Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

มหาวิทยาลัยอังกฤษ : ๖. ความเป็นเลิศหลากแนว

พิมพ์ PDF

ความเป็นเลิศหลากแนว

ในเวลาที่จำกัด และไปเพียง ๔ มหาวิทยาลัย     เราไปเห็นขบวนการ สู่ความแตกต่าง” (differentiation) ของแต่ละมหาวิทยาลัย อย่างชัดเจน

แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด จุดเด่น” ที่ตนเองบรรลุได้   แล้วฟันฝ่าเพื่อบรรลุ    และสื่อสารกับสังคม ว่าตนเด่นด้านใด

ผมมองว่า นี่คือหนทางแห่งความอยู่รอด และอยู่ดี ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ    ที่รัฐบาลกำหนดให้เดิน    และมีวิธีจัดการเชิงระบบ ให้เดินในแนวทางนี้    ไม่ใช่แนวทางโฆษณาจอมปลอม    ไม่ใช่แนวทางเพื่อปริญญา ที่ได้มาโดยง่าย

มหาวิทยาลัย Northamton ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี ระบุในเอกสารแนะนำมหาวิทยาลัย หัวข้อ Awards and Achievements  ว่าเขาเน้นที่การพัฒนาประสบการณ์ของนักศึกษา    ซึ่งส่งผลให้เขา ประสบความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจคือ

· อันดับ ๑ ในสหราชอาณาจักร ด้าน “value added”

· อันดับ ๑ ในสหราชอาณาจักร ด้านการมีงานทำของบัณฑิต

· ได้รับรางวัล UK Midlands Enterprising University of the Year 2012 และ 2013

· ก้าวหน้าเร็วในทุก UK university league table

· ได้รับรางวัล ‘Outstanding HEI Supporting Entrepreneurship’ ของ UnLtd/HEFCE

· เป็นมหาวิทยาลัยแรกในสหราชอาณาจักรที่ได้รับยกย่องให้เป็น ‘Changemaker Campus’ ของ AshokaU

· Cliff Prior, Chief Executive, UnLtd กล่าวเมื่อเดือนมีนาคม 2013 ว่า มหาวิทยาลัย นอร์ธแทมตัน เป็นมหาวิทยาลัยผู้นำในสหราชอาณาจักรในด้านผู้ประกอบการสังคม  เป็นผู้นำที่ทิ้งห่าง”  

มหาวิทยาลัย แอสตัน ซึ่งเพิ่งยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ. 1966 ยังไม่ครบ ๕๐ ปี    ระบุในเอกสารแนะนำความเป็นเลิศด้านต่างๆ ดังนี้

· เน้นการศึกษาด้าน business และ profession

· คำขวัญ Employable graduates, Exploitable research”

· เขานำถ้อยคำ ใน นสพซันเดย์ ไทม์ส แอสตันผลิตบัณฑิตที่ตลาดเสาะหา    บดบังรัศมีมหาวิทยาลัยแบบอ็อกซฟอร์ด” มาเสนอ    บอกความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑืตของเขา

· นสพ. ซันเดย์ ไทม์ส ยากที่จะหามหาวิทยาลัยใดที่จะเทียบ แอสตัน ในความพยายามรับใช้ธุรกิจและอุตสาหกรรม

· การมี นศมาจากหลากหลายประเทศ (๑๒๐เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งในการพัฒนานักศึกษา    ช่วยให้ นศเข้าใจคนในต่างภาษาต่างวัฒนธรรม    และที่สำคัญ ได้เพื่อน สำหรับความร่วมมือในอนาคต

· เป็นมหาวิทยาลัย “Top 10” ในการผลิตเศรษฐี (เดลีย์ เทเลกราฟ ๒๐๑๒)

· มีผลงานวิจัยหลายชิ้น ไปสู่ธุรกิจ และสร้างรายได้ โดยเฉพาะด้านยา   สะท้อนความเข้มแข็งในวิชาการ ด้านชีวการแพทย์    ที่ นศ. จะได้รับประโยชน์

· ระบุความเป็นเลิศด้านกระบวนการเรียนรู้ ไว้ในเอกสาร Learning and Teaching Strategy 2012 – 2020 อย่างน่าสนใจมาก

มหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด ไม่ต้องโฆษณา ใครๆ ก็อยากเข้าเรียนอยู่แล้ว    แต่เขาก็ต้องปรับปรุง พัฒนาตัวเอง    เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว โดย

· พัฒนาการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับยุคสมัย    โดยตั้ง Oxford Learning Institute ขึ้นมาขับเคลื่อน

· ผมตีความจากการอ่าน Strategic Plan 2013 – 2018 ว่าเขาย้ำจุดยืน “independent scholarship & academic freedom”   เป็นการบอกอย่างแนบเนียนว่า นศ. ที่เข้า อ็อกซฟอร์ด ก็เพื่อคุณค่าต่อชีวิตในระดับนี้    ไม่ทราบว่าผมตีความถูกหรือไม่

UCL ก็เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีชื่อเสียง   แต่อยู่ในลอนดอน ซึ่งมีปัญหาหลายด้านในฐานะมหานคร เก่าแก่    ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่มีผลงานและชื่อเสียง    และตั้งอยู่ในลอนดอนเป็นโอกาสอย่างยิ่ง ในการสร้างความเป็นเลิศ   โดย UCL เน้นที่

· เป็น Global University   และดำรงความเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนทุกสถานะทางสังคม ตามปณิธานของการก่อตั้งเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน และมีความเป็นเลิศด้านการวิจัยในขั้น discovery หรือ basic research    ดังเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ที่นี่

· สร้างความเป็นผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการทางสังคม ตามในบันทึกตอนที่ ๕

· สร้างจิตอาสา หรือจิตสาธารณะ   ดังใน เว็บไซต์

ความเป็นเลิศด้านวิชาการโดดๆ  กำลังถูกท้าทายโดย ความเป็นเลิศในการสร้างคุณค่าให้แก่นักศึกษา”  ทุกมหาวิทยาลัยต้องทำความชัดเจน    ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น   และสื่อสารเป้าหมายและผลสำเร็จ ต่อสังคม

ผมขอเสนอว่า ประเทศไทยต้องมีการจัดการเชิงระบบ    เพื่อขับเคลื่อนความเป็นเลิศหลากแนวของ สถาบันอุดมศึกษาของประเทศ    เพื่อใช้เป็นกลไกสร้างความกระตือรือร้นมีชีวิตชีวา ในวงการอุดมศึกษา     โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นักศึกษาและอาจารย์    ในการทำงานสร้างสรรค์ให้แก่ประเทศ    วิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ผิด เพราะเน้นการควบคุม-สั่งการ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/551389

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2013 เวลา 07:38 น.
 

เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

พิมพ์ PDF

เศรษฐกิจเชิงพุทธ : เปรียบเทียบเศรษฐกิจของฆราวาสกับพระสงฆ์

วาทิน ศานติ์ สันติ

ภาพจาก : http://eyesimage.wordpress.com/2010/04/27

ข่าวพระสงฆ์ไทยทุกวันนี้หลายข่าวทำให้เราชาวพุทธไม่ค่อยสบายใจมากนัก โดยเฉพาะข่าวพระสงฆ์ใช้ศรัทธาประชาชนเรียกเงินมหาศาลจนซื้อบ้าน ซื้อรถ ซ้อเครื่องบินส่วนตัวได้ เพื่อนผู้เขียนคนหนึ่งบอกว่า องค์กรสงฆ์เป็นเพียงองค์กรเดียวที่ไม่อาจตรวจสอบฐานะทางการเงิน ผมก็ว่าจริง บางวัดมีเงินบริจาคมหาศาล มากจนนำเงินนั้นมาพัฒนาประเทศได้มากมาย คำถามสำคัญ เงินบริจากถูกนำไปใช้อะไรบ้าง ใครเป็นผู้ดูแล

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เน้นกระปฏิบัติตนเพื่อไปให้ถึงความสุขอันสูงสุดคือ “นิพพาน” ดังนั้นหลักคำสอนของศาสนาพุทธจึงสอดแทรกทุกกิจกรรม โดยเฉพาะเศรษฐกิจซึ่งผูกพันกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ แต่กระนั้นเป้าหมายหลักก็ต่างกัน

 

เศรษฐกิจกับพุทธศาสนาเปรียบเทียบฆราวาสกับพระสงฆ์

๑. เป้าหมาย

ฆราวาส เพื่อ ๑.) การมีทรัพย์ ๒.) การใช้จ่ายทรัพย์ ๓.)การไม่มีหนี้สิน ๔.)ปราศจากทุกข์

พระสงฆ์ เพื่อ ๑.) เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน ๒.) เพื่อขัดเกลากิเลศ

๒. การได้มา

ฆราวาส ได้มาจากสัมมาอาชีวะโดยการประกอบอาชีพหรือเลี้ยงชีพชอบ เป็นการได้มาอันสุจริต เพื่อ ๑.) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ๒.) ท่ามกลางจิตใจที่มีคุณธรรมเพื่อประโยชน์ในชาตินี้ หรือชาติหน้า ๓.) หรือเพื่อหวังความสูงสุดคือนิพพาน ทรัพย์ที่ได้มาต้องไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และไม่ผิดกรรมบถ

พระสงฆ์ ได้มากจากการ บิณฑบาต เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อใช้สอย การร้องขอนั้นสงฆ์สามารถขอได้เฉพาะญาติหรือผู้ที่ปวารณาตนไว้แล้วเท่านั้น เหตุที่บัญญัติเรื่องการได้มาของทรัพย์นั้นสามารถจำแนกได้ดังนี้

๑. เพื่อขัดเกลาจิตให้มีคุณธรรมและพระนิพพาน คือการดำรงชีวิตที่ไม่ยุ่งยาก

๒. เพื่ออยู่เป็นสุขของสงฆ์ เพื่อให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ดี

๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก หรือผู้ที่ไม่มีความอาย

๔. เพื่อความสำรวมแห่งสงฆ์อันมีศีลเป็นที่รัก

๕. เพื่อป้องกันอาสวะอันเกิดในปัจจุบัน และในอนาคต

๖. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสแล้ว

๗. เพื่อความตั่งมั่นแห่งพระสัจธรรม

๘. เพื่อเอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย ให้พระธรรมวินัยคงอยู่ได้ เพราะหากบัญญัติขอหนึ่งและรักษาได้ บัญญัติอื่นจะสามารถคงอยู่ได้เช่นกัน

๙. สามารถขัดเกลาตนเอง เป็นหนึ่งในการปฏิบัติธรรมและเกี่ยวข้องกับผู้อื่นในแง่การเลื่อมใสด้วย

นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการแสวงหาทรัพย์ที่ไม่สมควร (อเนสนา) เอาไว้ กล่าวคือ หากทรัพย์ที่ได้มานั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่บริสุทธิ์ ถือเป็นอาบัติ

๑. ห้ามทรัพย์ที่ได้มาจากการอวดอุตริมนุษยธรรม

๒. ห้ามชักสื่อนำทรัพย์มาให้

๓. ห้ามร้องขอต่อบุคคลที่ไม่ใช่ญาติหรือผู้ที่ไม่ได้ปวารณาตน

๔. ห้ามขอในเวลาที่ไม่สมควรเช่น การร้องขออาหารในเวลาอันวิกาล

๕. แกล้งอาพาธเพื่อแสดงความเห็นใจให้ได้มาซึ่งทรัพย์

๖. พูดชักจูงให้ผู้คนตายใจจนนำทรัพย์มาให้

๗. บีบบังคบด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งที่ผู้นั้นไม่เต็มใจ

๘. ต่อลาภด้วยลาภ

๓. การใช้

ฆราวาส ควรใช้ให้พอดี พอเพียง ไม่ใช้จนเกินกำลังก่อให้เกิดหนี้สิน ไม่ใช้ไปตามลิเลส

พระสงฆ์ ควรใช้แต่ความพอดีในการดำรงชีวิตและปฏิบัติธรรม เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลศ จำแนกได้ดังนี้

๑. ใช้แค่บริขาร ๘ อันประกอบด้วย สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคด กระบอก กรองน้ำ ซึ่งสงฆ์ต้องพิจารณา ๒ ขณะคือ ขณะรับและเมื่อรับแล้ว  หากรับโดยปราศจากการพิจารณาจะถือว่าของที่ได้มานั้นอาบัติ

๒. เพื่อขัดเกลากิเลศ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เป็นการเจริญสัมปชัญญะกรรมฐาน เพื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นเช่น กินเพื่ออะไร ที่อยู่อาศัยเพื่ออะไร ยาเพื่ออะไร เครื่องนุ่งห่มเพื่ออะไร เมื่อพิจารณาแล้วทำให้ไม่ยึดติดกับสิ่งของเหล่านั้น อีกทั้งเพื่อรู้ว่าสิ่งที่ได้มาคืออะไร หากไม่พิจารณาจะถือว่าเป็น การกินใช้อย่างขโมย การกินใช้อย่างเป็นหนี้ กินใช้อย่างทายาท กินใช้อย่างเจ้าของ ซึ่งไม่เหมะกับพระสงฆ์

๔. การสะสม

ฆราวาส สะสมเพื่อใช่สอยยามจำเป็น หรือเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละอาชีพของตนเอง เช่น สะสมเพื่อค้าขายเป็นต้น

พระสงฆ์ ต้องไม่สะสมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่จำเป็นและต้องเป็นไปตามพระวินัยกล่าวคือ

๑. ต้องไม่สะสมของที่ได้มาและต้องรู้ว่าสิ่งของหรืออาหารต่าง ๆ นั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าใด  อาหารทั่วไปเก็บได้ตามเวลา เช่นเช้า – เที่ยงวันเท่านั้น หากเป็นสิ่งของที่ใช้ปรุงยาสามารถเก็บไว้ได้ตลอด

๒. เพื่อไม่ให้ยึดติดไม่ให้หวงแหน

๓. เพื่อความเป็นระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสงฆ์

๔. เพื่อการอาศัยร่วมกับฆราวาสอย่างเป็นสุข เพื่อไม่ให้เกิดการติเตียน

 

ตัวอย่างการใช้ทรัพย์ตามหลักศาสนา

ฆราวาส การใช้ทรัพย์ หรือการมีวิถีทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับหลักทางพระพุทธศาสนา เป็นการเอาเปรียบและเบียดเบียนผู้อื่น เช่น นักการเมืองแสวงหาทรัพย์อันเกิดจากการทุจริต การช้อราษฎร์บบังหลวง ทำให้บ้านเมืองไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างที่ควรจะเป็น ใช้อำนาจที่ตนมีเป็นเครื่องมือแสวงหาทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมให้กับตนเองและเพื่อนพ้อง ทำให้เกิดการแตกแยกทางสังคม รวมถึงนักธุรกิจที่ไม่มีศีลธรรมก็จะแสวงหาทรัพย์โดยไม่สนหลักมนุษยธรรม เกิดการขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนและลูกจ้าง หากประชาชนปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจของศาสนาพุทธและรวมถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สังคมไทยก็จะอยู่เป็นสุข แม้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจก็สามารถเลี้ยงตนเองได้

พระสงฆ์ หากปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจตามพระธรรมวินัย สังคมสงฆ์ก็จะอยู่อย่างสงบสุข เป็นที่ศรัทธาของประชาชน ศาสนาพุทธจะมีผู้เลื่อมใสมากมาย เป็นการสืบทอดพระศาสนาให้ยาวนานขึ้น เช่นการใช้ผ้าจีวรของพระอานนท์ ที่ใช้อย่างคุ้มค่าคือเริ่มจากการเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเก่าแล้วก็ใช้เป็นผ้าปูนอน เก่าแล้วใช้ปัดเช็ดถู เก่ามาใช้เป็นผ้าเช็ดเท้า และเมื่อเก่าจนใช้ไม่ได้ก็ตำรวมกับมูลดินเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ซึงถือเป็นตัวอย่างของการใช้สอยทรัพย์อย่างคุ้มค่า

บทสรุป

เหตุที่ต้องหลักธรรมกับเศรษฐกิจเพราะ ผู้ที่เข้าบวช รวมถึงฆราวาสนั้นมีภูมิหลังที่ไม่เท่ากัน ฐานะทางสังคมและการเงินไม่เท่ากัน แต่เมื่อมาอยู่รวมกันแล้ว จะต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน เสมือนดอกไม้ต่างพรรณต่างสีที่กระจัดกระจายถูกนำมาร้อยเป็นพวงเดียวอย่างสวยงาม

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๒๐ ต.ค. ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2013 เวลา 07:52 น.
 

อิทธิพลของปรัชญาและศาสนาที่มีต่องานศิลปกรรมไทย ภาคสรุป

พิมพ์ PDF

อิทธิพลของปรัชญาและศาสนาที่มีต่องานศิลปกรรมไทย ภาคสรุป

วาทิน ศานติ์ สันติ

ภาพจาก : http://ter-np.blogspot.com/2010/12/blog-post.html

 

ประเทศไทยยึดมั่นพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก แต่ก็ให้ความสำคัญกับศาสนาต่าง ๆ เช่นศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ รวมถึงพุทธมหายาน  ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว งานศิลปกรรมในศาสนาถือเป็นปริศนาธรรมเข้าสู่หลักธรรม อีกทั้งบ่งบอกถึงฐานะ อำนาจ รถนิยม คตินิยม ของผู้สร้างได้ด้วย เพื่อการเผยแพร่ศาสนาให้ยืนยาว

๑. งานสถาปัตยกรรม

คติความศาสนาพราหมณ์และพุทธเรื่อง “คติภูมิจักรวาล” เชื่อว่า ศูนย์กลางของจักรวาลคือเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร ด้านล่างลดหลั่นกันลงมาเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดาและสัตว์ในป่าหิมพาน มีทะเลล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีทวีปทั้งสี่ทิศ งานสถาปัตยกรรมไม่ว่าในสถาบันพระมหากษัตริย์หรือในศาสนาสร้างด้วยคตินี้ทั้งสิ้น เช่นการสร้างหลังคาซ้อนชั้น การใช้เทวดาและสัตว์ อมนุษย์หิมพานเป็นส่วนประกอบของอาคาร เป็นการนำคตินามธรรมสู่รูปธรรม

๑.๑ พระราชวัง กษัตริย์เป็นสมมติเทพ ที่อยู่อาศัยจึงมีความวิจิตรและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ของเทพเจ้า เช่นหลังคาซ้อนชั้นหมายถึงชั้นของเขาพระสุเมรุ เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หน้าบรรณพระอินทร์ทรงช้างเอรวัณ ตรีศูร เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

๑.๒ เทวาลัยปราสาทหิน เป็นเทวลัยของศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ในศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา เช่น เทวลัยในไศวนิกาย ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เทวลัยในไวษณพนิกาย ปราสาทนารายเจงเวง จ.สกลนคร

๑.๓ วัดไทย ปรากฏสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเทรวาท มหายานและศาสนาพราหมณ์ไว้มากมายเช่น

- ลายหน้าบันนารายณ์ทรงครุฑยุตนาคที่วัดสุทัศน์เทวราราม คติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์

- ช่อฟ้า ใบละกา หางหงส์ ที่พวยพุ่งเป็นเปลวสู่เบื่อบนเป็นความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาท เรื่องนิพพาน

- ชั้นหลังคาซ้อนชั้นแสดงถึงคติเขาพระสุเมรุ

- เส้นนอกของอาคารจะเป็นเส้นโค้ง ดูเบาล่องลอยสู่เบื้อบน

- เจดีย์แสดงคติเขาพระสุเมรุ ส่วนปล่องไฉนแสดงสัญลักษณ์ตัวเลขเช่น ๕ ชั้น ๒๘ ชั้นแสดงถึงจำนวนพุทธเจ้า

- วัดไทยร่วมสมัย เช่นวัดร่องขุน จ.เชียงราย แสดงถึงสีขาวแห่งความบริสุทธิ์ เส้นพวยพุ่งขึ้นสูงแสดงถึงพระนิพพาน

สะพานข้ามน้ำเข้าโบสถ์หมายถึงการข้ามสังสารวัฎ

๑.๔ วัดจีนในไทย แสดงคติมหายาน มีสัญลักษณ์มงคลจีนประดับ เช่น ท้อคือความยั่งยืน,ห่านคือ  อาคารประดิษฐานพระพุทธรูปคติมหายานเช่นที่วัดมังกรกมลาวาส มีพระอมิตาภะ พระศรีอารยเมตรไตรย พระโพธิสัตว์มหาสถาปราบ หากเป็นศาลเจ้าจะมีรูปเคารพเทพเจ้าประจำศาล เช่น ศาลเจ้านาจาซาไท่เจื่อ จ.ชลบุรี มีรูปเคารพเทพเจ้านาจา

๑.๕ วัดไทยผสมศิลปกรรมจีน เช่น วัดราชโอรส เป็นศิลปะพระราชนิยมในรัชการที่ ๓จะลดรูปแบบราชประเพณีออกไป เช่นตัดช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระเบื้อเคลือบแทน ใส่สัญลักษณ์สัตว์ ดอกไม้มงคลแทน ทวารบานก็ใช้ตุ๊กตาหินแบบจีน

๑.๖ บ้านเรือนไทย ยกพื้สูง ทำด้วยไม้ โปรง หลังคาจั่วสูง  แสดงถึงความสงบ ร่มเย็น เลื่อมใส

๒. งานประติมากรรม

๒.๑ พระพุทธรูป จะเน้นความอ่อนช้อยงดงาม สงบ แสดงลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ สวยงามที่สุดคือพุทธรูปสุโขทัย เช่นพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก

๒.๒ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ แสดงอำนาจของเทพเจ้า พระพรหมผู้สร้าง พระนารายณ์ผู้รักษา พระศิวะผู้ทำลาย แสดงหลายกร มีอาวุธมาก เช่นเทวรูปในศิลปะลพบุรี

๒.๓ ประติมากรรมร่วมสมัย ของ เขียน ยิ้มสิริ แสดงถึงความอ่อนช้อย อิทธิพลศิลปะสุโขทัย เช่น “เสียงขลุ่ยทิพย์” ทิพย์ที่เกิดคำสอนของพุทธศาสนา

๓. จิตกรรม

๓.๑ ราชประเพณี ในโบสถ์ วิหาร ด้านหลังพระประธานแสดงคติไตรภูมิ ด้านผนังสกัดแสดงมารผจญ ด้านบนแสดงเทพชุมนม ระดับหน้าต่างแสดงพุทธประวัติ ในศาสนาพราหมณ์ด้วยเช่นจิตกรรมเรื่องรามเกียรติ์ สมัยรัชกาลที่ ๔ ลงมา จะเน้นความเสมือนจริง เช่นภาพประวัติศาสตร์ของ ขรัวอินโข่ง

๓.๒ ร่วมสมัย เช่น ภาพของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แสดงความสุขสงบของการเข้าถึงธรรมมะ ทิพยวิมาน  ด้านล่างเน้นสีสรรสวยงาม ด้านบนเน้นสีโทนเย็นและอุ่นแสดงถึงความสุข  ภาพภิกษุสันดานกาของ อนุพงษ์ จันทร แสดงความเสื่อมของนักบวชในพระพุทธศาสนา

๓.๒ ลายไทย เช่นลายกนกเปลวที่พวยพุ่งแสดงถึงการขึ้นสู่ที่สูง การเข้าสู่พระนิพพาน

๔. นาฏกรรมและการแสดง

๔.๑ ในศาสนาพุทธ เช่นการแสดงประกอบการเทศมหาชาติ ทั้ง ๑๐ ชาติของพระพุทธเจ้า

๔.๒ ในศาสนาพราหมณ์ เช่น โขนเรื่องรามเกียรติ์ เป็นศิลปะประจำชาติไทย

๔.๓ ผสมผสานเช่น ละคร ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามรบกามณี เป็นการผสมวัฒนธรมไทยและจีน

๔.๔ ในวัฒนธรรมจีน งิ้ว แสดงเรื่องทางประติศาสตร์จีน และเทพนิยายปรัมปรา

๔.๕. ละครเวที เช่น เยิรพระยม คณะนิทเศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นการตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต การไม่ประมาท มรณานุสติ

๔.๖ละครทีวี เช่น เจ้ากรรมนายเวร ของ สุพล วิเชียรฉาย แสดงถึงเวรกรรมตามสนอง ไม่มีคนใดหลีกหนีกรรมที่ตนทำได้

๔.๗. การ์ตูน เณรน้อยอิคคิวซัง ปรัชญาของนิกายเซ็น การแก้ปัญหาต่าง ๆ จากสติปัญญาตนเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

๔.๘ ภาพยนตร์ไทย แม่นาคพระโขนง แสดงความไม่จีรังของชีวิต ไม่มีใครหลีกหนีไตรลักษณ์ไปได้

๔.๙ ภาพยนตร์ต่างประเทศ เรื่อง Matrix การแสวงหาหนทางการหลุดพ้นอย่างแท้จริงจากความเชื่อเดิมจากพระเจ้าด้วย

๕. เพลง

๕.๑ ดนตรีไทยเดิม เพลงพญาโศก มีตั้งแต่สมัยอยุธยา ประกอบโขน แสดงความเศร้า อาวรณ์ ความไม่เที่ยงแท้

๕.๒ ดนตรีไทยสากล ของ จีนวัน ดินป่า เพลงปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีงามแก่เยาวชนและสังคมโดยยึดตามคำสอนของพุทธทาส

๕.๓. เพลงลูกกรุง เพลงพรหมลิขิตของสุนทราภรณ์ ชีวิตของมนุษย์ดำเนินไปตามลิขิตของพระพรหม

๕.๔ เพลงสวด ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร กล่าวถึงพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ ดนตรีแสดงความสงบ เกิดสมาธิ

๖. วรรณกรรม

๖.๑  วรรณกรรมในพุทธศาสนาเช่น ไตรภูมิพระร่วง แสดงภพภูมิต่าง ๆ ความน่ากลัวของนรก ให้คนแกรงกลัวต่อบาป

๖.๒ วรรณกรรมร่วมสมัยแสดงวัฒนธรรมจีนในสังคมไทย เช่น อยู่กับก๋ง กล่าวถึงคำสอนให้ใช้ชีวิตเรียบง่าย รู้จักคุณค่าของสิ่งของและชีวิต ลอดลายมังกร แสดงถึงปรัชญาการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจจนสร้างฐานะที่ดีได้

๖.๓ เรื่องสั้น กามสุขัลลิกานุโยค ของวินทร์ เลียววารินทร์ ในรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน กล่าวถึงภิกษุสงฆ์เผลอเลอหลงในรูปลักษณ์สตรีที่ถูกขุมด้วยผ้าบาง ๆ แต่เมื่อเห็นภายใต้ผ้าว่าหญิงสาวเป็นโรครายก็คิดได้

สรุป

งานศิลปกรรมไทยมีอิทธิพลของศาสนาพุทธ เถวราท มหายาน พราหมณ์อยู่ชัดเจน เพื่อตอบสนองทางด้านจิตใจ เป็นปริศนาธรรม และเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เมื่อผู้คนได้ชื่อชมก็จะรู้สึกอิ่มเอมใจและสร้างความศรัทธาเข้าถึงศาสนาได้ไม่ยากนัก

 

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2013 เวลา 07:57 น.
 

ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

พิมพ์ PDF

ความแตกแยกแบ่งฝักฝ่าย : วิเคราะห์สังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

วาทิน ศานติ์ สันติ

รูปจาก เรือนไทยวิชาการ.คอม http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3419.375

ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองการปกครองโดยสังเขป

แนวความคิดปรัชญาการเมืองแบบตะวันตกมักไม่ยุ่งเกี่ยวกับปรัชญาการดำรงชีวิตของประชาชนมากนัก ผิดกับปรัชญาของตะวันออกที่มีหลักศีลธรรมและศาสนาควบคู่ไปด้วย  ปรัชญาแบบตะวันออกเน้นการปฏิบัติย่างชัดเจน

ลักษณะของรัฐสามรถจำแนกได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้

๑. State as Machine สสารนิยม คือ รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเครื่องจักร บุคคลในสังคมมีความสัมพันธ์แบบตัวจักร

๒. State as Organism องคาพยพ  รัฐเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์

๓. State as Class แบบชนชั้น รัฐเกิดขึ้นเพราะสังคมดำเนินอยู่บนพื้นฐานการผลิต เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับแรงงาน สังคมที่ไม่มีชนชั้นถือว่าดีที่สุด

ที่มาของอำนาจมีสองแบบคือ ประชาธิปไตย ประชนเป็นผู้มอบให้ และ เทวาสิทธิ์ พระเจ้าเป็นผู้มอบ  สำหรับประเทศไทย อำนาจของผู้ปกครองและรูปแบบการปกครองมีผลต่อสภาพทางสังคมอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ โทมัส ฮอปกล่าวว่า รัฐและสังคมเป็นสิ่งจำเป็น รัฐต้องมีอำนาจเพื่อปกป้องประชาชน

 

พัฒนาการทางสังคมไทย

สังคมไทยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

สมัยสุโขทัยสังคมเป็นระบบครอบครัว  มีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยตนเองและหมู่ญาติ ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจน ปลายสุโขทัยเริ่มมีการแบ่งชนชั้นคือผู้ปกครองและใต้ปกครอง  เป็นแบบพ่อบ้านกับลูกบ้าน

สมัยอยุธยา ถือเป็นสังคมศักดินาเนื่องจากมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ ต้องการแรงงานสร้างความมั่นคง มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจนเพื่อควบคุมกำลังคน ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ ฐานะสมมติเทพ รองลงมาคือขุนนาง ผู้ใช้แรงงานคือไพร่ ชนชั้นล่างสุดคือทาส การเลื่อนฐานะทางสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ เช่นการทำความชอบช่วงสงคราม เสรีภาพของประชาชนมีไม่มากนัก

รัตนโกสินทร์ ร. ๔ – ๕ สังคมต้องปรับตัวรับเอาความรู้ตะวันตก เพื่อให้ชาติรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคม ชนชั้นสูงถ่ายทอดให้ชนชั้นล่าง มีสงครามน้อยลงไม่จำเป็นต้องใช้กำลังคนมากมาย ใช้แรงงานชาวจีนเพิ่มขึ้น กลไกลในการควบคุมไพร่เสื่อมลง มีการยกเลิกระบบไพร่และทาส หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง สภาพเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตแบบส่งออก

กระแสประชาธิปไตยจากชาติตะวันตก ผนวกกับสื่อการพิมพ์ ทำให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องสิทธิเสรีภาพ มีการเรียกร้องประชาธิปไตยเช่น เหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ที่เหล่าชนชั้นนำเรียกร้องการปกครองประชาธิปไตยจากรัชกาลที่ ๖

 

สังคมไทยในช่วงและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัย ร.๗ กลุ่มคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยถือหลัก ๖ ประการคือ เอกราช ความสงบภายใน เศรษฐกิจ สิทธิเสมอภาค เสรีภาพ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยมากมาย เช่น

การศึกษา ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ เพื่อขยายการศึกษาอย่างเสมอภาค ไม่จำกัดเพศ เชื่อชาติ ศาสนา ให้ทุกตำบลมีโรงเรียนเป็นศึกษาภาคบังคับ จัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ความเสมอภาคทางสังคม รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ รับรองความเสมอภาคทางกฎหมายและเสรีภาพของประชาชน ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ยกเลิกบรรดาศักดิ์ของข้าราชการผลเรือน

วัฒนธรรม นำวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่สังคมไทย โดยเฉพาะ การดำรงชีวิตประจำวัน และการใช้เทคโนโลยีแบบตะวันตก ยกย่องสิทธิสตรีว่ามีความสามรถเท่าเทียมบุรุษ จัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเพื่อวางระเบียบวัฒนธรรมไทย

 

สังคมไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

นับว่าอำนาจการปกครองอยู่ในมือของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว เรียกว่า การปกครองแบบเผด็จการมีลักษณะทางสังคมดังนี้

๑. ลัทธิทหารนิยม จากการตื่นตัวลัทธิเผด็จการทหารที่มาจากเยอรมนีและอิตาลี มีการปลูกฝังให้เยาวชนไทยนิยมทหาร

๒. แนวคิดสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่

๓.  รัฐออกรัฐนิยม ๑๒ ฉบับ เช่น ให้คนไทยยืนเคารพธงชาติ ผู้ชายนุ่งกางเกง ผู้หญิงสวมกระโปรง สวมหมวกอกนอกบ้าน เลิกกินหมากพลู เลิกรับประทานอาหารด้วยมือ เลิกเชื่อไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ มีการปรับปรุงภาษาเขียน

 

สภาพทางสังคมและผลกระทบ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกิดปัญหาในสังคมมากมาย เช่น ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม การช้อราษฎร์บังหลวง ค่าครอบชีพสูง ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค การกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ การขายตัวของภาคอุตสาหกรรม  การเหลื่อมล้ำทางสังคม เกิดปัญหานายจ้างกับลูกจ้าง การสืบทอดอำนาจเผด็จการ การรัฐประหารหลายครั้ง เหตุการณ์สำคัญเช่น

วันมหาวิปโยค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ประชาชนและนักศึกษารวมตัวต่อต้านเผด็จการทหาร เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งยิ่งใหญ่ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๗ ถือเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สุดฉบับหนึ่ง

๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ชัยชนะของประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ถูกต่อต้านจากหลายฝ่ายเพราะมองว่าเป็นการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ นำไปสู่การปราบปรามนักศึกษา มีการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ประชาชนและนักศึกษาจำนวนมากต้องหนีเข้าป่า

พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ ประชาชนได้เรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านการขึ้นสู่อำนาจของพลเอกสุจินดา คราประยูรที่ไม่ได้เกิดจาการเลือกตั้ง สังคมไทยใช้เทคโนโลยีเช่นโทรศัพท์มือถือ เรียกม๊อปครั้งนี้ว่า “ม๊อปมือถือ” ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว รัฐไม่สามารถปิดข่าวหรือปล่อยข่าวลือได้อย่างที่เคย

๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน และคณะ ภายใต้ชื่อ ค.ม.ช. (คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ) ยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ ชินวัติ บ้านเมืองแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย มีสัญลักษณ์โดยการแบ่งสีเสื้อ คือเสื้อแดง สนับสนุนฝ่ายทักษิณ ชินวัติ เสื้อเหลือง คือฝ่ายต่อต้าน สังคมเกิดความแตกแยกกระทบกระทั้งรุนแรงมีผู้เสียชีวิตและกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีการโจมตีกันด้วยข่าวสาร ข่าวโคมลอยและข้อมูลเท็จ ประชาชนไม่อาจทราบว่าข้อมูลใดเป็นจริงหรือเท็จ เหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่สามารถคลี่คลายแม้นในปัจจุบัน

สรุป

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ประชาธิปไตย แต่ปัญหาทางสังคมก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้นัก อันเนื่องมากจากการใช้อำนาจของผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรมและแฝงผลประโยชน์ อีกทั้งการครอบงำประชาชนโดยข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จ ทำให้สังคมเกิดการแตกแยกมากมาย แม้ประเทศจะเจริญไปด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสารมากมาย แต่หากประชนชนยังไม่มีใจเป็นกลาง  ไม่เรียนรู้การปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง ประเทศไทยก็จะประสบปัญหาความขัดแย้งทางสังคมอย่างไม่รู้จบ

 

วาทิน ศานติ์ สัติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

 

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อศิลปกรรมและวัฒนธรรมไทย

พิมพ์ PDF

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อศิลปกรรมและวัฒนธรรมไทย

วาทิน ศานติ์ สันติ

ศาสนาถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจขอมนุษย์ไม่ให้หลงไปสู่อบายภูมิทั้งหลาย โดยเฉพาะศาสนาของชาวเอเชียที่เน้นการปฏิบัติตนโดยมีความเชื่อว่า หากปฏิบัติอย่างถึงพร้อมก็จะไม่ต้องกับมาเกิดใหม่ ศาสนาพุทธ เรียกว่านิพพาน ศาสนาพราหมณ์เป็นการกลับไปรวมกับเทพเจ้าสูงสุดเรียกว่า โมกษะ

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ศาสนาพราหมณ์เข้ามาสู่ประเทศไทย อย่างน้อยที่สุด ราว ๒๕๐๐ - ๑๕๐๐ ปีมาแล้ว นับตั้งแต่วัฒนธรรมทวารวดีเป็นต้นมา ปรากฏหลักฐานคือ เทวรูปพระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอก ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี จารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต บทสรรเสริญพระศิวะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่หุบเขาช่องคอย ในช่วงอารยธรรมเขมรที่เข้ามาในประเทศไทย มีการพบเทวลัย หรือที่เรียกว่าปราสาทหินมากมาย

 

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ในสังคมและวัฒนธรรมไทย

ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่ง ควบคู่ไปกับพุทธศาสนา สามารถจำแนกดังต่อไปนี้

๑. การปกครองและการยกฐานะกษัตริย์

ศาสนาพราหมณ์ยกย่องให้เทพเจ้า ๓ พระองค์เป็นเทพเจ้าสูงสุดคือ พระพรหมเป็นพระผู้สร้าง พระนารายณ์เป็นผู้รักษา พระศิวะเป็นผู้ทำลาย เรียกว่า “ตรีมูรติ” กษัตริย์ไทยนำความเชื่อแบบเทวราชาเข้ามา ยกฐานะกษัตริย์อยู่ในสมมติเทพ เป็นอวตารของพระนารายณ์ มีการใช้ราชาศัพท์ การประกอบพระราชพิธีที่ซับซ้อน เครื่องสูงต่าง ๆ เช่นมหาเศวตฉัตร

๒. งานศิลปกรรม

๒.๑ งานสถาปัตยกรรม จากคติความศาสนาพราหมณ์เรื่อง “คติภูมิจักรวาล” เชื่อว่า ศูนย์กลางของจักรวาลคือเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระศิวะ ด้านล่างลดหลั่นกันลงมาเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดาและสัตว์ในป่าหิมพาน มีทะเลล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีทวีปทั้งสี่ทิศ ดังนั้นงานสถาปัตยกรรมไม่ว่าในสถาบันพระมหากษัตริย์หรือในศาสนาต่างก็ใช้คตินี้ในการสร้างทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้จากการสร้างหลังคาซ้อนชั้น การใช้เทวดาและสัตว์ อมนุษย์ในศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนประกอบของอาคาร

๒.๑.๒ พระราชวัง ในฐานะที่กษัตริย์เป็นสมมติเทพ อยู่อาศัยจึงมีความสำคัญยิ่งในฐานะเครื่องบ่งบอกถึงยศฐาบรรดาศักดิ์ มีความวิจิตรและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ของเทพเจ้า เช่น การมีหลังคาซ้อนชั้นหมายถึงชั้นของเขาพระสุเมร เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หน้าบรรณที่แสดงถึงสัญลักษณ์ความเป็นเทวกษัตริย์เช่น พระนารายณ์ทรงสุบรรณ พระอินทร์ทรงช้างเอรวัณ เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  วัดในพุทธศาสนาก็ปรากฏสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์เช่นกัน เช่น ลายหน้าบรรณนารายณ์ทรงครุฑยุทธนาคที่วัดสุทัศน์เทวราราม

๒.๑.๓ เทวาลัยปราสาทหิน ปราสาทหินในประเทศไทย เป็นเทวลัยของศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ในวัฒนธรรมขอมหรือศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒เป็นต้นมา เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ปราสาทสด๊กก๊อกธม จ.ปราจีนบุรี เทวลัยในไศวนิกาย ปราสาทนารายเจงเวง เทวลัยในไวษณพนิกาย

๒.๑.๔ เทวาลัยร่วมสมัย เช่น เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สร้างในสมัย ร.๑ เพื่อประกอบพิธีทาง ประกอบด้วยโบสถ์ ๓ หลังคือ สถานพระอิศวร มีเทวรูปพระอิศวร สถานพระพิฆเนศวร มีเทวรูปพระพิฆเนศวร ๕ องค์ สถานพระนารายณ์  มีเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษมีและพระมเหศวร  ด้านหน้ามีเสาชิงช้าเพื่อประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย

วัดแขกสีลม สร้างในสมัย ร.๕ ศิลปะอินเดียภาคใต้ นำเทวรูปเข้ามาจากอินเดียประดิษฐาน มีพิธีสำคัญประจำปีเรียกว่า “นวราตรี” จพิธีบูชาเทพเจ้า ๑๐ วัน ๑๐ คืน    ในคืนสุดท้ายอัญเชิญเทวรูปพระอุมาออกมาแห่บริเวณถนนสีลม

๒.๑.๕ งานประติมากรรม คนไทยนับถือเทพเจ้าและสร้างเทวรูปฮินดูตามสถานที่ต่างๆ เช่น พระพรหมไว้ตามสถานที่ราชการ พระตรีมูรติที่หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล พระอินทร์หน้าโรงแรมอินทรา พระนารายณ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พระพิฆเนศที่มหาวิทยาลัยศิลปากร มีทั้งแบบศิลปะอินเดียและศิลปะไทย

๒.๑.๖ งานวรรณกรรม ที่สำคัญมีสองเรื่องคือ รามเกียรติ์ ปรากฏในงานศิลปกรรมไทย เช่นโขน และ และเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ นอกจากนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ เช่น นิทานเวตาน ศกุนตลา ภควัตคีตา นารายณ์สิบปาง เป็นต้น

๒.๑.๗ งานจิตกรรม เช่น จิตกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รวมถึงในวัดใหญ่ ๆ มากมาย มหากาพย์มหาภารตะ ปรากฏในภาพสลักที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

๒.๑.๘ อักษรศาสตร์ คือ ภาษาสันสกฤต ชาวอินเดียใช้ในศาสนพราหมณ์ภาคเหนือ คนไทยนำมาใช้ควบคู่กับคำบาลี เช่น สตรี ศรี วัชระ เป็นต้น

๓. พระราชพิธี อยู่ในพระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่จัดทำขึ้นเป็นประจำในแต่ละเดือนเพื่อจะคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงของบ้านเมือง และการสร้างความเชื่อมั่นทางจิตใจให้กับสังคมในยุคนั้น ๆ  เช่น

๓.๑ พระราชพิธีศิวาราตรี เป็นพิธีลอยบาปของพราหมณ์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม ทำพิธีบูชาศิวลึงค์ในเวลาค่ำ ใกล้รุ่งทำพิธีหุงข้าวเจือน้ำผึ้ง นำตาล นม เนย และเครื่องเทศแจก เพระอาทิตย์ขึ้นก็อาบน้ำสะผมด้วยน้ำที่สรงศิวลึงค์ ผมที่ร่วงหล่นก็เก็บเอาไปลอยตามน้ำ เรียกว่า ลอยบาป

๓.๒ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในเดือนห้า เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการดื่มน้ำสาบานว่าจะจงรักภักดีและซื่อตรงต่อพระมหากษัตริย์  เนื้อหาจะเป็นการกล่าวอ้างอำนาจเทพเจ้าเพื่อความศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ

๓.๓ พระราชพิธีสงกรานต์ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ที่ใช้คติความเชื่อเรื่องการเปลี่ยนราศีของอินเดีย เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทยแต่เดิม

๔. รัฐพิธี งานที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดและกราบบังคมทูบพระกรุณาเพื่อทรงรับไว้ เช่นรัฐพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า  พระราชพิธีที่ลดบทบาทลงมาเป็นรัฐพิธีเช่น  พิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย ที่เป็นพิธีทดสอบความมั่นคงของประเทศรวมถึงการให้ขวัญกำลังใจประชาชน พราหมณ์ขึ้นไปโล้ชิงช้า ณ เสาชิงช้า ในโบสถ์พราหมณ์จะจัดงาน ๑๕ วัน

๕. พิธีกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เช่น พิธีโกนจุก อินเดียเรียกว่า “พิธีอุปนัยนะ” เป็นพิธีมงคลสำหรับเด็กเชื่อว่า “พรหมรันทร” หรือ “ขม่อม” นั้น เป็นที่ที่อาตมันหรือวิญญาณของคนเข้าออก ตอนเด็กต้องไว้จุกคลุมไว้ และเชื่อว่า ถ้าเด็กไว้ผมจุกตามแบบเทพเจ้า  จะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้าให้ปลอดภัย  เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่สามารถโกนจุกได้ ชาวไทยเห็นว่าแป็นเรื่องดี จึงรับเอาพิธีกรรมนี้มาปฏิบัติตามแล้วส่งต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีพิธีบวงสรวง พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีตั้งศาลพระภูมิเป็นต้น

๖.พราหมณ์ โดยเฉพาะพราหมณ์ในราชสำนักเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่าง ๆ พระราชพิธีเช่น วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น งานตามวาระ เช่น พระราชพิธีถวายเพลิงพระศพ งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พราหมณ์จึงขยายขอบเขตไปสู่สังคมที่กว้างขึ้น เช่นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ พราหมณ์มีบทบาทในการตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มคนในสังคม โดยตอบสนองทางด้านจิตใจ

 

สรุป

แม้คนไทยจะนับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาทเป็นหลัก แต่ก็ยังนับถือและปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ไปด้วย เพราะเห็นเป็นเรื่องดีและเป็นสวัสดิมงคลในการดำเนินชีวิต ดังนั้นคติความเอแบบพราหมณ์จึงสอดแทรกอยู่ในวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยกกันไม่ออก

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

 


หน้า 433 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8627570

facebook

Twitter


บทความเก่า