Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

 

บทความด้านล่างนี้ถูกส่งมาจาก คุณพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และกรรมการสภาอุตสาหกรรม

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC

                        ธุรกิจ Hospitality1 เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ทำให้การท่องเที่ยวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ทั้งเพื่อการพักผ่อน คลายเครียด เรียนรู้ และเข้าสังคม ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว หรือกลุ่มธุรกิจ Hospitality เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และมีแนวโน้มเติบโตสูง
                          ปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ต่างพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
                         อย่างไรก็ตาม ด้วยความโดดเด่นทางด้านความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว อัธยาศัยไมตรี ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย และอีกหลายๆปัจจัย ทำให้คาดว่าธุรกิจ Hospitality ของไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจสปา แพทย์แผนไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-เชิงนิเวศน์-เชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

ปัจจัยแวดล้อมภายนอก นโยบายที่เกี่ยวข้องและกฎระเบียบต่างๆ การเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก ข้อตกลงทางการค้าและบริการ ฯลฯ

ปัจจัยสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค บริการขนส่ง(ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ) เทคโนโลยี ระบบการเงิน การตลาด การศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม ฯลฯ

ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว (Hospitality) *โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร บริการสุขภาพ/การแพทย์ MICE ธุรกิจนำเที่ยว สปา แพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC...การปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย

                        การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้อาเซียนรวมเป็นตลาดเดียวกันและมี ฐานการผลิตร่วมกัน โดยเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะระหว่างกัน รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
                         ขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ บริการสุขภาพ และท่องเที่ยว(ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจร้านอาหาร) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมดและขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยต้อง เผชิญกับภาวะการแข่งขันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป อันเนื่องมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ Hospitality กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่คาดว่าจะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น

                        สอดคล้องกับที่ องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) ได้คาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2563 จะมีนักท่องเที่ยว ระหว่างประเทศเกือบ 1,600 ล้านคน โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคมีแนวโน้มว่าจะเป็นปลายทางยอดนิยมมากขึ้น โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 25 ของตลาดการท่องเที่ยวทั่วโลก และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาถึง 400 ล้านคน ขณะที่กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งใหม่ โดยมีนักท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หรือประมาณ 130-140 ล้านคน

                        ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา โดยอาศัยจุดแข็งของไทย ทั้งด้านความหลากหลายทางธรรมชาติ มีมรดกทางวัฒนธรรม มีอุปนิสัยที่เป็นมิตร และรสชาติอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในการช่วยสร้างความแตกต่าง ให้กับภาคการท่องเที่ยวของไทย ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้ธุรกิจ Hospitality ของไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในระยะยาว

 

กลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี...เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

นอกจากการวางแผนดำเนินธุรกิจในขั้นพื้นฐานแล้ว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังควรพัฒนากลยุทธ์การตลาด ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก เพื่อเสริม ศักยภาพของธุรกิจให้แข็งแกร่ง ท่ามกลางภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

กลยุทธ์เชิงรับ

การรักษาคุณภาพและระดับมาตรฐานในการให้บริการของธุรกิจให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และ กลับมาใช้บริการซ้ำอีกในอนาคต รวมทั้งเกิดการบอกต่อ ซึ่งเป็นอีกช่องทางการตลาดที่ทรงประสิทธิภาพสูง

รักษาตลาดลูกค้าเดิม ภายหลังจากการเปิดเสรี AEC คาดว่า การแข่งขันของธุรกิจจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การรักษา ลูกค้าเดิมไว้นับเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน เนื่องจากโอกาสที่ลูกค้าเก่าจะเพิ่มยอดซื้อในสินค้า/บริการ ย่อมดีกว่าการที่จะเสียต้นทุนในการค้นหาลูกค้ารายใหม่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยควรพัฒนาบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อจูงใจลูกค้าให้ยังคงเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

  
เรียนรู้คู่แข่ง ผลจากการเปิดเสรี AEC อาจก่อให้เกิดคู่แข่งใหม่ๆจากในอาเซียน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งกำลัง หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยต่างเปิดตัวสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจะต้องศึกษาความเคลื่อนไหวของคู่แข่งอยู่ตลอดเวลาว่ามีการพัฒนาบริการด้านไหนบ้าง โดยไปทดลองใช้บริการ หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยกลับมาคิดและพัฒนาธุรกิจของตนเอง

 
สร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการไทย ปัจจุบันภาครัฐของไทยได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ให้มีการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางการค้าร่วมกัน เพื่อลดการตัดราคาแข่งขันกันเอง รวมทั้งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

กลยุทธ์เชิงรุก

พัฒนากลยุทธ์สำหรับการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่ง ถ้าผู้ประกอบการต้องการที่จะประคับประคองธุรกิจท่ามกลางความผันแปรของตลาดท่องเที่ยวและปัจจัยรอบด้านต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ควรทำ คือ การขยายฐานลูกค้าให้กว้างขวาง และหลากหลายมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งนั่นหมายถึงการฉกฉวยลูกค้าของคู่แข่งขันในธุรกิจมาให้ได้ โดยนำเสนอบริการที่แตกต่างไปจากคู่แข่ง และสามารถดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหันมาลองใช้สินค้าและบริการของเราในที่สุด

 เร่งทำการตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงผันผวน ธุรกิจหลายแห่งหันมาตัดงบประมาณทางด้านการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ลง ซึ่งหากมองในด้านความเป็นจริงแล้ว ช่วงวิกฤติที่ผันผวนเช่นนี้ การตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะในช่วงที่ลูกค้ากำลังอยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การซื้อสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องพยายามจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการของตนให้ได้ โดยนำเสนอความคุ้มค่าแก่ลูกค้า ซึ่งคงเป็นการดีกว่าที่จะปล่อยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง

 มุ่งประชาสัมพันธ์เจาะกลุ่มตลาดลูกค้าใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมกับภาครัฐ ที่ให้การสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สินค้าและบริการต่างๆของไทยในตลาดต่างประเทศ อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Hospitality เช่น สปา แพทย์แผนไทย และผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ ในกลุ่มประเทศเป้าหมาย อาทิ กลุ่มยุโรป อเมริกา เอเชีย และกลุ่มตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นานาประเทศได้รู้จักสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเอเชียซึ่งถือเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ซึ่งคาดว่าภายหลังการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้ฐานตลาดผู้บริโภคกว้างขึ้น อีกทั้งยังเอื้อต่อการขยายธุรกิจร่วมกัน รวมถึงมีการเดินทางระหว่างประเทศที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการเติบโตสำหรับธุรกิจ Hospitality ด้วยเช่นกัน

 นำเสนอบริการในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Service) เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถชูจุดเด่นของบริการ เพื่อจูงใจกลุ่มผู้ใช้บริการที่ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งนับวันจะมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ ธุรกิจโรงแรมที่พักที่มีการออกแบบตัวอาคารให้ลดการใช้พลังงาน มีการจัดการทรัพยากรภายในโรงแรมอย่างคุ้มค่า รวมทั้งให้ผู้เข้าพักมีส่วนในการเป็นส่วนหนึ่งในการลด การใช้ทรัพยากร เช่น การให้ผู้เข้าพักเลือกที่จะเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือผ้าเช็ดตัวทุกวันหรือไม่? การใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำแทนขวดพลาสติกภายในโรงแรม และการให้ผู้เข้าพักปิดแอร์และไฟฟ้าในห้องพัก ขณะที่ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกทุกครั้ง เป็นต้น ธุรกิจบริการรับส่งนักท่องเที่ยว อาจใช้พาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ และปล่อยมลภาวะต่ำ หรือจัดกิจกรรมเที่ยวชมธรรมชาติ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับการเดินทางโดยใช้สัตว์ในท้องถิ่นเป็นพาหนะ ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ/ของเหลือใช้ในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

SWOT Analysis ของธุรกิจ Hospitality ของไทย จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของธุรกิจ Hospitality ของไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเบื้องต้น ดังนี้

Strengths

 ความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว (Verities) ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเล ภูเขา น้ำตก หรือแม้แต่ศิลป วัฒนธรรม โบราณสถานของไทย รวมถึงแหล่งช้อปปิ้ง และบริการด้านสถานบันเทิงต่างๆ

 
ความคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย (Value for money) จากพื้นฐานค่าครองชีพภายในประเทศที่ไม่สูงนัก ทำให้ราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่นักท่องเที่ยว

 การบริการที่เป็นมิตรของคนไทย (Hospitality) การต้อนรับและให้บริการอย่างมีอัธยาศัย นับเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรู้สึกประทับใจ และเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยซ้ำอีก

ระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม สาธารณูปโภค(Infrastructure) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ประเทศไทยถือว่ามีความพร้อมและเหมาะสมมากกว่า

Weaknesses


 บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่จำกัด ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำคัญในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

 การควบคุมคุณภาพของบุคลากรในภาคบริการอาจยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มาตรฐานในการให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละรายอาจไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงการให้บริการในภาพรวมของไทย

 
การบริหารจัดการของภาคธุรกิจบางราย ยังไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเท่าที่ควร

 
ผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยวของไทยส่วนใหญ่ ดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงอาจเสียเปรียบธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีเงินทุน และเครือข่ายที่แข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญในการขยายเครือข่ายบริการร่วมกัน

 
ระบบการโครงข่ายการขนส่งภายในประเทศ ยังขาดการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

 

Opportunities


 
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่มุ่งแสวงหาความแปลกใหม่ แตกต่าง มีเอกลักษณ์ ซึ่งเปลี่ยนไปจากในอดีตที่มักเลือกใช้บริการจากธุรกิจที่มีชื่อเสียง หรือยึดติดในแบรนด์ จึงเป็นผลดีต่อการก้าวเข้าสู่ธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ และมีไอเดียที่ตอบสนองกลุ่มนักท่องเที่ยวยุคใหม่ได้

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสื่อออนไลน์
ทั้งการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระแสความนิยมโซเซียลเน็กเวิร์ก ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นช่องทางการตลาดที่มีต้นทุนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางอื่น และยังช่วยเอื้อต่อการสื่อสารระหว่างกันโดยตรงของผู้ประกอบการธุรกิจและกลุ่มลูกค้า

 การเปิดเสรี AEC เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อสร้าง เครือข่ายการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น อาทิ การเชื่อมโยงเครือข่ายบริการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค ฯลฯ

ภาครัฐมีการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจ Hospitality มีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก

Threats


 
ปัญหาทางด้านการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยต้องชะลอตัวในบางช่วงเวลา

 
การแข่งขันกันตัดราคาของภาคธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดลูกค้า ทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทยอยู่ในสถานะแหล่งท่องเที่ยวราคาถูก ซึ่งเป็นการยากต่อการปรับเพิ่มราคาขึ้นในอนาคต

 ความผันผวนของปัจจัยในตลาดโลก อาทิ สภาวะเศรษฐกิจ สังคม และความเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อความผันแปรของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน นับเป็นปัจจัยที่คาดคะเนได้ยาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจมีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว

 การพัฒนาธุรกิจบริการท่องเที่ยวของประเทศคู่แข่งดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

โดยสรุป การเปิดตลาด AEC ส่งผลให้ภาคบริการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการคาดการณ์ขององค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ที่ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจะกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก (มีสัดส่วนตลาดเป็น 1 ใน 4 ของตลาดท่องเที่ยวทั่วโลก) จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจบริการจากต่างชาติ มุ่งขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาจำนวนมากนั้น อีกทั้งประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รวมถึงปรับปรุงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

     ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย ควรเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยแสวงหาจุดยืนที่แตกต่าง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างการให้บริการที่รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองได้ รวมถึงรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หากแต่จะเลือกสรรบริการที่มีเอกลักษณ์ สร้างความ
ประทับใจ ด้วยระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงชอบที่จะทดลองในสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการที่จะขยายส่วนแบ่งในตลาดบริการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนอาจก้าวเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในระยะต่อไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
1 ธุรกิจ Hospitality หมายถึง ธุรกิจที่มีการให้บริการ ซึ่งจากเดิมที่การให้บริการเป็นการส่งมอบบริการที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงไว้และเป็นอันเสร็จสิ้น (Service) แต่ปัจจุบันการให้บริการ ขยายความไปถึงการส่งมอบ บริการด้วยการต้อนรับอย่างมีมิตรไมตรี ที่สร้างความสุข ความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างเอื้อเฟื้อ และมีคุณธรรม (Hospitality) โดยจะหมายรวมถึงธุรกิจที่ เน้นการให้บริการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว การบริการด้านสุขภาพ ร้านอาหารและภัตตาคาร เป็นต้น


แหล่งที่มาของข้อมูล
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
- กรมการท่องเที่ยว
- องค์การการท่องเที่ยวโลก World Tourism Organization : (UNWTO)

 

 

มูลนิธิชัยพัฒนา

พิมพ์ PDF

บทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าอย่าไปเรี่ยไรเขา แล้วพระองค์พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาให้ดำเนินงานจำนวนหนึ่ง เมื่อทำอะไรแล้วให้แจ้งข่าวสารเผยแพร่ให้ประชาชนรู้ และเมื่อเขาศรัทธา เขาก็จะให้เงินมาเอง เราจึงมีวารสารเผยแพร่ออกสื่อเป็นข่าวบ้าง หลังจากที่ทรงมีรับสั่งในวันนั้น เงินบริจาคเข้ามาตลอด เรียกได้ว่ามีจำนวนเพียงพอ แล้วก็ไม่เคยหยุด ไม่ว่าจะยามวิกฤตหรือไม่ก็ตาม จำนวนเงินที่ได้รับบริจาคก็ยังคงเส้นคงวาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นคำว่า"ศรัทธา"จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา รวมถึงการพัฒนาและแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าแก้ตรงจุดนี้ไม่ได้ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ดังนั้น ต้องพัฒนาคนและอาศัย "ศรัทธา" การพัฒนาจึงจะประสบความสำเร็จ โดยตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมาจนกระทั่งปี ๒๕๔๒ ผมจึงมี ๒ มือถือ มือหนึ่งคือมือของหน่วยราชการ เป็นเลขาธิการ กปร ใช้งบของทางราชการ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งคือ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบส่วนพระองค์ ดังนั้นหลังจากตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นมาแล้วงานจึงไม่สะดุด เนื่องจากมูลนิธิชัยพัฒนา สามารถทำงานได้ ๒๔ ชั่วโมง สามารถสั่งเดี๋ยวนั้นออกได้เดี๋ยวนั้นเลย หรือสามารถออกไปก่อน หรือจะใช้ไปเลยก็ได้ ถ้าทางนี้กระบวนการช้า จะมาใช้ทีหลังก็ยังได้ เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานมาก

ผมดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯทั้ง ๒ แห่ง จนกระทั่งผมเกษียณในปี ๒๕๔๒ จึงแยกสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาออกมาอยู่ที่สนามเสือป่า แต่ว่างานก็ยังเดินคู่กันไป กล่าวคือ พอมูลนิธิชัยพัฒนาพบกับปัญหางานโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการใหญ่ๆ ต้องใช้งบประมาณมาก เราก็จะส่งไปที่ สำนักงาน กปร.ซึ่งจะรับช่วงต่อ ในมุมกลับกัน หากสำนักงาน กปร พบปัญหาอะไร เช่น ไม่สามารถเบิกงบประมาณได้ทัน แต่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก็ส่งมาให้มูลนิธิชัยพัฒนา และพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ทั้ง ๒ หน่วยงานไปอยู่ด้วยกัน โดยวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ เราก็จะย้ายสำนักงานไปอยู่ด้วยกันตรงบริเวณหลังอนุเสาวรีย์รัชกาลที่ ๘ เชิงสะพานพระราม ๘

ตลอดชั่วเวลาที่ได้ถวายงาน ทำให้ได้เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งว่า ระหว่างที่พระองค์ทรงงานพัฒนาอยู่นั้น จะทรงสร้างระบบบริหารไปด้วย เป็นสิ่งที่น่าทึ่งที่นักพัฒนาทุกคนควรคำนึงถึงด้วย เช่น การพัฒนาชนบทควรใช้กระบวนการอย่างนี้ จะต้องสร้างกลไกอะไรบ้างเพื่อให้งานพัฒนาบรรลุผล ดังจะเห็นว่า ทรงให้จัดตั้งมูลนิธิต่างๆโดยแต่ละมูลนิธิมีหน้าที่ต่างกันไป เมื่อเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือสึนามิ มูลนิธิต่างๆเช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์จะรีบออกไปแจกถุงยังชีพก่อน ช่วงนั้นแม้นจะไม่เห็นมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นข่าวในการให้ความช่วยเหลือ แต่แท้ที่จริงแล้วมูลนิธิชัยพัฒนาได้เริ่มงานแล้วโดยนำทีมลงไปสำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่ และให้ความช่วยเหลือในรายละเอียดในเรื่องอื่นๆที่ทุกคนคาดไม่ถึง เช่น การแจกเมล็ดพันธ์พืชเพื่อช่วยเหลือคนในพื้นที่ๆประสบภัย แต่ละคนจะได้รับไม่เหมือนกัน เราต้องศึกษาถึงความต้องการและความจำเป็นของเขาด้วย อาจจะแจกเมล็ดแตงโมไปสัก ๕ กล่อง สำหรับปลูกไว้ขาย เมล็ดผักบุ้งอีก ๒ กล่อง เมล็ดคะน้าอีก ๒ กล่อง สำหรับปลูกไว้กินและขายเป็นต้น

นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือจะต้องมีการบูรณาการ เห็นตัวอย่างได้ชัดจากเหตุการณ์สึนามิ ในเบื้องต้นต้องสร้างบ้านให้ประชาชนได้อยู่อาศัย แต่การสร้างนี้ไม่ใช่สร้างบ้านให้อยู่เท่านั้น ต้นแบบของบ้านที่มูลนิธิชัยพัฒนาวางไว้ สร้างไว้โดยคิดถึงวิถีชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์สึนามิผ่านไป กว่า ๖ ปี งานยังไม่สิ้นสุด แต่ยังต้องเชื่อมโยงบูรณาการถึงเรื่องการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยได้นำเด็กๆไปฝึกเรียนวิชาการโรงแรม เมื่อจบแล้วให้เขาใช้บ้าน ๑๐ หลัง มาทำเป็นโฮมสเตย์ ให้เขาจัดระบบบริหารจัดการกันเอง เพื่อยึดเป็นอาชีพอีกทางหนึ่ง โดยเขายังสามารถจับปลาไปขายได้ และเราก็มีโรงงานแปรรูปรับซื้ออยู่ นำมาแปรรูปเป็นกะปิ น้ำปลา ปลาหยอง แฮมปลา และสเต็กปลา ส่งขายโรงแรม เป็นอาชีพต่อเนื่องไปไม่รู้จบและครบรอบด้าน

 

อันตรายจาก Food Center

พิมพ์ PDF

การวางจานอาหารจองโต๊ะที่ Food Center ไว้     แล้วเดินไปซื้ออย่างอื่นเพิ่มเติม อาจเป็นอันตราย    

ระวังตัวเองดีๆ นะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก  
Intelligent  Living

นางผาสุก อายุ ๒๘ ปี เข้าไปจับจ่ายซื้อของที่
ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เมื่อรู้สึกหิว จึงแวะที่
ศูนย์อาหารของห้าง

ที่นั่นมีผู้คนพลุกพล่าน เธอจึงไม่ทันสังเกตถึงสายตา
ประสงค์ร้ายสองคู่กำลังจับจ้องตนเองซึ่งมีเครื่อง
ประดับมีค่าบนตัวเป็นเป้าหมาย

ผาสุกทิ้งอาหารไว้บนโต๊ะเพื่อไปซื้อเครื่องดื่ม
จึงเป็นโอกาสของคนร้ายที่จะลงมือปฏิบัติการ
จริยา(นังนกต่อ)
1 ในแก็งฟ้าสฟู้ด ซึ่งนั่งห่าง
ออกไปไม่ไกลก็นักรีบเดินมาที่โต๊ะของผาสุก

ทำทีเป็นหยิบทิชชูบนโต๊ะ
ด้วยความรวดเร็วแอบเทยานอนหลับอย่างแรง
ใส่ลงไปในอาหารที่ผาสุกวางทิ้งไว้
แล้วทำทีเป็นเดินเลือกซื้ออาหารตามร้าน


ผาสุกกลับมาที่โต๊ะพร้อมน้ำดื่มและเริ่มต้น
รับประทานอาหาร ขณะที่จริยาก็หาที่นั่งที่ใกล้ที่สุด....ทำทีดื่มน้ำ


'
ตอนนั้นไม่ได้สงสัยอะไร ที่ผู้หญิงคนนั้นเขามานั่งใกล้ ๆ เพราะ
Food Center
มันก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว   อีกอย่าง
เห็นว่าเขาเป็นผู้หญิงด้วยกัน
' ผาสุกให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ


เพียงเวลาไม่นานที่ผาสุกรับประทานอาหารผสมยานอนหลับเข้าไป
เธอก็เริ่มง่วงและมึนศีรษะ และนั่นคือโอกาสของแก็งมิจฉาชีพ
จริยาตรงรี่เข้าไปทันที
' ขอโทษค่ะ คืออยากจะถามว่า

แผนกเครื่องสำอางนี่อยู่ชั้นไหน
' ผาสุกพยายามตั้งสติแต่

ความง่วงมึนงงมันก่อตัวขึ้นรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้

" คุณเป็นอะไรไปคะ...ไม่สบายหรือคะ "
จริยารีบเข้าประคองผาสุกให้ลุกขึ้น ซึ่งเธอก็หมดแรงจะขัดขืน
" ฉันจะพยุงไปนะคะ สงสัยต้องไปโรงพยาบาลแล้วล่ะค่ะ "
จริยา (นังนกต่อ) ประคองกึ่งลากผาสุกออกไปจากบริเวณนั้น
โดยมีสายตาหลายคู่จ้องตามไป แต่ไม่มีใครสงสัย
เพราะภาพที่เห็นทำให้คิดว่าผู้หญิงคนหนึ่งไม่สบาย
และเพื่อนกำลังพาออกไปเท่านั้น
ไม่มีใคร
สังเกตก่อนหน้านี้ว่าใครเป็นใคร มาคนเดียว
หรือมากับใคร นอกจากมิจฉาชีพเท่านั้น!
ผาสุกให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไปว่า

"
ตอนนั้นเท่าที่จำได้ก็คือรู้สึกมึนงง   เวียนหัว
คล้ายจะเป็นลม
  หนังตามันจะปิดซะให้ได้
ฉันพยายามสู้กับมัน พยายามจะไม่หลับ แต่ก็
ไม่มีแรง รู้แต่ว่ามีคนประคอง "


จริยานางนกต่อพยายามพยุงเหยื่อที่ใกล้
หมดสติไปยังจุดนัดพบ ซึ่งที่นั้นไกรสร
  สมาชิกร่วมแก๊ง
ทำทีเป็นคนขับวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง คอยท่าอยู่แล้ว

ไกรสรตะโกนถาม
" มอเตอร์ไซค์มั้ยพี่ "  
จริยารีบตอบ " ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด "
เพียงเท่านี้..ก็ขจัดความสงสัยของคนรอบๆ ไปได้แล้ว
จริยาก็พยุงผาสุกขึ้นรถจักรยานยนต์ซ้อนสามไปด้วยกัน (บางแก๊งก็เป็นรถโดยสารประเภทอื่น)
แน่นอน คนร้ายมิได้นำเธอส่งโรงพยาบาล แต่กลับพา
ไปยังบ้านพักของตนเองที่ถนนลาดหญ้า เขตคลองสาน


เมื่อไปถึง..ผาสุกพยายามลืมตามองรอบๆ ก่อนจะอาเจียน
ออกมาจนหมด สองมิจฉาชีพรีบประคองผาสุก
เข้าไปภายใน มงคลหัวหน้าแก็งซึ่งรออยู่แล้ว
ละลายยานอนหลับให้หญิงสาวดื่มอีก แต่คราวนี้
เธอปัดป้องจึงถูกจับกรอกแทน ทั้งคู่ช่วยกันปลดทรัพย์
จริยา(นางนกต่อ) หยิบกระเป๋าสตางค์ของผาสุกออก
ดูบัตรประชาชน " อยู่ไหน " เสียงมงคลถาม

"
แถวเยาวราช " จริยาตอบ มงคลพยักเพยิดให้จริยาออกไปแล้ว
จัดการปลดกระดุมเสื้อผาสุกหมายจะข่มขืน
ซึ่งพวกมันมักจะทำเป็นประจำภายหลังจากรูดทรัพย์แล้ว

แต่ครั้งนี้เหยื่อไม่มีท่าทีจะหมดสติเอาง่ายๆ


" ที่ฉันจำสถานที่ได้ เพราะฉันเคยไปมาก่อน และคง
เป็นเพราะฉันอาเจียนออกมาหมดด้วย " ผาสุกให้การต่อไป
" ตอนที่มาถึงบ้านคนร้าย ก็พยายามสำรวจว่าเราอยู่ที่ไหน
รู้สึกว่ามันผิดปกติแล้ว แต่ไม่มีแรง พวกมันเอาน้ำมาให้กิน
แต่คิดว่าเป็นยานอนหลับอีก ไอ้คนที่เป็นหัวหน้าพยายาม
ลวนลาม
  ฉันเลยรวบรวมสติขัดขืน มันก็คงร้อนตัว "

เมื่อเห็นว่าเหยื่อยังมีสติ คนร้ายจึงรีบร้อนพาเหยื่อ
ออกจากบ้านโดยเร็ว คราวนี้ด้วยรถแท๊กซี่ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน
นำเธอไปทิ้งไว้ไม่ไกลจากบ้านของเธอเอง

" ตอนนั้นฉันเกือบจะไม่ได้สติแล้ว แต่ยังจำได้ว่า
เป็นซอยบ้าน จึงพยายามเดินไปให้ถึง
พอถึงบ้านก็หลับเป็นตายเลย "

ผาสุกสรุปคำให้การ.......เมื่อรู้สึกตัวอีกครั้ง
ภายหลังจากที่พยายามทบทวนเหตุการณ์อย่างหนัก
เธอก็จำได้ว่าสถานที่ที่ถูกพาไปรูดทรัพย์นั้น
ตนเองเคยไปทำธุระมาก่อนเมื่อไม่นานมานี้
เธอจึงชวนน้องสาวไปแอบดูสถานที่เพื่อความแน่ใจ


"
ใช่ ใช่ แน่แน่ นั่นไงมอเตอร์ไซค์ คันนั้น นั่นไงรอยอ้วกของพี่ "

พฤติกรรมของมิจฉาชีพเหล่านี้ จะยังสามารถกระทำ
กับเหยื่อรายอื่นต่อไปได้อีกหลายครั้ง
ถ้านางผาสุก
ไม่ตัดสินใจเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ความจริงตำรวจก็ได้รับข้อมูลพฤติกรรมและกำลัง
ติดตามสืบแก๊งคนร้ายพวกนี้อยู่   แต่ที่ผ่านมา
ไม่มีการแจ้งความ   บางคนเป็นพยาบาล บางคนเป็นนักธุรกิจ
ยิ่งถ้าโดนข่มขืนด้วยก็คงรู้สึกอับอาย เลยไม่มาแจ้งความ
คราวนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจรวบตัวได้ทั้งแก๊ง พร้อมคำสารภาพ


" ผมจะคอยเฝ้าดูอยู่ที่
Food Center ตามห้างต่างๆ
คอยดูคนที่มีทองเยอะ ๆ ท่าทางฐานะดี

ทำมาหลายครั้ง กว่า ๒๐ ครั้งได้ ยานอนหลับจะใช้อย่างแรงเลย
ซื้อจากร้านขายยาที่บางแค เอามาบดผสมน้ำ
ที่ผ่านมามักจะเป็นผู้หญิง รูดทรัพย์แล้วก็ข่มขืนด้วย
เพื่อให้เขาไม่กล้าแจ้งความ "  


 

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรม

พิมพ์ PDF

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรม

ธุรกิจโรงแรมประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ  ส่วน ดังนี้

1.     ที่ดิน ได้แก่ที่ตั้งและบริเวณโดยรอบของโรงแรม

2.     ตัวอาคารโรงแรม  ห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง ห้องประชุม และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอก  ได้แก่บริเวณสวน ที่จอดรถ เป็นต้น

3.     อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในดำเนินธุรกิจ รวมถึงระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา  ระบบการรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบอื่นๆอีกมากมาย

4.     อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง

5.     การบริหารการจัดการทั้งด้านการตลาด การบริการ การควบคุม การเงิน และอื่นๆ

6.     ทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุน  ผู้บริหาร และพนักงานทั้งหมด

 

ส่วนประกอบลำดับที่ ๑ ๔ เป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ แต่ละส่วนต้องมีความสอดคล้องกันโดยมีการตลาดเป็นตัวกำหนด แต่โรงแรมในประเทศไทยส่วนมากไม่ได้นำการตลาดมาเป็นตัวกำหนด โดยมากกำหนดขึ้นโดยความพอใจของเจ้าของเป็นหลัก สร้างโรงแรมตามกระแสโดยไม่เคยมีความรู้ด้านธุรกิจมาก่อน บางรายสร้างโรงแรมมาเพื่อนำไปขายต่อ มิได้มีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจโรงแรม บางรายก็ทำธุรกิจโรงแรมเพื่อการฟอกเงิน หรือเพื่อหน้าตา

 

ส่วนประกอบที่ ๕ และ ๖ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ส่วนประกอบทั้งสองส่วนนี้ได้มาจากทรัพยากรมนุษย์ ทั้งสิ้น ทรัพยากรมนุษย์ มีความแตกต่างกันหลายระดับ เป็นการยากที่จะมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของทรัพยากรนั้นๆจากภายนอก

 

ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมส่วนมากใช้เงินลงทุนกับส่วนประกอบในลำดับที่ ๑-๔  เท่านั้น ส่วนประกอบลำดับที่ ๕ และ ๖ มักจะไม่ได้รับการดูแล ไม่มีการจัดงบไว้สำหรับการลงทุนในส่วนนี้  เจ้าของจะเป็นผู้บริหารและจัดการเอง โดยจ้างผู้จัดการมาทำงานเป็นกันชน และทำงานตามความต้องการของเจ้าของ ส่วนพนักงานทั่วๆไปจะจ้างตามสถานะของธุรกิจในชั่วนั้นๆ มองค่าจ้างแรงงานเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ดังนั้นเมื่อธุรกิจไม่ดี ก็จะลดต้นทุนการดำเนินการ  โดยการลดจำนวนพนักงานหรือตั้งเงินเดือนพนักงานให้น้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายแรงงานเพราะมีวิธีเลี่ยงหลายวิธีด้วยกัน

 

ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเพราะเมื่อไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีการดำเนินการอะไรทั้งสิ้น ทรัพยากรมนุษย์มิได้หมายถึงเฉพาะลูกจ้างเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ลงทุนเองก็เป็นทรัพยากรมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นประเทศชาติและสังคมจะอยู่ได้ก็ต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีมีคุณภาพ ถ้าประเทศใดหรือสังคมใดมีทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ดีมีคุณภาพต่ำ ประเทศและสังคมนั้นก็จะมีปัญหามากไม่เจริญเหมือนกับประเทศและสังคมที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและมีคุณภาพที่สูงกว่า

 

 

ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจการให้บริการประกอบด้วนส่วนโครงสร้างตัวโรงแรมและสิ่งของที่เป็นวัตถุที่จับต้องและมองเห็นได้กับส่วนของการให้บริการและการจัดการ ทั้งสองส่วนจะต้องสอดคล้องกันจึงจะทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการอธิบายและทำความเข้าใจค่อนข้างยากและซับซ้อน ผมจึงจะไม่ขอกล่าวถึง แต่จะไปเน้นพูดในเรื่องของส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น

ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมแยกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

๑) พนักงานระดับล่าง ความจริงธุรกิจโรงแรมต้องการพนักงานระดับล่างเป็นจำนวนมากและหลากหลายตำแหน่งด้วยกัน เช่นพนักงานบัญชี พนักงานการเงิน พนักงานต้อนรับ พนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานทำความสะอาดในห้องพักลูกค้า พนักงานทำความสะอาดบริเวณทั่วไป พนักงานทำอาหาร พนักงานทำสวน พนักงานด้านธุรการ พนักงานยกกระเป๋า พนักงานฝ่ายบุคคล ยาม และอื่นๆอีกหลายตำแหน่ง  พนักงานในแต่ละตำแหน่งต้องการทักษะและความรู้ในการทำงานแตกต่างกัน ถึงแม้นว่าจะเป็นตำแหน่งงานในตำแหน่งเดียวกันแต่ต่างโรงแรม ก็ยังมีความต้องการความรู้ที่แตกต่างกัน เช่นพนักงานเสิร์ฟในห้องอาหารของโรงแรมในเมืองหลวงที่ลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ กับโรงแรมในต่างจังหวัดที่ลูกค้าเป็นคนไทยจะมีมาตรฐานของทักษะความรู้ที่แตกต่างกัน

๒) พนักงานระดับหัวหน้างาน ได้แก่พนักงานที่ดูแลลูกน้องที่เป็นพนักงานในสายงานให้ทำงานถูกต้องมีประสิทธิภาพในสายงานนั้นๆ  เมื่อหัวหน้างานลาออก ผู้จัดการที่รับผิดชอบในสายงานนั้นก็จะแต่งตั้งให้พนักงานที่มีอายุการทำงานมากกว่าเพื่อนร่วมงานในสายงานเดียวกัน หรือผู้ที่ทำงานดีให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน โดยไม่มีการอบรมและสอนงานการเป็นหัวหน้า ด้วยเหตุนี้หลายๆโรงแรมจึงมีปัญหาเรื่องการให้บริการลูกค้า

๓) ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่พนักงานระดับบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสายงานของแต่ละสายงาน จะต้องได้ผู้ที่มีความรู้และเข้าใจในงานของสายงานนั้นอย่างละเอียด สามารถบริหารและจัดการให้งานในฝ่ายที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพและมาตรฐานตามที่ผู้บริหารระดับสูงตั้งเป้าไว้ นอกเหนือกว่านั้นยังต้องมีความเป็นผู้นำที่ดี และมีความรู้และเหตุผลในการชี้แจงต่อผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป

๔) ผู้บริหารระดับสูง คนไทยมีโอกาสน้อยมากที่ได้ตำแหน่งนี้ เพราะโดยทั่วไปแล้ว เจ้าของหรือลูกหลานเจ้าของ จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้เอง

๕) เจ้าของโรงแรม คือผู้ที่สำคัญที่สุดเพราะธุรกิจจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับเจ้าของเกือบจะ ๑๐๐ % โรงแรมบางแห่งมีเจ้าของคนเดียว บางโรงแรมมีหลายเจ้าของ (หุ้นส่วน) เจ้าของจะต้องเป็นผู้กำหนดวิธีการบริหารและจัดการว่าจะดำเนินการบริหารเองหรือจ้างคนอื่นมาบริหาร โรงแรมขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางในประเทศไทยส่วนมากเจ้าของจะเป็นผู้บริหารเอง และจ้างผู้จัดการมาเป็นกันชน

 

ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมขาดแคลนพนักงานเป็นจำนวนมากเกือบทุกระดับ โรงแรมระดับ ๔ ๕ ดาวไม่ค่อยมีปัญหา เพราะ โรงแรมระดับนี้ส่วนมากบริหารงานโดยเชนจากต่างประเทศ เป็นโรงแรมที่มีรายได้ดีอย่างสม่ำเสมอ มีการตลาดระดับนานาชาติ โรงแรมระดับนี้มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ โดยคนต่างชาติ พนักงานที่ทำงานด้านโรงแรมอยู่แล้ว และเด็กจบใหม่ที่ต้องการจะยึดงานโรงแรมเป็นอาชีพ จะพากันมาสมัครงานในโรงแรมระดับนี้ เมื่อมีผู้มาสมัครจำนวนมาก ทางโรงแรมก็มีโอกาสคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติตามที่โรงแรมต้องการ เมื่อรับพนักงานใหม่เข้ามาแล้ว โรงแรมก็ยังมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาพนักงานให้มีทักษะและความสามารถในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น โรงแรมมีหน่วยงานดูแลเรื่องการพัฒนาคุณภาพของพนักงานโดยตรง ทำให้โรงแรมได้พนักงานดี มีทักษะและความสามารถสูง ประกอบกับความพร้อมด้านมาตรฐานในส่วนอื่นๆ ทำให้กิจการของโรงแรมดี มีรายได้สูง พนักงานได้รับค่า “ services charge “ สูง ส่วนเงินเดือนไม่แตกต่างกว่าโรงแรมในระดับอื่นมากนัก ( Services Charge คือเงินที่ทางโรงแรมเรียกเก็บจากลูกค้า และนำมาแบ่งให้กับพนักงานในอัตราที่เท่ากัน ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะได้มากน้อยขึ้นอยู่กับการมาใช้บริการของลูกค้า ทางโรงแรมไม่ได้เป็นผู้จ่ายเงินจำนวนนี้  )

                โรงแรมที่บริหารโดยเจ้าของจะมีปัญหาเรื่องการขาดพนักงานมากที่สุด เพราะพนักงานเข้าใหม่ส่วนมากจะเป็นเด็กจบใหม่ที่เหลือมาจากโรงแรมที่บริหารโดยเชนต่างชาติ  เด็กที่มาสมัครไม่ค่อยรู้อะไรแต่โรงแรมก็จำเป็นต้องรับเข้ามาเพราะไม่มีพนักงานคอยให้บริการลูกค้า  พนักงานที่เข้าใหม่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเป็นเรื่องเป็นราว เรียนรู้จากพนักงานที่อยู่มาก่อนหรือจากหัวหน้างานที่ไม่ค่อยได้สอนเพราะสอนไม่เป็น หรือหัวหน้างานบางคนก็สอนแบบผิดๆถูกๆ งานหนักมากเพราะมีพนักงานน้อย  เงินเดือน และ services charge ค่อนข้างต่ำไม่พอเพียงกับค่าใช้จ่าย (โรงแรมระดับนี้มีรายได้จากค่า Services Charge น้อยกว่าโรงแรมที่บริหารโดยเชนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก) พนักงานไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนและพัฒนาในด้านการเรียนรู้มากนัก พนักงานที่เก่งเพราะเรียนรู้ด้วยตัวเองเมื่อมีโอกาสก็จะไปสมัครงานกับโรงแรมที่มีได้รายได้มากกว่า หรือได้รับการซื้อตัวให้ไปดำรงตำแหน่งงานที่สูงขึ้นจากโรงแรมอื่น พนักงานที่มีความสามารถไม่สูงนักก็จะต้องทนทำงานให้ผ่านไปวันๆโดยไม่มีอนาคต แถมวันดีคืนดีธุรกิจโรงแรมตกต่ำ พนักงานที่ยังไม่พ้นการทดลองงานก็จะถูกปลดออกส่วนพนักงานที่ยังเหลืออยู่ก็อาจถูกลดเงินเดือน

                พนักงานระดับหัวหน้างานและพนักงานบริหารระดับกลางยิ่งแล้วใหญ่ ปัจจุบันขาดเป็นจำนวนมาก โรงแรมที่บริหารโดยการจ้างเชนจากต่างประเทศมาบริหาร ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปจะเป็นคนต่างด้าว หรือถ้าเป็นคนไทยก็มีตำแหน่งให้น้อยและพนักงานเก่าไม่ค่อยจะออก จึงทำให้พนักงานที่มาทีหลังมีโอกาสที่จะได้ตำแหน่งยาก ในที่สุดก็ต้องออกไปอยู่โรงแรมที่บริหารโดยเจ้าของ เมื่อไปอยู่ด้วยกันต่างคนก็ต่างผิดหวังทั้งเจ้าของและพนักงาน ส่วนของพนักงานเมื่อเคยอยู่โรงแรมที่มีระบบในการบริหารการจัดการที่แน่นอน เมื่อมาอยู่โรงแรมที่เจ้าของเป็นผู้บริหารทุกอย่างไม่แน่นอนแล้วแต่อารมณ์ของเจ้าของ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกหลายๆอย่างต่างกันมากจึงทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ทำให้ผลงานไม่เด่นชัด ทางเจ้าของก็ผิดหวัง ในที่สุดพนักงานผู้นั้นก็ต้องไปหางานที่อื่น หรืออยู่แบบผ่านไปวันๆ

               

 

สืบเนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านๆมา        ทำให้มีผู้สร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจต่างแย่งกันลงทุนสร้างโรงแรมเพราะเห็นว่าจะได้กำไรแน่ๆ แม้นธุรกิจโรงแรมจะทำกำไรได้ไม่มากนักก็ไม่เดือดร้อนเพราะเงินที่ลงทุนไม่สูญหายไปไหน โรงแรมเป็นทรัพย์สิน นานๆไปก็มีกำไรในตัวของมันเอง แต่การลงทุนสร้างบุคลากรไม่ใช่ทรัพย์สิน จึงไม่สนใจที่จะลงทุน เมื่อสร้างโรงแรมเสร็จก็ไปดึงตัวบุคลากรจากโรงแรมอื่นถ้าธุรกิจไม่ดีก็ปลดพนักงานออก ปัญหาจึงไปตกหนักอยู่ที่ผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่ถูกจ้างมาบริหารและจัดการ

                โรงแรมที่สร้างด้วยเงินจำนวนมากจะกลายเป็นโรงแรมล้างทันที่ถ้าขาดพนักงาน งานโรงแรมเป็นงานบริการที่ละเอียดอ่อน แต่ละหน่วยงานมีความสำคัญพอๆกัน เกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่  ธุรกิจโรงแรมจำเป็นต้อได้รับการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก  มนุษย์เป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย การสร้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อมารองรับธุรกิจโรงแรมต้องทำให้ถูกทาง มีการร่วมมือกันเป็นเครือข่าย รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนฝ่ายเอกชนอย่างถูกต้อง เอกชนหรือผู้ประกอบการโรงแรมเองก็ต้องปรับทัศนคติ เปลี่ยนวิสัยทัศน์ และหันมาลงทุนด้านทรัพย์ยากรมนุษย์อย่างจริงจัง

                นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่นายกสมาคมโรงแรมไทย และประธานมูลนิธิกำหนดมาตรฐานและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการบริการ ตลอดจนผู้ประกอบการโรงแรมหลายแห่งได้ยอมรับว่าขณะนี้ธุรกิจโรงแรมมีปัญหาเรื่องมบุคคลากรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาดแคลนพนักงานทุกระดับ และการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงาน จึงได้เชิญ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและมีผลงานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ให้มาช่วยแก้ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้กับธุรกิจโรงแรม

                ท่าน ศ.ดร จีระมีความตั้งใจอย่างสูงที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจโรงแรม เพราะเห็นว่าเกี่ยวของกับประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ทำไมชาวต่างชาติจึงได้ตำแหน่งงานผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง  ทำไมชาวต่างชาติจึงได้เงินเดือนสูงกว่าคนไทย  ทำอย่างไรสถาบันการศึกษาจะสามารถผลิตนักศึกษาให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่โรงแรมต้องการ  ทำอย่างไรให้เจ้าของโรงแรมหันมาลงทุนเรื่องทรัพยากรมนุษย์             ทำอย่างไรให้พนักงานโรงแรมได้รับการพัฒนาและเรียนรู้เพื่อขึ้นไปเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถและได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม  ทำอย่างไรให้โรงแรมที่บริหารโดยคนไทยสามารถแข่งขันและทำรายได้เช่นเดียวกับโรงแรมที่บริหารโดยเชนต่างประเทศได้ ทำอย่างไรให้พนักงานโรงแรมมีงานที่มั่นคงและได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงต่อการเลี้ยงชีพและครอบครัว

 

               

 

 ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๒๒ มกราคม ๒๕๔๙

 

 

บทบาทของธุรกิจขนาดย่อมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ

พิมพ์ PDF

บทบาทของธุรกิจขนาดย่อมที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ โดย กฤษฎา เสกตระกูล
เอกสารบรรยายในโครงการพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ 5 กันยายน 2548

 

นโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อธุรกิจขนาดย่อมกันตั้งแต่ทศวรรษ 1980 (พ.ศ.

2523-2533) เป็นต้นมา เนื่องจากเห็นว่า การใช้นโยบายเศรษฐกิจโดยใช้ธุรกิจขนาดใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น และทำให้โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพิงธุรกิจขนาดใหญ่มากเกินไป ซึ่งเกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายมากถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

รัฐบาลไทยที่นำโดยพรรคไทยรักไทย ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 ได้ผลักดันนโยบายสนับสนุน

ธุรกิจ SME เป็นอย่างมาก โดยกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ของธุรกิจขนาดย่อมขึ้นมาเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ และมีการลดการพึ่งพิงธุรกิจขนาดใหญ่ลง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น และช่วยลดความรุนแรงเมื่อเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจในอนาคต แม้ว่าธุรกิจขนาดย่อมจะเป็นผู้นำเสนอสินค้าและบริการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ก็มีบทบาทบางประการที่ทำหน้าที่ได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น

1) ธุรกิจขนาดย่อมตอบสนองความต้องการในตลาดที่มีขนาดเล็ก มีความต้องการสินค้าเฉพาะ เช่น ตลาดเกี่ยวกับผ้าไหมทอมือ สินค้าหัตถกรรม เป็นต้น ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้เพราะจะไม่คุ้มกับการลงทุน

2) ธุรกิจขนาดย่อมมีมูลค่าลงทุนในสินค้าทุน เช่น เครื่องจักรไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ ในบาง

กรณีอาจจะใช้เครื่องจักรมือสองด้วย ลักษณะดังกล่าวช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใช้สินค้าทุนอย่างมีประสิทธิ

ภาพมากขึ้น เพราะจะไม่เกิดสภาพกำลังการผลิตเกินมากไป ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานด้วย

3) ธุรกิจขนาดย่อมช่วยสร้างนวัตกรรม เช่น ผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกมาเสนอต่อตลาด และมักเป็นสินค้าที่มีเอก

ลักษณ์เป็นของตนเอง การพยายามค้นหานวัตกรรมนี้เป็นความดิ้นรนของธุรกิจขนาดย่อมที่จะหลีกเลี่ยงการ

ต่อสู้ในเรื่องราคากับธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากมีต้นทุนสูงกว่า การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีเอกลักษณ์จะ

ช่วยปกป้องให้ธุรกิจขนาดย่อมอย่ได้

4) ธุรกิจขนาดย่อมถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจทั้งในยามปกติและยาม

วิกฤต โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ดังนั้นธุรกิจขนาด

ย่อมมีส่วนทำให้ผลผลิตในอนาคตของระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น หลังจากที่ได้ฝึกฝนแรงงานไร้ฝีมือ หรือไร้

ประสบการณ์ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น

 

ข้อดีของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม

ค่านิยมของการได้เป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นยุคของผู้ประกอบการ (The age of entrepreneur) ได้อย่างแท้จริง การศึกษาของ Ryan, Ray and Hiduke (1999, p.2) ได้อ้างอิงผลสำรวจของ Small Business Administration (SBA) ในสหรัฐอเมริกา พบว่า จำนวนธุรกิจขนาดย่อมของสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งไปแล้วมีประมาณ 20 ล้านราย ในแต่ละปีมีธุรกิจขนาดย่อมใหม่ ๆ เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านราย และถ้าท่านกำลังคิดจะเปิดธุรกิจขนาดเล็กขึ้นใหม่แล้ว รู้ไว้ด้วยว่ากำลังมีคนคิดแบบเดียวกับเราไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ข้อมูลข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นกระแสความนิยมในการเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเองอย่างชัดเจน สำหรับบุคคลที่จะก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการนั้น อะไรเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เขาหันมาทำธุรกิจ เขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งวิเคราะห์ได้ดังนี้

1) ความเป็นอิสระ (Independence) การทำธุรกิจของตนเอง ทำให้ได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ และกลายเป็นนาย

ของตนเอง หลุดพ้นจากความเป็นลูกจ้างซึ่งต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ที่คนอื่นกำหนด

2) ความร่ำรวย (Financial Opportunities) การเป็นเจ้าของกิจการเองทำให้มีโอกาสในการสร้างรายได้ ได้มากกว่าการเป็นลูกจ้าง (แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่คาดไว้สูงด้วยเช่นกัน)

3) ความมั่นคง (Job security) การทำกิจการของตนเองนั้น บางคนกลัวว่าจะเกิดความไม่มั่นคง เพราะไม่รู้ว่ากิจ

การของตนเองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่ถ้ามองในมุมกลับการทำงานกับกิจการของตนเอง เรา

สามารถทำได้นานตราบเท่าที่เราต้องการ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีคนมาไล่เราออก จึงพิจารณาได้ว่าเกิดความมั่น

คงขึ้นอย่างมากในชีวิตการทำงาน

4) สร้างงานให้กับครอบครัว (Family employment) เมื่อสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นมาแล้ว ผู้ประกอบการแทบทั้งนั้นจะพยายามผลักดันให้ธุรกิจอยู่รอดให้ได้และเติบโตต่อไป เพื่อเป็นแหล่งงาน และหลักประกันรายได้ให้กับ

ทายาทและสมาชิกในครอบครัวในอนาคตต่อไป

5) ความท้าทาย (Challenge) การตั้งและดำเนินธุรกิจของตนเองให้ประสบความสำเร็จเป็นไปตามที่ฝันของผู้

ประกอบการทุกคน การพยายามให้บรรลุความสำเร็จเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้ประกอบการว่าจะทำให้ฝันเป็นจริงได้

หรือไม่ ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการในเชิงจิตวิทยาอย่างหนึ่ง

ข้อเสียของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม

การเป็นผู้ประกอบการ แม้จะมีข้อดีหลายประการตามที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ก็มีข้อเสียหลายประการที่ควรทราบไว้

ก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจของตนเอง ข้อเสียหลายประการเหล่านี้ได้แก่

1) ความผันผวนของยอดขาย (Sales fluctuations) ถ้าเราเป็นลูกจ้างในบริษัทขนาดใหญ่ เราจะได้รับการจ่ายค่าจ้างอย่างสม่ำเสมอในรูปของเงินเดือน ซึ่งทำให้เราวางแผนการใช้จ่ายได้ง่าย แต่ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการเองจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ยอดขายมีความผันผวน ในบางเดือน ยอดขายอาจจะสูง ในขณะที่บางเดือน ยอด

ขายอาจจะตกลงไปมาก ผู้ประกอบการจะต้องคอยจัดการว่าในเดือนที่มีเงินเหลือเกินมาก หรือเดือนที่ขาดเงินมากจะทำอย่างไร เดือนไหนต้องการเงินกู้จากภายนอก เดือนไหนต้องชำระเงินกู้ การบริหารเงินสดเข้าและเงินสดออกจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการด้วย

2) การแข่งขัน (Competition) ข้อเสียประการที่สองของการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดย่อม ก็คือจะต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงเป็นพิเศษ เพราะจำนวนธุรกิจขนาดเล็กและทำธุรกิจประเภทเดียวกันมีมาก การกีดกันในการเข้าหรือออกจากธุรกิจทำได้น้อย การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดจึงทำให้ภาวะการแข่งขันมีความรุนแรง ตัว

อย่างที่เห็นได้ชัดคือ ร้านอาหารและภัตตาคารขนาดเล็กจะสูญเสียลูกค้าไปให้ร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ด เป็นจำนวนมาก การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และบริการที่เป็นเลิศเท่านั้นที่จะช่วยลดแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงนี้ลงได้

3) ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น (Increased responsibilities) การเป็นเจ้าของกิจการนั้น จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่สำคัญทุก ๆ ด้านของกิจการ จึงจำเป็นต้องมีความรู้แบบรอบด้าน ต้องสามารถลงไปแก้ปัญหากับงานของกิจการได้ทุกเรื่อง ผู้ประกอบการที่ดีต้องพร้อมที่จะเป็นได้ทั้งพนักงานขาย ผู้จัดการฝ่ายบุคคล

ผู้จัดการฝ่ายบัญชี หัวหน้างานผลิต หน้าที่ที่จะต้องแก้ปัญหาได้ทุกด้านนี้ทำให้ผู้ประกอบการมีงานมากในแต่ละวัน อาจต้องทำงาน 6-7 วันต่อสัปดาห์ จึงต้องตระหนักในความรับผิดชอบที่มีมากขึ้นนี้ด้วย

4) การขาดทุน (Financial losses) การตัดสินใจที่กระทำไปโดยผู้ประกอบการนั้น อาจมีถูกหรือผิดได้ ทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้น โดยเฉพาะการตัดสินใจที่ผิดพลาดบางครั้งส่งผลกระทบทำให้เกิดผลขาดทุนทางการเงิน เช่น

ถ้าเก็บสินค้าคงเหลือไว้มากเกินไป ก็อาจมีต้นทุนการเก็บรักษาสูง และเสี่ยงต่อสินค้าล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ ไม่สามารถขายได้ เกิดผลขาดทุนขึ้น หรือถ้าเก็บสินค้าคงเหลือน้อยเกินไป ก็อาจทำให้สูญเสียโอกาสที่จะสร้างรายได้ ถ้าในตลาดมีความต้องการสินค้านั้นสูงขึ้น แต่เรามีปริมาณสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการในสินค้านั้น เป็นต้น

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 24 มกราคม 2012 เวลา 13:48 น.
 


หน้า 543 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8660495

facebook

Twitter


บทความเก่า