Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา ปวช

พิมพ์ PDF

เมื่อ 2 วันก่อน ได้รับโทรศัพท์จากท่านรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชยการ ท่านหนึ่ง โทรมาปรึกษาว่า ท่านกำลังมีปัญหาเรื่องหาอาจารย์สอน English Program สำหรับนักศึกษา ปวช หลักสูตร 3 ปี แบ่งเป็น 2 แผนก

1. แผนกโรงแรม ประกอบด้วยวิชา

  • English for Hotel Operation 40 ชั่วโมง
  • Hotel Kitchen and Kitchen Equipment 30 ชั่วโมง
  • Food and Beverage Services 40 ชั่วโมง
  • Beverage and Mixing 30 ชั่วโมง
  • Bakery 40 ชั่วโมง
  • Art and Service 20 ชั่วโมง
  • Hotel Front Office 30 ชั่วโมง

2. แผนกการท่องเที่ยว ประกอบด้วยวิชา

  • Tourism Industry 30 ชั่วโมง
  • North-Eastern Tourism Resources 30 ชั่วโมง
  • Tour Guide 40 ชั่วโมง
  • Tour Operation 40 ชั่วโมง
  • Tourist Behavior 20 ชั่วโมง
  • Marketing for Tourism 20 ชั่วโมง
  • Southern Tourism Resource 30 ชั่วโมง

สอนเป็นภาษาอังกฤษทุกวิชา อาจารย์ที่มีอยู่ ถูกมหาวิทยาลัยดึงตัวไป จึงขอร้องให้ผมช่วยแนะนำหาอาจารย์ให้ด่วน

ผมฟังแล้วเป็นห่วงมากๆ เพราะต้องใช้อาจารย์ที่มีความรู้ในเรื่องของโรงแรม และการท่องเที่ยว แถมยังต้องสอนเป็นภาษาอังกฤษ แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็หาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติที่จะสอนเด็กให้ได้รับความรู้จริงและนำไปใช้ในการทำงานได้ก็ยากแล้ว (สร้างปัญหาให้กับผู้ใหญ่และเด็ก)

นี่คือระบบการศึกษาของบ้านเรา ผู้หลักผู้ใหญ่ที่กำหนดนโยบาย ทำตามกระแส วันนี้ทุกหน่วยงานบ้าจี้เรื่องเปิดเสรีและเตรียมการพัฒนาทรัพยากรเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ต่างคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จึงผลักดันให้เด็กไทยเน้นภาษาอังกฤษจะได้ทำให้แข่งขันได้ โดยไม่ได้มองปัจจัยอื่นๆประกอบ

ผมไม่ได้คัดค้านในการเริ่มมีโปรแกรมภาษาอังกฤษในวิชาชีพ แต่ต้องมีขั้นตอนและการเตรียมความพร้อมด้านครูอาจารย์และสถานศึกษา ตลอดจนการเตรียมตัวของเด็กก่อนที่จะกระโดดเข้ามาเรียน นอกเหนือจากนั้นยังมีเรื่องของค่าตอบแทนทั้งอาจารย์ผู้สอน และของเด็กเมื่อจบออกไป

กลุ้มจริงๆครับ กับการทำงานแบบผักชีโรยหน้าของระบบการศึกษาของไทย ขอให้ได้ทำ ผลจะเป็นอย่างไร ไม่ได้คำนึง ผู้กำหนดนโยบาย กำหนดตามที่คิดอยากให้เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชาก็ต้องนำไปปฏิบัติ โดยไม่มีอาวุธ หรือให้การสนับสนุนใดๆทั้งสิ้น สร้างความกดดันและปัญหาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา

แนวทางการพัฒนาคนแบบนี้ ไม่ใช่การสร้างคนให้มีคุณภาพ แต่เป็นการทำแบบไร้ทิศทาง เสียงบประมาณและเวลา ทำให้ขาดคุณภาพ ไม่มีมาตราฐาน

อย่างไรก็ตามผมได้แจ้งไปทางเพื่อนๆที่อยู่ในเครือข่ายของผม ก็ได้รับการตอบรับกลับมา 3 ท่าน ทั้งสามท่านคุณภาพคับแก้ว เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าท่านเหล่านั้นจะมีเวลาให้ได้เท่าไหร่ จะสามารถสอนได้ครบทุกวิชา และต่อเนื่องตลอดหลักสูตรได้หรือไม่

นี่แค่วิทยาลัยเดียว และถ้าวิทยาลัยพาณิชย์ทั้งหลายหันมาเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษา ปวช กันหลายๆโรงเรียน จะหาอาจารย์สอนได้จากที่ไหน เพราะแค่ภาษาไทยยังไม่สามารถหาอาจารย์ที่รู้จริงมาสอนได้เลย

 

 

ผลกระทบของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับประเทศไทย

พิมพ์ PDF

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้กระแสประชาคมอาเซียน หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มาแรงมาก ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และภาคเอกชน เมื่อมีการจัดสัมมนาเรื่องอะไรก็ตามจะต้องมีการเชื่อมโยงถึงประชาคมอาเซียน หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  มีการวิเคราะห์และพูดถึงผลกระทบและการเตรียมความพร้อม กันไปต่างๆนาๆ ส่วนมากไม่ค่อยรู้จริง รู้มาอย่างละนิดอย่างละหน่อย และไปพูดต่อสื่อสารกันแบบไร้ทิศทาง

เมื่อวานมีโอกาสได้เข้ารับฟังการบรรยายหัวข้อ "ผลกระทบของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับประเทศไทย" โดย ท่านศาสตราจารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่ง

หัวข้อน่าสนใจมาก ท่านศาสตราจารย์  เปิดการบรรยายว่าท่านจะไม่บรรยายในเรื่องที่ได้ฟังกันมามากแล้ว ท่านเน้นว่าปัญหาของคนไทยในเรื่องประชาคมอาเซียนอยู่ที่ เราต่างไม่ได้สนใจและทำความเข้าใจในกลไกของมัน โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย

เปิดการบรรยายได้ตรงเป้าที่ผมคิดไว้ ท่านกล่าวต่อว่า สิทธิประโยชน์และพันธะกรณีระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจของไทยทับซ้อนกันอยู่ในหลายระดับ (ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่อยู่ในขั้นของเจราจาระหว่างประเทศ) ซึ่งมีทั้งในระดับโลก เช่นภายใต้กรอบขององค์การค้าระหว่างประเทศ (WTO) กับในระดับภูมิภาคทั้งที่มีอยู่แล้วเช่น ภาคใต้กรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และอื่นๆอีกมาก

ท่านพูดยกตัวอย่างหลายๆเรื่องที่เป็นเรื่องเล็กๆและใช้เวลานานมากประมาณ ชั่วโมงครึ่ง ก็ยังไม่เข้าเรื่อง โดยท่านเองก็ทราบและออกตัวเอง แต่ท่านว่าจำเป็นต้องพูดมิฉะนั้นจะไม่เข้าใจ

เวลาในการอธิบายของท่านกำหนดไว้ที่ 3 ชั่วโมง ถ้าปล่อยให้ท่านบรรยายไปแบบเดิม เมื่อหมดเวลาก็คงจะไม่ได้อะไร ผมเข้าใจว่าท่านมีความรู้มาก อ่านและฟังมามาก จึงอยากจะให้ความรู้ที่มากมายและทับซ้อนให้ผู้รับฟังทุกท่านทราบเช่นเดียวกับท่าน แต่เวลามีจำกัด ผมจึงต้องเสียมารยาทโดยแสดงความคิดเห็นว่าท่านน่าจะเข้าประเด็นตามหัวข้อ ซึ่งท่านก็รับฟังและไม่ได้แสดงความไม่พอใจผมที่ไปขัดท่าน ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ไม่ทิฐิและยึดติด อย่างไรก็ตาม การบรรยายของท่านในวันนี้ ผมค่อนข้างจะผิดหวัง เนื่องจากคณะผู้จัดและท่านผู้บรรยายเอง ไม่ได้เตรียมแผนการบรรยายให้เหมาะสมกับเวลา และกลุ่มผู้มาเข้ารับฟัง ท่านบรรยายโดยใช้วิธีเดียวกันกับการสอนนักศึกษา โดยสอนไปเรื่อยๆ เมื่อหมดเวลาก็จบเท่านั้น และไปต่อใหม่ในการสอนคราวหน้า

อย่างไรก็ตามผมได้นำเสนอผู้จัดและเรียนท่านผู้บรรยายอย่างตรงไปตรงมา และท่านก็รับฟัง โดยไม่โกรธและไม่แสดงความไม่พอใจใดๆทั้งสิ้น ผมมีความรู้สึกว่าท่านพอใจด้วยซ้ำที่มีการแลกเปลี่ยนและมีส่วนร่วมในกิจกรรม

ไม่ใช่ปล่อยให้ท่านบรรยายไปคนเดียว โดยขาดการมีส่วนร่วม

สรุปว่าท่านเป็นอาจารย์และเป็นผู้ใหญ่ที่น่านับถือ ก็หวังว่าท่านจะนำข้อคิดเห็นของผมไปปรับวิธีการบรรยายให้กับกลุ่มนักธุรกิจหรือครูบาอาจารย์ด้วยกัน จะใช้วิธีเดียวกับการบรรยายให้นักศึกษาฟังไม่ได้

และถ้าสิ่งใดที่ผมพูดและกระทำลงไปเป็นการล่วงเกินท่าน ก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้ อย่างไรก็ตามผมยืนยันว่าผมมีความจริงใจไม่เคยคิดที่จะล่วงเกินผู้ใด พูดเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ

 

บทความของคุณวิจารณ์ พาณิช

พิมพ์ PDF

ความเข้าใจความเป็น part of the whole  หรือความเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด คือความสนุกสนานในชีวิตของผม


นี่คือการตีความ Complex Adaptive Systems เพื่อทำความเข้าใจชีวิต   เอามาใช้ในการครองชีวิต   เพื่อฝึกฝนตนเอง   และเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม


ไม่ว่าเรื่องใด ไม่ว่าทำอะไร เราใช้หลัก “เป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด” ได้เสมอ   และการทำความเข้าใจ “ทั้งหมด” (the whole) เป็นแบบฝึกหัดที่มีค่ายิ่ง   ให้ปัญญามองเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง    ทำให้เราเห็นว่าตัวเราเองเป็น part of the whole นั้น   โดยที่ส่วนมากเราไม่ได้อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของ “ทั้งหมด”   ผมมักบอกตัวเองบ่อยๆ ว่า ผมมักจะมีตำแหน่งอยู่ที่ชายขอบ หรือเกือบตกขอบ ของ “ทั้งหมด” นั้น


มันช่วยให้เราไม่สั่งสมอัตตาไว้ให้พอกพูนหนาเตอะเกินไป (ก็ยังหนาอยู่ดี ขูดออกยากมาก)


วิธีคิดเรื่อง “ทั้งหมด” ช่วยให้เรามองออกว่า “ทั้งหมด” นั้นงอกหรืองอกงามได้    หาก “ชิ้นส่วน” (parts) ทำหน้าที่ของตนอย่างเข้าขากับชิ้นส่วนอื่น และอย่าง “พัฒนาต่อเนื่อง” (CQI – Continuous Qality Improvement) ที่จริงวิธีคิดแบบนี้ภาษาไทยเรียกว่า “ความสามัคคี”


ผมพยายามทำให้ความเป็น “ชิ้นส่วน” ของตัวผม เป็นชิ้นส่วนที่เล็ก หรือยิ่งมองไม่เห็นยิ่งดี    แต่พยายามทำตัวให้มีส่วนขยายหรืองอกงาม “ทั้งหมด” ออกไป   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการงอกงามในเชิงคุณค่า หรือเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม   ผมรู้ว่า ชีวิตของผมมีความสุขสบาย และสนุกสนาน ได้ถึงขนาดนี้ (อย่างไม่นึกฝัน) ก็เพราะการทำตัวเป็น “ชิ้นส่วน” ที่เรียนรู้และแสดงไมตรีต่อชิ้นส่วนอื่น   เพื่อหวังความงอกงามของ “ทั้งหมด” หรือส่วนรวม


ผมตระหนักว่า การมองเห็นภาพ “ทั้งหมด” เป็นสิ่งยาก   และจริงๆ แล้วคนที่มีสติปัญญาขนาดผม ไม่มีวันเข้าใจ “ทั้งหมด” ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแท้จริงได้เลย   สัจธรรมนี้เอง ทำให้ผมหมั่นฝึกฝนทักษะการมอง “ทั้งหมด” (the whole) ในเรื่องต่างๆ ที่ผมเข้าไปทำงานเกี่ยวข้อง    ยิ่งฝึกก็ยิ่งสนุก ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในมิติที่ลึกและเชื่อมโยง   และยิ่งฝึกก็ยิ่งเรียนรู้ว่าตนเองห่างไกลจากความเข้าใจ “ทั้งหมด” ได้อย่างแท้จริง


นี่คือ การคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking)  และ creative thinking ที่ช่วยให้ผมฝึกฝนตนเองให้มองเห็นสรรพสิ่งได้ลึก กว้าง และเชื่อมโยง   และการฝึกตนฝนปัญญาวิธีที่ดีที่สุดคือฝึกด้วยการปฏิบัติในชีวิตจริง


ผมจึงรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของสังคม ที่แม้ผมจะอายุมากแล้ว (๗๐) ก็ยังได้รับโอกาสไปทำงานรับใช้สังคมในหลากหลายเรื่อง    ช่วยให้ผมมีชีวิตการทำงานจริง ให้ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้านต้างๆ   และการเรียนรู้ฝึกฝนที่ผมสนใจมากคือเรื่องการคิดกระบวนระบบ   และการฝึกลดละกิเลสตัวตนทั้งปวง    ซึ่งผมพบว่าเรื่องเหล่านี้มันเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกันทั้งสิ้น


การได้ฝึกปฏิบัติ ว่างานเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว (Complex-Adaptive Systems)    และงานส่วนที่เรารับผิดชอบ เป็นเพียง “ชิ้นส่วน” หนึ่ง ของ “ทั้งหมด”   จะกระตุ้นให้เราพยายามทำความเข้าใจ “ทั้งหมด” เพื่อเอามาใช้ทำงานส่วนของเราให้ดีขึ้น   ด้วยความหวังว่าจะมีผลให้ “ทั้งหมด” ดีขึ้น   เกิดเป็นวงจรพัฒนา


จะเป็นเช่นนี้ได้ เราต้องไม่ใช่เอาแต่งานส่วนของเรา ต้องเข้าใจ และช่วย (หรือร่วมมือ) กับ “ชิ้นส่วน” อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย   “ทั้งหมด” จึงจะดีขึ้น   และเราก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย   เป็นผลที่สูงส่งกว่าเราทำของเราคนเดียว แบบแยกส่วนหรือเป็นไซโล


อย่างนี้ผมเรียกว่าใช้ชีวิตโดยมีความเชื่อใน Positive-sum Game   คือเชื่อว่ากองผลประโยชน์ที่หน้าตักใหญ่ขึ้นได้   แล้วทุกคนที่เกี่ยวข้องก็ชนะทั้งหมดทั่วกันทุกคนได้   เรียกว่าเป็น Win – Win situation   ไม่ใช่ Win – Lose


เป็นชีวิตที่สร้างสรรค์รวมหมู่   และเรียนรู้จากการร่วมกันขยายหรือยกระดับ “ทั้งหมด” ผ่านการทำงานรับผิดชอบ “ชิ้นส่วน” เล็กๆ แบบสามัคคีพลังกับ “ชิ้นส่วน” อื่นๆ ด้วย


วิจารณ์ พานิช

๑๐ พ.ค. ๕๕

 

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

 ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2550 ประกอบด้วยคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ซึ่งมีอุดมการณ์และเป้าหมายในแนวทางเดียวกัน ได้แก่การผลักดันและดำเนินการให้เกิดการพัฒนามนุษย์ในภาคบริการอย่างเป็นองค์รวม ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้น กิจกรรมยังมีน้อยเนื่องจาก กรรมการแต่ละท่านอาสามาทำงานโดยไม่ได้รับค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น แถมต้องเสียสละเงินส่วนตัวร่วมทำกิจกรรมในบางครั้ง กรรมการแต่ละท่านมีหน้าที่ประจำในหน่วยงานของแต่ละท่าน จึงไม่สามารถขับเคลื่อนงานของศูนย์ได้เต็มที่ ประกอบกับศูนย์ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงทำให้ผลงานที่ตั้งไว้ยังห่างไกลจากเป้าหมายมากพอควร กรรมการจึงเห็นว่าควรจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและได้เลือกเป็นมูลนิธิ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจดทะเบียนมูลนิธิ โดยมีกรรมการเดิมของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษยื และบุคคลภายนอกที่ติดตามผลงานของศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์มาได้ระยะเวลาหนึ่ง ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อใช้เป็นเงินในการจดทะเบียนมูลนิธิ และผู้บริจาคเงินถึงว่าเป็นกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ เป็นกรรมการตลอดชีพ ประกอบด้วย

1.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.ดร.อนุชา เล็กสกุลดิลก

3.น.สพ.สมชัย วิเศษมงคล

4.ดร.ธรรมชัย เชาว์ปรีชา

5.คุณธวัชชัย แสงห้าว

6.ดร.วีรชัย วงศ์บุญสิน

7.คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

8.รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล

9.คุณพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล

10.คุณกิตติ คัมภีระ

11.คุณสามารถ ดวงวิจิตรกุล

12.ดร.เอกฤทธิ์ เลี้ยงพาณิชย์

13.คุณโสทรินทร์ โชคคติวัฒน์

14.คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์

15.คุณสยาม เศรษฐบุตร

16.คุณพรศิลป์ พัชรินทร์-ตนะกุล

17.คุณทำนอง ดาศรี

18.คุณเกรียงไกร ภูวณิชย์

19.ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี

20.คุณชนินท์ ธำรงวิทวัสพงศ์

21.ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

นอกเหนือจากรายชื่อทั้ง 21 ท่าน ที่บริจาคเงินเพื่อเป็นทุนในการจัดตั้งมูลนิธิ และดำรงตำแหน่งกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ แล้วยังมีกรรมการ และที่ปรึกษาอีกหลายท่านที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลืองานของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ มาตั้งแต่ต้น และเชื่อว่าท่านยังพร้อมให้การสนับสนุนเช่นเดิม กรรมการจัดตั้งทั้ง 21 ท่านจะมีการประชุมในวันที่ 15 มีนาคม 2555 เพื่อกำหนดกรอบแผนงานของมูลนิธิในระยะ 3 ปี คัดเลือกกรรมการบริหาร และพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา สำหรับกรรมการและที่ปรึกษาที่เคยให้การสนับสนุนศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ จะได้รับการติดต่อให้มาร่วมเป็นกรรมการหรือที่ปรึกษามูลนิธิ ต่อไป สำหรับท่านที่ต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนามูลนิธิให้เป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โปรดติดต่อแจ้งความจำนงได้ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ โทร 089-1381950

 

 

 

ประชุมจัดตั้งมูลนิธิ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์

พิมพ์ PDF

กรรมการจัดตั้งมูลนิธิ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ได้ประชุมพิจารณาทบทวนสาระสำคัญเกี่ยวกับมูลนิธิ ในวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ตามวาระดังนี้

1.ทบทวนหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งมูลนิธิ

2.ทบทวนพันธกิจของมูลนิธิ

3.ทบทวนกรอบการดำเนินงานและการจัดองค์กร

4.พิจารณาแผนดำเนินการมูลนิธิในระยะเวลา 3 ปี

5.แต่งตั้งกรรมการบริหารมูลนิธิ

คณะกรรมการได้พิจารณาและลงมติเป็นเอกฉันท์ในวาระที่ 1 และ วาระที่ 2 หลังจากมีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ ส่วนวาระที่ 3 ยังไม่สามารถลงมติ ได้เพราะมีข้อเสนอที่แตกต่างกันในบางสาระ จึงเลื่อนไปพิจารณาในการประชุมคราวหน้า ส่วนวาระที่ 4 ให้ยกไปในการประชุมคราวหน้าเช่นกัน สำหรับวาระที่ 5 ตกลงให้แต่งตั้งผู้บริจาคทั้ง 21 ท่านเป็นกรรมการจัดตั้ง และในเบื้องต้นได้แต่งตั้งท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นประธาน โดยมี ดร.ธรรมชัย ดร.อนุชา น.สพ.สมชัย และ คุณกิตติ เป็นรองประธาน ส่วน ม.ล.ชาญโชติ เป็นเลขาธิการ เพื่อใช้ยื่นในการจดทะเบียนมูลนิธิ ส่วนกรรมการบริหารจะมีการพิจารณาแต่งตั้งกันในการประชุมคราวหน้า (เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกรรมการบริหารมีความผูกพันธ์กับการทำนิติกรรมต่างๆ จึงต้องประชุมหลังจากการพิจารณากรอบการดำเนินงานและจัดตั้งองค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

สำหรับผู้สนใจอยากมีส่วนร่วมกับโครงการของมูลนิธิ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ขอได้โปรดแจ้งความจำนงเข้ามาได้เลยครับ ที่ e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือโทรสอบถามได้ที่ 089-1381950

 

 

 


หน้า 546 จาก 559
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5614
Content : 3057
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8660609

facebook

Twitter


บทความเก่า