาสนา ภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันในประเทศอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ท้องถิ่นจึงไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเรียนรู้ในแบบวิถีชุมชนเพื่อรักษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชุมชนที่มีอยู่อยากหลากหลาย จึงทำให้ชุมชนอ่อนแอ และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ อีกทั้งการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่ขาดความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในพื้นที่ที่ห่างไกลในยุดการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมา กระทั่งเข้าสู่ยุคบริโภคนิยม ก็ยิ่งเป็นสาเหตุให้ผู้คนละทิ้งท้องถิ่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ เพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตน ดังคำกล่าวที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ก็ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสูงยิ่งขึ้น และสร้างความเสียหารทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศในชั่วปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" อันเนื่องจากระดับการศึกษาไทยไม่สามารถสร้างพลเมืองของประเทศให้มีความสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง กระทั่งนำสู่กระแสการเรียกร้องให้มีการปฎิรูปการศึกษา การเมื่อง และสังคม เพื่อปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน์

การศึกษาที่รวมศูนย์อำนาจการจัดการไว้ที่รัฐบาลดังกล่าวส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมของคนที่ไม่ค่อยเข้าใจบทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของตนเอง และไม่สนใจเรื่องส่วนรวม นักเรียนจึงมุ่งแข่งขันกันเรียน จนเมื่อสำเร็จการศึกษาก็มุ่งหาเลี้ยงชีพเพื่อประโยชน์ของตนเอง และทิ้งภาระทางสังคม-การเมืองไว้กับนักการเมือง อันเป็นค่านิยมของการบูชายกย่องผู้มีความสำเร็จทางเศรษญกิจ มากว่าการให้ความสำคัญกับการสร้างคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมที่พร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม

๓.สื่อมวลชน

การที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การครอบงำจากสื่อ ภายใต้การกำกับของรัฐบาลมาอย่างยาวนาน ทำให้มีผลต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชน  ทำให้ประชาชนไม่รู้ ไม่สนใจ และไม่เข้าใจเรื่องการเมือง ทั้งที่ทุกเรื่องของชีวืตเกี่ยวพันกับการเมืองจนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนไทย

การพัฒนาพลเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตย จึงต้องการสื่อที่มีเสรีภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองแสดงความคิดเห็นเต็มที่ สื่อสารมวลชนคือภาพสะท้อนการมีเสรีภาพของสังคม

๔.สถาบันครอบครัว

เนื่องจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงมีลักษณะแบบถูกจำกัดทั้งการมีทัศนคติแบบอุปถัมภ์ การไม่ให้ความเท่าเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ระบบเลี้ยงดูในครอบครัวก็ได้รับอิทธิพลนี้ไปด้วย การบ่มเพาะตั้งแต่เด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้เขามีจิตใจที่อ่อนโยน มีคุณธรรม รู้จักการมีเหตุผล แบ่งปัน รู้จักรับฟัง มีการแสดงออก และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทด้วยการใช้กำลัง และรักความยุติธรรม แต่การเลี้ยงดูเด็กของคนไทยไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควร  เราสอนเด็กแบบอำนาจนิยมจากการคุ้นชินการใช้ชีวิตภายในรัฐที่ใช้อำนาจในการปกครองบังคับ เราจึงสอนเด็กโดยใช้ระบบอาวุโสเป็นใหญ่ สอนแบบใช้ความรู้สึกและอารมณ์เป็นใหญ่ ผูกขาดความถูกผิดทุกอย่างที่ลูกต้องเชื่อฟังและปฎิบัติตามโดยขาดเหตุผล

วิถีไทยที่สนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย

๑.สังคมไทยให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา

๒.ลักษณะวิถีไทย ที่อยู่รวมกันเป็นชุมชนหมู่บ้าน

๓.ความเป็นพี่เป็นน้อง

๔.ความเป็นพหุสังคมในสังคมไทย

จากการตรวจสอบลักษณะไทยที่ทั้งสอดคล้องและเป็นอุปสรรคต่อวิถีประชาธิปไตย  ทำให้มีคำถามว่าเราจะขจัดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคได้อย่างไร  พร้อมๆกันนั้น ก็ต้องช่วยกันส่งเสริมปัจจัยที่สนับสนุนแนวทางประชาธิปไตยให้เต็มที่ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่และเห็นพ้องกันมากในสังคมโดยทั่วไปคือ โครงสร้างทางสังคม และการมีระบบอุปถัมภ์ ที่เป็นเครื่องค้ำยันของการทุจริตคอรัปชั่น ที่ฝังรากในสังคมไทยมานาน  กระทั่งถ่างขยายความไม่เป็นธรรมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น อันเป็นด้านลบที่ติดอันดับต้นๆ ของข้อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล  ไม่ว่าจะเป็นด้วยการรัฐประหาร หรือการจ้องโค่นล้มกันเองของนักการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาล กลายเป็นวัฎจักรอันเลวร้ายทางการเมืองของสังคมไทยที่ยังไม่อาจก้าวข้ามเพื่อให้ผ่านไปได้

การนำเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้เข้าปีที่ ๘๐ ในปี ๒๕๕๕  แต่สังคมไทยก็ยังไม่สามารถปรับและเปลี่ยนแปลงให้มีวิธีคิดและการใช้ชีวิตแบบประชาธิปไตยได้ คนไทยยังไม่มีการปลูกฝังวิธีคิดและวิธีการใช้ชีวิตและการงานในแบบวิถีประชาธิปไตย จึงทำตนแยกส่วนจากปัญหาทั้งทางการเมืองและสังคม ทั้งที่ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคมล้วนกระทบต่อทุกคน การไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงต่อเรื่องทางการเมืองทำให้สังคมไทยขาดพลังในการแก้ไขและพัฒนา โดยคนไทยจำนวนมากยังคงวางตัวเป็นผู้รับบริการจากนโยบายของรัฐ (Passive Citizen) ชื่นชอบนโยบายประชานิยมพวกเขาจึงเฉื่อยชา ไม่คิดเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการบ้านเมือง แล้วยังปล่อยและฝากปัญหาทั้งหลายนี้ไว้กับคนอื่นทำแทนคนไทย โดยทั่วไปจึงมักแสดงการวิพากษ์วิจารณืด้วยอารมณ์และความเห็น เพื่อแสดงความรู้สึกว่าไม่พอใจ และเรียกร้องให้คนอื่นหรือรัฐบาลเข้าช่วยแก้ไขในทุกเรื่อง ประเทศไทยจึงมีความน่าวิตกในคุณภาพของคนไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คุณภาพของคนที่ไม่คิดถึงส่วนรวม ไม่มีความคิดริเริ่ม ไม่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และรู้จักประชาธิปไตยเพียงการเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้นักการเมืองไร้ความรู้ไม่มีความคิดและไร้คุณธรรม มาใช้เสียงข้างมากฟอกตัวเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรอย่างง่ายดาย แล้วเราจึงไม่แปลกใจในสัจธรรมที่ว่าประชาชนเป็นอย่างไร ผู้แทนก็เป็นอย่างนั้น ตราบเท่าที่เรายังไม่มีผลิตภาพของความเป็นพลเมืองที่เชื่อมั่นในพลังของตนเองต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศแล้วปล่อยให้คนอื่นคิดและทำแทนมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา

อย่างไรก็ดี ลักษณะความเป็นวิถีไทยที่ปรากฎในด้านบวกก็มีอยู่มาก และสามารถเป็นจุดแข็งและจุดขายในการเข้าสู่ความเป็นสังคมในระบอบประชาธิปไตยได้ในอนาคตอันใกล้หากคนไทยได้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแก้ไขจุดที่เป็นด้านลบแล้วกลบด้วยด้านที่เป็นบวก ให้สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยดังได้กล่าวไว้แล้ว

การมีอยู่ของระบอบประชาธิปไตย จึงอยู่ที่คุณภาพของคนภายใต้ระบอบที่รัฐและระบบการศึกษาได้ออกแบบไว้ คุณภาพของพลเมืองจึงเป็นตัวชี้วัดอนาคตประชาธิปไตย ซึ่งขึ้นอยู่กับการสร้างให้เกิดขึ้นด้วยเจตจำนงร่วมกันของคนทั้งสังคม ด้วยเหตุที่ประชาธิปไตยไม่มีขาย  และมนุษย์ก็ไม่มียืนประชาธิปไตยในตัวเอง อนาคตของประชาชนไทยอยู่ในมือของทุกคน การปฎิรูปการเมือง และการปฎิรูปการศึกษา ควรให้เวลาแก่การพูดถึงการสร้างพลเมืองให้มากที่สุดและกว้างขวางที่สุด เพื่อสร้างพลเมืองในความหมายใหม่ที่ปลอดพ้นจากกรอบเดิมที่เป็นการชีนำและกำกับจากส่วนกลาง จากบนลงล่าง แต่ปรับสู่แนวระนาบที่มีเสียงการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด ยุทธศาสตร์การสร้างพลเมืองของประเทศในสถานการณ์การปฎิรูปทั้งการเมืองและการศึกษา จำเป็นต้องเปิดกว้างด้วยบรรยากาศประชาธิปไตย เพื่อการถกเถียงสาธารณะจากทุกสถาบัน ทุกองค์กร ทุกภาคส่วน อย่างเข้าใจ กระทั่งเกิดพลัง เป็นเจตจำนงร่วมกันในทางการเมือง นี่จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ท่ามกลางการแตกแยกทางความคิดทางการเมืองของพลเมือง ด้วยการแสวงหาด้านบวก  และนำสู่การปฎิรูปสังคมอย่างทั่วด้าน เพื่อการสร้างนักประชาธิปไตย-พลเมืองใหม่ขึ้นมาค้ำยันระบอบประชาธิปไตยให้เดินไปข้างหน้า

 


หน้า 517 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741297

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า