Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ครูเพื่อศิษย์ : สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑

พิมพ์ PDF
เป็นหนังสือที่เขียนจากการตีความหนังสือ Student Engagement Techniques

ครูเพื่อศิษย์ : สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑

ขอแนะนำหนังสือเล่มใหม่ ครูเพื่อศิษย์ : สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ดาวน์โหลดฟรีได้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ต.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2013 เวลา 07:46 น.
 

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 1. คณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านคอรัปชั่น

พิมพ์ PDF
ICAC ทำงาน ๓ ด้าน คือสอบสวน ป้องกัน และการศึกษาแก่ชุมชน

เรียนรู้วิธีลดคอรัปชั่นจากฮ่องกง : 1. คณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านคอรัปชั่น

คุณ Dominic RegesterDeputy Director Education, East Asia ของ บริติชเคาน์ซิล เป็นผู้สะกิดใจผมว่า ตัวอย่างของประเทศที่แก้ปัญหาคอรัปชั่นอย่างได้ผลมีอยู่    คือประเทศฮ่องกง    ที่ช่วงก่อนคริสตทศวรรษที่ 1970 คอรัปชั่นในฮ่องกงรุนแรงมาก   จึงมีมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าว    และได้ผลจริงๆ โดยผมเชื่อว่าต้องทำอย่างเป็นระบบ และระยะยาว

ผมกลับมาค้น กูเกิ้ล ที่บ้าน   พบเรื่อง Independent Commission against Corruption (Hong Kong) (ICAC)   ที่ตั้งโดยผู้ว่าราชการของฮ่องกง ในปี ค.ศ. 1974 สมัยยังอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษ โดยมีเป้าหมายลดคอรัปชั่นในหน่วยราชการ    ใช้ ๓ มาตรการ คือ การบังคับใช้กฎหมาย  การป้องกัน  และการศึกษาของชุมชน

ICAC เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย    มีฐานะเป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากราชการ    รายงานตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง    และผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้    โดยหลังปี 1997 ที่ฮ่องกงกลับมาอยู่ใต้ปกครองของจีน   คณะกรรมาธิการชุดนี้ตั้งโดยสภาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการฮ่องกง

บทความที่เอ่ยถึงข้างบนใน Wikipedia เล่าเหตุการณ์ที่เป็นต้นเหตุของการระบาดของโรคคอรัปชั่นในสังคมฮ่องกง    มาจากความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒    แต่อัตราเงินเดือนของข้าราชการต่ำมาก   เกิดการเรียก(และให้)เงินใต้โต๊ะอย่างแพร่หลาย   โดยตอนนั้นหน่วยปราบคอรัปชั่นอยู่ที่ตำรวจ   แต่พบว่าตำรวจนั่นแหละเป็นตัวการ   มาตรการต่อต้านและปราบคอรัปชั่นโดยกลไกตำรวจไร้ผล   และคอรัปชั่นระบาดไปทั่วทุกวงการ   ไม่ใช่เฉพาะในราชการ

เมื่อตั้ง ICAC คนฮ่องกงไม่เชื่อถือ   เยาะเย้ยกันว่า ย่อจาก I Can Accept Cash   และเจ้าหน้าที่ของ ICAC ในช่วงแรกมาจากตำรวจ และทำงานไม่เป็น   คือทำเป็นแค่ไล่จับมาสอบสวน

แต่ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1970 นั่นเอง ICAC ทำงานใหญ่    ดำเนินการสอบสวนข้าราชการที่ต้องสงสัยจำนวนมาก    คนผิดชัดเจนถูกลงโทษ ถูกปลด   คนที่ผิดบางคนถูกปลด แต่ไม่ลงโทษรุนแรง    มาตรการของ ICAC ทำให้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ยอมรับกันว่า สะอาดจากคอรัปชั่น ดีกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในโลก

ช่วงทศวรรษ 1990 พบการทำผิดโดยสมาชิกของ ICAC เอง   แต่แปลกที่บทความนี้บอกว่า ภาพลักษณ์ของ ICAC ไม่เสียหายมากนัก   เดาว่าคงจะเป็นเพราะผลงานดี

เมื่อฮ่องกงกลับมาอยู่กับจีน รัฐสภาจีน ออกกฎหมายตั้ง ICAC   ทำให้ ICAC ยิ่งมีฐานะมั่นคง    และในปี 2005 ICAC แจ้งจับคอรัปชั่นจากหลักฐานการสืบข้อมูลลับ    และศาลยอมรับหลักฐานนั้น และลงโทษผู้ผิด    และในปีต่อมาก็มีการออกกฎหมายกำหนดวิธีการให้ ICAC สืบข้อมูลลับได้

ในปี 2003 เจ้าหน้าที่สอบสวนของ ICAC ถูกสอบสวนและลงโทษจำคุก ๙ เดือน ฐานให้ข้อมูลเท็จ    เป็นการทำผิดครั้งเดียวของเจ้าหน้าที่ของ ICAC 

ย้ำอีกทีว่า ICAC ทำงาน ๓ ด้าน   คือสอบสวน  ป้องกัน  และการศึกษาแก่ชุมชน    แม้ว่าเจ้าหน้าที่ ๓ ใน ๔ อยู่ในแผนกสอบสวน    แต่ ICAC ก็ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและการศึกษาเท่าเทียมกับการสอบสวน    โดยได้พยายามเปลี่ยนความคิดของผู้คน ให้ไม่ยอมรับการติดสินบนหรือเงินตอบแทน   และหากประชาชนเดือดร้อนจากการไม่ยอมรับการติดสินบน ICAC จะเข้าไปสอบสวน

ที่น่าทึ่งคือ มีการสร้างหนังเรื่อง I Corrupt All Cops เพื่อเผยแพร่ผลงานของ ICAP ด้วย   โดยตัวอักษรย่อของชื่อหนังคือ I. C. A. C.

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ต.ค. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2013 เวลา 10:42 น.
 

วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

พิมพ์ PDF
การใช้สมองในเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์นั้นหากใช้แบบที่ ๑ (อัตโนมัติ) จะแทบไม่ ต้องใช้ความพยายามเลย สมองไม่เหนื่อย แต่หากใช้แบบที่ ๒ (ต้องตั้งสติ ใช้ความพยายาม) สมองจะเหนื่อย หากสมองรู้ว่าทำไปก็เท่านั้น มีประโยชน์น้อย สมองก็จะไม่ทำงาน นี่คือคำอธิบายความสำคัญของแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ และเป็นคำอธิบายความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง ว่าเป็นการฝึกฝนเพื่อย้ายสิ่งที่สมองต้อง ใช้ความพยายาม ให้กลายเป็นสิ่งที่สมองทำได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

วิวัฒนาการบรรจบวัฒนธรรมที่โรงเรียน

บทความเรื่อง Primal Brain in the Modern Classroom เขียนโดย David C. Geary  ตีพิมพ์ในนิตยสาร Scientific American ในปี ค.ศ. 2011  และพิมพ์ซ้ำในหนังสือ The Science of Education ในปี 2012  บอกว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นวัฒนธรรมใหม่ของมนุษย์    แต่สมองเด็กมาจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน มาจากสัตว์ที่ต่ำกว่า   และมาจากวิถีชีวิตมนุษย์ ๒ แสนปี  การจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนจึงต้องเข้าใจความแตกต่าง ระหว่างสองสิ่งนี้   และหาทางจัดให้มันเสริมส่ง (synergyกัน

เมื่อเด็กเล็กไปโรงเรียน   เด็กจะสนใจเพื่อน มากกว่าสนใจการเรียน   เพราะวิวัฒนาการกำหนดให้คนเรา ต้องเรียนรู้ที่จะสังคมกับเพื่อนมนุษย์คนอื่น    คล้ายๆ ความสนใจเพื่อนมาจากสัญชาตญาณ    ส่วนความสนใจ การเรียนต้องฝึก    เป็นการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม

บทความนี้บอกว่า ความรู้ของคนมี ๒ ชนิด   คือความรู้แนวชาวบ้าน (folk knowledge - มากับสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์)  กับความรู้แนว วิทยาศาสตร์ (scientific knowledge - ต้องฝืนใจฝึกฝน เพราะมนุษย์ไม่คุ้นเคย)

มนุษย์เราเมื่อได้รับสารสนเทศ จะจัดการ ๒ แบบ   คือแบบเป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องตั้งใจหรือตั้งสติ   กับแบบที่ต้องเอาใจใส่ ใช้ความพยายาม

การจัดการแบบอัตโนมัติ ใช้กับกิจกรรมเชิงสังคม และสภาพแวดล้อมรอบตัว    ส่วนการจัดการแบบ ต้องตั้งสติใช้เรียนรู้หลักการหรือกระบวนทัศน์ใหม่ๆ ต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

ผมตีความว่า การเรียนรู้ที่ดี ที่เกิดการเรียนรู้แบบรู้จริง (mastery learning)   เป็นการย้ายให้สารสนเทศ ที่เดิมต้องจัดการแบบที่ ๒   ไปสู่การจัดการแบบแรก คือแบบอัตโนมัติ    เท่ากับการเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลง ตัวตน (transform) ตัวผู้เรียน   ให้มีความรู้แนววิทยาศาสตร์ หรือแนววัฒนธรรมมนุษย์ เข้าไปฝังจนกลายเป็น ความรู้สัญชาตญาณ (folk knowledge) ประจำตัวของตน    ผมตีความว่า นี่คือวิธีตีความคำว่า transformative learning อีกแบบหนึ่ง    ที่เป็นการเปลี่ยนนิสัย หรือสันดาน

ความสนุก (และยาก) ของครูคือ เด็กแต่ละคนมีความรู้ ๒ แบบนี้แตกต่างกัน   จึงเป็นเรื่องที่ครูที่รัก การเรียนรู้จากชีวิตการเป็นครู จะมีโอกาสได้เรียนรู้สร้างสรรค์วิชาการว่าด้วย transformative learning แนวนี้อย่างไม่รู้จบ

บทความอธิบายการเรียนรู้ของทารกแรกเกิดอย่างน่าสนใจมาก   อ่านแล้วจะเข้าใจกลไกการเรียนรู้ ที่แท้จริง    ซึ่งเราจะไม่มีวันรู้ตัว    แต่จะเป็นกระบวนการที่ทารกใช้สัมผัสทางประสาททุกด้าน ไปกระตุ้น การเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง และร่างกาย   ผมตีความว่า นี่คือกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง    คือผลสุดท้ายไปอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในสมองและร่างกาย โดยเราไม่รู้ตัว    ผมตีความต่อว่า การเรียนรู้แบบ ที่เรารู้ตัวนั้น ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่ลึกจริง    ผมตีความเข้าป่าหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ย้ำอีกที ว่าผมเชื่อว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ เป็นกลไกการเรียนรู้แบบเดียวกันกับที่บทความนี้ อธิบาย    การเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้ใหญ่ก็ผ่านกลไกนี้   แต่เราหลงไปสมาทานระบบการศึกษาแบบรับถ่ายทอด ข้อสรุปจากครู/อาจารย์ หรือผู้รู้ เป็นหลัก เพราะมันสะดวก    แต่มันจะไม่ทำให้เรารู้จริง    ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดี ในปัจจุบันจึงต้องผสมผสานอย่างพอดี ระหว่างการเรียนรู้จากสัมผัสของตนเอง กับการเรียนรู้จากการรับถ่ายทอด ข้อสรุป

บทความนี้สรุปว่า วิธีการที่มนุษย์เรียนรู้ในปัจจุบันเป็นลูกผสมระหว่าง วิธีการของสัญชาตญาณ  กับวิธีการเชิงวิชาการ ที่เราเรียนจากระบบการศึกษา

สิ่งที่มนุษย์มีเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นคือ ... จินตนาการ    ความสามารถท่องเที่ยวไปในความคิด เดินหน้าถอยหลัง ตัดฉาก เวลาได้อย่างไม่จำกัด    สมมติตนเอง และตัวละครอื่นขึ้นมาสร้างเรื่องราวในใจได้    รวมทั้งมีความรู้สึกเป็นตัวตน   มีความทรงจำระยะยาวเกี่ยวกับตนเอง เชื่อมโยงหลากหลายเรื่องราว เรียกว่า self-schema ซึ่งผมขอเรียกว่า “ก้อนอัตตา”    (ก้อนอัตตานี้น่าจะเป็นชื่อที่ผิดเพราะจริงๆ แล้วมันเป็นเครือข่าย ใยประสาท)    ก้อนอัตตานี่แหละที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งเรื่องการเรียนรู้    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พฤติกรรมมีเป้าหมายชีวิต เป้าหมายการเรียนรู้   และความมานะพยายามเมื่อเผชิญความยากลำบาก

นอกจากก้อนอัตตาแล้ว คนเรายังมีก้อนความรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่น และสิ่งอื่นๆ    สำหรับใช้ในเครือข่าย สังคม และการดำรงชีวิตของเรา    และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิต

คุณภาพสุดยอดของสมองมนุษย์ คือ ความระลึกรู้ (consciousness) ขั้นสูง    ระลึกรู้ได้แม้กระทั่งสิ่งที่ ไม่มีอยู่จริง คือจินตนาการ

การใช้สมองในเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์นั้นหากใช้แบบที่ ๑ (อัตโนมัติ) จะแทบไม่ ต้องใช้ความพยายามเลย สมองไม่เหนื่อย    แต่หากใช้แบบที่ ๒ (ต้องตั้งสติ ใช้ความพยายาม) สมองจะเหนื่อย    หากสมองรู้ว่าทำไปก็เท่านั้น มีประโยชน์น้อย สมองก็จะไม่ทำงาน    นี่คือคำอธิบายความสำคัญของแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้    และเป็นคำอธิบายความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง    ว่าเป็นการฝึกฝนเพื่อย้ายสิ่งที่สมองต้อง ใช้ความพยายาม ให้กลายเป็นสิ่งที่สมองทำได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม

การเรียนรู้ จึงเป็นการฝึกให้เกิดสภาพอัตโนมัติของสมอง (และร่างกาย)    โดยครูทำหน้าที่โค้ช

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ก.ย. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2013 เวลา 11:52 น.
 

KM วันละคำ : 609. ใช้ KM ในนักเรียน

พิมพ์ PDF
ฉันก็รู้สึกดีใจอยู่ลึกๆ ว่า KM ที่ได้เริ่มทำกับคุณครูมันชักจะเข้าท่าเสียแล้ว เพราะไม่ได้แค่คุณครูเท่านั้นที่ได้รู้จัก แต่เด็กๆ ชั้น ๕ ก็เริ่มรู้จัก KM แล้ว ฉันหวังว่า เมื่อทุกๆ คนได้รู้จักกับ KM จริงๆ แล้ว จะต้องหลงรักในพลังของ KM เป็นแน่แท้ ที่สำคัญฉันมีแผนการที่จะผลักดันกระบวนการ KM ไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ ในช่วงประมวลสรุปความรู้หลังภาคสนามต่อไปด้วย

KM วันละคำ : 609. ใช้ KM ในนักเรียน

อ่านเรื่องราวได้ ที่นี่ อ่านบันทึกนี้แล้วจะเห็นทั้ง KM ในนักเรียน และ KM ในครู เพื่อการทำหน้าที่ “ครูเพื่อศิษย์

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.ย. ๕๖

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2013 เวลา 11:56 น.
 

บันทึกเก่าเล่าใหม่จากศรีลังกา01

พิมพ์ PDF

หลังจากไปอยุ่ที่ศรีลังกาเกือบสองปี ผมเคยเขียนบันทึกในสมุดสายตรงจากโคลัมโบ ดังนี้

"เคยอยู่อินเดีย ได้พบขุมทรัพย์ใต้กองขยะมาแล้ว มาอยู่ศรีลังกา เริ่มต้นค้นๆ คุ้ยๆ ไปมา ก็พบว่า สิ่งที่เห็นสามารถเป็นขุมทรัพย์"ทางปัญญา" ได้ไม่น้อย เลยลองมาทำแผนที่สำรวจกันเป็นเบื้องต้นเพื่อการเดินทางที่คุ้มค่า

ด้านศาสนานั้นแน่นอนว่ามี"ของดี" คือพุทธศาสนาที่รับช่วงต่อมาจากอินเดีย

"พระเขี้ยวแก้ว" พระบรมสารีริกธาตุ ที่เป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ที่คนรุ่นหลังยึดถือได้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสรีระของพระบรมศาสดาที่หาคุณค่าเหลือจะบรรยาย

ต้นโพธิ์จากต้นแรกซึ่งเป็นต้นไม้สหชาติกับพระพุทธองค์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นพยานของการตรัสสู้ของมหาบุรุษพระองค์นี้ นอกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วก็มีแต่เทพเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นพยานปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ดังนั้น ต้นพระศรีมหาโพธิ์จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีค่ามาก

เกาะลังกานับว่ามีพลอยและอัญมณีที่มีคุณภาพมาแต่อดีต เราเคยเชื่อกันว่าในเวลาต่อมา ไม่มีแล้ว หมดแล้ว ทำให้คนไทยต้องไปแสวงหาพลอยและอัญมณีที่มาดากัสดาร์กัน แต่ผมเพิ่งเข้าพบ Mayor ของโคลัมโบซึ่งเคยทำธุรกิจพลอยและอัญมณีมาก่อน ท่านบอก(กระซิบ)ว่า ศรีลังกายังมีอัญมณีอีกมากมาย แต่ที่หมดคือหมดการลักลอบอย่างไม่ถูกกฏหมาย....ดังนั้นเรื่องอัญมณีในเกาะลังกาจึงเป็นอีกขุมทรัพย์หนึ่งที่ผมอยากไปค้นหา

การท่องเที่ยว เป็นขุมทรัพย์สำคัญอีกประการหนึ่งของศรีลังกา เพราะเกาะเล็ๆ นี้ ปีที่แล้วมีนักทอ่งเที่ยวมาเกือบ 1 ล้านคนและยังรองรับได้อีกมากหลายเท่าตัว อยู่ที่การจัดการ ซึ่งไทยเรามีความชำนาญในเรืองนี้

ยังมีขุมทรัพย์ให้บอกเล่าอีก แต่หมดเวลาแล้วเพราะผมกำลังจะเดินทางไปแคนดี้เพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว........เอาไว้กลับมาเล่าต่อในโอกาสหน้านะครับ

เจริญสุข"

ก็กว่าสองปีมาแล้ว ขอยืนยันคำที่ว่าขุมทรัพย์ศรีลังกามีมากไม่แพ้ที่อินเดีย และเป็นที่น่าดีใจว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมามีคนไทยไปศรีลังกามาขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 และมีแนวโน้มจะไปมากขึ้นอีกในอนาคต

 

บันทึกเก่าเล่าใหม่จากศรีลังกา02

เมื่อปีที่แล้วผมได้เปิดสมุดเรื่องการฉลอง 260 ปี สยามวงศ์ และบันทึกแรกก็คือ

01.อารัภมบท:260 ปีสยามวงศ์: ใคร อะไร ที่ไหน ทำไมและอย่างไร

 

อารัมภบท

ผมเปิดสมุดเรื่อง 260 ปีสยามวงศ์ด้วยความปลื้มปีติเพราะมีความตั้งใจมากที่จะจัดงานฉลองวาระดังกล่าวซึ่งผมเชื่อว่าผมได้รับโอกาสจากธรรมะจัดสรร ตั้งแต่การได้ไปประจำการที่อินเดีย ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเรื่องของของพระพุทธศาสนา วิถีพุทธในอินเดีย ประวัติศาสตร์และสิ่งน่ารู้ของอินเดียในปัจจุบัน รวมทั้งได้ีมีโอกาสบวชถวายในหลวง 80 พรรษา ซึ่งเป็นบุญกุศลอย่างสูงสุดในชีวิตและต่อมาได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ศรีลังกาอีก ก็เท่ากับว่าผมได้มีโอกาสเดินไปบนเส้นทางธรรม จากแดนพุทธภูมิสู่แดนพุทธธรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่มาของการได้รับรู้เรื่องราวของพระมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาในศรีลังกาและต้องเป็นประวัติศาสตร์ของสยามประเทศด้วย นั้่นคือเรื่องราวของพระอุบาลีจากวัดธรรมาราม อยุธยาซึ่งได้รับหน้าที่ที่สำคัญและทรงเกียรติ์ให้ไปบวชพระศรีลังกาซึ่งพระอุบาลีทำหน้าที่ได้ดียิ่ง ทำให้พุทธศาสนาในศรีลังกาสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องราวของพระอุบาลี อาจเลือนหายไปตามกาลเวลาเพราะเนิ่นนานมาถึง เกือบ 260 ปีแล้ว ในปี 2556 จะเป็นปีที่ครบรอบ 260 ปีของการก่อตั้งสยามวงศ์ในศรีลังกา ดังนั้นเพื่อเป็นการเทิดเกียรติของพระมหาเถระรูปนี้ ผมตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะจัดงานฉลองดังกล่าวในฐานะเอกอัครราชทูตไทยประจำศรีลังกา

ผมพบว่าเรื่องราวของพระอุบาลีนั้นมิได้เกี่ยวกับพระอุบาลีเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆ มากมายทั้งสยามและศรีลังกาซึ่งล้วนมีบทบาทและมีความสำคัญยิ่ง เราไม่ควรลืมบุคคลเหล่านี้และผมตั้งใจที่จะทำให้คนรุ่นนี้ได้ตระหนักถึงคุณค่าและคุรงามความดีของบุคคลเหล่านี้ โดยจะรวบรวมข้อเขียนที่เกี่ยวกับพระอุบาลี ทั้งเรียบเรียงเองและนำมาจากที่อื่นมาไว้ที่เดียวกันเพื่อจะได้เป็นที่รวมเรื่องราวอันทรงคุณค่านี้

ขออาราธณาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(ซึ่งเคยเสด็จฯ เยือนศรีลังกา) ตลอดจนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ซึ่งผมในฐานะเอกอัครราชทูต ขอจงช่วยส่งและเสริมให้การจัดงานฉลอง 260 สยามวงศ์ครั้งนี้ราบรื่น บรรลุความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศและต่อชาวพุทธทั่วโลก ด้วยเทอญ....สาธุ

เป็นอารัมภบทจากใจจริง

ด้วยความปรารถนาดี

พลเดช วรฉัตร

ออท. ณ กรุงโคลัมโบ


ซึ่งต่อมามีสมาชิกเข้ามาแสดงความเห็น ดังนี้

เจริญพร ท่านอาจารย์พลเดช วรฉัตร

อาตมาได้ศึกษาเรื่องราวของการก่อตั้งสยามวงศ์ตามตำราและเว็บไซท์ต่างๆ ก็มีความซาบซึ้งในวีรกรรมอันกล้าหาญของทั้งชาวแคนดีและชาวสยามเป็นอย่างยิ่ง แต่ทว่ามีข้อสงสัยอยู่เรื่องนึงเกี่ยวกับนักบวชคณินนานเส ในหนังสือตามรอยพระอุบาลีของลังกากุมาร  คณินนานเสนี้เป็นนักบวชประเภทหนึ่งของศรีลังกาในสมัยก่อน  บ้างก็ห่มผ้าขาว บ้างก็ห่มจีวรเหมือนพระสงฆ์ แต่ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย และจะเรียกตัวเองว่า "สามเณร"  ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ก็ยังบอกอีกด้วยว่า สามเณรสรณังกรก็ได้ไปบวชในสำนักของท่านคณินนานเส นามว่าสูริยโกดะเถระ เจ้าอาวาสวัดสูริยโกดะวิหาร

คำถามก็คือ นั่นแสดงว่าแต่เดิมก่อนที่พระอุบาลีเถระจะมาทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ ท่านสรณังกรก็เป็นคณินนานเสมาก่อน ไม่ใช่สามเณรตามพระธรรมวินัย ใช่หรือไม่ ? ขออาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย เพราะตำราเล่มอื่นๆ หรือตามเว็บไซท์ ไม่ค่อยจะได้กล่าวถึงนักบวชคณินนานเสนี้เท่าใดนัก

สุดท้ายนี้...ขอให้ท่านอาจารย์ประสบความสุขความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยเทอญ ฯ

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พลเดช วรฉัตร

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2013 เวลา 20:08 น.
 


หน้า 434 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8626881

facebook

Twitter


บทความเก่า