Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

เชิญสมัครเป็นสมาชิกศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

เชิญสมัครเป็นสมาชิกศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

เมื่อวานนี้ 11:58

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ องค์กรของประชาชนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้กับคนไทยทุกระดับ กำลังรับสมัครสมาชิกที่เป็นคนไทยในทุกภาคส่วน และทุกระดับ เพื่อเป็นส่วนร่วมทั้งเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ ในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งโดยยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้สนใจแจ้งความจำนงในการมีส่วนร่วมโดยการลงทะเบียนได้ในเวปไซด์นี้ หรือส่ง e-mail ไปที่ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 13 กันยายน 2011 เวลา 18:19 น.
 

กฎ 11 ข้อของการสัมภาษณ์สมัครงานที่ผิดพลาดและสำเร็จชอง ดร.จีระ

พิมพ์ PDF

กฎ 11 ข้อของการสัมภาษณ์สมัครงานที่ผิดพลาดและสำเร็จของ ดร.จีระ

1.               คาดหวังสูงเกินไป เช่น อยากทำงานบริษัทใหญ่ๆ แต่คุณสมบัติไม่ถึง

2.               หาข้อมูลไม่ใช่เฉพาะในประกาศหางานไม่พอ ต้องปรึกษาผู้รู้มากขึ้น ก่อนจะส่งไปสมัคร มองให้รอบด้าน เช่น มีคนทำงานที่นี่

3.               เวลาลูกศิษย์ดูให้ดีอย่าให้ฝ่ายบุคคลเป็นคนสัมภาษณ์ เพราะฝ่ายนี้จะแคบ จะมองอะไรนอกกรอบ ไม่ดีนัก

4.               อย่ารีบร้อนพูด โดยเฉพาะไม่พูดไม่รับที่ตัวเองรู้ไม่จริง ถ้าประเด็นที่ถกเถียงกันต้องให้เวลา อย่าสรุปเร็ว

5.               ควบคุมอารมณ์ (Emotional) Intelligence ให้ดี ถ้าถูกตั้งคำถามแบบท้าทายต้องนิ่งและโต้ตอบอย่างฉลาด

6.               สอบข้อเขียนกับสอบสัมภาษณ์คนละเรื่อง ต้องเข้าใจความแตกต่าง เพราะสัมภาษณ์มีหลายรูปแบบและกว้าง จะช่วยความรู้ลึกๆ ได้มาก

7.               การแต่งตัว สุภาพ ไว้ก่อน ติดกระดุมให้ครบ เสื้อผ้าสะอาด นั่งให้เรียบร้อย พูดให้ฉะฉาน

8.               ศึกษาประวัติและวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทมาอย่างดี

9.               อย่าตื่นเต้นจนเกินไป

10.         บางครั้งอาจจะถามกลับในจังหวะที่พอดีแต่ไม่ใช่ท้าทาย

11.         ยกตัวอย่างดีๆ เช่น อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ของ ดร.จีระ มาแล้ว เป็นต้น

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ถีง คนทำงาน HR ในประเทศไทย

พิมพ์ PDF

จีระ หงส์ลดถึงคนทำงาน HR ในประเทศไทย

1.               ถ้ารุ่นใหม่ ๆ อายุ 25 – 35 คงไม่ค่อยรู้จักผม เพราะทำงานมานาน

2.               แต่ถ้าจะศึกษาดูบ้างว่า อาจารย์จีระคิดและทำอะไรมาบ้าง..ก็ไม่เลว

3.               ปริญญาตรี ผมไม่ค่อยได้สอน แต่สอนระดับโท / เอก มีโอกาสบ่อยมาก

4.               บางท่านเรียน HR มาจากมหาวิทยาลัย ต้องรู้ว่า ส่วนมากมาจากตำราที่โบราณและเน้นตะวันตก อย่างมากก็แปลมาและทำงานไม่เป็น

5.               กฎข้อแรกของการทำงานด้าน HR คือ มองคนเป็นปรัชญาว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดในองค์กรของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

6.               ของนายจีระ คือ HRDS

  •  
    • Happiness
    • Respect
    • Dignity
    • Sustainability

   

 

ระดับ Macro คือ

1 การศึกษา

2 สุขภาพอนามัย ซึ่งต้องมีรัฐบาลทั้งระดับกลางและระดับท้องถิ่นดูแล

-          ปัญหาท้องถิ่นดูแล

-          ปัญหาก็คือ ประเทศไทยเคยชินกับทรัพยากรธรรมชาติ

เลยสนใจผลิต HR หรือ ทุนมนุษย์ในระดับ Macro ได้ ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ ประเทศที่สนใจทุนมนุษย์เพราะไม่มีทรัพยากรอย่างอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ จะเน้นคุณภาพของคน แต่ HR คือการปลูกและการบริหาร (เก็บเกี่ยว) คนในองค์กร

-          ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่

-          เรียกว่า ระดับ Micro ราชการ รัฐวิสาหกิจ, เล็ก กลาง, ใหญ่ ซึ่งจะเป็นเรื่องสำคัญมากในปัจจุบัน

-          ปัญหาต่อมาก็คือ คนจบมาคิดไม่เป็น แค่ มีปริญญาแต่ไม่ปัญญา

  ระดับองค์กร

1 ผู้นำไม่สนใจ

2  HR ไม่เก่ง ส่วนมาก ทำงานประจำ

-          เน้น การสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่ทุนมนุษย์ในองค์กร จึงเป็นปัญหาปัจจุบัน (ติดตามต่อ)

จีระ หงส์ลดารมภ์

 

แนะนำหนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ PDF

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มีโอกาสได้พบและฟังท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ท่านเล่าเรื่องประสบการณ์การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท ทำให้ผมซาบซึ้งที่เกิดมาเป็นคนไทย ผมได้ถ่ายวีดีโอ บันทึกข้อมูลที่ท่านสุเมธ เล่าให้พวกเรา (คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นำทีมโดยท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) เพื่อเตรียมถอดคำเล่าของท่านเผยแพร่ให้คนไทยได้รับทราบและได้เรียนรู้จากการทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ก่อนลากลับท่านสุเมธ ได้มอบหนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประสบการณ์การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท จัดทำโดย สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือน สิงหาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐๐๐ เล่ม หนังสือเล่มนี้มี ๑๔๕ หน้า เต็มไปด้วยความรู้มากมาย ผมเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง อยากให้คนไทยทุกคนได้อ่านและเก็บไว้เป็นสมบัติล้ำค่าเพื่อมอบให้เป็นมรดกของลูกหลานต่อไป

เนื่องจากจำนวนพิมพ์แค่ ๒๐๐๐ เล่ม คนไทยเป็นจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ ผมจึงอาสาที่จะพิมพ์ ข้อความที่ได้แบ่งไว้เป็นบทต่างๆ ทั้งเล่มนำออกเผยแพร่ในสื่อต่างๆที่ผมสามารถเผยแพร่ได้ เพื่อให้คนไทยได้รับทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงงานมากมายเพื่อพัฒนาประเทศชาติ คนไทยจะได้นำความรู้จากการทรงงานของพระองค์ตามคำบอกเล่าของ ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ไปช่วยกันแบ่งเบาภาระของพระเจ้าอยู่หัวพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน

ขอขอบพระคุณ ท่าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้น

คำนิยม โดย พล.เอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ สิงหาคม ๒๕๕๔

หากจะกล่าวหรือบรรยายถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อชาติบ้านเมืองของเราแล้ว คงต้องรวบรวมและพิมพ์เป็นหนังสือเล่มหนามาก เนื่องจากมีมากมายเหลือคณานับ

จึงเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง ที่สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์" ได้จัดทำหนังสือ "การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งเป็นการรวบรวมประสบการณ์การถวายงานและตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงงานพัฒนาประเทศและช่วยเหลือพสกนิกรทั่วประเทศของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมายาวนานกว่า ๔๐ ปี และได้เกิดการเรียนรู้จนสามารถนำมารวบรวมและประมวลขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ อันจะเป็นองค์ความรู้ที่ช่วยให้ประชาชนได้ทราบถึงการทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมาประยุกต์ใช้ในชีวิตและการปฏิบัติงานในระดับต่างๆ และเกิดความซาบซื้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้ ในการพัฒนาประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้น

หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง ที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงงานอย่างหนักและเหนื่อยยาก เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์ยาก โดยไม่ทรงเลือกว่าเขาเหล่านั้นเป็นใคร สมดังพระราชปณิธานที่พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการความว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ คณะที่ปรึกษาเยาวชนและเยาวชนดีเด่น ณ.ศาลาผกาภิรมย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓

" ....คำว่า "พัฒนา" ก็หมายถึงทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า

การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมั่นคงมีความเจริญ

ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับ ตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข ฉะนั้น จึงเข้าใจได้ว่า การพัฒนาทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ และความพอใจของแต่ละบุคคลในประเทศ...."

 "พระองค์ทรงรับสั่งว่า การแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นงานยาก การเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา เหมือนกับการเข้าสงครามแต่เป็นการทำสงครามที่ไม่ใช้อาวุธ เป็นการต่อสู้กับปัญหาเพื่อนำไปสู่ชัยชนะ โดยใช้กระบวนการพัฒนานำไปสู่ความสำเร็จ จึงเป็นที่มาของชื่อ "มูลนิธิชัยพัฒนา" ...

...เพราะพระองค์ทรงรักแผ่นดิน ทรงรักประชาชน จึงทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างให้แผ่นดิน ให้ประชาชนมีความสุข"

หมายเหตุ: สัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล โดยคณะผู้บริหาร สศช และทีมงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเผยแพร่ในหนังสือ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขปวงประชา

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นผู้ที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท โดยเมื่อครั้งปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) ได้รับผิดชอบเรื่องการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  (กปร) ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งสำนักงาน กปร ท่านได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯคนแรกและในปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

ท่านได้กรุณาให้ผู้บริหารและทีมงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติเข้าพบเพื่อเรียนสัมภาษณ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ.สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา

แรกเริ่มเดิมทีผมรับราชการอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เรียกสั้นๆว่า สภาพัฒน์ ในตำแหน่งหัวหน้ากองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ และปฏิบัติภารกิจในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง ในเขตกองทัพภาคที่ ๑-๔ จึงทำให้ผมได้มีโอกาสสัมผัสงานในพื้นที่ในเขตกองทัพภาคต่างๆ โดยทำหน้าที่เป็นเลขาของแม่ทัพภาคต่างๆ และแม่ทัพท่านหนึ่งที่ผมเคยไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาอยู่นั้นคือ  ฯพณฯพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลโท ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒

ก่อนหน้าปี ๒๕๒๔ นั้น ไม่มีองค์กรใดๆที่จะเป็นหน่วยงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชดำริ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรับสนองพระราชดำริ จนบางครั้งเกิดความซ้ำซ้อน หรืออาจจะไม่มีพระราชดำริก็ไปอ้างว่ามีพระราชดำริ ในชั่วงนั้น จึงเกิดความสับสนพอสมควร

พลเอก เปรม ในฐานะที่ท่านเคยเป็นแม่ทัพซึ่งคุ้นเคยกับงานในพื้นที่รับรู้ และทราบว่ามีปัญหานี้อยู่ เมื่อท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงมีดำริที่จะจัดตั้งสำนักงานเพื่อถวายงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ท่านจึงมอบหมายให้ ดร.เสนาะ อูนากูล เลขาธิการสภาพัฒน์ในขณะนั้น ศึกษาและกำหนดว่าควรจะเป็นองค์กรรูปแบบใดและมีระบบงานอย่างไร

กปร องค์กรระดับชาติ กลไกเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ดร.เสนาะ ได้มอบหมายให้ผมศึกษา ด้วยสมมุติฐานง่ายว่า โครงการพระราชดำรินั้นส่วนมากอยู่ในเขตชนบทและแหล่งทุรกันดาร ซึ่งขณะนั้นผมรับผิดชอบงานพัฒนาชนบทอยู่ และบังเอิญอีกว่าผมมีประสบการณ์เรื่องการพัฒนาองค์กรความมั่นคง ผมจึงดำเนินการโดยยึดตามแนวระบบที่เคยดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรความมั่นคง คือออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการควบคุมดูแล โดยจะต้องมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานอันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ เนื่องจากงานโครงการพระราชดำริมีลักษณะเหมือนการพัฒนาความมั่นคงที่ต้องการความฉับไว รวดเร็ว รวมทั้งได้ถอดแบบระบบบริหารการเงินมาด้วย ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีใครใช้มาก่อนคือ งบลอย (Floating Fund) เป็นงบที่ตั้งไว้ก่อนเหมือนงบของการพัฒนาเพื่อความมั่นคง

เมื่ออาจารย์เสนาะนำไปให้ พลเอก เปรม พิจารณา ท่านบอกว่าดีแล้วและให้พิจารณาหาตัวบุคคลมารับงานนี้ อาจารย์เสนาะ จึงเสนอชื่อผมและเริ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นตาม "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ.๒๕๒๔" ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๔ กำหนดให้มีองค์กรระดับชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกว่า "คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"

เดิมเราคิดกันไว้ว่าจะใช้ชื่อคณะกรรมการโครงการตามพระราชดำริ ตามที่เราคุ้นเคยกัน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงและรับสั่งว่า ไม่ได้หรอก เป็นเผด็จการ พระเจ้าแผ่นดินจะมาสั่งอะไรต่อมิอะไรไม่ได้ หน้าที่เราคือต้องคิด  เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หน่วยงานราชการสามารถทำได้เต็มที่ ซึ่งทรงแสดงความเป็นประชาธิปไตย และทรงเน้นย้ำในระยะต่อมาหลายครั้งหลายหนว่า

"หน้าที่ของพระองค์ทรงเป็นที่ปรึกษา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ กระทรวง ทบวง กรม พระองค์ไม่ทรงมีอำนาจอะไรที่จะมาสั่งงาน ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเหลือประเทศชาติในฐานะที่ปรึกษา"

เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งองค์กรในระบบราชการมาก็ดีแล้ว ก็ลองพิจารณาเห็นด้วยก็ทำ ผลสุดท้ายชื่อจึงกลายมาเป็น "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" แล้วทรงมีรับสั่งว่าต่อไปนี้ให้ใช้ชื่อในลักษณะนี้อย่างเดียว จึงได้มีการจัดตั้ง"คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร) ขึ้นในปี ๒๕๒๔ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และผมเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่ดำเนินการควบคุม อำนวยการ กำกับ ดูแล ติดตามผลประสานการดำเนินงาน นอกจากนั้นเป็นหน่วยปฏิบัติทั้งหมด กรรมการได้แก่ ปลัดกระทรวงสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชดำริ โดยมีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานเลขานุการ กปร) สังกัดสภาพัฒน์ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ

ขณะนั้นผมทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการกองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ จึงมีหน้าที่หลากหลาย และหนึ่งในนั้นยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รับผิดชอบงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วย

หน้าที่ประการแรกของการเป็นเลขาธิการ กปร คือ ตามเสด็จฯ และเนื่องจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีหลากหลายรูปแบบมาก ทั้งที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชีพของประชาชน  ปัญหาสังคม และพื้นที่ดำเนินการก็กระจายทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯและประทับในภูมิภาคต่างๆ ภูมิภาคละ ๒ เดือน ๔ ภาคก็๘เดือน ระยะแรกๆไม่กล้าตามเสด็จฯเข้าไปใกล้ๆ เพราะไม่มีกฏชี้ให้เราเข้าใจก่อนว่าเราควรอยู่ตรงไหน อย่างไร จำได้ว่าตามเสด็จฯครั้งแรกที่อำเภอชะอำ แล้วก็จังหวัดนราธิวาส ผมอยู่ท้ายขบวน ห่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก พอพระองค์ทรงรับสั่งไปตามถุงเงินมา เนื่องจากผมดูแลงบประมาณ พระองค์จึงทรงตั้งชื่อว่า "ถุงเงิน" ทุกคนก็เลิกลั่ก เพราะไม่มีใครรู้จัก ตอนหลังจึงรู้ว่าคือผมเอง ตั้งแต่นั้นมาถึงได้รู้ว่าตัวเองควรอยู่ตรงไหน คือ ให้อยู่ใกล้ๆพระองค์ จดทุกสิ่งทุกอย่างที่มีพระราชกระแสว่าพระองค์มีพระราชดำริอะไรบ้าง ผมจึงมักบอกกับใครๆเสมอว่า การถวายงานต้องศึกษาและเรียนรู้เอง คอยสังเกตและซึมซับการปฏิบัติงานต่างๆ ไม่มีใครมาสอน และก็ไม่มีใครสามารถสอนด้วย

 

 

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว

พิมพ์ PDF

 

บทความด้านล่างนี้ถูกส่งมาจาก คุณพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และกรรมการสภาอุตสาหกรรม

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC

                        ธุรกิจ Hospitality1 เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ทำให้การท่องเที่ยวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ทั้งเพื่อการพักผ่อน คลายเครียด เรียนรู้ และเข้าสังคม ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว หรือกลุ่มธุรกิจ Hospitality เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และมีแนวโน้มเติบโตสูง
                          ปัจจุบันมีหลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ต่างพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ใหม่ๆ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายหลังจากการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558
                         อย่างไรก็ตาม ด้วยความโดดเด่นทางด้านความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว อัธยาศัยไมตรี ความคุ้มค่าเงิน ประกอบกับทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย และอีกหลายๆปัจจัย ทำให้คาดว่าธุรกิจ Hospitality ของไทยยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจสปา แพทย์แผนไทย ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-เชิงนิเวศน์-เชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

ปัจจัยแวดล้อมภายนอก นโยบายที่เกี่ยวข้องและกฎระเบียบต่างๆ การเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก ข้อตกลงทางการค้าและบริการ ฯลฯ

ปัจจัยสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค บริการขนส่ง(ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ) เทคโนโลยี ระบบการเงิน การตลาด การศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม ฯลฯ

ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว (Hospitality) *โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร บริการสุขภาพ/การแพทย์ MICE ธุรกิจนำเที่ยว สปา แพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยว ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC...การปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย

                        การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ที่มีเป้าหมายเพื่อให้อาเซียนรวมเป็นตลาดเดียวกันและมี ฐานการผลิตร่วมกัน โดยเปิดเสรีการค้า ภาคบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะระหว่างกัน รวมถึงมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี
                         ขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการท่องเที่ยว ได้แก่ บริการสุขภาพ และท่องเที่ยว(ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจร้านอาหาร) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมดและขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยต้อง เผชิญกับภาวะการแข่งขันที่คาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในระยะต่อไป อันเนื่องมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ Hospitality กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เพื่อรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่คาดว่าจะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในแถบอาเซียนเพิ่มขึ้น

                        สอดคล้องกับที่ องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) ได้คาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ. 2563 จะมีนักท่องเที่ยว ระหว่างประเทศเกือบ 1,600 ล้านคน โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิคมีแนวโน้มว่าจะเป็นปลายทางยอดนิยมมากขึ้น โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 25 ของตลาดการท่องเที่ยวทั่วโลก และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาถึง 400 ล้านคน ขณะที่กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งใหม่ โดยมีนักท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หรือประมาณ 130-140 ล้านคน

                        ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา โดยอาศัยจุดแข็งของไทย ทั้งด้านความหลากหลายทางธรรมชาติ มีมรดกทางวัฒนธรรม มีอุปนิสัยที่เป็นมิตร และรสชาติอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในการช่วยสร้างความแตกต่าง ให้กับภาคการท่องเที่ยวของไทย ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้ธุรกิจ Hospitality ของไทยสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในระยะยาว

 

กลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี...เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

นอกจากการวางแผนดำเนินธุรกิจในขั้นพื้นฐานแล้ว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังควรพัฒนากลยุทธ์การตลาด ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก เพื่อเสริม ศักยภาพของธุรกิจให้แข็งแกร่ง ท่ามกลางภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

กลยุทธ์เชิงรับ

การรักษาคุณภาพและระดับมาตรฐานในการให้บริการของธุรกิจให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และ กลับมาใช้บริการซ้ำอีกในอนาคต รวมทั้งเกิดการบอกต่อ ซึ่งเป็นอีกช่องทางการตลาดที่ทรงประสิทธิภาพสูง

รักษาตลาดลูกค้าเดิม ภายหลังจากการเปิดเสรี AEC คาดว่า การแข่งขันของธุรกิจจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การรักษา ลูกค้าเดิมไว้นับเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน เนื่องจากโอกาสที่ลูกค้าเก่าจะเพิ่มยอดซื้อในสินค้า/บริการ ย่อมดีกว่าการที่จะเสียต้นทุนในการค้นหาลูกค้ารายใหม่ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยควรพัฒนาบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อจูงใจลูกค้าให้ยังคงเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

  
เรียนรู้คู่แข่ง ผลจากการเปิดเสรี AEC อาจก่อให้เกิดคู่แข่งใหม่ๆจากในอาเซียน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งกำลัง หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โดยต่างเปิดตัวสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจะต้องศึกษาความเคลื่อนไหวของคู่แข่งอยู่ตลอดเวลาว่ามีการพัฒนาบริการด้านไหนบ้าง โดยไปทดลองใช้บริการ หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยกลับมาคิดและพัฒนาธุรกิจของตนเอง

 
สร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการไทย ปัจจุบันภาครัฐของไทยได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ให้มีการรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรทางการค้าร่วมกัน เพื่อลดการตัดราคาแข่งขันกันเอง รวมทั้งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

กลยุทธ์เชิงรุก

พัฒนากลยุทธ์สำหรับการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่ง ถ้าผู้ประกอบการต้องการที่จะประคับประคองธุรกิจท่ามกลางความผันแปรของตลาดท่องเที่ยวและปัจจัยรอบด้านต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ควรทำ คือ การขยายฐานลูกค้าให้กว้างขวาง และหลากหลายมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งนั่นหมายถึงการฉกฉวยลูกค้าของคู่แข่งขันในธุรกิจมาให้ได้ โดยนำเสนอบริการที่แตกต่างไปจากคู่แข่ง และสามารถดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหันมาลองใช้สินค้าและบริการของเราในที่สุด

 เร่งทำการตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงผันผวน ธุรกิจหลายแห่งหันมาตัดงบประมาณทางด้านการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ลง ซึ่งหากมองในด้านความเป็นจริงแล้ว ช่วงวิกฤติที่ผันผวนเช่นนี้ การตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะในช่วงที่ลูกค้ากำลังอยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การซื้อสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องพยายามจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการของตนให้ได้ โดยนำเสนอความคุ้มค่าแก่ลูกค้า ซึ่งคงเป็นการดีกว่าที่จะปล่อยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง

 มุ่งประชาสัมพันธ์เจาะกลุ่มตลาดลูกค้าใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมกับภาครัฐ ที่ให้การสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่สินค้าและบริการต่างๆของไทยในตลาดต่างประเทศ อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Hospitality เช่น สปา แพทย์แผนไทย และผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ ในกลุ่มประเทศเป้าหมาย อาทิ กลุ่มยุโรป อเมริกา เอเชีย และกลุ่มตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นานาประเทศได้รู้จักสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะกลุ่มตลาดเอเชียซึ่งถือเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ซึ่งคาดว่าภายหลังการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในปี 2558 อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้ฐานตลาดผู้บริโภคกว้างขึ้น อีกทั้งยังเอื้อต่อการขยายธุรกิจร่วมกัน รวมถึงมีการเดินทางระหว่างประเทศที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการเติบโตสำหรับธุรกิจ Hospitality ด้วยเช่นกัน

 นำเสนอบริการในเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Service) เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถชูจุดเด่นของบริการ เพื่อจูงใจกลุ่มผู้ใช้บริการที่ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งนับวันจะมีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ ธุรกิจโรงแรมที่พักที่มีการออกแบบตัวอาคารให้ลดการใช้พลังงาน มีการจัดการทรัพยากรภายในโรงแรมอย่างคุ้มค่า รวมทั้งให้ผู้เข้าพักมีส่วนในการเป็นส่วนหนึ่งในการลด การใช้ทรัพยากร เช่น การให้ผู้เข้าพักเลือกที่จะเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือผ้าเช็ดตัวทุกวันหรือไม่? การใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำแทนขวดพลาสติกภายในโรงแรม และการให้ผู้เข้าพักปิดแอร์และไฟฟ้าในห้องพัก ขณะที่ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกทุกครั้ง เป็นต้น ธุรกิจบริการรับส่งนักท่องเที่ยว อาจใช้พาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ และปล่อยมลภาวะต่ำ หรือจัดกิจกรรมเที่ยวชมธรรมชาติ ที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับการเดินทางโดยใช้สัตว์ในท้องถิ่นเป็นพาหนะ ธุรกิจจำหน่ายของที่ระลึก ส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ/ของเหลือใช้ในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

SWOT Analysis ของธุรกิจ Hospitality ของไทย จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของธุรกิจ Hospitality ของไทย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในเบื้องต้น ดังนี้

Strengths

 ความหลากหลายของสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยว (Verities) ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเล ภูเขา น้ำตก หรือแม้แต่ศิลป วัฒนธรรม โบราณสถานของไทย รวมถึงแหล่งช้อปปิ้ง และบริการด้านสถานบันเทิงต่างๆ

 
ความคุ้มค่ากับราคาที่จ่าย (Value for money) จากพื้นฐานค่าครองชีพภายในประเทศที่ไม่สูงนัก ทำให้ราคาสินค้าและบริการ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่นักท่องเที่ยว

 การบริการที่เป็นมิตรของคนไทย (Hospitality) การต้อนรับและให้บริการอย่างมีอัธยาศัย นับเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรู้สึกประทับใจ และเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยซ้ำอีก

ระบบการสื่อสาร โทรคมนาคม สาธารณูปโภค(Infrastructure) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ประเทศไทยถือว่ามีความพร้อมและเหมาะสมมากกว่า

Weaknesses


 บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่จำกัด ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาสำคัญในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ

 การควบคุมคุณภาพของบุคลากรในภาคบริการอาจยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มาตรฐานในการให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละรายอาจไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงการให้บริการในภาพรวมของไทย

 
การบริหารจัดการของภาคธุรกิจบางราย ยังไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเท่าที่ควร

 
ผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยวของไทยส่วนใหญ่ ดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงอาจเสียเปรียบธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีเงินทุน และเครือข่ายที่แข็งแกร่งกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญในการขยายเครือข่ายบริการร่วมกัน

 
ระบบการโครงข่ายการขนส่งภายในประเทศ ยังขาดการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ

 

Opportunities


 
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่มุ่งแสวงหาความแปลกใหม่ แตกต่าง มีเอกลักษณ์ ซึ่งเปลี่ยนไปจากในอดีตที่มักเลือกใช้บริการจากธุรกิจที่มีชื่อเสียง หรือยึดติดในแบรนด์ จึงเป็นผลดีต่อการก้าวเข้าสู่ธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ และมีไอเดียที่ตอบสนองกลุ่มนักท่องเที่ยวยุคใหม่ได้

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสื่อออนไลน์
ทั้งการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระแสความนิยมโซเซียลเน็กเวิร์ก ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง อีกทั้งยังเป็นช่องทางการตลาดที่มีต้นทุนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางอื่น และยังช่วยเอื้อต่อการสื่อสารระหว่างกันโดยตรงของผู้ประกอบการธุรกิจและกลุ่มลูกค้า

 การเปิดเสรี AEC เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะขยายความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อสร้าง เครือข่ายการให้บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น อาทิ การเชื่อมโยงเครือข่ายบริการท่องเที่ยวภายในภูมิภาค ฯลฯ

ภาครัฐมีการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจ Hospitality มีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก

Threats


 
ปัญหาทางด้านการเมืองในประเทศ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยต้องชะลอตัวในบางช่วงเวลา

 
การแข่งขันกันตัดราคาของภาคธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดลูกค้า ทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของไทยอยู่ในสถานะแหล่งท่องเที่ยวราคาถูก ซึ่งเป็นการยากต่อการปรับเพิ่มราคาขึ้นในอนาคต

 ความผันผวนของปัจจัยในตลาดโลก อาทิ สภาวะเศรษฐกิจ สังคม และความเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อความผันแปรของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

 
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน นับเป็นปัจจัยที่คาดคะเนได้ยาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจมีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว

 การพัฒนาธุรกิจบริการท่องเที่ยวของประเทศคู่แข่งดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

โดยสรุป การเปิดตลาด AEC ส่งผลให้ภาคบริการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการคาดการณ์ขององค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ที่ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจะกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก (มีสัดส่วนตลาดเป็น 1 ใน 4 ของตลาดท่องเที่ยวทั่วโลก) จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจบริการจากต่างชาติ มุ่งขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาจำนวนมากนั้น อีกทั้งประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รวมถึงปรับปรุงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

     ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย ควรเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยแสวงหาจุดยืนที่แตกต่าง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างการให้บริการที่รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองได้ รวมถึงรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หากแต่จะเลือกสรรบริการที่มีเอกลักษณ์ สร้างความ
ประทับใจ ด้วยระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงชอบที่จะทดลองในสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการที่จะขยายส่วนแบ่งในตลาดบริการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนอาจก้าวเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในระยะต่อไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
1 ธุรกิจ Hospitality หมายถึง ธุรกิจที่มีการให้บริการ ซึ่งจากเดิมที่การให้บริการเป็นการส่งมอบบริการที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงไว้และเป็นอันเสร็จสิ้น (Service) แต่ปัจจุบันการให้บริการ ขยายความไปถึงการส่งมอบ บริการด้วยการต้อนรับอย่างมีมิตรไมตรี ที่สร้างความสุข ความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างเอื้อเฟื้อ และมีคุณธรรม (Hospitality) โดยจะหมายรวมถึงธุรกิจที่ เน้นการให้บริการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว การบริการด้านสุขภาพ ร้านอาหารและภัตตาคาร เป็นต้น


แหล่งที่มาของข้อมูล
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
- กรมการท่องเที่ยว
- องค์การการท่องเที่ยวโลก World Tourism Organization : (UNWTO)

 

 


หน้า 544 จาก 561
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5642
Content : 3067
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8738802

facebook

Twitter


ล่าสุด

บทความเก่า