Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

สัปดาห์ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๕ ก.ย.​ ๕๕ ผมมีโอกาสเรียนรู้เรื่องนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพถึง ๒ ช่วง   คือเมื่อเช้าวันจันทร์ที่ ๑๐ กับ เช้าวันเสาร์ที่ ๑๕

เช้าวันที่ ๑๐ ก.ย. ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับทิศของโครงการประเมินการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔   การประเมินนี้ดำเนินการโดย HITAP โดยที่ สช. ทำงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ด้วยเครื่องมือ ๓ ชิ้น   คือ (๑) ธรรมนูญสุขภาพ  (๒) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่  (๓) CHIA (Community Health Impact Assessment)

การประชุมนี้ เป็นการให้คำแนะนำต่อรายงานความก้าวหน้าของการประเมิน   ที่รายงานโดย (๑) ศ. นพ. ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล  (๒) ดร. ภญ. สิตาพร ยังคง  และ (๓) รศ. ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง   ซึ่งหลังฟังท่านทั้งสามนำเสนอแล้ว ผมมีความเห็นว่า เรื่องนี้ขึ้นกับว่า คสช. มีเป้าหมายที่แท้จริงเป็นอะไรแน่   เป็นการพัฒนานโยบายเป็นชิ้นๆ   หรือเป็นการพัฒนากระบวนทัศน์และขีดความสามารถของสังคมไทยในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ    โดยผมอยากให้เลือกเป้าหมายหลังเป็นตัวหลัก    อาจมองว่าสัดส่วนระหว่างเป้าหมายแรกกับเป้าหมายหลัง = 1:2 ซึ่งหากคิดเช่นนี้ เครื่องมือ ๓ ชิ้นที่มีอยู่จะไม่เพียงพอ

 

ผมจึงเสนอเครื่องมือชิ้นที่ ๔ คือหลักสูตรการศึกษา    ผมเสนอให้ สช. ตั้งงบประมาณสักปีละ ๑๐ ล้านบาท นำไปร่วมมือกับ สกว. ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น    ให้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนแบบ PBLในโรงเรียน ที่โจทย์คือการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในพื้นที่    ที่จะทำให้เด็กได้เรียนครบทั้ง ๘ หน่วยสาระ   โดย สช. ต้องร่วมกับ สกว. จัด workshop ฝึกอบรมครูในโรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ให้รู้วิธีตั้งโจทย์ PBL  และวิธีทำหน้าที่ coach การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำของนักเรียน   เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ครบทุกหน่วยสาระวิชาจากการลงมือทำโครงงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในพื้นที่   ซึ่งนักเรียนจะต้องเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และคนในครอบครัว ผู้นำชุมชน และคนในพื้นที่   คำถามของเด็ก จะค่อยๆ สร้างกระบวนทัศน์เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพขึ้นภายในชุมชนหรือพื้นที่    และเมื่อเด็กทำโครงงานจบ ก็ให้เสนอรายงานต่อประชาคมในพื้นที่ ก็จะยิ่งสร้างความตระหนักเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับสุขภาวะของคนในชุมชน

 

โครงงานแบบนี้ทำได้ในนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นประถมต้น ไปจนถึงมัธยมปลาย   แม้ระดับอุดมศึกษาก็ใช้ได้   ขึ้นอยู่กับการตั้งโจทย์ให้ซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกัน

 

วันที่ ๑๕ ก.ย. ผมไปร่วมประชุม โครงการเสริมสร้างศักยภาพนักพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ของ สช.

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ก.ย. ๕๕

 

 

· เลขที่บันทึก: 505328
· สร้าง: 12 ตุลาคม 2555 11:09 · แก้ไข: 12 ตุลาคม 2555 11:09
· ผู้อ่าน: 65 · ดอกไม้: 4 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 2 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

บทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช เทคนิคให้นักศึกษาเรียนรู้เนื้อหาสาระ

พิมพ์ PDF
เทคนิคให้ นศ. เรียนเนื้อหาสาระโดยการเรียนแบบที่ไม่ใช่การบรรยายหน้าชั้น แต่เรียนจากสถานีนิทรรศการความรู้ ได้ฟัง ซักถาม แลกเปลี่ยน จดบันทึก เมื่อพอใจแล้วก็เคลื่อนไปสถานีต่อไป ตัวนิทรรศการจัดได้หลากหลายแบบ ตั้งแต่ง่ายที่สุดคือใช้กระดาษ ฟลิพชาร์ท เขียนคำถามคำเดียว หรือเขียนข้อความที่คัดลอกมา ไปจนถึงหนังสั้น วิดีโอคลิป หรือวัสดุสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนพร้อมคำถามหรือประเด็นอภิปราย

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 25. เทคนิคดึงความสนใจ นศ.  (5) สถานีความรู้

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley ในตอนที่ ๒๓ นี้ ได้จาก Chapter 12  ชื่อ Knowledge, Skills, Recall, and Understanding    และเป็นเรื่องของ SET 5 :  Stations

 

SET 5   สถานีความรู้

จุดเน้น  : ความร่วมมือ

กิจกรรมหลัก :   หลากหลาย

ระยะเวลา  :  ๑ คาบ

โอกาสเรียน online  : สูง

 

นี่คือเทคนิคให้ นศ. เรียนเนื้อหาสาระโดยการเรียนแบบที่ไม่ใช่การบรรยายหน้าชั้น    แต่เรียนจากสถานีนิทรรศการความรู้   ได้ฟัง ซักถาม แลกเปลี่ยน จดบันทึก   เมื่อพอใจแล้วก็เคลื่อนไปสถานีต่อไป    ตัวนิทรรศการจัดได้หลากหลายแบบ   ตั้งแต่ง่ายที่สุดคือใช้กระดาษ ฟลิพชาร์ท เขียนคำถามคำเดียว   หรือเขียนข้อความที่คัดลอกมา    ไปจนถึงหนังสั้น วิดีโอคลิป   หรือวัสดุสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนพร้อมคำถามหรือประเด็นอภิปราย

 

ขั้นตอนดำเนินการ

  1. เลือกประเด็นที่เหมาะต่อการเรียนจากนิทรรศการ   และเตรียมคิดว่าวัตถุ หรือรายการสิ่งของใดบ้างที่จะนำมาใช้กระตุ้นความสนใจและการเรียนรู้ในมิติที่ลึก และดึงดูดความสนใจของ นศ.
  2. วางแผนว่าจะมีกี่สถานี   สถานีอะไรบ้าง   แต่ละสถานีใช้เวลาเท่าไร   ใช้อะไรเป็นนิทรรศการ   สถานีแบบ stand alone จะดีกว่า คือไม่ใช่ว่าต้องผ่านสถานีที่ ๑ ก่อน จึงจะศึกษาสถานีที่ ๒ รู้เรื่อง   เพราะจะเปิดโอกาสให้ นศ. มีอิสระที่จะเริ่มที่สถานีไหนก็ได้
  3. เตรียมนิทรรศการ   และจัดทำคู่มือการเรียนจากสถานีความรู้แต่ละสถานี   พร้อมด้วยใบงานคำถาม
  4. วางแผนจัดการกลุ่ม นศ. เข้าชมนิทรรศการ ว่าจะให้เข้าไปเป็นกลุ่ม กลุ่มละกี่คน   เวียนเส้นทางอย่างไร ฯลฯ    ยิ่งกลุ่มเล็กจะยิ่งทำให้การเรียนรู้เข้มข้น เช่น ๒ - ๓ คน
  5. แบ่ง นศ. ออกเป็นกลุ่ม  มอบใบงาน   และอธิบายวิธีเรียนจากนิทรรศการ   พร้อมกับมอบหมายคำถาม

ตัวอย่าง

วิชา African American Literature

ใช้การเรียนจากสถานีนิทรรศการเป็นกิจกรรมติดตามผลการอ่านหนังสือที่มอบหมาย   ซึ่งตามตัวอย่างคือ Autobiography of My Mother โดย Jamaica Kincaid จัดสถานีนิทรรศการ ๖ สถานี   แบ่ง นศ. เป็นกลุ่มละ ๕ คน   สถานีแรก คัดลอก ๒ ประโยคแรกมาไว้    และตั้งคำถามว่า ถ้อยคำนี้ให้ความหมายหรือความคาดหวังอะไรแก่ นศ.   นศ. แต่ละกลุ่มได้รับปากกาสำหรับเขียนคำตอบ (ลงบนกระดาษที่จัดไว้ที่แต่ละสถานี)    ปากกาของแต่ละกลุ่มต่างสีกัน   เมื่อครบเวลา ๑๐ นาที ครูออกคำสั่ง “เปลี่ยนกลุ่ม”   เมื่อวนครบรอบแล้ว วนใหม่อีกรอบ ไปโหวดว่าคำตอบของกลุ่มไหนแสดงความคิดที่ลุ่มลึกหรือน่าสนใจที่สุด   การเรียนคาบนี้จบลงด้วยการอภิปรายทั้งชั้น   และการมอบรางวัลแก่กลุ่มที่ได้รับคะแนนโหวดสูงสุด

 

วิชาคณิตศาสตร์

เป้าหมายของการเรียนจากนิทรรศการ ก็เพื่อให้ นศ. ในรายวิชาคณิตศาสตร์เรียนแก้ตัว ได้เข้าใจคุณค่าของคณิตศาสตร์ต่อชีวิตในอนาคตของตน   โดยจัดนิทรรศการ “คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน : ตัวเลขมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของแต่ละวันอย่างไร”  ในช่วงต้นๆ ของภาคการศึกษา    โดยจัดให้มี ๕ สถานี

สถานีแรกชื่อ “เล่นแล้วชนะ”  ประกอบด้วยโปสเตอร์ชักชวนเล่นการพนันหลากหลายชนิด   แล้วให้ นศ. จับสลากกระดาษสีจากกล่อง    แล้วทำความเข้าใจว่า probability ที่จะชนะคือเท่าไร

สถานีที่ ๒ ชื่อ “การออมกับการกู้”  แสดงดอกเบี้ยธรรมดา กับดอกเบี้ยทบต้น   เอาตัวเลขดอกเบี้ยเงินฝาก  กับดอกเบี้ยเงินกู้ (กรณีประเทศไทยน่าจะเอาดอกเบี้ยเงินผ่อนรถยนต์) มาให้ดู    แล้วถามว่า ความรู้จากข้อมูลเหล่านี้ จะมีผลต่อการดำรงชีวิตในอนาคต ด้านการเงิน ของตนอย่างไร

สถานีที่ ๓, ๔, ๕ ได้แก่ “การเพิ่มประชากร”  “ทำครัวด้วยตัวเลข” และ “คณิตศาสตร์ : ภาษาสากล”

หลังจาก นศ. ผ่านครบทุกสถานี   จัดการอภิปรายทั้งชั้น   แล้วจึงเก็บกระดาษใบงาน

 

วิชาประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

เพื่อให้ นศ. เข้าใจมิติเชิงลึกของ “กรณี วอเตอร์เกท” ที่ทีมงานของพรรครีพับลิกันลอบดักฟังการประชุมพรรคเดโมแครต ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕   ซึ่งต่อมามีผลให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปลด   ครูมอบให้ นศ. เข้าไปเรียนรู้นิทรรศการ online ของ Ford Library ชื่อ “The Watergate Files” ซึ่งมี ๕ นิทรรศการย่อย    โดยครูมีเอกสารใบงานเป็นคู่มือในการศึกษาจากแต่ละนิทรรศการ   พร้อมคำถามให้ นศ. ตอบทั้งแบบ ตอบด้วยหลักฐาน (objective answer)  และตอบด้วยความคิดเชิงนามธรรมของตนเอง (subjective answer)    และสุดท้าย ให้ นศ. เขียนเรียงความสะท้อนการเรียนรู้ของตน

 

การปรับใช้กับการเรียน online

ใช้ได้ดี   ดังตัวอย่างวิชาประวัติศาสตร์ข้างบน

 

การขยายวิธีการ หรือประโยชน์

  • หา เว็บไซต์ ที่มีนิทรรศการ ออนไลน์ เอาไว้ใช้ประโยชน์    ใน สรอ. สามารถค้นหาได้ด้วยคำว่า “educational exhibits”   เขาแนะนำ Resources for Science Learning ของ Franklin Institute

คำแนะนำ

  • อาจติดโปสเตอร์นิทรรศการที่ผนังห้องเรียน    การจ้างพิมพ์โปสเตอร์เดี๋ยวนี้ราคาไม่สูง   และพิมพ์ได้จาก อีเล็กทรอนิก ไฟล์
  • การเรียนจากนิทรรศการนี้ นศ. ที่มีสไตล์เรียนรู้ แบบ visual และ kinesthetic learner จะเรียนได้ดี
  • กรณีที่ข้อมูลในนิทรรศการซับซ้อนมาก ต้องให้เวลาแก่การเรียนจากนิทรรศการมากพอ
  • การเรียนจากนิทรรศการที่จัดอย่างดี จะได้การเรียนรู้ที่ลึกและเชื่อมโยง
  • ถ้าสภาพห้องเรียนไม่เหมาะต่อนิทรรศการ อาจไปใช้สถานที่อื่น
  • อย่าลืมให้ นศ. อาสาสมัคร มีส่วนจัดนิทรรศการ

 

หมายเหตุของผม

วงการศึกษาไทยควรพิจารณาดำเนินการพัฒนาศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา (เช่น พิพิธภัณฑ์  แหล่งประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี   สวนพฤกษศาสตร์  วนอุทยาน ฯลฯ)  ให้จัดนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ได้เหมาะต่อการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษายิ่งขึ้น   รวมทั้งมีนิทรรศการ online ด้วย

 

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

Brookfield SD, Preskill S. (2005) Discussion as a way of teaching : Tools and techniques for democratic classrooms. San Francisco : Jossey-Bass, pp. 107-108.

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ต.ค. ๕๕

 

· เลขที่บันทึก: 505297
· สร้าง: 12 ตุลาคม 2555 04:23 · แก้ไข: 12 ตุลาคม 2555 12:13
· ผู้อ่าน: 42 · ดอกไม้: 3 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 2 วัน ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์วิจารณ์ พานิช

พิมพ์ PDF

ผมติดตามอ่านบทความของอาจารย์วิจารย์ ทุกฉบับที่ลงเผยแพร่ใน gotoknow เรียนตามตรงว่าผมประทับใจท่านมาก ท่านเป็นปราชญ์ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะท่านได้ศึกษาด้านการศึกษาและนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ พร้อมนำประสบการณ์ในการทำงานและประสบการณ์จากการเข้าร่วมประชุมของท่าน มาต่อยอดทำให้ได้คำสอนและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการความรู้ และการนำความรู้ไปปฎิบัติได้อย่างยอดเยี่ยม ผมเสียดายที่ไม่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ท่าน ดังนั้นจึงหวังว่าลูกศิษย์ของท่านน่าจะภูมิใจและนำคำสอนและแนวความคิดของ ท่านไปต่อยอดเพื่อให้เกิดการนำไปปฎิบัติในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ไทยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า สร้างมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ ส่วนตัวผมเองถึงแม้นไม่ได้เป็นลูกศิษย์ของท่านโดยตรงแต่ก็ขอสมัครเป็นลูก ศิษย์ของท่านโดยการติดตามเรียนรู้จากบทความที่ท่านนำมาเผยแพร่และนำความรู้ ที่ได้จากท่านไปต่อยอดให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสร้างมูลค่า ด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงให้กับประเทศชาติ อีกทางหนึ่งที่ผมสามารถทำได้โดยการเผยแพร่บทความของท่านให้กับกลุ่มเครื่อ ข่ายของผม

 

จดหมายเหน็บแนมประเทศไทย

พิมพ์ PDF
การแก้ไข "สังคมไทย"
ได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่นำบทความข้างล่างนี้มาเผยแพร่ให้คนไทยได้คิด (โปรดอ่านข้อความในตอนล่าง)

อ่านไปน้ำตาซึมไปครับ ต้องยอมรับว่าสังคมไทยเป็นเช่นที่เขากล่าวไว้จริงๆ อย่างไรก็ตามก็ยังเชื่อว่าคนไทยเป็นจำนวนไม่น้อยที่มีความคิดและรู้ทันสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเขาไม่ได้นิ่งนอนใจและปล่อยให้ประเทศชาติต้องล่มสลายหรือสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน ผมคนหนึ่งที่ได้ดำเนินการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ได้พยายามชื่อแจงและสื่อให้คนในเครือข่ายของผมเข้าใจและช่วยกันแก้ไข ก็มีอยู่จำนวนหนึ่งที่เรารวมตัวกันและมีความคิดและอุดมการเดียวกัน การดำเนินการของผมต่อเนื่องมาตลอดถึงแม้นจะยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เข้ากับสถานะการณ์นั้นๆ แต่ไม่เคยทิ้งเจตนาเดิม เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ได้จัดตั้ง "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" และมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมบางเล็กน้อย เริ่มเข้าปีที่ 5 ตกลงที่จะจัดตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อทำให้การขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมขึ้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง การเปลี่ยนความคิดหรือค่านิยมของสังคมต้องใช้เวลานาน อย่างน้อยๆต้อง 2-3 ยุคสมัย สิ่งที่ผมและเครื่องข่ายของผมดำเนินการอยู่ จะไม่ทันเห็นในชีวิตของผม ถ้าการดำเนินการในยุคของผมเป็นไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ที่จะได้รับอานิสสงฆ์ของโครงการนี้ จะเป็นคนรุ่นลูกของผู้ที่อยู่ 25 ปีลงไปของคนในยุคนี้ โครงการนี้ต้องทำงานร่วมกันถึง 3 ยุค ได้แก่ คนรุ่นผม ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ต้องจุดประกายและวางพื้นฐาน รุ่น 59-45 ปี เป็นรุ่นที่เป็นกำลังและผู้นำในการทำให้โครงการเกิดขึ้น ส่วนรุ่นที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนได้แก่รุ่น ต่ำกว่า 45 ปี-20 ปี คนทั้ง 3 รุ่นนี้ต้องทำงานร่วมกัน

ที่กล่าวมานี้เพียงยกตัวอย่างแค่ส่วนที่ผมดำเนินการ และเชื่อว่ามีคนไทยอีกหลายท่านที่คิดและมีกิจกรรมที่มารองรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในขณะนี้

สนใจอยากมีส่วนร่วมติดตามได้จาก www.thaiihdc.org หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จากผมตลอดเวลาครับ

 

(ข้อความเหน็บแนมประเทศไทย)
"สังคมไทยเป็นสังคมที่ผุกร่อนมากแล้วรอวันแตก สลายลง เหมือนหินกับปูนซึ่งถูกน้ำกรดกัดกร่อนทุกวัน ในวันหนึ่งข้างหน้าก็จะไม่มีอะไรให้เห็นเป็นแก่นสารเลย

จดหมายเหน็บแนมประเทศไทย

ข้อเขียนข้างล่างมาจาก อีเมล์ ที่ส่งต่อๆ กันมา    และมีคนเขียนบทวิจารณ์แนบมาด้วย    ในบันทึกนี้ บทวิจารณ์มาก่อนบทความตัวจริง    ผมเอามาลงเพราะคิดว่าน่าจะเตือนสติคนไทยได้บ้าง

ป้าแย้มขอแจมหน่อย : แน่ใจได้เลย ว่าคนเขียนจดหมายฉบับนี้เป็นคนไทย และเป็นคนไทยที่ป้าอยากรู้จักอย่างมาก เธอหรือเขา อ่านสังคมของเราได้ทะลุปรุโปร่ง แล้วเอามารวมไว้ด้วยกันเป็นข้อเขียนให้คนไทยได้คิด แต่งแต้มให้น่าอ่าน จุดประกายความสนใจ ด้วยการเขียนเสมือนเป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศ รักษาสีสันของ"ภาษาแปล" ไว้ได้ จนเกือบทำให้หลงเชื่อจริงๆ  แสดงว่า คนเขียนต้องชำนาญทั้งการใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาไทย แต่ที่ต้องสรรเสริญก็คือ การมองเห็นสภาพปัจจุบันของสังคมไทยได้อย่างถูกต้องชัดเจน  และหลายคนคงมองออก ว่าผู้เขียนใช้วิธีประชด ตอนที่นำเสนอข้อควรปฏิบัติให้นายพิจารณา เพื่อให้น่าขำลึกๆ และได้คิดไปด้วยในเวลาเดียวกัน เก่งมากค่ะ

ปัญหาสำคัญก็คือ แม้ว่าผู้อ่านจะเห็นด้วยกับข้อเขียนนี้ จำนวนคนไทยที่มี "คุณภาพ" ในตัวพอที่จะปรับเปลี่ยนแนวคิด และวิธีปฏิบัติ มีมากสักแค่ไหน และเราจะต้องใช้เวลานานสักเท่าไร ถึงจะทำให้คนส่วนใหญ่ "ตาสว่าง" พอที่จะร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม ให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น

 

ป้าจะมีชีวิตอยู่จนได้เห็นวันนั้นหรือไม่ หวั่นใจเหลือประมาณ แต่เราก็ต้องมีความหวังนะคะ มองโลกในแง่ดีไว้ก่อน และทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทั้งคิด และทำ ในสิ่งที่เราอยากให้คนอื่นเป็นอย่างนั้น ทำสิ่งที่ดีที่สุดที่เราอยากเห็นสำหรับส่วนรวม เพื่อความอยู่รอดของสังคมทั้งหมด แล้วไม่ต้องพะวงว่าจะเห็นผลทันตาไหม  ถ้ามันไม่เกิดขึ้น ก็ต้องเรียนรู้ที่จะปลงให้ได้ ว่าประเทศเราคงถูกสาปมา และเป็นเวรกรรมของเราเองที่ต้องเกิดมาเป็นคนไทยในพอศอนี้!!!!!   นั่นไง ป้าก็คิดแบบ "ไทยๆ" กับเขาด้วย!

จดหมายถึงนาย....

 

อ่านแล้วจะเป็นลม ช่วยคิดให้หน่อยว่าคนเขียนฝีมือแบบนี้คือใครกันแน่  ไทยหรือฝรั่ง. ทำไมเค้าว่าเราได้ถูกต้องแล้วก็เจ็บแสบได้ขนาดนี้ เหมือนถูกคนตบหน้าจนช้ำแดงก่ำไปหมดหรือเหมือนถูกกระทืบจมกองอยู่ที่พื้นก็เป็นไปได้. ต้องยอมรับว่าคนเขียนเขาเรียนรู้คนไทยแล้วก็ประเทศของเราได้ชัดเจนด้วยความชำนาญจริงๆ ต้องให้แน่ใจว่าเราต้องส่งให้คนไทยเพื่อนของเราได้อ่านให้มากที่สุด

 

แปลได้เก่งจนนึกว่าเขียนโดยคนไทยเลยครับ

 

จดหมายถึงนาย

(“ จดหมายถึงนาย ” ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นข้อเขียนของคนหนุ่มซึ่งมี ความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ในแวดวงการทูตและแวดวงของศาลรัฐ ธรรมนูญ   เป็นคนเก่งที่ซื่อสัตย์สุจริต   ซึ่งหายากยุคสมัยนี้ แนวคิดและวิธีเขียนอาจจะดูเหมือนรุนแรงแต่ถ้าเราไม่ปฏิเสธความจริง คงต้องยอมรับว่าสิ่งที่บรรยายไว้มีอยู่จริงในบ้านเมืองของเรา     ผมเห็นว่าเป็นข้อเขียนที่น่าจะเป็นประโยชน์ ในการกระตุ้นเตือนทุกคนให้ตระหนักถึงพิษภัยที่เรากำลังเผชิญอยู่    เพื่อจะได้ช่วยกันคิดอ่านป้องกันหรือแก้ไขให้ดีขึ้น ในยุคนักธุรกิจครองเมืองจึงได้นำลงมาไว้ในคอลัมน์นี้ )

ข้าพเจ้าเป็นชาวต่างประเทศที่ทำงานอยู่ในเมืองไทย มีหน้าที่รายงานภาพรวมของประเทศไทยกลับไปยังนาย คือ บริษัทแม่ในต่างประเทศ หรือ บางครั้งก็แอบเสนอรายงานต่อรัฐบาลประเทศของข้าพเจ้า

ในโอกาสล่าสุดนี้นายต้องการทราบว่าควรจะดำเนินการในแง่ยุทธศาสตร์ต่อ ประเทศไทยอย่างไรดีเพื่อให้การครอบงำประเทศนี้สมบูรณ์ที่สุด  ในระยะยาว ข้าพเจ้าขอสนองความต้องการของนายด้วยจดหมายสั้นๆ ฉบับนี้

นายที่รัก ตามที่มอบหมายให้ข้าพเจ้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเกือบ 20 ปีแล้วนั้นข้าพเจ้าพอจะ  สรุปคำตอบเพื่อเสนอต่อนายได้ดังต่อไปนี้

ภาพรวมของประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ค่อนข้างยากจน   สังคมไทยโดยพื้นฐาน มีลักษณะไร้ระเบียบกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นอุปนิสัยประจำตัวของชนชาตินี้

แม้ว่ารัฐบาลรัฐสภาและประชาชนส่วนหนึ่งได้พยายามแก้ไขกฎหมายต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศให้ดีขึ้น  แต่โดยพฤติกรรมแล้ว คนไทยนิยมการดำเนินชีวิต ธุรกิจ และการใช้อำนาจรัฐ  ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ต่างๆ   หรือที่มีคำกล่าวใน ประเพณีไทยว่า “ทำได้ตามใจคือไทยแท้” ท่านจะประมาทต่อคำกล่าวนี้ไม่ได้เลย

ในทางกายภาพ กรุงเทพฯเป็นตัวอย่างของเมืองหลวงที่ไร้ระเบียบที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  ซึ่งเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจมหาศาล   ความไร้ระเบียบนี้ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งหรือลดน้อยลงเลย เมืองเชียงใหม่ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงจากกรุงเทพฯแต่ก็ไม่ทำ หรือทำไม่ได้ เมืองพัทยาซึ่งควรเป็นบทเรียนให้กับเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ แต่ก็ไม่เป็นหรือเป็นไม่ได้

ระบบการจราจรและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะก็เป็นอีกตัวอย่างที่เลวที่สุด นับเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติก็ว่าได้

การรุกล้ำที่ดินสาธารณะ ที่ป่าสงวน เขตอุทยานแห่งชาติ ฯลฯ ก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า แก้ไขไม่ได้ แม้แต่หน่วยงานราชการถึงขนาดทำเนียบรัฐบาลเอง ภายนอกดูสวยงามแต่ภายในนั้นไร้ระเบียบทางกายภาพอย่างน่ากลัว เช่น งานเอกสารที่ท่วมทางเดิน ซึ่งเป็นปัญหาของทุกหน่วยงานราชการตลอดกาลแก้ไม่ได้ ความไร้ระเบียบทางกายภาพนี้ ทำให้ประเทศไทยยังคงเป็นเพียงแค่ประเทศเล็กๆ ที่เราควรเข้ามากอบโกยเอาผลประโยชน์เมื่อมีโอกาสและก็กลับไปยังความศิวิไลซ์ของเราโดยเร็ว เมืองไทยไม่ใช่ประเทศที่ควรเข้ามาปักหลักลงทุนหรืออยู่อาศัยอย่างยาวนานหรือถาวร เพราะเป็นการยากที่เราจะปกครองคนชาตินี้ให้อยู่ในระเบียบวินัยได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่เหมาะกับวัฒนธรรมอันเจริญของเรา ความไร้ระเบียบทางศีลธรรม จริยธรรม

ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ   แต่มีการค้า ประเวณี และยาเสพติดอย่างเปิดเผยทั่วไป มีการฆาตกรรมกันมาก การฉ้อราษฎร์บังหลวงมีอยู่ทั่วหัวระแหง ไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียน มีครูโกงเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ   ในวัด ซึ่งพระโกงชาวบ้าน หรือราชการหลอกพระและพุทธศาสนิกชน หรือที่สื่อมวลชนทำกับเยาวชน   ตำรวจเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสังคม ทั้งนี้ไม่ต้องพูดถึงระบบราชการไทย ซึ่งข้าพเจ้าถือว่าเป็นสัญลักษณ์สุดยอดของความไร้ระเบียบทาง ศีลธรรม-จริยธรรม   จนกลายเป็นสาเหตุบ่อนทำลายรากฐานของสังคมไทยให้ผุ กร่อน   เห็นได้จากการที่กลไกของรัฐไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาสังคมและ ศีลธรรมได้เลย  ผู้นำทางศีลธรรมและจริยธรรม อันได้แก่ พระ ครู สื่อมวลชน ฯลฯ ได้เสื่อมอิทธิพลในการนำจิตใจลงอย่างมาก เพราะถูกเงินเข้าครอบงำ ทั้งโดยเจตนาในทางทุจริตจริงๆ และโดยสถานการณ์บังคับ

ส่วนผู้นำประเทศและชนชั้นนำในสังคมก็ล้มเหลวในทางศีลธรรมและจริยธรรมโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ชัดในแวดวงการเมือง สังคมไทยยังคง “ ยอมรับนับถือ ” นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงซึ่งมีประวัติไม่สะอาดหรือพฤติการณ์ที่น่ารังเกียจ พวกเจ้าเล่ห์เพทุบาย   หรือในวงการแพทย์ ซึ่งเคยเป็นวิชาชีพที่สังคมให้เกียรติอย่างมากกลับมีกรณีฉาวโฉ่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในวงการผู้พิพากษาก็มีกรณีท ี่ทำให้สถาบันต้องมัวหมองอยู่เนืองๆ เชื่อหรือไม่ว่า คนไทยนั้น ที่หวังพึ่งผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างจริงจัง มีน้อยมาก ปัญหาเด็กหาที่เรียนในกรุงเทพฯกลายเป็นตลกเศร้าของพ่อแม่ตลอดกาลชั่วนาตาปี   ฯลฯ

ในทางกฎหมาย ปรากฏว่ามีความไร้ระเบียบจนการใช้กฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมาถึงระดับ ระเบียบปฏิบัติต่างๆ เกิดความวุ่นวายไปหมด สิ่งที่น่าขันก็คือ ในเรื่องๆ หนึ่งอาจมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันมากมายหลายฉบับและให้อำนาจบุคคลต่างๆ ไว้แตกต่างกัน ทำให้สังคมไทยอยู่บนช่องว่างของกฎหมายมากกว่าตัวบทกฎหมายเอง   ตัวอย่างที่ ดีก็เช่นว่า เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น สำนักงานการบริหารราชการแผ่นดินนายกรัฐมนตรีเกือบไม่ต้องรับผิดชอบเลย โดยอ้างว่าอำนาจต่างๆเป็นของรัฐมนตรี ส่วนรัฐมนตรีก็อ้างว่าเป็นอำนาจของปลัดกระทรวง ปลัดกระทรวงก็อ้างว่าเป็นอำนาจของอธิบดี อธิบดีมักจะกล่าวว่า   “เราจะป้องกันมิให้ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นอีก” โดยไม่ มีผู้ใดแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมายจริงๆ เลย   และเมื่อมีผู้ถามว่าเหตุใดจึงมีกฎหมายที่ทำให้เกิดช่องว่างดังกล่าวมาก เหลือเกิน นักกฎหมายก็จะตอบด้วยความภูมิใจว่า “เพื่อกระจายอำนาจและให้เกิดความคล่อง ตัวในทางปฏิบัติ”  ความไร้ระเบียบทางกฎหมายตั้งแต่ระดับกติกาสูงสุดในการ ปกครองประเทศลงมาถึงระเบียบจุกจิกสารพัดเรื่องในหน่วยงานราชการหนึ่งๆ ได้กลายเป็น “ ต้นทุน ” ในการพัฒนาของประเทศไทยยุคใหม่ ทั้งๆ ที่ประชาชนในยุคนี้มีการศึกษาสูงกว่ายุคก่อนๆ จึงนับว่าเป็นเรื่องจริงที่น่าเศร้าเป็นอย่างยิ่ง และสะท้อนให้เห็นว่า มันสมองที่แท้จริงในสังคมไทยยังไม่ได้รับการพัฒนา หรือพูดง่ายๆ ยังไม่ได้เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์สังคมแม้ว่ากาลเวลาผ่านมาแล้วอย่างยาวนาน

ในทางวัฒนธรรม อะไรเล่าคือ วัฒนธรรมไทย เมื่อข้าพเจ้าถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย เขาจะพาเราไปดูการฟ้อนรำที่ซ้ำๆ กัน  ดูผ้าไหม ดูวัด และพาไปทานอาหารไทย  เขาจะพาเราไปเที่ยวดูช้าง และชาวเขา ดูเรือในแม่น้ำและการพิธีต่างๆ มวยไทยและตลาดน้ำ   เราได้ดูพระพุทธรูป ปราสาทราชวัง ซึ่งล้วนแต่เป็นอดีต แต่พวกเขาไม่เคยพาเราไปดูวัฒนธรรมในการศึกษาหาความรู้ของคนไทย วัฒนธรรมในการผลิตสินค้าและการให้บริการของคนไทย การคิดค้นสิ่งใหม่ประดิษฐกรรมและศิลปกรรม   ข้าพเจ้าไม่เคยได้พบวัฒนธรรมที่ ดีงามมากในธุรกิจของไทยและยิ่งพบเห็นได้ยากในระบบราชการของไทยซึ่งเน้นความ เป็นเจ้าขุนมูลนายและสายสัมพันธ์มากกว่าการมีวัฒนธรรมที่สร้างจิตสำนึกต่อ สังคม คนไทยไม่สามารถชี้ให้เห็นวัฒนธรรมของพวกเขาในส่วนที่ เป็นพลังขับเคลื่อนที่แท้จริงของชาติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และไม่สามารถอธิบายให้น่าฟังได้ในระดับนามธรรม ความไร้ระเบียบทางกายภาพ และทางศีลธรรม-จริยธรรม และความไร้ระเบียบทางกฎหมายและวัฒนธรรม ที่สรุปไว้ข้างต้นนี้นับว่าเป็นข้อดีสำหรับเรา ซึ่งเป็นคนต่างชาติที่มีอำนาจ เพราะแสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นอ่อนแอในทุกด้าน ผู้ใหญ่ก็อ่อนแอและเด็กก็อ่อนแอ คนมีความรู้ก็อ่อนแอและคนไม่มีความรู้ก็อ่อนแอ คนมีอำนาจหรือไม่มีอำนาจก็อ่อนแอทั้งสิ้น นับเป็นเวลากว่า   50 ปีมาแล้วที่คนไทยไม่มีผู้นำที่สามารถและเสียสละอย่างแท้จริง (ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์) อันสะท้อนกลับมาที่ลักษณะประจำชาติของคนไทยเอง

นายท่าน ! สังคมไทยเป็นสังคมที่ผุกร่อนมากแล้วรอวันแตกสลายลง เหมือนหินกับปูนซึ่งถูกน้ำกรดกัดกร่อนทุกวัน ในวันหนึ่งข้างหน้าก็จะไม่มีอะไรให้เห็นเป็นแก่นสารเลย นายควรที่จะพอใจว่ารัฐบาลข้ามชาติ รวมทั้งมาเฟียต่างๆ ของเรา ชาวต่างชาติ เพียงแต่ใช้กุศโลบายอันแยบยลอย่างเงียบๆ หลอกล่อให้คนไทยหลงอยู่ในความฝันว่าตนมีสติปัญญาเพียงพอแล้วโดยการเลียนแบบฝรั่งก็ใช้ได้ ความไร้ระเบียบจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในทุกด้าน สังคมไทยในที่สุดจะตั้งอยู่ได้ด้วยประชาชนที่อ่อนแออย่างหลวมๆ เพียงอย่างเดียว

ไม่มีจุดเชื่อมโยงอย่างมีความหมายกับอำนาจรัฐและอิทธิพลทางจิตใจของ ผู้นำทางการเมือง สังคม สถาบันหรือศาสนาใดๆ เมื่อนั้นเราจะบังคับเอาประเทศไทยเป็นทาสอย่างง่ายดาย เพียงแต่รอเวลาเท่านั้น สิ่งที่เป็นเวทย์มนต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่เราชาวต่างชาติจะใช้สะกดผู้นำของ ชาติไทยก็คือ จงหลอกล่อให้พวกเขาหลงใหลเข้าใจว่า พวกเราชาวต่างชาติจะอยู่ในระเบียบวินัยทางการค้าและการลงทุนอันเสรีใน กฎเกณฑ์ที่เรานั่นเองเป็นผู้คิดค้นขึ้น เราจะต้องสะกดให้เขาเชื่อว่าเราชาวต่างชาติจะอยู่ในระเบียบวินัยของกฎบัตรสห ประชาชาติ และหลักการด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย และมนุษยธรรมต่างๆ รวมทั้งมาตรฐานอันสูงส่งในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อย่าให้พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้ศาสตร์ชั้นสูงของการลูบหน้าปะจมูกหรือมือ ถือสากปากถือศีลของชนชาติเราเป็นอันขาด ชาติเล็กๆ ที่น่าสงสารชาตินี้ย่อมอยู่ในอุ้งมือของเราเป็นแน่แท้ แม้คนอยากจะลุกข ึ้นสู้   แต่พวกเขาก็มีแต่ความรักชาติเท่านั้น  ไม่มีระเบียบวินัยและพลัง ภายในของสังคม   อันเป็นจิตวิญญาณของชาติที่แท้จริงซึ่งจะผลักดันให้ต่อสู้ ได้สำเร็จเลย  “ สิ่งที่พึงระวัง ” เราชาวต่างชาติจะต้องระวังย่างก้าวของ เราบางประการเพื่อมิให้การครอบงำอย่างเงียบๆ นี้สะดุดหยุดลง ข้าพเจ้าขอเสนอแนวคิดต่อนายดังนี้

  1. อย่าให้เมืองไทยมีผู้นำที่เข้มแข็งและเสียสละ สังคมไทยส่วนใหญ่ยังหวังพึ่งหัวหน้าฝูงและสิ่งที่มีอำนาจ เขายังไม่หวังพึ่งพาตนเองมากนัก หากสังคมไทยได้ผู้นำที่เสียสละ พวกเขาจะกลายเป็นชาติที่รุ่งเรืองได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังเช่นที่ปรากฏมาทุกยุคในประวัติศาสตร์ชาติไทย สิ่งที่เราควรทำคือ ส่งสัญญาณสนับสนุนผู้ที่จะได้รับเลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากแม่พิมพ์ (mold) แบบเก่าของไทย เช่น นาย ช. นาย ก. นาย บ. ฯลฯ หรือผู้ที่แสวงประโยชน์สูงสุดจากการเมือง คนพวกนี้จะช่วยให้เราชาวต่างชาติใช้เวทย์มนต์ของเราได้ง่ายขึ้นเหมือนที่ผ่านๆ มา
  2. อย่าให้ผู้นำของไทยคิดออกนอกแนวโลกาภิวัฒน์ เพราะโลกาภิวัฒน์คือเวทย์มนต์ของเรา จงทำให้พวกเขาหลงใหลมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าโลกาภิวัตน์ที่ถูกต้อง คือ การเอาใจท้องถิ่น (localization of globalization)   เพื่อว่าเขาจะได้แคลงใจสงสัยน้อยลง จงทำให้พวกเขาเชื่อว่าปัญหาต่างๆ ของพวกเขานั้น จะพึ่งพากลไกของรัฐไม่ได้ แต่ต้องพึ่งพานักคิดแก้ปัญหาอิสระในนามผู้เชี่ยวชาญและ เอ็นจีโอ บางแห่งที่เราสนับสนุนอยู่ จงจูงมือพวกเขา จงจูงใจพวกเขาและให้อามิสแก่พวกเขา ทำให้เขารู้สึกว่าภาคประชาชนเท่านั้นที่สำคัญ พวกเขาจะดูหมิ่นเหยียดหยามอำนาจรัฐ พวกเขาจะเกลียดชัง พวกเขาจะเคียดแค้น ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ความก้าวหน้าของเรา ขณะเดียวกัน เราเองจะต้องสนับสนุนให้อำนาจรัฐพัฒนาประเทศไปใน แนวทางที่ประชาชนเกลียดชังมากขึ้นทีละน้อย โดยแสร้งทำเป็นว่าอย่าช่วยเหลืออย่างจริงใจ
  3. จงเร่งให้คนไทยรู้สึกว่าพวกเขาพ้นจากปัญหาเศรษฐกิจแล้ว เมื่อพวกเขาหลงเชื่อว่าทุกอย่างดีขึ้น นิสัยประจำชาติของพวกเขาจะพลุ่งพล่าน พวกเขาจะลืมตัวสร้างความไร้ระเบียบมากขึ้นเป็นทวีคูณ เริ่มจากการเมืองระดับชาติ ข้าราชการ นักธุรกิจ ฯลฯ ลงมาจนถึงการเมืองท้องถิ่น พระ ตำรวจ ชาวบ้าน พวกเขาจะรีบเร่งออกกฎหมายต่างๆ จนยุ่งเหยิงไปหมด ไม่ทราบว่าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะใช้กฎหมายใด ในกรณีใดเมื่อใด พวกเขาจะย่อหย่อนต่อวินัยทางเศรษฐกิจ การคลัง และการเงิน พวกเขาจะเมินเฉยต่อศีลธรรม-จริยธรรม จะฟุ้งเฟ้อ ทำตัวเป็นคางคกขึ้นวอ เพื่อให้เราชาวต่างชาตินิยมชมชอบ ดังนั้นพลวัตทางเศรษฐกิจเพราะความเชื่อผิดๆว่า ทุกอย่างดีขึ้น จะนำไปสู่จิตวิญญาณของชาติที่เป็นอัมพาตหนักกว่าเดิมในเวลาอันไม่ช้า ซึ่งจะเป็นโอกาสทองของพวกเราชาวต่างชาติอย่างแท้จริง
  4. จงช่วยสนับสนุนการศึกษาของคนไทย (ให้แคบขึ้นเรื่อยๆ ) จนคนทั้งชาติเชื่อว่า การใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น คือการไม่ได้รับการศึกษา พวกเขาจะชำนาญและหลงใหลได้ปลื้มกับเทคนิคต่างๆ ซึ่งนำเอาความสะดวกสบาย และเงินเดือนสูงๆ มาให้ จนลืมไปว่าการสร้างชาตินั้นสำคัญกว่าการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือการส่ง e-mail    เราทำให้พวกเขาเชื่อไปได้เปลาะหนึ่งแล้วว่าต่อไปคำว่า        “ชาติ” จะไม่มี เพราะ internet ได้ทำลายพรมแดนธรรมชาติลงเสียแล้ว  ต่อไปก็ต้องทำให้พวกเขาลืม      “ความรักชาติ”   และแรงปรารถนาที่จะ “ สร้างชาติ ” เพื่อว่าจะได้หมดความปรารถนาแบบโบราณที่จะยืนอยู่ในโลกอย่างทรนง เช่นเสรีชนอื่นๆ อย่าให้พวกเขาสนใจศิลปศาสตร์มากนัก เพราะวิชาเหล่านี้ทำให้พวกเขา “ คิดอย่างมีจินตนาการ” อย่าให้พวกเขา “ คิดได้ ” มากๆ หรือ “ อยากคิด ” มากๆ เพราะมันจะเป็นฐานพลังให้สังคมไทย “ คิดสู้ ”จงเน้นให้พวกเขาหลงใหลในวิชาการเทคนิคและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ
  5. หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการไทย เพราะระบบราชการไทยนั้นล้าหลังมาก และเป็นทั้งอุปสรรค์ต่อการพัฒนาประเทศพร้อมๆกับเป็นเชื้อโรคที่กัดกินสังคม ไทยโดยส่วนรวมมากขึ้นทุกที ระบบราชการไทยเต็มไปด้วยความกดดันทำลายทรัพยากรบุคคล เต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ และความไร้สำนึกต่อสังคม ทำให้ระบบราชการไทยเป็นมหามิตรของเราชาวต่างชาติ อย่าชี้จุดอ่อนของเขา อย่าวิพากษ์วิจารณ์ ปล่อยให้มันเป็นตัวบ่อนทำลายคนไทยทั้งทางกายและทางจิตใจ ทุกลมหายใจของชีวิตจนกว่าจะหมดลม เมื่อไม่วิพากษ์วิจารณ์ มหามิตรของเราก็จะทำงานอย่างขะมักเขม้นโดยหลงเชื่อว่าตนนั้นดีเลิศประเสริฐ ที่สุดในชาติ มีความชอบธรรมที่จะเขมือบงบประมาณแผ่นดินมากขึ้นเรื่อยๆ จนชาติไทยทั้งชาติเป็นอัมพาตเพราะมะเร็งร้ายนี้   อย่าลืมว่าเฟืองตัวใหญ่ ที่ขึ้นสนิมเขรอะ ย่อมทำให้จักรกลทั้งหมดสามารถหยุดหมุนได้   เราชาวต่างชาติไม่ต้องลงทุนลง แรงอะไรเลย   นั่งยิ้มให้มหามิตรของเรา   และยื่นหัตถ์แห่งมัจจุมิตรแก่พวก เขา จนกว่าเวลาจะมาถึง
  6. จงนำรายงานฉบับนี้ให้คนไทยอ่านเพื่อทดสอบปฏิกิริยาของพวกเขา   ข้าพเจ้ามั่น ใจว่าพวกผู้นำจะตอบด้วยใบหน้าที่ยิ้มละไมว่า “ เพิ่งได้รับเอกสาร ขอเวลาให้เราแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาก่อน ” ส่วนคนไทยทั่วไปจะตอบ ว่า “ ไม่เป็นไร  ” แล้วหัวเราะเห็นฟันขาว นายท่านจงตระเตรียมเครื่องปรุงรสให้พร้อม  เพื่อลิ้มรสเนื้ออันโอชะจากแผ่น ดินไทย

รายงานของข้าพเจ้าฉบับนี้มีเพียงเท่านี้ หากรัฐบาล   บริษัทข้ามชาติและมาเฟียของเราวางแผนเข้ามาผูกมิตรกับคนไทยโดยมีเป้าหมายเช่นว่านั้นแล้ว ข้าพเจ้ารับรองว่าคนไทยจะภาคภูมิใจในการผูกมิตรกับเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเขาโดยเนื้อแท้ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงมากนักและไม่ชอบคิดแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง พวกเขาชอบการยกยอปอปั้น หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและใช้ชีวิตตามสบาย

 

 

· เลขที่บันทึก: 505556
· สร้าง: 14 ตุลาคม 2555 07:41 · แก้ไข: 14 ตุลาคม 2555 07:41
· ผู้อ่าน: 28 · ดอกไม้: 5 · ความเห็น: 3 · สร้าง: ประมาณ 6 ชั่วโมง ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
· เลขที่บันทึก: 505577
· สร้าง: 14 ตุลาคม 2555 13:32 · แก้ไข: 14 ตุลาคม 2555 13:32
· ผู้อ่าน: 1 · ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 3 นาที ที่แล้ว
· สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
 

ข้อคิดเกี่ยวกับโครงการประชานิยม

พิมพ์ PDF

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขียนเฟซบุ๊ก ส่วนตัว"Thirachai Phuvanatnaranubala"วิพากษ์โครงการจำนำข้าว ว่า...

ขณะนี้มีการถกเถียงกันมาก ว่าโครงการจำนำข้าวมีความเสี่ยงด้านทุจริตมากหรือไม่ หรือชาวนาจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ การถกเถียงเรื่องโครงการประชานิยมแบบนี้ จึงมักจะเน้นข้อขัดแย้งกันในทางความคิดทางการเมืองเป็นสำคัญ

- แต่มีประเด็นทางวิชาการเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับโครงการประชานิยมอยู่สองประเด็น ที่ประชาชนควรทราบ และเป็นประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของการเมือง

- ประเด็นที่หนึ่งคือผลร้ายต่อหนี้สาธารณะ

- โครงการประชานิยมนั้นทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้อาจจะเป็นผู้ที่ด้อยโอกาสก็ได้ หรืออาจจะเป็นผู้ที่ไม่ด้อยโอกาสก็ได้

- ในประเด็นว่าโครงการประชานิยมใดเป็นโครงการที่เหมาะสมหรือไม่นั้น ผมจะไม่วิจารณ์

- แต่ผมอยากจะชี้ว่า โครงการประชานิยมจะเป็นโทษแก่ประเทศหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลนำเงินจากแหล่งใดมาใช้

- หากรัฐบาลใช้วิธีเก็บภาษีเพิ่ม จะไม่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ เพราะจะเป็นการเอาภาษีจากคนหนึ่ง ไปเอื้อประโยชน์แก่อีกคนหนึ่ง ซึ่งหากผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการประชานิยม รัฐบาลก็ทำได้โดยชอบ

- แต่หากรัฐบาลไม่ใช้วิธีเก็บภาษีเพิ่ม รัฐบาลก็ต้องเพิ่มหนี้สาธารณะ

- และในทางทฤษฎีนั้น หากมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นๆ มากจนเกินไป เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ประเทศไทยก็อาจจะเข้าสภาวะมีหนี้ล้นพ้นตัว และอาจจะประสบปัญหาทำนองเดียวกับประเทศกรีซ

- ปัญหาคือตัวเลขหนี้สาธารณะที่คำนวนตามกฎหมายนั้น มักจะเป็นตัวเลขที่ล้าหลัง เพราะกระทรวงการคลังทำบัญชีด้วยวิธีเงินสดเป็นหลัก

- กล่าวคือถึงแม้ในข้อเท็จจริงรัฐบาลจะมีภาระหนี้เกิดขึ้นในอนาคตจากโครงการประชานิยมเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่กระทรวงการคลังจะนับเป็นหนี้สาธารณะ ก็ต่อเมื่อมีการเคลียร์โครงการและปิดบัญชีได้แล้ว ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศไทยจึงไม่ทันสมัย ไม่เป็นปัจจุบัน และไม่สะท้อนภาระที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด

- ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่หากรัฐบาลเปิดโครงการประชานิยมโครงการแล้วโครงการเล่า อันจะมีผลทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่นักวิเคราะห์ไม่สามารถประเมินได้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใด

- ผมจึงมีความเห็นว่า กระทรวงการคลังควรจะมีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อหนี้สาธารณะจากโครงการประชานิยมทุกโครงการ โดยทำเป็นประจำทุกไตรมาส แล้วควรประกาศตัวเลขหนี้สาธารณะที่รวมถึงตัวเลขดังกล่าวเป็นการทั่วไปด้วยทุกไตรมาส

- การประเมินตัวเลขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว กระทรวงการคลังควรใช้องค์กรที่มีความรู้ และหากไม่สามารถหาองค์กรที่ประเมินตัวเลขดังกล่าวได้ หรือหากมีปัญหาในการประเมินไม่ว่าประการใด ก็ควรจะนับภาระหนี้ทั้งหมดที่ธนาคารของรัฐไปกู้ยืมมาเฉพาะเพื่อโครงการประชานิยมนั้นๆ เป็นหนี้สาธารณะทั้งจำนวนไว้ก่อน

- การดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้การบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทยเป็นไปโดยโปร่งใส เป็นที่น่าเชื่อถือแก่นักวิเคราะห์สากลรวมถึงสถาบันจัดอันดับต่างๆ และจะช่วยทำให้รัฐบาลเองตระหนักถึงภาระต่อประเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างครบถ้วนด้วย

- ประเด็นที่สอง คือโครงการประชานิยมนั้นมีผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน

- ในเรื่องนี้ ต้องอธิบายก่อนว่าการที่ประเทศจะก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้นั้น จะต้องมีการลงทุนภาคเอกชนมากต่อเนื่องทุกปี เพราะการลงทุนจะช่วยเพิ่มผลผลิตในอนาคต ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโต และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

- ดังนั้น หากมีปัจจัยใดที่กระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน ก็จะกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจโดยตรง

- ถามว่านักธุรกิจเอกชนที่จะตัดสินใจลงทุนขยายกิจการนั้น เขาจะพิจารณาปัจจัยใด

- นักธุรกิจจะพิจารณาหลายปัจจัยครับ แต่อัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่ง หากดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง การลงทุนก็จะน้อย หากดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ การลงทุนก็จะมาก

- ส่วนการใช้เงินโดยรัฐบาลนั้น หากรัฐบาลลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศเติบโตในปีต่อๆ ไป

- แต่รัฐบาลดำเนินโครงการประชานิยม ที่มีผลกระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่ายในเรื่องอุปโภคบริโภคนั้น โครงการประชานิยมจะมีผลเน้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเร็วเฉพาะในปีนี้เป็นสำคัญ

- ปัญหาคือการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอุปโภคบริโภคนั้น หากทำมากเกินไป ก็จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเร็ว

- แต่จะมีผลกดดันเงินเฟ้อให้สูง

- เมื่อนโยบายประชานิยมของรัฐบาลมีผลกดดดันเงินเฟ้อให้สูง ธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้ และย่อมมีผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน

- ผมจึงมีความเห็นว่า กระทรวงการคลังควรจะมีการปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อประเมินว่าโครงการประชานิยมมีผลดังที่ว่านี้หรือไม่ และหากมี จะมีวิธีการลดทอนผลกระทบดังกล่าวได้อย่างไร

Tags : จำนำข้าวธีระชัย


 


หน้า 524 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8740636

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า