Thaiihdc.org

  • เพิ่มขนาดตัวอักษร
  • ขนาดตัวอักษรปกติ
  • สดขนาดตัวอักษร
Thaiihdc.org

โครงการ DFC3

พิมพ์ PDF

วันที่ ๒๒ พ.ค. ๕๖ ผมเข้าร่วมกิจกรรม DFC3 Orientation จัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ

DFC ย่อมาจาก Dean for Changeรุ่นนี้เป็นรุ่น ๓  จัดเพื่อเตรียมคนเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ระดับคณบดี  ที่มีหัวใจ จิตใจ และทักษะการบริหารการเปลี่ยนแปลง

จากการเข้าร่วมประชุมวันนี้ ผมเห็นชัดเจนว่าการดำเนินการหลักสูตรนี้เข้มข้น และมีคุณภาพสูงมาก  โดย keyword ของหลักสูตรคือ change, internationalization, และ collaborationและในวันนี้มีการฝึกเทคนิค ๒ อย่าง เพื่อใช้ในกิจกรรมร่วมกันตลอดหลักสูตร  คือ storytellingและ gallery walkผมได้คุยกับทีมของคลังสมองและทราบว่า ตอนไปดูงานที่เยอรมัน ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๔ มิ.ย. ๕๖จะใช้เครื่องมือ AAR ด้วย  โดยทำกันบนรถระหว่างเดินทาง   ทีมของสถาบันคลังสมองได้เตรียมข้อมูลไว้อย่างดี  ว่าการเดินทางช่วงต่างๆ ในเยอรมันมีเวลาเท่าไร  จะใช้ประโยชน์ของเวลาให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ร่วมกันโดยทำ AAR

ผู้เข้าร่วมหลักสูตรมี ๑๘ คน จาก ๑๑ มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยที่ส่งคนเข้าร่วมมากที่สุดคือ มข. ๓ คน  มาจากคณะวิทยาการจัดการคณะเดียว  มีวิทยากรเดินทางไปเยอรมันด้วย ๔ คน ผมไปในฐานะวิทยากรรับเชิญ โดยผมออกค่าใช้จ่ายเอง เพราะอยากไปเรียนรู้  อยากมีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่อุดมศึกษาไทย

ในวันปฐมนิเทศนี้ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง ผอ. สถาบันคลังสมองได้เกรินนำขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลง ๘ ขั้นตอนของ Kotterเป็นการเรียนทฤษฎีแบบเกริ่นนำ  ให้ไปค้นคว้าเองต่อ   แล้วไปดูตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัย ๗  แห่งในเยอรมัน  แล้วจึงกลับมาทำ “แบบฝึกหัด” ของตนเอง เรียกว่า PAP (Program Action Plan) ตามด้วยการนัดหมายมารวมตัวแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ จะมีรายการ Learn and Share ใช้เวลา ๕ วัน  เพื่อเรียนรู้ change module ที่สำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยไทย รวม ๖ หน่วย  โดยจะมีรายการไปดูงานที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วย  เป็นการเสริมความรู้เชิงทฤษฎี และตัวอย่าง  สำหรับให้ผู้เข้าหลักสูตรได้นำไปใช้ปฏิบัติจริงใน PAP  รายการ PAP นี้ จะมีการทำงานต่อเนื่อง จนมี  Final Conference วันที่ ๙ - ๑๐ ม.ค. ๕๗

ผมมีความรู้สึกหลังฟังรายละเอียดของการเดินทางไป study visit ที่เยอรมันว่า  เป็นการเดินทางที่มีการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้มข้นมาก  ในขณะเดียวกัน ก็จัดให้มีทัศนศึกษา และมีเวลาให้ช็อปปิ้งด้วย  และที่พักที่กินก็ดีมาก คือได้เรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมด้วย

วันเสาร์ที่ ๘ มิ.ย. ๕๖ สาวน้อยทักว่าคราวนี้ผมไม่ออกไปประชุม จนเย็นก็กลับเข้าบ้าน และเตรียมตัวไปขึ้นเครื่องบิน อย่างตอนที่ไปสวิตเซอร์แลนด์กับเธอคืนวันที่ ๘ พ.ค. ๕๖ ที่ผ่านมา

ผมใช้วันเสาร์นี้เตรียมเที่ยวในวันอาทิตย์รุ่งขึ้นที่ เบอร์ลิน  สาวน้อยเขาอ่านหนังสือนำเที่ยว ใครๆ ก็ไปเที่ยวเยอรมันนีแล้วบอกว่าเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดมี ๓ เมือง  คือ เบอร์ลิน  แฟรงค์เฟิร์ต  และมิวนิก  แต่ผมไปคราวนี้ไปทำงาน/เรียนรู้ ไม่ใช่ไปเที่ยว  การเที่ยวถือเป็นของแถม

เราจะได้ไปชม Charlottenberg Palace, Boat trip city tour, และไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหาร Roof Garden Restaurant ที่อาคารรัฐสภาBundestagผมก็เข้าไปชมเสียก่อนทาง อินเทอร์เน็ต

 

 

วิจารณ์ พานิช

๘ มิ.ย. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540065

 

เที่ยวสวิส ๒

พิมพ์ PDF

เราเดินทางโดยการบินไทย TG 970 ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา ๐.๔๐ น. ของวันที่ ๙ พ.ค. ๕๖

เราได้ที่นั่ง 17 AB ซึ่งเป็นที่นั่งหลังสุดของชั้นธุรกิจห้องแรกแต่ยังมีชั้นธุรกิจห้องหลังอีกด้วยเครื่องบิน Airbus A 340-600  เราอดกินอาหารที่เสิร์พตอนตีหนึ่งครึ่งไม่ได้เพราะรู้ว่าอร่อยผมกินเนื้อเนื้อลูกวัวปรุงแบบซูริกแกล้มไวน์แดง Pinot Noir อร่อยมาก สาวน้อยกินปลากินไม่หมดจะเอามายกให้ผมช่วยกินผมยอมแพ้

เราเข้านอนตีสองครึ่งรวมแล้วได้นอนราวๆ ๕ ชั่วโมง แล้วตื่นมาดูหนังเรื่อง Life of Pi ซึ่งแสดงดีจริงๆผมชอบคำคมของพระเอกตอนอายุวัยกลางคนที่กล่าวว่า Faith has many rooms and floors คือพระเอกเป็นคนจิตใจดีมีเมตตา  ตั้งแต่เป็นเด็ก จากการอบรมของแม่  เขานับถือ ๓ ศาสนา  และชอบคติ  Don't lose hopeตอนที่พระเอกเรือแตกอยู่ในเรือกับเสือเบงกอล ๑ ตัว

จบแล้วดูเรื่อง Ann Karenina ได้อีกนิดหน่อยผมชอบที่เพลงเพราะมากและเครื่องแต่งกายงดงามรวมทั้งได้เรียนรู้ชีวิตคนในรัสเซียสมัยโบราณ

อาหารเช้าผมขอเนยแข็งและเนื้อเย็นแต่หมดจึงกินไส้กรอกเนื้อลูกวัวเบคอนและไข่กวนซึ่งก็อร่อย

ใกล้ถึงซูริกบินผ่านเทือกเขาที่ยอดมีหิมะขาวโพลนและเมฆมากเรานั่งที่นั่งด้านซ้ายมือ 17AB จึงได้เห็นวิวยอดเขาหิมะที่แดดส่องสวยงามมากพอเครื่องบินจะลงแดดร่มแต่อากาศใสดี

ตอนเครื่องบินเข้าเทียบทางเชื่อมปีกไปสะกิดเข้ากับรถขนสัมภาระโดนเครื่องยนต์ตัวที่๔  ต้องรอบนเครื่องครู่หนึ่งและเมื่อลงมารับกระเป๋าก็ต้องรอนานกว่าปกติเป็นครั้งแรกที่ผมเจอเหตุการณ์แบบนี้

ที่สนามบินเราถามทางไปสถานีรถไฟไปหาที่ขายตั๋วเพื่อ validate ตั๋วSwissPassเขาต้องการพาสปอร์ตไปยืนยันเดี๋ยวเดียวก็เรียบร้อยพร้อมกับแนะนำว่าไปเบิร์นที่ชานชาลา ๔  ออกเวลา ๘.๔๐ น.

รถไฟชั้น ๒ คนแน่นแต่ลงที่ซูริกเกือบหมดแล้วมีคนขึ้นมาใหม่ดูสถานการณ์วันนี้ผมคิดว่าหากเราซื้อตั๋วชั้น ๑ จะดีกว่า(แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นชั่วครู่หลังจากไปเที่ยวจนครบ ๑ สัปดาห์ก็สรุปว่าซื้อตั๋วชั้น ๒ ดีกว่าประหยัดเงินและสดวกสบายเพียงพอแล้ว)  จากซูริกรถไฟแล่นรวดเดียวถึงเบิร์นโดยไม่หยุดที่ไหนเลยเพราะนี่เป็นรถ IC - Intercity แล่นระหว่างเมืองระหว่างทางวิวสีเขียวของต้นไม้และหญ้าบางที่ก็มีดอกหญ้าสีเหลืองเต็มทุ่งสวยงามบางที่เป็นแปลงต้นRapeseedสีเหลืองเข้มไม่มีวิวยอดเขาหิมะคลุมในรถไฟสาวน้อยบอกว่าไม่เห็นหนาวเลยตอนเครื่องบินจะลงกัปตันประกาศว่าอุณหภูมิ ๑๕ องศาเซลเซียสและฝนตกที่จริงสาวน้อยเขาตรวจสอบพยากาณ์อากาศรู้มาก่อนแล้วว่าวันนี้ที่เบิร์นฝนตก

ในเวลา ๑ ชั่วโมงรถไฟแล่นมุดอุโมงค์หลายครั้งสวิสเป็นประเทศภูเขาจึงเก่งเรื่องเจาะภูเขาให้รถไฟผ่านเวลา ๑๐ น. รถไฟก็ถึงเบิร์นเราหาแผนที่ที่สถานีรถไฟไม่ได้เดิมกะว่าจะเดินลากกระเป๋าไปโรงแรมเองแต่คลำทางไม่ถูกจึงใช้แท็กซี่จ่ายค่าโดยสารไป ๑๔ ฟรังก์เรามาพบว่าที่จริงโรงแรมเบสเวสเทิร์นคือโรงแรมเบิร์นนั่นเองป้ายชื่อด้านนอกเขียนว่า Bern Hotel แต่ด้านในบอกว่าเป็น Best Western Bern

โชคดีที่ห้องว่าง เราจึงไม่ต้องรอเวลา เช็คอิน ตามกำหนดคือ ๑๕.๐๐ น.  ผมอาบน้ำแล้วชวนสาวน้อยออกชมเมือง เบิร์น ทันที  รวมแล้วเราเที่ยวอยู่แถวเมืองเก่านั่นเอง   โดยเริ่มต้นเรานั่งรถรางป้ายเดียวไปด้านใต้ของเมือง ไปที่หมู่พิพิธภัณฑ์ ซึ่ง History Museum เขามีนิทรรศการพิเศษ Qin The Eternal Emperor and His Terra Cotta Warriorsคือจิ๋นซีฮ่องเต้ (259-210 BC) มาถึงเบิร์น  เราจึงเข้าไปชม โดยเสียค่าตั๋วและ audio guide คนละประมาณ ๑ พันบาท  เราได้รับคำบอกเล่าจากหนังสือนำเที่ยวว่าคนถือตั๋วสวิสพาส เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรี  แต่นิทรรศการพิเศษอย่างนี้  ตั๋วสวิสพาส ไม่มีฤทธิ์  ผมชอบมาก แต่สาวน้อยไม่ชอบ  ถ้ามีเวลาผมอยู่ชมได้ทั้งวันหรือสองวัน

จิ๋นซีฮ่องเต้และเหล่าพลรบปฐพี ๘ พันนาย นอนสงบอยู่ใต้ดินกว่าสองพันปี จนชาวนากลุ่มหนึ่งบังเอิญไปขุดพบศีรษะของพลรบหนึ่งเข้าในปี ค.ศ. 1974  ดูรายละเอียดของนิทรรศการได้ที่ www.qin.ch/en/exhibition/catalogueผมชอบที่ทางการจีนเขาพัฒนาวิชาการขึ้นมาอนุรักษ์สินทรัพย์ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้อย่างเอาจริงเอาจังมากเราได้เห็นผลงานวิจัยทำให้ทราบว่าสภาพของทหารดินเผาตอนสร้างเสร็จสวยงามอลังการ์คล้ายคนจริงๆอย่างไรโดยเฉพาะสีของเสื้อผ้าที่ฉูดฉาดงดงาม

ผมชอบที่ทางสวิสเขามีคำอธิบายเป็นวิชาการดีมาก  แต่ตอนนั้นสาวน้อยไม่ค่อยสบาย  ผมจึงต้องชมแบบรีบๆ  โดยที่มีคนเข้าชมแน่น  เขามีโปสเตอร์โฆษณานิทรรศการนี้ทั่วเมือง

ที่จริงมีอีกหลายพิพิธภัณฑ์ ที่ผมอยากเข้าชม  แต่สาวน้อยไม่สนใจ ผมจึงเอาใจเมีย  เพราะมาคราวนี้เป้าหมายคือมาพักผ่อนฮันนีมูน แบบคนแก่ใกล้ลาจากกัน

จากนั้นเราไปนั่งพักผ่อนให้สาวน้อยฟื้นแรง ที่สวนเล็กๆ หน้าพิพิธภัณฑ์  ผมกินแซนวิชที่สาวน้อยทำมาให้  สาวน้อยไปซื้อไอศครีมเนสเล่ รสกาแฟมากิน กินแล้วติดใจ  และมีแรงขึ้นทันใด  แล้วเราเดินสวนทางรถรางที่นั่งมาเมื่อเช้า  เพื่อไปที่สะพานข้ามแม่น้ำอาเรอ  เพราะรู้แล้วว่าระยะทางใกล้นิดเดียว  เห็นทางเดินข้างแม่น้ำข้างล่างน่าสนใจ  ถามคนสวิสเขาบอกว่าลงไปเดินได้  ทางเดินเป็นธรรมชาติ มีต้นไม้ใหญ่และดอกไม้ สวยงามและให้ความสดชื่นมาก  ช่วงนี้จึงเป็นไฮไล้ท์ของผม  แต่สาวน้อยปวดขา เพราะข้อเข่าข้างหนึ่งเสื่อม  จึงต้องใช้สามีเป็นไม้เท้าเป็นระยะๆ

วันนี้โชคดีที่ฝนไม่ตก มีตกลงมาแบบน้ำค้างในตอนเย็น

เราเดินมาหาทางนั่งรถไปหาตลาดชาวนา แต่หาไม่พบ  จึงไปเดินแถวสถานีรถไฟ  แล้วคลำทางกลับโรงแรม เพื่อพักผ่อน  และฉลองวันครบรอบแต่งงาน ๔๔​ปี ด้วยมาม่าปาร์ตี้

ตอนจองโรงแรมเราระบุว่าเป็นห้องเตียงใหญ่  พอนอนจริงจึงรู้ว่าเขาเอาเตียงเล็ก ๒ เตียงมาต่อกัน ไม่ใช่เตียงใหญ่จริงๆ  และบริการ Wifiแย่มาก หลุดอยู่ตลอดเวลา  เป็นจุดอ่อนที่สุดของโรงแรมนี้  แต่บริการอื่นๆ ดี  อาหารเช้าดี แต่ไม่มีผลไม้  แถมมีนกร้องขับกล่อมด้วย แม้จะอยู่กลางเมือง

 

คืนวันที่ ๙ พ.ค. ๕๖ เราเข้านอนตั้งแต่สองทุ่ม  ผมนอนรวดเดียว ๗ ชั่วโมงด้วยความช่วยเหลือของยานอนหลับ Lorazepam 0.5 mg.  ตื่นตีสามพอดี

ตื่นขึ้นมาก็เจอข่าวร้าย คือฝนตกหนักในขณะนั้น  และพยากรณ์อากาศบอกว่ามีฝนไม่หนักในวันที่ ๑๐  แต่จะมีฝนติดต่อกันไปอีกหลายวัน

พอ ๖.๓๐ น. ก็ลงไปกินอาหารเช้า ซึ่งอุดมสมบูรณ์และอร่อย คุ้มกับราคาคนละ ๑๘ ฟรังก์  เสียแต่ไม่มีผลไม้  ตลอดเวลา ๔๐ นาทีที่เรากินอาหารเช้า มีเรา ๒ คนเท่านั้นในร้านอาหารกว้างใหญ่

ฝ่าสายฝน ไปขึ้นรถรางเบอร์ ๑๐ ที่ป้าย Zytglogge ไปสถานีรถไฟ ใช้เวลารวม ๑๐ นาที  เราเริ่มคุ้นสถานที่ เล็งร้านที่จะฝากปากท้องได้หลายร้านเช่น Migros, COOP  สะดวกมาก  แล้วไปดูป้ายใหญ่บอกเวลารถออก  พร้อมทั้งหยิบเอกสารบอกเวลารถเข้าออกจากเบิร์น เล่มเล็ก เอาไว้เป็นคู่มือเดินทาง  ตอนแรกป้ายยังไม่ถึงขบวนรถที่จะออกเวลา ๘.๐๐ น. ไป ลูเซิร์น ที่เราเล็งไว้  สักครู่ป้ายก็บอกว่า ขึ้นที่ชานชาลา ๑๐

เราเดินไปนั่งสังเกตการณ์ที่ชานชาลา ๑๐ เวลาประมาณ ๗.๓๕ น.  พบว่า มีขบวนรถเข้ามาหลายขบวน  เราหลงไปนั่งที่เก้าอี้สำหรับคนมานั่งสูบบุหรี่  จึงสังเกตเห็นป้ายบอกบริเวณสูบบุหรี่ตรงม้านั่งทุกตัวที่เห็นในชานชาลา  แปลกมาก ที่เขาเอื้อเฟื้อที่นั่งเฉพาะคนสูบบุหรี่  มิน่า ผมจึงสังเกตเห็นคนสูบบุหรี่มากในสวิส

วันนี้นั่งรถไฟชั้น ๒ อย่างสุโข คือเราสองคนนั่งครองที่นั่ง ๔ คน  และส่วนใหญ่ผู้โดยสารคนเดียวก็ครองที่นั่ง ๔ คน  เส้นทางระหว่างเบิร์นกับลูเซิร์นก็เหมือนเมื่อวาน คือเป็นวิวทุ่งหญ้าและชนบทสลับกับเมือง

ลงรถไฟที่สถานีลูเซิร์นเดินผ่าน i เราเข้าไปถาม  ได้คำแนะนำที่ยอดเยี่ยมรวบรัดเพื่อให้เราทันเรือเที่ยว 9.12 น.  ซึ่งเราก็ทันเฉียดฉิว  ได้ล่องเรือในทะเลสาบลูเซิร์นท่ามกลางหมอกและสายฝน  วิวสวยไปอีกแบบ  และผู้โดยสารบางตา ทั้งลำในชั้นสองสัก ๒๐ คนเท่านั้นเรือลำนี้ระวางบรรทุก ๓๕๐ คน  แต่เช้านี้ผู้โดยสารไม่เกิน ๓๕ คนในแต่ละช่วง  คือมีผู้โดยสารขึ้นลงตามท่าที่จอดไปเรื่อยๆ  เป้าหมายของเราคือ Vitznau

จากท่าเรือ วิสเนา มีป้ายบอกทางไปสถานีรถไฟขึ้นเขา Rigi เป็นรถสีแดงโบกี้เดียว  ว่าเป็นรถไฟที่ชัน จึงต้องมีฟันเฟืองลากรถขึ้นลง  ไปพบคนไทยแม่ลูกจากพัทยา ลูกสาวเป็นหมออยู่ที่ รพ. บางละมุง ชื่อ พญ. วันนาวี  มาเที่ยวกัน ๒ คน พักที่ ลูเซิร์น

ระหว่างทางทั้งฝนตก ทั้งหมอกลงจัด เมื่อไปถึง Rigi Kulm ฝนตกหนัก หมอกหนา  และอากาศหนาวมาก  เราจึงขึ้นรถไฟสีฟ้ากลับลงอีกทางหนึ่ง ไปยัง อาร์ธ - โกลเดา (Arth-Goldau)  บนรถมีผู้โดยสารเพียง ๓ คน  ระหว่างทางผมไปขอถ่ายรูปที่กระจกหน้ารถ เพราะกระจกข้างรถฝ้าหมด  โชเฟอร์ใจดี ช่วยปัดน้ำฝนให้ผมถ่ายรูปหลายครั้ง  จนถึงที่หนึ่งเขาหยุดรถให้ผมเอากระจกข้างลง ถ่ายรูปน้ำตก  ดังนั้นเมื่อถึงปลายทางที่ โกลเดา ผมจึงเดินไป ดังเก้เชิน (Danke Schoen) ขอบคุณมากครับ กับเขา  เขาตอบว่า Bitte Schoen ยินดีมากครับ

ที่สถานีโกลเดา มีอุโมงค์ลอดถนนไปยังสถานี  พอดีกับรถไปลูเซิร์นกำลังจะมาพอดี  ได้นั่งกินอาหารเที่ยงที่สาวน้อยเตรียมมาบนรถไฟอย่างสบายใจ  ระหว่างทางเราผ่านบริเวณริมทะเลสาบซุก (Zugersee) ที่สวยงามยิ่ง  เราไปถึงลูเซิร์น ก่อนรถ Golden Pass Line ไป  Interlaken Ost จะออกถึง ๒๕ นาที  จึงมีโอกาสเลือกที่นั่งที่วิวจะสวยงามมาก

เราลงที่ Brienz ต่อรถ Postbus ไปชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง (Swiss Open Air Museum for Rural Culture) Ballenberg ท่ามกลางสายฝนและความหนาว  ค่าเข้าชมฟรีจากตั๋ว สวิสพาส  ซื้อ Guidebook 2 ฟรังก์  ดูได้นิดเดียวก็กลับมารอรถเมล์กลับไปสถานีรถไฟ Brienz  เพราะสาวน้อยหนาวและปวดขา   จับรถไป Interlaken Ost  แล้วต่อ IR เวลา 17.00 น. ไปเบิร์น ถึง 17.52 น.  เป็น ๑ วันที่ได้เที่ยวสนุกมาก  ที่สถานีรถไฟ เบิร์น เราซื้อสลัด และผลไม้มากินกับมาม่า เป็นอาหารเย็น

ผมชักติดใจนั่งรถไฟสวิส เพราะสะดวก  ไม่ต้องรอนาน และตรงเวลา   ห้องน้ำก็สะอาด รวมทั้งรถไฟสะอาดทั้งหมด  แต่วันนี้ฝนตกเกือบทั้งวัน

วิจารณ์ พานิช

๑๐ พ.ค. ๕๖  ปรับปรุง ๑๙ พ.ค. ๕๖

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/539924http://www.gotoknow.org/posts/539958

 

โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียนเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์ PDF

หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ประเทศในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nation) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีเสถียรภาพทางการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ให้เกิดศักยภาพสูงสุดในภูมิภาคและต่างได้รับประโยชน์จากความร่วมมือที่ช่วยซึ่งกันและกัน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC (ASEAN Economic Community) เป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมทั้งการเปิดเสรีให้เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก สินค้า บริการ แรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น เพื่อลดอุปสรรคการค้าและการลงทุนให้น้อยที่สุด เป็นการพัฒนาไปสู่มาตรฐานค่าครองชีพ ลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคมในน้อยลง

ด้วยกระแสของ AEC ในวันนี้ ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวที่จะปรับยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อม และเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและควรจะต้องทำแบบมีแนวทาง และมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม

ภาคการศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเตรียมพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงจำเป็นต้องมีความรู้ที่ดีในเรื่องนี้

ในการนี้สโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจึงจะร่วมกันจัดโครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สำหรับโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ความสำคัญของทุนมนุษย์ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2.เพื่อพัฒนาความรู้เข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสร้างความตระหนักในความสำคัญและผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งที่เป็นโอกาสและความเสี่ยง สามารถนำมาใช้พัฒนาตนเองและสังคม ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ครู 30 คน นักเรียน 30 คน ผู้นำชุมชน 15 คน

รูปแบบกิจกรรม

เป็นการอภิปรายกลุ่มนำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติและคณะวิทยากรจากสโมสรไลออนส์กรุงเทพ รัตนชาติ

วันเวลาและสถานที่

ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00-11.00 น. ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ 9 โครงการหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดเชียงใหม่

คัดลอกจาก http://www.gotoknow.org/posts/540000

 

กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC

พิมพ์ PDF

มายาคติ

“ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบการอาเซียนจะสามารถ

เข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรีกับผู้ประกอบการไทย

ในทุกสาขาบริการ”

ข้อเท็จจริง

1. กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC มิได้เป็น

ข้อผูกพันทางกฎหมายหากแต่เป็นเพียง“Roadmap”

เพื่อให้การเจรจาในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน

มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนต่างจากการเจรจาใน

อดีต

2. การเปิดเสรีภายใต้ AEC Roadmap มิใช่การเปิดเสรีที่

สมบูรณ์แบบเหมือน EU

การเจรจาด้านการค้าบริการในอาเซียน

 

1.การเจรจาการค้าบริการในอาเซียนซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) ใช้รูปแบบ request/offer ซึ่งลอกเลียนมาจากการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการในองค์การการค้าโลก (GATS)

2.เป็นการเปิดเสรีตามความพร้อมของรัฐสมาชิกเนื่องจากการเปิดเสรีภายใต้ AFAS ไม่คืบหน้าจึงได้มีการกำหนด“Roadmap”ในการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนโดยมีการกำหนด“เป้าหมาย” และ“เงื่อนเวลา” ในการเปิดเสรีใน AEC Blueprint เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการเปิดเสรีตาม Roadmap ดังกล่าวประเทศสมาชิกจะต้องยื่นข้อผูกพันที่จะเปิดเสรีภาคบริการในการเจรจาใน AFAS 4 ครั้ง้ในปีค.ศ. 2009, 2011, 2015 และ 2016

 

เป้าหมายการเปิดเสรีภายใต้ AEC มีข้อจำกัด

1.กรอบการเปิดเสรีจำกัดเฉพาะ การเพิ่มสัดส่วนการถือหุุ้นของนักลงทุนอาเซียนในธุรกิจบริการไม่รวมกฎกติกาภายในประเทศที่อาจเป็นอุปสรรคกีดกันการแข่งขัน

2.กรอบแนวทางการเปิดเสรีให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกที่ไม่พร้อมที่จะดำเนินการตาม Roadmap ที่กำหนดไว้ใน AEC ทำให้การเปิดเสรีไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

 

ข้อสรุป

1.ชาติสมาชิกอาเซียนมิได้เดินตาม“Roadmap” ของ AEC ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดอยู่แล้ว

2.ข้อเสนอการเปิดเสรีของไทยล่าสุดสะท้อนให้เห็นนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการสร้างฐานการผลิตอาเซียนที่มีการค้าบริการที่เสรีระหว่างกัน

3.ความเป็นไปได้ที่อาเซียนจะเปิดเสรีภาคบริการได้ตาม Roadmap ในปีพ.ศ. 2558 จึงมีน้อยมาก

ข้อมูลเบื้องต้นได้จากการนำเสนอ ของ                                                                                                                                                         ดร.

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

และ ดร.วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี

 

 

 

ในงาน

สัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ของ

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

 

 

26 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

18 มิถุนายน 2556

 

แนวคิดประชาสังคมในทัศนะของ อิมมานูเอล ค้านท์

พิมพ์ PDF

ค้านท์ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1724-1804 เป็นนักปรัชญาเชิงวิพากษ์ชาวเยอรมัน ปรัชญาทางการเมืองของค้านท์มีรากฐานมาจากปรัชญาทางศีลธรรมที่อาศัยหลักการสังเคราะห์เหตุผลในการตัดสินใจปฎิบัติการต่างๆ ที่แสดงออกทางสังคม ค้านท์เห็นว่าสัญญาประชาคมทั้งหลายเป็นที่รวมของปัจเจกชนที่มาผูกพันกัน เพื่อเป้าหมายร่วมบางประการโดยมีการแลกเปลี่ยนทางความคิด ถือว่าเป็นหน้าที่เบื้องต้นของระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ การรวมตัวนี้เปรียบเสมือนเป็นประชาคมทางการเมืองที่ปรากฎให้เห็นทางสังคมที่มีการสถาปนารัฐของชาวประชาขึ้น สัญญาประชาคมได้สถาปนาเป็นประชาสังคมขึ้น เป็นสังคมทางการเมืองที่มีเจตจำนงร่วมที่ปัจเจกชนมาร่วมแลกเปลี่ยนกัน  การแสดงเจตจำนงร่วมในประชาคมทำให้ภาวะความมีสิทธิของพลเมืองเกิดขึ้น และมีเสรีภาพที่จะกำหนดกฏเกณฑ์มาใช้ในหมู่ประชาสังคมด้วยตัวเอง เสรีภาพในการใช้สิทธิหมายความว่าพวกเขามีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมายได้ โดยยกเว้นกฎหมายที่ประชาสังคมให้ความยินยอม หลักคิดนี้ค้านท์หมายความว่าเป็นการยินยอมของประชาสังคมที่จะสร้างธรรมนูญของพลเมืองขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมายร่วมอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของประชาสังคม ในทัศนะของ     ค้านท์เห็นว่ารูปแแบของรัฐที่ดีที่สุด คือรัฐบาลที่มาจากรัฐธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ โดยมีสมมติฐานว่าพลเมืองแต่ละคนได้ให้ความยินยอมแก่องค์อธิปัตย์ที่ใช้อำนาจกฎหมายผ่านระบบตัวแทนซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางอ้อม หรืออาจจะโดยตรงก็ย่อมได้ ดังนั้น ในนิมิตทางศีลธรรม พลเมืองต้องมองว่ากฎหมายทุกฉบับคือที่มาของเจตจำนงของพลเมือง ตามนัยนี้ประชาสังคมจะต้องมีบทบาทสำคัญในการแสดงเจตจำนงที่จะกำหนดกฎหมายให้องค์อธิปัตย์นำไปบังคับใช้

แนวคิดสัญาประชาสังคมในทัศนะของค้านท์มองว่าสัญญาประชาคมคือที่รวมของเหตุผลในการสร้างกระบวนการยุติธรรม กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณะจะต้องมองว่ากฎหมายมีไว้เพื่อคนทั้งมวลตราบใดที่ยังเห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายนั้นๆต่อไป แนวคิดประชาสังคมนี้เป็นหลักการสำคัญในปรัชญาทางการเมือง เป็นหลักการเน้นย้ำว่ารัฐจะต้องมีหลักประกันให้พลเมืองแต่ละคนมีเสรีภาพให้มากที่สุดเท่าที่เป็นได้ และเป็นเสรีภาพที่สอดคล้องกับพลเมืองทุกคน กล่าวคือเป็นเสรีภาพที่ไม่ไปละเมิดเสรีภาพของคนอื่นๆ ดังนั้นการมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกันให้มากที่สุดคือเป้าหมายแบบมีเหตุผลของเจตจำนงร่วม หลักการนี้ถือว่าเป็นแก่นหลักของแนวคิดสาธารณรัฐนิยม (Republicanism)   ค้านท์เชื่อว่ารูปแบบของรัฐบาลแบบสาธารณรัฐเป็นรูปแบบรัฐที่มีศีลธรรมที่ดีและเป็นประโยชน์ที่สุด เพราะเป็นรูปแบบที่ทำให้พลเมืองมีเสรีภาพมากที่สุดเท่าที่จะมีได้ นอกจากนี้รูปแบบสาธารณรัฐยังช่วยทำให้จุดมุ่งหมายตามหลักการของสัญญาประชาคมมีความสมบูรณ์

ตามทัศนะของค้านท์ สัญญาประชาคมและแนวคิดเกี่ยวกับการถือครองทรัพย์สินคือพื้นฐานแห่งความเป็นธรรมและศีลธรรมของประชาสังคม ซึ่งค้านท์มองว่าประชาสังคมมีความจำเป็นในฐานะเป็นสังคมทางการเมือง ที่มีความจำเป็นเพราะความยุติธรรมจะเกิดขึ้นมาได้ ก็โดยสร้างระบบกฎหมายมหาชนขึ้นมา มนุษย์ทุกคนจะต้องเข้าสูงประชาสังคม จุดมุ่งหมายของประชาสังคมคือบังคับให้มนุษย์ต้องเคารพสิทธฺิของคนอื่น แต่การเพิ่มเสรีภาพให้พลเมืองยังไม่เพียงพอต้องเพิ่มเสรีภาพทางการเมืองด้วย รวมทั้งต้องมีรูปแบบรัฐบาลแบบสาธารณรัฐ แนวคิดอำนาจหน้าที่ทางการเมืองของรัฐที่ต้องคอยปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ อำนาจรัฐที่ใช้บังคับโดยรัฐนั้นเป็นไปเพื่อปกป้องเสรีภาพของปัจเจกชนเท่านั้น  ส่วนสิทธิสาธารณะ (public right) เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยการจำกัดขอบเขตเสรีภาพของปัจเจกชนเพื่อให้มีความกลมกลืนและบูรณาการแบบเท่าเทียมกับเสรีภาพของทุกๆคนเพื่อให้มีเสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน ค้านท์ให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญของพลเมืองเป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ของเหล่าเสรีชนกับการยอมรับการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ขณะที่ยังคงรักษาเสรีของตนเองไว้ภายในสมาคมทางการเมืองที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นประชาสังคม แต่การธำรงไว้ซึ่งเสรีภาพนั้นปัจเจกชนต้องมีเหตุผลอันบริสุทธิ์ การยอมรับอำนาจทางการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุความยุติธรรมและสิทธิอันพึงมี เสรีภาพที่มีขึ้นภายในประชาสังคมจะต้องถูกจำกัดขอบเขตภายใต้การใช้คำที่เรียกว่าการปกป้องเสรีภาพที่มีอยู่ กล่าวคือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตจำเป็นจึงต้องจำกัดขอบเขตของเสรีภาพของปัจเจกชน

ค้านท์มีทัศนะว่าประชาสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยปราศจากรัฐ ซึ่งบ่อยครั้งค้านท์ใช้คำว่ารัฐในความหมายว่า เป็นสังคมทางการเมืองที่มีสถาบันต่างๆ เช่นกฎหมายมหาชน อำนาจของผู้แทน เป็นต้น  ค้านท์ไม่ได้แยกให้เห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่างคำว่า "ประชาสังคม" และ"รัฐ" บางครั้งก็ใช้สองคำนี้ในความหมายเดียวกัน บ่อยครั้งที่    ค้านท์ใช้คำว่า "ประชาสังคม" ในความหมายว่าคือรัฐที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพความเป็นสังคมของพลเมือง และเพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพและศีลธรรมของปัจเจกบุคคล

ทฤษฎีประชาสังคมของค้านท์มีประเด็นที่แปลกต่างไปจาก ล็อก สมิธ และ เฟอร์กูสัน คือเขากล่าวว่า ประชาสังคมไม่ได้อยู่ในระดับท้องถิ่นหรือในระดับรัฐเท่านั้น แต่ยังมีประชาสังคมขึ้นท่านกลางรัฐต่างๆ เป็นชุมชนการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย อีกประเด็นหนึ่งที่มีเป็นทัศนะแปลกใหม่ในปรัชญาการเมืองของค้านท์คือ ได้เสนอเรื่อง กฎหมายสากลหรือกฎหมายครอบอาณาจักรวาล (cosmopolitan Law)  และเรื่องสันติภาพนิรันดรในหมู่ประชาคมนานาชาติ ค้านท์ให้เหตุผลว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในรัฐทั้งหลายควรจะใช้กับรัฐอื่นๆ หรือกับชุมชนไร้รัฐ ประชาชนบนโลกนี้ได้เข้าสู่ชุมชนสากล (Universal community) ในระดับต่างๆ และพัฒนาไปสู่จุดที่ว่าหากมีการฝ่าฝืนในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกก็จะมีความรู้สึกร่วมกันของทั้งชุมชนสากลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นั้น เงื่อนไขเบื้องต้นของสันติภาพนิรันดรคือการยอมรับความเท่าเทียมของรัฐต่างๆ (เช่นเดียวกับความเท่าเทียมของปัจเจกชน) ในฐานะชุมชนระหว่างประเทศพร้อมกับยอมรับในหลักการไม่แทรแซงซึ่งกันและกัน ค้านท์เสนอว่ารัฐอยู่ในฐานะผู้แสดงบทบาทกลางในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าโลกประกอบด้วยรัฐต่างๆมากมายที่มีรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน แต่ค้านท์มีสมมติฐานว่ามนุษย์มีเหตุผลสากลเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นการมีธรรมนูญทางการเมืองที่ยอมรับได้เพียงหนึ่งเดียวสำหรับรัฐก็ทำให้รัฐต่างๆที่ยอมรับในหลักการนี้เป็นสาธารณรัฐอันเดียวกัน

ค้านท์เสนอว่า การที่จะทำให้สันติภาพนิรันดรเกิดขึ้นบนโลกนี้จะต้องยึดหลักสามประการคือ ประการที่หนึ่งทุกๆรัฐควรมีธรรมนูญแบบสาธารณรัฐ ประการที่สองสิทธิของชาติต่างๆควรตั้งอยู่บนฐานของการรวมเข้าเป็นสมาพันธรัฐ (federation) และประการที่สาม สิทธิสากลควรจำกัดเพื่อให้มีสภาพที่เป็นอยู่ร่วมกันอย่างสากล ส่วนเรื่ององค์แห่งกฎหมายค้านท์เห็นว่าไม่ควรอยู่บนพื้นฐานของการบังคับ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานของอำนาจที่มีศีลธรรม ค้านท์มีทัศนะว่า ประชาสังคมนานาชาติ หรือประชาคมสากลเป็นประเด็นอันยิ่งใหญ่ท้าทายความเป็นสังคมสากลของมนุษย์ ค้านท์เน้นว่า "ปัญหาอันยิ่งใหญ่สำหรับชาติพันธ์มนุษย์ก็คือ การหาทางออกที่ธรรมชาติบังคับให้มนุษย์ต้องแสวงหาทางบรรลุเป้าหมายของประชาคมสังคมที่สามารถบริหารความยุคิธรรมได้อย่างเป็นสากล

ปรากฏการณ์ความเป็นสังคมสากลในช่วงที่คานท์มีชีวิตอยู่ยังไม่เกิดขึ้น  แต่หลังจากนั้นมาหลายประเทศได้มีระบบการเมืองการปกครองแบบสมาพันธรัฐ แนวคิดประชาสังคมสากลในปัจจุบันนี้อาจจะพอเห็นเค้าลางๆขึ้นบ้าง มีหลายประเทศที่มีธรรมนูญหรือสัญาประชาคมร่วมกัน เช่นสหภาพยุโรป  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น ในส่วนการเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ดำเนินกิจการของภาคพลเมืองก็ได้มีการสถาปนาประชาสังคมโลกขึ้นมา เคลื่อนไหวในเรื่องต่างๆ เช่น การรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนต่างๆ ต่อต้านการค้ามนุษย์ การป้องกันสิ่งแวดล้อมโลก รวมไปถึงการจัดสมัชชาประชาสังคมโลกของสหประชาชาติในต้นศตวรรษ 2000 เป็นต้น

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

13 มิถุนายน 2556

ข้อมูลจากหนังสือ พัฒนาการและการพัฒนาประชาสังคม โดย ผศ.ทศพล สมพงษ์

 


หน้า 474 จาก 558
Home

About Us

ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ (ศบม.) เป็นองค์กรที่พัฒนาและจัดทำโครงการเพื่อทำประโยชน์ให้สังคม เป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการที่ขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐานในการให้บริการ
อ่านเพิ่มเติม

มูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ ์

 iHDC Profile
บัญชีรายชื่อกรรมการ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
เอกสารประชาสัมพันธ์ โครงการ HMTC.pdf
เอกสารแนะนำโครงการ HMTC 1.pdf
เอกสารโครงการ HMTC 2 คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ.pdf
iHDC นิติบุคคล.pdf
iHDC บุคคล.pdf
iHDC บุคคลเครือข่าย.pdf
รายงานการประชุม 6 มีนาคม 2560.pdf
ข้อบังคับมูลนิธิ
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
Ihdc-Profile and Roadmap 2016-2019 Mar 23 2560.pdf
รายงานการประชุมใหญ่คณะกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ 2559.pdf
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สาขาวิชาชีพ.pdf
รายงานการประชุมใหญ่วันที่ 18 ธ ค 2558 v 3.pdf
รายงานการประชุม วันที่ 24 ธันวาคม 2557 updated 4 มีนาคม 2558.pdf
iHDC-invitation Letter.doc
iHDC-Member Form Thai.doc
iHDC-Member Form English.doc
รายงานการประชุมกรรมการมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ วันที่ 15 มกราคม 2556 ฉบับสมบูรณ์


thaibetter
พัฒนาประเทศไทยแบบทวีคูณ และยั่งยืน ( ททค )

Login


แบบสำรวจ

สถิติเว็บไซด์

สมาชิก : 5609
Content : 3052
เว็บลิงก์ : 26
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 8630853

facebook

Twitter


บทความเก่า