Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

สังคมไทย

พิมพ์ PDF

วันนี้เข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ The 1st SRII Asia Summit 2013 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ช่วงเช้าเลือกเข้าห้อง Lotus 5-6 Seminar on Linked Open Data หัวข้อ "Introduction to Linked Data and its Life-Cycle by Soren Auer,University of Bonn and Fraunhofer IAIS,Germany  ใช้เวลา 1 ชั่วโมง พอเข้าใจแต่ไม่ทั้งหมด หัวข้อต่อไปได้แก่ "From Unstructured information to Linked Data" by Axel-C.Ngonga Ngomo,University of Leipzig ผู้บรรยายมีความตั้งใจมาก ทำให้ผู้ฟังตื่นตัวและให้ความสนใจ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลทาง IT ซึ่งผมไม่ใช่คนที่เรียนและทำงานด้านไอที จึงไม่เข้าใจ แต่ก็ทนนั่งฟังสักพักใหญ่ๆ เนื่องจากนั่งโต๊ะหน้าและกลัวว่าถ้าลุกออกไปจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดคิดว่าเขาพูดไม่ได้เรื่องผมจึงลุกออกไป แต่ในที่สุดก็ต้องลุกออกไปเนื่องจากไม่เข้าใจจริงๆ และห้องอื่นก็ยังมีเรื่องที่น่าสนใจ จึงไม่ควรเสียเวลาไปโดยไม่ได้อะไร จึงลุกไปเข้าร่วมในห้องใหญ่เป็น Keynote&Panel ในหัวข้อ " Services Innovation Method,Model,and Tool เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ที่เลือกเข้าฟังในห้องนี้ (จะนำสาระมาเผยแพร่ให้ฟังในบันทึกอื่น)

หลังทานอาหารกลางวันช่วงบ่ายได้เลือกเข้าห้องเดิมที่เข้าฟังในช่วงเช้า เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกับช่วงเช้า แต่ครั้งนี้เป็นการบรรยายภาษาไทย หัวข้อ "Linked Open Government Data" บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ วูวงศ์ ในการบรรยายหัวข้อนี้ ผู้บรรยายได้กล่าวถึงลักษณะของสังคมไทย ทำให้ผู้บรรยายนึกถึงเรื่อง DATA ผมเห็นว่าน่าสนใจและเห็นด้วยจึงขอนำมาเผยแพร่ดังนี้

"สังคมไทยเป็นระบบสังคมที่หลักการหลวม" "Loosely Principled Social System"

เมื่อพึ่งหลักการไม่ได้ก็ต้องพึ่งข้อมูลอย่างเดียว

ลักษณะของสังคมที่หลักการหลวม

๑.เป็นสังคมพรรคพวก เนื่องจากพึ่งหลักการไม่ได้ จึงต้องหาและสร้างพรรคสร้างพวกไว้เป็นที่พึ่ง

๒.เป็นสังคมอุปถัมภ์ ต้องพึ่ง "ผู้ใหญ่" หรือ"ผู้มีบารมี" เพราะพึ่งหลักการไม่ได้ เกิดเป็นการอุปถัมภ์กันขึ้นมา

๓.เป็นสังคมที่ยอมรับความไม่สอดคล้อง เพราะหลักการหลวม จึงยอมรับสิ่งที่ขัดแย้งกันได้โดยไม่รู้สึกอะไร

๔.เป็นสังคมสองหรือหลายมาตรฐาน เพราะยอมรับความไม่สอดคล้องได้โดยไม่รู้สึกอะไร

๕.ย้ายพวกหรือย้ายพรรคกันง่าย เพราะการรวมตัวเป็นพวกเป็นพรรคไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ แต่อยู่ที่ผลประโยชน์มากกว่า

๖.ผลประโยชน์ของพวกมาก่อนผลประโยชน์ส่วนรวม (Local optimization over global optimization)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 กันยายน 2556

 

รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา

พิมพ์ PDF

รมตศึกษาธิการคนใหม่ (อย่าเปลี่ยนบ่อยได้ไหมจาตุรนต์ ฉายแสง ประกาศนโยบาย รวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา อ่านได้ที่ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33340&Key=hotnews

เป็นนโยบายที่ผมสนับสนุนเต็มที่ทุกข้อ   แต่มีข้อกังขาว่า รมตจะบริหารงานอย่างไร เพื่อแก้ไขสภาพที่ กลไกในกระทรวงศึกษาธิการ และกลไกทางการเมืองที่เข้าไปครอบงำ และทำร้าย วงการศึกษาของประเทศ กำจัดความชั่วร้าย ในวงการศึกษา    ให้กลไกต่างๆ ดำเนินไปตามคลองธรรม และเพื่อเป้าหมายคุณภาพของการศึกษาอย่างแท้จริง    ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ส่วนตนของคนบางกลุ่ม

จะเกิดผลได้จริง ต้องลดขนาดของกระทรวงศึกษาธิการส่วนกลางลงสัก ๑๐ เท่า    คนที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงาน ๔๐,๐๐๐ คน   ลดลงเหลือ ๔,๐๐๐ คน ก็ยังน่าจะมากเกินไป

ผมสนใจมาตรการข้อ ๖ 6.ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัด และสนับสนุนการศึกษามากขึ้น โดยรัฐจะเข้าไปกำกับควบคุมเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐาน โดยขอเสนอว่า วิธีดำเนินการตามข้อนี้อย่างจริงจัง คือการใช้เงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน สนับสนุนโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน อย่างเท่าเทียมกัน    คือค่าใช้จ่ายต่อหัวนักเรียนของ รร. รัฐเป็นเงินเท่าไร  รัฐต้องจ่ายให้ รร. เอกชนเท่ากัน เลือกสนับสนุนเฉพาะ รร. เอกชนที่พิสูจน์แล้วว่าคุณภาพสูง

ผมมีความเห็นว่า ปัญหาการศึกษาไทย เป็นปัญหาที่ลึกในระดับโครงสร้าง    ที่ หัวโต” (แต่ไม่มีสมอง และอยู่ที่บริหารแบบรวมศูนย์ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลงานที่ตกต่ำ

นี่คือการเข้าร่วมมือของผมกับ รมต. จาตุรนต์ ตามข้อ ๖ นี้   คือร่วมโดยให้ข้อคิดเห็น

ผมขอแสดงความชื่นชมมาตรการข้อ ๒ ส่วนที่ว่า มีการพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

ในมาตรการข้อ ๑ ปฏิรูปให้มีการเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตร และการเรียนการสอนในโลกยุคใหม่ การพัฒนาครู ระบบการทดสอบ การวัดและประเมินผล”   ผมขอเสนอว่า ต้องกระจายอำนาจในเรื่องเหล่านี้ ให้แก่โรงเรียนและครู   เริ่มด้วยการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบ และสนับสนุนทรัพยากรในการทำงาน ให้แก่โรงเรียนหรือครูที่มีผลงานดี   ผลงานดีหมายถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ดี และจัดกระบวนการเรียนรู้ดี   ซึ่งจะต้องมีการนิยาม สำหรับใช้งาน   ต้องไม่คิดตื้นๆ เพียงที่ผลสอบ O-NET

ระบบคิด วัฒนธรรมรวมศูนย์ วัฒนธรรมอำนาจ สั่งการจากเบื้องบน ในวงการศึกษา คือตัวการบั่นทอนคุณภาพการศึกษาไทย   ทำให้ครูไร้ศักดิ์ศรี  มุ่งแต่ทำตามคำสั่ง ไม่มีโอกาสฝึกฝนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ไม่มีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของความเป็นครู

ระบบวัฒนธรรมของวงการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นครู

มาตรการตามข้อ ๑ หากยังดำเนินการตามวัฒนธรรม คุณค่า เดิมๆ จะไม่ทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น

นี่คือการตอบสนองข้อเรียกร้องของท่าน รมตศึกษาธิการ จาตุรนต์ ฉายแสง

 

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ส.๕๖

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2013 เวลา 09:31 น.
 

การกำกับดูแลการวิจัย (Research Governance)

พิมพ์ PDF

เช้าวันที่ ๘ ส.. ๕๖ ผมไปฟังเรื่อง University / Faculty's Research and Academic Services โดย ศ. ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล   ในหลักสูตรคณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง (DFC) รุ่นที่ ๓

อ่าน ppt ก่อนการประชุม   ทำให้ผมตระหนักว่า ในเรื่องงานวิจัยนั้น ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่อง  ต้องมีทั้งการลงมือทำ การบริหาร และการกำกับดูแล   ผมเคยเขียนหนังสือเรื่องการบริหารงานวิจัย แต่ผมยังไม่ได้ตระหนักในประเด็นเรื่องการกำกับดูแลงานวิจัย ppt ของ ศ.ดร. ศันสนีย์ ทำให้ผมได้คิด

เนื่องจากงานวิจัยเป็นเรื่องของคนมีความรู้ จึงต้องมีความรับผิดชอบด้วย (ยิ่งรู้มาก ฉลาดมาก ก็ยิ่งมีโอกาสก่อความเสียหายแก่ส่วนรวมได้มาก หากเป็นคนไม่ดี  ตัวอย่างในวงการเมืองไทยในขณะนี้เห็นอยู่จะจะ) วงการวิจัยจึงควรเน้นจัดให้มีระบบกำกับดูแลแบบเน้นกำกับตนเองและกำกับกันเอง (self-governance) เป็นหลักใหญ่   เพื่อให้ระบบกำกับดูแลจากภายนอก ที่เป็น top-down governance มีน้อยที่สุด ให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

คงต้องตั้งต้นคิดเรื่องระบบกำกับดูแล ว่ามีเพื่ออะไร   คำตอบของผมคือ เพื่อให้กิจการหรือวงการนั้นทำประโยชน์ได้จริง และไม่ก่อโทษ   ไม่มีพฤติกรรมที่ก่อโทษแก่ตนเอง แก่เพื่อนร่วมองค์กร/วงการ และแก่สังคม   รวมทั้งเพื่อธำรงรักษาชื่อเสียง/ความน่าเชื่อถือในสังคม

วงการวิจัยจึงควรรวมตัวกัน กำหนดกติกา และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้มีระบบกำกับดูแลตนเองที่เข้มแข็ง

การกำกับดูแลต่างจากการบริหารหรือการจัดการ

การบริหาร/จัดการ เน้นผลลัพธ์ที่กำหนด

การกำกับดูแล เน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม   ซึ่งมองในมุมหนึ่ง เป็นเรื่องของการยืนยันว่า องค์กร/วงการ นั้นๆ ควรดำรงอยู่ เพราะมีคุณค่าต่อสังคม   มีผลดีมากกว่าผลเสียต่อสังคมอย่างมากมาย

. ดร. ศันสนีย์ กล่าวถึงหลักการกำกับดูแลที่ดี ๖ ประการคือ

๑. Transparency

๒. Ethics

๓. Accountability

๔. Participation

๕. Rule of Law

๖. Value for Money

 

 

แต่ละเรื่องของการกำกับดูแลการวิจัยที่ดีมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย   การที่ผมได้ฟังการบรรยายนี้จึงประเทืองปัญญา อย่างยิ่ง   และทำให้ผมสรุปกับตัวเองว่า การวิจัยก็เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ทรงคุณค่าอย่างอื่น    อาจดำเนินการไปในทางมิจฉาทิฐิได้    จึงต้องมีกลไกตรวจสอบกำกับดูแล อย่างจริงจัง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2013 เวลา 18:26 น.
 

ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๐๒. สะท้อนความคิดโดยคนไม่รู้จริง

พิมพ์ PDF

ผมได้อ่านบทความของอาจารย์วิจารณ์ พานิช หัวเรื่อง "สะท้อนความคิดโดยคนไม่รู้จริง" อาจารย์ท่านถ่อมตน ผมมีมุมมองที่แตกต่างจากอาจารย์ จึงขอสะท้อนความคิดในเรื่องเดี่ยวกัน มาเผยแพร่ ดังนี้

 

วันที่ ๗ ส.. ๕๖ ผมไปร่วมฟังการประชุม DFC 3 ในกิจกรรม Learn & Share and Case Study ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคลเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Human Resource Management) และเรื่องการบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) โดย ศ. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นวิทยากรตลอดวัน

 

ผมฟังแล้วบอกตัวเองว่า อาจารย์หมอประสิทธิ์พูดแบบคนรู้จริง   คือมีทั้งความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit / Theoretical Knowledge) และความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติหรือประสบการณ์ (Tacit / Practical Knowledge) ตรงกันข้ามกับการที่ผมได้รับเชิญไปพูดเรื่องการศึกษาในที่ต่างๆ    ผมพูดแบบคนไม่รู้จริง เพราะไม่มีประสบการณ์ตรง   จึงไม่มีปัญญาปฏิบัติ (Phronesis) เรื่องนี้ ในตัวผม

ทำให้คิดต่อ ว่าโลกนี้สังคมนี้มีมายาความหลงผิดอยู่ไม่น้อย   อย่างที่เกี่ยวกับตัวผมโดยตรง   ที่สมัยยังไม่แก่ มีความรู้มาก แต่คนไม่ค่อยยอมรับนับถือ เพราะยังไม่อาวุโส   พอแก่ตัวเข้า อาวุโสมาก แม้รู้ไม่จริง คนก็เชิญไปพูด

ตรงนี้ผมเองอาจเป็นตัวการให้เกิดความเข้าใจผิดนี้   โดยการอ่านเรื่องแนวคิดใหม่ๆ ด้านการศึกษา และเรื่องอื่นๆ ที่ผมสนใจ  แล้วสวมวิญญาณมนุษย์ในยุค Media 2.0 แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจออกไปในโลกไซเบอร์   โดยย้ำแล้วย้ำอีก ว่าที่เขียนนี้ไม่รับรองว่าถูกหรือผิด   ที่แน่ๆ คือคงจะมีทั้งที่ถูกหรือใช้การได้ และที่ผิด เอาไปใช้แล้วไม่ได้ผล

ในงานเดียวกัน เช้าวันที่ ๘ ส.. ๕๖  ผมไปฟังการบรรยายเรื่องการบริหารงานวิจัย   โดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล   ยิ่งยืนยันความไม่รู้จริงของผม   คือเมื่อฟังแล้ว ผมรู้สึกว่าการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัยก้าวหน้าไปอย่างมากมาย  มีการวางยุทธศาสตร์ใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัย เอาไปชวนแหล่งทุนมาสนับสนุนการวิจัยร่วมกัน   การมองภาพรวมของความเข้มแข็งของงานวิจัย แยกแยะตามคณะวิชา และตามสาขาวิชาการ   แล้วหาทางสนับสนุนให้เหมาะสม

ผมได้เห็นภาพของการจัดการงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัย ที่เป็นการจัดการเชิงรุก  และได้เรียนรู้ศาสตร์ด้านการจัดการงานวิจัยในมหาวิทยาลัย   ว่ามีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ กว้างขวางมาก

ทำให้ได้ความรู้ยืนยันการตัดสินใจไม่เขียนหนังสือ การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์ฉบับปรับปรุงใหม่ ตามคำชักชวนของ สกว. เมื่อประมาณ ๕ ปีมาแล้ว ว่า ผมตัดสินใจถูกแล้ว   เพราะผมไม่มีประสบการณ์และความรู้เชิงทฤษฎี ดีพอที่จะเขียนให้ทันสมัยได้เสียแล้ว

ผมเป็นคนแก่ที่เป็น ผู้ไม่รู้จริง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.. ๕๖

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

 

เรียนอาจารย์วิจารณ์ ที่นับถือ

สิ่งที่อาจารย์เขียนเป็นประโยชน์และมีคุณค่ามากครับ ผมมาจากภาคปฎิบัติ รู้จริง เพราะทุกอย่างเรียนรู้จากการกระทำ แต่เป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว ไม่สามารถนำไปถ่ายทอดและนำเสนอให้ผู้อื่นเห็นด้วยได้ หลังจากผมได้อ่านบทความของอาจารย์ที่อาจารย์นำมาเขียนจากการอ่านหนังสือดีๆและนำมาตีความ ผมขอยืนยันว่าสิ่งที่อาจารย์ตีความนั้นถูกต้องและเข้าใจง่าย แสดงว่าอาจารย์เป็นผู้รู้จริงครับ ถ้าไม่รู้จริงอาจารย์คงไม่สามารถตีความและถ่ายทอดออกมาได้  บทความของอาจารย์ทำให้ผมมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่ผมเรียนรู้        จากการปฎิบัติเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะตรงกับบทความที่อาจารย์ตีความจากทฤษฎีต่างๆ  อาจารย์เรียนรู้จากการศึกษาทางภาคทฤษฎี และมีความเข้าใจในสิ่งที่ควรจะเป็น อาจารย์สามารถเป็นโค้ชและที่ปรึกษาให้กับผู้ปฎิบัติที่ขาดทฤษฎีเช่นผมได้ครับ ผมเรียนตามตรงว่าอาจารย์เป็นผู้ที่ให้ความรู้และต่อยอดความคิดผมได้เป็นอย่างดีครับ ผมสามารถนำความรู้จากการอ่านบทความของอาจารย์ไปต่อ ยอดและนำไปใช้ในงานของผมได้เป็นอย่างดี การปฎิบัติมาจากการลองผิดลองถูกครับ อาจารย์เก็บตัวและระวังตัวมากเกินไปจนไม่ยอมนำความรู้ของอาจารย์ไปสู่การปฎิบัติ ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์ไม่รู้จริงครับ อาจารย์ยังเป็นบุคคลที่มีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อีกมากครับ อาจารย์สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่อาจารย์ได้รับสมัยอายุยังน้อยจนมาถึงปัจจุบัน มาช่วยให้การสนับสนุนคนรุ่นหลังได้ทำงานเพื่อประเทศชาติได้ครับ ผมจำได้ว่าเคยพบอาจารย์ครั้งหนึ่งในงานสัมมนา หรืองานประชุม อาจารย์เป็นหนึ่งในผู้อภิปราย ผมประทับใจและชื่นชมกับอาจารย์มาก หลังจากนั้นได้ไปแนะนำตัวกับอาจารย์ และขอให้อาจารย์ช่วยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของ "ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์" แต่อาจารย์ปฎิเสธโดยอ้างว่าอาจารย์มีงานมากไม่มีเวลา และอายุมากแล้ว ร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ ผมเชื่อว่าถ้าผมได้รับความกรุณาจากอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน ผมจะสามารถทำงานเพื่อสังคมที่ทุกคนต่างพูดกันว่าเป็นงานยาก ได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานที่ผมทำเป็นงานที่ผมคิดถึงคนรุ่นหลัง เป็นงานที่คน 3 รุ่น ต้องทำร่วมกัน  โครงการนี้เป็นโครงการที่จะเห็นผลในรุ่นของลูกคนที่มีอายุ 25 ปี ในปัจจุบัน (ผมจะส่งรายละเอียดโครงการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ไปให้อาจารย์ทาง e-mail ของอาจารย์ และหวังว่าจะได้รับการพิจารณา)

ด้วยความนับถืออย่างสูง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

12 กันยายน 2556

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2013 เวลา 19:36 น.
 

KM วันละคำ : 605. คำถามเชิงระบบ เอื้อเฟื้อให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาสติปัญญา

พิมพ์ PDF
หากมีคนมาช่วยตั้งคำถามเชิงระบบ (systems question, systematic inquiry) ในกระบวนการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) จะช่วยกระตุกให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ มองเห็นความเชื่อมโยง ของงานของตน กับภาพใหญ่ เกิดกระบวนทัศน์เชิงภาพใหญ่ (มหภาค - macro) และมองเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

KM วันละคำ : 605. คำถามเชิงระบบ เอื้อเฟื้อให้เพื่อนร่วมงานพัฒนาสติปัญญา

ชีวิตจริง การทำงานจริง ไม่ได้เป็นเส้นตรง   ไม่ได้เป็นระบบที่ง่ายหรือตรงไปตรงมา (Simple, Linear)   แต่เป็นระบบที่ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    ที่เรียกว่า ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว (Complex-Adaptive Systems : CAS)

แต่คนเราโดยทั่วไป เวลาทำงานจะมองเห็นหรือตระหนักอยู่เฉพาะงานตรงหน้า    เป็นโลกทัศน์เชิงจุลภาค (micro) และหยุดนิ่ง ไม่เชื่อมโยง    การเรียนรู้จึงเกิดน้อย

หากมีคนมาช่วยตั้งคำถามเชิงระบบ (systems question, systematic inquiry) ในกระบวนการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) จะช่วยกระตุกให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ มองเห็นความเชื่อมโยง ของงานของตน กับภาพใหญ่   เกิดกระบวนทัศน์เชิงภาพใหญ่ (มหภาค - macro) และมองเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

การตั้งคำถามเชิงระบบ เป็นการเสนอกรอบคิดใหม่   ที่ช่วยสร้าง new consciousness ในการเสวนา

วิจารณ์ พานิช

๗ ก.ย. ๕๖

บางแสน

 

 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 08 กันยายน 2013 เวลา 21:18 น.
 


หน้า 450 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5607
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8611098

facebook

Twitter


บทความเก่า