Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

วิถีไทยกับการสร้างความเป็นพลเมือง

พิมพ์ PDF

 

พลเมืองมีส่วนเป็นผู้กระทำ มีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบ และพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ

บันทึกนี้คัดลอกจากหนังสือ "การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง" โดย ทิพย์พาพร ตันติสุนทร

"ความเป็นพลเมือง" เป็นคำที่เริ่มใช้กันมากขึ้นในช่วง ๒ ทศวรรษ ของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง   ที่พลังจากประชาชนในสังคมรวมตัวเข้าร่วมขับเคลื่อนกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเป็นอำนาจทางการเมืองที่เป็นอิสระจากอำนาจรัฐ จนเกิดการเมืองของพลเมืองที่มีการขยายตัวและทำงานในรูปแบบต่างๆโดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจจากรัฐ เช่น องค์กร สมาคม องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข สื่อสาธารณะ          การศึกษา เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดจากพลังทางการเมืองของประชาคมหรือภาคพลเมืองที่เห็นเด่นชัดก็คือ การต่อต้านอำนาจทหารในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕  และหลังจากนั้นมีการเรียกร้องให้มีการปฎิรูปสังคม ทั้งด้านการเมือง การศึกษา สาธารณะสุข สื่อสาธารณะ และการกระจายอำนาจ กระทั่งสามารถผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๕๔๐ อันเป็นฉบับที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการขับเคลื่อนของภาคพลเมือง และประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างมากที่สุด

รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง เช่นให้อำนาจการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาล โดยมีกลไกการตรวจสอบที่เป็นองค์กรอิสระหลายองค์กร ให้มีการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเมืองเพื่อพัฒนาการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นต้น

 

ปี พ.ศ.๒๕๕๔ คำว่า "พลเมือง" เป็นคำสำคัญที่ได้รับการบันทึกไว้ในยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย "ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง" ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันเป็นช่วงเวลาของปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างสูงในเรื่องของปัญหาประชาธิปไตยที่ได้สร้างความแตกแยกในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน

นอกจากนี้ องค์กรภาครัฐก็ได้มีการทำงานด้านการสร้าง"พลเมือง" อย่างแข็งขันหลายองค์กร อาทิเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง สถาบันพระปกเกล้า และสภาพัฒนาการเมือง เป็นต้น  รวมทั้งภาคประชาชนหรือภาคพลเมืองก็ได้มีการเคลื่อนไหวด้านการ"สร้างพลเมือง" โดยกลุ่มองค์กร สมาคม และนักวิชาการอิสระทำการศึกษาเพื่อหารูปแบบ "การสร้างพลเมือง" ที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยอย่างต่อเนื่องมาก่อนนี้หลายปีแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิทางการเมืองของประเทศเยอรมัน เช่น สถาบันนโยบายศึกษาที่ทำงานด้านการส่งเสริมกระบวนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง

ปี พ.ศ.๒๕๕๔ จึงเป็นที่เด่นชัดว่าสังคมไทยมีความชัดเจนมากขึ้นในความต้องการที่จะสร้างคนในทิศทางที่จะให้เป็น "พลเมือง"ในแบบของประชาธิปไตย ดังที่งานของสถาบันพระปกเกล้า กำหนดหัวข้อไว้ว่า "ความเป็นพลเมือง กับอนาคตประชาธิปไตยไทย" ซึ่งหมายความว่า ประชาธิปไตยไทยจะเดินไปข้างหน้าได้ก็ด้วยการกำหนดของพลเมืองไทยนั่นเอง

แต่"ความเป็นพลเมือง" สำหรับคนไทยและสังคมไทยก็ยังไม่มีการทำความเข้าใจให้ตรงกันชัดเจน การใช้คำว่าประชาชนและพลเมืองจึงถูกใช้ควบคู่กันไปอยู่เสมอโดยมิอาจแยกแยะความหมายและความสำคัญของคำดังกล่าว

การพูดถึง "ความเป็นพลเมือง" ในทุกวันนี้ เราพึงเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่า เรากำลังพูดถึง "พลเมือง" ในความหมายของคนที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เพราะคำว่า "พลเมือง" มีปรากฎอยู่ในทุกระบอบการปกครองของแต่ละประเทศ แต่พลเมืองจะมีบทบาท หน้าที่  และบุคลิกภาพอย่างไรก็อยู่ที่ระบอบทางการเมืองของรัฐนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อการดำรงอยู่และความมั่นคงของรัฐที่จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนและค้ำจุนโดยคนในสังคมหรือประชาชนนั่นเอง ซึ่งรวมถึงวิถีชีวิต การกินเป็น-อยู่เป็น และคิดเป็นอย่างไร ล้วนอยู่ที่การเมืองการปกครองนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐเผด็จการ กึ่งเผด็จการประชาธิปไตย หรือกึ่งประชาธิปไตย และประชาธิปไตย ผู้อยู่ภายใต้ระบอบนั้นๆก็จะถูกออกแบบมาให้อยู่ตามครรลองของอุดมการณ์ทางการเมืองนั้นๆจนกลายเป็นวัฒนธรรม หรือเป็นวิธีปฎิบัติ เช่น ระบอบเผด็จการ พลเมืองก็จะเป็นผู้รับสนองนโยบายของรัฐ  เคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นผู้ตามที่ดี  ไม่ต้องมีความคิดเห็นเป็นผลดีที่ไม่กล้าโต้แย้ง เพราะถูกจำกัดเสรีภาพและรัฐทำให้ทุกอย่างอยู่แล้ว ดังที่เราเคยได้ยินคำว่า "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" ซึ่งลักษะเช่นนี้อยู่ในขั้วตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งส่งเสริมเสรีภาพของประชาชน ให้อิสระการคิด การแสดงออก กระทั่งสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางความเป็นไปของสังคมและการเมืองได้

ความเป็นพลเมืองในสังคมเผด็จการและประชาธิปไตย จึงมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ดร.วิชัย ตันศิริ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้เป็นหัวหอกให้เกิดการปฎิรูปการศึกษาในปี ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของความเป็นพลเมืองไว้ ๒ ลักษณะในหนังสือวัฒนธรรมพลเมือง ความเป็นพลเมืองในความหมายเก่า หมายถึงการเป็นผู้รับ คอยแบบมือรับทั้งผลบวกและผลลบจากนโยบายรัฐบาล การเป็นพลเมืองจึงเป็นเพียงผู้ตาม ผู้ปฎิบัติตามคำสั่งและกฎหมายอย่างเคร่งครัด เป็นพลเมืองที่ยอมรับอำนาจทางการเมืองอย่างเป็นทางการ คือ เป็นผู้อยู่ใต้การปกครองนั่นเอง

ความเป็นพลเมืองในความหมายใหม่ คือ พลเมืองมีส่วนเป็นผู้กระทำ มีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีความรับผิดชอบ และพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ อันเป็นความหมายของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ที่มองเห็นการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมที่พลเมืองต้องเข้าร่วมรับผิดชอบ ไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมือง ผู้นำ หรือรัฐบาลเท่านั้น

โปรดติดตามตอนต่อไปในสมุดบันทึก "ประชาธิปไตย"

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2013 เวลา 23:56 น.
 

สมาชิกศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับ ท่านสมาชิกที่เข้าลงทะเบียนในเวปไซด์ ทุกท่าน

ขอบคุณที่ท่านให้ความสนใจสมัครเป็นสมาชิกในเวปไซด์ ทุกท่านจะได้รับสิทธฺิเป็นสมาชิกของ มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มูลนิธินี้เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคนไทยทุกคน ทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อช่วยกันพัฒนาคนไทยให้มีความเข้มแข็ง มีความฉลาด มีปัญญาและความรู้ และเป็นคนดี สร้างโอกาสให้กับคนทุกชนชั้น เป็นเวทีให้กับผู้ที่ขาดโอกาส สมาชิกทุกคนจะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ โปรดอดใจรอสักนิด ขณะนี้กรรมการผู้จัดตั้งมูลนิธิกำลังร่างแผนการดำเนินงานของมูลนิธิ ในช่วง 3 ปี นับจากปี 2556-2558 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ทางผมจะติดต่อท่านสมาชิกทุกท่าน สำหรับท่านที่ยังไม่ได้สมัครสมาชิก ขอได้โปรดสมัครได้เลยครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

สุดท้ายนี้ ขออาราธานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ช่วยดลบันดาลให้คนไทยทุกคนมีความสุข หมดทุกข์ หมดโศก เตรียมพร้อมเข้าสู่ความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป

ด้วยความจริงใจ

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

กรรมการและเลขาธิการ

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม 2012 เวลา 15:01 น.
 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยการรวมตัวของคนไทยจำนวน 23 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์ให้มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นมูลนิธิของคนไทย เพื่อคนไทย คนไทยทุกคนสามารถเป็นเจ้าของมูลนิธิและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ สร้างมูลค่าให้กับตัวเอง ครอบครับ สังคม และประเทศชาติ ไม่เป็นภาระให้ใคร

มูลนิธิศูนย์บรูณาการพัฒนามนุษย์ เป็นองค์กรที่บูรณาการสิ่งต่างๆเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทย

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ทำงานร่วมกับ

๑.คนที่ต้องการพัฒนาตนเอง ต้องการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ต้องการหางานที่เหมาะสมกับความสามารถและทำงานอย่างมีความสุข มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่มั่นคงและยั่งยืน

๒.องค์กรที่ต้องการอยู่รอดมีความมั่นคง  ต้องการเจริญเติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน ต้องการที่ปรึกษา ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถ มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ

๓.คนที่มีความพร้อมและมีความสามารถ มั่นคง ต้องการช่วยเหลือสังคม

๔.องค์กรที่มีความพร้อม มั่นคง ต้องการช่วยเหลือสังคม

หน้าที่ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

๑.ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้มีการสร้างความเป็นเลิศโดยการพัฒนามนุษย์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

๒.เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือ เพื่อการพัฒนามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

๓.ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรในสาขาวิชาชีพต่างๆ

๔.จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรทั่วไป

๕.ให้คำปรึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์แก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป

๖.ศึกษา วิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนามนุษย์

๗.ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศาสนา

๘.ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านสังคมสงเคราะห์

๙.ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการกุศลและองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์

๑๐.ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

 

 

รายชื่อและตำแหน่งกรรมการก่อตั้งมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

1.  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์    ประธานกรรมการมูลนิธิ

2.  ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

3.  นายกิตติ คัมภีระ    รองประธานกรรมการมูลนิธิ

4.  น.สพ.สมชัย วิเศษมงคลชัย  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

5.  นายธวัชชัย แสงห้าว  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

6.  ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา  รองประธานกรรมการมูลนิธิ

7.  ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท  กรรมการและเลขาธิการ

8.  ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี    กรรมการและเหรัญญิก

9.  นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

10.  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

11.  ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

12.  รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล  กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา

13.  นางโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์  กรรมการ

14.  นายสยาม เศรษฐบุตร  กรรมการ

15.  นายสามารถ ดวงวิจิตรกุล    กรรมการ

16.  นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล  กรรมการ

17.  นายวิสูตร เทศสมบูรณ์  กรรมการ

18.  นายกรพชร สุขเสริม  กรรมการ

19.  นายทำนอง ดาศรี    กรรมการ

20.  นายชนินท์ ธำรงวิทวัสพงค์  กรรมการ

21.  ผศ.ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ    กรรมการ

22.  นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์    กรรมการ

 

ผู้ใดสนใจมีส่วนร่วมกับมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ สามารถแจ้งความจำนง ไปที่ e-mail address : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือเข้าไปลงทะเบียนได้ในเวปไซด์ www.thaiihdc.org

โปรดติดตามการแถลงข่าวเปิดตัวของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ในเร็วๆนี้

 

· เลขที่บันทึก: 510736 
· สร้าง: 2 ธ.ค. 2012 20:44:02 · น้อยกว่าหนึ่งนาทีที่แล้ว · แก้ไข: 2 ธ.ค. 2012 20:44:02

 

รำพึงถึงอัฟริกา หันมามองไทย บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ประเทศจะเจริญก้าวหน้า วัฒนาถาวรได้ ต้องสร้างอุดมการณ์พึ่งตนเอง ขยันขันแข็ง ไขว่คว้าหาโอกาสที่จะทำงานสร้างตัว สร้างความดี ทำประโยชน์ให้แก่สังคม ต้องมีระบบต่างๆ ในสังคมที่กระตุ้นให้คนทำงานและทำความดี ให้โอกาสคนที่กระตือรือร้น ขยัน และมีความสามารถ ได้ทำงานทำประโยชน์แก่บ้านเมือง

ในการประชุม 2nd Global Symposium on Health System Research (31 Oct – 3 Nov 2012) ที่ปักกิ่ง  ผมมีข้อสังเกตว่า  โครงการที่นำมาเสนอ และมีมิติของความสร้างสรรค์  มักจะมีพื้นที่ดำเนินการในประเทศกลุ่มอัฟริกา  ได้รับทุนช่วยเหลือจากแหล่งทุน หรือองค์การระหว่างประเทศ  ดำเนินการโดยสถาบันในประเทศตะวันตก  มีเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ร่วมดำเนินการ

อัฟริกาจึงเป็นคล้ายๆ “ห้องทดลอง” สำหรับการสร้างสรรค์รูปแบบของระบบสุขภาพ  การประชุม 2nd GSHSR จึงเป็นคล้ายๆ ตลาดนัด  ให้ ๓ หรือ ๔ ฝ่าย มาพบกัน  คือ (1) Donor  (2) นักวิจัย หรือบริษัทรับจ้างจัดการงานวิจัย ในประเทศตะวันตก  (3) นักขอทุนในประเทศรายได้ต่ำ  และ (4) นักคิดและขับเคลื่อนระบบสุขภาพโลก (Global Health)   มาพบกัน  และผมพบว่า การทดลองสร้างสรรค์ดีๆ มักมาจากการทดลองในพื้นที่อัฟริกา

ในการไปร่วมประชุมครั้งนี้ ผมจงใจเน้นเข้าร่วมในพื้นที่เดียว ใน ๓ “พื้นที่” ของ “ตลาดนัด”  คือพื้นที่ห้องประชุม  อีก ๒ พื้นที่ ได้แก่  พื้นที่นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ  กับพื้นที่โปสเตอร์นิทรรศการผลงานวิจัย  ที่จริงทั้ง ๓ พื้นที่ ใช้สังเกตการณ์ทำความเข้าใจพัฒนาการของการวิจัย ของระบบสุขภาพ  และของพัฒนาการของโลก ได้ทั้งสิ้น


ข้อสังเกตของผมคือ ประเทศในอัฟริกา ตอนใต้ทะเลทรายสะฮาร่า ยังคงดำรงความเป็นประเทศรับความช่วยเหลืออย่างเหนียวแน่น  พฤติกรรมต่างๆ ในการประชุม บอกข้อสรุปนี้แก่ผม


ทำไมประเทศในอัฟริกาจึงไม่หลุดพ้นจากสภาพรอรับความช่วยเหลือเสียที

ผมนำความคิดนี้ไปคุยกับหมอสมศักดิ์  ก็ทราบว่าท่านก็มีข้อสงสัย และแนวคิดนี้เช่นเดียวกัน  เราจึงคุยกันสนุก และมีข้อสรุปตรงกันว่า เพราะผู้คนตกอยู่ใต้ลัทธิอุปถัมภ์ และคอรัปชั่น อย่างรุนแรง

จึงหันมามองไทย  ตั้งข้อสงสัยว่า เรากำลังเดินถอยหลังเข้าหาสภาพเลวร้ายดังกล่าวหรือไม่  การเมืองแบบประชานิยมจะนำพาประเทศถอยหลังไปแค่ไหน  ผมนึกถึงประเทศฟิลิปปินส์สมัย ปธน. มาร์กอส  ที่เวลา ๓๐ ปี ทำให้ฟิลิปปินส์ถอยหลัง ยังตั้งตัวไม่ติดมาจนเพิ่งฟื้นเมื่อ ๒ - ๓ ปีมานี้

ประเทศจะเจริญก้าวหน้า วัฒนาถาวรได้ ต้องสร้างอุดมการณ์พึ่งตนเอง  ขยันขันแข็ง ไขว่คว้าหาโอกาสที่จะทำงานสร้างตัว สร้างความดี ทำประโยชน์ให้แก่สังคม  ต้องมีระบบต่างๆ ในสังคมที่กระตุ้นให้คนทำงานและทำความดี  ให้โอกาสคนที่กระตือรือร้น ขยัน และมีความสามารถ ได้ทำงานทำประโยชน์แก่บ้านเมือง



วิจารณ์ พานิช
๔ พ.ย. ๕๕
โรงแรม คอนติเนนตัล แกรนด์  ปักกิ่ง

 

คำสำคัญ (keywords): 551122, hsr, ปักกิ่ง, อัฟริกา
· เลขที่บันทึก: 509599
· สร้าง: 22 พฤศจิกายน 2555 08:43 · แก้ไข: 22 พฤศจิกายน 2555 08:43
· ผู้อ่าน: 40 · ดอกไม้: 8 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 2 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

 

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

เป็นที่ตกลงกันทั่วโลกแล้วว่า หากจะให้ผู้คนในประเทศใดๆ มีสุขภาวะดี  ประเทศนั้นต้องมี ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  โดยที่มตินี้ ได้รับการรับรองจากสมัชชาสุขภาพโลก  และจากสมัชชาสหประชาชาติ

แต่ละประเทศจะต้องมีระบบของตนเอง  เลียนแบบกันไม่ได้ทั้งหมด  เพราะแต่ละประเทศมีเงื่อนไขหรือบริบทแตกต่างกัน

คำว่า “คุ้มครอง” ในที่นี้หมายความว่าประชาชนได้รับความคุ้มครอง  คือเข้าถึงบริการที่จำเป็นหรือต้องการได้ อย่างเท่าเทียมกัน  และการใช้บริการนั้นไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายต่อประชาชนผู้นั้นจนเกินกำลัง  และในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เกิดภาระต่อภาครัฐ หรือต่อสังคมจนเกินกำลังเช่นกัน

เรื่อง “ไม่เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายอย่างไม่สมเหตุสมผล” นี่แหละ ซับซ้อนอย่างยิ่ง  เป็นที่มาของการสร้างระบบที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค (ป้องกันปัญหาที่ต้นทาง) ยิ่งกว่าเน้นการรักษาโรค(แก้ปัญหาที่ปลายทาง)

ประเทศไทยเรามี สสส. เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำหน้าที่ที่ต้นทางของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า  และทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด  คือเน้นให้ตัวประชาชน และชุมชนใกล้ตัวเอง เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า จึงต้องทำงานเชิงรุก และงานตั้งรับ อย่างสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกัน  ให้เกิดการลงทุนลงแรงน้อย ได้ผลมาก  งานเชิงตั้งรับ คือด้านรักษาโรค ก็ต้องมีทั้งระดับปฐมภูมิ รักษาโรคง่ายๆ  ทุติยภูมิ  และ ตติยภูมิ เป็นเส้นทางส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ  ต้องสร้างความเข้มแข็งของทุกระดับ  และหาทางลดการใช้บริการแบบข้ามขั้นตอน เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

ต้องมีการวางยุทธศาสตร์ วางแผนของระบบ เพื่อทำงานรับมือกับปัญหาได้ตรงเป้า  จึงต้องรู้เป้าของแต่ละประเทศ  ซึ่งในภาพใหญ่เหมือนกันหมด  คือปัญหาสุขภาพในปัจจุบันที่ก่อความสิ้นเปลืองมากอยู่ที่โรคเรื้อรัง ที่เกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม (เช่นสูบบุหรี่  ไม่ออกกำลังกาย  กินอาหารมากเกินไป)  และอยู่ที่ประชากรสูงอายุมีสัดส่วนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ  Sir Gus Nossal กล่าวว่า ราคายาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ไม่ได้ตั้งตามราคาต้นทุนของการผลิต  แต่ตั้งตามความสามารถของผู้ซื้อ ว่าพอใจซื้อในราคาเท่าไร  ฝ่ายผู้ซื้อเทคโนโลยีจึงต้องมีความสามารถในการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีแต่ละชนิด  ว่าในบริบทของประเทศของตน เทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าหรือไม่  ไม่ใช่ซื้อเทคโนโลยีตามประเทศที่พัฒนแล้ว เพื่อโชว์ความทันสมัย

โชคดีที่ประเทศไทยมีแผนงานประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพทำหน้าที่นี้  เป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า

ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ใช่ระบบที่หยุดนิ่ง  แต่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มีแรงกดดัน หรืออิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ รอบด้าน  จึงต้องมีการวิจัยตรวจสอบเชิงระบบในแง่มุมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  สำหรับเป็นเข็มทิศชี้ทางต่อการวิวัฒนาการระบบ  ให้วิวัฒน์หรือดีขึ้น ไม่ใช่วิบัติ หรือเสื่อม

ประเทศไทยเราก็โชคดีเช่นกัน ที่มีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.​๒๕๓๕   ได้สร้างผลงานวิจัยเชิงระบบที่มีคุณประโยชน์มากมาย  ที่จริงโครงการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า ที่เวลานี้จัดการโดย สปสช. เป็นองค์กรหลัก ก็มาจากผลงานวิจัยของ สวรส.  รวมทั้ง สสส. และ สรพ. ก็มาจากการวิจัยของ สวรส. ทั้งสิ้น

มองจากประชาชน ผู้รับการคุ้มครอง  นักวิชาการบอกว่า ประชาชนต้องเข้าถึงบริการที่จำเป็น (Access)  อย่างเท่าเทียมกัน (Equity)  โดยที่บริการนั้นต้องมีคุณภาพดี (Quality)  ตรงคุณภาพนี้ ประเทศไทยเราก็มีสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนคุณภาพของระบบริการสุขภาพทุกระดับ

ในการประชุม 2ndGlobal Symposium on Health Systems Research (31 Oct. – 3 Nov. 2012) ที่ปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๓๑ ต.ค. มีการนำเสนอเรื่อง การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศ BRICs  คือ บราซิล  รัสเซีย  อินเดีย  และจีน  ผมประทับใจประเทศบราซิลมาก  ที่มีการวิจัยตรวจสอบการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ที่เกิดจากระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าด้วย  และวางยุทธศาสตร์ลดการเสียดุลย์ลง  โดยผลิตยาและเวชภัณฑ์ขึ้นใช้เอง

ประเทศไทยเรายังขาดการวิจัยระบบ ที่ตรวจสอบขนาดและแนวโน้มของการขาดดุลการค้า ที่เกิดจากระบบสุขภาพ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ พ.ย. ๕๕


· เลขที่บันทึก: 509774

 


หน้า 519 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8741293

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า