Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ strategic change partner

พิมพ์ PDF

ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคคลภายนอก พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธีคิดของอาจารย์ส่วนใหญ่ inward-looking มาก มองจากมุมของสังคมภายนอกไม่เป็น คิดเป็นแต่จากมุมของวิชาการ ดังนั้นสิ่งที่จะทำ จึงทำแบบ supply-side oriented ไม่มีมุมมองหรือความต้องการ ของ demand-side มาประกอบ

บัดนี้ หมดยุคการพัฒนามหาวิทยาลัยแบบเน้นการขยายตัวแล้ว ต่อไปนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพิสูจน์ ความจำเป็นที่จะต้องดำรงอยู่ด้วยหลักฐานเชิงคุณภาพ และเชิงตอบสนองความต้องการของสังคม ไม่ใช่ตอบสนองที่เรียนอีกต่อไป

จึงต้องมีการจัดการ จัดกระบวนการเพื่อเปลี่ยนใจอาจารย์ ให้คิดโครงการต่างๆ (โดยเฉพาะการเปิดหลักสูตร) ให้คิดจากมุมของฝ่ายผู้คนในสังคม หรือความต้องการของประเทศ/พื้นที่ ให้มีจริตและทักษะในการทำงานร่วมกับฝ่าย demand-side เพื่อคิดและทำ งานในลักษณะใหม่ๆ ที่ก่อผลกระทบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยในตอนทำงานนั้น ก็มีหน่วยงาน/บุคคล ภายนอกเป็นหุ้นส่วนด้วย

หมดยุคที่มหาวิทยาลัยทำงานวิชาการแบบลอยตัวแล้ว ต่อไปนี้งานวิชาการต้องผูกติด หรือเชื่อมโยงกับชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากิน ของหน่วยงานและผู้คนในสังคม

ผมจึงเสนอในที่ประชุมว่า ฝ่ายบริหารน่าจะได้จัดการประชุมแบบ retreat เพื่อปรับกระบวนทัศน์ การทำหน้าที่มหาวิทยาลัยในยุคใหม่ ให้ฝ่ายบริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนเข้าร่วม เพื่อใช้การประชุมเป็นส่วนหนึ่งของ change management และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธในการสร้างการเปลี่ยนแปลง

มหาวิทยาลัยใด เปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้ก่อน ก็จะได้เปรียบในการแข่งขัน

 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ส.ค. ๕๖

โรงแรมเซนทารา หาดใหญ่

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 05 ตุลาคม 2013 เวลา 10:39 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๒๐๐๗. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

พิมพ์ PDF

คำนิยม

หนังสือ The Secret Book : Fear No Man

 

.

 

 

ผมได้รับต้นฉบับหนังสือที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เรื่อง The Secret Book : Fear No Man ซึ่งเมื่ออ่านชื่อหนังสือจบ ใจของผมก็ต่อชื่อให้ทันทีว่า But Very Considerate To One Woman

ชีวประวัติบุคคลที่ยิ่งใหญ่สอนใจเราได้เสมอ ยิ่งกว่านั้นคือ ให้แรงบันดาลใจแก่เรา ผมเข้าใจว่า หนังสือเล่มนี้เป็น ชีวประวัติฉบับหลอกถาม ของคุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่จะช่วยสร้าง แรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ไปอีกนาน

หนังสือแบบนี้ ไม่ควรเผยแพร่เฉพาะเป็นเล่มหนังสือเท่านั้น แต่ควรจัดทำเป็น eBook เผยแพร่แก่คนทั่วไปผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต เพื่อทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างพลังแห่งความดี ไปทั่วสังคมไทย

ในสายตาของผม คุณหมอสุวิทย์ไม่ใช่เพียงสร้างคุณูปการแก่วงการสาธารณสุข หรือวงการสุขภาพ ไทยเท่านั้น ท่านยังได้ทำประโยชน์แก่วงการสาธารณสุขโลกด้วย คนในวงการสุขภาพโลกรู้จักคุณหมอ สุวิทย์ทั่วไปหมด รู้จักและนับถือความรู้ความสามารถ และความมุ่งมั่นรักษาผลประโยชน์ของคนด้อยโอกาส หรือเสียเปรียบในสังคม ซึ่งเป็นจุดยืนที่คุณหมอสุวิทย์ยึดถือ อย่างกล้าหาญ มาตลอดชีวิต ทั้งในประเทศไทย และในวงการสุขภาพโลก ที่ท่านเข้าไปเกี่ยวข้อง

ในต้นฉบับที่ผมได้อ่าน มีเรื่องราวที่คุณหมอสุวิทย์และคณะไปต่อสู้ในเวทีนโยบายสุขภาพโลก เช่นที่ World Health Assembly น้อยไป หรือยังขาดอยู่ เรื่องราวประสบการณ์ส่วนนี้น่าจะได้บันทึกไว้เป็นข้อเรียนรู้ แก่ผู้คนในสังคมไทยด้วย

เนื่องจากคุณหมอสุวิทย์เป็นคนสมองดีเป็นพิเศษ จับทำเรื่องใดกลายเป็นการเรียนรู้หมด สะกัดความรู้ ออกมาเป็นข้อๆ เข้าใจง่าย และชัดเจน วิธีสัมภาษณ์ นำมาเรียงร้อยเช่นนี้ จึงทำให้ได้ความรู้ที่มีค่ายิ่งออกเผยแพร่ ซึ่งในภาษาของการจัดการความรู้(Knowledge Management) เรียกว่า เป็นการเปลี่ยน (Externalize) ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกมาเป็นความรู้แจ้งชัด(Explicit Knowledge) คุณหมอสุวิทย์ มีความสามารถสะกัด ความรู้ จากประสบการณ์ของตน อธิบายเป็นหลักการที่เข้าใจง่าย ได้ดีอย่างไม่มีใครเทียม

ในฐานะที่ผมได้ทำงานร่วมกับคุณหมอสุวิทย์อยู่บ้าง ผมถือว่า ท่านเป็นครูของผมคนหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นรุ่นน้องหลายปี และผมรู้สึกตลอดมาว่า ผมโชคดีที่ได้ทำงานและเรียนรู้จากคุณหมอสุวิทย์

ในสังคมของเรา คนเก่งระดับอัจฉริยะ ที่อุทิศตน ครองตนด้วยความสนุกสนานและมีความสุข ความพอใจในชีวิต ที่ได้ดำรงชีวิตต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของคนชนบท คนจน และผู้ที่เสียเปรียบในสังคม มีไม่มาก การที่คณะผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ซุ่มทำโดยถือเป็นความลับ ไม่ให้เจ้าของ ชีวประวัติรู้ จึงมีคุณค่าต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณค่าที่สูงส่งไม่ใช่การยกย่อง หรือตอบแทนคุณตัวบุคคล แต่เป็นการใช้ตัวอย่างบุคคล สร้างแรงบันดาลใจ ให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง เพื่อทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม

ผมเป็นคนที่เชื่อว่า คนเราทำดีได้ดี จึงเห็นได้ว่า การครองตนยึดมั่นอยู่ในความดี ได้ส่งผลให้คุณหมอ สุวิทย์มีครอบครัวที่ดี ลูกๆ ได้ดีทุกคน รวมทั้งมีความสุขในชีวิตด้านอื่นๆ ดังที่ประจักษ์ชัดในหนังสือเล่มนี้

สมัยนี้ คนอายุ ๖๐ ปี ไม่ถือว่าสูงอายุ ผมจึงตั้งความหวังว่า ในวัยหลังเกษียณอายุราชการ คุณหมอ สุวิทย์จะยิ่งมีเวลาทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากยิ่งขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นหลัง ให้รวมตัวกันมุ่งมั่น ทำงานเพื่อความดี เพื่อสังคมไทย ได้ผลกระทบที่หนักแน่นจริงจังยิ่งขึ้น

เนื่องจากคุณหมอสุวิทย์ทำประโยชน์แก่สังคมไทยในวัยราชการ ๓๗ ปี ผมจึงขอตั้งความหวังว่า คุณหมอสุวิทย์จะทำหน้าที่ในฐานะผู้อาวุโส ได้ต่อไปอีก ๓๗ ปี สร้างคุณค่าในชีวิตที่มีโอกาสเกิดมาเป็นคน สมองดี เกิดมาในครอบครัวที่ดี และได้สร้างครอบครัว และแวดวงมิตรสหายที่ดี เพื่อประโยชน์ของสังคม โดยเฉพาะของคนเล็กคนน้อยจำนวนมาก ดังที่ท่านถือปฏิบัติมาตลอดชีวิต ๖๐ ปี

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ กันยายน ๒๕๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 04 ตุลาคม 2013 เวลา 07:54 น.
 

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

พิมพ์ PDF

แผนปฏิบัติการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

 

ต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง ๓ กลุ่ม

 

  • ผู้ประกอบการต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง เพื่อเปลี่ยนแนวทางค้าขายให้มาเน้นถึงการค้าแบบยั่งยืน มีกำไรในทางตรง มีการบริหารและการจัดการแบบมืออาชีพ สร้างเครือข่ายและมีการร่วมทุน ได้รับการสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ
  • ภาครัฐต้องเข้าใจธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างแท้จริงและหันมาให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการให้บริการท่องเที่ยว ช่วยให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดีและผลักดันผู้ประกอบการที่ไม่ดีออกไปจากวงการ
  • สถานศึกษาและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานสร้างคนมารองรับทั้งแรกเข้าทำงานและผู้ที่ทำงานอยู่แล้วเพื่อขยับฐานะให้สูงขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ให้บริการท่องเที่ยว ได้แก่ Inbound Tour Operator และ Local Tour Operator
  • โรงแรม ได้แก่โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา
  • สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • สถานศึกษาระดับอาชีวะ และระดับมหาวิทยาลัย
  • สมาคมการท่องเที่ยวและสมาคมโรงแรม

ผู้ให้บริการท่องเที่ยว

  • จัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้เรื่องการตลาด การบริหารและการจัดการ โดยมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว และกรมพัฒนาแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับแนวการค้าขาย จากเน้นการได้มาของจำนวนนักท่องเที่ยว เป็นเน้นการค้าขายที่มีกำไรโดยทางตรงเปลี่ยนแนวความคิดจากการคัดลอกโปรแกรมท่องเที่ยว มาเป็นการสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวเฉพาะของแต่ละผู้ให้บริการ เพื่อสร้างความแตกต่าง

โรงแรมระดับ ๓ ดาวลงมา

  • จัดสัมมนาเรื่องการตลาด การบริหาร การจัดการ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจเรื่องการตลาดอย่างแท้จริง
  • ปรับเปลี่ยนการบริหารและการจัดการให้เป็นมืออาชีพ มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม ลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์
  • ผู้รับผิดชอบ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สมาคมโรงแรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว

  • หันมาทำความเข้าใจผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ( Tour Operator ) วางแผนและนโยบายเพื่อสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน
  • ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน และขับไล่ผู้ประกอบการที่ไม่ดีให้ออกไปจากในวงการ
  • การวางแผนและกำหนดนโยบายสำคัญควรให้ภาคเอกชนโดยรวมมีส่วนร่วมไม่ใช่ทำเสร็จแล้วจึงแจ้งเอกชนให้รับทราบ หรือเรียกประชุมโดยด่วนไม่ให้เวลาภาคเอกชนได้คิด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

  • เปลี่ยนแนวคิดจากระบบศักดินา มาเป็นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว
  • ให้การสนับสนุนด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวอย่างทั่วถึง มิใช่เจาะจงเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยและคนใกล้ชิด
  • วางแผนการตลาดอย่างรอบครอบเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศมิใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

กรมพัฒนาแรงงาน

  • ปรับเปลี่ยนการทำงานจากการตั้งรับเป็นฝ่ายรุก โดยการสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการ
  • ศึกษาทำวิจัยเรื่องแรงงานด้านอุตสาหกรรมการให้บริการด้านการท่องเที่ยว และวางแผนเพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีแรงงานที่มีคุณภาพทั้งแรกเข้า และพนักงานเก่าเพื่อการเลื่อนฐานะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  • สร้างมาตรฐานแรงงาน และอัตราแรงงานที่เหมาะสมทุกระดับขั้น
  • เป็นตัวกลางสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ประกอบการและพนักงาน

สถานศึกษา

  • วางหลักสูตรร่วมกับผู้ประกอบการ
  • ผลิตนักศึกษาให้ได้คุณสมบัติตามที่สถานประกอบการต้องการ
  • สร้างหลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีความชำนาญและความรู้ในแต่ละงานเพื่อมีความรู้ในการสอน เพื่อจะได้มาเป็นครูสอนนักศึกษาใหม่
  • มีการสอบเทียบเพื่อรับปริญญาสำหรับผู้ที่มีความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ขาดปริญญา
  • สร้างมนุษย์ให้มีคุณค่าและทำประโยชน์ให้แก่สังคม

สมาคม

  • กรรมการสมาคมต้องบริหารงานสมาคมให้เป็นที่ไว้ใจของสมาชิก
  • สร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากภาครัฐอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
  • เห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อทำให้ภาครัฐเข้าใจในธุรกิจของสมาชิก ทำให้สมาชิกโดยรวมได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
  • ให้ความสำคัญกับสมาชิก ควรจะมีการประชุมร่วมกับสมาชิกและได้รับความคิดเห็นจากสมาชิกก่อนที่จะส่งผู้แทนไปเข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ

สรุปแผนการปฏิบัติเพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

  • ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นตัวกลางในการปฏิบัติการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดหันมาศึกษาซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวไทย
  • เป็นผู้ทำ Master Plan เพื่อนำเสนอภาครัฐ และกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
  • เป็นผู้ดำเนินการจัดสัมมนา โดยมีเจ้าภาพร่วมในแต่ละกลุ่มวัตถุประสงค์

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชาญโชติ

 

ชีวิตที่พอเพียง : 2008. เรียนรู้เรื่อง coaching

พิมพ์ PDF
ในสายตาของผม สุดยอด coaching ทำได้โดย Inquiring คือถามคำถาม เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับโค้ชคนที่ทำงานแบบเน้นใช้ความรู้ (knowledge worker)

ชีวิตที่พอเพียง : 2008. เรียนรู้เรื่อง coaching

วันที่ ๒ ก.ย. ๕๖ ได้อ่านเรื่อง coaching ใน นสพ. ทีเดียว ๒ ฉบับ คือเรื่อง Gen Y and Baby Boomers : Coaching Differences โดย Kriengsak Niratpattanasai ในบางกอกโพสต์ และเรื่อง Character more important for a coach than skills and knowledge โดย Michael Heah ใน เดอะเนชั่น ทำให้ตระหนักว่า สงสัยยุคนี้เรื่อง coaching จะเป็นแฟชั่นสำหรับ HRD

คุณเกรียงศักดิ์ใช้ TheCoach model ซึ่งเน้น 4-I คือ Individual, Instruct, Inspire, และ Inquire คือต้องรู้จักและวางแนวcoaching แก่ coachee เป็นรายคน แล้วใช้อีก 3-I Instruct คือสอนงาน Inspire โดยทำเป็นตัวอย่าง, เล่าเรื่อง, และเล่าประสบการณ์ของตัวโค้ชเอง

ในสายตาของผม สุดยอด coaching ทำได้โดย Inquiring คือถามคำถาม เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับโค้ชคนที่ทำงานแบบเน้นใช้ความรู้ (knowledge worker)

คุณเกรียงศักดิ์บอกว่า มีข้อแตกต่างในการโค้ช คนเจนวาย กับคนยุคเบบี้บูมเมอร์ โดยได้เสนอให้พิจารณา 3-I

Instruct คือการสอน คนไทยทั้งสองรุ่นรับฟังอย่างสงบและมักไม่ถาม เหมือนๆ กัน โดยโค้ชต้องอย่าเข้าใจผิดว่าเขาเห็นด้วยวิธีนี้ได้ผลน้อยที่สุด

Inspire คนเจนวายรับการ coaching โดยวิธีนี้ได้ดีกว่า โดยที่ในเบบี้บูมเมอร์ก็ได้ผล

Inquire ได้ผลดีกว่าในคนรุ่น เบบี้บูมเมอร์ คนรุ่นเจนวายจะลังเลที่จะตอบคำถาม เพราะขาดประสบการณ์การทำงาน แต่เมื่อได้พัฒนาความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างกันแล้ว คนทั้งสองรุ่นจะตอบสนองต่อ coaching แบบ inquiring ดีพอๆ กัน

ส่วนคุณไมเคิล เฮียะ เขียนเรื่องตัวโค้ช ว่าบุคลิกของโค้ชสำคัญกว่าความรู้หรือทักษะในการโค้ช การให้ความเห็นแบบนี้ ผมไม่ค่อยเห็นด้วย ผมว่าสำคัญพอๆ กัน หรือสำคัญด้วยกัน แต่สาระที่เขานำเสนอ ว่าบุคลิกด้านลบ ที่จะทำให้โค้ชไม่ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง ผมเห็นด้วยทั้งหมด

เขาใช้คำว่า character killers คือเป็นบุคลิกที่ฆ่าตัวตาย ได้แก่ (๑) อวดเก่ง ว่าตนเก่งเหนือคนอื่น (๒) มองคนอื่นในแง่ลบ (๓) ขาดแรงบันดาลใจ (๔) ไม่มีพลังใจที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ตนเชื่อ ทำให้ประนีประนอมเกินไป (๕) ไม่ดูแลบ้านของตนเองให้เรียบร้อย คือแนะคนอื่นได้ แต่ชีวิตของตนเองวุ่นวายสับสน

ผมเคยเล่าเรื่องไปเรียนรู้เรื่อง coaching ไว้ ที่นี่

วิจารณ์ พานิช

๔ ก.ย. ๕๖

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 04 ตุลาคม 2013 เวลา 21:04 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๗๖. เรียนรู้ mentoring และ coaching

พิมพ์ PDF

โครงการ คศน. เชิญวิทยากรจากบริษัท APM Group มาให้ความรู้แก่เหล่า mentor ทั้งหลายของโครงการ ตอนสายของวันเสาร์ ที่ ๑๓ ก.ค. ๕๖    ผมขอไปฟังด้วย   ทำให้ได้เรียนรู้เรื่อง mentoring, coaching, และ counseling ในความหมายสมัยใหม่   และในความหมายของการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาคน

ผมได้เรียนรู้ว่า ตัวร่วมของกิจกรรมทั้ง ๓ อย่าง และเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด คือ การตั้งคำถาม (และฟัง) แบบ Transformational Conversation แต่ทั้ง ๓ ตัวนี้ก็แตกต่างกันชัดเจน โดยมีส่วนที่ทับซ้อนกัน   ดังรูป

 


 

รูปนี้ผมเอามาจากวิทยากร โดยปรับเล็กน้อย    ส่วนที่ทับซ้อนกันทั้ง ๓ กิจกรรมคือ การตั้งคำถาม  การฟัง  และการสร้างความสัมพันธ์    เพื่อให้เกิด transformational conversation แต่ mentoring กับ coaching เน้นเป้าหมายข้างหน้า    ใช้เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นพลังเดินทางร่วมกันระหว่าง mentor – mentee และระหว่าง coacher – coachee แต่ counseling เน้นทำความเข้าใจอดีต และเยียวยาหรือลบบาดแผลในอดีต

mentoring & coaching เพื่อสร้างสรรค์เป้าหมายที่ต้องการบรรลุในอนาคต counseling เพื่อลบบาดแผลในอดีต

บทบาทของ mentor

· Relationship, emphasizing trust

· Information, emphasizing advice

· Facilitation, emphasizing alternatives

· Confrontation, emphasizing challenge

· Motivation

· Mentee vision, emphasizing personal initiative

ทักษะการเป็นโค้ช

· Creating a climate of trust and confidence

· Listen, look, and learn

· Measure, assess, and plan

· Guide a dialogue about performance

· Educate

· Delegate for development

· Reinforcing feedback

· Corrective feedback

· Deal with difficult situation

· Guide the development of an action plan

วิทยากรยังให้ความแตกต่างระหว่าง mentoring กับ coaching ไว้ดังนี้

Mentoring

Coaching

Relationship oriented

Task oriented

Longer term

Shorter term

Development driven

Performance driven

By design

By default

Indirect involvement with superior

Partnering with superior

ผมชอบที่วิทยากรทำความเข้าใจกับผู้ฟังด้วย 2x2 table ที่แบ่งพื้นที่เป็น 4 quadrant ด้วย เส้นแบ่ง ระหว่าง ask – tell และ problem – solution ดังนี้


 

 

หมายเหตุ

วันที่ ๒๙ ก.ค. ๕๖ ผมไปบรรยายที่ มรภ. มหาสารคาม   คุยกันเรื่อง coaching ผมจึงได้รับแจกเอกสารขนาดนามบัตร เรื่อง 12 Practices to the Coach & Mentor ดังนี้

1. Creates trust สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น

2. Has “big ears, small mouth” ฟังมาก พูดน้อย

3. Is non-judgemental ไม่ใช่ผู้ตัดสิน

4. Asks questions ใช้คำถามเพิ่มความชัดเจน

5. Shows empathy มีความรู้สึกร่วม เห็นอกเห็นใจ

6. Is a constructive critic วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

7. Challenges สนับสนุนให้ลองวิธีใหม่ๆ (ผมคิดว่าน่าจะใช้คำว่าท้าทาย)

8. Makes suggestions or Gives advice มีการให้ข้อเสนอแนะเท่าที่จำเป็น

9. Invites talk กระตุ้นให้มีการพูดคุย

10. Sustained over time มีความต่อเนื่องยั่งยืน

11. Sets and monitors targets แบ่งเป็นช่วง และวางเป้าหมายชัดเจน นัดหมายการโค้ชครั้งต่อไป

12. Gives ownership to teacher ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของความคิดและการกระทำนั้น

ทุกครั้งที่คุณให้ ... คุณนั่นแหละที่จะเป็นผู้ได้เสมอ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ก.ค. ๕๖  ปรับปรุง ๒๙ ก.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 


หน้า 439 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8626102

facebook

Twitter


บทความเก่า