Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

พิมพ์ PDF

วันที่ ๙ พ.ค. ๕๕ ผมไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประสานงานภูมิภาค ครั้งที่ /๒๕๕๕ โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตามรายละเอียดการประชุมนี้

โดยที่โครงการนี้ต้องการให้มหาวิทยาลัย ๘ แห่งเข้าไปหนุนโรงเรียนที่สมัครและคัดเลือกแล้ว ให้พัฒนาตนเองเป็นโรงเรียนแกนนำหรือเป็นศูนย์พัฒนาโรงเรียนอื่นๆ สู่โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง

ทำให้ผมได้มีโอกาสไตร่ตรองว่าโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ต้องเรียน หรือทำกิจกรรมเพิ่มเติม หรือจริงๆ แล้ว เป็นกิจกรรมบูรณาการ ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ 21stCentury Skills ได้อย่างสอดคล้องกับชีวิตจริงยิ่งขึ้น

ผมคิดว่า ความท้าทายของโครงการนี้คือ ต้องเข้าไปหนุนโรงเรียนให้นักเรียนได้รับการศึกษาแบบ “Teach less, Learn more” ให้ได้   คือนักเรียนในโรงเรียน ๘๔ แห่งนี้ ไม่ถูกกรอกความรู้” สำเร็จรูป   แต่ได้เรียนรู้แบบ Learning by doing  คือเรียนจากการทำกิจกรรมเป็นหลัก   และกิจกรรมเหล่านี้ได้รับการออกแบบอย่างดี ให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบตาม (๑) หลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ (๒) ได้เรียนรู้ครบตาม 21st Century Skills  และ (๓)ได้ฝึกฝนทักษะเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

โดยผมมองว่า มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงทั้ง ๘ ต้องตีโจทย์ให้แตก ว่าเป้าหมายการเรียนรู้ ๓ ข้อข้างบนนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน หรือซ้อนทับกัน   เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบงอกงามจากภายในด้วยการเรียนแบบลงมือทำ เน้นทำเป็นทีม (PBL – Project-Based Learning)  โดยครูมีวิธี coach / facilitate อย่างถูกต้อง

ดังนั้น หัวใจจึงอยู่ที่การจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง    ให้เป็นการเรียนแบบสอนน้อย-เรียนมาก   เรียนโดยการลงมือทำ   ครูไม่สอนแต่ทำหน้าที่ครูฝึกคือคอยให้กำลังใจ ชี้ทางที่ถูกต้อง และช่วยประเมินความก้าวหน้าเพื่อแนะให้นักเรียนปรับปรุง

ปรัชญาและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงไม่ใช่บทเรียน แต่เป็นผลสัมฤทธิ์ของการเรียน   และครูใช้เป็นแนวทางออกแบบ PBL  และใช้เป็นแนวทางประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของศิษย์

กล่าวอย่างแรง โรงเรียนต้องสนองต่อโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงแบบรวบเข้าสู่ภารกิจหลัก” ของตน   ไม่ใช่ตอบสนองแบบทำโครงการ” เศรษฐกิจพอเพียง

คือผมมองเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทโรงเรียน เป็น means ไม่ใช่ end   โดย end คือ การเรียนรู้ของนักเรียนที่นักเรียนได้ทักษะเพื่อชีวิตในอนาคตของตนเอง

ทีมมหาวิทยาลัยต้องช่วยปลดปล่อยครูจากพันธนาการ ๒ อย่าง

๑. การสอน  ครูต้องละจากความเคยชินที่เน้นการสอน หรือการบอกสาระวิชา ไปสู่การทำหน้าที่หนุนหรือเอื้อการเรียนรู้ของศิษย์ ที่ศิษย์เรียนโดยการลงมือทำ

๒. วิชา   ครูต้องเลยจากการเน้นให้ศิษย์เรียนวิชา  สู่การเน้นให้ศิษย์ฝึกทักษะ

ระหว่างการประชุม ผมได้แนวคิดว่า ครูและโรงเรียนต้อง Do less, Achieve more ในเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียน    คุณเปาที่นั่งอยู่ข้างๆ เตือนว่า เขียนอย่างนี้ระวังครูเข้าใจผิด คิดว่าตนไม่ต้องทำอะไร   เพราะจริงๆ แล้วครูจะต้องทำงานที่มีคุณค่ากว่าเดิม คือหน้าที่โค้ช    และเนื่องจากครูไม่ได้ฝึกการทำหน้าที่นี้มาก่อน   ครูจึงต้อง “เรียนรู้โดยลงมือทำ” หน้าที่นี้   โดยรวมตัวกันเรียนรู้ เป็น PLC

น่าแปลกใจมาก ที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาให้ความเห็นใจตรงกันหมด ว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาไทย   ที่ดำเนินการจากมุมขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ ไปชวนมหาวิทยาลัยมาร่วมขบวนการ

เนื่องจากผมอยู่ร่วมการประชุมได้เพียงครึ่งวัน   ก่อนพักเที่ยงเขาให้ผมให้ข้อคิดเห็น   ด้วยความจำกัดของเวลา ผมจึงใช้เวลาเพียง ๒ - ๓ นาที ให้ความเห็น ๒ ประเด็นคือ


๑. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไกล เพื่อปฏิรูประบบการเรียนรู้ของไทย    ที่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่(๑) ครูรวมตัวกันเอง จัด PLC โดยครูเป็นผู้จัดและรับผิดชอบ ดึงส่วนร่วมภายนอก และภายใน   (๒) การบริหารในกระทรวงศึกษาธิการและในโรงเรียนต้องเปลี่ยนเป็นเน้น empowerment

๒. Website ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลกำลังพัฒนาต้องไปให้ถึง การช่วยหนุน online interactive learning ของครู  ผู้บริหาร และโค้ช   และของ นร. ในเครือข่าย   ต้องเน้น share สิ่งที่ไม่ชัดเจน ที่มาจากการปฏิบัติ (inter-subjectivity) ช่วยให้ ดร. ปรียานุช ประเมินเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้

วิจารณ์ พานิช

๙ พ.ค. ๕๕

 

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

พิมพ์ PDF

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
มกราคม - มิถุนายน 2555

การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ

แต่การรอให้เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาส แม้แต่สหภาพยุโรปที่มีพรมแดนติดกันและมีรูปแบบองค์กรเหนือรัฐยังใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิกทำได้เสมือนเพียงการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่และไม่ต้องมีพิธีการศุลกากรระหว่างกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การรอจนกว่า AEC สมบูรณ์คงจะช้าเกินไป และความคืบหน้าในปัจจุบันได้เปิดโอกาสมากพอให้ธุรกิจใช้ประโยชน์และขยายตัวไปในอาเซียนอยู่แล้ว เช่น การใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% และข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพที่ตกลงกันไปแล้ว การเปิดเพดานการถือหุ้นในธุรกิจบริการที่แม้จะยังไม่ถึง 70% แต่ก็นับเป็นโอกาสการลงทุนในตลาดที่น่าสนใจได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจจากนี้ถึงปี 2015 จะมีทั้งโอกาสของธุรกิจทางด้านเกษตรที่มาจากทั้งความต้องการที่สูงขึ้นและศักยภาพในการเติบโตของรูปแบบเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น contract farming โอกาสจากการเปิดเสรีเพิ่มเติมของกลุ่มประเทศCLMV ที่จะเพิ่มความสำคัญด้านการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการที่อยู่ระหว่างการทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากภาคบริการจะมีความเสี่ยงในการเผชิญการเปิดเสรีมากขึ้นในเวลาอันสั้นแล้ว การเปิดเสรีในภาคดังกล่าวจะมาพร้อมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น สังเกตได้จากสัดส่วนของเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศในภาคบริการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP กว่า 72% และยังมีการลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยคาดว่าจะมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 56%, 50%, 45% และ 44% ภายในปี 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคบริการสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หลากหลายตามปัจจัยที่เกิดขึ้น บางภาคควรจะรุกขยายธุรกิจไปในต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการตลาดในขณะที่ภาคบริการบางประเภทสามารถเติบโตจากตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มเติมจากการเข้าสู่ AEC และบางประเภทอาจจะต้องเตรียมรับมือจากทั้งโอกาสและการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น

ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนจะมีโอกาสมากขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่มmiddle income ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่า AEC จะเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น แต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบภายในประเทศที่อาจจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอีกธุรกิจเด่นที่ไทยมีข้อได้เปรียบและจะมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และทันตกรรม ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบันอีกทั้ง AEC ยังช่วยเอื้ออำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้

ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ต้องใช้โอกาสจาก AEC มองหาลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อการบริการแบบครบวงจร ผู้ประกอบการมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐเพื่อลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าตามเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ AEC อีกทั้งควรสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์อื่นๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ธุรกิจมีความหลากหลายในด้านรูปแบบการขนส่ง ช่วยให้การขนส่งมีความต่อเนื่องจากต้นทางสู่ปลายทาง รวมทั้งนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูงและเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น

ธุรกิจบริการของไทยควรจะเริ่มสร้างอาวุธของตนเองและมองหาจังหวะที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำหรับการแข่งขันด้านการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจบริการของประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่กำลังขยายตัวแซงหน้าการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาทั้งด้านศักยภาพตลาด กฎเกณฑ์จากข้อตกลง กฎเกณฑ์ภายในประเทศต่างๆ เพราะธุรกิจบริการแต่ละประเภทอาจจะมีจังหวะในการบุกตลาดอาเซียนที่แตกต่างกันบางธุรกิจควรจะไปได้ตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่บางธุรกิจควรจะรอก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือธุรกิจควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ AECตั้งแต่วันนี้ เพราะ AEC ไม่ได้เริ่มต้นที่ปี 2015

ข้ออมูลจาก SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์)

 

เชิญประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ

พิมพ์ PDF

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทราบแนวทางการยกระดับเศรษฐกิจไทยภายใต้ AEC สนใจเข้าร่วมสัมมนาฟรี ติดต่อ คุณพิจิตราพรรณ พีรคำไส้ ที่โทรศัพท์ 02-3197677 ต่อ 153 mobile 085-1681166

 

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

พิมพ์ PDF

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
มกราคม - มิถุนายน 2555

การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ

แต่การรอให้เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาส แม้แต่สหภาพยุโรปที่มีพรมแดนติดกันและมีรูปแบบองค์กรเหนือรัฐยังใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิกทำได้เสมือนเพียงการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่และไม่ต้องมีพิธีการศุลกากรระหว่างกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การรอจนกว่า AEC สมบูรณ์คงจะช้าเกินไป และความคืบหน้าในปัจจุบันได้เปิดโอกาสมากพอให้ธุรกิจใช้ประโยชน์และขยายตัวไปในอาเซียนอยู่แล้ว เช่น การใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% และข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพที่ตกลงกันไปแล้ว การเปิดเพดานการถือหุ้นในธุรกิจบริการที่แม้จะยังไม่ถึง 70% แต่ก็นับเป็นโอกาสการลงทุนในตลาดที่น่าสนใจได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจจากนี้ถึงปี 2015 จะมีทั้งโอกาสของธุรกิจทางด้านเกษตรที่มาจากทั้งความต้องการที่สูงขึ้นและศักยภาพในการเติบโตของรูปแบบเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น contract farming โอกาสจากการเปิดเสรีเพิ่มเติมของกลุ่มประเทศCLMV ที่จะเพิ่มความสำคัญด้านการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการที่อยู่ระหว่างการทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากภาคบริการจะมีความเสี่ยงในการเผชิญการเปิดเสรีมากขึ้นในเวลาอันสั้นแล้ว การเปิดเสรีในภาคดังกล่าวจะมาพร้อมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น สังเกตได้จากสัดส่วนของเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศในภาคบริการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP กว่า 72% และยังมีการลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยคาดว่าจะมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 56%, 50%, 45% และ 44% ภายในปี 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคบริการสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หลากหลายตามปัจจัยที่เกิดขึ้น บางภาคควรจะรุกขยายธุรกิจไปในต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการตลาดในขณะที่ภาคบริการบางประเภทสามารถเติบโตจากตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มเติมจากการเข้าสู่ AEC และบางประเภทอาจจะต้องเตรียมรับมือจากทั้งโอกาสและการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น

ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนจะมีโอกาสมากขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่มmiddle income ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่า AEC จะเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น แต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบภายในประเทศที่อาจจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอีกธุรกิจเด่นที่ไทยมีข้อได้เปรียบและจะมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และทันตกรรม ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบันอีกทั้ง AEC ยังช่วยเอื้ออำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้

ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ต้องใช้โอกาสจาก AEC มองหาลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อการบริการแบบครบวงจร ผู้ประกอบการมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐเพื่อลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าตามเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ AEC อีกทั้งควรสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์อื่นๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ธุรกิจมีความหลากหลายในด้านรูปแบบการขนส่ง ช่วยให้การขนส่งมีความต่อเนื่องจากต้นทางสู่ปลายทาง รวมทั้งนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูงและเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น

ธุรกิจบริการของไทยควรจะเริ่มสร้างอาวุธของตนเองและมองหาจังหวะที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำหรับการแข่งขันด้านการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจบริการของประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่กำลังขยายตัวแซงหน้าการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาทั้งด้านศักยภาพตลาด กฎเกณฑ์จากข้อตกลง กฎเกณฑ์ภายในประเทศต่างๆ เพราะธุรกิจบริการแต่ละประเภทอาจจะมีจังหวะในการบุกตลาดอาเซียนที่แตกต่างกันบางธุรกิจควรจะไปได้ตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่บางธุรกิจควรจะรอก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือธุรกิจควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ AECตั้งแต่วันนี้ เพราะ AEC ไม่ได้เริ่มต้นที่ปี 2015

ข้ออมูลจาก SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์)

 

มิจฉาชีพในยุโรป

พิมพ์ PDF

ปีนี้ผมก็ไปประชุมคณะกรรมการจัดการประชุม PMAC ที่เจนีวาอย่างเคย โดยออกเดินทางคืนวันที่ ๑๖ พ.ค. ๕๕ จากสุวรรณภูมิ ไปเปลี่ยนเครื่องบินที่ แฟรงค์เฟิร์ต   ปีนี้เดินทางโดยสายการบิน ลุฟฮันซ่า เพราะเป็นสายการบินที่มีเที่ยวบินโดยตรงจากยุโรปไปฮุสตัน รัฐเท็กซัส   ผมมีกำหนดเดินทางต่อไปฮุสตันในวันที่ ๑๙ พ.ค.

ผมจะไปถึงโรงแรมเกือบเที่ยง ตอนบ่ายมีเวลา จึงวางแผนใช้เวลาครึ่งวันไปเที่ยวไว้ล่วงหน้า    ผมถามคุณหมอสมศักดิ์ว่า Museum of Modern and Contemporary Arts ดีไหม   คุณหมอสมศักดิ์แนะนำ CERN กับ Carouge   ผมเลือก CERN เพราะเคยไปเที่ยวเมืองเก่า Carouge กับสาวน้อยเมื่อหลายปีมาแล้ว

วันที่ ๑๗ พ.ค. ๕๕ ผมเช็คอินเข้าโรงแรม ออตวยล์ หลัง ๑๑ น. เล็กน้อย  ได้ห้อง ๓๐๔   หลังจากอาบน้ำตอบ อีเมล์ และกินอาหารซองยี่ห้อซองเดอร์ ที่คุณฟ้าให้ตอนไปงานมอบรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผมลงไปถามพนักงานต้อนรับของโรงแรมได้คำแนะนำวิธีไปเที่ยวที่ CERN ว่าให้เดินไปขึ้นรถรางสาย ๑๔ ที่ป้ายบอกว่าไป CERN ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที   ได้นั่งรถรางออกไปนอกเมืองวิวสวยมาก   เป็นการใช้บริการฟรี เพราะเดี๋ยวนี้ใครไปพักโรงแรมที่เจนีวา ทางโรงแรมจะมีบัตรให้ใช้บริการขนส่งโดยสารของเจนีวาฟรี   หรือจริงๆ แล้วค่าห้องรวมค่าโดยสารไว้แล้ว จะใช้หรือไม่ใช้เราก็จ่ายไปแล้ว   ระบบนี้สะดวกดีมาก ดีต่อทุกฝ่าย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจแก่เมือง   แต่ผมคิดว่าเขาน่าจะลงทุนอีกนิดให้เป็นบัตรอีเล็กทรอนิกส์ ใส่ข้อมูลของเราจากโรงแรม   ไปขึ้นยานพาหนะที่ไหนเมื่อไรต้องเสียบบัตร   เมืองเจนีวาก็จะได้ข้อมูลของนักท่องเที่ยวเอาไว้ใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองได้อีกมาก

ลงที่สถานี CERN ไม่เห็นอาคารที่ดูโอ่อ่าสมกับเป็นLHC ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (แต่อยู่ใต้ดิน)  และที่สถานีก็ไม่มีคน มีเด็กวัยรุ่นนั่งสูบบุหรี่อยู่คนเดียว ผมจึงเข้าไปถามว่า CERN อยู่ที่ไหน   เขาชี้ไปที่ตึกเตี้ยๆ ธรรมดาๆ ข้างป้ายจอดรถราง   ผมเข้าไปที่ประตูด้วยความหวังว่ามันจะเปิดให้ผมเข้าไป   แต่มันก็ไม่เปิด อ่านป้ายกระกาษขาวที่แปะไว้ที่ประตูจึงรู้ว่าวันนี้ปิด   เขาให้เหตุผลว่าปิดเพื่อเตรียม ascension ไม่ทราบว่าหมายความว่าอย่างไร   ถือว่าโชคไม่ดี ผมกะว่าปีหน้าจะหาโอกาสไปเที่ยวใหม่

ผมขึ้นรถรางกลับ และเดินจากสถานีรถไฟกลับโรงแรม ระหว่างทางมีคนดำเดินแฉลบมาข้างหลัง ผมรู้สึกเหมือนมีอะไรวาบมาโดนเสื้อนอก   ผมหันไปดูเห็นชายหนุ่มคนดำยืนทำท่ากินอะไรอยู่   ก็ไม่ได้คิดอะไร   เดินต่อไปก็มีชายหนุ่มคนดำอีกคนหนึ่งเดินมาบอกว่ามีคนเอาอะไรทำให้หลังเสื้อเปื้อน   เขาชวนให้ผมถอดเสื้อออกดู   ผมรู้ทันทีว่านี่คือการสร้างสถานการณ์ให้ผมเป็นเหยื่อของการชิงกระเป๋าสะพาย   ผมจึงรีบเดินหนีและบอกว่าไม่เป็นไร   ที่จริงในกระเป๋าสะพายมี iPad อยู่ตัวเดียว    แต่ถ้าโดนชิงไปผมก็แย่ เพราะข้อมูลนัดต่างๆ อยู่ในนั้นทั้งหมด

เจนีวาเป็นดินแดนของคนเดินทาง มิจฉาชีพเยอะ ปีที่แล้วทีมไทยที่มา World Health Assembly ก็โดนล้วงกระเป๋าไปหมดตัว   ผมบอกตัวเองว่า ต่อไปนี้ต้องระวังตัว อย่าคิดว่าท่าทางไม่น่าเป็นที่สนใจของมิจฉาชีพ

ตอนเย็นผมเล่าให้หมอสุวิทย์ฟัง ท่านบอกว่ามิจฉาชีพกลุ่มนี้จะเลือกโจมตีคนที่เดินคนเดียว    และจากกลุ่มอีเมล์ของทีมไทยที่มาประชุมสมัชชาอนามัยโลก มีคนบอกว่าตอนเย็นวันที่ ๑๘ กำลังถ่ายรูปวิวด้วย iPhone ก็มีคนขี่จักรยานมาโฉบเอาไป

คนไทยที่มาเจนีวาบ่อยๆ โดนพิษมิจฉาชีพกันทั่วหน้า   หมอวิโรจน์ผู้จิตใจดีลงรถเมล์ เห็นแม่ลูกแฝดลงรถก็เข้าไปช่วยยกรถเข็นแฝด   โดยวางกระเป๋าไว้บนทางเท้า   ช่วยยกรถเข็นเสร็จหันมาที่กระเป๋าของตนเอง มีคนยกไปแล้ว

วิธีการต้มตุ๋นที่โลดโผนสมกับความฉลาดของคนโดนต้มคือ นพ. สุวิทย์    ลงจากเครื่องบินเข้าเมืองโดยรถไป และลากกระเป๋าไปโรงแรมกลางเมืองแต่เป็นตอนเช้าไม่มีคน   ก็มีคนมาเรียกแต่พูดกันไม่รู้เรื่อง   ทำท่าถ่ายรูป  ทันใดนั้นก็มี “ตำรวจ” ขี่รถมอเตอร์ไซคล์คันโตปราดมาจอด ถามว่ายูทำอะไรกัน   สงสัยจะกำลังทำธุรกิจผิดกฎหมาย    เขาหันไปทางชายคนแรก ว่าไหนขอดูกระเป๋าเงิน   ชายคนแรกก็ส่งให้ เขาพลิกๆ ดูก็ส่งคืน   หันมาทางหมอสุวิทย์ ขอดูกระเป๋าเงิน หมอสุวิทย์ส่งให้ เขารับไปและชี้ไปที่กระเป๋าเอกสารถามว่าในนั้นมีอะไร   หมอสุวิทย์ละสายตาไปดูกระเป๋าและตอบ    ในที่สุดเขาก็คืนกระเป๋าเงินและแนะนำให้ระวังตัว เพราะเจนีวามีมิจฉาชีพมาก    หมอสุวิทย์มารู้ตัวเมื่อใช้เงิน พบว่ามีเพียง ๓๐๐ ฟรังก์ ทั้งๆ ที่เตรียมมา ๑,๓๐๐ จึงรู้ว่าโดนมิจฉาชีพแบ่งเอาไปใช้ ๑,๐๐๐   คนฟังทุกคนบอกว่า มิจฉาชีพคนนี้มีน้ำใจ ไม่เอาไปทั้งหมด

ทั้งหมอวิโรจน์และหมอสุวิทย์ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ   เขามีรูปวายร้ายให้ดู และสองคนของหมอสุวิทย์ก็อยู่ในนั้น   ตำรวจบอกว่าในคุกมีคนเต็ม ไม่สามารถจับยัดเข้าไปได้อีก    ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวต้องรู้จักระมัดระวังตัวเอง    และต้องศึกษาเล่ห์กลของมิจฉาชีพ

ทีมไทยสิบกว่าคน (หมอสุวิทย์, คณบดี นพ. ภิเศก , คณบดี นสพ.พรเทพ รัตนากร, คณบดี นพ. ประตาป สิงหศิวานนท์, ดร. ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา, นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, นพ. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข,ดร. วลัยพร พัชรนฤมล, นพ. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ศ. พญ. มณี รัตนไชยานนท์, นพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร) นัดกันเดินไปกินอาหารที่ร้านจีนชื่อ โบกี้ (Boky) อยู่บนถนนแอลปส์ ใกล้สถานีรถไฟนิดเดียว   เดินมาจากโรงแรมออตวยล์ไม่ถึง ๑๐ นาที   เรากิน ฟองดู ชินัว  ซึ่งก็คือสุกี้บ้านเรานั่นเอง    รสชาติดี

ก่อนนอนผมกิน Lorazepam 0.5 mg ที่สาวน้อยให้มาหนึ่งเม็ด นอนหลับสบายตั้งแต่สี่ทุ่ม ไปจนตื่นเอง เวลาตีห้าครึ่ง

เช้าวันที่ ๑๘ พ.ค. ผมออกไปวิ่งที่ริมทะเลสาบ ได้ดื่มด่ำธรรมชาติยามเช้ามืด ที่บริเวณที่พักผ่อนที่ยื่นเข้าไปในทะเลสาบ   จำได้ว่าหลายปีมาแล้วผมไปช่วงเที่ยงๆ ในวันหยุด คนแน่นมาก    เช้านี้ผมครองครองคนเดียว ร่วมกับหงส์ เป็ด และนกน้ำ   ได้รูปวิวและธรรมชาติสวยๆ มากมาย

ทีมไทยนัดขึ้นรถเมล์ไปพร้อมกันเวลา ๘.๑๕ น.   ปรากฎว่าฝนตก หลายคนยืมร่มโรงแรมโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าไม่เอาไปคืนต้องจ่าย ๕๐ ฟรังก์    การประชุมเดินไปราบรื่นมาก   ผมต้องเป็นประธานเอง เพราะประธานร่วมไม่ยอมทำหน้าที่อย่างปีที่แล้ว   ทุกอย่างดำเนินไปตามเวลาที่กำหนด   และได้รับข้อคิดเห็นจากกรรมการอย่างดียิ่ง    คุณภาพของการประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลขึ้นกับคนจำนวนมากมาย จากหลากหลายองค์กรเจ้าภาพร่วม

ตอนเย็นผมเดินไป Jardin Botanique หรือ Botanical Gardens บนถนนโลซาน ตรงข้ามกับ WTO   บริเวณกว้างขวางมาก มีการจัดแสดงต้นไม้มากมาย    ส่วนที่ผมโผล่เข้าไปเป็นการจัดแสดงไม้ดอกจากทั่วโลก จัดเป็นกลุ่มๆ   ผมระวังตัวแจ เพราะมีคนดำจูงจักรยานเข้ามาป้วนเปี้ยนใกล้ๆ   แถมยังพยักเพยิดให้ผมไปดูทางที่เปลี่ยวอีกด้วย   ผมต้องพยายามไม่เดินห่างกลุ่มคน โดยที่ตอนนั้นเย็นถึง ๘ โมงเย็นแล้ว จึงมีคนมาชมน้อย และบู๊ธให้บริการข้อมูลก็ปิดแล้ว   ผมเดาว่าคงจะเดินชมและถ่ายรูปได้เพียงบริเวณนิดเดียวของสวนพฤกษศาสตร์นี้   ได้รูปสวยๆ มากมาย และดื่มด่ำธรรมชาติจนเมื่อย ก็นั่งรถรางสาย ๑ กลับโรงแรม

ผมบอกทีมไทยไว้ว่าผมไม่ไปกินอาหารเย็นกับคณะ จะใช้เวลาเตรียมจัดกระเป๋าและเตรียมตัวเดินทางตอนเช้ามืด   และเข้านอนเวลา ๒๑.๓๐ น. โดยกินลอราซีแพม ๑ เม็ด   บอกโรงแรมให้ปลุก ๔.๒๐ น.   และตั้ง iPhone ปลุก ๔.๒๐ น.   แต่ผมตื่นเองเวลา ๔.๐๐ น.

พนักงานโรงแรมบอกว่ารถไฟไปสนามบินเที่ยวแรก ๕.๑๗ น.   ใช้เวลา ๘ นาที    แต่เวลาเครื่องบินออก ๗ น. ผมไปแท้กซี่ดีกว่า    ผมก็เชื่อตามนั้น   และเช้าวันที่ ๑๙ แท้กซี่มารอก่อนเวลานัด (๔.๔๕ น.) ๑๕ นาที  ผมจึงเดินทางไปสนามบินตั้งแต่เช้ามาก   เวลา ๕.๑๐ น. ผมก็ผ่านการตรวจรักษาความปลอดภัย ไปนั่งรอที่เก้าอี้นั่งและพิมพ์บันทึกอยู่นี่แหละ    ยังไม่รู้ว่าเครื่องออกประตูไหน เขาจะบอกเวลา ๕.๓๐ น.   พอเวลา ๕.๓๐ น. ก็รู้ว่าเครื่องออกที่ประตู A5   เป็นเที่ยวบินของสายการบินหลายสายร่วมกัน   แต่หมายเลขเที่ยวบินไม่ตรงกับในบัตรขึ้นเครื่องของผม  ขณะที่กำลังพิมพ์บันทึกอยู่นี้ เป็นเวลา ๖.๑๐ น.  ผมเป็นคนเดียวที่บริเวณ Gate A5 เรื่องหมายเลขเที่ยวบินนี้เจ้าหน้าที่เขาไม่สนใจ   เครื่องบินออกตรงเวลา

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ค. ๕๕

Gate A5, สนามบินเจนีวา

 

 


หน้า 549 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8738489

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า