Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

ตน ........ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs

พิมพ์ PDF

สรุปงานเสวนา ฅน...ทางรอดธุรกิจโรงแรมSMEs”

จัดโดย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ร่วมกับ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่  25 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.30 16.00 น.

ณ ห้อง Activity Hall ชั้น 1 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายวีรชัย  วงศ์บุญสิน ประธานคณะอนุกรรมการติดตามผลการเจรจาเขตการค้าเสรี กำหนดจัดงานเสวนา ฅน...ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs” เมื่อวันอังคารที่  25 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.30 16.00 น.  ณ ห้อง Activity Hall ชั้น 1 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยร่วมกับศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดย ดร.ชุมพล  พรประภา

ธุรกิจโรงแรมภายใต้ภาวะการณ์สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย ที่มีปัญหารุมเร้า ทั้งปัญหาภายใน เช่น ปัญหาผลิตภาพแรงงานไทยต่ำกว่ามาตรฐานของโลก ปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพ รวมไปถึงปัญหาความไม่สงบทางการเมือง ที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และปิดสนามบิน นอกจากปัญหาภายในแล้วยังมีปัญหาภายนอกที่สำคัญ คือปัญหาวิกฤตซับไพร์ม อันจะทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงโดยยังไม่สามารถกำหนดปริมาณความเสียหายที่ชัดเจนได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวที่ชะงักงัน ซึ่งเป็นแรงกดดันในการหาทางรอดของธุรกิจที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม จากการคาดการณ์ว่าจะมีการซบเซา 4-5 ปีติดต่อกัน

หากเป็นธุรกิจรถยนต์ สิ่งที่จะทำได้ภายใต้ภาวะการณ์วิกฤตเช่นนี้ คือ 1) จะต้องหลีกเลี่ยงการลงทุนขนาดใหญ่ 2) การลดสินค้าคงคลัง และ 3) การคงเหลือบุคลากรในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น หากเป็นธุรกิจโรงแรมก็อาจหมายถึงการหยุดโครงการก่อสร้างโรงแรมใหม่ การลดพนักงานให้เหลือเท่าที่จำเป็น แต่ในส่วนของการลดสินค้าคงคลัง ไม่อาจทำได้เนื่องจากเป็นบริการไม่ใช่สินค้า ทั้งนี้ธุรกิจโรงแรมอาจต้องลดจำนวนพนักงานหากจำเป็นจริง ๆ และพยายามติดตามสภาวะการณ์ที่เป็นสัญญาณต่างๆ เช่น ผลประกอบการที่ลดลงของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

2. ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์  โดย ดร.ธรรมชัย  เชาว์ปรีชา

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายหน่วยงาน โดยหน้าที่หลักจะเป็นผู้ประสานกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบบูรณาการให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ เน้นการพัฒนามนุษย์ทั้งด้านทักษะความรู้ ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม พยายามแสวงหาความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ต้องการแรงงานโดยตรง รวมตัวกันเพื่อบอกถึงความต้องการที่แท้จริงในด้านทรัพยากรมนุษย์ในสาขาของตนเอง โดยรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการสมัครสมาชิก ซึ่งกิจกรรมจะดำเนินเพื่อสมาชิก แต่จะไม่เน้นที่การแสวงหากำไร เน้นเพียงเพื่อการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯได้ เท่านั้น

3. ทุนมนุษย์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์ เป็นการผลักดันให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีความสามารถในการแข่งขันและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน หากสนใจงานวิจัยและด้านการท่องเที่ยว คุณวิจิตร ณ ระนอง ได้แนะนำว่าควรจะดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจท่องเที่ยว เพราะทุนมนุษย์ต้องมีการลงทุน ต้องมีความเชื่อและศรัทธาในทุนมนุษย์  ต้องหาความรู้ตลอดเวลา คนที่จะมาช่วยภาคการท่องเที่ยวต้องรู้บริบท การจะทำงานต่อไปนี้ต้องเน้น 3 เรื่อง คือ

- ยกศักยภาพคนให้ดี

- คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

- ทำแล้ววัดผลได้ มีแนวร่วม

ทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวตัดสินว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะอยู่อย่างยั่งยืนหรือไม่ ปัญหาด้านทุนมนุษย์ คือ ต้องรับคนทำงานที่ไม่มีคุณภาพเข้ามา  ต้องปรับปรุงระบบการศึกษา และเปลี่ยนแรงงานท่องเที่ยวให้เป็นแรงงานที่มีความรู้และหาความรู้ได้ให้เป็นทุนมนุษย์ที่ดี เพื่อให้สามารถแข่งขันได้  ซึ่งต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องทำให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ นำความคิดไปทำ มีความสุขในการทำงาน รู้จักสร้างเครือข่าย คิดถึงอนาคต ควรเน้นการท่องเที่ยวเชิงรุก เช่น Health Tourism, Cultural Tourism และ Education Tourism นำภูมิปัญญามาขาย มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องสร้างความตระหนักให้ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และลงทุนเรื่องคน

4. ฅน ....ทางรอดธุรกิจโรงแรม SMEs : บริหารแบบฝรั่ง ตั้งมั่นแบบจีนบริการแบบไทย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และดร.ชุมพล  พรประภา

คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ขึ้นเวทีทรัพยากรมนุษย์ด้านโรงแรมที่จัดโดยภาคเอกชน ธุรกิจโรงแรมต้องอาศัยคนเป็นหลักดังนั้น เรื่องคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม  ทุกวันนี้เราลงทุนในอุตสาหกรรมโรงแรมค่อนข้างมาก แต่ลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์น้อย โรงแรมใหญ่ไม่มีปัญหา แต่โรงแรมเล็กมีจำนวนมากมายล้มกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากการลงทุน การบริหารจัดการ การตลาด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารจัดการองค์กรก็มีเรื่องคนเกี่ยวข้อง นักลงทุนส่วนมากมักมาจากนอกวงการเพราะการลงทุนโรงแรมใช้เงินทุนมหาศาล การที่ได้ทำบริษัทท่องเที่ยวทำให้ได้เปรียบ เพราะมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว และเข้าใจความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยได้ลงทุนทั้งหมด 14 โรงแรมและส่วนมากมักเป็นรีสอร์ท และเลือกลงทุนทำโรงแรมในพื้นที่ห่างไกล เช่น เกาะยาว แม่ริมโดยเริ่มจากสร้าง Concept ให้โรงแรมแล้วหาทำเลให้ได้ตรงตาม Concept หรือตั้ง concept ให้เหมาะกับที่ดินที่มีคนเสนอมา นอกจากนี้ ยังจ้างคนในท้องถิ่นมาทำงานให้เพราะค่าแรงและค่าใช้จ่ายไม่แพง ซึ่งได้ประโยชน์และจะได้ช่วยปกป้องโรงแรม แต่ก็ต้องพัฒนาทักษะการบริการให้ในด้านการบริหารจัดการ หาผู้จัดการทั่วไปที่มีประสบการณ์ไปอยู่ลำบากมากในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น เกาะยาวหรือแม่ฮ่องสอน  ผู้จัดการทั่วไปต้องเข้าใจทุกด้าน คนที่จบมาโดยตรงมีน้อย ส่วนใหญ่มาจาก F&B, Front Office ควรจะจัด training for trainer เพื่อช่วยให้ผู้บริหารมาช่วยฝึกพนักงานได้ ภาครัฐควรมีหน่วยพัฒนาโรงแรมในประเทศไทย คนไทยควรได้รับการพัฒนาด้านภาษา ระบบบริหารจัดการ  และควรพัฒนาวัฒนธรรมไทยเพื่อป้อนคนสู่ตลาดโลกและรับมือกับการแข่งขันที่จะมาพร้อมกับการเปิดเสรีภาคบริการ

คุณณรงค์ สุทธิพงศ์พิธาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารโรงแรม กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานโรงแรมมายาวนาน พบว่า มี 2 ปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้  คือ 1) ห้องพัก และ2) อาหารและเครื่องดื่ม จากการที่ได้สอนนักศึกษาหลายแห่ง นักศึกษาบอกว่างานบริการสร้างรายได้ให้กับโรงแรม ลูกค้า คือ คนที่วัดคุณภาพโรงแรม ดังนั้น คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเจริญของโรงแรม ต้องทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้รับบริการ และพนักงานต้องมีความสุขในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าพอใจและบอกต่อ ๆ กันเพื่อมาใช้บริการโรงแรม และต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนด้วย

คุณสายสิริ ฮุนตระกูล กรรมการผู้จัดการ ท้องทรายเบย์ รีสอร์ท กล่าวว่า ต้องทำให้พนักงานที่มีประสบการณ์มากและมีความจงรักภักดีสูงมีความสุข ส่วนพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้และความสามารถ ต้องใช้เหตุผลและหลักการบริหาร และควรเลี่ยงการรับพนักงานที่ผ่านงานมาหลายที่ ที่ละไม่กี่ปี เนื่องจากจะตั้งค่าตอบแทนสูงเวลามาสมัครงาน เพราะต้องการตำแหน่งสูงแต่มีประสบการณ์น้อยในงานแต่ละแห่ง  ทำให้ทางรีสอร์ทไม่สามารถพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพได้ การเรียนในสถาบันการศึกษา เน้นทฤษฎี แต่เวลาทำงานต่างกันมาก คนในปัจจุบันมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานน้อยลงทุกวัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า คนในโลกตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบระหว่างความจงรักภักดีกับประสิทธิภาพในการทำงาน ปัจจุบัน คนไม่จงรักภักดีต่อองค์กร ถ้ามีคนเก่งแต่ไม่จงรักภักดี ก็บริหารยาก เวลาจ้างงานก็ต้องดูทัศนคติด้วยทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เวลาจัดการทุนมนุษย์ ก็ต้องมองเป็นกระบวนการ ไม่ควรผลิตคนมามาก แต่ขาดคุณธรรมและความอดทน

คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการไม่สิ้นสุดแต่ต้องการจ่ายในราคาที่ไม่แพง โรงแรมควรจะเน้นความสะดวก สะอาด และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในด้านความสะดวกการใช้บริการของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ปรับปรุงโรงแรมให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่อลูกค้าหลายประเภท สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการต้องมีทางลาดและในห้องน้ำก็ต้องมีราวจับ ในเรื่องความสะอาด โรงแรมไม่จำเป็นต้องมีการประดับประดามากเกินไป แต่ต้องมีความสะอาดน่าพัก ด่านหน้าที่มีการเช็คอิน เมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงก็ต้องได้รับการดูแลจากพนักงานต้อนรับที่มีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเพราะการต้อนรับถือเป็นประตูสำคัญ เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่น ปลอดภัยจากโจร ปลอดภัยจากกล้องถ่ายวีดีโอคลิปที่ซ่อนอยู่ในสปริงเคิล บางครั้งทางโรงแรมมีการขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวในการลดภาวะโลกร้อน แต่ทางโรงแรมมิได้ให้อะไรตอบแทนแก่นักท่องเที่ยว ในฐานะที่ให้ความร่วมมือ ควรจะมีคูปองในการเข้าพักแบบไม่หมดอายุเป็นการสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า รีสอร์ทไกล ๆ ควรร่วมมือกับสถานพยาบาลในการดูแลรักษาพยาบาลเวลานักท่องเที่ยวเจ็บป่วย ไม่ควรใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยจนเกินไป โทรทัศน์ควรเป็นชนิดเปิดติดง่าย และตัดบริการที่ไม่จำเป็นทิ้ง เช่น Pay TV เป็นต้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า เจ้าของโรงแรมต้องสร้างจิตวิญญาณ ให้เกียรติและยกย่องคน ผู้จัดการทั่วไปที่ได้รับมอบหมายอาจเก่งด้านอื่นแต่ไม่เก่งการฝึกคน ควรจะมีการวางแผนพัฒนาผู้จัดการทั่วไปแบบ SMEs โดยรวมกลุ่มกันพัฒนาในเขตเดียวกัน

5. การแสดงความคิดเห็นในช่วงการอภิปราย

คุณไพบูลย์ สำราญภูติ ประธานกรรมการ บจก.ไพบูลย์ แอนด์ ซันส์ คอนซัลแดนท์ กล่าวว่า การพูดถึงคนและโรงแรม แต่ก็ต้องคิดถึงลูกค้าด้วยว่า เขาชอบโรงแรมเพราะอะไร พนักงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าชอบโรงแรม ต้องให้จิตวิญญาณคนที่ให้บริการ โรงแรมไม่ใช่อุตสาหกรรม จึงไม่ควรปลดคนออกจากงานในช่วงวิกฤติ

ดร.ชุมพล พรประภา ได้แสดงความเห็นว่า หลายท่านอาจเคยมีแขกวีไอพีมารับประทานอาหารที่โรงแรมแต่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินกับเขาได้ คุณอากร ฮุนตระกูล แก้ปัญหานี้โดยให้แขกวีไอพีให้ทิปพนักงานโรงแรม ทำให้พนักงานรักเจ้านายด้วย

6. คำถามของผู้เข้าร่วมงานเสวนา

1. ทำไมผู้จัดการทั่วไป (GM) จึงเป็นฝรั่งมากกว่าคนไทย ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนมีความรับผิดชอบ

คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร ตอบว่าในฐานะที่เป็นเจ้าของ ไม่อยากจ้างฝรั่ง ต้องจ้างเป็น Package มีที่พักและตั๋วเครื่องบินด้วยทำให้แพงมาก อันที่จริงแล้วอยากจ้างคนไทยมากกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คนไทยขาดความต่อเนื่อง ทำรายงานเฉพาะช่วงทดลองงาน แต่ฝรั่งทำรายงานทุกเดือน ดังนั้น จึงเลือกจ้างฝรั่งเพราะทำงานมีคุณภาพมากกว่า นอกจากนี้ ผู้บริหารไทยไต่เต้าจากระดับปฏิบัติการ และใช้วิธีล่างานด้วยการเขียน Resume ให้ดี แต่ประสบการณ์การทำงานไม่มากเท่าที่ควร เมื่อทางโรงแรมไปแทรกแซงมากก็ลาออก แต่ผู้บริหารฝรั่งเขียนขั้นตอนการทำงานและทำตามนโยบาย จึงจ้างฝรั่งเพื่อให้ได้เรียนรู้จากเขา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า ต้องคิดสร้างผู้บริหารไทยให้ก้าวสู่ระดับสูง การศึกษาของไทยต้องช่วยให้คนไทยมีสติปัญญา เรียนรู้ คนไทยยังขาดการติดตามผลและรายงาน ต้องขายความเป็นเลิศของคน โรงแรม และทำให้เขาไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และต้องทำให้คนไทยมีระบบความคิดที่เป็นองค์รวมด้วย จะได้เป็นผู้บริหารที่ดี

ดร.ชุมพล พรประภา กล่าวว่า ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จมีแล้วในประเทศไทย ปัญหา คือ สถาบันการศึกษาสอนแค่ความรู้ แต่ฝรั่งสอนคนให้ปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย ตอนนี้โรงแรมได้เจรจากับ สกอ. ทำหลักสูตรสหกิจให้คนจบปริญญาตรีทำงาน 1 ปี หมุนเวียนทำงานในหลายตำแหน่ง เมื่อจบแล้วก็จะได้เงินเดือนเต็มวุฒิ

2. ทำอย่างไรให้อาจารย์ที่สอนการโรงแรมมีประสบการณ์การทำงานด้วย จะหาพนักงานทัศนคติดีได้ที่ไหน และจะปรับเงินเดือนอย่างไร

คุณณรงค์ สุทธิพงศ์พิธาน ให้คำตอบว่า ตนเองเริ่มงานตั้งแต่งานถูพื้น ทำอาหาร เป็นต้น ควรให้พนักงานรู้ว่า คือ งานของเขา เวลาทำงานจะบอกพนักงานให้พูดกันดี ๆ ปัญหา คือ คนมีประสบการณ์สอนไม่ได้เพราะไม่จบปริญญา ต้องเรียนต่อ ผู้จัดการทั่วไปก็ต้องดูรายรับ รายจ่าย ต้องปรึกษาเจ้าของโรงแรมเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนและต้องมีการสื่อสารในองค์กรที่ดี ต้องให้ความรักด้วยแล้วพนักงานจะอยู่กับเรา เวลาทำงานอย่าวางอำนาจข่มคนอื่นมากเกินไป คุณภาพโรงแรมกำหนดได้จากคุณภาพที่ลูกค้าที่จะได้รับ

3. ทำอย่างไรจึงจะสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับพนักงานในองค์กรได้

คุณสายสิริ ฮุนตระกูล กล่าวว่า บางครั้งต้องทำใจ เพราะยากที่จะสร้างความท้าทาย เรามีพนักงานไอที ต้องพยายามหาโครงการใหม่ ๆ ให้เขาทำ ตอนนี้มีโรงแรม Chain มาก ทำให้การแข่งขันยากขึ้นสำหรับ SMEs เพราะแพ้เรื่องเงินเดือน พอสนับสนุนให้คนไทยเป็นผู้บริหาร ก็ทำไม่ได้ โรงแรม Chain ก็มีฝรั่งมาทำงาน ทางโรงแรมมีความยินดีถ้าพนักงานลาออกไปแล้วมีอนาคตก้าวไกลขึ้น ประสบความสำเร็จและมีความสุข และหวังว่าเขาอาจกลับมาช่วยเราได้อีก แต่มีพนักงานบางคนที่เราสนับสนุนเขาไม่สำเร็จ เขาทำงานมานานแล้ว พอใจที่จะทำงานใน Comfort Zone คือ ทำงานไปเรื่อย ๆ โดยไม่อยากทำงานอย่างอื่นเพิ่มเติม นี่ก็ คือ ความพอเพียงของเขาที่พอใจแค่นี้ แต่บางคนเราก็ต้องเชิญเขาออก ในการสร้างความจงรักภักดี ก็ต้องมีน้ำใจกับพนักงาน

4. ควรมีธนาคารการท่องเที่ยวและโรงแรมหรือไม่ ในเมื่อมี ธกส. และธอส.

คุณวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ กล่าวว่า การจะมีธนาคารการท่องเที่ยวและโรงแรม คงเป็นไปได้ยาก หลายธนาคารแข่งขันกันจนเกิด Sub-prime ธนาคารไม่ให้เงินแก่ธุรกิจท่องเที่ยว เพราะมีความเสี่ยงสูง สมัยก่อนมีวิกฤตต้มยำกุ้ง SMEs bank ให้เซ็นค้ำประกันกันเอง แต่ก็มีปัญหาการไม่ชำระหนี้ การตัดราคาค่าบริการเป็นเรื่องธรรมดาคล้าย ๆ กับปัญหาของบริษัททัวร์ ต้องอาศัยเครือข่าย เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และจะอยู่รอด

ดร.ชุมพล พรประภา กล่าวว่า  คนเรามองแต่ลูกจ้างแต่พูดถึงลูกค้าน้อยมาก  ขอให้เสียสละเงินมารวมกลุ่มกัน ให้ข้อมูลแก่ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์แล้วจะไปขอเงินจากรัฐมาช่วยทำวิจัย การที่ลูกน้องไม่จงรักภักดี อาจจะมีสาเหตุมาจากทั้งฝ่ายเจ้านายและลูกน้อง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กล่าวว่า คนไทยมีโอกาสน้อยกว่าฝรั่งที่ก้าวสู่ระดับสูง เจ้าของโรงแรมไม่ให้โอกาสคนไทยทำงานเป็นทีม ฝรั่งก็ทำตามเรื่องของเขา คนไทยยังไม่ได้รับการเรียนรู้จากฝรั่ง

7. ผลกระทบและการช่วยเหลือจากกองทุน FTA โดยคุณปรีชญา  พุดน้อย

คุณปรีชญา พุดน้อย หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานกองทุนฯสำนักสิทธิประโยชน์ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าได้นำเสนอขั้นตอนในการเสนอโครงการ คือ กลุ่มเกี่ยวข้อง คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบจาก FTA ต้องจัดทำเป็นโครงการระยะสั้น 1-3 ปีในรูปแบบการวิจัย ฝึกอบรม ฝึกอาชีพพร้อมตารางการทำงาน วงเงินและตัวชี้วัดเสนอต่อฝ่ายเลขานุการ คือ กรมการค้าต่างประเทศ โดยเสนอผ่านสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อรับรองว่ามีตัวตนอยู่จริง เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมฯ และหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 ทางกองทุนฯ มีเงินที่สามารถช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการได้ประมาณ 165 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการจะต้องเขียนโครงการเข้ามาเพื่อขอใช้เงิน ซึ่งทางกลุ่มงานมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการเขียนโครงการ หากผู้ประกอบการติดปัญหาขัดข้องประการใด อาจติดต่อมายังกลุ่มงานได้

8. ปัญหาและแนวทางแก้ไข  โดยคุณอุไรวรรณ อยู่ชา และคุณไพบูลย์ สำราญภูติ

มีการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม เพื่อหารือปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจโรงแรมอันเกิดจาก 3 ประเด็น คือ 1) Man หรือ คน 2) Management หรือการบริหารจัดการ และ 3) Marketing หรือการตลาด

กลุ่มที่ 1 หารือเรื่อง Man หรือ คน

· ปัญหาที่เกิดจากพนักงาน นายจ้าง เพื่อน ลูกค้า  หนีไม่พ้น

· เพื่อนและนายจ้างต้องทำให้พนักงานทำงานอย่างมีเป้าหมาย

· ควรสร้างการทำงานเป็นทีมตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกลงสู่ระดับล่าง

· ควรสร้างทัศนคติให้พนักงานรักองค์กรเหมือนบ้าน โดยผู้บริหารองค์กรต้องรักองค์กรก่อน

· การพัฒนาบุคลากรและการคัดสรรบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเลือกคนให้เหมาะกับงานพัฒนาบุคลากร

· ควรสร้างความรักและสามัคคีในองค์กร

· ควรสร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในองค์กร

· มี service mind

· ต้องทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์แล้วจะได้อยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข

· ควรส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ และหนี้สิน

กลุ่มที่ 2 หารือเรื่อง Management หรือการบริหารจัดการ

· ฝ่าย F&B กับฝ่ายขายมีปัญหากัน

· ธุรกิจในไทยเริ่มเปิดเสรี มีการขายคอนโดมีเนี่ยมแล้วทำเป็นโรงแรม

· สมองไหลมีสาเหตุมาจากเงินเดือน และคน สามารถแก้ได้โดยไปคลุกคลีกับพนักงานมากขึ้น ทำให้คนลาออกน้อยลง

· หัวหน้ามี EGO  สูงไม่อยากรับรู้อะไรใหม่ ๆ ดังนั้น ควรจ้างผู้บริหารใหม่

· การทำงานอยู่ในที่หนึ่งนาน ๆ สามารถมองได้ว่าเป็นพนักงานที่จงรักภักดีหรือเป็นคนที่ไม่มีที่ไป การบริหารจัดการต้องดูกำลังการให้สวัสดิการ แม้ว่าสวัสดิการดี ก็ยังมีคนลาออก ต้องทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน จะได้ไม่มีคนลาออก

กลุ่มที่ 3 หารือเรื่อง Marketing หรือการตลาด

· ปัญหาที่พบ ได้แก่ เรื่องราคา การเพิ่มลูกค้า ภาษี Supply มากกว่า Demand และการตัดสินใจของลูกค้า

· ควรตั้งราคาตาม labor ของแต่ละคนหรือระดับของโรงแรม เพราะการให้บริการในแต่ละจุดไม่เหมือนกัน

· ควรจะเป็นเครือข่ายข้ามจังหวัดตั้งเป็น Chain ของ SMEs

· ควรหาลูกค้าเพิ่มจากการสัมมนาจากภาครัฐและเอกชน คาดว่าสัมมนาของภาครัฐจะเพิ่มขึ้นปีหน้า

· ภาครัฐต้องประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทยให้มากขึ้นเพิ่มเป็นปีละ 3 ครั้ง

· ควรเปิด e-marketing ให้หลากหลายมากขึ้น

· รัฐควรจะควบคุมจำนวนโรงแรมต่อพื้นที่

· การร้องเรียนของลูกค้าอาจจะมาจากโฆษณาเกินจริง

· ลูกค้าตัดสินใจเลือกโรงแรมเพราะ ราคา ทำเลและบริการ

· ควรจัดเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้เข้ามาพักที่โรงแรม

9. การระดมสมอง โดย คุณไพบูลย์ สำราญภูติ

1. คน ลูกน้อง ลูกจ้าง

· คุณสมบัติ คนดีอยู่ในงานที่ไม่เหมาะสม ธุรกิจโรงแรมมีความกดดันมาก ลูกค้าขอมาก มาตรฐานคนละแบบ คนทำงานบริการหน้าที่ต่างกันไป

· คุณลักษณะ ฝ่ายต้อนรับต้องบุคลิกดี บางงานไม่ต้องการพนักงานที่มีวุฒิการศึกษาสูงแต่ต้องมี service mind

· คุณภาพ

· คุณค่า ผู้บริหารต้องเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของลูกน้องด้วย รวมทั้งอนาคต ไม่ควรขัดขวางไม่ให้ลูกน้องลาออก ถ้าโรงแรมสู้ที่อื่นไม่ได้

2. การบริหารจัดการ ลูกพี่ ลูกหลาน

· เป้าหมายการทำโรงแรมมีหลายแบบ

· นโยบาย

· วิธีการค่อนข้างละเอียด เรียนรู้ได้ ต้องเอาใจใส่ติดตาม

3. การตลาด ลูกค้า ความพึงพอใจ

· ราคา เวลาขายของ มักพบปัญหาราคา

· การให้บริการสำคัญมาก เรื่องลูกค้าต้องอยู่ที่จิตวิญญาณ วิธีแก้ปัญหา คือ ใช้ปัญญา คิดในมุมลูกค้า

· บรรยากาศ

คุณกิตติ คัมภีระ ที่ปรึกษาฝ่ายบริหารศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) ได้เสนอความคิดเห็นว่า

· ควรสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) โดยดูห่วงโซ่อุปทาน หาธุรกิจหลัก เช่น สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ การคมนาคมขนส่ง มีต้นน้ำ คือ นักท่องเที่ยวภายในประเทศ นักสัมมนา แรงงานที่มีคุณภาพและเพียงพอ กลุ่มวัตถุดิบ มีปลายน้ำได้แก่ ธุรกิจบันเทิง ของที่ระลึก การท่องเที่ยวชุมชน

· ต้องสร้างความร่วมมือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ สถาบัน และสมาคม

· ควรใช้ Stakeholder Dialogue ในการขับเคลื่อน

· เมื่อวิเคราะห์แล้ว ต้องไปหาเจ้าภาพตัวจริง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ควรให้สถาบันการศึกษารับงานวิจัยไปทำ และต้องตอบว่าช่วยธุรกิจท่านได้อย่างไร

· Cluster Keywords ได้แก่

o ร่วมใจ แต่การท่องเที่ยว ใจไม่ค่อยมา

o ร่วมซื้อ การซื้อวัตถุดิบร่วมกันทำให้ได้ราคาถูก

o ร่วมให้บริการ

o ร่วมขาย

10. การปิดงานเสวนา โดย ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท เลขาธิการศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) กล่าวสรุปปิดงานว่า งานเสวนาครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดี การตั้งศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ เป็นการรวบรวมคนที่มีแนวคิดเดียวกันมาทำงานร่วมกัน พัฒนาคนแบบบูรณาการโดยได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย เช่น เนคเทค สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และสมาคมการจัดการธุรกิจ ทางศูนย์จะมีกิจกรรมอบรมไอทีสำหรับงานโรงแรมเพื่อส่งไปทำงานในโรงแรม เมื่อจบหลักสูตรแล้ว นอกจากนี้ จะมีการทำวิจัยกลยุทธ์ที่จะทำให้โรงแรมระดับ SMEs มีความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจท่องเที่ยวด้วย

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สภาหอการค้าห่งประเทศไทย

ฝ่ายกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ

..วาสนา สมเนตร และ

นายวุฒิชัย เจตนากุล  สรุป

8  ธันวาคม   2551

 

 

พลังข้อมูล

พิมพ์ PDF

บทความเรื่อง When More Trumps Better โดย Evgeny  Morozov ใน นสพ. The Wall Street Journal ฉบับวันที่ ๑๕ - ๑๗ มี.ค. ๕๖ วิจารณ์ หนังสือ Big Data เขียนโดย Victor Mayer-Schonberger & Kenneth Cukier  ทำให้ผมรู้จัก Morozov เป็นครั้งที่ ๒  และชื่นชมในความเป็นผู้รอบรู้เรื่อง ICT ของเขา

สาระสำคัญก็คือ บริษัทให้บริการการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต อย่าง กูเกิ้ล มีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ  และสามารถนำมาหาความหมายเพื่อใช้ทำนายแนวโน้มต่างๆ ได้  ดังที่ Morozov ขึ้นต้นบทความว่า ในปี ๒๕๕๓ Eric Schmidt ซึ่งตอนนั้นเป็น ซีอีโอ ของ กูเกิ้ล กล่าวว่า  ในบริษัทกูเกิ้ล เคยหารือกันว่า ข้อมูลที่มี มีมากพอที่จะนำมาใช้ทำนายหุ้นได้  แต่ก็มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  จึงไม่ได้ลงมือทำ

มิน่า ประเทศจีนจึงไม่ยอมให้ กูเกิ้ล เข้าไปทำธุรกิจโดยไม่ตกลงกันเรื่องการควบคุมข้อมูล

แม้ กูเกิ้ลจะไม่ทำนายตลาดหุ้น  แต่ก็ได้ทำนายแนวโน้มการระบาดของไข้หวัดใหญ่  และการที่กูเกิ้ลสแกนหนังสือหลายล้านเล่ม นำไปสู่สาขาวิชาที่ชื่อว่า “culturomics”  และเครื่องมือของ กูเกิ้ล ชื่อ Ngram Viewer ช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการของความหมายของคำ เช่น ประชาธิปไตย  เสรีภาพ

ผู้เขียนหนังสือ Big Data ชี้ให้เห็นว่า บริษัทอย่างกูเกิ้ล ที่มีข้อมูลมากมายอยู่ในมือ มีอำนาจมหาศาลที่จะเขย่าโลกในด้านต่างๆ  ได้แก่ ธุรกิจ  วิทยาศาสตร์  บริการสุขภาพ  รัฐบาล  การศึกษา  เศรษฐกิจ  มนุษยธรรม  และด้านอื่นๆของสังคม

เขาบอกว่า การใช้ประโยชน์ Big Data มีการทำมาแล้วตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ โดย Commodore Maury โดยตกลงกันให้เรือเดินสมุทรเขียนบอกตำแหน่งเรือและสภาพการเดินเรือใส่ขวดลอยน้ำ  ทำเช่นนี้เป็นระยะๆ  การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเช่นนี้ ช่วยให้เส้นทางการเดินเรือสั้นลงถึงหนึ่งในสาม

ผู้เขียนหน้งสือบอกว่า Big Data ช่วยให้เราพุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ หรือการตอบคำถาม what  ไม่ต้องเสียเวลาและยุ่งยากกับการตอบคำถาม why  เพราะ big data มันรวมเอาทุกเหตุผลมาตอบเป็นความสัมพันธ์ มองเห็นลู่ทางไปข้างหน้า

แต่ Morozov เถียงว่า วิธิคิดเช่นนั้นอาจมีปัญหาในบางกรณี  ยกตัวอย่างโรคอ้วน หากผู้บริหารเชื่อวิธีคิดของผู้เขียนหนังสือ  โดยทราบว่าการแก้ปัญหาโรคอ้วนทำโดยเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ  ก็จะดำเนินการแจก pedometer หรือเครื่องวัดก้าวเดิน  อย่างที่เมืองไทยเราทำกัน โดยระบุว่าเดินให้ได้วันละ ๑๐,๐๐๐ ก้าว  โดยลืมไปว่าไม่มีที่ให้คนเดิน

ผมอ่านคำวิจารณ์ทั้งหมดแล้ว เถียงว่า การใช้ Big Data ของทั้งโลก  และวิเคราะห์ออกมาเป็นความหมายที่ใช้ได้ทั้งโลก ดูจะหน่อมแน้มไปหน่อย  โลกเราประกอบด้วย subculture มากมาย  ที่มีบริบทแตกต่างกัน  ไม่มีทางที่จะเหมือนแนวโน้มโลกหนึ่งเดียวไปได้

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ มี.ค. ๕๖

บนเครื่องบิน สายการบิน เอเอ็นเอ จาก โตเกียว กลับกรุงเทพ

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/535413

 

ความหมายของชีวิต

พิมพ์ PDF

 

บันทึก ๒๐ ตอนนี้ ได้จากการตีความหนังสือ  The Heart of Higher Education : A Call to Renewal เขียนโดยผู้มีชื่อเสียง ๒ ท่านคือ Parker J. Palmer และ Arthur Zajonc ซึ่งเมื่อผมอ่านคร่าวๆ แล้ว ก็บอกตัวเองว่า  นี่คือข้อเสนอสู่การเรียนรู้เพื่อเป็นคนเต็มคน ที่มี “พลังสาม” เข้มแข็ง คือ สมอง ใจ และวิญญาณ (head, heart, spirit)  หรือพูดด้วยคำที่ฮิตในปัจจุบันคือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformative Learning)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเน้นเสนอการเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมศึกษา  แต่ผมมีความเชื่อว่าต้องใช้กับการศึกษาทุกระดับ  รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต  และตัวผมเองก็ต้องการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติเองด้วย

ผมตั้งเป้าหมายในการอ่านและตีความหนังสือเล่มนี้  ออกบันทึกลง บล็อก ชุด เรียนรู้บูรณาการพลังสาม ว่า ต้องการเจาะหาแนวทางทำให้จิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก  เพื่อให้คนไทยมีทักษะจิตตภาวนาบูรณาการอยู่ในทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต

การเรียนรู้บูรณาการ (สมอง ใจ และวิญญาณ) พัฒนา ๓ ด้านไปพร้อมๆ กัน  และส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Integrative Learning  ในบางที่เรียกว่า Transformative Learning ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน  คือเปลี่ยนจากติดสัญชาตญาณสัตว์ เป็นมีจิตใจสูง ซึ่งมนุษย์ทุกคนบรรลุได้   บรรลุได้ในฐานะบุคคลทางโลก ไม่ต้องเข้าวัด หรือไม่ต้องบวช

ในบทที่ ๓ ของหนังสือชื่อบทคือ Beyond the Divided Academic Life  ผู้เขียนคือ Arthur Zajonc  ศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์  และเป็นผู้สนใจศาสนาพุทธ  ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม อ่านได้ ที่นี่ ท่านเล่าชีวิตของตนเองสมัยเป็น นศ. ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์ อาร์เบอร์  ที่ผลการเรียนตอนอยู่ปี ๑ ดีมาก  ปี ๒ แย่ลง  และร่อแร่ตอนปี ๓  จิตตกจนคิดจะออกจากมหาวิทยาลัย  จนได้คุยกับศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง จึง “เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐาน”  มีความสุขในการเรียน  เพราะหาความหมายในทุกวิชาที่เรียนพบ  เห็นคุณค่าของวิชาเหล่านั้น  คือนอกจากเรียนวิชาแล้วยังเรียนค้นหาคุณค่าของวิชานั้นๆ ด้วย  ว่ามีความหมายต่อชีวิตของตนอย่างไร

ทำให้ผมหวนระลึกถึงเรื่อง พ่อสอนลูกง่ายๆ ด้วยคำถาม บันทึกนี้

มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมองพิเศษ ที่นอกจากต้องการเรียนรู้ด้านนอก (คือรู้จักโลก รู้จักสังคม) แล้ว  ยังหิวกระหายการเรียนรู้ด้านใน เพื่อสนองสมองด้านจิตวิญญาณ  หรือหิวกระหายการเรียนรู้ด้านคุณค่าในชีวิต ด้วย  หรืออาจกล่าวว่า มนุษย์มีธรรมชาติ “ค้นหาเทพภายในตน”

ตราบใดที่ชีวิตยังแยกระหว่างงานกับคุณค่า  งานกับอุดมการณ์  ชีวิตของคนเราจะสับสน ว้าเหว่ ไร้คุณค่า  การศึกษาต้องนำพามนุษย์สู่จุดบรรจบระหว่างการแยกส่วนนี้ให้ได้  คำตอบอยู่ที่การเรียนรู้บูรณาการ

การแยกส่วนมีหลายมิติ  แต่ที่ก่อความเสียหายร้ายแรงที่สุดคือการแยกส่วนภายในตน ภายในตัวคน  ที่แยกระหว่างการเลี้ยงชีพหรือการดำรงชีวิต กับอุดมคติ  และปล่อยให้อุดมการณ์ภายในตนกลายเป็น “อุดมการณ์แห่งซาตาน” ไม่เป็น “อุดมการณ์แห่งเทพ”

ศ. ซาย้อง เล่าว่า เมื่อตนได้รับคำแนะนำจากศ. Ernst Katz ให้รู้จักการภาวนา (contemplation)  และรู้จักนักปรัชญา Rudolf Steiner ชีวิตของท่านก็เปลี่ยนไปเป็นชีวิตที่มีพลัง   วิชาต่างๆ ที่เคยแห้งแล้ง กลับมีชีวิตเต้นเร่าอยู่ตรงหน้าหรือในใจ  ดั่งที่ ไอน์สไตน์เคยกล่าวว่า “We animate what we can, we see only what we animate. Nature and books belong to the eyes that see them.”  “เราให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง  เราเห็นเฉพาะสิ่งที่เราปลุกให้มีชีวิตได้  ธรรมชาติและหนังสือมีความหมายต่อผู้ที่เข้าถึงได้เท่านั้น”


เอาใจใส่ปณิธาน หรือเป้าหมายเชิงอุดมการณ์ (purpose)

เราคุยกันเรื่องเป้าหมายของอุดมศึกษาน้อยไป  เป้าหมายของอุดมศึกษาไม่ได้มีแค่ให้รู้วิชา  หัวใจคือเพื่องอกงามจินตนาการ (imagination) และประสบการณ์ (experience)   และบูรณาการ ๒ สิ่งนี้ให้ส่งเสริมยกระดับซึ่งกันและกัน   เกิดเป็นปัญญาญาณ (intuition)

อุดมศึกษาเอาใจใส่เรื่องนี้น้อยไป (ที่จริงการศึกษาทุกระดับต้องเอาใจใส่เรื่องนี้)   การเรียนเพื่อรู้วิชาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น  การศึกษาที่แท้ ต้องไปให้ถึงการบูรณาการ วิชาการ จินตนาการ ประสบการณ์  สู่ปัญญาญาณ

เป้าหมายของการศึกษาอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีต้องเลยเป้าหมายอาชีพ และความเป็นพลเมือง สู่การพัฒนาให้เต็มศักยภาพ

การศึกษาต้องเลยจากความจริง และเหตุผล  ไปสู่สิ่งที่ไม่ชัดเจน และเหนือเหตุผล


มิจฉาทิฐิของการศึกษาในปัจจุบัน

การศึกษาในปัจจุบัน ตกอยู่ใต้วิธีคิดใน(คริสต)ศตวรรษที่ ๑๙  ที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (ในสมัยนั้น) และอุตสาหกรรม ครอบงำความคิดและระบบต่างๆ ของสังคม  รวมทั้งระบบการศึกษา  ความรู้ที่เป็นกลไก พิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เห็นชัดจากเทคนิคที่จับต้องได้ เป็นเป้าหมายของการศึกษา

ในโลกทัศน์เช่นนี้ ความรู้เป็นสิ่งที่เฉื่อยชา และเป็นรูปธรรม  การศึกษาคือการสอนให้เด็กรู้จักใช้ความรู้ที่ตนสะสมมาจากโรงเรียน  การศึกษาแห่งศตวรรษที่ ๑๙ นี้ ละเลยธรรมชาติของการเรียนรู้ว่าต้องฝังแฝงอยู่ในสังคม และมีมิติเชิงจริยธรรม

ตัวต้นเหตุของมิจฉาทิฐินี้คือวิทยาศาสตร์ (เชิงกลไก ที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ ๑๙)  ดังนั้น ศ. ซาย้องค์ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ จะอธิบายวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่เป็นวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ ๒๑  สำหรับนำมาใช้สร้างทิฐิใหม่ของการศึกษา

การศึกษาปัจจุบัน เป็นการศึกษาที่ล้าสมัย  เป็นมิจฉาทิฐิ  คือเป็นการศึกษาที่สอนให้ไม่เชื่อประสบการณ์ตรงของตน  ให้เชื่อเฉพาะสิ่งที่ผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้วเท่านั้น  เมื่อปลูกฝังกันมาเช่นนี้ ผู้คนก็ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ที่จะใช้ประสบการณ์ตรงของตน ในการตีความทำความเข้าใจเพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิต  ไม่กล้าทำสิ่งที่เรียกว่าการเรียนรู้แบบ Constructionism หรือ Action Learning  หรือการเรียนแบบงอกงามความรู้ขึ้นภายในตน  ไม่กล้าสร้างความรู้ด้วยตนเอง  ได้แต่รอรับการถ่ายทอดความรู้จาก “ผู้รู้”

ประสบการณ์ตรงของมนุษย์ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ทรงพลังที่สุด

หนังสือเล่มนี้ จึงมีเป้าหมายเพื่อนิยามทั้งคำว่า “ความรู้” และ “การเรียนรู้” เสียใหม่   และต้องการลบล้างมิจฉาทิฐิ ที่แยกการศึกษา กับมิติทางจิตวิญญาณ ออกจากกัน


ขยายจักรวาลในตน

หากจะให้การศึกษา (การเรียนรู้) ของตัวเราเองเป็นการเรียนรู้ที่ทรงพลังแห่งยุคสมัยปัจจุบัน  ต้องเปิดตัวตนของเรา เปิดรับประสบการณ์รอบด้าน  ทั้งด้านผัสสะ (sensorial)  ด้านอารมณ์ (emotional)  และด้านปัญญา (intellectual)

นอกจากประสบการณ์ที่รับรู้จากโลกภายนอกแล้ว  เรายังมีประสบการณ์ด้านในของตัวเราด้วย  ประสบการณ์ด้านนอก และประสบการณ์ด้านใน รวมกันเป็น ประสบการณ์แห่งมนุษย์ (human experience)

การศึกษาแบบมิจฉาทิฐิ คือการศึกษาที่ละเลยไม่ยอมรับประสบการณ์แห่งมนุษย์ เป็นปัจจัยของการเรียนรู้  หรือลดทอนมันลงไปเป็นเพียงการเชื่อมต่อใยประสาท

การศึกษาแบบมิจฉาทิฐิ คือการศึกษาที่หยุดอยู่ที่การเรียนแบบแยกส่วน เจาะลึกลงไปในกลไกธรรมชาติเป็นส่วนๆ  ไม่เอาใจใส่ ไม่ยอมรับการเรียนรู้แบบบูรณาการส่วนย่อยเหล่านั้นพร้อมๆ กันในสถานการณ์จริง  นำไปสู่สภาพไร้ชีวิต  ความรับรู้ (consciousness), วิญญาณ (soul), และชีวิตจิตใจ (spirit)

การศึกษาแบบบูรณาการคือการศึกษาที่ไม่ปฏิเสธการรับรู้ในมิติใดๆ


ขยายโลกทัศน์ให้กว้าง ไร้ขอบเขต

การเรียนรู้ที่แท้ คือการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง  เปิดรับประสบการณ์ทุกด้าน  ไม่จำกัดหรือปฏิเสธการรับรู้ด้านใดๆ เลย

ในสภาพเช่นนี้ ครูก็จะมีมุมมองต่อ นศ. แบบมองทุกส่วนของ นศ.  ไม่ใช่มองแบบแยกส่วน  เฉพาะด้านที่จดจำความรู้เท่านั้น


หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ช่วยขยายความหมายของความรู้ (ว่าเป็นสมมติ)

แม้ว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จะได้รับคำตำหนิว่าทำให้เกิดความรู้แบบกลไกและแยกส่วน  แต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ก็ช่วยให้หลักฐานสนับสนุนความรู้แบบบูรณาการ  เวลานี้มีวิทยาศาสตร์แขนง อภิปรัชญาเชิงทดลอง (Experimental Metaphysics)

จากทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ คือทฤษฎีควอนตัม และทฤษฎีสัมพัทธภาพ  เป็นที่รู้กันว่าสิ่งที่รับรู้กันว่าเป็นความจริง ได้แก่ ความยาว มวล และเวลา ไม่คงที่  ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงการเคลื่อนไหวระหว่างวัตถุกับผู้สังเกต  ดังนั้นสิ่งที่ยาว ๒ เมตร หากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก (ใกล้ความเร็วของแสง) จะยาวไม่ถึง ๒ เมตร  และในสภาพเดียวกัน นาฬิกาเดินช้าลง

การทดลองเช่นนี้ ช่วยบอกเราว่าสรรพสิ่งเป็นสมมติ  ไม่ใช่จริงแท้  คนเราควรกล้าหาญที่จะหาทางมองหรือทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ด้วยสมมติที่แตกต่างกัน  ยิ่งสามารถหามุมมองที่หลากหลายได้มากเท่าไร  เราก็จะเข้าใจสิ่งต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น  และเป็นการขยายมุมมองต่อสรรพสิ่ง จากเป็นวัตถุ สู่ความสัมพันธ์และเหตุการณ์  และสู่ความรู้ที่ “เหนือปรากฏการณ์” (epiphenomenon)  หรือเข้าใจเบื้องหลังของปรากฏการณ์


ความเป็นองค์รวมระดับอนุภาค

ท่านผู้เขียนอธิบายเหตุผลของการเปลี่ยนโลกทัศน์ของวิทยาศาสตร์ จากมองสรรพสิ่งเป็นสสาร (matter) และแรง (force)  ไปสู่การมองเป็นสารสนเทศ (information) และความรู้ (knowledge)  และความรู้ไม่ได้เป็นสิ่งของ (object) แต่เป็นเหตุการณ์ (event)

การเรียนรู้เริ่มจากการสังเกตง่ายๆ  แล้วค่อยๆ ซับซ้อนขึ้น ผ่านการทบทวนสะท้อนความคิด (reflection)  การให้เหตุผล (reasoning)  แล้วสังเกตใหม่ เป็นวงจรต่อเนื่องยกระดับขึ้นไม่สิ้นสุด  จนเกิดความเข้าใจลึกซึ้ง (insightful understanding)


เอาใจใส่ประสบการณ์ สู่ความรู้จริง(insight)

แม้ว่าประสบการณ์ของผู้คนจะหลากหลาย ในที่สุดก็จะถักทอกันกลายเป็นหนึ่ง  เป็นจักรวาลหนึ่งเดียว ที่มีหลายหน้า แต่มีแกนในแกนเดียว  ความรู้ฟิสิกส์ใหม่นำเราให้รู้จักโลกแห่งชีวิตแบบใหม่ ที่เป็นโลกแห่งประสบการณ์

ในโลกนี้ ประสบการณ์แห่งมนุษย์เป็นศูนย์กลางของความรู้ และการเรียนรู้ทั้งปวง  นำไปสู่การศึกษาแนวใหม่  ที่มีความเท่าเทียมกันของมุมมองที่หลากหลาย หรือเป็นขั้วตรงกันข้าม  ได้แก่ ประสบการณ์ - เหตุผล, ชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตทั้งตัว และนิเวศวิทยา - ชีววิทยาระดับอณู, จิตวิทยา - ประสาทวิทยาศาสตร์, วรรณคดี - computational linguistics, เป็นต้น

ยุคของวิทยาศาสตร์แข็ง (hard science) เกิดจากอภิปรัชญาแนววัตถุและกลไก  บัดนี้เรารู้ว่าอภิปรัชญาแบบนั้นมีข้อจำกัด  หรือยังไม่ใช่ความจริงทั้งหมด  แต่ก็มีส่วนที่ดี คือการตั้งคำถาม และแสวงหาหลักฐานมาตอบคำถาม  เวลานี้จึงมีการศึกษาที่บูรณาการทั้งวิทยาศาสตร์แข็งและวิทยาศาสตร์อ่อน (soft science) เข้าด้วยกัน  เคลื่อนตัวจากการเรียนรู้วัตถุ (object) สู่การเรียนรู้แจ้ง (insight)  ที่หลอมรวมประสบการณ์เชิงวัตถุภายนอกกาย  เข้ากับประสบการณ์ภายในจิตใจของแต่ละคน  อันได้แก่ความรู้สึกรัก - เกลียด, ความไว้เนื้อเชื่อใจ - ความอิจฉาริษยา, จิตใจที่ฟูเฟื่อง - ความหดหู่ เป็นต้น

ความท้าทายของ soft science ซึ่งมีธรรมชาติเป็น qualitative (เชิงคุณภาพ) หรือเป็นนามธรรม  ยากต่อความแม่นยำ  เป็นเรื่องท้าทายที่จะทำให้น่าเชื่อถือ  ความน่าเชื่อถือได้จากการตรวจสอบโดยคนที่มีประสบการณ์เดียวกัน  ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์แข็งเรียกว่า peer review ก็น่าจะใช้ได้กับการประเมินตรวจสอบประสบการณ์ด้านใน

ประสบการณ์ด้านใน สามารถเป็นกระบวนการสืบค้นแบบหนึ่ง  ที่ใช้ร่วมกันกับการสืบค้นด้านนอกด้วยวิทยาศาสตร์แข็ง  เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งที่แท้จริง


สู่ความจริง

การเรียนรู้ที่แท้ตามที่กล่าวข้างต้น ต้องการความเป็นชุมชน หรือความใกล้ชิดไว้เนื้อเชื่อใจกัน  ในสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ เรื่องนี้เป็นความท้าทาย  ว่าทำอย่างไร นศ. จะรู้สึกอบอุ่น ไม่ว้าเหว่  รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม  เป็นวิธีการที่จะกล่าวถึงในบันทึกตอนหลังๆ  เพราะจะมีรายละเอียดอยู่ในภาคผนวก

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ม.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/535527

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2013 เวลา 14:46 น.
 

Asean Anti - Corruption Youth Camp

พิมพ์ PDF

สวัสดีครับ

วันที่ 30 เมษายน – 9 พฤษภาคม 2556 นี้ ผมได้รับเกียรติจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ จัดโครงการ “ASEAN Anti-Corruption Youth Camp” โดยได้คัดเลือกผู้แทนเยาวชนจากทั้ง 10 ประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อต้านคอรัปชั่นของประเทศนั้น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาเบื้องลึก สู่การวางแผนการต่อต้านคอรัปชั่นในกลุ่มประชาคมอาเซียนบนรากฐานของการมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามที่สามารถนำพาความสุข และความสมดุลสู่ประชาคมอาเซียน

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์

“ASEAN Anti-Corruption Youth Camp”

30 April – 9 May 2013

In Thailand.


Tuesday 30th April 2013

Venue :Arnoma Hotel  Bangkok

14.00 Hrs.  Check in at Arnoma Hotel, Bangkok.

17.30  Facilitators Team’s Meeting

Coached by   Prof.Dr.Chira Hongladarom

Mr.Krich Sinudom

18.30  Welcome Dinner at the Hotel

19.30 Thai Students Orientation

Coached by   Prof.Dr.Chira Hongladarom

NACC Executives

Day 1: Wednesday 1stMay 2013

Venue:  Office of the National Anti-Corruption Commission, Nonthaburi.(Room:Nontaburi 1)

08.30Hrs.  Register

09.00 – 10.00    Opening Ceremony

VTR (Knowing NACC)

Opening Remarks

By  Mr. Panthep Klanarongran, NACC President

Welcome Remarks

By  Professor Vicha Mahakun, NACC Commissioner

10.00 – 10.15  Coffee Break

10.15– 12.00   Orientation & Learning Forum

ASEAN Ethic Role Model and Leadership Development

By  Prof. Dr. Chira Hongladarom

Secretary – General

Foundation for International Human Resource Development (FIHRD)

12.00 – 13.00    Lunch

13.00 – 14.00    Group Dynamic (Breaking the ice activity)

By   Mr. Krich Sinudom and Team*

14.00 – 15.00    Special Session

Anti – Corruption Watchdog

By  Ms. Kobkarn Wattanavrangkul

Chairperson of Toshiba (Thailand) Co., Ltd.

 

 

15.00 – 15.15  Coffee Break

15.15 – 16.15    ASEAN Anti – Corruption Cooperation and Role of ASEAN Youth

By  Prof.Dr.Pakdee Pothisiri

Commissioner, NACC

16.15-17.45  Ethical Capital and Youth in ASEAN

By  Professor Vicha Mahakun

Commissioner, NACC

17.45 – 18.30 Group Dynamic

By   Mr.Krich Sinudom and Team*

18.30 – 20.30    Welcome Dinner

Welcome Speech

By  Professor Vicha Mahakun

Prof.Dr.Chira Hongladarom

Thai Cultural Show

By  Triamudomsuksanomklao Samutprakan School

ASEAN Youth Speech

(Greetings / What do you think about ASEAN Anti-Corruption Youth Camp? / Expectations and Commitment)

By  10 Representatives from each country

Group Photo

20.30  Back to the Arnoma Hotel, Bangkok

Day 2: Thursday 2ndMay 2013

Venue: Arnoma Hotel  Bangkok (Room: Anoma 1)

08.00 Hrs.  Breakfast

09.00– 12.00  Youth in ASEAN and "Mind Management"

By  Phra Maha Wudhijaya Vajiramedhi (Interview)

Mr. Ittipat Pattaramekanon

12.00 – 13.30    Lunch

13.30– 16.30  Learning Forum

White Ocean Strategy and Role of ASEAN Youth

By  Mr. Danai Chanchaochai

CEO, DC Consultants and Marketing Communications

16.30 – 19.30  Panel Discussion

360 Degree Analysis of Preventing Corruption

By  Assoc. Prof. Dr.Juree Vichit-vadakan

Mr. Thammarak Karnpisit

Moderated by Prof.Dr.Chira Hongladarom

19.30 – 21.00  Dinner & ASEAN Learning Activity

(Group Assignment for Campfire Activity)

By  Mr.Krich Sinudom and Team*

Day 3: Friday 3rdMay 2013

Venue: The Sirindhorn International Environmental Park, Cha-Am, Petchaburi

06.00  Breakfast at the hotel

06.45  Depart from Bangkok

09.30  Arrival at The Sirindhorn International Environmental Park,

Cha-Am, Petchaburi.

09.30 – 12.30    Learning Forum & Game Simulation

Creative Thinking for ASEAN Youth Ethics

By  Mr. Sarun Chantapalaboon

12.30 – 13.30    Lunch

13.30 – 18.00    Walk Rally & Game Simulation

Effective Teamwork for ASEAN Youth

By  Assoc.Prof.Chaleampol Kerdmanee

Station 1: Classroom

Station 2: Study Visit at Mrigadayavan

Coffee Break

Station 3: On the beach

Station 4: On the beach

18.00 – 19.00    Break

19.00 – 22.00    Dinner & Campfire

By  Mr.Krich Sinudom and Team*

Day 4: Saturday4thMay 2013

Venue: Study Tour

07.30  Breakfast

08.30  Depart from The Sirindhorn International Environmental Park

09.00 – 12.00  Study Visit

HuaySai Royal Development Study Center, Cha-Am, Petchaburi.

12.00 – 14.00  Lunch

14.00   Return to Bangkok

17.30  Check in at Arnoma Hotel

Day 5: Sunday 5thMay 2013

Venue: ArnomaHotel Bangkok

07.30  Breakfast

08.30  Morning Brief

09.00-12.00  Panel Discussions

Networking Capital Development for Anti – Corruption in ASEAN

By  Assoc. Prof. Dr.Juree Vichit-vadakan

Case Study of Anti- Corruption from Malaysia

Moderated by Prof. Dr. Chira Hongladarom

12.00-13.00  Lunch

13.00-16.00  Learning Forum

ASEAN Community and its impact to Anti-Corruption aspect

By  Assoc. Prof. Dr. Somchai Pakapaswiwat

16.00 – 18.00  ASEAN Learning Activity

By   Mr.Krich Sinudom and Team*

18.00 – 19.00  Dinner

19.00 – 21.00  Group Study : Innovative Project’s Presentation Preparation

Coached by Mr.Kitti Jayangakula and FIHRD Team

Day 6: Monday,6th May 2013

Venue :Arnoma Hotel  Bangkok

08.00 hrs.    Breakfast

09.00– 12.00  Learning Forum

Panel Discussion

Leadership for ASEAN Youth

By  Prof. Kririt Boonyakiat

Dr. Sirilak Meksang

Moderated by Prof.Dr.Chira Hongladarom

12.00 – 13.00  Lunch

13.00 – 16.00  Panel Discussion

Learning from corruption case studies in ASEAN

By  Assoc. Prof. Dr. Sirilaksana Khoman

NACC Advisor

Case Study of Anti- Corruption from Singapore

Case Study of Anti- Corruption from Cambodia

Moderated by Prof.Dr.Chira Hongladarom

16.00– 19.00  ASEAN Learning Activity

By   FIHRD Team (City Tour)

19.00 – 20.00  Dinner

20.00 – 21.00  Group Study

Coached by Facilitator Team

Day 7: Tuesday 7th May 2013

Venue :Arnoma Hotel Bangkok

07.30  Breakfast

08.30  Morning Brief

09.00– 12.00  Learning Forum & Group Activity

ASEAN Anti – Corruption Digital Linkage (1)

By  Speakers from Electronic Government Agency. (Public Organization) (EGA)

12.00 – 13.00  Lunch

13.00 – 15.00  Learning Forum &Group  Activity

ASEAN Anti – Corruption Digital Linkage (2)

: Created facebook fanpages to share knowledge to public

By  Speakers from EGA

15.00 – 18.00  Study Visit

Bangkok Post

19.00 – 20.00  Dinner

20.00 – 21.00 Group Study

Coached by Facilitator Team

Day 8 : Wednesday 8th May 2013

Venue :Study Visit,  Bangkok

07.00 Hrs.  Depart from Arnoma Hotel

08.00– 11.00  Study VisitThe Emerald Buddha Temple and the Grand Palace

11.00 – 12.00    Study Visit: The Thai Chamber of Commerce

12.00 – 13.00    Lunch

14.00 – 16.00  Study Visit: Chai Pattana Foundation

Special Talk

Sustainable Development and the Principle of Sufficiency Economy in ASEAN and Role of Youth

By   Ms. Suleeporn Choopavang

Director of the Foreign Affairs Department

Office of the Chaipattana Foundation

Venue: Chai Pattana Foundation

16.30 Pay homage to His Majesty the King and Her Majesty the Queen

at Siriraj Hospital

17.30    Shuttle back to Hotel

18.30 – 19.30  Dinner

19.30 – 21.00  Group Study

Coached by Facilitator Team

Day 9: Thursday 9th May 2013

Venue: Arnoma Hotel, Bangkok

08.00  Breakfast

09.00 – 12.00    Workshop & Presentation

“Innovative Projects  for ASEAN Anti-Corruption by ASEAN Youth”

Commented by Prof.Dr.Pakdee Pothisiri

Commissioner, NACC

Prof.Dr.Chira Hongladarom

12.00 -13.30  Lunch

13.30 – 17.00  Break

17.00    Leave for Office of NACC, Nonthaburi

18.00-20.00 Farewell party/ASEAN Night

Certificate Award Ceremony / Closing Ceremony

Venue: Nonthaburi Ballroom, Office of NACC

Day 10: Friday,10th May 2013

Departure of participants

“ASEAN Anti-Corruption Youth Camp”

Opening Address

by

Mr.Panthep Klanarongran

President of the National Anti-Corruption Commission

 

At the Office of the National Anti-Corruption Commission, Nonthaburi, Thailand,

1 May 2013

……………………………………………………………

 

Excellencies,

Distinguished Guests,

Prof. Dr. Chira Hongladarom,

Participants,

Ladies and Gentlemen,

 

Good morning,

 

I am delighted to be here this morning to preside over the opening ceremony of the ASEAN Anti-Corruption Youth Camp.

First and foremost, allow me to offer a very warm welcome to all participants and resource persons, particularly to those who visit Thailand for the first time. I hope your stay in Thailand will be both educational and enjoyable.

As all of you know, at the ninth ASEAN Summit in October 2003 in Bali, Indonesia, ASEAN leaders signed the Bali Accord II declaring the regional cooperation to establish ASEAN Community.

ASEAN Community has emphasized regional cooperation in the “three pillars”, which are security, economic and socio-cultural integration.

Under the agreed principles of ASEAN Political - Security Community, one of the integral cooperations is that the members committed to share disciplines, values and norms.

With respect to the corruption prevention and suppression part, there are many important activities which ASEAN member countries have to work together. For example, they must promote ASEAN cooperation in the corruption prevention and suppression, work under international cooperation framework and promote the exchange of the best practices in values, ethics and honesty through available channels.

In Thailand, Sanya Dharmasakti Anti-Corruption Institute is a responsible agent for human resource development for the Office of the National Anti-Corruption Commission. The Institute envisages that the values, honesty and anti-corruption must be instilled to the people as earlier as young age, both in Thailand and ASEAN countries. This is to respond to ASEAN’s principles of community in sharing ethical, moral and anti-corruption values.

To enhance such values, the Institute collaborating  with Foundation for International Human Resource Development organizes this ASEAN Anti-Corruption Youth Camp.

The main purpose of this Camp is  to provide ASEAN’s youths with opportunities to learn about morality, ethics and anti-corruption approaches from Thai experiences and foreign speakers, especially to establish venue for them to work together to gain the best practices in corruption prevention and suppression in ASEAN context. This, I am sure that the outcome in the long-run would enable ASEAN people to adhere to morality and ethics which in turn lead them to happy society with balance and sustainability.

The youths participating in this Camp are delegates from your respective countries. I would like to give some advises that the next nine days will be a special opportunity to make friends and create network for the sustainable friendship in the future. A good example to support such remarks is the successful project on Ship for Southeast Asian Youth Program that has been continuously successful organized for decades. Youths who participated in such project have been still contacting and working together in organizing useful activities up to the present.

With regards to learning frontier, I would like to urge all participants to grasp this golden opportunity to learn from experts, resource persons including assigned activities and study visits to enhance the following goals.

The first goal is to create the sustainable network for youth leaders in corruption prevention and suppression to be able to organize and follow-up activities together in the future.

The second goal is to instill the shared values in morality and ethics which are the integral elements to support sustainably develop youth leadership.

The third goal is to develop ASEAN Community to be Learning Community.

 

 

 

 

Ladies and Gentlemen

To that note, again I would like to express my highly appreciation to Foundation for International Human Resource Development for its technical support to this project.

Last but not least, I wish all participants of the ASEAN Counter-Corruption Youth Camp an enriching time in Thailand. I trust that you will find this leg of the journey culturally rich and rewarding. It is my hope that you will look back upon your days here with great fondness. Have a wonderful stay in Thailand and memorable journey!

I am now declaring the opening of “ASEAN Counter Corruption Youth Camp.

THANK YOU.

“ASEAN Anti-Corruption Youth Camp”

Welcoming Remark

by

Prof. Vicha Mahakhun

Commissioner, National Anti-Corruption Commission (NACC)

 

At the Office of the National Anti-Corruption Commission,

Nonthaburi, Thailand

1 May 2013

Mr. Panthep Klanarongran, NACC President,

Commissioners,

Prof. Dr. Chira Hongladarom,

Distinguished Guests,

Resource Persons,

Participants,

Ladies and Gentlemen,

Good Morning,

Today, I deem it a great honor to make this welcoming remark at the start of the “ASEAN Anti-Corruption Youth Camp” this morning. I welcome you as NACC Commissioner who takes care of Sanya Dharmasakti Anti-Corruption Institute (SDI). The NACC is the promoter and guardian of justice in Thailand with the main purpose of fighting against corruption. Our duty is to promote transparency and integrity, and to balance the twin elements of impartiality and fairness - a task we take with great responsibility, duty, and pride. On behalf of Thailand’s National Anti-Corruption Commission and SDI, may I wish you all a very warm welcome, not only to Thailand but also to the opening of this Youth Camp. Many of you have traveled from afar, and come to share great ideas and experiences, all in the single purpose of fighting corruption.

Before going any further, I would like to express the NACC’s gratitude to Foundation for International Human Resource Development (FIHRD) who joins with Sanya Dharmasakti Anti-Corruption Institute (SDI) for providing the technical support to this project, and delegates from ASEAN countries, who are here to share their experience.

Across the region, there are already many examples of youth who have worked together to make a difference for their communities and countries. The former participants of the ship for Southeast Asia Youth Program are good examples. Many of them have been contacting and working together in organizing useful activities up to the present. For youth participants in this Youth Camp, you are young ambassadors of your countries. All of you will eventually be the ASEAN leaders of tomorrow. I believe you can be a positive force for change and make a difference in your countries and this region. From the very outset, I views this Youth Camp as the first of the series, as a foundation to be built upon in the future. I am certain that this Camp will not only provide participants with the opportunity to discuss and share ideas of mutual interest, but will also allow participants to interact with one another. Through such interactions, all participants will have new friends, gain fresh perspective as well as display commitment to closer cooperation to promote the anti-corruption efforts of the region in the years to come.

The corruption is the important problem that has effect on the whole society and country. It is dangerous not only for the human being but also young generation of our community and cause destruction of society. The new NACC Organic Act encompasses comprehensive revisions and additions add more “enforcement mechanisms” to the NACC’s anti-corruption mandate. Today, NACC is implementing many anti-corruption programs and projects so as to deploy those enforcement mechanisms. But this Camp is one of NACC’s flagship projects.

Over the next nine days I shall follow the Camp with great interest as all participants are going to share with each other their experiences. I also hope to learn much from the presentations to be given by resource persons who are academia and practitioner in the field of anti-corruption.

 

 

 

Ladies and gentlemen,

There is a great wealth of experience in the room here this morning. I would like to sincerely thank all delegates for travelling from your countries to be here – I feel that this is itself is a clear indication of the significance and importance of this event.

So without taking up any more of our valuable time it is my great pleasure that I wish you a fruitful gathering, as well as memorable, engaging and enjoyable experience over the next nine days, and also express the hope that you will find a little time to rest and enjoy your stay in this Land of Smiles.

Thank you for your kind attention and Sawasdee Krub.

Orientation & Learning Forum: ASEAN Ethic Role Model and Leadership Development

Prof. Dr. Chira Hongladarom

Secretary-General

Foundation for International Human Resource Development

Prof Chira welcomed all participants from ASEAN countries, and thanked NACC for its cooperation in hosting this Youth Camp. The objectives of this session are to discuss the work to be done together over the coming 9 days, and to exchange ideas among participants.

Prof Chira began with the 3 pillars of cooperation of ASEAN- economic, social/cultural, and security/politics. Because corruption undermines all three of these 3 pillars, it is vital that we address corruption in all its forms.

Whilst ASEAN is moving to facilitate the free flow of goods and services within the bloc, the cost of doing business remains high, and there is a major need to improve ASEAN’s economic integration at global level. These costs are further increased by widespread, deep-seated and systemic corruption, leading to weakening of national competitiveness in a global market.

Corruption also presents risks to national security. It is therefore imperative that the new generation in ASEAN member states should prioritize the fight against corruption by embracing a new ‘Anti-corruption culture’ with a spirit of transparency and honesty.

To accomplish this challenge, collaboration among the people of ASEAN in anti-corruption initiatives will be essential if we are to work, share and learn from one another. Anti-corruption is also a cross-disciplinary effort, requiring expertise in diverse domains. Despite the disparity in implementation of anti-corruption measures around Asia, Prof. Chira expressed the hope that participants in this 9-day Youth Camp would learn, share and reflect, and that ASEAN’s young generation will be motivated to serve as Ambassadors to extend the anti-corruption message in their own countries and around the world.

Prof Chira reminded participants that this Youth Camp will examine diverse beliefs, attitudes and approaches to anti-corruption policies and practices though the lens of “Ethical Capital”. Each country differs in attitudes to corruption according to the prevailing socio-cultural and economic contexts. Prof. Chira noted that in Thailand, money and wealth are the symbols of success, irrespective of how they were acquired. Yet ultimately, we will need to face the enormous conflict with prevailing materialist values across all ASEAN countries, promoted by the media and rewarded by society.

Dr Chira introduced the theories of “8K’s” and “5K’s in the context of building ethical capital, and emphasized the critical importance of nurturing ethical capital among youth in ASEAN.  Whilst the ‘8K’s Theory’ identifies 8 categories of capital (human, intellectual, ethical, happiness, social, sustainability, digital and talented), the ‘5Ks Theory’ offers an alternative typology of human capital (Creativity, Knowledge, Innovation, Cultural and Emotional Capital).

Prof Chira emphasized the importance of instilling ethical norms and building ethical capital at an early age- at school and at University. ASEAN can become a role model in this regard.

How important is ethical capital? Peter Drucker said “If a person has 3 qualities: integrity, creativity and innovation, without integrity, creativity and innovation will be useless.”

However, despite its critical role, promoting the notion of ethical capital in our highly competitive world will not be easy, but it will nevertheless be essential. How can we develop a new culture of honesty and transparency, where people earn money based on ability and wisdom, not from corruption; and where the honest are honoured, and the corrupt subjected to social sanction?

After this Youth Camp, it will be important for participants to sustain the linkages built over the coming 9 days in order to develop shared anti-corruption initiatives at regional levels and beyond. Prof Chira concluded his presentation by encouraging participants in this Youth Camp to be inspired by the region’s cultural diversity; we need to foster the ASEAN spirit in order to lead the region on a long and difficult journey, and to share, learn, and work together with a passion to make it happen.

Following his presentation, Prof Chira continued with an orientation to the Youth Camp programme and activities. He encouraged participants to approach the Youth Camp and activities with a 2Rs approach: ’Reality and Relevance’, to be guided by the ‘2I’s: Inspiration and Imagination’, and also to ensure that their ideas and initiatives add value.

Country representatives were then invited to speak from the podium, in regard to expectations from the Youth Camp.

1.  Cambodia

·  Thanks to Thailand for hosting this Youth Camp

·  Inspired by the presentation of Prof Chira

·  Family, school and society all have a role in directing and shaping moral values.

2.  Indonesia

·  Thanks to Thailand for hosting this important Youth Camp.

·  Cultural differences are wide within as well as among ASEAN countries.

·  Young people in Indonesia tend to have much more of a focus on transparency.

·  We call for more cooperation rather than competition within ASEAN.

3.  Lao PDR

·  Thank you Prof Chira for an inspiring introduction.

·  Lao PDR is a developing country- what are the main challenges in building ethical capital?

4.  Malaysia

·  Gave thanks to NACC, FIHRD and Prof Chira,

·  One initiative in Malaysia has been to set up Anti-Corruption secretariats within universities, in order to nurture the integrity of students.

·  How can perceptions be changed?

5.  Myanmar

·  I am here because we believe in diversity for ethical capital development.

·  In Myanmar the family is strong, and community-based values are developed at an early stage.

·  We look forward to collaborating with others in the region in anti-corruption measures.

6.  Philippines

·  Is it necessary or desirable to define ‘Corruption’? Definitions can limit the scope.

·  Where do you draw the line in regard to social values? Is corruption subjective?

7.  Singapore

·  Judgment is a more important skill than knowledge.

·  In Singapore we have a subject called civic and moral education which is taught in the school curriculum, aiming to instill moral values and the obligations of citizenship from an early age.

·  With Singapore’s diversity it is a major and important challenge to find common ground to approach anti-corruption, and we have a lot to learn from our counterparts in ASEAN.

·  However, we ask whether the ASEAN policy of minimal intervention in each other’s domestic affairs might serve as an impediment to collaboration on anti-corruption measures.

8.  Thailand

·  Thanks for the inspiration.

·  We have two questions- with 65% of poll respondents in Bangkok claiming they would accept corruption provided there is some benefit, how can we change that?

·  How to encourage social sanction against the corrupt?

9.  Vietnam

·  Vietnam is in a transitional stage, and money is the prime symbol of success in Vietnam today.

·  Yet, ethical capital is being instilled through the school curriculum, but more is needed, especially at primary school level.

 

 

ประชุมเตรียมการจัดสัมมนาส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกัฬา

พิมพ์ PDF

การจัดประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 23 เมษายน 2556 ผมเเละทีมงานมีโอกาสเดินทางมาจัดการประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) เพื่อนำเเนวจากการหารือในครั้งนี้ไปจัดสัมมนาสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรที่ให้ความรู้ทั้งภาครัฐเเละเอกชน โดยได้รับการสนับสนนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา

การทำงานในครั้งนี้จะเเบ่งออกเป็น 2 รูปเเบบคือ Pre-Planing เป็นการศึกษาเพื่อหาความต้องการว่าความรู้เรื่อง AEC ที่ต้องการในเเต่ละ cluster เป็นอย่างไร และ Public Seminar เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

กิจกรรมทั้ง 2 รูปเเบบจะทำในลักษณะ cluster

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดน่าน เเพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย อุบลราชธานี มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เเละตราด

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย สุราษฎธานี สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับ

เเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด pre-planning ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

 


หน้า 487 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3049
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8603996

facebook

Twitter


บทความเก่า