Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

บทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พิมพ์ PDF

 

 

ขอนำบทความ ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาเผยแพร่ให้ท่านได้อ่าน

วันที่ 9 มิ.ย.2555 เป็นวันสำคัญของคนไทยและลูกแม่รำเพยทุกคน

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงพระราชอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) ในวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2555

คนไทยทุกคนคงจะปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง และลูกแม่รำเพยคงจะปลื้มเป็นพิเศษ เพราะเป็นวันที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง จะจัดพิธีถวายพวงมาลาในทุกๆปีเป็นประจำ

โรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่ง มีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 8 ทุกโรงเรียน พวกเราชาวลูกแม่รำเพยภูมิใจอย่างสูงสุดที่พระองค์ทรงเป็นศิษย์เก่า ที่มีชื่อเสียงก้องประเทศไทย

การเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อนขึ้นอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้นและคาดไม่ถึง มีคำถามหลายๆคำถามว่า

คุณทักษิณเป็นรัฐบาลแล้วทำไมถึงต้องใช้ม๊อบมาช่วยรัฐบาล ในเมื่อรัฐบาลมีอำนาจ มีกฎหมายทั้งทหาร ตำรวจ อัยการ (โดยเฉพาะ) อยู่ในมือพร้อม

ทำไมไม่ใช้ม๊อบจัดตั้งของตัวเองเท่านั้น แต่ไปใช้ม๊อบลูกจ้าง ข้าราชการประจำของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช.ด่วน เพราทำงานเกินหน้าที่ใช้อำนาจในทางผิดๆ

การขอให้ชะลอลงมติวาระ 3 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เห็นจะต้องวิตกอะไร? ถ้าสามารถอธิบายให้ศาลรัฐธรรมนูญใหม่ก็ดำเนินการต่อไปได้

ถ้ารัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจ และคิดถึงประเทศชาติจะรอหน่อยก็ไม่เสียหายอะไรใช้ความรอบคอบจะดีกว่า

คุณเจ๋ง ดอกจิก แถลงข่าวแบบนักเลง บอกเบอร์โทรศัพท์ เบอร์บ้านและข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำถามก็คือ คนไทยคิดอย่างไร ใช้กำลังและการข่มขู่ แล้วประเทศไทยคนดีๆจะอยู่อย่างไร?

กลับมาเรื่องระยะยาวของประเทศไทย

กราบขอบคุณท่านอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและ รศ.ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่กรุณาให้เกียรติกับทางมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประทศ

ท่านองคมนตรีเป็นประธานเปิดงาน การระดมความคิดเรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  เพื่ออยู่อย่างยั่งยืน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังจำเป็นอยู่มาก

ท่านอธิการบดีฯกล่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นมหาวิทยาลัยที่พยายามพัฒนาคุณภาพของภาคการศึกษาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชมเชย

การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมระดมสมองครั้งแรกของงานวิจัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรับฟังความคิดเห็นของบุคคลหลายๆฝ่ายเพื่อหารือกันว่าจะปรับยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับ ASEAN เสรีอย่างไร?

การทำงานในยุคต่อไปต้องเน้น

§  Quality  คุณภาพ

§  Standard  มาตรฐาน

§  Excellence  ความเป็นเลิศ

§  Best Practice  วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด

§  Benchmarking  สามารถเทียบเคียงกับคู่แข่งได้

และการเสนอแนะยุทธวิธีต้องเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป ให้ได้ผลสูงสุดในการระดมความคิดครั้งนี้ อาจจะสรุปดังต่อไปนี้

1.     การเปิดเสรี ASEAN คือส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในการปรับตัวของคนไทยเข้าสู่โลกาภิวัติ

2.     ASEAN เสรีเป็นจุดหนึ่งซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการเปิดโลกาภิวัตน์ในภาพใหญ่

§  การท่องเที่ยวจะต้องมองภาพใหญ่ก่อนที่จะมองภาพเล็ก

§  จำนวนนักท่องเที่ยวหลังเปิดอาเซียนเสรีคงมีมากขึ้น แต่ควรจะกระจายให้นักท่องเที่ยวไปตามจุดต่างๆ ของประเทศไทยมากขึ้น เพราะในปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยประมาณ 18 ล้านคน ก็ยังกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่แค่ 7 จังหวัด เช่น ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานีและกรุงเทพฯ เป็นต้น

3.     การหาแหล่งท่องเที่ยวต้องเน้นทุนทางวัฒนธรรมมากที่สุด โดยใช้ชุมชนและภูมิปัญญาเป็นจุดขาย ไม่ใช่เน้นเฉพาะโครงการใหญ่ๆ

4.     มีข้อเสนอว่า ประเทศไทยในอดีตไปฟังนักวิชาการฝรั่งมากเกินไป ให้มีเมกะโปรเจ็คใหญ่ๆดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ล้มเหลว เช่น รัฐบาลคุณทักษิณสร้าง Night Safari เป็นต้น

5.     การพัฒนาบุคลากรต้องทำงานอย่างมีคุณภาพและเน้นการมีส่วนร่วม

§  ผู้นำและผู้ประกอบการ

§  ผู้นำและเจ้าหน้าที่รัฐ

§  ผู้นำกับชุมชน

6.     การใช้ IT มาร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคท่องเที่ยว

7.     การทำวิจัยในเรื่องสำคัญๆ เช่น การรักษาเรื่องสิ่งแวดล้อมและทำวิจัยเรื่อง Green Tourism เป็นต้น

ข้อเสนอดังกล่าวเป็นแค่จุดเริ่มต้น ทีมของผมก็จะหาข้อมูลต่อไปเพื่อเสนอรัฐบาลให้นำไปปฏิบัติ

เรื่องกีฬากับ AEC มีแนวคิดสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.     กีฬาเป็นนโยบายที่สำคัญและอาจจะเป็นวาระแห่งชาติ

2.     กีฬาคงจะมองกว้างมากกว่าการได้แค่เหรียญ โดยเฉพาะเรื่อง อุตสาหกรรมกีฬา เช่น เครื่องเล่น อุปกรณ์กีฬาและเสื้อผ้ากีฬา

3.     กีฬาคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของคนไทยอย่างมาก

4.     กีฬาคือ การทูตภาคประชาชน

5.     กีฬาช่วยให้เยาวชนมีกิจกรรมที่สำคัญ หลีกเลี่ยงยาเสพติด ควรจะจัดกีฬาและระดับเยาวชนในอาเซียนมากขึ้น

6.     ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์มากขึ้น

§  ผู้ประกอบการทางกีฬามากขึ้น

§  ต้องพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคกีฬาอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ

§  มีการทำวิจัยในเรื่องกีฬากับอาเซียนเสรีในหลายๆมิติ

§  การดูแลสนามกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬา

§  มีคู่มือกีฬาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

§  กีฬากับชุมชนต้องมีบทบาทร่วมกัน

§  กีฬากับการท่องเที่ยว เช่น การสนับสนุนการแข่งรถ F1 เป็นต้น

โดยสรุป การระดมความคิดครั้งนี้มีผู้ร่วมประชุมกว่า 100 คน มีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬากว่า 30 คน บรรยากาศเป็นการกระตุ้น มีการคิดนอกกรอบมากมาย แต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้

 

 

โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

พิมพ์ PDF

วันที่ ๙ พ.ค. ๕๕ ผมไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ประสานงานภูมิภาค ครั้งที่ /๒๕๕๕ โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตามรายละเอียดการประชุมนี้

โดยที่โครงการนี้ต้องการให้มหาวิทยาลัย ๘ แห่งเข้าไปหนุนโรงเรียนที่สมัครและคัดเลือกแล้ว ให้พัฒนาตนเองเป็นโรงเรียนแกนนำหรือเป็นศูนย์พัฒนาโรงเรียนอื่นๆ สู่โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง

ทำให้ผมได้มีโอกาสไตร่ตรองว่าโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ต้องเรียน หรือทำกิจกรรมเพิ่มเติม หรือจริงๆ แล้ว เป็นกิจกรรมบูรณาการ ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ 21stCentury Skills ได้อย่างสอดคล้องกับชีวิตจริงยิ่งขึ้น

ผมคิดว่า ความท้าทายของโครงการนี้คือ ต้องเข้าไปหนุนโรงเรียนให้นักเรียนได้รับการศึกษาแบบ “Teach less, Learn more” ให้ได้   คือนักเรียนในโรงเรียน ๘๔ แห่งนี้ ไม่ถูกกรอกความรู้” สำเร็จรูป   แต่ได้เรียนรู้แบบ Learning by doing  คือเรียนจากการทำกิจกรรมเป็นหลัก   และกิจกรรมเหล่านี้ได้รับการออกแบบอย่างดี ให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบตาม (๑) หลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ (๒) ได้เรียนรู้ครบตาม 21st Century Skills  และ (๓)ได้ฝึกฝนทักษะเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

โดยผมมองว่า มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงทั้ง ๘ ต้องตีโจทย์ให้แตก ว่าเป้าหมายการเรียนรู้ ๓ ข้อข้างบนนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน หรือซ้อนทับกัน   เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบงอกงามจากภายในด้วยการเรียนแบบลงมือทำ เน้นทำเป็นทีม (PBL – Project-Based Learning)  โดยครูมีวิธี coach / facilitate อย่างถูกต้อง

ดังนั้น หัวใจจึงอยู่ที่การจัดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง    ให้เป็นการเรียนแบบสอนน้อย-เรียนมาก   เรียนโดยการลงมือทำ   ครูไม่สอนแต่ทำหน้าที่ครูฝึกคือคอยให้กำลังใจ ชี้ทางที่ถูกต้อง และช่วยประเมินความก้าวหน้าเพื่อแนะให้นักเรียนปรับปรุง

ปรัชญาและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงไม่ใช่บทเรียน แต่เป็นผลสัมฤทธิ์ของการเรียน   และครูใช้เป็นแนวทางออกแบบ PBL  และใช้เป็นแนวทางประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของศิษย์

กล่าวอย่างแรง โรงเรียนต้องสนองต่อโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงแบบรวบเข้าสู่ภารกิจหลัก” ของตน   ไม่ใช่ตอบสนองแบบทำโครงการ” เศรษฐกิจพอเพียง

คือผมมองเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทโรงเรียน เป็น means ไม่ใช่ end   โดย end คือ การเรียนรู้ของนักเรียนที่นักเรียนได้ทักษะเพื่อชีวิตในอนาคตของตนเอง

ทีมมหาวิทยาลัยต้องช่วยปลดปล่อยครูจากพันธนาการ ๒ อย่าง

๑. การสอน  ครูต้องละจากความเคยชินที่เน้นการสอน หรือการบอกสาระวิชา ไปสู่การทำหน้าที่หนุนหรือเอื้อการเรียนรู้ของศิษย์ ที่ศิษย์เรียนโดยการลงมือทำ

๒. วิชา   ครูต้องเลยจากการเน้นให้ศิษย์เรียนวิชา  สู่การเน้นให้ศิษย์ฝึกทักษะ

ระหว่างการประชุม ผมได้แนวคิดว่า ครูและโรงเรียนต้อง Do less, Achieve more ในเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียน    คุณเปาที่นั่งอยู่ข้างๆ เตือนว่า เขียนอย่างนี้ระวังครูเข้าใจผิด คิดว่าตนไม่ต้องทำอะไร   เพราะจริงๆ แล้วครูจะต้องทำงานที่มีคุณค่ากว่าเดิม คือหน้าที่โค้ช    และเนื่องจากครูไม่ได้ฝึกการทำหน้าที่นี้มาก่อน   ครูจึงต้อง “เรียนรู้โดยลงมือทำ” หน้าที่นี้   โดยรวมตัวกันเรียนรู้ เป็น PLC

น่าแปลกใจมาก ที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาให้ความเห็นใจตรงกันหมด ว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาไทย   ที่ดำเนินการจากมุมขององค์การเอกชนสาธารณประโยชน์ ไปชวนมหาวิทยาลัยมาร่วมขบวนการ

เนื่องจากผมอยู่ร่วมการประชุมได้เพียงครึ่งวัน   ก่อนพักเที่ยงเขาให้ผมให้ข้อคิดเห็น   ด้วยความจำกัดของเวลา ผมจึงใช้เวลาเพียง ๒ - ๓ นาที ให้ความเห็น ๒ ประเด็นคือ


๑. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางไกล เพื่อปฏิรูประบบการเรียนรู้ของไทย    ที่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่(๑) ครูรวมตัวกันเอง จัด PLC โดยครูเป็นผู้จัดและรับผิดชอบ ดึงส่วนร่วมภายนอก และภายใน   (๒) การบริหารในกระทรวงศึกษาธิการและในโรงเรียนต้องเปลี่ยนเป็นเน้น empowerment

๒. Website ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลกำลังพัฒนาต้องไปให้ถึง การช่วยหนุน online interactive learning ของครู  ผู้บริหาร และโค้ช   และของ นร. ในเครือข่าย   ต้องเน้น share สิ่งที่ไม่ชัดเจน ที่มาจากการปฏิบัติ (inter-subjectivity) ช่วยให้ ดร. ปรียานุช ประเมินเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้

วิจารณ์ พานิช

๙ พ.ค. ๕๕

 

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

พิมพ์ PDF

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
มกราคม - มิถุนายน 2555

การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ

แต่การรอให้เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาส แม้แต่สหภาพยุโรปที่มีพรมแดนติดกันและมีรูปแบบองค์กรเหนือรัฐยังใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิกทำได้เสมือนเพียงการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่และไม่ต้องมีพิธีการศุลกากรระหว่างกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การรอจนกว่า AEC สมบูรณ์คงจะช้าเกินไป และความคืบหน้าในปัจจุบันได้เปิดโอกาสมากพอให้ธุรกิจใช้ประโยชน์และขยายตัวไปในอาเซียนอยู่แล้ว เช่น การใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% และข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพที่ตกลงกันไปแล้ว การเปิดเพดานการถือหุ้นในธุรกิจบริการที่แม้จะยังไม่ถึง 70% แต่ก็นับเป็นโอกาสการลงทุนในตลาดที่น่าสนใจได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจจากนี้ถึงปี 2015 จะมีทั้งโอกาสของธุรกิจทางด้านเกษตรที่มาจากทั้งความต้องการที่สูงขึ้นและศักยภาพในการเติบโตของรูปแบบเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น contract farming โอกาสจากการเปิดเสรีเพิ่มเติมของกลุ่มประเทศCLMV ที่จะเพิ่มความสำคัญด้านการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการที่อยู่ระหว่างการทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากภาคบริการจะมีความเสี่ยงในการเผชิญการเปิดเสรีมากขึ้นในเวลาอันสั้นแล้ว การเปิดเสรีในภาคดังกล่าวจะมาพร้อมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น สังเกตได้จากสัดส่วนของเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศในภาคบริการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP กว่า 72% และยังมีการลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยคาดว่าจะมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 56%, 50%, 45% และ 44% ภายในปี 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคบริการสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หลากหลายตามปัจจัยที่เกิดขึ้น บางภาคควรจะรุกขยายธุรกิจไปในต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการตลาดในขณะที่ภาคบริการบางประเภทสามารถเติบโตจากตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มเติมจากการเข้าสู่ AEC และบางประเภทอาจจะต้องเตรียมรับมือจากทั้งโอกาสและการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น

ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนจะมีโอกาสมากขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่มmiddle income ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่า AEC จะเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น แต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบภายในประเทศที่อาจจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอีกธุรกิจเด่นที่ไทยมีข้อได้เปรียบและจะมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และทันตกรรม ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบันอีกทั้ง AEC ยังช่วยเอื้ออำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้

ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ต้องใช้โอกาสจาก AEC มองหาลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อการบริการแบบครบวงจร ผู้ประกอบการมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐเพื่อลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าตามเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ AEC อีกทั้งควรสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์อื่นๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ธุรกิจมีความหลากหลายในด้านรูปแบบการขนส่ง ช่วยให้การขนส่งมีความต่อเนื่องจากต้นทางสู่ปลายทาง รวมทั้งนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูงและเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น

ธุรกิจบริการของไทยควรจะเริ่มสร้างอาวุธของตนเองและมองหาจังหวะที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำหรับการแข่งขันด้านการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจบริการของประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่กำลังขยายตัวแซงหน้าการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาทั้งด้านศักยภาพตลาด กฎเกณฑ์จากข้อตกลง กฎเกณฑ์ภายในประเทศต่างๆ เพราะธุรกิจบริการแต่ละประเภทอาจจะมีจังหวะในการบุกตลาดอาเซียนที่แตกต่างกันบางธุรกิจควรจะไปได้ตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่บางธุรกิจควรจะรอก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือธุรกิจควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ AECตั้งแต่วันนี้ เพราะ AEC ไม่ได้เริ่มต้นที่ปี 2015

ข้ออมูลจาก SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์)

 

เชิญประชุมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ

พิมพ์ PDF

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทราบแนวทางการยกระดับเศรษฐกิจไทยภายใต้ AEC สนใจเข้าร่วมสัมมนาฟรี ติดต่อ คุณพิจิตราพรรณ พีรคำไส้ ที่โทรศัพท์ 02-3197677 ต่อ 153 mobile 085-1681166

 

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC

พิมพ์ PDF

เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC
มกราคม - มิถุนายน 2555

การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ AEC ที่ผ่านมาค่อนข้างล่าช้า และไม่เห็นผลชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้การปรับตัวของธุรกิจมีไม่มากนัก เพราะแม้แต่การลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าสินค้าเสรี (AFTA) ก็ใช้เวลากว่า 17 ปี ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1996 ปัจจุบันยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย เพราะแม้แต่สาขาบริการเร่งรัด 4 สาขาที่จะให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ในปี 2010 นั้น ถึงวันนี้ยังมีหลายประเทศขอยืดหยุ่นออกไป ความล่าช้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ธุรกิจจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดได้หากทุกอย่างยังต้องดำเนินการให้ได้ครบตามเป้าหมายภายในปี 2015 ธุรกิจต่างๆ จึงควรมีการเตรียมตัวไว้เสมอ

แต่การรอให้เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้ธุรกิจเสียโอกาส แม้แต่สหภาพยุโรปที่มีพรมแดนติดกันและมีรูปแบบองค์กรเหนือรัฐยังใช้เวลาถึง 25 ปีก่อนที่จะเรียกว่าเป็นเขตการค้าเสรีอย่างแท้จริงที่การค้าขายระหว่างสมาชิกทำได้เสมือนเพียงการขนส่งสินค้าภายในพื้นที่และไม่ต้องมีพิธีการศุลกากรระหว่างกันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม การรอจนกว่า AEC สมบูรณ์คงจะช้าเกินไป และความคืบหน้าในปัจจุบันได้เปิดโอกาสมากพอให้ธุรกิจใช้ประโยชน์และขยายตัวไปในอาเซียนอยู่แล้ว เช่น การใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้า 0% และข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพที่ตกลงกันไปแล้ว การเปิดเพดานการถือหุ้นในธุรกิจบริการที่แม้จะยังไม่ถึง 70% แต่ก็นับเป็นโอกาสการลงทุนในตลาดที่น่าสนใจได้ระดับหนึ่ง เป็นต้น

โอกาสของธุรกิจจากนี้ถึงปี 2015 จะมีทั้งโอกาสของธุรกิจทางด้านเกษตรที่มาจากทั้งความต้องการที่สูงขึ้นและศักยภาพในการเติบโตของรูปแบบเกษตรกรรมแบบใหม่ๆ เช่น contract farming โอกาสจากการเปิดเสรีเพิ่มเติมของกลุ่มประเทศCLMV ที่จะเพิ่มความสำคัญด้านการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าในภาคบริการที่อยู่ระหว่างการทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากภาคบริการจะมีความเสี่ยงในการเผชิญการเปิดเสรีมากขึ้นในเวลาอันสั้นแล้ว การเปิดเสรีในภาคดังกล่าวจะมาพร้อมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เพราะหลายประเทศให้ความสำคัญกับภาคบริการมากขึ้น สังเกตได้จากสัดส่วนของเศรษฐกิจและการลงทุนในต่างประเทศในภาคบริการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสิงคโปร์ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP กว่า 72% และยังมีการลงทุนในต่างประเทศมากที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทยคาดว่าจะมีสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 56%, 50%, 45% และ 44% ภายในปี 2015 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาคบริการสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้หลากหลายตามปัจจัยที่เกิดขึ้น บางภาคควรจะรุกขยายธุรกิจไปในต่างประเทศที่มีศักยภาพด้านการตลาดในขณะที่ภาคบริการบางประเภทสามารถเติบโตจากตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มเติมจากการเข้าสู่ AEC และบางประเภทอาจจะต้องเตรียมรับมือจากทั้งโอกาสและการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น

ธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสร้างความแตกต่างและเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนจะมีโอกาสมากขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยเฉพาะจากแนวโน้มการเติบโตของความเป็นเมืองในอินโดนีเซียและเวียดนาม ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคในกลุ่มmiddle income ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมีสัดส่วนการใช้จ่ายสินค้าประเภทอาหารสดลดลงและบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น อีกทั้งเริ่มมีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าประเภท non-grocery ซึ่งความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อรูปแบบที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ แม้ว่า AEC จะเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น แต่ธุรกิจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบภายในประเทศที่อาจจะยังเป็นอุปสรรคสำคัญ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอีกธุรกิจเด่นที่ไทยมีข้อได้เปรียบและจะมีโอกาสขยายตลาดมากขึ้นในอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซียด้วยการเดินทางในภูมิภาคที่สะดวกขึ้น ทั้งนี้ ความมีชื่อเสียงเฉพาะด้านของไทยเช่น จุดเด่นทางด้านศัลยกรรมพลาสติก และทันตกรรม ร่วมกับชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นหมัดเด็ดในการขยายตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทยในอาเซียนเพิ่มเติมจากกลุ่มตลาดคนไข้ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ซึ่งไทยเป็นผู้นำอยู่แล้วในปัจจุบันอีกทั้ง AEC ยังช่วยเอื้ออำนวยให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานพยาบาลได้ง่ายขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกหนทางในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ของไทยได้

ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ต้องใช้โอกาสจาก AEC มองหาลู่ทางการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อการบริการแบบครบวงจร ผู้ประกอบการมีโอกาสใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐเพื่อลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้าตามเส้นทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ AEC อีกทั้งควรสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์อื่นๆทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ธุรกิจมีความหลากหลายในด้านรูปแบบการขนส่ง ช่วยให้การขนส่งมีความต่อเนื่องจากต้นทางสู่ปลายทาง รวมทั้งนำระบบการจัดการโลจิสติกส์ขั้นสูงและเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่น

ธุรกิจบริการของไทยควรจะเริ่มสร้างอาวุธของตนเองและมองหาจังหวะที่เหมาะสมในการยกระดับของธุรกิจให้เข้าถึงตลาดอาเซียน ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำหรับการแข่งขันด้านการลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจบริการของประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่กำลังขยายตัวแซงหน้าการลงทุนในภาคการผลิต นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาทั้งด้านศักยภาพตลาด กฎเกณฑ์จากข้อตกลง กฎเกณฑ์ภายในประเทศต่างๆ เพราะธุรกิจบริการแต่ละประเภทอาจจะมีจังหวะในการบุกตลาดอาเซียนที่แตกต่างกันบางธุรกิจควรจะไปได้ตั้งแต่วันนี้ ในขณะที่บางธุรกิจควรจะรอก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งสำคัญคือธุรกิจควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ AECตั้งแต่วันนี้ เพราะ AEC ไม่ได้เริ่มต้นที่ปี 2015

ข้ออมูลจาก SCB EIC (ธนาคารไทยพาณิชย์)

 


หน้า 547 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8660555

facebook

Twitter


บทความเก่า